วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปเก็งข้อสอบนักธรรมโท (ฉบับสมบูรณ์)

สรุปเก็งข้อสอบนักธรรมโท (ฉบับสมบูรณ์) โหลดได้ที่นี่

สรุปนักธรรมโทฉบับสมบูรณ์


สรุปนักธรรมโทวิชา กระทู้

พุทธศาสนสุภาษิต ๒ : ธรรมศึกษาชั้นโท
อัตตวรรค คือ หมวดตน
๑อตฺตทตฺถํ  ปรตฺเถน   พหุนาปิ น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย  สทตฺถปสุโต สิยา           
บุคคลไม่ควรพล่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน
ขุททกนิกาย ธรรมบท
๒อตฺตานญฺเจ ตถา    กยิรายถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ   อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึงทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่า ตนแลฝึกยาก
ขุททกนิกาย ธรรมบท
๓อตฺตานเมว ปฐมํ     ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย  น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลังจึงไม่มัวหมอง
ขุททกนิกาย ธรรมบท
กัมมวรรค คือ หมวดกรรม
๑อติสีตํ อติอุณฺหํ       อติสายมิทํ  อหุ
อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต  อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.
ทีฆกนิกาย ปาฏิกวคฺค
๒อถ ปาปานิ กมฺมานิ    กรํ  พาโล น พุชฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ  อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อน เพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
ขุททกนิกาย ธรรมบท
๓ยาทิสํ วปเต พีชํ       ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ  ปาปการี จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
สงฺยุตฺตนิกาย สคาถวคฺค
๔โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ  กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ
อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ   เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย
ขุทฺทกนิกาย ชาตก สตฺตกนิปาต
๕โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ  กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ
อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ  เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
ขุทฺทกนิกาย ชาตก สตฺตกนิปาต
๖โย ปุพฺเพ กรณียานิ  ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว    ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ
ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น
ขุทฺทกนิกาย ชาตก เอกนิปาต
๗สเจ ปุพฺเพกตเหตุ   สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กตํ ปาปํ   ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น
ขุทฺทกนิกาย ชาตก ปญฺญาสนิปาต
๘สุขกามานิ ภูตานิ     โย ทณฺเฑน วิหึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน  เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ  
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข
ขุททกนิกาย ธรรมบท
๙สุขกามานิ ภูตานิ     โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน  เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
ขุททกนิกาย ธรรมบท
ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๑อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ   อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ  อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้ที่มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
สวดมนต์ฉบับหลวง
๒เกวลานํปิ ปาปานํ   ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
ครหกลหาทีนํ       มูลํ ขนติ ขนติโก
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันเป็นต้นได้
สวดมนต์ฉบับหลวง
๓ขนฺติโก เมตฺตวา     ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา
ปิโย เทวมนุสฺสานํ  มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สวดมนต์ฉบับหลวง
๔สตฺถุโน วจโนวาทํ  กโรติเยว ขนฺติโก
ปรมาย จ ปูชาย    ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา และผู้มีขันติชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
สวดมนต์ฉบับหลวง
๕สีลสมาธิคุณานํ        ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา  ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น
สวดมนต์ฉบับหลวง
ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส     พลิวทฺโทว  ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ  ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ
คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
ขุททกนิกาย ธรรมบท
๒ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ   อปิ วิตฺตปริกฺขยา
ปญฺญาย จ อลาเภน   วิตฺตวาปิ น ชีวติ
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้ แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
ขุทฺทกนิกาย เถรคาถา
๓ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน  วิธานวิธิโกวิโท
กาลญฺญู สมยญฺญู จ  ส ราชวสตึ วเส
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงานรู้กาลและรู้สมัยเขาพึงอยู่ในราชการได้
ขุทฺทกนิกาย ชาตก มหานิปาต
๔ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ
นกฺขตฺตราชาริว  ตารกานํ
สีลํ สิรี จาปิ สตญฺจ ธมฺโม
อนฺวายิกา ปญฺญวโต ภวนฺติ
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา
ขุทฺทกนิกาย ชาตก จตฺตาฬีสนิปาต
๕มตฺตาสุขปริจฺจาคา   ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร   สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
ขุททกนิกาย ธรรมบท
๖ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ  อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺ จ   หึสาย ปฏิปชฺชติ          
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
ขุทฺทกนิกาย ชาตก เอกนิปาต
๗ยาวเทว อนตฺถาย      ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ  มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย มันทำสมองของเขาให้เขว ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
ขุททกนิกาย ธรรมบท
๘โย จ วสฺสสตํ ชีเว     ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย   ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน 
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า
ขุททกนิกาย ธรรมบท
เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑อสนฺเต นูปเสเวยฺย   สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ  สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ
ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสตินิปาต
๒ตครํ  ว  ปลาเสน      โย  นโร  อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ  เอวํ  ธีรูปเสวนา
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ ก็ฉันนั้น
ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสตินิปาต
๓น ปาปชนสํเสวี       อจฺจนฺตสุขเมธติ
โคธากุลํ กกณฺฏาว   กลึ ปาเปติ อตฺตนํ
ผู้คบคนชั่ว  ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้  เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ  เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น
ขุทฺทกนิกาย ชาตก เอกนิปาต
๔ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา    ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล
โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย  ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ
ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
ขุทฺทกนิกาย เถรคาถา
๕ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน   โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ   เอวํ พาลูปเสวนา
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น
ขุทฺทกนิกาย ชาตก มหานิปาต
๖ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ      ยาทิสญฺจูปเสวติ,
โสปิ ตาทิสโก โหติ   สหวาโส หิ ตาทิโส     
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้น  เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสตินิปาต
๗สทฺเธน  จ  เปสเลน  จ
ปญฺญวตา  พหุสฺสุเตน  จ
สขิตํ  หิ  กเรยฺย  ปณฺฑิโต
ภทฺโท  สปฺปุริเสหิ  สงฺคโม
บัณฑิต พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ
ขุทฺทกนิกาย เถรคาถา


