วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

สาระข้อควรรู้เกี่ยวกับอนุพุทธประวัติ นักธรรมโท

 สรุปย่อเนื้อหาวิชาอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษา ชั้นโทสื่อสาระสำคัญการเรียนการสอนประวัติพระพุทธสาวก ๘๐ องค์

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษา ชั้นโท

(1) อนุพุทธะ หมายถึง บุคคลผู้ตรัสรู้ตาม
(2) อนุพุทธประวัติ หมายถึง ประวัติ หรือ เรื่องราวความเป็นมาของหมู่ชนผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
(2) กรอบการเรียนสำหรับธรรมศึกษาชั้นโท กำหนดให้เรียน 40 องค์ มีหัวข้อคือ
สถานะเดิม
ชีวิตก่อนบวช
มูลเหตุออกบวช
การบรรลุธรรม
การประกาศพระพุทธศาสนา
เอตทัคคะ
บุญญาธิการ
ธรรมวาทะ
นิพพาน
(3) คุณสมบัติของพระสาวกผู้เป็นเอตทัคคะ ทรงวางกฎเกณฑ์ไว้ 4 ประการ คือ
วัตถุปปัตติโต แต่งตั้งตามเหตุการณ์ที่เกิดนั้น
อาคมนโต แต่งตั้งตามความปรารถนาหรือบุญบารมีที่เคยสั่งสมมา
จิณณวสิโต แต่งตั้งตามความสามารถพิเศษ ความชำนาญเชี่ยวชาญนั้นๆ
คุณาติเรกโต แต่งตั้งเพราะมีคุณสมบัติพิเศษที่เหนือบุคคลอื่นๆ
(4) ประโยชน์ของการเรียนอนุพุทธประวัติ
ได้ทราบประวัติความเป็นมาของพระอริยสาวกเหล่านั้น
ได้ทราบปฏิปทาจริยาวัติ การปฏิบัติธรรมของพระอริยสาวกเหล่านั้น
ได้ยึดถือเป็นทิฏฐานุคติในการประพฤติดีปฏิบัติชอบตามท่านเหล่านั้น
ได้เป็นผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
ได้ชื่อว่าเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้มั่นคงตลอดกาล

สรุปย่อเนื้อหาวิชาอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษา ชั้นโท
สื่อสาระสำคัญการเรียนการสอนประวัติพระพุทธสาวก ๘๐ องค์

เหล่าสาวกผู้กำเนิดในสกุลพราหมณ์

(ก) ผู้จัดอยู่ในกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ได้ฟังเทศนากัณฑ์แรกชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร", และบรรลุอรหัตตผลเพราะฟังธรรมชื่อว่า "อนัตตลักขณสูตร" 

1) พระอัญญาโกณฑัญญะ
เกิดที่บ้านโทณวัตถุ เมืองกบิลพัสดุ์
เป็นผู้เข้าทำนายลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ
เป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางรัตตัญญู แปลว่า "ผู้รู้ราตรีนาน"
มีศิษย์ที่สำคัญ คือ พระปุณณมันตานีบุตร
2) พระวัปปะ
3) พระภัททิยะ
4) พระมหานามะ
5) พระอัสสชิ ได้ศิษย์คนสำคัญ คือพระสารีบุตร

