วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม๒๕๔๘-๒๕๕๗ นักธรรมชั้นโท



กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
ยมฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา.
คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัว
มัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ.
(พุทฺธ) ขุ. . ๒๕/๕๔.
-------------------
แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซํ้าข้อกัน แต่จะซํ้าคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้ติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กําหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
-------------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง






ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
. ตจปัญจกกัมมัฏฐานได้แก่อะไรบ้าง ? จัดเป็นสมถะหรือวิปัสสนา ? จงอธิบาย
. ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา และตโจ ฯ เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเพ่ง
กาหนดยังจิตให้สงบด้วยภาวนา เป็นสมถะ ถ้าเพ่งพิจารณาถึงความแปรปรวน
เปลี่ยนแปลงไป หรือให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้อง
เสื่อมสลายไปในที่สุด หรือให้เห็นว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
พิจารณาเช่นนี้เป็นวิปัสสนา ฯ
. มหาภูตรูป คือ อะไร ? มีความเกี่ยวเนื่องกับอุปาทายรูปอย่างไร ?
. คือ รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน อันประกอบด้วย ธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน น้า ไฟ ลม ฯ
เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งรูปย่อยซึ่งเรียกว่าอุปาทายรูป เมื่อรูปใหญ่แตกทาลายไป
อุปาทายรูปที่อิงอาศัยมหาภูตรูปนั้นก็แตกทาลายไปด้วย ฯ
. พระพุทธเจ้าทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าพุทธัตถจริยา
คือทรงประพฤติอย่างไร ?
. ทรงทาหน้าที่ของพระพุทธเจ้า คือ ได้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนาให้
บริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตรู้ทั่วถึงธรรมตามภูมิชั้น และทรงบัญญัติสิกขาบท
อันเป็นอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร ฯ
. ทิฏฐุปาทาน และสีลัพพตุปาทาน คืออะไร ?
. ทิฏฐุปาทาน คือถือมั่นความเห็นผิดด้วยอานาจหัวดื้อ จนเป็นเหตุเถียงกัน
ทะเลาะกัน สีลัพพตุปาทาน คือ ถือมั่นธรรมเนียมที่เคยประพฤติมาจนชิน
ด้วยอานาจความเชื่อว่าขลัง จนเป็นเหตุหัวดื้องมงาย ฯ
. มัจจุมารได้แก่อะไร ? ได้ชื่อว่าเป็นมารเพราะเหตุไร ?
. ได้แก่ความตาย ฯ ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเมื่อความตายเกิดขึ้น บุคคลย่อมหมด
โอกาสที่จะทาประโยชน์ใดๆ อีกต่อไป ฯ
. พระพุทธคุณบทว่าอนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้
ไม่มีใครยิ่งกว่าคาว่าบุรุษที่ควรฝึกได้นั้น หมายถึงบุคคลเช่นไร ?
. หมายถึงบุคคลผู้มีอุปนิสัยที่อาจฝึกให้ดีได้และตั้งใจจะเข้าใจพระธรรมเทศนา
แม้ฟังด้วยตั้งใจจะจับข้อบกพร่องขึ้นยกโทษเช่นเดียรถีย์ก็ตาม ฯ
. กิเลสที่ได้ชื่อว่าอนุสัยและได้ชื่อว่าสังโยชน์มีอธิบายอย่างไร ?
. กิเลสที่ได้ชื่อว่าอนุสัย เพราะเป็นกิเลสอย่างละเอียด นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
ของสัตว์ มักไม่ปรากฏ ต่อเมื่อมีอารมณ์มายั่วจึงปรากฏขึ้น ฯ
กิเลสที่ได้ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะเป็นกิเลสที่ผูกใจสัตว์ไว้กับภพไม่ให้หลุดพ้นไปได้ ฯ
. ในวิมุตติ ๕ วิมุตติอย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหนเป็นโลกุตระ ?
. ตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ จัดเป็นโลกิยวิมุตติ ส่วน สมุจเฉทวิมุตติ
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ จัดเป็นโลกุตรวิมุตติ ฯ
. พุทธภาษิตว่า ผู้ทากรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทากรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว แต่
ปรากฏว่าผู้ทากรรมชั่วยังได้รับสุขก็มี ผู้ทากรรมดียังได้รับทุกข์ก็มี ที่เป็นเช่นนี้
เพราะเหตุใด ?
. เพราะกรรมบางอย่างให้ผลในภพนี้ บางอย่างให้ผลในภพหน้า หรือในภพต่อ ๆ ไป
ผู้ทากรรมชั่วได้รับสุข เพราะกรรมชั่วยังไม่ได้ช่องให้ผลในขณะนั้น กรรมดีที่เขา
ทาไว้ในอดีตกาลังให้ผลอยู่ แต่กรรมชั่วนั้นยังไม่สูญหายไป ยังติดตามให้ผลอยู่
เสมอ เป็นแต่ยังไม่ได้ช่องเท่านั้น ส่วนผู้ทากรรมดี ที่ไม่ได้รับสุขในขณะนั้น
เพราะกรรมชั่วที่เขาได้ทาไว้ในอดีตกาลังให้ผลอยู่ จึงต้องรับทุกข์ลาบากอยู่
ในขณะนั้น แต่กรรมดีที่ทาไว้นั้นยังไม่สูญหายไป ยังติดตามเขาไปเหมือนเงา
ตามตัว ฉะนั้น เมื่อได้ช่องก็ย่อมให้ผลทันที ฯ
๑๐. คาว่าวัตรในธุดงควัตร หมายถึงอะไร ? ผู้ถือธุดงค์ข้อเตจีวริกังคะอย่าง
เคร่ง มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. หมายถึงข้อปฏิบัติพิเศษอย่างหนึ่ง ตามแต่ใครจะสมัครถือ บัญญัติขึ้น
ด้วยหมายจะให้เป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้ ใช้เฉพาะไตรจีวรของตนเท่านั้น แม้จะซักหรือจะย้อมอันตรวาสก
ย่อมใช้อุตตราสงค์นุ่ง และใช้สังฆาฏิห่ม



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัย นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
. ภิกษุผู้ละเมิดสิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ?
. ต้องอาบัติถุลลัจจัย และ ทุกกฏ ฯ
. พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุไว้ผมได้ยาวที่สุดเท่าไร ? ไว้ได้นานที่สุดเท่าไร ?
. ไม่เกิน ๒ นิ้ว ฯ ไม่เกิน ๒ เดือน ฯ
. ภิกษุไม่ต้องนาผ้าไตรจีวรไปครบสารับ มีพระพุทธานุญาตไว้ในกรณีใดบ้าง ?
. ใน ๒ กรณี คือ
. ในกรณีเข้าบ้านมีพระพุทธานุญาตไว้อย่างนี้ คือ
.คราวเจ็บไข้
.สังเกตเห็นว่าฝนจะตก
.ไปสู่ฝั่งแม่น้า
.วิหารคือกุฎีคุ้มได้ด้วยดาล
.ได้รับอานิสงส์พรรษา
.ได้กรานกฐิน ฯ
. ในกรณีต้องไปค้างแรมที่อื่น มีพระพุทธานุญาตไว้อย่างนี้ คือ
. ได้รับอานิสงส์พรรษา
. ได้กรานกฐิน ฯ
. ในพระวินัยส่วนอภิสมาจาร มีพระพุทธบัญญัติสาหรับพระภิกษุผู้รับถือเสนาสนะ
ของสงฆ์ ควรเอาใจใส่รักษาเสนาสนะด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?
. ควรเอาใจใส่รักษาอย่างนี้ คือ
. อย่าทาเปรอะเปื้อน
. ชาระให้สะอาด
. ระวังไม่ให้ชารุด
. รักษาเครื่องเสนาสนะ
. ตั้งน้าฉันน้าใช้ไว้ให้มีพร้อม
. ของใช้สาหรับเสนาสนะหนึ่ง อย่าเอาไปใช้ในที่อื่นให้กระจัดกระจาย ฯ
. วัตร ๓ คืออะไรบ้าง ? ภิกษุเหยียบผ้าขาวอันเขาลาดไว้ในที่นิมนต์ผิดวัตรข้อไหน ?
มีโทษให้เกิดความเสียหายอย่างไร ?
. คือ กิจวัตร ๑ จริยาวัตร ๑ วิธิวัตร ๑ ฯ ผิดวัตรข้อจริยาวัตร ฯ
มีโทษให้เกิดความเสียหาย คือเป็นการเสียมารยาทของพระ ไม่ระวังกิริยา ทาให้
ผ้าขาวมีรอยเปื้อนสกปรกน่ารังเกียจ แม้ภิกษุพวกเดียวกันจะนั่งก็รังเกียจขยะแขยง
เป็นที่ตาหนิของบัณฑิตทั้งหลาย ฯ
. ภิกษุพบพระเถระในเวลาเข้าบ้านหรือเดินอยู่ตามทาง ควรปฏิบัติอย่างไร ?
. ไม่ควรไหว้ ควรหลีกทาง ลุกรับ และให้อาสนะแก่ท่าน ฯ
. อเนสนา คืออะไร ? ภิกษุทาอเนสนา ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ?
. คือ กิริยาที่แสวงหาเลี้ยงชีพในทางไม่สมควร ฯ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์
และ ทุกกฏ ฯ
. ความรู้ในการทาเสน่ห์ให้ชายหญิงรักกัน จัดเป็นดิรัจฉานวิชาเพราะเหตุไร ?
. เพราะเป็นความรู้ที่ไม่เกี่ยวกับธรรมวินัยของภิกษุ และเป็นความรู้ที่ทาให้เขา
สงสัยว่าลวง ทาให้เขาหลงงมงาย ไม่ใช่ความรู้จริง ผู้บอกเป็นผู้ลวง ฝ่ายผู้เรียน
เป็นผู้หัดเพื่อลวง หรือเป็นผู้หลงงมงาย ฯ
. สภาคาบัติ คืออาบัติเช่นไร ?
. คือ อาบัติที่ภิกษุต้องเหมือนกันเพราะล่วงละเมิดสิกขาบทเดียวกัน ฯ
๑๐. การอธิษฐานเข้าพรรษา กับการปวารณาออกพรรษา ทั้ง ๒ นี้ อย่างไหนกาหนด
ด้วยสงฆ์เท่าไร ? และกาหนดเขตอย่างไร ?
๑๐. การอธิษฐานเข้าพรรษาไม่เป็นสังฆกรรมจึงไม่กาหนดด้วยสงฆ์ แต่เป็น
ธรรมเนียมปฏิบัติอธิษฐานเข้าพรรษาพร้อมๆ กัน จะอธิษฐานที่ไหนก็ได้ แต่ท่าน
ห้ามไม่ให้จาพรรษาในที่ไม่สมควรเท่านั้น เช่น ในโพรงไม้ บนค่าคบไม้ ในตุ่ม
หรือในกระท่อมผี เป็นต้น ฯ และให้กาหนดบริเวณอาวาสเป็นเขต ฯ
ส่วนการปวารณาออกพรรษาเป็นสังฆกรรม กาหนดด้วยสงฆ์ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ฯ
และกาหนดให้ทาภายในเขตสีมา ถ้าต่ากว่า ๕ รูป ท่านให้ปวารณาเป็นการคณะ
ถ้ารูปเดียวให้อธิษฐานเป็นการบุคคล


ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
. ประวัติอนุพุทธบุคคลมีความสาคัญต่อผู้ศึกษาอย่างไร ?
. ทำให้ผู้ศึกษำได้รับควำมรู้ในจริยำวัตรและคุณควำมดีที่ท่ำนได้บำเพ็ญมำ ตลอด
จนถึงผลงำนในกำรช่วยเผยแผ่พระพุทธศำสนำอันทำให้เจริญสืบมำถึงทุกวันนี้
นำให้เกิดควำมเลื่อมใสและควำมนับถือ เป็นทิฏฐำนุคติอันดี สำมำรถน้อมนำมำ
ปฏิบัติตำมได้ ฯ
. คาที่มีอยู่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรต่อไปนี้ ได้แก่อะไร ?
. ส่วนสุด ๒ อย่าง
. มัชฌิมาปฏิปทา
. . ส่วนสุด ๒ อย่ำง คือ
. กำมสุขัลลิกำนุโยค ควำมหมกมุ่นอยู่ในกำม
. อัตตกิลมถำนุโยค ควำมทำตนให้ลำบำก
. มัชฌิมำปฏิปทำ ได้แก่ข้อปฏิบัติสำยกลำง คือ มรรคมีองค์ ๘ ฯ
. ความเป็นผู้สารวมกิริยาอาการให้เรียบร้อยดีงามสมความเป็นสมณะ เป็นการ
เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ทางหนึ่ง ในข้อนี้มีปฏิปทาของพระสาวกองค์ใดเป็น
ตัวอย่าง ? จงเล่าประวัติโดยสังเขปมาประกอบ
. พระอรหันตสำวกทุกรูปล้วนเป็นผู้สำรวมกิริยำอำกำรเรียบร้อยดีงำมทั้งสิ้น แต่ที่
ได้รับยกย่องเป็นพิเศษคือพระอัสสชิเถระ ท่ำนมีกิริยำอำกำรที่น่ำเลื่อมใส เป็นเหตุ ให้อุปติสสะปริพำชกเห็นแล้วเกิดศรัทธำ เข้ำไปหำ ขอฟังธรรมจนได้บรรลุ
โสดำปัตติผล ภำยหลังยังชักชวนสหำยของตนเข้ำมำบวชในพระธรรมวินัย ได้เป็น
กำลังสำคัญช่วยพระศำสดำเผยแผ่พระพุทธศำสนำให้เจริญรุ่งเรืองกว้ำงขวำง
และมั่นคงอย่ำงรวดเร็ว ฯ
. พระสาวกผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีบริวารมาก คือใคร ? เพราะท่านมีคุณธรรมอะไร ?
. คือ พระอุรุเวลกัสสปะ ฯ เพรำะท่ำนรู้จักสงเครำะห์บริวำรด้วยอำมิสบ้ำง ด้วยธรรม บ้ำง จึงเป็นที่รักใคร่นับถือ สำมำรถยึดเหนี่ยวน้ำใจบริวำรไว้ได้ ฯ
. ธรรมเสนาบดี และ นวกัมมาธิฏฐายี เป็นนามของพระสาวกองค์ใด?เพราะเหตุไร จึงมีนามเช่นนั้น ?
. ธรรมเสนำบดี เป็นนำมของพระสำรีบุตรเถระ เพรำะท่ำนเป็นกำลังสำคัญยิ่งในกำร ประกำศพระพุทธศำสนำ ฯ นวกัมมำธิฏฐำยี เป็นนำมของพระโมคคัลลำนเถระ เพรำะท่ำนเป็นผู้สำมำรถกำกับดูแลกำรก่อสร้ำง ฯ
. พระศาสดาทรงประทานพระโอวาทเป็นการให้อุปสมบทแก่พระมหากัสสปะไว้
กี่ข้อ ? อะไรบ้าง ?
. ๓ ข้อ คือ
. เรำจักเข้ำไปตั้งควำมละอำยและควำมยำเกรงอย่ำงแรงกล้ำไว้ในภิกษุ ทั้งที่เป็นเถระ ปำนกลำง และผู้ใหม่
. เรำจักเงี่ยหูลงฟังธรรม อันประกอบด้วยกุศล และพิจำรณำเนื้อควำมแห่งธรรมนั้น
. เรำจักไม่ละสติที่ไปในกำย ฯ
. พระมหากัจจายนะ นิพพานก่อนหรือหลังพระพุทธเจ้า ? มีอะไรเป็นข้ออ้าง ?
. พระมหำกัจจำยนะ นิพพำนหลังพระพุทธเจ้ำ มีมธุรสูตรเป็นข้ออ้ำง โดยมี
ใจควำม ตอนหนึ่งในพระสูตรนั้นว่ำ พระเจ้ำมธุรรำชตรัสถำมว่ำ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภำคเจ้ำ นั้นเสด็จอยู่ ณ ที่ไหน พระมหำกัจจำยนะทูลว่ำ พระผู้มีพระภำคเจ้ำปรินิพพำนแล้ว ฯ
ศาสนพิธี
. วันธรรมสวนะ คือวันอะไร ? ทรงอนุญาตให้มีในวันใดบ้าง ?
. คือ วันกำหนดประชุมฟังธรรม หรือที่เรียกว่ำวันพระฯ ในวัน ๘ ค่ำ และ
วัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำของปักษ์ทั้งข้ำงขึ้นและข้ำงแรม ฯ
. ผ้าป่าคือผ้าอะไร ? คาพิจารณาผ้าป่าว่าอย่างไร ?
. คือ ผ้ำบังสุกุลจีวร ได้แก่ผ้ำเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้ำของหวงแหน ทิ้งอยู่ตำมป่ำดงบ้ำง
ตำมป่ำช้ำบ้ำง ตำมถนนหนทำงและห้อยอยู่ตำมกิ่งไม้บ้ำง ที่สุดจนกระทั่งที่เขำ
อุทิศไว้แทบเท้ำ รวมเรียกว่ำผ้ำป่ำ
คำพิจำรณำผ้ำป่ำว่ำ อิม ป สุกูลจีวร อสฺสำมิก มยฺห ปำปุณำติ หรือว่ำ
อิม วตฺถ อสฺสำมิก ป สุกูลจีวร มยฺห ปำปุณำติ ฯ
๑๐. จงให้ความหมายของคาต่อไปนี้ ?
. ปำฏิปุคคลิกทำน
. เภสัชทำน
. สลำกภัตต์
. ผ้ำวัสสิกสำฎก
. ผ้ำอัจเจกจีวร
๑๐. . คือทำนที่ถวำยเจำะจงเฉพำะรูปนั้นรูปนี้
. คือกำรถวำยเภสัช ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
. คือภัตตำหำรที่ทำยกทำยิกำถวำยตำมสลำก
. คือผ้ำที่อธิษฐำนสำหรับใช้นุ่งในเวลำอำบน้ำฝน หรืออำบน้ำทั่วไป