สรุปนักธรรมโทวิชา อนุพุทธประวัติ

ข้อที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องอนุพุทธบุคคล
 . อนุพุทธบุคคล คือใคร ? มีความสาคัญอย่างไร ?
. คือ สาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ฯ
อนุพุทธบุคคลเป็นสังฆรัตนะในรัตนะ ๓ เป็นพยานยืนยันความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นกาลังใหญ่ของพระพุทธเจ้าในอันช่วยประกาศพระธรรมประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้น เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก ฯ
 พุทธบริษัท ๔ ผู้เป็นอริยสาวก มีลาดับการเกิดขึ้นก่อนหลังกันอย่างไร ? บุคคลแรกของแต่ละบริษัทนั้นคือใคร ?
๑.      มีลำดับอย่ำงนี้ คือ ภิกษุ อุบำสก อุบำสิกำ และภิกษุณี ฯพระอัญญำโกณฑัญญะ เป็นคนแรกของภิกษุบริษัทบิดำของพระยสะ เป็นคนแรกของอุบำสกบริษัทมำรดำและภรรยำของพระยสะ เป็นคนแรกของอุบำสิกำบริษัทพระนำงปชำบดี โคตมี เป็นคนแรกของภิกษุณีบริษัท ฯ
 . พระสาวกสงฆ์ผู้ได้ชื่อว่าอนุพุทธะ มีความสาคัญอย่างไร ?
๒.    . มีความสาคัญ คือ พระสงฆ์สาวกจัดเป็นรัตนะประการหนึ่งในรัตนะ ๓ ซึ่งเป็นผู้มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน ถ้าไม่มีพระสาวกสงฆ์เป็นผู้รู้ธรรมและรับปฏิบัติธรรม ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็ไม่สาเร็จประโยชน์ และพระสาวกสงฆ์นั้นได้เป็นกาลังใหญ่ของพระศาสนาในอันช่วยประกาศพระธรรมประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้น เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก
พุทธบุคคล มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
. มี ๓ ประเภทฯ คื ๑. พระสัมมาสัมพุทธะ ๒. พระปัจเจกพุทธะ ๓. พระอนุพุทธะ ฯ
 . สัมมาสัมพุทธะ ปัจเจกพุทธะ และอนุพุทธะ ต่างกันอย่างไร ?
การเรียนอนุพุทธประวัติสาเร็จประโยชน์อย่างไร ?
. สัมมาสัมพุทธะ ตรัสรู้เองโดยชอบ และสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้ด้วย
ปัจเจกพุทธะ ตรัสรู้เฉพาะตน แต่ไม่สามารถสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้
อนุพุทธะ ตรัสรู้ตาม คือมีพระพุทธเจ้าสั่งสอนจึงรู้ตามได้ และสามารถสอนผู้อื่นให้กระทาตามด้วย ฯ
เพื่อจะได้ทราบความเป็นไปและปฏิปทาของท่าน ที่ได้ช่วยประกาศพระศาสนาในที่นั้น ๆ จนเป็นเหตุเจริญแพร่หลายและมั่นคง แล้วจักได้ถือเป็นทิฏฐานุคติ บาเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านโดยควรแก่ฐานะของตน ทั้งให้สาเร็จเป็นสังฆานุสติมั่นคงอีกด้วย ฯ
 . อนุพุทธบุคคล คือใคร ? ท่านเหล่านั้นมีความสาคัญต่อพระศาสดา อย่างไร ?
. คือ สาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ฯ
มีความสาคัญอย่างนี้ แม้พระศาสดาได้ตรัสรู้และทรงแสดงธรรม แต่เมื่อ ขาดผู้รู้ธรรมและรับปฏิบัติ ความตรัสรู้ของพระองค์ก็ไม่สาเร็จประโยชน์ ฯ
 . ประวัติอนุพุทธบุคคลมีความสาคัญต่อผู้ศึกษาอย่างไร ?
. ทำให้ผู้ศึกษำได้รับควำมรู้ในจริยำวัตรและคุณควำมดีที่ท่ำนได้บำเพ็ญมำ ตลอด
จนถึงผลงำนในกำรช่วยเผยแผ่พระพุทธศำสนำอันทำให้เจริญสืบมำถึงทุกวันนี้
นำให้เกิดควำมเลื่อมใสและควำมนับถือ เป็นทิฏฐำนุคติอันดี สำมำรถน้อมนำมำ
ปฏิบัติตำมได้ ฯ

ข้อที่ ๒ ว่าด้วยเรื่อง การเทศนา
. พระศาสดาทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดพวกปุราณชฎิลเพราะเหตุไร ?
. เพราะเป็น พระสตูรที่เหมาะแกบุ่รพจรรยาของพวกปุราณชฎิล ผู้อบรมมาในการบูชาเพลิง
. ข้อธรรมว่าโลกคือหมู่สัตว์อันชรานาเข้าไปใกล้ ไม่ยั่งยืนเรียกว่าธรรมอะไร ? ใครแสดงแก่ใคร ?
. เรียกว่า ธรรมุทเทศ ฯ พระรัฐบาลแสดงถวายแก่พระเจ้าโกรัพยะ ฯ
 . พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่ใครเป็นคนแรก? อนุปุพพีกถานั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร ?
. แสดงแก่ยสกุลบุตรเป็นคนแรก ฯ กล่าวพรรณนาทานการให้ แล้วพรรณนา ศีลความรักษากายวาจาเรียบร้อย พรรณนาสวรรค์คือกามคุณที่บุคคลใคร่ ซึ่งจะพึงได้พึงถึงด้วยกรรมอันดีคือทานและศีล พรรณนาโทษแห่งกาม และพรรณนาอานิสงส์แห่งความออกไปจากกาม ฯ
. พระสาวกผู้แสดงความไม่ต่างกันแห่งวรรณะ ๔ เหล่า คือใคร ? แสดงแก่ใคร ? ที่ไหน ? พระสูตรนั้นชื่ออะไร ?
. พระมหากัจจายนะเป็นผู้แสดง ฯ แก่พระเจ้ามธุรราช อวันตีบุตร ฯ ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี ฯ สูตรนั้นชื่อว่า มธุรสูตร ฯ
 . ยสกุลบุตรได้ฟังธรรมอะไรจากพระศาสดาเป็นครั้งแรก ? ณ ที่ไหน ?
. ได้ฟัง อนุปุพพีกถำ และอริยสัจ ๔ ฯ
ณ ป่ำอิสิปตนมฤคทำยวัน แขวงเมืองพำรำณสี ฯ
. พระพุทธโอวาทว่า เราจะไม่ละสติที่ไปในกาย คือพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ ดังนี้ พระองค์ตรัสกะสาวกรูปใด ? พระสาวกรูปนั้นเป็นเอตทัคคะในทางใด ?
. พระมหำกัสสปะ ฯ
เป็นเอตทัคคะในทำงถือธุดงค์ ฯ
. พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพระโมฆราชด้วยเรื่องอะไร ? มีความหมาย
อย่างไร ?
. ด้วยเรื่องสุญญตำนุปัสสนำ ฯ มีควำมหมำยว่ำ ให้พิจำรณำเห็นโลกโดยควำมเป็นของว่ำงเปล่ำ ถอนควำมเห็นว่ำเป็นตัวตนของเรำเสีย ฯ
 . พระปัญจวัคคีย์ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกัน แต่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องเป็นปฐมสาวก เพราะเหตุ ?
. เพราะพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนและได้รับอุปสมบทก่อนองค์อื่น ฯ
. เอหิภิกขุอุปสัมปทาที่ประทานแก่พระปัญจวัคคีย์และพระยสะต่างกันอย่างไร ? เพราะเหตุไร ?
. ต่างกัน คือ ที่ประทานแก่พระปัญจวัคคีย์มีคาว่า เพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบ ส่วนที่ประทานแก่พระยสะไม่มีคาว่า เพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบ ฯ เพราะพยสะได้ถึงที่สุดทุกข์แล้ว ฯ
 . พระสาวกผู้สาเร็จเป็นพระอริยบุคคลเพราะฟังธรรมเทศนาเรื่องเดียวซ้า ๒ ครั้ง คือใคร ? ธรรมเทศนาเรื่องอะไร ?
. คือ พระยสะฯ เรื่อง อนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ฯ
 . อนัตตลักขณสูตร และ อาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยเรื่องอะไร ? ทรงแสดงแก่ใคร ?
. อนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยเรื่อง ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์
อาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยเรื่อง สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือราคะโทสะโมหะ ฯ
ทรงแสดงแก่ชฎิล ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน ฯ
. อุปติสสปริพาชกเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเพราะได้ฟังธรรมจากใคร ? มีใจความว่าอย่างไร ?
. จากพระอัสสชิ ฯ มีใจความว่า พระศาสดาทรงแสดงความเกิดแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะเป็นไปแห่งเหตุ และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะดับแห่งเหตุ พระศาสดาตรัสอย่างนี้ ฯ
 . พระอัญญาโกณฑัญญะ ชื่อเดิมว่าอะไร ? เกิดที่ไหน ? เรียนจบอะไร ? ทาไมจึงได้ชื่ออัญญาโกณฑัญญะ ?
. ชื่อเดิมว่าโกณฑัญญะ ฯ
เกิดที่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ อยู่ไม่ห่างจากกรุงกบิลพัสดุ์ ฯ
เรียนจบไตรเพทและรู้ตาราทานายลักษณะ ฯ
เพราะอาศัยพระอุทานว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว ที่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงเปล่งเมื่อท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ
. ธรรมุทเทศ มีอะไรบ้าง ? ใครแสดงแก่ใคร ?
. มี
. โลกคือหมู่สัตว์ อันชรานาเข้าไปใกล้ ไม่ยั่งยืน
. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่จาเพาะตน
. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จาต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
. โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ฯ
พระรัฐบาลแสดงถวายพระเจ้าโกรัพยะ ฯ
 . คาที่มีอยู่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรต่อไปนี้ ได้แก่อะไร ?
. ส่วนสุด ๒ อย่าง
. มัชฌิมาปฏิปทา
. . ส่วนสุด ๒ อย่ำง คือ
. กำมสุขัลลิกำนุโยค ควำมหมกมุ่นอยู่ในกำม
. อัตตกิลมถำนุโยค ควำมทำตนให้ลำบำก
. มัชฌิมำปฏิปทำ ได้แก่ข้อปฏิบัติสำยกลำง คือ มรรคมีองค์ ๘ ฯ
. พระศาสดาทรงประทานพระโอวาทเป็นการให้อุปสมบทแก่พระมหากัสสปะไว้
กี่ข้อ ? อะไรบ้าง ?
. ๓ ข้อ คือ
. เรำจักเข้ำไปตั้งควำมละอำยและควำมยำเกรงอย่ำงแรงกล้ำไว้ในภิกษุ ทั้งที่เป็นเถระ ปำนกลำง และผู้ใหม่
. เรำจักเงี่ยหูลงฟังธรรม อันประกอบด้วยกุศล และพิจำรณำเนื้อควำมแห่งธรรมนั้น
. เรำจักไม่ละสติที่ไปในกำย ฯ