(ข) ผู้จัดอยู่ในกลุ่มพราหมณ์อื่นๆ 

16) พระมหากัสสปะ
เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ เดิมชื่อปิบผลิมาณพ
บวชด้วยโอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางถือธุดงค์
เป็นผู้ริเริ่มทำสังคายนาครั้งแรก
35) พระปุณณมันตานีบุตร
เป็นบุตรน้องสาวของพระอัญญาโกณทัญญะ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางธรรมกถึก
47) พระปิณโฑลภารทวาชะ
เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ตระกูลภารทวาชะ ชาวเมืองราชคฤห์
เป็นปฐมเหตุให้ทรงบัญญัติ ห้ามภิกษุไม่ให้แสดงฤทธิ์
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางบันลือสีหนาท
54) พระวักกลิ
เกิดในตระกูลพราหมณ์วักกลิ
ออกบวชเพราะอยากเห็นพระรูปของพระพุทธเจ้าเป็นประจำ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางหลุดพ้นด้วยศรัทธา
55) พระโกณฑธานะ
เป็นชาวเมืองสาวัตถีิ
เมื่อบวชแล้วมีรูปผู้หญิงปรากฏติดตามอยู่เสมอ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางจับสลากเป็นที่หนึ่ง
56) พระวังคีสะ
รู้ฉวสีสมนต์ มนต์เคาะกะโหลกคนตาย
ออกบวชเพราะต้องการเรียนมนต์กับพระพุทธเจ้า
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางมีปฏิภาณในการผูกคาถา
57) พระปิลินทวัจจฉะ
เกิดในตระกูลวัจฉโคตร
มีปกติเรียกผู้ว่า วสละ คนถ่อย
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางเป็นที่รักของเทวดา
59) พระมหาโกฏฐิตะ
เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล บิดาชื่อ อัสสลายนะ
มารดาชื่อจันทวดี
บรรลุพระอรหัตตผลขณะปลงผม
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางแตกฉานในปฏิสัมภิทา 4
60) พระโสภิตะ
เป็นชาวเมืองสาวัตถี
ชำนาญในวสี 5
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางชำนาญการระลึกชาติได้
63) พระสาคตะ
เป็นชาวเมืองสาวัตถีี
ช่วยชาวบ้านปราบพญานาค
เป็นต้นบัญญัติ ห้ามภิกษุดื่มสุรา
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางฉลาดในเตโชกสิณ
34) พระราธะ
ได้บวชเพราะอานิสงส์ถวายข้าวทัพพีหนึ่ง
บวชด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาองค์แรก
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางว่าง่าย สอนง่าย และมีปฏิภาณ
61) พระนันทกะ
เป็นชาวเมืองสาวัตถี
เกิดในตระกูลพราหมณ์
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางให้โอวาทแก่ภิกษุณี

เหล่าสาวกผู้กำเนิดในสกุลเศรษฐีหรือคฤหบดี


6) พระยสะ
ชาวเมืองพาราณสี
บิดามารดาและภรรยาเก่าของอุบาสก อุบาสิกาคนแรกที่เข้าถึงรัตนะ 3
ออกบวชเพราะความเบื่อหน่าย
ได้ฟังอนุปุพพิกถา และอริยสัจ 4 สองครั้งจึงบรรลุพระอรหัตตผล
มีสหายออกบวชตาม 54 คน แต่ที่ปรากฏชื่อมี 4 ท่านคือ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ และพระควัมปติ (ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นบุตรของใคร)
7) พระวิมละ
8) พระสุพาหุ
9) พระปุณณชิ
10) พระควัมปติ
45) พระโสณโกฬิวิสะ
เกิดในตระกูลเศรษฐี ชาวเมืองจัมปา
มีขนเกิดที่ฝ่าเท้า
เดินจงกรมจนเท้าแตก
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางปรารภความเพียร
46) พระรัฐบาล
เป็นบุตรของรัฐบาลเศรษฐี หัวหน้าหมู่บ้านถุลลโกฏฐิคาม แคว้นกุรุ
ออกบวชด้วยการอดข้าวประท้วง
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางบวชด้วยศรัทธา
48) พระมหาปันถก
เป็นบุตรของธิดาเศรษฐี ชาวเมืองราชคฤห์
มารดาแอบได้เสียกับทาส
เกิดในระหว่างทาง
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางเจริญภาวนา
49) พระจูฬปันถก
เป็นน้องชายของพระมหาปันถก เกิดในระหว่างทางเช่นกัน
เป็นคนโง่ เรียนอะไรก็ลืมหมด
ได้บรรลุพระอรหัตตผลเพราะลูบผ้าขาว
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางมโนมยิทธิ
51) พระลกุณฏกภัททิยะ
เกิดในตระกูลมั่งคั่ง ในเมืองสาวัตถี
มีรูปร่างเล็ก ต่ำเตี้ย
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางมีเสียงไพเราะ
52) พระสุภูติิ
เป็นบุตรของสุมนเศรษฐี ชาวเมืองสาวัตถี
เป็นหลานของอนาถบิณฑิกะ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางอรณวิหาร (เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา) อยู่โดยไม่มีข้าศึก และเป็นผู้สมควรแก่ทักษิณา
68) พระพากุละ
เกิดในตระกูลคหบดี วรรณะแพศย์
ตอนเด็กถูกปลากิน
มีอายุ ๑๖๐ ปี ไม่เคยอาพาธเลย
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้มีอาพาธน้อย