. คือผ้ำจำนำพรรษำที่ทำยกรีบด่วนถวำยก่อนกำหนดกำล


กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทากรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้.
( พุทฺธ ) ขุ. . ๒๕/๓๓.
--------------------
แต่งอธิบายเป็นทานองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซ้าข้อกันแต่จะซ้าคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้ติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กาหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
--------------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
. มูลกัมมัฏฐาน คืออะไร ? เจริญอย่างไรเป็นอารมณ์ของสมถะ ?
เจริญอย่างไรเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ?
. คือ กัมมัฏฐานเดิม ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ที่พระอุปัชฌาย์ สอนก่อนบรรพชา ฯ
ถ้าเพ่งกาหนดให้จิตสงบด้วยภาวนา จัดเป็นอารมณ์ของสมถะ ถ้ายกขึ้น พิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นตามความเป็นจริงโดยสามัญลักษณะ จัดเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ฯ
. ปฏิสันถาร คืออะไร ? จงแสดงวิธีปฏิสันถารตามความรู้ที่ได้ศึกษามา ?
. คือ การต้อนรับผู้มาเยือนด้วยการพูดจาปราศรัย หรือด้วยการรับรอง ด้วยของ ต้อนรับตามสมควรด้วยไมตรีจิต ฯ
ปฏิสันถารที่ได้ศึกษามามี ๒ อย่าง คือ
. อามิสปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยสิ่งของ ได้แก่การจัดหาวัตถุ สิ่งของต้อนรับ เช่น ข้าว น้า หรือที่พัก เป็นต้น
. ธัมมปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยธรรม ได้แก่การแสดงการ ต้อนรับตามความเหมาะสมแก่ผู้มาเยือน หรือการให้คาแนะนา ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น ฯ
. อกุศลวิตก ๓ มีโทษอย่างไร ? แก้ด้วยวิธีอย่างไร ?
. กามวิตก ทาใจให้เศร้าหมอง เป็นเหตุให้มัวเมาติดอยู่ในกามสมบัติ
พยาบาทวิตก ทาให้เดือดร้อนกระวนกระวายใจ คิดทาร้ายผู้อื่น
วิหิงสาวิตก ย่อมครอบงาจิต ให้คิดเบียดเบียนผู้อื่นโดยเห็นแก่
ประโยชน์สุขส่วนตัว ฯ
กามวิตก แก้ด้วยการเจริญกายคตาสติและอสุภกัมมัฏฐาน
พยาบาทวิตก แก้ด้วยการเจริญเมตตาพรหมวิหาร
วิหิงสาวิตก แก้ด้วยการเจริญกรุณาพรหมวิหารและโยนิโสมนสิการ ฯ
. พรหมวิหารกับอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนเป็นปฏิปทา โดยตรงของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ?
. ต่างกันโดยวิธีแผ่ คือ แผ่โดยเจาะจงตัวก็ดี โดยไม่เจาะจงตัวก็ดี แต่ ยังจากัดหมู่นั้นหมู่นี้จัดเป็นพรหมวิหาร ถ้าแผ่โดยไม่เจาะจงไม่จากัด จัดเป็นอัปปมัญญา ฯ
อัปปมัญญาเป็นปฏิปทาของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ฯ
. ทักขิณา คืออะไร ? ทักขิณานั้น จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ มีอะไร เป็นเครื่องหมาย ?
. คือ ของทาบุญ ฯ
มีกัลยาณธรรมของทายก หรือปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นเครื่องหมาย ให้รู้ว่า บริสุทธิ์ และมีความเป็นผู้ทุศีลและอธรรม ของทายกหรือ ปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า ไม่บริสุทธิ์ ฯ
. มาร คืออะไร ? เฉพาะอภิสังขารมาร หมายถึงอะไร ?
. คือ สิ่งที่ล้างผลาญทาลายความดี ชักนาให้ทาบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้ทา ความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ
หมายถึง อกุศลกรรม ฯ
. พระธรรมคุณบทใด มีความหมายตรงกับคาว่าท้าให้มาพิสูจน์ได้” ? พระธรรมคุณบทนั้น มีอธิบายว่าอย่างไร ?
. บทว่า เอหิปัสสิโก
มีอธิบายว่า พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถที่จะให้พิสูจน์ ได้ทุกเวลาและสามารถนาไปประพฤติในชีวิตประจาวันเพื่อประโยชน์ สุขได้ ฯ
. บารมี คืออะไร ? อธิษฐานบารมี คือการทาอย่างไร ?
. ปฏิปทาอันยิ่งยวด หรือคุณธรรมที่ประพฤติอย่างยิ่งยวด ได้แก่ ความดี ที่บาเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด ฯ
คือความตั้งใจมั่นตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทาของตน ไว้แน่นอนและดาเนินตามนั้นอย่างแน่วแน่ ฯ
. คาต่อไปนี้มีความหมายอย่างไร ?
. ชนกกรรม
. อุปัตถัมภกกรรม
. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม
. อุปปัชชเวทนียกรรม
. กตัตตากรรม
. . กรรมแต่งให้เกิด
. กรรมสนับสนุน
. กรรมให้ผลในภพนี้
. กรรมให้ผลในภพหน้า
. กรรมสักว่าทา คือกรรมที่ทาด้วยไม่จงใจ ฯ
๑๐. ธุดงค์ ท่านบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? อารัญญิกังคธุดงค์ คือการ ถือปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
คือ การถืออยู่ป่าเป็นวัตร หมายถึงการพักอาศัยปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า หรือ บริเวณป่าและจะต้องห่างจากบ้านคนอย่างน้อย ๒๕ เส้น หรือ ๕๐๐ ชั่วธนู ฯ
*********





ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
. อภิสมาจาร คืออะไร ? ภิกษุล่วงละเมิดจะเกิดความเสียหายอย่างไร ?
. คือ ธรรมเนียมของภิกษุ ฯ
ถ้าล่วงละเมิดแต่บางอย่างหรือบางครั้งก็เสียหายน้อย แต่ถ้าล่วงละเมิด มากอย่างหรือเป็นนิตย์ ธรรมเนียมย่อมกลายไปหรือเสื่อมไป ภิกษุ จะแตกเป็น ๒ พวก คือเคร่งและไม่เคร่ง ฯ
. ภิกษุพึงปฏิบัติเกี่ยวกับเล็บมือเล็บเท้าของตนอย่างไร จึงจะถูกต้องตาม วินัยแผนกอภิสมาจาร ?
. พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ ไม่พึงไว้เล็บยาว พึงตัดพอเสมอเนื้อ ไม่พึงขัดเล็บ ให้เกลี้ยงเกลาด้วยมุ่งหมายให้เกิดความสวยงาม แต่เล็บเปื้อน จะขัด มลทินหรือแคะมูลเล็บได้อยู่ นี้เป็นกิจควรทา ฯ
. ภิกษุพึงใช้บริขารบริโภคและเครื่องอุปโภคอย่างไร จึงจะดูน่าเลื่อมใส ของประชาชน ?
. การใช้บริขารบริโภคและเครื่องอุปโภคนั้น ภิกษุควรรู้ต้นเค้าคือนิสัย ๔ ว่า ภิกษุย่อมนิยมใช้สอยบริขารที่เป็นของปอนหรือของเรียบๆ ไม่ใช้ ของดีที่กาลังตื่นกันในสมัยอันจะพึงเรียกว่าโอ่โถง ความประพฤติปอน ของภิกษุนี้ย่อมทาให้เกิดความเลื่อมใสแก่คนบางพวกที่เรียกว่า ลูขประมาณ แปลว่า มีของปอนเป็นประมาณ คือมีของปอนเป็นเหตุนับถือ ฯ
. ผ้าสังฆาฏิ คือผ้าอะไร ? มีหลักฐานความเป็นมาอย่างไร ?
. คือ ผ้าสาหรับห่มกันหนาวหรือห่มซ้อนนอก ทรงอนุญาตเพื่อใช้ในฤดู หนาว ฯ
มีเรื่องเล่าว่า ในฤดูหนาวจัด ทรงทดลองห่มจีวรผืนเดียวอยู่ในที่แจ้ง สามารถกันความหนาวได้ยามหนึ่ง ถ้าอยู่ตลอดราตรี ต้องผ้า ๓ ชั้นจึง พอกันความหนาวได้ จึงทรงอนุญาตสังฆาฏิ ๒ ชั้นเข้ากับอุตตราสงค์ ชั้นเดียว จะได้เป็น ๓ ชั้น พอกันความหนาวดังกล่าวได้ ฯ
. พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก พึงปฏิบัติต่อกันอย่างไร จึงจะเกิดความ เจริญงอกงามในพระธรรมวินัย ?
. พึงปฏิบัติตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสสั่งไว้ว่า ให้พระอุปัชฌาย์และ สัทธิวิหาริกตั้งจิตสนิทสนมในกันและกัน ให้พระอุปัชฌาย์สาคัญ สัทธิวิหาริกฉันบุตร ให้สัทธิวิหาริกนับถือพระอุปัชฌาย์ฉันบิดา เมื่อเป็น เช่นนี้ ต่างจะมีความเคารพเชื่อฟังถูกกันอยู่ ย่อมจะถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย ฯ
. เมื่อภิกษุเพื่อนสหธรรมิกอาพาธ ทรงให้ใครเป็นผู้พยาบาล ? และทรง สั่งสอนปรารภภิกษุอาพาธไว้ว่าอย่างไร ?
. ทรงให้ภิกษุเพื่อนสหธรรมิกเอาใจใส่รักษาพยาบาลกัน อย่าทอดธุระเสีย ฯ
ทรงสั่งสอนปรารภภิกษุอาพาธไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย มารดาและบิดา ของเธอทั้งหลายไม่มี ถ้าพวกเธอจะไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจะ พยาบาลพวกเธอ ภิกษุใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเรา ขอให้ภิกษุนั้น พยาบาลภิกษุไข้เถิด ฯ
. วิธิวัตร คืออะไร ? มีความสาคัญอย่างไร ?
. คือ วินัยที่ว่าด้วยแบบอย่าง เช่นแบบอย่างการห่มผ้าเป็นต้น ฯ
แบบอย่างนั้นเป็นเหตุให้ภิกษุมีความประพฤติสม่าเสมอกัน เช่นนุ่งห่ม เป็นแบบเดียวกันอันโบราณท่านจัดไว้ถ้าเป็นแบบที่ล่วงเวลาและจะ ไม่ใช้ก็ต้องมีวิธีใหม่แทน ไม่เช่นนั้นจะค่อยหลุดไปทีละอย่าง จนไม่มี อะไรเหลือเมื่อถึงเวลานั้นพระสงฆ์ก็จะไม่มีอะไรที่ต่างจากชาวบ้าน ฯ
. การจาพรรษาของภิกษุมีวิธีอย่างไร ? จงอธิบายพอเข้าใจ
. การจาพรรษานั้น ในบาลีกล่าวเพียงให้ทาอาลัย คือ ผูกใจว่าจะอยู่ในที่นี้ ๓ เดือน แต่ในบัดนี้มีธรรมเนียมที่ประชุมกันกล่าวคาอธิษฐานพร้อม กันว่า อิมสฺมึ อาวาเส อิม เตมาส วสฺส อุเปม แปลความว่า เราเข้าถึง ฤดูฝนในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน ฯ
. ในการทาอุโบสถของภิกษุ การสวดปาฏิโมกข์ การบอกความบริสุทธิ์ และการอธิษฐาน ทรงให้ทาได้ในกรณีใด ?
. ในกรณีที่ภิกษุประชุมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตรัสให้สวดปาฏิโมกข์ ถ้ามี เพียง ๓ รูป ๒ รูป เรียกว่าคณะ ตรัสให้บอกความบริสุทธิ์ของตน แก่กันและกัน ถ้ามีรูปเดียวเรียกว่าบุคคล ให้อธิษฐานใจ คือคิดว่าวันนี้ เป็นวันอุโบสถของเรา ฯ
๑๐. คาว่า อธิษฐานในวินัยกรรม คืออะไร ? ผ้าสังฆาฏิผืนเดิมเก่าขาดใช้ไม่ได้ จะเปลี่ยนใหม่ พึงปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. คือ การตั้งบริขารที่ทรงอนุญาตสาหรับภิกษุเอาไว้ใช้สาหรับตัว
(เช่นการตั้งใจใช้จีวรผืนนั้น ไม่ใช้ผืนอื่น)
พึงทาพินทุผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ว่า อิม พินฺทุกปฺป กโรมิ เราทาหมาย ด้วยจุดนี้ แล้วปัจจุทธรณ์คือยกเลิกผ้าสังฆาฏิเดิมว่า อิม สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ เรายกเลิกผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ต่อจากนั้นอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ ผืนใหม่ว่า อิม สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ฯ
*********



ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
. อนุพุทธบุคคล คือใคร ? ท่านเหล่านั้นมีความสาคัญต่อพระศาสดา อย่างไร ?
. คือ สาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ฯ
มีความสาคัญอย่างนี้ แม้พระศาสดาได้ตรัสรู้และทรงแสดงธรรม แต่เมื่อ ขาดผู้รู้ธรรมและรับปฏิบัติ ความตรัสรู้ของพระองค์ก็ไม่สาเร็จประโยชน์ ฯ
. พระอัญญาโกณฑัญญะ ใคร่ครวญดูตามประวัติ ความเชื่อถือของท่าน หนักไปทางไหน ในตาราทายลักษณะหรือในอัตตกิลมถานุโยคปฏิบัติ ? ขอฟังเหตุผล
. เห็นว่าหนักไปในอัตตกิลมถานุโยคปฏิบัติ เหตุผลคือ เดิมท่านเชื่อตารา แน่ใจ จึงบวชตามและเฝ้าอุปัฏฐาก ครั้นเห็นทรงเลิกทุกรกิริยา ก็สิ้นหวัง นี่ก็เพราะเชื่อมั่นในอัตตกิลมถานุโยคปฏิบัติว่า เลิกเสียเป็นอันไม่สาเร็จ เมื่อพระองค์ตรัสบอกว่า สาเร็จแล้ว ก็คัดค้านไม่เชื่อถือ อาการที่คัดค้าน และพูดถ้อยคาที่แสดงอคารวะนั้น เป็นเครื่องยืนยันความเห็นดังกล่าว ฯ
. พระยสะมีมารดาบิดาตั้งภูมิลาเนาอยู่ที่ไหน ? ออกบวชเพราะเหตุไร ?
. อยู่ที่เมืองพาราณสี ใกล้ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ฯ
เพราะมีความเบื่อหน่ายในการครองฆราวาส เนื่องจากได้เห็นอาการของ พวกชนบริวารอันวิปริตไปโดยอาการต่างๆ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการยังจิตให้ เพลิดเพลิน จึงได้เดินออกจากเรือนไปพบพระพุทธองค์ได้ฟังพระธรรมเทศนา จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงได้ออกบวช ฯ
. ความเป็นผู้มีบริวารมาก เป็นผลมาจากอะไร ? และดีอย่างไร ?
พระสาวกองค์ใดได้รับการยกย่องว่าเลิศในทางนี้ ?
. เป็นผลมาจากความรู้จักเอาใจบริษัท รู้จักสงเคราะห์ด้วยอามิสบ้าง ด้วยธรรมบ้าง ฯ
ดีอย่างนี้คือ ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเห็นปานนี้ ย่อมเป็นผู้อัน บริษัทรักใคร่นับถือ สามารถควบคุมบริษัทไว้อยู่ เป็นผู้อันจะพึงปรารถนา ในสาวกมณฑล ฯ
พระอุรุเวลกัสสปะ ฯ
. เมื่อเอ่ยถึง พระสารีบุตร ทาให้นึกถึงพระสาวกอีกองค์หนึ่ง คือใคร ? ท่านได้บรรลุพระอรหัตและนิพพานที่ไหน ? ก่อนหรือหลังพระสารีบุตร กี่วัน ?
. คือพระโมคคัลลานะ ฯ
ท่านได้บรรลุพระอรหัตที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ ก่อนพระ สารีบุตร ๘ วัน และนิพพานที่ตาบลกาฬศิลา แขวงมคธ หลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน ฯ
. พระสาวกผู้ปรารภเหตุว่าผู้อยู่ครองเรือนต้องคอยนั่งรับบาป เพราะ การงานที่ผู้อื่นทาไม่ดีแล้วมีใจเบื่อหน่ายสละทรัพย์สมบัติออกบวช คือใคร ? ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศในทางไหน ? เพราะเหตุใด ?
. คือ พระมหากัสสปะ ฯ
ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศในทางถือธุดงค์ เพราะ ท่านถือธุดงค์ ๓ อย่างเป็นประจา คือ ทรงผ้าบังสุกุลจีวรเป็นวัตร ๑ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๑ อยู่ป่าเป็นวัตร ๑ ฯ
. พระสาวก ผู้อธิบายภัทเทกรัตตสูตรที่ทรงแสดงโดยย่อให้พิสดาร คือ ใคร ? ท่านได้รับการสรรเสริญจากพระศาสดาว่าอย่างไร ?
. คือ พระมหากัจจายนะ ฯ
ท่านได้รับสรรเสริญจากพระศาสดาว่า เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายคาที่ย่อ ให้พิสดาร ฯ
ศาสนพิธี
. ศาสนพิธี คืออะไร ? การศึกษาศาสนพิธีให้เข้าใจ มีประโยชน์อย่างไร ?
. คือ พิธีทางศาสนา ฯ
มีประโยชน์คือ
. ทาให้เข้าใจเรื่องของศาสนพิธีได้โดยถูกต้อง
. ให้เห็นเป็นเรื่องสาคัญไม่ไร้สาระ
. ทาให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยนจากขนบธรรมเนียมประเพณี ฯ
. การทาวัตร คืออะไร ? ทาวัตรสวดมนต์ เพื่อความมุ่งหมายใด ?
. คือ การทากิจวัตรของภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา เป็นการทากิจ ที่ต้องทาประจาจนเป็นวัตร-ปฏิบัติ เรียกสั้นๆ ว่า ทาวัตร ฯ
ความมุ่งหมายของการทาวัตรสวดมนต์นี้ บัณฑิตถือว่าเป็นอุบายสงบจิต ไม่ให้คิดวุ่นวายตามอารมณ์ได้ชั่วขณะที่ทา เมื่อทาประจาวันละ ๒ เวลา ทั้งเช้าเย็นครั้งละครึ่งชั่วโมง หรือ ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ก็เท่ากับได้ ใช้เวลาสงบจิตได้วันละไม่ต่ากว่า ๑ ใน ๒๔ ชั่วโมง ฯ
๑๐. ในวันอุโบสถ พระธรรมกถึกให้ศีล ๘ เป็นอุโบสถศีล แต่มีผู้ศรัทธาจะ รักษาเพียงศีล ๕ เท่านั้น พึงปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. พึงปฏิบัติอย่างนี้ สมาทานเพียง ๕ ข้อ ในระหว่างข้อที่ ๓ ซึ่ง พระธรรมกถึกให้ด้วยบทว่า อพฺรหฺมจริยา ... พึงรับสมาทานว่า กาเมสุ
มิจฺฉาจารา... และรับต่อไปจนครบ ๕ ข้อเมื่อครบแล้วก็กราบ ๓ ครั้ง ลดลงนั่งราบไม่ต้องรับต่อไป ฯ
*********



กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๐
สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต ฯ
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุแห่งคุณคือศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจเพราะขันติเท่านั้น ฯ
. . ๒๒๒
--------------------
แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซํ้าข้อกันแต่จะซํ้าคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้ติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กําหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
--------------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๐
. พระเสขะ ผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาอะไร? ชื่อว่าพระอเสขะ เพราะอะไร ?
. ศึกษาสิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา ฯ
เพราะเสร็จกิจอันจะต้องทาแล้ว ฯ
. ความเห็นว่าเที่ยงและเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นอย่างไร ? มติในทางพระพุทธศาสนาเป็นเช่นไร จงอธิบาย ?
. เห็นว่าเที่ยง คือเห็นว่า คนและสัตว์ตายแล้ว ชีวะไม่สูญ ต้องเกิดอีกต่อไป หรือเคยเป็นอะไร ก็เป็นอย่างนั้นตลอดไปหรือมีสภาพอย่างนั้นไม่แปรผัน เป็นต้น ส่วนเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นว่า อัตภาพจุติแล้วเป็นอันสูญสิ้นไป หรือคนสัตว์ตายแล้วขาดสูญไปโดยประการทั้งปวง ฯ
พระพุทธศาสนาปฏิเสธความเห็นทั้ง ๒ นั้น มีความเห็นประกอบด้วยสัมมาญาณ อิงเหตุผล ยึดเหตุผลเป็นที่ตั้ง โดยเห็นว่า คนและสัตว์ตายแล้วจะเกิดอีกหรือ ไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ฯ
. ปาพจน์ ๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? ถ้าแจกเป็น ๓ จะได้อะไรบ้าง ?
. ได้แก่ พระธรรม และ พระวินัย ฯ ถ้าแจกเป็น ๓ จะได้ พระวินัย ๑ พระสูตร ๑ พระอภิธรรม ๑ ฯ
. พระพุทธเจ้าทรงอุปมากิเลสเหล่าไหนว่ามีลักษณะเหมือนกับไฟ ? ที่ทรงอุปมาเช่นนั้นเพราะเหตุไร?
. กิเลสเหล่านี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะฯ
เพราะเมื่อกิเลสทั้ง ๓ กองนี้ กองใดกองหนึ่งเกิดขึ้นภายในใจของบุคคล จะแผดเผาก่อให้เกิดความเร่าร้อนขึ้นภายในใจ ฯ
. กรรมและทวาร คืออะไร ? อภิชฌาเป็นกรรมใดและเกิดทางทวารใดบ้าง จงอธิบาย ?
.กรรม คือ การกระทา ส่วนทวาร คือ ทางเกิดของกรรม ฯ อภิชฌา ความอยากได้ เป็นมโนกรรมได้อย่างเดียว และเกิดได้ทั้ง ๓ ทวาร เป็นกายทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วลูบคลาพัสดุที่อยากได้นั้น แต่ไม่มีไถยจิต เป็นวจีทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วบ่นว่า ทาอย่างไรดีหนอ จักได้พัสดุนั้น และเป็นมโนทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วราพึงในใจ ฯ
. วิโมกข์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
. คือ ความพ้นจากกิเลส ฯ
มี สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ
. พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้บ้าง ?
. ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ฯ
พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ฯ
. โยนิ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? เทวดา และสัตว์นรก จัดอยู่ในโยนิไหน ?
. คือ กาเนิด ฯ
มี ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ อัณฑชะ เกิดในไข่
สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ฯ
จัดอยู่ใน โอปปาติกะ ฯ
. เวทนา ๓ และเวทนา ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? จัดกลุ่มเทียบกันได้อย่างไร ?
. เวทนา ๓ ได้แก่ สุข ทุกข์ เฉย ๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ส่วนเวทนา ๕ ได้แก่ สุข โสมนัส ทุกข์ โทมนัส อุเบกขา ฯ
ในเวทนา ๓ สุข คือ สุขกายและสุขใจ ซึ่งในเวทนา ๕ สุขกายก็คือสุข และสุขใจก็คือโสมนัส
ในเวทนา ๓ ทุกข์ คือ ทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งในเวทนา ๕ ทุกข์กายก็คือทุกข์ และทุกข์ใจก็คือโทมนัส
ส่วนในเวทนา ๓ เฉย ๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ในเวทนา ๕ ก็คืออุเบกขานั่นเอง ฯ
๑๐. ในกรรม ๑๒ อุปัตถัมภกกรรม กับ อุปปีฬกกรรม ทาหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
๑๐. อุปัตถัมภกกรรม ทาหน้าที่สนับสนุนผลแห่งชนกกรรม
อุปปีฬกกรรม ทาหน้าที่บีบคั้นผลแห่งชนกกรรม ฯ
***********



ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๐
. สัมมาสัมพุทธะ ปัจเจกพุทธะ และอนุพุทธะ ต่างกันอย่างไร ?
การเรียนอนุพุทธประวัติสาเร็จประโยชน์อย่างไร ?
. สัมมาสัมพุทธะ ตรัสรู้เองโดยชอบ และสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้ด้วย
ปัจเจกพุทธะ ตรัสรู้เฉพาะตน แต่ไม่สามารถสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้
อนุพุทธะ ตรัสรู้ตาม คือมีพระพุทธเจ้าสั่งสอนจึงรู้ตามได้ และสามารถสอนผู้อื่นให้กระทาตามด้วย ฯ
เพื่อจะได้ทราบความเป็นไปและปฏิปทาของท่าน ที่ได้ช่วยประกาศพระศาสนาในที่นั้น ๆ จนเป็นเหตุเจริญแพร่หลายและมั่นคง แล้วจักได้ถือเป็นทิฏฐานุคติ บาเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านโดยควรแก่ฐานะของตน ทั้งให้สาเร็จเป็นสังฆานุสติมั่นคงอีกด้วย ฯ
. พระอัญญาโกณฑัญญะ ชื่อเดิมว่าอะไร ? เกิดที่ไหน ? เรียนจบอะไร ? ทาไมจึงได้ชื่ออัญญาโกณฑัญญะ ?
. ชื่อเดิมว่าโกณฑัญญะ ฯ
เกิดที่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ อยู่ไม่ห่างจากกรุงกบิลพัสดุ์ ฯ
เรียนจบไตรเพทและรู้ตาราทานายลักษณะ ฯ
เพราะอาศัยพระอุทานว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว ที่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงเปล่งเมื่อท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ
. เศรษฐีบิดาพระยสะออกติดตามหาพระยสะให้กลับบ้าน แต่เหตุไฉนเมื่อพบแล้วจึงมิได้นากลับไปตามความประสงค์เดิม ?
. เพราะได้ทราบว่า พระยสะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ควรเพื่อจะกลับไปครองเรือนอีกต่อไป ควรจะออกบวชเป็นพระภิกษุ ฯ
. พระอุรุเวลกัสสปะบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพราะเหตุใด ? พระพุทธองค์ทรงพาท่านไปกรุงราชคฤห์ด้วย เพราะทรงมีพุทธประสงค์อย่างไร ?
. พระอุรุเวลกัสสปะเห็นอภินิหารของพระพุทธองค์หลายประการ จนถอนทิฏฐิมานะของตน เห็นว่าลัทธิของตนหาแก่นสารมิได้ และตนก็มิได้เป็นผู้วิเศษ ได้ความสลดใจ จึงทูลขออุปสมบท ฯ
ทรงมีพุทธประสงค์จะปลูกศรัทธาแก่มหาชน เพราะท่านเป็นที่นับถือของมหาชนมานาน ฯ
. พรข้อว่า ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์ และข้อว่า ถ้าพระองค์จะเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
พระอานนท์ทูลขอเพื่อประโยชน์อะไร ?
. ข้อต้น เพื่อป้องกันคาติเตียนว่า พระอานนท์บารุงพระศาสดาเพราะเห็นแก่ลาภ
ข้อหลัง เพื่อป้องกันคนกล่าวว่า พระอานนท์บารุงพระศาสดาไปทาอะไร เพราะพระองค์ไม่ทรงอนุเคราะห์แม้ด้วยกิจเท่านี้ ฯ
. ธรรมุทเทศ มีอะไรบ้าง ? ใครแสดงแก่ใคร ?
. มี
. โลกคือหมู่สัตว์ อันชรานาเข้าไปใกล้ ไม่ยั่งยืน
. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่จาเพาะตน
. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จาต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
. โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ฯ
พระรัฐบาลแสดงถวายพระเจ้าโกรัพยะ ฯ
. พระโมฆราชทูลถามปัญหาพระพุทธองค์เป็นคนที่เท่าไร ? เพราะเหตุไร ?
. เป็นคนที่ ๑๕ ฯ เพราะครั้งแรกเห็นว่าท่านอชิตมาณพเป็นผู้ใหญ่กว่าจึงยอมให้ถามก่อน แต่เมื่อปรารภจะทูลถามเป็นคนที่ ๒ และคนที่ ๙ ถูกพระพุทธองค์ทรงห้ามไว้ให้รอก่อน จึงได้โอกาสทูลถามเป็นคนที่ ๑๕ ฯ
. ในอสีติมหาสาวก มีองค์ไหนบ้างมีความสัมพันธ์เป็นศิษย์และอาจารย์กัน ? จงบอกมาสัก ๒ คู่
. (ตอบเพียง ๒ คู่)
พระอัญญาโกณฑัญญะกับพระปุณณมันตานีบุตร
พระอัสสชิกับพระสารีบุตร
พระสารีบุตรกับพระราธะ
พระสารีบุตรกับพระราหุล
พระมหากัจจายนะกับพระโสณกุฏิกัณณะ ฯ
ศาสนพิธี
. วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร? เนื่องด้วยวันนั้น มีบุญพิธีอะไรที่ทากันมาจนถึงบัดนี้ ?
. คือ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก หลังจากที่เสด็จขึ้นไป จาพรรษาในดาวดึงสพิภพถ้วนไตรมาส โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ฯ
มีการทาบุญตักบาตรแด่พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น จนเป็นประเพณีทาบุญตักบาตรที่เรียกว่าตักบาตรเทโวโรหณะ มาจนถึงปัจจุบันนี้ ฯ
๑๐. บังสุกุลเป็น คืออะไร ? คาถาที่ใช้บังสุกุลเป็น ว่าอย่างไร ?
๑๐. บังสุกุลเป็น คือบุญกิริยาที่เจ้าภาพประสงค์จะบริจาควัตถุเนื่องด้วยกายของตน โดยเฉพาะผ้าอุทิศสงฆ์ให้เป็นผ้าบังสุกุล ปกตินิยมทาเมื่อป่วยหนัก เป็นการกาหนดมรณานุสสติวิธีหนึ่ง ฯ
ว่า อจิร วตย กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถ ว กลิงฺคร ฯ
***********



กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๑
ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา
ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก.
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ,
ผู้มีขันติเป็นที่รัก ที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
.. ๒๒๒.
--------------------
แต่งอธิบายเป็นทานองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซ้าข้อกันแต่จะซ้าคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้ามานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้ติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กาหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
--------------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๑
. รูปในขันธ์ ๕ แบ่งเป็น ๒ ได้แก่อะไรบ้าง? จงอธิบายมาสั้นๆ พอเข้าใจ
. ได้แก่ มหาภูตรูป และ อุปาทายรูป
มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่ อันได้แก่ ธาตุ ๔ มีดิน น้า ไฟ ลม
อุปาทายรูป คือ รูปอาศัย เป็นอาการของมหาภูตรูป เช่น ประสาท ๕ มีจักขุประสาทเป็นต้น โคจร ๕ มีรูปารมณ์เป็นต้น ฯ
. เจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ ต่างกันอย่างไร ?
. เจโตวิมุตติ เป็นวิมุตติของท่านผู้ได้บรรลุฌานมาก่อนแล้ว จึงบาเพ็ญวิปัสสนาต่อ ส่วนปัญญาวิมุตติ เป็นวิมุตติของท่านผู้ได้บรรลุด้วยลาพังบาเพ็ญวิปัสสนาล้วน
อีกนัยหนึ่ง เรียกเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ เรียกปัญญาวิมุตติเพราะพ้นจากอวิชชา ฯ
. กิจจญาณ คืออะไร ? เป็นไปในอริยสัจ ๔ อย่างไร ?
. คือ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทา ฯ
ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกาหนดรู้ ทุกขสมุทัยเป็นธรรมชาติที่ควรละ ทุกขนิโรธเป็นธรรมชาติที่ควรทาให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นธรรมชาติที่ควรทาให้เกิด ฯ
. ปาฏิหาริย์ ๓ มีอะไรบ้าง ? อย่างไหนเป็นอัศจรรย์ที่สุด ?
. มี อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คาสอนเป็นอัศจรรย์ ฯ
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอัศจรรย์ที่สุด ฯ
. กิเลส กรรม วิบาก เรียกว่าวัฏฏะ เพราะเหตุไร ? จงอธิบาย
. เพราะวน คือหมุนเวียนกันไป ฯ อธิบายว่า กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทากรรม ครั้นทากรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ
. คาว่า พระโสดาบัน และ สัตตักขัตตุปรมะ มีอธิบายอย่างไร ?
. พระโสดาบัน คือพระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอริยผลขั้นแรก ฯ
สัตตักขัตตุปรมะ คือพระโสดาบันผู้จะเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ฯ
. อบาย ได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ?
. ได้แก่ ภูมิ กาเนิดหรือพวก อันหาความเจริญมิได้ ฯ
มี นิรยะ คือนรก ติรัจฉานโยนิ คือกาเนิดดิรัจฉาน
ปิตติวิสัย คือภูมิแห่งเปรต อสุรกาย คือพวกอสุระ ฯ
. มานะ คืออะไร ? ว่าโดยย่อ ๓ อย่าง ได้แก่อะไรบ้าง ?
. คือ ความสาคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ฯ
ได้แก่ ๑. สาคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
. สาคัญตัวว่าเสมอเขา
. สาคัญตัวว่าเลวกว่าเขา ฯ
. สมุทัยวาร กับ นิโรธวาร ในปฏิจจสมุปบาท ต่างกันอย่างไร ?
. สมุทัยวาร คือการแสดงความเกิดแห่งผล เพราะเกิดแห่งเหตุ
ส่วนนิโรธวาร คือการแสดงความดับแห่งผล เพราะดับแห่งเหตุ ฯ
๑๐. ธุดงค์ คืออะไร ? ข้อใดของปัจจัย ๔ ไม่มีในธุดงค์ ?
๑๐. คือ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง บัญญัติขึ้นด้วยหมายจะให้เป็นอุบาย ขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
ข้อ ยารักษาโรค ฯ
***********