ข้อที่ ๓ ว่าด้วยเรื่อง การยกย่อง
 . พระสารีบุตรได้รับการสรรเสริญว่าเป็นผู้กตัญญูกตเวที จงเล่าเรื่องมาประกอบ สัก ๑ เรื่อง เพื่อยืนยันคากล่าวนี้
. (ให้ตอบเพียง ๑ เรื่อง)
เรื่องที่ ๑ พระสารีบุตรนับถือพระอัสสชิเป็นอาจารย์ เมื่ออาจารย์อยู่ใน ทิศใด ก่อนจะนอน ท่านจะนมัสการและนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น ฯ
เรื่องที่ ๒ ราธพราหมณ์เสียใจมีร่างกายซูบซีด เพราะไม่ได้อุปสมบทตาม ปรารถนา พระศาสดาทรงทราบความแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า มีใคร ระลึกถึงอุปการะของราธะได้บ้าง, พระสารีบุตรทูลว่า ราธพราหมณ์ เคยถวายภิกษาแก่ท่านทัพพีหนึ่ง พระศาสดาตรัสสรรเสริญว่าเป็นผู้กตัญญู ดีนัก อุปการะเพียงเท่านี้ก็ยังจาได้ ฯ
 . มารยาทดีมีความสารวมย่อมเป็นศรีของสมณะ สามารถจะปลูกศรัทธาเลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้พบเห็น นี่เป็นปฏิปทาจริยาวัตรของพระสาวกรูปใด ? จงเล่าประวัติของท่านโดยย่อ
. ของพระอัสสชิเถระ ฯ
ท่ำนเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ ได้ฟังพระธรรมเทศนำจนได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ได้เป็นกำลังในกำรประกำศพระศำสนำ อุปติสสปริพำชกพบเห็นแล้วเกิดควำมเลื่อมใส ขอฟังธรรมจำกท่ำน แล้วได้เข้ำมำบวชในพระพุทธศำสนำ ฯ
. พระสาวกผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีบริวารมากคือใคร ? ท่านมีบริวารมากเพราะเหตุไร ?
. พระอุรุเวลกัสสปะ ฯ เพรำะท่ำนรู้จักเอำใจบริษัท รู้จักสงเครำะห์ด้วยอำมิสบ้ำง ด้วยธรรมบ้ำง
. พระปัญจวัคคีย์องค์ไหนบ้างได้ศิษย์ดีมีความสาคัญต่อพระศาสนา ? ศิษย์นั้นชื่ออะไร และเป็นผู้เลิศในทางใด ?
. พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้พระปุณณนมันตานีบุตรเป็นศิษย์เป็นผู้เลิศในทางธรรมกถึก
พระอัสสชิ ได้พระสารีบุตรเป็นศิษย์ เป็นผู้เลิศในทางมีปัญญามาก ฯ
. พรข้อว่า ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์ และข้อว่า ถ้าพระองค์จะเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
พระอานนท์ทูลขอเพื่อประโยชน์อะไร ?
. ข้อต้น เพื่อป้องกันคาติเตียนว่า พระอานนท์บารุงพระศาสดาเพราะเห็นแก่ลาภ
ข้อหลัง เพื่อป้องกันคนกล่าวว่า พระอานนท์บารุงพระศาสดาไปทาอะไร เพราะพระองค์ไม่ทรงอนุเคราะห์แม้ด้วยกิจเท่านี้ ฯ
 . พระอัญญาโกณฑัญญะ ใคร่ครวญดูตามประวัติ ความเชื่อถือของท่าน หนักไปทางไหน ในตาราทายลักษณะหรือในอัตตกิลมถานุโยคปฏิบัติ ? ขอฟังเหตุผล
. เห็นว่าหนักไปในอัตตกิลมถานุโยคปฏิบัติ เหตุผลคือ เดิมท่านเชื่อตารา แน่ใจ จึงบวชตามและเฝ้าอุปัฏฐาก ครั้นเห็นทรงเลิกทุกรกิริยา ก็สิ้นหวัง นี่ก็เพราะเชื่อมั่นในอัตตกิลมถานุโยคปฏิบัติว่า เลิกเสียเป็นอันไม่สาเร็จ เมื่อพระองค์ตรัสบอกว่า สาเร็จแล้ว ก็คัดค้านไม่เชื่อถือ อาการที่คัดค้าน และพูดถ้อยคาที่แสดงอคารวะนั้น เป็นเครื่องยืนยันความเห็นดังกล่าว ฯ
. ความเป็นผู้มีบริวารมาก เป็นผลมาจากอะไร ? และดีอย่างไร ?
พระสาวกองค์ใดได้รับการยกย่องว่าเลิศในทางนี้ ?
. เป็นผลมาจากความรู้จักเอาใจบริษัท รู้จักสงเคราะห์ด้วยอามิสบ้าง ด้วยธรรมบ้าง ฯ
ดีอย่างนี้คือ ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเห็นปานนี้ ย่อมเป็นผู้อัน บริษัทรักใคร่นับถือ สามารถควบคุมบริษัทไว้อยู่ เป็นผู้อันจะพึงปรารถนา ในสาวกมณฑล ฯ
พระอุรุเวลกัสสปะ ฯ
. พระสาวกผู้ปรารภเหตุว่าผู้อยู่ครองเรือนต้องคอยนั่งรับบาป เพราะ การงานที่ผู้อื่นทาไม่ดีแล้วมีใจเบื่อหน่ายสละทรัพย์สมบัติออกบวช คือใคร ? ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศในทางไหน ? เพราะเหตุใด ?
. คือ พระมหากัสสปะ ฯ
ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศในทางถือธุดงค์ เพราะ ท่านถือธุดงค์ ๓ อย่างเป็นประจา คือ ทรงผ้าบังสุกุลจีวรเป็นวัตร ๑ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๑ อยู่ป่าเป็นวัตร ๑ ฯ
. พระสาวก ผู้อธิบายภัทเทกรัตตสูตรที่ทรงแสดงโดยย่อให้พิสดาร คือ ใคร ? ท่านได้รับการสรรเสริญจากพระศาสดาว่าอย่างไร ?
. คือ พระมหากัจจายนะ ฯ
ท่านได้รับสรรเสริญจากพระศาสดาว่า เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายคาที่ย่อ ให้พิสดาร ฯ
 . ความเป็นผู้สารวมกิริยาอาการให้เรียบร้อยดีงามสมความเป็นสมณะ เป็นการ
เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ทางหนึ่ง ในข้อนี้มีปฏิปทาของพระสาวกองค์ใดเป็น
ตัวอย่าง ? จงเล่าประวัติโดยสังเขปมาประกอบ
. พระอรหันตสำวกทุกรูปล้วนเป็นผู้สำรวมกิริยำอำกำรเรียบร้อยดีงำมทั้งสิ้น แต่ที่
ได้รับยกย่องเป็นพิเศษคือพระอัสสชิเถระ ท่ำนมีกิริยำอำกำรที่น่ำเลื่อมใส เป็นเหตุ ให้อุปติสสะปริพำชกเห็นแล้วเกิดศรัทธำ เข้ำไปหำ ขอฟังธรรมจนได้บรรลุ โสดำปัตติผล ภำยหลังยังชักชวนสหำยของตนเข้ำมำบวชในพระธรรมวินัย ได้เป็นกำลังสำคัญช่วยพระศาสดาเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองกว้างขวางและมั่นคงอย่างรวดเร็ว
. พระสาวกผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีบริวารมาก คือใคร ? เพราะท่านมีคุณธรรมอะไร ?
. คือ พระอุรุเวลกัสสปะ ฯ เพรำะท่ำนรู้จักสงเครำะห์บริวำรด้วยอำมิสบ้ำง ด้วยธรรม บ้ำง จึงเป็นที่รักใคร่นับถือ สำมำรถยึดเหนี่ยวน้ำใจบริวำรไว้ได้ ฯ