เหล่าสาวกผู้กำเนิดในสกุลกษัตริย์

(ก) ผู้จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลกษัตริย์ ศากยวงศ์ จำนวน 7 องค์

37) พระนันทะ
เป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ + พระนางปชาบดี เป็นน้องชายต่างมารดาของพระพุทธเจ้า
จำใจออกบวช เพราะเกรงพระหทัยพระพุทธเจ้า
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางสำรวมอินทรีย์ และเกื้อกูลในปฏิภาณ
38) พระราหุล
เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ+พระนางพิมพา
เป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้ใคร่ในการศึกษา
40) พระภัททิยะ
เป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธาเทวี
ถูกพระอนุรุทธะชวนออกบวช
มักเปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้เกิดในตระกูลสูง
41) พระอนุรุทธะ
เป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ
ออกบวชพร้อมกับพระภัททิยะ พระภิคคุ พระกิมพิละ พระอานนท์ พระอุบาลี และพระเทวทัต
เป็นผู้ไม่รู้จักคำว่า ไม่มี
นิพพานใต้ร่มไผ่ บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางทิพยจักษุ
42) พระอานนท์
เป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ+พระนางกีสาโคตมี
เป็นผู้วิสัชนาพระสูตรในคราวสังคายนาครั้งแรก
ก่อนรับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากได้ขอพร 8 ประการ
บรรลุพระอรหัตตผลและนิพพานแปลกกว่าผู้อื่น
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางเป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
43) พระภัคคุ
ออกบวชในคณะของพระอนุรุทธะ
ไม่ปรากฏว่าเป็นบุตรของใคร
44) พระกิมพิละ
ออกบวชในคณะของพระอนุรุทธะ
ไม่ปรากฏว่าเป็นบุตรของใคร

(ข) ผู้จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลกษัตริย์วงศ์อื่นๆ

53) พระกังขาเรวตะ
เกิดในตระกูลกษัตริย์ เมืองโกลิยะ
เดิมชื่อ เรวตะ เมื่อบวชแล้วมีความสงสัยมาก จึงได้ชื่อว่า กังขาเรวตะ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้เพ่งด้วยฌาน, ยินดีในฌานสมาบัติ
58) พระกุมารกัสสปะ
เดิมทีมารดาของท่านเป็นธิดาของเศรษฐี ออกบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ทำให้ถูกโจทฟ้องขับไล่ให้สึก
หลังจากคลอดแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลได้รับท่านเป็นบุตรบุญธรรม
ภายหลังได้ทราบความจริงว่ามารดาเป็นภิกษุณี เกิดความสลดใจจึงออกบวช บรรลุพระอรหัตตผลเพราะได้ฟังการแก้ปัญหาจากพระพุทธเจ้า
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้แสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร
62) พระมหากัปปินะ
เป็นโอรสของพระเจ้ากุกกุฏวดี
สละราชสมบัติออกบวช เพียงเพราะได้ข่าวว่าพระรัตนตรัยเกิดขึ้นแล้วในโลก
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ
66) พระสีวลี
เป็นโอรสของพระเจ้ามหาลิลิจฉวี+พระนางสุปปวาสา
เพราะผลกรรมเก่าทำให้ต้องอยู่ในครรภ์นานถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้มีลาภมาก
69) พระทัพพมัลลบุตร
เป็นโอรสของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา
บวชด้วยวิธีทายัชชอุปสัมปทา
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้จัดแจงเสนาสนะดีเลิศ