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๑
. อภิสมาจาร คืออะไร ? ปรับอาบัติได้กี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
. คือ ธรรมเนียมของภิกษุ ฯ ปรับอาบัติได้ ๒ อย่าง ฯ คือ ถุลลัจจัยและทุกกฏ ฯ
. มีข้อกาหนดในการไว้ผมยาวของพระภิกษุอย่างไร ? ในการโกนผม ภิกษุใช้กรรไกรแทนมีดโกนได้หรือไม่ ?
. ไว้ได้เพียง ๒ เดือน หรือ ๒ นิ้ว เป็นอย่างยิ่ง ฯ
ไม่ได้ เว้นไว้แต่อาพาธ ฯ
. จีวรผืนหนึ่ง มีกาหนดจานวนขัณฑ์ไว้อย่างไร ? ใน ๑ ขัณฑ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
. กาหนดจานวนไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ขัณฑ์ แต่ให้เป็นขัณฑ์คี่ คือ ๗, , ๑๑ เป็นต้น ฯ ประกอบด้วยมณฑล อัฑฒมณฑล กุสิ อัฑฒกุสิ ฯ
. นิสัยระงับ กับ นิสัยมุตตกะ มีอธิบายอย่างไร ?
. นิสัยระงับ หมายถึงการที่ภิกษุผู้ถือนิสัยขาดจากปกครอง
นิสัยมุตตกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้พรรษา ๕ แล้ว และมีคุณสมบัติพอรักษาตนผู้อยู่ตามลาพังได้ ทรงพระอนุญาตให้พ้นจากนิสัย ฯ
. ในคาว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร วัตรได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ?
. ได้แก่ ขนบ คือแบบอย่าง อันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ ฯ
มี ๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทา
. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
. วิธิวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง ฯ
. เพื่อแสดงความเคารพในภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า เมื่ออยู่ในกุฎีเดียวกับท่าน ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
. ควรปฏิบัติตนอย่างนี้ คือ จะทาสิ่งใดๆ ควรขออนุญาตท่านก่อน เช่น จะสอนธรรม จะอธิบายความ จะสาธยาย จะแสดงธรรม จะจุดจะดับไฟ จะเปิดจะปิดหน้าต่าง ห้ามมิให้ทาตามอาเภอใจ ฯ
. การทาอุโบสถสวดปาติโมกข์ นอกจากวันพระจันทร์เพ็ญและพระจันทร์ดับแล้ว ยังทรงอนุญาตให้ทาได้ในวันใดอีก ? อุโบสถเช่นนั้น เรียกว่าอะไร ?
. ในวันที่ภิกษุผู้แตกกันปรองดองกันได้ ฯ เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ ฯ
. ในวัดหนึ่งมีภิกษุจาพรรษา ๔ รูป เมื่อถึงวันปวารณาออกพรรษาพึงทาอย่างไร ? ถ้ามีภิกษุอาคันตุกะสัตตาหะมาสมทบอีก ๕ รูป จะพึงปฏิบัติอย่างไร ?
. ในวันมหาปวารณาพึงทาคณะปวารณา โดยรูปหนึ่งตั้งญัตติแล้วกล่าวปวารณาตามลาดับพรรษา ฯ ถ้ามีภิกษุอาคันตุกะสัตตาหะมาเพิ่มอีก ๕ รูป พึงทาปวารณาเป็นสังฆปวารณา แล้วกล่าวปวารณาตามลาดับพรรษา ฯ
. ภิกษุได้ชื่อว่ากุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายสกุลเพราะประพฤติอย่างไร ?
. เพราะประพฤติให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส คือ เป็นผู้ประจบเขาด้วยกิริยาทาตนอย่างคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการ เอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ
๑๐. กาลิก มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? กล้วยดองน้าผึ้งเป็นกาลิกอะไร ?
๑๐. มี ๔ ฯ ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ฯ
เป็นยาวกาลิก ฯ
***********



ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๑
. พุทธบุคคล มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
. มี ๓ ประเภทฯ คื ๑. พระสัมมาสัมพุทธะ ๒. พระปัจเจกพุทธะ ๓. พระอนุพุทธะ ฯ
. ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ท่าน ได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนหลังกันอย่างไร ?
. ท่านโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นองค์แรก ต่อมาท่านวัปปะและท่านภัททิยะจึงได้ และต่อมาท่านมหานามะและท่านอัสสชิจึงได้ตามลาดับ ฯ
. พระสาวกผู้สาเร็จเป็นพระอริยบุคคลเพราะฟังธรรมเทศนาเรื่องเดียวซ้า ๒ ครั้ง คือใคร ? ธรรมเทศนาเรื่องอะไร ?
. คือ พระยสะฯ เรื่อง อนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ฯ
. อนัตตลักขณสูตร และ อาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยเรื่องอะไร ? ทรงแสดงแก่ใคร ?
. อนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยเรื่อง ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์
อาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยเรื่อง สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือราคะโทสะโมหะ ฯ
ทรงแสดงแก่ชฎิล ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน ฯ
. อุปติสสปริพาชกเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเพราะได้ฟังธรรมจากใคร ? มีใจความว่าอย่างไร ?
. จากพระอัสสชิ ฯ มีใจความว่า พระศาสดาทรงแสดงความเกิดแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะเป็นไปแห่งเหตุ และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะดับแห่งเหตุ พระศาสดาตรัสอย่างนี้ ฯ
. พระมหากัสสปเถระเป็นประธานในการทาสังคายนาครั้งแรกที่ไหน ? ใช้เวลานานเท่าไร ?
. ที่ถ้าสัตตบัณณคูหา เวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ ฯ ใช้เวลา ๗ เดือน ฯ
. การบวชของพระมหากัจจายนะ มีความเป็นมาอย่างไร ?
. มีความเป็นมาอย่างนี้ ท่านได้รับมอบหมายจากพระเจ้าจัณฑปัชโชตให้ไปทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงอุชเชนี จึงทูลลาบวชด้วย ครั้นได้เข้าเฝ้าฟังธรรมแล้ว บรรลุพระอรหัต จึงทูลขอบวช ฯ
. “โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้น ท่านกล่าวกันว่า นิพพานๆ ดังนี้ เพราะละอะไรได้ ?” ปัญหานี้ใครทูลถาม ?
. อุทยมาณพเป็นผู้ทูลถาม ฯ
ศาสนพิธี
. ในงานมงคลที่ทากันอย่างสามัญทั่วไป นิยมเจริญพระพุทธมนต์ด้วย บทสวดมนต์ที่รวมเรียกสั้นๆ ว่าอะไร ? และต้องมีบทอื่นมาประกอบอีก เรียกว่าอะไร ?
. เรียกว่า เจ็ดตานาน ฯ
เรียกว่า ต้นสวดมนต์หรือต้นตานาน และท้ายสวดมนต์ ฯ
๑๐. เทศน์มหาชาติ คือการเทศน์เรื่องอะไร ? มีกี่กัณฑ์ ? จบเทศน์มหาชาติแล้ว นิยมเทศน์ต่อด้วยเรื่องอะไร ?
๑๐ เรื่องเวสสันดรชาดก ฯ มี ๑๓ กัณฑ์ ฯ เรื่อง จตุราริยสัจจกถา
***********



ปัญหาวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๒
อวณฺณญฺจ อกิตฺติญฺจ ทุสฺสีโล ลภเต นโร
วณฺณํ กิตฺตึ ปสํสญฺจ สทา ลถติ สีลวา
คนผู้ทุศีล ย่อมได้รับความติเตียน และความเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีล
ย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ
(สีลวตฺเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๗
----------------
แต่งอธิบายเป็นทานองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซ้าข้อกัน แต่จะซ้าคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กาหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
----------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสดี ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๒
. ตจปัญจกกัมมัฏฐานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? จัดเป็นสมถกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน ?
. เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มูลกัมมัฏฐาน ฯ
มี เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทันตา ฟัน และ ตโจ หนังฯ
เป็นได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานฯ
. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความดับไป เป็นลักษณะของธรรมอะไร ? สัตว์บุคคลมีลักษณะเช่นนั้นหรือไม่ ? จงอธิบาย
. เป็นลักษณะของสังขตธรรมฯ มีลักษณะเช่นนั้น คือ เมื่อสัตว์บุคคลเกิดมาแล้ว ก็เป็นความเกิดขึ้น ต่อมาก็เจริญเติบโตผ่านวัยทั้ง ๓ ก็เป็นความตั้งอยู่ เมื่อตาย ก็เป็นความดับไปฯ
. ปิฎก ๓ ได้แก่อะไร ? แต่ละปิฎก ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
. ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกฯ
พระวินับปิฎก ว่าด้วยเรื่องฎกระเบียบข้อบังคับที่นาความประพฤติให้สม่าเสมอกัน หรือเป็นเรื่องบริหารคณะ
พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยคาสอนยกบุคคลเป็นที่ตั้ง
พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยคาสอนยกธรรมล้วนๆ ไม่เจือด้วยสัตว์หรือบุคคล เป็นที่ตั้งฯ
. อาสวักขยญาณ รู้จักทาอาสวะให้สิ้น มีอธิบายอย่างไร ?
. มีอธิบายอย่างนี้ รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะฯ
. มาร มีอะไรบ้าง ? อกุศลกรรมจัดเป็นมารประเภทใด ?
. มีดังนี้ ๑. ขันธมาร มารคือปัญจขันธ์
. กิเลสมาร มารคือกิเลส
. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร
. มัจจุมาร มารคือมรณะ
. เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร
อกุศลกรรมเป็นมารประเภทอภิสังขารมารฯ
. สวรรค์มีกี่ชั้น ? อะไรบ้าง ?
. มี ๖ ชั้น ฯ ได้แก่
. ชั้นจาตุมหาราชิก
. ชั้นดาวดึงส์
. ชั้นยามา
. ชั้นดุสิต
. ชั้นนิมมานรดี
. ชั้นปรนิมมิตรสวัดดี ฯ
. พระพุทธคุณบทหนึ่งว่า เป็นผู้หักกาแห่งสังสารจักร ถามว่า กา ได้แก่อะไร ? สังสารจักร ได้แก่อะไร ?
. กา ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมฯ สังสารจักร ได้แก่ วัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบากฯ
. มิจฉัตตะ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? มิจฉาวายามะ ได้แก่พยายามผิดอย่างไร ?
. ความเป็นสิ่งที่ผิด ฯ มี
. มิจฉาทิฏฐิ ๒. มิจฉาสังกัปปะ
. มิจฉาวาจา ๔. มิจฉากัมมันตะ
. มิจฉาอาชีวะ ๖. มิจฉาวายามะ
. มิจฉาสติ ๘. มิจฉาสมาธิ
. มิจฉาญาณะ ๑๐. มิจฉาวิมุตติฯ
มิจฉาวายามะ ได้แก่ พยายามในทางยังบาปธรรมให้เกิดขึ้นและให้เจริญ และในทางยังกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้นและให้เสื่อมสิ้นไปฯ
. สังโยชน์ คืออะไร ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรขาดบ้าง ?
. คือ กิเลสอันผูกใจสัตว์ไว้ ฯ ละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นได้ขาด คือ
. สักกายทิฏฐิ
. วิจิกิจฉา
. สีลัพพตปรามาส ฯ
๑๐. ธุดงค์ ได้แก่อะไร ? การสมาทานธุดงค์ด้วยการฉันมื้อเดียวเป็นวัตรที่เรียกกันทั่วไปว่าฉันเอกาจัดเข้าในธุดงค์ข้อไหน ?
๑๐. ได้แก่ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ จัดเข้าในข้อ เอกาสนิกังคะ คือ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ฯ
**********



ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสดี ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๒
. พระสาวกสงฆ์ผู้ได้ชื่อว่าอนุพุทธะ มีความสาคัญอย่างไร ?
. มีความสาคัญ คือ พระสงฆ์สาวกจัดเป็นรัตนะประการหนึ่งในรัตนะ ๓ ซึ่งเป็นผู้มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน ถ้าไม่มีพระสาวกสงฆ์เป็นผู้รู้ธรรมและรับปฏิบัติธรรม ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็ไม่สาเร็จประโยชน์ และพระสาวกสงฆ์นั้นได้เป็นกาลังใหญ่ของพระศาสนาในอันช่วยประกาศพระธรรมประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้น เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก
. พระปัญจวัคคีย์ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกัน แต่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องเป็นปฐมสาวก เพราะเหตุ ?
. เพราะพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนและได้รับอุปสมบทก่อนองค์อื่น ฯ
. เอหิภิกขุอุปสัมปทาที่ประทานแก่พระปัญจวัคคีย์และพระยสะต่างกันอย่างไร ? เพราะเหตุไร ?
. ต่างกัน คือ ที่ประทานแก่พระปัญจวัคคีย์มีคาว่า เพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบ ส่วนที่ประทานแก่พระยสะไม่มีคาว่า เพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบ ฯ เพราะพยสะได้ถึงที่สุดทุกข์แล้ว ฯ
. พระปัญจวัคคีย์องค์ไหนบ้างได้ศิษย์ดีมีความสาคัญต่อพระศาสนา ? ศิษย์นั้นชื่ออะไร และเป็นผู้เลิศในทางใด ?
. พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้พระปุณณนมันตานีบุตรเป็นศิษย์เป็นผู้เลิศในทางธรรมกถึก
พระอัสสชิ ได้พระสารีบุตรเป็นศิษย์ เป็นผู้เลิศในทางมีปัญญามาก ฯ
. ชฏิล ๒ พี่น้อง ต่างละลัทธิของตน บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา เพราะเหตุใด ?
อุรุเวลกัสสปะ ถือตัวว่าเป็นผู้วิเศษ แต่พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์และอาเทสนาปาฏิหาริย์ทรมานจนถอนทิฏฐิมานะ ได้ปรีชาหยั่งเห็นว่าลัทธิของตนหาแก่นสารมิได้ ตนมิได้เป็นผู้วิเศษแต่ประการใด ได้ความสลดใจ จึงทูลขออุปสมบท
ส่วนนทีกัสสปะ และ คยากัสสปะ เห็นพี่ชายถือเพศเป็นภิกษุ ถามทราบความว่า พรหมจรรย์นี้ประเสริฐ จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลขออุปสมบทฯ
. พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพราะทรงพิจารณาเห็นอย่างไร ? และทรงถวายด้วยวิธีการอย่างไร ?
. เพราะทรงเห็นว่า พระราชอุทยานเป็นที่ไม่ไกลไม่ใกล้นักแต่บ้าน บริบูรณ์ด้วยทางเป็นที่ไปและทางเป็นที่มา ควรที่ผู้มีธุระจะควรไปถึง กลางวันไม่เกลื่อนกล่นด้วยหมู่คน กลางคืนเงียบเสียงที่จะอื้ออึงกึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนที่เดินเข้าออก สมควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการเป็นที่สงัด และควรเป็นที่หลีกออกเร้นอยู่ตามวิสัยสมณะ ควรเป็นที่เสด็จอยู่ของพระศาสดาฯ
ทรงถวายด้วยการหลั่งน้าจากพระเต้าทองฯ
. “คนเหล่านี้ทั้งหมดยังไม่ทันถึง ๑๐๐ ปี ก็จักไม่มีเหลือ จักล่วงไปหมด ดูการเล่นไม่มีประโยชน์อะไร ควรขวนขวายหาธรรมเครื่องพ้นดีกว่านี้เป็นคาพูดของใคร ? พูดกะใคร ?
. ของอุปติสสมานพ ฯ พูดกะโกลิตมาณพฯ
. คาถามว่าข้าพเจ้าจักพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจักไม่แลเห็นใครเป็นผู้ทูลถาม ? พระศาสดาทรงพยากรณ์ไว้อย่างไร ?
. พระโมฆราชเป็นผู้ทูลถาม ฯ
พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงเป็นคนมีสติ พิจารณาเป็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความตามเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจักข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล มันจุราชจึงไม่แลเห็นเห็นฯ
ศาสนพิธี
. สามัญอนุโมทนา กับ วิเสสอนุโมทนา ต่างกันอย่างไร ?
. ต่างกันอย่างนี้ สามัญอนุโมทนา คือการอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันทั่วไปปกติ ไม่ว่างานใด ก็ใช้อนุโมทนาอย่างนั้นฯ ส่วน วิเสสอนุโมทนา คือการอนุโมทนาด้วยบทสวดสาหรับอนุโมทนาเป็นบทพิเศษ เฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่องฯ
๑๐. บท อทาสิ เม อกาสิ เม ... และบท อยญฺ จ โข ทกฺขิณา ทินฺนา ... ใช้ต่างกันอย่างไร ?
๑๐. บท อทาสิ เม อกาสิ เม ... ใช้ในกรณีที่ศพยังอยู่
บท อยญฺ จ โข ทกฺขิณา ทินฺนา ... ใช้ในกรณีทาบุญอัฐิ ฯ