ข้อที่ ๔ ว่าด้วยเรื่อง การอุปสมบท
. อนุพุทธที่เป็นสาวกสาวิกาของพระศาสดาซึ่งได้รับการอุปสมบทด้วย วิธีพิเศษมีบ้างหรือไม่ ? ถ้ามี คือใคร ? อุปสมบทด้วยวิธีใด ?
. มี ฯ คือ พระมหากัสสปะ อุปสมบทด้วยวิธีรับพระโอวาท ๓ ข้อ พระนางมหาปชาบดีโคตมี อุปสมบทด้วยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการ ฯ
. จงระบุชื่อพระสาวกผู้ที่บวชเพราะเหตุต่อไปนี้ ๑. บวชเพราะศรัทธา ๒. บวชเพราะจาใจ ๓. บวชเพราะหลงไหลในรูป ฯ
. . บวชเพราะศรัทธา คือ พระรัฐบาล ๒. บวชเพราะจาใจ คือ พระนันทะ ๓. บวชเพราะหลงไหลในรูป คือ พระวักกลิ ฯ
 . พระวาจาที่ตรัสให้อุปสมบทแก่พระอัญญาโกณฑัญญะ และพระยสะ เหมือนกันหรือต่างกัน ? เพราะเหตุไร ?
. เหมือนกันตรงที่ทรงรับเข้ามาสู่พรหมจรรย์ ว่าจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรม อันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เถิดต่างกันที่พระอัญญาโกณฑัญญะ มีพระพุทธดารัสต่อท้ายว่าเพื่อทาที่สุด ทุกข์โดยชอบเพราะท่านยังไม่บรรลุพระอรหัตต์ ส่วนพระยสะ ไม่มีคาว่าเพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบเพราะท่านบรรลุ พระอรหัตต์แล้ว ฯ
. พระอัญญาโกณฑัญญะ กับพระอุรุเวลกัสสปะทูลขอบวชในพระศาสนาโดย มีมูลเหตุความเป็นมาต่างกันอย่างไร ?
. ต่างกันอย่างนี้ พระอัญญาโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรม ที่ท่านกล่าวว่าเป็นพระโสดาบัน มีศรัทธาในพระศาสนามั่นคงแล้ว จึงขอบวช ฯ พระอุรุเวลกัสสปะได้ปรีชาหยั่งเห็นว่าลัทธิของตนหาแก่นสารไม่ได้ หลงถือตนว่า เป็นผู้วิเศษ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ได้ความสลดใจจึง ลอยบริขารชฎิลของตนเสียแล้วจึงขอบวช ฯ
. พระมหากัสสปะได้รับอุปสมบทแล้วนานเท่าไรจึงบรรลุพระอรหัต ? พระโอวาทข้อว่าเราจะไม่ละสติที่ไปในกาย คือพิจารณาร่างกายเป็น อารมณ์สงเคราะห์เข้าในธรรมข้อใดบ้าง ?
. ๘ วัน ฯ สงเคราะห์เข้าใน กายคตาสติ และ วิปัสสนาญาณ เป็นต้น ฯ
 . พระอัญญาโกณฑัญญะมีมูลเหตุจูงใจอะไร จึงได้ออกบวชตามอุปัฏฐากพระมหาบุรุษขณะบาเพ็ญทุกรกิริยา ?
. เพรำะได้เคยเข้ำร่วมทำนำยพระลักษณะของพระมหำบุรุษโดยเชื่อมั่นว่ำจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ำ จึงตำมอุปัฏฐำกด้วยหวังว่ำ เมื่อพระมหำบุรุษตรัสรู้จักทรงเทศนำโปรด ฯ
. การบวชของพระมหากัจจายนะ มีความเป็นมาอย่างไร ?
. มีความเป็นมาอย่างนี้ ท่านได้รับมอบหมายจากพระเจ้าจัณฑปัชโชตให้ไปทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงอุชเชนี จึงทูลลาบวชด้วย ครั้นได้เข้าเฝ้าฟังธรรมแล้ว บรรลุพระอรหัต จึงทูลขอบวช ฯ
. พระอุรุเวลกัสสปะบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพราะเหตุใด ? พระพุทธองค์ทรงพาท่านไปกรุงราชคฤห์ด้วย เพราะทรงมีพุทธประสงค์อย่างไร ?
. พระอุรุเวลกัสสปะเห็นอภินิหารของพระพุทธองค์หลายประการ จนถอนทิฏฐิมานะของตน เห็นว่าลัทธิของตนหาแก่นสารมิได้ และตนก็มิได้เป็นผู้วิเศษ ได้ความสลดใจ จึงทูลขออุปสมบท ฯ
ทรงมีพุทธประสงค์จะปลูกศรัทธาแก่มหาชน เพราะท่านเป็นที่นับถือของมหาชนมานาน ฯ
ชฏิล ๒ พี่น้อง ต่างละลัทธิของตน บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา เพราะเหตุใด ?
อุรุเวละกัสสปะ ถือตัวว่าเป็นผู้วิเศษ แต่พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหารย์และอาเทสนาปาฏิหารย์ทรมาณจนถอนทิฏฐิมานะ ได้ปรีชาหยั่งเห็นว่าลัทธิของตนหาแก่นสารมิได้ ตนมิได้เป็นผู้วิเศษแต่ประการใด ได้ความสลดใจ จึงทูลขออุปสมบท
ส่วนนทกัสสปะ และคยากัสสปะ เห็นพี่ชายถือเพศเป็นภิกษุ ถามทราบความว่า พรหมจรรย์นี้ประเสริฐ จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลขออุปสมบท

ข้อที่๕  ว่าด้วยเรื่องพระปัญจวัคคีย์และบุคคลที่ควร
. พระปัญจวัคคีย์องค์ไหนบ้างได้ศิษย์ดีมีความสาคัญต่อพระศาสนา ? ศิษย์นั้นชื่ออะไร และเป็นผู้เลิศในทางใด ?
. พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้พระปุณณนมันตานีบุตรเป็นศิษย์เป็นผู้เลิศในทางธรรมกถึก
พระอัสสชิ ได้พระสารีบุตรเป็นศิษย์ เป็นผู้เลิศในทางมีปัญญามาก ฯ

 . พระปัญจวัคคีย์ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกัน แต่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องเป็นปฐมสาวก เพราะเหตุ ?
. เพราะพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนและได้รับอุปสมบทก่อนองค์อื่น ฯ
. เอหิภิกขุอุปสัมปทาที่ประทานแก่พระปัญจวัคคีย์และพระยสะต่างกันอย่างไร ? เพราะเหตุไร ?
. ต่างกัน คือ ที่ประทานแก่พระปัญจวัคคีย์มีคาว่า เพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบ ส่วนที่ประทานแก่พระยสะไม่มีคาว่า เพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบ ฯ เพราะพยสะได้ถึงที่สุดทุกข์แล้ว ฯ

 . พระอัญญาโกณฑัญญะ ชื่อเดิมว่าอะไร ? เกิดที่ไหน ? เรียนจบอะไร ? ทาไมจึงได้ชื่ออัญญาโกณฑัญญะ ?
. ชื่อเดิมว่าโกณฑัญญะ ฯ
เกิดที่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ อยู่ไม่ห่างจากกรุงกบิลพัสดุ์ ฯ
เรียนจบไตรเพทและรู้ตาราทานายลักษณะ ฯ
เพราะอาศัยพระอุทานว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว ที่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงเปล่งเมื่อท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ
 . พระอัญญาโกณฑัญญะ ใคร่ครวญดูตามประวัติ ความเชื่อถือของท่าน หนักไปทางไหน ในตาราทายลักษณะหรือในอัตตกิลมถานุโยคปฏิบัติ ? ขอฟังเหตุผล
. เห็นว่าหนักไปในอัตตกิลมถานุโยคปฏิบัติ เหตุผลคือ เดิมท่านเชื่อตารา แน่ใจ จึงบวชตามและเฝ้าอุปัฏฐาก ครั้นเห็นทรงเลิกทุกรกิริยา ก็สิ้นหวัง นี่ก็เพราะเชื่อมั่นในอัตตกิลมถานุโยคปฏิบัติว่า เลิกเสียเป็นอันไม่สาเร็จ เมื่อพระองค์ตรัสบอกว่า สาเร็จแล้ว ก็คัดค้านไม่เชื่อถือ อาการที่คัดค้าน และพูดถ้อยคาที่แสดงอคารวะนั้น เป็นเครื่องยืนยันความเห็นดังกล่าว ฯ
. ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ท่าน ได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนหลังกันอย่างไร ?
. ท่านโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นองค์แรก ต่อมาท่านวัปปะและท่านภัททิยะจึงได้ และต่อมาท่านมหานามะและท่านอัสสชิจึงได้ตามลาดับ ฯ
 . เศรษฐีบิดาพระยสะออกติดตามหาพระยสะให้กลับบ้าน แต่เหตุไฉนเมื่อพบแล้วจึงมิได้นากลับไปตามความประสงค์เดิม ?
. เพราะได้ทราบว่า พระยสะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ควรเพื่อจะกลับไปครองเรือนอีกต่อไป ควรจะออกบวชเป็นพระภิกษุ . พระยสะมีมารดาบิดาตั้งภูมิลาเนาอยู่ที่ไหน ? ออกบวชเพราะเหตุไร ?
. อยู่ที่เมืองพาราณสี ใกล้ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ฯ
เพราะมีความเบื่อหน่ายในการครองฆราวาส เนื่องจากได้เห็นอาการของ พวกชนบริวารอันวิปริตไปโดยอาการต่างๆ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการยังจิตให้ เพลิดเพลิน จึงได้เดินออกจากเรือนไปพบพระพุทธองค์ได้ฟังพระธรรมเทศนา จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงได้ออกบวช ฯ
. เมื่อเอ่ยถึง พระสารีบุตร ทาให้นึกถึงพระสาวกอีกองค์หนึ่ง คือใคร ? ท่านได้บรรลุพระอรหัตและนิพพานที่ไหน ? ก่อนหรือหลังพระสารีบุตร กี่วัน ?
. คือพระโมคคัลลานะ ฯ
ท่านได้บรรลุพระอรหัตที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ ก่อนพระ สารีบุตร ๘ วัน และนิพพานที่ตาบลกาฬศิลา แขวงมคธ หลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน ฯ
. ธรรมเสนาบดี และ นวกัมมาธิฏฐายี เป็นนามของพระสาวกองค์ใด ? เพราะเหตุไร จึงมีนามเช่นนั้น ?
. ธรรมเสนำบดี เป็นนำมของพระสำรีบุตรเถระ เพรำะท่ำนเป็นกำลังสำคัญยิ่งในกำร ประกำศพระพุทธศำสนำ ฯ นวกัมมำธิฏฐำยี เป็นนำมของพระโมคคัลลำนเถระ เพรำะท่ำนเป็นผู้สำมำรถกำกับดูแลกำรก่อสร้ำง ฯ
. พระมหากัจจายนะ นิพพานก่อนหรือหลังพระพุทธเจ้า ? มีอะไรเป็นข้ออ้าง ?
. พระมหำกัจจำยนะ นิพพำนหลังพระพุทธเจ้ำ มีมธุรสูตรเป็นข้ออ้ำง โดยมี
ใจควำม
ตอนหนึ่งในพระสูตรนั้นว่ำ พระเจ้ำมธุรรำชตรัสถำมว่ำ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภำค
เจ้ำ นั้นเสด็จอยู่ ณ ที่ไหน พระมหำกัจจำยนะทูลว่ำ พระผู้มีพระภำคเจ้ำปรินิพพำนแล้ว