เหล่าสาวกผู้จัดอยู่ในกลุ่มข้าราชการ


17) พระมหากัจจายนะ
เป็นบุตรของพราหมณ์กัจจายนโคตร
เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี
พระเจ้าจัณฑปัชโชตส่งไปทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จมายังกรุงอุชเชนี
ได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าแก้ไขบัญญัติ 5 ประการ
อธิษฐานรูปร่างที่งดงามให้น่าเกลียด
มีศิษย์ที่สำคัญ คือ พระโสณกุฏิกัณณะ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางอธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร
50) พระโสณกุฏิกัณณะ
เป็นบุตรของอุบาสิกาชื่อว่ากาฬ อุปัฏฐายิกาของพระมหากัจจายนะ ในเมืองราชคฤห์
ปฏิบัติธรรมเป็นฆราวาสอยู่ 3 ปี จึงได้อุปสมบทเพราะขาดแคลนภิกษุ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางแสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
36) พระกาฬุทายี
เกิดในตระกูลอำมาตย์ ในเมืองกบิลพัสดุ์
พระเจ้าสุทโธทนะส่งให้ไปทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จเมืองกบิลพัสดุ์
เป็นสหชาติ เกิดในวันเดียวกับพระพุทธเจ้า
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางทำให้วงศ์ตระกูลเกิดความเลื่อมใส
39) พระอุบาลี
เป็นบุตรของช่างกัลบกในเมืองกบิลพัสดุ์
เป็นนายภูษามาลาออกบวชพร้อมศากยกุมาร ๖ พระองค์ มีพระภัททิยะ พระอนุรุทธะ เป็นต้น
ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้วิสัชนาพระวินัยในการทำสังคายนาครั้งที่ 1
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางทรงจำวินัย

เหล่าสาวกผู้จัดอยู่ในกลุ่มนักบวช

(ก) ผู้จัดอยู่ในกลุ่มปริพพาชก มี 5 องค์ คือ

14) พระสารีบุตร (พระอัครสาวกฝ่ายขวา)
เดิมชื่ออุปติสสะ
เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ + นางสารี
เกิดความเบื่อหน่ายจึงออกบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสัญชัยพร้อมกับโกลิตะ (พระโมคคัลลานะ)
ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ ได้ดวงตาเห็นธรรม
เป็นอัครสาวกฝ่ายขวา เลิศในทางมีปัญญามาก
นิพพานที่บ้านเกิดของตน
มีน้องชายออกบวช 3 คน คือ พระอุปเสน พระขทิรวนิยเรวตะ และ พระจุนทะ
เป็นอัครสาวกฝ่ายขวา ได้รับยกย่องทางผู้มีปัญญามาก
15) พระโมคคัลลานะ (พระอัครสาวกฝ่ายซ้าย)
เดิมชื่อโกลิตะ
เป็นบุตรของนายบ้านโกลิตะ + นางโมคคัลลี
ออกบวชเป็นปริพาชกในสำนักของอาจารย์สัญชัยพร้อมกับอุปติสสะ (พระสารีบุตร)
ได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าแก้ไขบัญญัติ 5 ประการ
อธิษฐานรูปร่างที่งดงามให้น่าเกลียด
ถูกโจรทำร้ายอาการสาหัสและนิพพานที่กาฬศิลา แคว้นมคธ
เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย ได้รับยกย่องทางผู้มีฤทธิ์มาก
64) พระอุปเสน
บวชได้ไม่นานก็ตั้งตนเป็นอุปัชฌาย์ บวชให้กุลบุตรมากมาย จนถูกตำหนิ
เป็นต้นบัญญัติการกำหนดคุณสมบัติของอุปัชฌาย์
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางทำให้คนทุกชั้นเลื่อมใส
65) พระขทิรวนิยเรวตะ
หนีออกบวชตอนงานหมั้นเมื่ออายุ ๗ ขวบ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางอยู่ป่าเป็นวัตร
74) พระจุนทะ
เป็นผู้นำอัฐิของพระสารีบุตรไปถวายพระพุทธเจ้า