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสดี ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๒
. สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์ที่เรียกว่าอภิสมาจารแบ่งเป็น ๒ คือเป็นข้อห้าม ๑ เป็นข้ออนุญาต๑ นั้น คืออย่างไร ?
. ที่เป็นข้อห้าม คือกิริยาบางอย่างหรือบริขารบางประเภทไม่เหมาะแก่สมณะสารูป จึงทรงห้ามไม่ให้กระทาหรือใช้บริขารเช่นนั้น เช่นห้ามไม่ให้ไว้ผมยาว ไม่ให้ไว้หนวดเครายาว ไม่ให้ใช้บาตรไม้ เป็นต้น
ที่เป็นข้ออนุญาต คือการประทานประโยชน์พิเศษแก่พระภิกษุ เช่นทรงอนุญาตวัสสิกสาฎกในฤดูฝน เป็นต้นฯ
. มีพระบัญญัติข้อหนึ่งว่า อย่าพึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ อย่างพึงห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ ในกรณีที่ภิกษุถูกโจรชิงผ้านุ่งห่มไปหมด พึงปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามพระวินัย ?
. พึงปิดกายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราว โดยที่สุดแม้ใบไม้ก็ใช้ได้ ห้ามมิให้เปลือยกาย ฯ
. ผ้าสาหรับทาจีวรนุ่งห่มนั้น ทรงอนุญาตไว้กี่ชนิด ? อะไรบ้าง ?
. ทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด ฯ คือ
. โขมะ ผ้าทาด้วยเปลือกไม้
. กัปปาสิกะ ผ้าทาด้วยฝ้าย
. โกเสยยะ ผ้าทาด้วยใยไหม
. กัมพละ ผ้าทาด้วยขนสัตว์ ยกเว้นผมและขนมนุษย์
. สาณะ ผ้าทาด้วยเปลือกป่าน
. ภังคะ ผ้าที่ทาด้วยของ ๕ อย่างนั้น แต่อย่างใดอย่างหนึ่งปนกัน ฯ
. การประณาม ในพระวินัยหมายความว่าอย่างไร ? มีพระพุทธานุญาตให้อุปัชฌาย์ทาการประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติอย่างไร ?
. หมายความว่า การไล่สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกผู้ประพฤติมิชอบ ฯ
ผู้ประพฤติ ดังนี้
. หาความรักใคร่ในอุปัชฌาย์มิได้
. หาความเลื่อมใสมิได้
. หาความละอายมิได้
. หาความเคารพมิได้
. หาความหวังดีต่อมิได้ ฯ
. บุพพกรณ์และบุพพกิจในการทาอุโบสถต่างกันอย่างไร ? ในวัดที่มีภิกษุ ๓ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถ จะต้องทาบุพพกรณ์และบุพพกิจหรือไม่ เพราะเหตุไร ?
. บุพพกรณ์ คือ กรณียะอันจะพึงกระทาให้เสร็จก่อนประชุมสงฆ์ ส่วน บุพพกิจเป็นธุระอันจะพึงทาก่อนแต่สวดปาติโมกข์ ฯ
บุพพกรณ์นั้นเป็นกรณียะจะต้องทา เพราะต้องไปประชุมกันตามกิจ ส่วนบุพพกิจนั้นไม่ต้องทา เพราะภิกษุ ๓ รูป ไม่ต้องสวดปาติโมกข์ ฯ
. ภิกษุจาพรรษาอยู่ด้วยกัน ๕ รูป ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ อยู่รูปเดียว ถึงวันปวารณา พึงปฏิบัติอย่างไร ?
. อยู่ด้วยกัน ๕ รูป พึงทาปวารณาเป็นการสงฆ์ อยู่ด้วยกัน ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป พึงปวารณาเป็นการคณะ อยู่รูปเดียว พึงอธิษฐานเป็นการบุคคล ฯ
. การทานอกรีตนอกรอยของสมณะที่เรียกว่า อนาจาร ปาปสมาจาร และอเนสนา ได้แก่ความประพฤติเช่นไร ? รวมเรียกว่าอะไร ?
. อนาจาร ได้แก่ ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่างๆ
ปาปสมาจาร ได้แก่ ความประพฤติเลวทราม
อเนสนา ได้แก่ความเลี้ยงชีพไม่สมควร ฯ
รวมเรียกว่า อุปปถกิริยา ฯ
. กาลิก คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? กาลิกกระคนกันมีกาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
. ของที่จะพึงกลืนให้ล่วงลาคอเข้าไป ฯ มีดังนี้ คือ ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ ยาวชีวิก ฯ กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุสั้นที่สุดเป็นเกณฑ์ เช่น เอายาผงที่เป็นยาวชีวิกซึ่งไม่จากัดอายุคลุกกับน้าผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิกซึ่งมีกาหนดอายุไว้ ๗ วัน ดังนี้ต้องถืออายุ ๗ วันเป็นเกณฑ์ ฯ
. การแสดงอาบัติ การอธิษฐาน การทาวิกัป ในทางพระวินัยเรียกว่าอะไร ? การทากิจเหล่านี้จากัดคนไว้อย่างไร ?
. เรียกว่า วินัยกรรม ฯ
การแสดงอาบัติ จากัดภิกษุผู้รับ ต้องเป็นภิกษุผู้มีสังวาสเดียวกัน
การอธิษฐาน ให้ทาเอง
การทาวิกัป จากัดผู้รับ ต้องทากับสหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา รูปใดรูปหนึ่ง ฯ
๑๐. ภิกษุผู้ได้ชื่อว่าประดับพระศาสนาให้รุ่งเรืองเพราะประพฤติปฏิบัติเช่นไร ? จงชี้แจง
๑๐. เพราะมีความประพฤติปฏิบัติสุภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ด้วยอภิสมาจาริกวัตร เว้นจากบุคคลและสถานที่ไม่สมควรไปคืออโคจร เป็นผู้ได้ชื่อว่าอาจารโคจรสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจรอันเป็นคุณบทว่า สีลสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ฯ
*********



กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๓
กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางาม
ยังประโยชน์ให้สาเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘
----------------
แต่งอธิบายเป็นทานองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซ้าข้อกัน แต่จะซ้าคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กาหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
----------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ..๒๕๕๓
. สังขตธรรม คืออะไร ? มีลักษณะอย่างไร ?
. คือธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง ฯมีลักษณะ คือ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความดับไปในที่สุด และเมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ฯ
. วิมุตติ กับ วิโมกข์ ต่างกันอย่างไร ? สมุจเฉทวิมุตติ มีอธิบายอย่างไร ?
. ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ แต่ก็พ้นจาก ราคะ โทสะ โมหะได้เท่ากันโดยอรรถ ฯ
มีอธิบายว่า ความพ้นจากกิเลสด้วยอานาจอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป
ไม่กลับเกิดอีก ฯ
. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขนิโรธสัจมีอธิบายอย่างไร ?
. มี ๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
. กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทา
. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทาแล้ว ฯ
มีอธิบายว่า
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจ จัดเป็นสัจจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจเป็นสภาพที่ควรทาให้แจ้ง จัดเป็นกิจจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจที่ควรทาให้แจ้ง ๆ แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
. ภพกับภูมิต่างกันอย่างไร ? มีอย่างละเท่าไร ?
. ภพ หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ต่างชั้นแห่งหมู่สัตว์ มี ๓ ฯ ภูมิ หมายถึงภาวะ อันประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แห่งจิตและเจตสิก มี ๔ ฯ
. กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา ได้ชื่อว่า โอฆะ โยคะ และอาสวะเพราะเหตุไร ?
. ได้ชื่อว่าโอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้าอันท่วมใจสัตว์ ได้ชื่อว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมกอยู่ในสันดาน ฯ
. จริต ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? คนมีจริตมักนึกพล่านจะพึงแก้ด้วยกัมมัฏฐานอะไร ?
. ได้แก่ ๑. ราคจริต ๒. โทสจริต ๓. โมหจริต
. วิตักกจริต ๕. สัทธาจริต ๖. พุทธิจริต ฯ
พึงแก้ด้วยวิธีเพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน ฯ
. พระพุทธคุณ ๙ บท คืออะไรบ้าง ? บทไหนจัดเป็นอัตตหิตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ ?
. คือ อรห , สมฺมาสมฺพุทฺโธ, วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน, สุคโต, โลกวิทู, อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ, สตฺถา เทวมนุสฺสาน , พุทฺโธ, ภควา ฯ
๕ บทเบื้องต้นเป็นอัตตหิตสมบัติ ๔ บทเบื้องปลายเป็นปรหิตปฏิบัติ ฯ
. พระโสดาบัน แปลว่าอะไร ? หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ละสังโยชน์อะไรได้ขาดบ้าง ?
. แปลว่าผู้แรกเข้าถึงกระแสพระนิพพาน ฯ ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาสได้ขาด ฯ
. ธุดงค์ท่านบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? ธุดงค์ที่ภิกษุถือได้มีกาหนดเฉพาะกาล คือข้อใด ? เพราะเหตุใด ฯ
. เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
ข้อ รุกขมูลิกังคะ และ อัพโภกาสิกังคะ ฯ
ธุดงค์ ๒ ข้อนี้ภิกษุถือได้เฉพาะกาลนอกพรรษา เพราะในพรรษาภิกษุต้องถือเสนาสนะเป็นที่อยู่อาศัยประจาตามพระวินัยนิยม ฯ
๑๐. บุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพหูสูต เพราะประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
๑๐. ประกอบด้วย
. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก
. ธตา ทรงจาได้
. วจสา ปริจิตา ท่องไว้ด้วยวาจา
. มนสานุเปกฺขิตา เอาใจจดจ่อ
. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบด้วยทิฏฐิ ฯ
*********


ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ..๒๕๕๓
. พุทธบริษัท ๔ ผู้เป็นอริยสาวก มีลาดับการเกิดขึ้นก่อนหลังกันอย่างไร ? บุคคลแรกของแต่ละบริษัทนั้นคือใคร ?
. มีลำดับอย่ำงนี้ คือ ภิกษุ อุบำสก อุบำสิกำ และภิกษุณี ฯพระอัญญำโกณฑัญญะ เป็นคนแรกของภิกษุบริษัทบิดำของพระยสะ เป็นคนแรกของอุบำสกบริษัทมำรดำและภรรยำของพระยสะ เป็นคนแรกของอุบำสิกำบริษัทพระนำงปชำบดี โคตมี เป็นคนแรกของภิกษุณีบริษัท ฯ
. พระอัญญาโกณฑัญญะมีมูลเหตุจูงใจอะไร จึงได้ออกบวชตามอุปัฏฐากพระมหาบุรุษขณะบาเพ็ญทุกรกิริยา ?
. เพรำะได้เคยเข้ำร่วมทำนำยพระลักษณะของพระมหำบุรุษโดยเชื่อมั่นว่ำจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ำ จึงตำมอุปัฏฐำกด้วยหวังว่ำ เมื่อพระมหำบุรุษตรัสรู้จักทรงเทศนำโปรด ฯ
. มารยาทดีมีความสารวมย่อมเป็นศรีของสมณะ สามารถจะปลูกศรัทธาเลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้พบเห็น นี่เป็นปฏิปทาจริยาวัตรของพระสาวกรูปใด ? จงเล่าประวัติของท่านโดยย่อ
. ของพระอัสสชิเถระ ฯ
ท่ำนเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ ได้ฟังพระธรรมเทศนำจนได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ได้เป็นกำลังในกำรประกำศพระศำสนำ อุปติสสปริพำชกพบเห็นแล้วเกิดควำมเลื่อมใส ขอฟังธรรมจำกท่ำน แล้วได้เข้ำมำบวชในพระพุทธศำสนำ ฯ
. ยสกุลบุตรได้ฟังธรรมอะไรจากพระศาสดาเป็นครั้งแรก ? ณ ที่ไหน ?
. ได้ฟัง อนุปุพพีกถำ และอริยสัจ ๔ ฯ
ณ ป่ำอิสิปตนมฤคทำยวัน แขวงเมืองพำรำณสี ฯ
. พระสาวกผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีบริวารมากคือใคร ? ท่านมีบริวารมากเพราะเหตุไร ?
. พระอุรุเวลกัสสปะ ฯ เพรำะท่ำนรู้จักเอำใจบริษัท รู้จักสงเครำะห์ด้วยอำมิสบ้ำง ด้วยธรรมบ้ำง ฯ
. พระพุทธโอวาทว่า เราจะไม่ละสติที่ไปในกาย คือพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ ดังนี้ พระองค์ตรัสกะสาวกรูปใด ? พระสาวกรูปนั้นเป็นเอตทัคคะในทางใด ?
. พระมหำกัสสปะ ฯ
เป็นเอตทัคคะในทำงถือธุดงค์ ฯ
. พระมหากัจจายนะเคยได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าให้ไปเผยแผ่พระศาสนาแทนพระองค์เมื่อครั้งไหน ? ได้ผลอย่างไร ?
. เมื่อครั้งที่ท่ำนบรรลุพระอรหัต และอุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ได้ทูลเชิญพระพุทธเจ้ำให้เสด็จไปกรุงอุชเชนี เพื่อประกำศพระศำสนำตำมพระรำชประสงค์ของพระเจ้ำจัณฑปัชโชต แต่พระพุทธเจ้ำรับสั่งให้ท่ำนไปแทน ฯ พระเจ้ำจัณฑปัชโชตและชำวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศำสนำ ฯ
. พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพระโมฆราชด้วยเรื่องอะไร ? มีความหมาย
อย่างไร ?
. ด้วยเรื่องสุญญตำนุปัสสนำ ฯ มีควำมหมำยว่ำ ให้พิจำรณำเห็นโลกโดยควำมเป็นของว่ำงเปล่ำ ถอนควำมเห็นว่ำเป็นตัวตนของเรำเสีย ฯ
ศาสนพิธี
. คาว่า เจริญพระพุทธมนต์กับสวดพระพุทธมนต์ใช้ต่างกันอย่างไร ? การทาบุญฉลองอัฐิจัดเข้าในอย่างไหนใน ๒ อย่างข้างต้น ?
. เจริญพระพุทธมนต์ใช้ในงำนมงคล สวดพระพุทธมนต์ใช้ในงำนอวมงคล ฯ
จัดเข้ำในกำรเจริญพระพุทธมนต์ แต่ไม่ต้องตั้งขันน้ำมนต์และสำยสิญจน์ ฯ
๑๐. งานทาบุญต่อนามหรือต่ออายุ คืองานทาบุญเช่นไร ?
๑๐. คืองำนทำบุญที่คณะญำติของผู้กำลังป่วยหนักจัดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยหำยป่วยและเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีโอกำสบำเพ็ญกุศลในบั้นปลำยแห่งชีวิตของตน หรือเป็นควำมประสงค์ของผู้จะทำบุญต่ออำยุเองเพื่อควำมเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ฯ
*********



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ..๒๕๕๓
. อาทิพรหมจริยกาสิกขา กับ อภิสมาจาริกาสิกขา ต่างกันอย่างไร ?
. ต่างกันดังนี้ อาทิพรหมจริยาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ อันได้แก่พระพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งไว้ให้เป็นพุทธอาณา เป็นสิกขาบทอันมาในพระปาติโมกข์ เป็นข้อบังคับโดยตรงทีภิกษุจะต้องประพฤติปฏิบัติโดยเคร่งครัด ส่วนอภิสมาจาริกาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเนื่องด้วยอภิสมาจาร คือมารยาทอันดี ที่ทรงบัญญัติหรืออนุญาตไว้ อันมานอกพระปาติโมกข์ เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามของหมู่คณะที่ควรประพฤติ ฯ
. วินัยกรรม กับ สังฆกรรม มีความหมายต่างกันอย่างไร ? การทาวินัยกรรมนั้น มีจากัดบุคคลและสถานที่บ้างหรือไม่อย่างไร ?
. ต่างกันอย่างนี้ กรรมที่ภิกษุแต่ละรูปหรือหลายรูปจะพึงทาตามพระวินัย เช่น พินทุ อธิษฐาน วิกัปจีวร เป็นต้น เรียกว่าวินัยกรรม กรรมที่ภิกษุ ครบองค์เป็นสงฆ์ มีจานวนอย่างต่าตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปจะพึงทา เช่น อปโลกนกรรมเป็นต้น เรียกว่าสังฆกรรม ฯ
จากัดบุคคลและสถานที่ไว้ดังนี้
. แสดงอาบัติ ต้องแสดงแก่ผู้เป็นภิกษุด้วยกัน
. อธิษฐาน ต้องทาเอง
. วิกัป ต้องวิกัปแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี นางสิกขมานาสามเณร สามเณรี รูปใดรูปหนึ่ง
. ห้ามไม่ให้ทาในที่มืด แต่ทาในสีมาหรือนอกสีมาใช้ได้ทั้งนั้น ฯ
. ตามนัยแห่งอรรถกถา อาจารย์มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? คาขอนิสสัยอาจารย์ว่าอย่างไร ?
. มี ๔ ประเภท ฯ
คือ ๑. ปัพพัชชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา
. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท
. นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย
. อุทเทสาจารย์ อาจารย์ผู้บอกธรรม ฯ
ว่า อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ ฯ
. กิริยาที่แสดงความอ่อนน้อมต่อกันและกันเป็นความดีของหมู่ แต่ต้องทาให้
ถูกต้องตามกาลเทศะ ในข้อนี้ควรงดเว้นในกรณีใดบ้าง ? จงบอกมาสัก ๕ ข้อ
. ได้แก่ในเวลาดังต่อไปนี้ (ตอบเพียง ๕ ข้อ)
. ในเวลาประพฤติวุฏฐานวิธี คืออยู่กรรม เพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส
. ในเวลาถูกสงฆ์ทาอุกเขปนียกรรม ที่ถูกห้ามสมโภคและสังวาส
. ในเวลาเปลือยกาย
. ในเวลาเข้าบ้านหรือเดินอยู่ตามทาง
. ในเวลาอยู่ในที่มืดที่แลไม่เห็นกัน
. ในเวลาที่ท่านไม่รู้ คือนอนหลับหรือขลุกขลุ่ยอยู่ด้วยธุระอย่างหนึ่ง หรือ
ส่งใจไปอื่น แม้ไหว้ ท่านก็คงไม่ใส่ใจ
. ในเวลาขบฉันอาหาร
. ในเวลาถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ ฯ
. ในวัดหนึ่ง ถ้ามีภิกษุจาพรรษา ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถพึงปฏิบัติอย่างไร ?
. ๔ รูป พึงประชุมกันในโรงอุโบสถสวดปาติโมกข์
๓ รูป พึงประชุมกันทาปาริสุทธิอุโบสถ ดังนี้ ประชุมกันในโรงอุโบสถแล้วรูปหนึ่งสวดประกาศญัตติ จบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธิ์ของตน
๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน
๑ รูป พึงอธิษฐาน ฯ
. อุปปถกิริยา คืออะไร ? ความประพฤติเช่นไรจัดเข้าใน อนาจารปาปสมาจาร อเนสนา ?
. คือ การทานอกรีตนอกรอยของสมณะ ฯ
ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่าง ๆ จัดเข้าในอนาจารความประพฤติเลวทราม จัดเข้าในปาปสมาจาร ความเลี้ยงชีพไม่สมควรจัดเข้าในอเนสนา ฯ
. ภิกษุผู้ได้ชื่อว่าโคจรสัมปันโนผู้ถึงพร้อมด้วยโคจรเพราะปฏิบัติอย่างไร ?
. เพราะเว้นอโคจร ๖ จะไปหาใครหรือจะไปที่ไหน เลือกบุคคล เลือกสถานอันสมควร ไปเป็นกิจลักษณะในเวลาอันควร ไม่ไปพร่าเพรื่อ กลับในเวลาประพฤติตนไม่ให้เป็นที่รังเกียจของเพื่อนสหธรรมิกเพราะการไปเที่ยว ฯ
. ยาวกาลิกกับยาวชีวิกได้แก่กาลิกเช่นไร ? กาลิกระคนกันมีกฎเกณฑ์กาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
. ยาวกาลิก ได้แก่ของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ยาวชีวิกได้แก่ของที่ให้บริโภคได้เสมอไป ไม่มีจากัดกาล ฯ
กฎเกณฑ์กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุน้อยที่สุด ฯ เช่นยาผง เป็นยาวชีวิก คลุกกับน้าผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิก ต้องถืออายุ ๗ วัน เป็นเกณฑ์ ฯ
. คาว่า อันโตวุฏฐะ อันโตปักกะ สามปักกะ หมายถึงอะไร ?
. อันโตวุฏฐะ หมายถึงยาวกาลิกที่ภิกษุเก็บไว้ในที่อยู่ของตน ฯ
อันโตปักกะ หมายถึงยาวกาลิกที่ภิกษุหุงต้มภายใน (ที่อยู่ของตน)
สามปักกะ หมายถึงยาวกาลิกที่ภิกษุทาให้สุกเอง ฯ
๑๐. ภิกษุจะฉันสิ่งใด ๆ ต้องรับประเคนก่อน มีกรณียกเว้นเป็นพิเศษอะไรบ้างที่ไม่ต้องรับประเคนก่อนก็ฉันได้ ?
๑๐. ยกเว้นเป็นพิเศษเฉพาะภิกษุอาพาธถูกงูกัด ให้ฉันยามหาวิกัฏ ๔ คือมูตร คูถเถ้า และดินได้ ฯ
*********



ปัญหาวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๑๒ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๔
อคฺคสฺมึ ทานํททตํ อคฺคํปุญฺญํปวฑฺฒติ
อคฺคํอายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํพลํ.
เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุวรรณะยศเกียรติสุขและ
กาลังอันเลิศ ก็เจริญ.
(พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๙
----------------
แต่งอธิบายเป็นทานองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซ้าข้อกัน แต่จะซ้าคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กาหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
----------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๔
. ในอริยบุคคล ๒ พระเสขะผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาเรื่องอะไร ? ผู้ศึกษากาลังสอบธรรมอยู่นี้เรียกว่าพระเสขะได้หรือไม่ ?
. คือศึกษา ในอธิสีล ในอธิจิต และในอธิปัญญา อีกอย่างหนึ่งหมายถึง ต้องศึกษาและต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไปฯ ยังเรียกว่าพระเสขะไม่ได้ ถ้าไม่ใช่พระอริยบุคคล ๗ จาพวกเบื้องต้น ฯ
. มหาภูตรูปและอุปาทายรูปคืออะไร ?
. มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่ ได้แก่ธาตุ ๔ มี ปฐวี อาโป เตโช วาโย อุปาทายรูป คือรูปอาศัยมหาภูตรูปนั้น ฯ
. ไตรวัฏฏะ อันได้แก่ กิเลสวัฏฏะ กัมมวัฏฏะ วิปากวัฏฏะ มีสภาพ เกี่ยวเนื่องวนกันไปอย่างไร ? ตัดให้ขาดได้ด้วยอะไร ?
. อย่างนี้ คือ กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทากรรม ครั้นทากรรมแล้ว ย่อมได้รับ วิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ ได้ด้วยอรหัตตมรรคญาณ ฯ
. เมตตากับปรานีมีความหมายต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร? และอย่างไหน กาจัดวิตกอะไร ?
. เมตตาหมายถึงความรักใคร่หรือความหวังดี ปรานีหมายถึงความปรารถนาให้ ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์เข้าลักษณะแห่งกรุณา ฯ เมตตากาจัดพยาบาทวิตก ปรานีกาจัดวิหิงสาวิตก ฯ
. ทักขิณา คืออะไร ? ทักขิณานั้น จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ในฝ่ายทายก และในฝ่ายปฏิคาหกนั้น มีอะไรเป็นเครื่องหมาย ?
. คือ ของทาบุญ ฯ ทักขิณาจะบริสุทธิ์ มีศีลมีกัลยาณธรรมเป็นเครื่องหมาย ทักขิณาจะไม่บริสุทธิ์ มีทุศีลมีบาปธรรมเป็นเครื่องหมาย ฯ
. บทนมัสการพระธรรมว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธมฺม นมสฺสามิ ข้าพเจ้านมัสการพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ที่ว่า ตรัสดีแล้ว นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
. มีอธิบายอย่างนี้คือ ดีทั้งในส่วนปริยัติและดีทั้งในส่วนปฏิเวธ ในส่วนปริยัติ ได้ชื่อว่าดีเพราะตรัสไม่วิปริต เพราะแสดงข้อปฏิบัติโดยลาดับกัน มีความไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในส่วนปฏิเวธนั้น ได้ชื่อว่าดี เพราะปฏิปทากับพระนิพพานย่อมสมควรแก่กันและกัน ฯ
. พระพุทธคุณว่า อรห ใช้เป็นคุณบทของพระสาวกได้ด้วยหรือไม่ ? ถ้าได้ จะมีคาอะไรมาประกอบร่วมด้วย เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นคุณบท ของพระศาสดาหรือของพระสาวก ?
. ได้ ฯ สาหรับพระศาสดา ใช้ว่า อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ แปลว่า พระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบเอง สาหรับพระสาวกใช้ว่า อรห ขีณาสโว แปลว่า พระอรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ฯ
. คาว่า พระสงฆ์ ในบทสังฆคุณนั้น ท่านประสงค์บุคคลเช่นไร ? จงจาแนกมาดู
. ท่านประสงค์พระอริยบุคคล ๔ คู่ ๘ บุคคล ซึ่งล้วนแต่ท่านผู้ที่ตั้งอยู่ใน มรรคผลทั้งสิ้น คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล คู่ ๑ พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล คู่ ๑ พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล คู่ ๑ พระอรหัตมรรค พระอรหัตผล คู่ ๑ ฯ
. พระบาลีว่าอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขาราเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้ คาว่า สังขารหมายถึงอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ?
. หมายถึงสภาพผู้ปรุงแต่ง ฯ ได้แก่
. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารคือบุญ
. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารคือบาป
. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขารคืออเนญชา
๑๐. ครุกรรม คืออะไร ? อนันตริยกรรมกับสมาบัติ ๘ เป็นครุกรรมฝ่ายกุศล หรืออกุศล ?
๑๐. คือ กรรมหนัก ฯ อนันตริยกรรม เป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล สมาบัติ ๘ เป็นครุกรรมฝ่ายกุศล ฯ
*********



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๔
. ภิกษุผู้ปฏิบัติพระวินัยส่วนอภิสมาจารให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม จะต้อง ปฏิบัติอย่างไร ?
. จะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม ต้องปฏิบัติโดยสายกลาง คือไม่ถือเคร่งครัดอย่าง งมงาย จนเป็นเหตุทาตนให้ลาบากเพราะเหตุธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ อัน ขัดต่อกาลเทศะ และไม่สะเพร่ามักง่าย ละเลยต่อธรรมเนียมของภิกษุ จนถึงทาตนให้เป็นคนเลวทราม ฯ
. เปลือยกายอย่างไรต้องอาบัติถุลลัจจัย ? อย่างไรต้องอาบัติทุกกฎ ?
. เปลือยกายเป็นวัตรเอาอย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯ เปลือยกายทากิจแก่กัน เช่นไหว้ รับไหว้ ทาบริกรรม ให้ของ รับของ และเปลือยกายในเวลาฉัน ในเวลาดื่ม ต้องอาบัติทุกกฎฯ
. ในบาลีแสดงเหตุนิสัยจะระงับจากอุปัชฌาย์ไว้เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
. แสดงไว้ ๕ ประการ ฯ คือ อุปัชฌาย์หลีกไปเสีย ๑ สึกเสีย ๑ ตายเสีย ๑ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๑ สั่งบังคับ ๑ ฯ
. ภิกษุผู้ได้ชื่อว่า วตฺตสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร วัตรคืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
. วัตรคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ ฯ
มี ๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทา
. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
. วิธิวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง ฯ
. คารวะ คืออะไร ? การลุกขึ้นยืนรับเป็นกิจที่ผู้น้อยพึงทาแก่ผู้ใหญ่แต่ควรเว้นในเวลาเช่นใดบ้าง ?
. คือ กิริยาที่แสดงอาการอ่อนน้อมโดยสมควรแก่กาล สถานที่ กิจ และ บุคคล ฯ ควรเว้นในเวลานั่งอยู่ในสานักของผู้ใหญ่ ไม่ลุกรับผู้น้อยกว่าท่าน ในเวลานั่งเข้าแถวในบ้าน ในเวลาเข้าประชุมสงฆ์ในอาราม ฯ
. ในวัดที่ไม่มีภิกษุผู้ทรงจาปาติโมกข์ได้จนจบ ถึงวันอุโบสถ สวดเท่าที่จาได้ แล้วชักสุตบท (สวดย่อ) โดยอ้างว่าเกิดเหตุฉุกเฉิน ถูกต้องหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
. สวดปาติโมกข์ย่อนั้น ถูกต้องแล้ว แต่จะอ้างว่าสวดย่อเพราะเกิดเหตุ ฉุกเฉินนั้น ไม่ถูกต้อง ฯ เพราะการสวดย่อเนื่องจากจาได้ไม่หมด ทรงอนุญาตไว้แผนกหนึ่งต่างหาก ไม่จัดเข้าในเหตุฉุกเฉิน ๑๐ ประการ ฯ
. สภาคาบัติ คืออาบัติเช่นไร ? ภิกษุต้องสภาคาบัติ จะพึงปฏิบัติอย่างไร ?
. คือ อาบัติที่ภิกษุต้องวัตถุเดียวกัน เพราะล่วงละเมิดสิกขาบทเดียวกัน ฯ เมื่อภิกษุต้องสภาคาบัติ ห้ามไม่ให้แสดงอาบัตินั้นต่อกัน ห้ามไม่ให้รับ อาบัติของกัน ให้แสดงในสานักภิกษุอื่น ถ้าสงฆ์ต้องสภาคาบัติทั้งหมดต้องส่งภิกษุรูปหนึ่งไปแสดงในที่อื่น ภิกษุที่เหลือจึงแสดงในสานักของภิกษุนั้นฯ
. ภิกษุได้รับการสรรเสริญว่า กุลปสาทโก ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส กับภิกษุ ผู้ได้รับการตาหนิว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายตระกูล เพราะมี ความประพฤติเช่นไร ?
. ภิกษุผู้ได้รับการสรรเสริญว่า กุลปสาทโก เพราะถึงพร้อมด้วยอาจาระ ไม่ทอดตนเป็นคนสนิทของสกุลโดยฐานเป็นคนเลว ไม่รุกรานตัดรอนเขา แสดงเมตตาจิต ประพฤติพอดีพองาม ทาให้เขาเลื่อมใสนับถือตน ส่วนภิกษุผู้ได้รับการตาหนิว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายสกุล เพราะประพฤติ ให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส ประจบเขาด้วยกิริยาทาตนอย่างคฤหัสถ์ ให้ของ กานัลแก่สกุลอย่างคฤหัสถ์เขาทากัน ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการ เอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ
. ผ้าบริขารโจล ได้แก่ผ้าเช่นไร ? การอธิษฐานด้วยกายกับการอธิษฐาน ด้วยวาจาต่างกันอย่างไร ?
. ได้แก่ ผ้าที่ไม่ใช่ของใหญ่ถึงกับนุ่งห่มได้ เช่นผ้ากรองน้าถุงบาตร ย่าม ฯ การอธิษฐานด้วยกาย คือ การใช้มือจับหรือลูบบริขารที่จะอธิษฐานแล้ว ทาความผูกใจตามคาอธิษฐานนั้นๆ ส่วนการอธิษฐานด้วยวาจา คือ การเปล่งคาอธิษฐานนั้นๆ ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้ ฯ
๑๐. ผ้าต่อไปนี้ คือ สังฆาฏิ อันตรวาสก นิสีทนะ ผ้าอาบน้าฝน ผ้าเช็ดปาก ผ้าถุงบาตร ผืนใดที่ทรงอนุญาตให้อธิษฐานได้เพียงผืนเดียว ?
๑๐. สังฆาฏิ นิสีทนะ อันตรวาสก และผ้าอาบน้าฝน ฯ
*********



ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๔
. พระอัญญาโกณฑัญญะสาเร็จเป็นพระอรหันต์หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว กี่วัน ? สาเร็จเพราะฟังพระธรรมเทศนาชื่ออะไร ?
. ๕ วัน ฯ ชื่อ อนัตตลักขณสูตร ฯ
. ภิกษุผู้รัตตัญญู ย่อมมีคุณสมบัติเช่นไร จึงพ้นจากคาตาหนิว่า โตเพราะกินข้าว เฒ่าเพราะบวชนาน ?
. ย่อมเป็นผู้เก่าแก่ ได้พบเห็นและสันทัดในกิจการของคณะ ย่อมอาจจัด อาจทาให้สาเร็จด้วยตนเองหรือบอกเล่าแนะนาผู้อื่น เป็นเจ้าแบบเจ้าแผนดุจ ผู้รักษาคลังพัสดุ ฯ
. พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่ใครเป็นคนแรก? อนุปุพพีกถานั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร ?
. แสดงแก่ยสกุลบุตรเป็นคนแรก ฯ กล่าวพรรณนาทานการให้ แล้วพรรณนา ศีลความรักษากายวาจาเรียบร้อย พรรณนาสวรรค์คือกามคุณที่บุคคลใคร่ ซึ่งจะพึงได้พึงถึงด้วยกรรมอันดีคือทานและศีล พรรณนาโทษแห่งกาม และพรรณนาอานิสงส์แห่งความออกไปจากกาม ฯ
. พระสารีบุตรได้รับการสรรเสริญว่าเป็นผู้กตัญญูกตเวที จงเล่าเรื่องมาประกอบ สัก ๑ เรื่อง เพื่อยืนยันคากล่าวนี้
. (ให้ตอบเพียง ๑ เรื่อง)
เรื่องที่ ๑ พระสารีบุตรนับถือพระอัสสชิเป็นอาจารย์ เมื่ออาจารย์อยู่ใน ทิศใด ก่อนจะนอน ท่านจะนมัสการและนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น ฯ
เรื่องที่ ๒ ราธพราหมณ์เสียใจมีร่างกายซูบซีด เพราะไม่ได้อุปสมบทตาม ปรารถนา พระศาสดาทรงทราบความแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า มีใคร ระลึกถึงอุปการะของราธะได้บ้าง, พระสารี
บุตรทูลว่า ราธพราหมณ์ เคยถวายภิกษาแก่ท่านทัพพีหนึ่ง พระศาสดาตรัสสรรเสริญว่าเป็นผู้กตัญญู ดีนัก อุปการะเพียงเท่านี้ก็ยังจาได้ ฯ
. ความเห็นว่าพระขีณาสพตายแล้วดับสูญ เป็นความเห็นผิด ความเห็นที่ ถูกต้องเป็นอย่างไร ?
. ความเห็นที่ถูกต้องว่า พระขีณาสพตายแล้ว รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ที่ไม่เที่ยงดับไป ฯ
. พระมหากัสสปะได้รับอุปสมบทแล้วนานเท่าไรจึงบรรลุพระอรหัต ? พระโอวาทข้อว่าเราจะไม่ละสติที่ไปในกาย คือพิจารณาร่างกายเป็น อารมณ์สงเคราะห์เข้าในธรรมข้อใดบ้าง ?
. ๘ วัน ฯ สงเคราะห์เข้าใน กายคตาสติ และ วิปัสสนาญาณ เป็นต้น ฯ
. พระสาวกผู้แสดงความไม่ต่างกันแห่งวรรณะ ๔ เหล่า คือใคร ? แสดงแก่ใคร ? ที่ไหน ? พระสูตรนั้นชื่ออะไร ?
. พระมหากัจจายนะเป็นผู้แสดง ฯ แก่พระเจ้ามธุรราช อวันตีบุตร ฯ ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี ฯ สูตรนั้นชื่อว่า มธุรสูตร ฯ
. อาจารย์ผู้ผูกปัญหาให้ศิษย์ ๑๖ คนไปทูลถามพระพุทธเจ้า ชื่ออะไร ? ทั้งอาจารย์และศิษย์ฟังพุทธพยากรณ์แล้วได้บรรลุผลอะไร ?
. พราหมณ์พาวรี ฯ ปิงคิยมาณพได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ ศิษย์อีก ๑๕ คน ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ฯ ส่วนอาจารย์ได้บรรลุเสขภูมิ ฯ
ศาสนพิธี
. วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร ? เนื่องด้วยวันนั้น มีบุญพิธีอะไรที่ทากันมาจนถึงบัดนี้ ?
. คือ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก หลังจากที่เสด็จขึ้นไปจาพรรษา ในดาวดึงสพิภพถ้วนไตรมาส โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้า เปิดโลก ฯ
มีการทาบุญตักบาตรแด่พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ จนเป็นประเพณีทาบุญ ตักบาตรที่เรียกว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ มาจนถึงปัจจุบันนี้ ฯ
๑๐. วิหารทานคาถา ซึ่งเป็นบทอนุโมทนาพิเศษ เริ่มต้นด้วย สีต อุณฺห ปฏิหนฺติ ฯลฯ นิยมใช้สวดเมื่อใด ?
๑๐. เมื่อทายกถวายเสนาสนะมี โบสถ์ วิหาร กุฎี เป็นต้น ฯ
*********



ปัญหาวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๕
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํโถกํปิ อาจินํ.
แม้หม้อน้ำยังเต็มม้้ยยัหยัำ้น้ำฉังนด้ คนตขลำสง่เสมบำป แม้ทีละน้อยั ๆ
กมต็มม้้ยยับำปฉังนนง้น.
(พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๓๑.
----------------
แ็่เอธิบำยัตปมนทำนอเตทศนำโยหำร อ้ำเสุภำษิ็อื่นมำประกอบไม่น้อยักย่ำ ๒ ข้อ และบอกชื่อคงมภีร์ที่มำแห่เสุภำษิ็นง้น้้ยยั ห้ำมอ้ำเสุภำษิ็ซ้ำข้อกงน แ็่จะซ้ำคงมภีร์ไ้้ ไม่ห้ำม สุภำษิ็ที่อ้ำเมำนง้น ็้อเตรียัเตชื่อมคยำมดห้สนิท็ิ้็่อสมตรื่อเกงบกระทู้็ง้เ.
ชง้นนี้ กำหน้ดห้ตขียันลเดนดบ็อบ ็ง้เแ็่ ๓ หน้ำ (ตย้นบรรทง้) ขึ้นไป
----------------
ดห้ตยลำ ๓ ชั่วโมง