ข้อที่ ๖ ว่าด้วยเรื่อง การทูลถามพรพุทธเจ้า
. อาจารย์ผู้ผูกปัญหาให้ศิษย์ ๑๖ คนไปทูลถามพระพุทธเจ้า ชื่ออะไร ? ทั้งอาจารย์และศิษย์ฟังพุทธพยากรณ์แล้วได้บรรลุผลอะไร ?
. พราหมณ์พาวรี ฯ ปิงคิยมาณพได้ดวงตาเห็นธรรม ฯ ศิษย์อีก ๑๕ คน ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ฯ ส่วนอาจารย์ได้บรรลุเสขภูมิ
. พระโมฆราชทูลถามปัญหาพระพุทธองค์เป็นคนที่เท่าไร ? เพราะเหตุไร ?
. เป็นคนที่ ๑๕ ฯ เพราะครั้งแรกเห็นว่าท่านอชิตมาณพเป็นผู้ใหญ่กว่าจึงยอมให้ถามก่อน แต่เมื่อปรารภจะทูลถามเป็นคนที่ ๒ และคนที่ ๙ ถูกพระพุทธองค์ทรงห้ามไว้ให้รอก่อน จึงได้โอกาสทูลถามเป็นคนที่ ๑๕ ฯ
. คาถามว่าข้าพเจ้าจักพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจักไม่แลเห็นใครเป็นผู้ทูลถาม ? พระศาสดาทรงพยากรณ์ไว้อย่างไร ?
. พระโมฆราชเป็นผู้ทูลถาม ฯ
พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงเป็นคนมีสติ พิจารณาเป็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความตามเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจักข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล มันจุราชจึงไม่แลเห็นเห็นฯ
. “โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้น ท่านกล่าวกันว่า นิพพานๆ ดังนี้ เพราะละอะไรได้ ?” ปัญหานี้ใครทูลถาม ?
. อุทยมาณพเป็นผู้ทูลถาม ฯ

ข้อที่ ๗ ว่าด้วยเรื่อง อื่นๆ
. พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพราะทรงพิจารณาเห็นอย่างไร ? และทรงถวายด้วยวิธีการอย่างไร ?
. เพราะทรงเห็นว่า พระราชอุทยานเป็นที่ไม่ไกลไม่ใกล้นักแต่บ้าน บริบูรณ์ด้วยทางเป็นที่ไปและทางเป็นที่มา ควรที่ผู้มีธุระจะควรไปถึง กลางวันไม่เกลื่อนกล่นด้วยหมู่คน กลางคืนเงียบเสียงที่จะอื้ออึงกึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนที่เดินเข้าออก สมควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการเป็นที่สงัด และควรเป็นที่หลีกออกเร้นอยู่ตามวิสัยสมณะ ควรเป็นที่เสด็จอยู่ของพระศาสดาฯ
ทรงถวายด้วยการหลั่งน้าจากพระเต้าทองฯ
. “คนเหล่านี้ทั้งหมดยังไม่ทันถึง ๑๐๐ ปี ก็จักไม่มีเหลือ จักล่วงไปหมด ดูการเล่นไม่มีประโยชน์อะไร ควรขวนขวายหาธรรมเครื่องพ้นดีกว่านี้เป็นคาพูดของใคร ? พูดกะใคร ?
. ของอุปติสสมานพ ฯ พูดกะโกลิตมาณพฯ
. ในอสีติมหาสาวก มีองค์ไหนบ้างมีความสัมพันธ์เป็นศิษย์และอาจารย์กัน ? จงบอกมาสัก ๒ คู่
ตอบเพียง ๒ คู่
พระอัญญาโกณฑัญญธกับพระปุณณมันตานีบุตร
พระอัสสชิกับพระสารีบุตร
พระสารีบุตรกับพระราธะ
พระสารีบุตรกับพระราหุล
พระมหากัจจายนะกับพระโสณกุฏิกัณณะ

ข้อที่ ๘ ว่าด้วยเรื่อง การสังคายนา
. การทาสังคายนาก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่พระศาสนาอย่างไรบ้าง ?
. ให้เกิดคุณประโยชน์อย่างนี้
กาจัดและป้องกันอลัชชีได้ ทาความเห็นพุทธศาสนิกให้ถูกต้องและปฏิบัติถูกต้องได้ และทาให้พระศาสนามั่นคงและแพร่หลายยิ่งขึ้น ฯ
. พระมหากัสสปเถระเป็นประธานในการทาสังคายนาครั้งแรกที่ไหน ? ใช้เวลานานเท่าไร ?
. ที่ถ้าสัตตบัณณคูหา เวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ ฯ ใช้เวลา ๗ เดือน ฯ

ข้อที่ ๙ ว่าด้วยเรื่อง การเผยแพร่ธรรม
. พระมหากัจจายนะเคยได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าให้ไปเผยแผ่พระศาสนาแทนพระองค์เมื่อครั้งไหน ? ได้ผลอย่างไร ?
. เมื่อครั้งที่ท่ำนบรรลุพระอรหัต และอุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ได้ทูลเชิญพระพุทธเจ้ำให้เสด็จไปกรุงอุชเชนี เพื่อประกำศพระศำสนำตำมพระรำชประสงค์ของพระเจ้ำจัณฑปัชโชต แต่พระพุทธเจ้ำรับสั่งให้ท่ำนไปแทน ฯ พระเจ้ำจัณฑปัชโชตและชำวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศำสนำ ฯ