(ข) ชฏิล มี 3 พี่น้อง คือ

11) พระอุรุเวลกัสสปะ
เป็นเจ้าลัทธิบูชาไฟในเมืองราชคฤห์
บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมกับน้องชายและบริวาร 1,000 คน
น้องชายออกบวชตาม 2 คน คือ พระนทีกัสสปะ และพระคยากัสสปะ
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้มีบริวารมาก
12) พระนทีกัสสปะ
13) พระคยากัสสปะ

(ค) มาณพ ทั้ง 16 คน ซึ่งพราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ แล้วส่งไปทูลถามพระพุทธเจ้า หลังทูลถามปัญหาแล้วได้บรรลุพระอรหัตตผล คือ

18) พระอชิตะ
19) พระติสสเมตเตยยะ
20) พระปุณณกะ
21) พระเมตตคู
22) พระโธตกะ
23) พระอุปสีวะ
24) พระนันทะ
25) พระเหมกะ
26) พระโตเทยยะ
27) พระกัปปะ
28) พระชตุกัณณี
29) พระภัทราวุธ
30) พระอุทยะ
31) พระโปสาละ
32) พระโมฆราช
เกิดในตระกูลกษัตริย์
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
33) พระปิงคิยะ
เป็นหลานของพราหมณ์พาวรี
ได้บรรลุโสดาปัตติผลเพราะมีใจคิดห่วงอาจารย์ลุงของตน

(ง) อื่นๆ 

76) พระสภิยะ
เดิมเป็นปริพาชก เทวดาผูกปัญหาให้ไปถามพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงทูลขอบวชี
พระพุทธเจ้าให้อยู่ติดถิยปริวาส ๔ เดือนก่อน จึงบวชให้
67) พระพาหิยะ
เป็นชาวเมืองภารุกัจฉนคร
เรือล่มต้องนุ่งห่มเปลือกไม้และใบไม้
ชาวบ้านเข้าใจผิดว่าเป็นอรหันต์
เทวดาผูกปัญหาให้ไปถามพระพุทธเจ้า
ได้ฟังธรรมเพียงสองสามประโยค ก็บรรลุพระอรหัตตผล
ถูกวัวขวิดนิพพานขณะแสวงหาบริวารมาบวช
เอตทัคคะ ได้รับยกย่องทางตรัสรู้ได้รวดเร็ว

เหล่าสาวกอื่นๆ


70) พระอุทายี
ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับชาติตระกูล
เป็นผู้เฉลียวฉลาดในการแสดงธรรม
71) พระอุปวาณะ
ไม่ปรากฏชาติตระกูล
เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน
และเคยสนทนาธรรมเรื่องโพชฌงค์ 7 กับพระสารีบุตร
72) พระเมฆิยะ
ไม่ปรากฏชาติตระกูล
เคยเป็นพุทธอุปัฏฐากชั่วคราว
73) พระนาคตะ
ไม่ปรากฏชาติตระกูล
เคยเป็นพุทธอุปัฏฐาก
75) พระยโสชะ
เป็นบุตรของหัวหน้าชาวประมง จับปลาทองปากเหม็นได้ นำมาทูลถามพระพุทธเจ้าว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้
เมื่อฟังพุทธพยากรณ์แล้ว เกิดความสังเวชใจ จึงทูลขอบวช
77) พระเสลเถระ
เคยเป็นอาจารย์ใหญ่จบไตรเพท มีลูกศิษย์ 300 คน
ภายหลังได้พาลูกศิษย์ทั้งหมดไปทูลขอบวชกับพระพุทธเจ้า
78) พระมหาปรันตปะ
ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับชาติตระกูล
เป็นพระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่ง
79) พระนาลกะ
เป็นหลานของอสิตดาบส ที่เคยเข้าทำนายลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ
ออกบวชติดตามพระพุทธเจ้าตามคำสั่งของลุง
ได้บำเพ็ญโมเนยยะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
80) พระองคุลิมาล
บิดาเป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล มารดาชื่อ มันตานี
เคยเป็นจอมโจร 999 ศพ เพราะเกิดในฤกษ์ดาวโจร
พระพุทธเจ้าทรงปราบด้วยการแสดงฤทธิ์ให้วิ่งไล่และแสดงธรรมเตือนสติ จึงออกบวช ภายหลังได้บรรลุพระอรหัตตผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น