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๕
. กัมมัฏฐานที่พระอุปัชฌาย์สอนแก่ผู้ขอบรรพชาอุปสมบทว่าเกสาโลมานขาทนฺตาตโจ ตโจ ทนฺตานขาโลมาเกสานั้น เรียกชื่อว่าอะไร ? เป็นสมถกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน ?
. ชื่อว่า ตจปัญจกกัมมัฏฐาน หรือ มูลกัมมัฏฐาน ฯ เป็นได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ
. แสวงหาอะไรเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ แสวงหาอะไรเป็นการแสวงหาไม่ประเสริฐ ?
. ในพระสูตรแสดงว่า แสวงหาสภาพอันมิใช่ของมีชรา พยาธิ มรณะ คือ คุณธรรมมีพระนิพพานเป็นอย่างสูง เป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ เรียกว่าอริยปริเยสนา แสวงหาของมีชรา พยาธิ มรณะ เช่นหาของเล่น เป็นการแสวงหา ไม่ประเสริฐ เรียกว่าอนริยปริเยสนา ฯ
. ผู้มีอัตตาธิปเตยยะ กับผู้มีธัมมาธิปเตยยะ มีความมุ่งหมายในการทางาน ต่างกันอย่างไร ?
. ผู้มีอัตตาธิปเตยยะปรารภภาวะของตนเป็นใหญ่ ทาด้วยมุ่งให้สมภาวะ ของตน ผู้ทามุ่งผลอันจะได้แก่ตน หรือมุ่งความสะดวกแห่งตน ส่วนผู้มีธัมมาธิปเตยยะ ทาด้วยไม่มุ่งหมายอย่างอื่น เป็นแต่เห็นสมควร เห็นว่าถูกก็ทา หรือทาด้วยอานาจเมตตากรุณาเป็นอาทิ ฯ
. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสัจ มีอธิบายอย่างไร ?
. มีอธิบายว่า ๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจ จัดเป็นสัจจญาณ ๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสัจเป็นสภาพที่ควรกาหนดรู้ จัดเป็นกิจจญาณ ๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสัจที่ควรกาหนดรู้ ได้กาหนดรู้แล้ว จัดเป็น กตญาณ ฯ
. อปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นที่พิง) ข้อที่ ๒ ว่าพิจารณาแล้วอดกลั้นของ อย่างหนึ่ง นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
. มีอธิบายว่า อดกลั้นอารมณ์อันไม่เป็นที่เจริญใจ ต่างโดยหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคาเสียดแทง และทุกขเวทนาอันแรงกล้า ฯ
. อริยวงศ์ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? ข้อที่ ๔ ว่าอย่างไร ?
. คือ ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ฯ มี ๔ อย่าง ฯ ข้อที่ ๔ ว่า ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศล ฯ
. ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเหตุไร ?
. เพราะปัญจขันธ์นั้น บางทีทาความลาบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ
. สมาธิระดับไหน จึงจัดเป็นจิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต ?
. สมาธิทั้งที่เป็นอุปจาระทั้งที่เป็นอัปปนา โดยที่สุดขณิกสมาธิคือสมาธิชั่วขณะ พอเป็นรากฐานแห่งวิปัสสนา จัดเป็นจิตตวิสุทธิ ฯ
. สังฆคุณ ๙ มีอะไรบ้าง ? จะย่นให้เหลือเพียง ๒ ได้อย่างไร ?
. มี ๑. สุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ๒. อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว ๓. ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม ๔. สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร ๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรของคานับ ๖. ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรของต้อนรับ ๗. ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรของทาบุญ ๘. อญฺชลิกรณีโย เป็นผู้ควรทาอัญชลี [ประณมมือไหว้] . อนุตฺตร ปุญฺญกฺเขตฺต โลกสฺส เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ ข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ เป็นอัตตหิตคุณ คือคุณเกื้อกูลแก่ตนเอง ข้อ ๕ ถึงข้อ ๑๐ เป็นปรหิตคุณ คือคุณเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ฯ
๑๐. กรรมที่บุคคลทาไว้ ทาหน้าที่อย่างไรบ้าง ?
๑๐. ทาหน้าที่ คือ ๑. แต่ง (วิบาก) ให้เกิด เรียกว่า ชนกกรรม ๒. สนับสนุน (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปัตถัมภกกรรม ๓. บีบคั้น (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปปีฬกกรรม ๔. ตัดรอน (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปฆาตกกรรม ฯ
*********



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๕
. ภิกษุแม้ล่วงละเมิดพระวินัยแล้วไม่ต้องอาบัติ ได้รับยกเว้นทุกสิกขาบท ได้แก่ภิกษุประเภทไหนบ้าง ?
. ได้แก่ ภิกษุบ้าคลั่งจนไม่มีสติสัมปชัญญะ ภิกษุเพ้อจนไม่รู้สึกตัว ภิกษุกระสับกระส่าย เพราะมีเวทนากล้าจนถึงไม่มีสติ ฯ
. สังฆกรรม ๓ อย่างนี้ คือ การสวดปาฏิโมกข์ อุปสมบทกรรม และ อัพภาณกรรม มีจากัดจานวนสงฆ์อย่างน้อยเท่าไรจึงจะถูกต้องตาม พระวินัย ?
. การสวดปาฏิโมกข์ ต้องการสงฆ์จตุวรรค คือ ๔ รูปเป็นอย่างน้อย อุปสมบทกรรมในปัจจันตประเทศ ต้องการสงฆ์ปัญจวรรค คือ ๕ รูป เป็นอย่างน้อย อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องการสงฆ์ทสวรรค คือ ๑๐ รูปเป็นอย่างน้อย อัพภาณกรรม ต้องการสงฆ์วีสติวรรค คือ ๒๐ รูปเป็นอย่างน้อย ฯ
. จงให้ความหมายของคาต่อไปนี้ อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริก นิสสัย
. อุปัชฌายะ เป็นชื่อเรียกภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง แปลว่าผู้ฝึกสอนหรือผู้ดูแล สิทธิวิหาริก เป็นชื่อเรียกภิกษุผู้พึ่งพิง แปลว่าผู้อยู่ด้วย นิสสัย เป็นชื่อเรียกกิริยาที่พึ่งพิง ฯ
. ภิกษุผู้ได้รับเสนาสนะของสงฆ์ให้เป็นที่อยู่อาศัย ควรเอาใจใส่รักษาเสนาสนะ นั้นอย่างไร ?
. ควรเอาใจใส่รักษาดังนี้
. ไม่ทาให้เปรอะเปื้อน
. ชาระให้สะอาด
. ระวังไม่ให้ชารุด
. รักษาเครื่องเสนาสนะ
. ตั้งน้าฉัันน้าใช้ไว้ให้มีพร้อม
. ของใช้สาหรับเสนาสนะหนึ่งอย่านาไปใช้ที่อื่นให้กระจัดกระจาย ฯ
. คาว่าวัตถุเป็นอนามาส คืออะไร ? ภิกษุจับต้องวัตถุเป็นอนามาสเป็น อาบัติอะไร ?
. คือ สิ่งที่ภิกษุไม่ควรจับต้อง ฯ ภิกษุจับต้องมาตุคาม เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย และทุกกฎ ตามประโยค จับต้องบัณเฑาะก์ด้วยความกาหนัดเป็นอาบัติถุลลัจจัย นอกนั้นเป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฎทั้งหมด ฯ
. ภิกษุอยู่จาพรรษาครบ ๓ เดือนจนได้ปวารณาย่อมได้อานิสงส์แห่ง การจาพรรษาอะไรบ้าง ?
. ได้รับอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสารับ
. ฉัันคณโภชน์ และปรัมปรโภชน์ได้
. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ
ทั้งได้โอกาสเพื่อกรานกฐิน และรับอานิสงส์ ๕ นั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ตลอดเหมันตฤดู ฯ
. ปวารณามีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ในอาวาสหนึ่งมีภิกษุจาพรรษา๓ รูป เมื่อถึงวันปวารณาพึงปฏิบัติอย่างไร ?
. มี ๓ อย่าง ฯ คือ สังฆปวารณา คณปวารณา และบุคคลปวารณา ฯ พึงทาคณปวารณา ฯ
. องค์ที่เป็นลักษณะแห่งการถือวิสาสะ คืออะไรบ้าง ? เห็นว่าข้อไหนสาคัญ ฯ
. คือ เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา ๑ เป็นผู้เคยคบกันมา ๑ ได้พูดกันไว้ ๑ ยังมีชีวิตอยู่ ๑ รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้วเขาจักพอใจ ๑ ฯ เห็นว่าข้อสุดท้ายสาคัญ ฯ
. ภิกษุได้ชื่อว่าอาจารโคจรสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เพราะประพฤติปฏิบัติเช่นไร ?
. เพราะมีความประพฤติปฏิบัติสุภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ด้วยอภิสมาจาริกวัตร เว้นจากอโคจร คือบุคคลและสถานที่ที่ไม่สมควรไป ฯ
๑๐. เภสัช ๕ มีอะไรบ้าง จัดเป็นกาลิกอะไร ?
๑๐. เนยใส เนยข้น น้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย ฯ จัดเป็นสัตตาหกาลิก ฯ
*********



ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๕
. การที่พระเจ้าพิมพิสารเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นเหตุให้พระองค์ได้รับ อนุตตริยะอะไรบ้าง ?
. ได้อนุตตริยะ ๓ อย่าง คือ พระองค์ได้เฝ้า เป็นทัสสนานุตตริยะ ได้ทรงสดับธรรม เป็นสวนานุตตริยะ ได้ธรรมจักษุเห็นธรรมนั้น เป็นลาภานุตตริยะ ฯ
. พระวาจาที่ตรัสให้อุปสมบทแก่พระอัญญาโกณฑัญญะ และพระยสะ เหมือนกันหรือต่างกัน ? เพราะเหตุไร ?
. เหมือนกันตรงที่ทรงรับเข้ามาสู่พรหมจรรย์ ว่าจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรม อันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เถิดต่างกันที่พระอัญญาโกณฑัญญะ มีพระพุทธดารัสต่อท้ายว่าเพื่อทาที่สุด ทุกข์โดยชอบเพราะท่านยังไม่บรรลุพระอรหัตต์ ส่วนพระยสะ ไม่มีคาว่าเพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบเพราะท่านบรรลุ พระอรหัตต์แล้ว ฯ
. พระอัญญาโกณฑัญญะ กับพระอุรุเวลกัสสปะทูลขอบวชในพระศาสนาโดย มีมูลเหตุความเป็นมาต่างกันอย่างไร ?
. ต่างกันอย่างนี้ พระอัญญาโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรม ที่ท่านกล่าวว่าเป็นพระโสดาบัน มีศรัทธาในพระศาสนามั่นคงแล้ว จึงขอบวช ฯ พระอุรุเวลกัสสปะได้ปรีชาหยั่งเห็นว่าลัทธิของตนหาแก่นสารไม่ได้ หลงถือตนว่า เป็นผู้วิเศษ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ได้ความสลดใจจึง ลอยบริขารชฎิลของตนเสียแล้วจึงขอบวช ฯ
. ชฎิล ๓ พี่น้อง มีชื่อว่าอะไรบ้าง ? ได้บรรลุพระอรหัตต์เพราะฟัง พระธรรมเทศนาชื่ออะไร ?
. พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ ฯ ฟังอาทิตตปริยายสูตร ฯ
. จงระบุชื่อพระสาวกผู้ที่บวชเพราะเหตุต่อไปนี้ ๑. บวชเพราะศรัทธา ๒. บวชเพราะจาใจ ๓. บวชเพราะหลงไหลในรูป ฯ
. . บวชเพราะศรัทธา คือ พระรัฐบาล ๒. บวชเพราะจาใจ คือ พระนันทะ ๓. บวชเพราะหลงไหลในรูป คือ พระวักกลิ ฯ
. อนุพุทธที่เป็นสาวกสาวิกาของพระศาสดาซึ่งได้รับการอุปสมบทด้วย วิธีพิเศษมีบ้างหรือไม่ ? ถ้ามี คือใคร ? อุปสมบทด้วยวิธีใด ?
. มี ฯ คือ พระมหากัสสปะ อุปสมบทด้วยวิธีรับพระโอวาท ๓ ข้อ พระนางมหาปชาบดีโคตมี อุปสมบทด้วยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการ ฯ
. “หมู่มนุษย์ในโลกนี้ อาศัยอะไรจึงบูชายัญบวงสรวงเทวดานี่เป็นปัญหาของใคร ? และได้รับพุทธพยากรณ์ว่าอย่างไร ?
. เป็นปัญหาของปุณณกมาณพ ได้รับพุทธพยากรณ์ว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้น อยากได้ของที่ตนปรารถนา อาศัยของที่มีชราทรุดโทรม จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา ฯ
. ข้อธรรมว่าโลกคือหมู่สัตว์อันชรานาเข้าไปใกล้ ไม่ยั่งยืนเรียกว่าธรรมอะไร ? ใครแสดงแก่ใคร ?
. เรียกว่า ธรรมุทเทศ ฯ พระรัฐบาลแสดงถวายแก่พระเจ้าโกรัพยะ ฯ
ศาสนพิธี
. การถวายผ้าวัสสิกสาฎกนั้น มีมูลเหตุมาจากอะไร ? ใครเป็นผู้ถวาย คนแรก ?
. มีมูลเหตุมาจากเดิมยังไม่มีพุทธานุญาตให้ภิกษุมีผ้าวัสสิกสาฎก ภิกษุทั้งหลาย จึงเปลือยกายอาบน้า นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ทราบเรื่องนั้นแล้ว เห็นว่าไม่สมควรแก่เพศสมณะ จึงทูลขอพระพุทธานุญาต เพื่อถวาย ผ้าอาบน้าฝนแก่ภิกษุทั้งหลาย ฯ
๑๐. จงเขียนอุโบสถศีล เฉพาะข้อที่ ๗ มาดู
๑๐. นจฺจ คีต วาทิต วิสูก ทสฺสนา มาลา คนฺธ วิเลปน ธารณ มณฺฑน วิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปท สมาทิยามิ ฯ
********



กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๖
มธุวา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ,
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ.
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน,
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น.
(พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๒๔.
----------------
แต่งอธิบายเปน็ ทานองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษติ อื่นมาประกอบไม่นอ้ ยกว่า ๒ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซ้าข้อกัน แต่จะซ้าคัมภีร์ได้ ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
ชั้นนี้ กาหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๓ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
----------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๖
. ทิฏฐิ ที่หมายถึงความเห็นผิด ๒ อย่าง มีอะไรบ้าง ?
. มี
. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง
. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ ฯ
. กุศลวิตก มีอะไรบ้าง ? สงเคราะห์เข้าในมรรคมีองค์ ๘ ข้อไหนได้ ?
. มี
. เนกขัมมวิตก ความตริในทางพรากจากกาม
. อพยาบาทวิตก ความตริในทางไม่พยาบาท
. อวิหิงสาวิตก ความตริในทางไม่เบียดเบียน ฯ
สงเคราะห์เข้าในข้อ สัมมาสังกัปปะ ฯ
. การฆ่าสัตว์ อย่างไรเกิดทางกายทวาร อย่างไรเกิดทางวจีทวาร ?
. ฆ่าด้วยตนเองเกิดทางกายทวาร
ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าเกิดทางวจีทวาร ฯ
. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสมุทยสัจ มีอธิบายอย่างไร ?
. มีอธิบายว่า
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัยเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดจริง จัดเป็นสัจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย ควรละ จัดเป็นกิจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย ละได้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
. ในพระพุทธศาสนาพูดเรื่องมารไว้มาก อยากทราบว่า คาว่า มาร หมายถึงอะไร ? กิเลสได้ชื่อว่ามารเพราะเหตุไร ?
. หมายถึงสิ่งที่ล้างผลาญทาลายความดี ชักนาให้ทาบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้
ทาความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ เพราะผู้ที่ตกอยู่ในอานาจของกิเลสแล้ว ย่อมจะถูกผูกมัดไว้บ้าง ถูกทาให้
เสียคนบ้าง ฯ
. คาว่า พระธรรม ในธรรมคุณบทว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วหมายถึงอะไร ?
. หมายถึง ปริยัติธรรม กับ ปฏิเวธธรรม (หรือโดยพิสดารได้แก่ สัทธรรม ๑๐ คือ โลกุตรธรรม ๙ กับปริยัติธรรม ๑)
. ทักขิณาวิสุทธิ มีอะไรบ้าง ? อย่างไหนให้อานิสงส์มากที่สุด ?
. ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธ์ฝ่ายปฏิคาหก
ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธ์ฝ่ายทายก
ทักขิณาบางอย่าง ไม่บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก
ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก ฯ
อย่างที่ ๔ คือ ทักขิณาที่บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก ฯ
. อนุสัย หมายถึงกิเลสประเภทไหน ? ได้ชื่อเช่นนั้นเพราะเหตุไร ?
. หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ฯ
เพราะกิเลสชนิดนี้ บางทีไม่ปรากฏ แต่เมื่อมีอารมณ์มายั่ว ย่อมเกิดขึ้น
ในทันใด ฯ
. พุทธคุณ ๒ ก็มี พุทธคุณ ๓ ก็มี พุทธคุณ ๙ ก็มี จงแจกแจงแต่ละอย่างว่ามีอะไรบ้าง ?
. พุทธคุณ ๒ คือ อัตตสมบัติ และ ปรหิตปฏิบัติ
พุทธคุณ ๓ คือ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระกรุณาคุณ
พุทธคุณ ๙ คือ อรห , สมฺมาสมฺพุทฺโธ, วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน, สุคโต,โลกวิทู, อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ, สตฺถา เทวมนุสฺสาน , พุทฺโธ, ภควา ฯ
๑๐. ธุดงค์ คืออะไร ? มีกี่หมวด ? หมวดไหนว่าด้วยเรื่องอะไร ?
๑๐. คือ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง เปน็ อุบายขัดเกลากิเลส และเปน็ ไปเพื่อความ
มักน้อยสันโดษ ฯ
มี ๔ หมวด ฯ ดังนี้
หมวดที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องจีวร
หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องบิณฑบาต
หมวดที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ
หมวดที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องความเพียร ฯ
*********