สรุปนักธรรมโทวิชา ศาสนพิธี

ข้อที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องศาสนพิธีคืออะไร
. วันธรรมสวนะ คือวันอะไร ? ทรงอนุญาตให้มีในวันใดบ้าง ?
. คือ วันกำหนดประชุมฟังธรรม หรือที่เรียกว่ำวันพระฯ ในวัน ๘ ค่ำ และ
วัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำของปักษ์ทั้งข้ำงขึ้นและข้ำงแรม ฯ
. ผ้าป่าคือผ้าอะไร ? คาพิจารณาผ้าป่าว่าอย่างไร ?
. คือ ผ้ำบังสุกุลจีวร ได้แก่ผ้ำเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้ำของหวงแหน ทิ้งอยู่ตำมป่ำดงบ้ำง
ตำมป่ำช้ำบ้ำง ตำมถนนหนทำงและห้อยอยู่ตำมกิ่งไม้บ้ำง ที่สุดจนกระทั่งที่เขำ
อุทิศไว้แทบเท้ำ รวมเรียกว่ำผ้ำป่ำ
คำพิจำรณำผ้ำป่ำว่ำ อิม ป สุกูลจีวร อสฺสำมิก มยฺห ปำปุณำติ หรือว่ำ
อิม วตฺถ อสฺสำมิก ป สุกูลจีวร มยฺห ปำปุณำติ ฯ
๑๐. จงให้ความหมายของคาต่อไปนี้ ?
. ปำฏิปุคคลิกทำน
. เภสัชทำน
. สลำกภัตต์
. ผ้ำวัสสิกสำฎก
. ผ้ำอัจเจกจีวร
๑๐. . คือทำนที่ถวำยเจำะจงเฉพำะรูปนั้นรูปนี้
. คือกำรถวำยเภสัช ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
. คือภัตตำหำรที่ทำยกทำยิกำถวำยตำมสลำก
. คือผ้ำที่อธิษฐำนสำหรับใช้นุ่งในเวลำอำบน้ำฝน หรืออำบน้ำทั่วไป
. คือผ้ำจำนำพรรษำที่ทำยกรีบด่วนถวำยก่อนกำหนดกำล ฯ
. ศาสนพิธี คืออะไร ? การศึกษาศาสนพิธีให้เข้าใจ มีประโยชน์อย่างไร ?
. คือ พิธีทางศาสนา ฯ
มีประโยชน์คือ
. ทาให้เข้าใจเรื่องของศาสนพิธีได้โดยถูกต้อง
. ให้เห็นเป็นเรื่องสาคัญไม่ไร้สาระ
. ทาให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยนจากขนบธรรมเนียมประเพณี ฯ
. การทาวัตร คืออะไร ? ทาวัตรสวดมนต์ เพื่อความมุ่งหมายใด ?
. คือ การทากิจวัตรของภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา เป็นการทากิจ ที่ต้องทาประจาจนเป็นวัตร-ปฏิบัติ เรียกสั้นๆ ว่า ทาวัตร
ความมุ่งหมายของการทาวัตรสวดมนต์นี้ บัณฑิตถือว่าเป็นอุบายสงบจิต ไม่ให้คิดวุ่นวายตามอารมณ์ได้ชั่วขณะที่ทา เมื่อทาประจาวันละ ๒ เวลา ทั้งเช้าเย็นครั้งละครึ่งชั่วโมง หรือ ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ก็เท่ากับได้ ใช้เวลาสงบจิตได้วันละไม่ต่ากว่า ๑ ใน ๒๔ ชั่วโมง ฯ
๑๐. ในวันอุโบสถ พระธรรมกถึกให้ศีล ๘ เป็นอุโบสถศีล แต่มีผู้ศรัทธาจะ รักษาเพียงศีล ๕ เท่านั้น พึงปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. พึงปฏิบัติอย่างนี้ สมาทานเพียง ๕ ข้อ ในระหว่างข้อที่ ๓ ซึ่ง พระธรรมกถึกให้ด้วยบทว่า อพฺรหฺมจริยา ... พึงรับสมาทานว่า กาเมสุ
มิจฺฉาจารา... และรับต่อไปจนครบ ๕ ข้อเมื่อครบแล้วก็กราบ ๓ ครั้ง ลดลงนั่งราบไม่ต้องรับต่อไป ฯ
. วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร? เนื่องด้วยวันนั้น มีบุญพิธีอะไรที่ทากันมาจนถึงบัดนี้ ?
. คือ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก หลังจากที่เสด็จขึ้นไป จาพรรษาในดาวดึงสพิภพถ้วนไตรมาส โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ฯ
มีการทาบุญตักบาตรแด่พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น จนเป็นประเพณีทาบุญตักบาตรที่เรียกว่าตักบาตรเทโวโรหณะ มาจนถึงปัจจุบันนี้ ฯ
๑๐. บังสุกุลเป็น คืออะไร ? คาถาที่ใช้บังสุกุลเป็น ว่าอย่างไร ?
๑๐. บังสุกุลเป็น คือบุญกิริยาที่เจ้าภาพประสงค์จะบริจาควัตถุเนื่องด้วยกายของตน โดยเฉพาะผ้าอุทิศสงฆ์ให้เป็นผ้าบังสุกุล ปกตินิยมทาเมื่อป่วยหนัก เป็นการกาหนดมรณานุสสติวิธีหนึ่ง ฯ
ว่า อจิร วตย กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถ ว กลิงฺคร ฯ
. ในงานมงคลที่ทากันอย่างสามัญทั่วไป นิยมเจริญพระพุทธมนต์ด้วย บทสวดมนต์ที่รวมเรียกสั้นๆ ว่าอะไร ? และต้องมีบทอื่นมาประกอบอีก เรียกว่าอะไร ?
. เรียกว่า เจ็ดตานาน ฯ
เรียกว่า ต้นสวดมนต์หรือต้นตานาน และท้ายสวดมนต์ ฯ
๑๐. เทศน์มหาชาติ คือการเทศน์เรื่องอะไร ? มีกี่กัณฑ์ ? จบเทศน์มหาชาติแล้ว นิยมเทศน์ต่อด้วยเรื่องอะไร ?
๑๐ เรื่องเวสสันดรชาดก ฯ มี ๑๓ กัณฑ์ ฯ เรื่อง จตุราริยสัจจกถา ฯ
. สามัญอนุโมทนา กับ วิเสสอนุโมทนา ต่างกันอย่างไร ?
. ต่างกันอย่างนี้ สามัญอนุโมทนา คือการอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันทั่วไปปกติ ไม่ว่างานใด ก็ใช้อนุโมทนาอย่างนั้นฯ ส่วน วิเสสอนุโมทนา คือการอนุโมทนาด้วยบทสวดสาหรับอนุโมทนาเป็นบทพิเศษ เฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่องฯ
๑๐. บท อทาสิ เม อกาสิ เม ... และบท อยญฺ จ โข ทกฺขิณา ทินฺนา ... ใช้ต่างกันอย่างไร ?
๑๐. บท อทาสิ เม อกาสิ เม ... ใช้ในกรณีที่ศพยังอยู่
บท อยญฺ จ โข ทกฺขิณา ทินฺนา ... ใช้ในกรณีทาบุญอัฐิ ฯ
ศาสนพิธี
. คาว่า เจริญพระพุทธมนต์กับสวดพระพุทธมนต์ใช้ต่างกันอย่างไร ? การทาบุญฉลองอัฐิจัดเข้าในอย่างไหนใน ๒ อย่างข้างต้น
. เจริญพระพุทธมนต์ใช้ในงำนมงคล สวดพระพุทธมนต์ใช้ในงำนอวมงคล ฯ
จัดเข้ำในกำรเจริญพระพุทธมนต์ แต่ไม่ต้องตั้งขันน้ำมนต์และสำยสิญจน์ ฯ
๑๐. งานทาบุญต่อนามหรือต่ออายุ คืองานทาบุญเช่นไร ?
๑๐. คืองำนทำบุญที่คณะญำติของผู้กำลังป่วยหนักจัดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยหำยป่วยและเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีโอกำสบำเพ็ญกุศลในบั้นปลำยแห่งชีวิตของตน หรือเป็นควำมประสงค์ของผู้จะทำบุญต่ออำยุเองเพื่อควำมเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ฯ
ศาสนพิธี
. วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร ? เนื่องด้วยวันนั้น มีบุญพิธีอะไรที่ทากันมาจนถึงบัดนี้ ?
. คือ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก หลังจากที่เสด็จขึ้นไปจาพรรษา ในดาวดึงสพิภพถ้วนไตรมาส โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้า เปิดโลก ฯ
มีการทาบุญตักบาตรแด่พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ จนเป็นประเพณีทาบุญ ตักบาตรที่เรียกว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ มาจนถึงปัจจุบันนี้ ฯ
๑๐. วิหารทานคาถา ซึ่งเป็นบทอนุโมทนาพิเศษ เริ่มต้นด้วย สีต อุณฺห ปฏิหนฺติ ฯลฯ นิยมใช้สวดเมื่อใด ?
๑๐. เมื่อทายกถวายเสนาสนะมี โบสถ์ วิหาร กุฎี เป็นต้น ฯ
ศาสนพิธี
. การถวายผ้าวัสสิกสาฎกนั้น มีมูลเหตุมาจากอะไร ? ใครเป็นผู้ถวาย คนแรก ?
. มีมูลเหตุมาจากเดิมยังไม่มีพุทธานุญาตให้ภิกษุมีผ้าวัสสิกสาฎก ภิกษุทั้งหลาย จึงเปลือยกายอาบน้า นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ทราบเรื่องนั้นแล้ว เห็นว่าไม่สมควรแก่เพศสมณะ จึงทูลขอพระพุทธานุญาต เพื่อถวาย ผ้าอาบน้าฝนแก่ภิกษุทั้งหลาย ฯ
๑๐. จงเขียนอุโบสถศีล เฉพาะข้อที่ ๗ มาดู
๑๐. นจฺจ คีต วาทิต วิสูก ทสฺสนา มาลา คนฺธ วิเลปน ธารณ มณฺฑน วิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปท สมาทิยามิ ฯ
ศาสนพิธี
. ศาสนพิธีเล่ม ๒ แสดงอุโบสถกรรมไว้กี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
. ๓ ประเภท ฯ คือ สังฆอุโบสถ ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษฐานอุโบสถ ๑ ฯ
๑๐. จงให้ความหมายของคาต่อไปนี้ การเข้าพรรษา การออกพรรษา ฯ
๑๐. การเข้าพรรษา หมายถึง การที่ภิกษุผูกใจว่าจะอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน ไม่ไปค้างแรมให้ล่วงราตรีในที่แห่งอื่นระหว่างผูกใจนั้นเว้นแต่ไปด้วยสัตตาหกรณียะ ฯ