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๖
. อภิสมาจาร คืออะไร ? เป็นเหตุให้ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ?
. คือ ขนบธรรมเนียมของภิกษุ ฯ
อาบัติถุลลัจจัยและอาบัติทุกกฏ ฯ
. ข้อว่า อย่าพึงนุ่งห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
. มีอธิบายว่า ห้ามนุ่งห่มเครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ เช่น กางเกง เสื้อผ้าโพก หมวก ผ้านุ่งผ้าห่มสีต่าง ๆ ชนิดต่าง ๆ และห้ามอาการนุ่งห่มต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ของภิกษุ ฯ
. บริขาร ๘ มีอะไรบ้าง ? ที่จัดเป็นบริขารบริโภคและบริขารอุปโภคมีอะไรบ้าง ?
. มี ไตรจีวร คือผ้านุ่งผ้าห่มและผ้าทาบ บาตร ประคดเอว เข็ม มีดโกน
และผ้ากรองน้า ฯ
ไตรจีวร บาตร ประคดเอว รวม ๕ อย่าง จัดเป็นบริขารบริโภคเข็ม มีดโกน และผ้ากรองน้า จัดเป็นบริขารอุปโภค ฯ
. คาว่า ถือนิสัย หมายความว่าอย่างไร ? ภิกษุผู้เป็นนวกะจะต้องถือนิสัยเสมอไปหรือไม่ประการไร ?
. หมายความว่า ยอมตนอยู่ในความปกครองของพระเถระผู้มีคุณสมบัติควรปกครองตนได้ ยอมตนให้ท่านปกครอง พึ่งพิงพานักอาศัยท่าน ฯ
ต้องถือนิสัยเสมอไป แต่มีข้อยกเว้น ภิกษุผู้ยังไม่ตั้งลงเป็นหลักแหล่ง คือภิกษุเดินทาง ภิกษุผู้เป็นไข้ ภิกษุผู้พยาบาลผู้ได้รับขอของคนไข้เพื่อให้อยู่ภิกษุผู้เข้าป่าเพื่อเจริญสมณธรรมชั่วคราว และกรณีที่ในที่ใด หาท่านผู้ให้นิสัยมิได้ และมีเหตุขัดข้องที่จะไปอยู่ในที่อื่นไม่ได้ จะอยู่ในที่นั้นด้วยผูกใจว่าเมื่อใดมีท่านผู้ให้นิสัยได้มาอยู่ จักถือนิสัยในท่าน ก็ใช้ได้ ฯ
. ภิกษุเมื่อจะนั่งลงบนอาสนะ ทรงให้ปฏิบัติอย่างไรก่อน ? ที่ทรงให้ปฏิบัติอย่างนั้นเพื่อประโยชน์อะไร ?
. ทรงให้พิจารณาก่อน อย่าผลุนผลันนั่งลงไป ฯ
เพื่อว่าถ้ามีของอะไรวางอยู่บนนั้น จะทับหรือกระทบของนั้น ถ้าเป็นขันน้าก็จะหก เสียมารยาท พึงตรวจดูด้วยนัยน์ตา หรือด้วยมือลูบก่อน ตามแต่จะรู้ได้ด้วยอย่างไร แล้วจึงค่อยนั่งลง ฯ
. วันเข้าพรรษาในบาลีกล่าวไว้ ๒ วัน คือวันเข้าพรรษาต้น และวันเข้าพรรษาหลัง ในแต่ละอย่างกาหนดวันไว้อย่างไร ?
. วันเข้าพรรษาต้น กาหนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ววันหนึ่ง คือวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ วันเข้าพรรษาหลัง กาหนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะนั้น
ล่วงแล้วเดือน ๑ คือ วันแรม ๑ ค่า เดือน ๙ ฯ
. ในวัดหนึ่ง มีภิกษุอยู่กัน ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป ๑ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถพึงปฏิบัติอย่างไร ?
. มีภิกษุ ๔ รูป พึงประชุมกันในโรงอุโบสถ สวดปาติโมกข์
มีภิกษุ ๓ รูป พึงประชุมกันทาปาริสุทธิอุโบสถ รูปหนึ่งสวดประกาศญัตติจบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธิ์ของตน
มีภิกษุ ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน
มีภิกษุ ๑ รูป พึงอธิษฐานหรือมีภิกษุต่ากว่า ๔ รูปจะไปทาสังฆอุโบสถกับสงฆ์ในอาวาสอื่นก็ควร ฯ
. ภิกษุได้ชื่อว่าผู้ประทุษร้ายสกุล กับภิกษุได้ชื่อว่าผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส เพราะมีความประพฤติต่างกันอย่างไร ?
. ต่างกันอย่างนี้ ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล เป็นผู้ประพฤติให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส ประจบเขาด้วยกิริยาทาตนอย่างคฤหัสถ์ ให้ของกานัลแก่สกุลอย่างคฤหัสถ์เขาทา ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการเอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก
ส่วนภิกษุผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยอาจาระ ไม่ทอดตนเป็นคนสนิทของสกลุ โดยฐานเป็นคนเลวไม่รุกรานตัดรอนเขา แสดงเมตตาจิต ประพฤติพอดีพองาม ทาให้เขา
เลื่อมใสนับถือตน ฯ
. ก่อนหน้าปรินิพพาน ตรัสสั่งภิกษุทั้งหลายให้แสดงความเคารพด้วยการเรียกกันว่าอย่างไร ?
. ตรัสให้ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าเรียกผู้แก่พรรษากว่าว่า ภันเต และให้ภิกษุผู้แก่พรรษากว่าเรียกผู้อ่อนพรรษากว่าว่า อาวุโส ฯ
๑๐. อนามัฏฐบิณฑบาต ได้แก่โภชนะเช่นไร ? มีข้อห้ามตามพระวินัยไว้อย่างไร ?
๑๐. ได้แก่โภชนะที่ภิกษุได้มายังไม่ได้หยิบไว้ฉัน ฯ
มีข้อห้ามไม่ให้ภิกษุให้แก่คฤหัสถ์อื่นนอกจากมารดาและบิดา ฯ
*********



ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๖
. อนุพุทธบุคคล คือใคร ? มีความสาคัญอย่างไร ?
. คือ สาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ฯ
อนุพุทธบุคคลเป็นสังฆรัตนะในรัตนะ ๓ เป็นพยานยืนยันความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นกาลังใหญ่ของพระพุทธเจ้าในอันช่วยประกาศพระธรรมประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้น เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก ฯ
. พระศาสดาทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดพวกปุราณชฎิลเพราะเหตุไร ?
. เพราะเปน็ พระสตูรที่เหมาะแกบุ่รพจรรยาของพวกปุราณชฎิล ผู้อบรมมาในการบูชาเพลิง ฯ
. พระสาวกรูปใดได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นผู้กตัญญูกตเวที?จงแสดงตัวอย่างมาสัก๒ เรื่อง
. พระสารีบุตรเถระ ฯ
เรื่องที่ ๑ พระสารีบุตรนับถือพระอัสสชิเป็นอาจารย์ เมื่ออาจารย์อยู่ในทิศใด ก่อนจะนอน ท่านจะนมัสการและนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น
เรื่องที่ ๒ พระสารีบุตรระลึกถึงอุปการะของราธพราหมณ์ที่เคยถวายภิกษาแก่ท่านทัพพีหนึ่ง ฯ
. พระสาวกผู้บวชเพราะเบื่อหน่าย บวชเพราะเพื่อน คือใคร ?
. บวชเพราะเบื่อหน่าย คือ พระยสะ พระมหากัสสปะ ฯ บวชเพราะเพื่อน คือ พระภัททิยศากยะ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ พระควัมปติ และเพื่อนชาวชนบทอีก ๕๐ คน ฯ
(ตอบองค์ใดองค์หนึ่งก็ให้ และตอบองค์อื่น ถ้าถูกก็ควรให้)
. อุปสมบทวิธีพิเศษด้วยการรับพระโอวาท ๓ ข้อ และด้วยการรับครุธรรม ๘ ข้อ ทรงประทานให้แก่ใคร ? และท่านนั้น ๆ ได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางไหน ?
. การรับพระโอวาท ๓ ข้อ ทรงประทานแก่พระมหากัสสปะการรับครุธรรม ๘ ข้อ
ทรงประทานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ฯ
พระมหากัสสปะได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงธุดงคคุณ
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู ฯ
. พระมหากัจจายนะได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าให้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
แทนพระองค์ ณ เมืองใด และได้ผลเป็นอย่างไร ?
. ณ เมืองอุชเชนี ฯ
ได้รับผล คือ พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ฯ
. ปัญหาว่า โลกคือหมู่สัตว์อันอะไรปิดบังไว้จึงหลงอยู่ในที่มืด ดังนี้ ใครเป็นผู้ถาม ? และพระศาสดาทรงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?
. อชิตมาณพเป็นผู้ถาม ฯ
ทรงพยากรณ์ว่า โลกคือหมู่สัตว์ อันอวิชชาคือความไม่รู้แจ้งปิดบังไว้จึงหลงดุจอยู่ในที่มืด ฯ
. การทาสังคายนาก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่พระศาสนาอย่างไรบ้าง ?
. ให้เกิดคุณประโยชน์อย่างนี้
กาจัดและป้องกันอลัชชีได้ ทาความเห็นพุทธศาสนิกให้ถูกต้องและปฏิบัติถูกต้องได้ และทาให้พระศาสนามั่นคงและแพร่หลายยิ่งขึ้น ฯ
ศาสนพิธี
. ศาสนพิธีเล่ม ๒ แสดงอุโบสถกรรมไว้กี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
. ๓ ประเภท ฯ คือ สังฆอุโบสถ ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษฐานอุโบสถ ๑ ฯ
๑๐. จงให้ความหมายของคาต่อไปนี้ การเข้าพรรษา การออกพรรษา ฯ
๑๐. การเข้าพรรษา หมายถึง การที่ภิกษุผูกใจว่าจะอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน ไม่ไปค้างแรมให้ล่วงราตรีในที่แห่งอื่นระหว่างผูกใจนั้นเว้นแต่ไปด้วยสัตตาหกรณียะ ฯ
การออกพรรษา หมายถึง กาลที่สิ้นสุดกาหนดอยู่จาพรรษาของภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ มีพิธีเป็นสังฆกรรมพิเศษโดยเฉพาะ เรียกโดยภาษา พระวินัยว่า ปวารณากรรม คือการทาปวารณาของสงฆ์ผู้อยู่ร่วมกันตลอดเวลา ๓ เดือน ฯ
*********


ปัญหาวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชัน้ โท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน.
ผูใ้ ดมีปัญญาทราม มีใจไม่มัน่ คง พึงเป็นอยู่ตงั้ รอ้ ยปี, ส่วนผูมี้ปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียง
วันเดียว ดีกว่า.
(พุทฺธ) ขุ. . ๒๕/๒๙.
-------------------
แต่งอธบิ ายเป็นทา นองเทศนาโวหาร อา้ งสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ขอ้ และบอกชื่อคัมภีร์
ที่มาแห่งสุภาษิตนนั้ ดว้ ย หา้ มอา้ งสุภาษิตซ้า ขอ้ กัน แต่จะซ้า คัมภีร์ได้ ไม่หา้ ม สุภาษิตที่อา้ งมานนั้ ตอ้ งเรียง
เชื่อมความใหส้ นิทติดต่อสมเรื่องกับกระทูต้ งั้ .
ชนั้ นี้ กา หนดใหเ้ขียนลงในใบตอบ ตงั้ แต่ ๓ หน้า (เวน้ บรรทัด) ขึ้นไป
-------------------
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง


ปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชัน้ โท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน มีอะไรบา้ ง ? เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร ?
เป็นอารมณ์ของสมถกัมมฏั ฐานหรือของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ?
. สังขตธรรม และ อสังขตธรรม ต่างกันอย่างไร ? สัตว์ ตน้ ไม้ ภูเขา เป็นสังขตธรรม
เพราะมีลกั ษณะอย่างไร ?
. มหาภูตรูป คืออะไร ? มีความเกี่ยวเนื่องกับอุปาทายรูปอย่างไร ?
. กิเลส กรรม วิบาก ไดชื้่อว่า วัฏฏะ เพราะเหตุไร ? จะตัดใหข้ าดไดด้ ว้ ยอะไร ?
. กตญาณ เป็นไปในอริยสัจ ๔ อย่างไร ?
. ความรูสึ้กเฉยๆ ทางกาย กับความรูสึ้กเฉยๆ ทางใจ จัดเขา้ ในเวทนา ๕ อย่างไร ?
. กิเลส ชื่อว่าโอฆะ โยคะ และอาสวะ เพราะเหตุไร ?
. การแผ่เมตตาในพรหมวิหาร กับในอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร ?
. ผูบ้ ริจาคทานระดับใดจัดเป็นทานบารมี ทานอุปบารมี และทานปรมัตถบารมี ?
๑๐. บุคคลผูไ้ ดรั้บการยกย่องว่าเป็นพหุสุต เพราะประกอบดว้ ยคุณสมบัติอะไรบา้ ง ?
ให้เวลา ๓ ชัว่ โมง


ปัญหาวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชัน้ โท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
. พระสาวกที่พระพุทธองค์ทรงส่งไปประกาศพระศาสนาครงั้ แรก มีจา นวนเท่าไร ?
ประกอบดว้ ยใครบา้ ง ?
. พระอัสสชิไดแ้ สดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชก มีใจความย่อว่าอย่างไร ?
. อุบาสกผูป้ ระกาศตนถึงรัตนะ ๒ และรัตนะ ๓ ว่าเป็นสรณะคนแรก คือใคร ?
. สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือใคร ? ไดบ้ รรลุพระอรหัตเพราะฟังธรรมจากใคร ?
. การที่เจา้ ศากยะทูลขอใหพ้ ระอุบาลีผูเ้ป็นช่างกัลบกบวชก่อน เพราะเหตุไร ?
. ภิกษุ ภิกษุณี ผูเ้อตทัคคะในทางเป็นพระธรรมกถึก คือใคร ?
. พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษแห่งความเพียรที่ตึงเกินไปและหย่อนเกินไปแก่
พระโสณโกฬิวิสะว่าอย่างไร ?
. มาณพทงั้ ๑๖ คนผูทู้ลถามโสฬสปัญหากะพระพุทธองค์ เป็นศิษย์ของใคร ?
ท่านตงั้ สา นักอยู่ที่ไหน ?
ศาสนพิธี
. จงเขียนคาถาที่ใชใ้ นการบังสุกุลเป็น และบังสุกุลตาย มาดู
๑๐. วันธรรมสวนะ คือวันอะไร ? ทรงอนุญาตใหมี้ในวันใดบา้ ง ?




ปัญหาวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
. พระวินัยแบ่งออกเป็นกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
. การผัดหน้า ไล้หน้า ทาหน้า ทรงห้ามและทรงอนุญาตไว้ในกรณีใด ?
. ภิกษุเปลือยกายในกรณีต่อไปนี้ ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?
. เปลือยเป็นวัตรอย่างเดียรถีย์ ข. เปลือยทากิจแก่กัน เช่นไหว้ รับไหว้
. เปลือยในเวลาฉัน ในเวลาดื่ม ง. เปลือยในเรือนไฟ จ. เปลือยในน้า
. บาตรที่ทรงอนุญาตให้ใช้มีกี่ชนิด และกี่ขนาด ? อะไรบ้าง ?
. จงให้ความหมายของคาต่อไปนี้
. อุปสัมปทาจารย์ ข. อุทเทสาจารย์
. สัทธิวิหาริก ง. อันเตวาสิก จ. นิสสัยมุตตกะ
. สัตตาหกรณียะ คืออะไร ? มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
. ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเพราะเหตุฉุกเฉิน ๑๐ อย่าง จงบอกมาสัก ๕ อย่าง
. กาลิก ๔ ได้แก่อะไรบ้าง ? โภชนะ ๕ เภสัช ๕ จัดเป็นกาลิกอะไร ?
. ลักษณะถือวิสาสะที่มาในพระบาลีมีอะไรบ้าง ?
๑๐. ภิกษุจะเปลี่ยนไตรครอง พึงปฏิบัติตามลาดับอย่างไรบ้าง ?
ให้เวลา ๓ ชั่วโมง

12 ความคิดเห็น:

  1. สาธุ + ขอบคุณ + many thanks: ควานหาข้อมูลด้วยความยากลำบาก เป็นpdf file บ้าง ไม่ครบบ้าง, แต่ที่นี่ครบเลยครับ,

    ตอบลบ
  2. ขออนุโมทนา สาธุ ที่นำมาเผยแพร่

    ตอบลบ
  3. แก้ไขสระ อำ ด้วยนะครับ งงเหมือนกัน จากสระ อา เป็น สระ อำ

    ตอบลบ
  4. ขออนุโมทนาด้วยครับ...
    เป็นประโยชน์มากครับ...

    ตอบลบ
  5. มีประโยชน์กับผู้ไม่มีโอกาสเรียนเต็มที่อาจเป็นอานิสงน์ให้พวกเขาได้มีโอกาสศึกษาในชั้นสูงต่อไป/สาธุ

    ตอบลบ
  6. ปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นเอก ปี 57

    ตอบลบ