สรุปนักธรรมโท วิชาวินัยมุข

ข้อที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องคำถามเกี่ยวกับ อภสมาจาร
สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่าอะไร ? ทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ?
ตอบ สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่า อภิสมาจาร ทรงบัญญัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของภิกษุ และเพื่อความงามของพระศาสนา เช่นเดียวกับตระกูลใหญ่ จาต้องมีขนบธรรมเนียมและระเบียบไว้รักษาเกียรติและความเป็นผู้ดีของตระกูล

ภิกษุผู้ประพฤติพระวินัยส่วนอภิสมาจารให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม จะต้องปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม ต้องปฏิบัติโดยสายกลาง คือไม่ถือเคร่งครัดอย่างงมงาย จนเป็นเหตุทาตนให้ลาบากเพราะเหตุธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ อันขัดต่อกาลเทศะ และไม่สะเพร่ามักง่าย ละเลยต่อธรรมเนียมของภิกษุจนถึงทาตนให้เป็นคนเลวทราม.

พระวินัย แบ่งออกเป็นกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
จะปฏิบัติพระวินัยอย่างไร จึงจะเรียกได้ว่า พอดีพองาม ?
แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
อาทิพรหมจริยกาสิกขาบท ๑ อภิสมาจาร ๑
ต้องปฏิบัติพระวินัยโดยสายกลางคือไม่ถือเคร่งครัดอย่างงมงาย
จนเป็นเหตุต้องทำตนให้เป็นคนลำบาก เพราะเหตุธรรมเนียมเล็ก ๆ น้อย ๆ อันขัดต่อกาลเทศะและไม่สะเพร่ามักง่ายละเลยต่อธรรมเนียมของภิกษุ จนถึงทำตนให้เป็นคนเลวทราม จึงจะเรียกได้ว่า พอดีพองาม

อภิสมาจาร คืออะไร ? เป็นเหตุให้ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ?
๑. คือ ขนบธรรมเนียมของภิกษุ ฯ
อาบัติถุลลัจจัยและอาบัติทุกกฏ

อาทิพรหมจริยกาสิกขา กับ อภิสมาจาริกาสิกขา ต่างกันอย่างไร ?
๑. ต่างกันดังนี้ อาทิพรหมจริยาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ อันได้แก่พระพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งไว้ให้เป็นพุทธอาณา เป็นสิกขาบทอันมาในพระปาติโมกข์ เป็นข้อบังคับโดยตรงทีภิกษุจะต้องประพฤติปฏิบัติโดยเคร่งครัด ส่วนอภิสมาจาริกาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเนื่องด้วยอภิสมาจาร คือมารยาทอันดี ที่ทรงบัญญัติหรืออนุญาตไว้ อันมานอกพระปาติโมกข์ เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามของหมู่คณะที่ควรประพฤติ ฯ

สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์ที่เรียกว่าอภิสมาจารแบ่งเป็น ๒ คือเป็นข้อห้าม ๑ เป็นข้ออนุญาต๑ นั้น คืออย่างไร ?
๑. ที่เป็นข้อห้าม คือกิริยาบางอย่างหรือบริขารบางประเภทไม่เหมาะแก่สมณะสารูป จึงทรงห้ามไม่ให้กระทาหรือใช้บริขารเช่นนั้น เช่นห้ามไม่ให้ไว้ผมยาว ไม่ให้ไว้หนวดเครายาว ไม่ให้ใช้บาตรไม้ เป็นต้น
ที่เป็นข้ออนุญาต คือการประทานประโยชน์พิเศษแก่พระภิกษุ เช่นทรงอนุญาตวัสสิกสาฎกในฤดูฝน เป็นต้นฯ

อภิสมาจาร คืออะไร ? ภิกษุล่วงละเมิดจะเกิดความเสียหายอย่างไร ?
๑. คือ ธรรมเนียมของภิกษุ ฯ
ถ้าล่วงละเมิดแต่บางอย่างหรือบางครั้งก็เสียหายน้อย แต่ถ้าล่วงละเมิด มากอย่างหรือเป็นนิตย์ ธรรมเนียมย่อมกลายไปหรือเสื่อมไป ภิกษุ จะแตกเป็น ๒ พวก คือเคร่งและไม่เคร่ง ฯ

ภิกษุผู้ได้ชื่อว่าประดับพระศาสนาให้รุ่งเรืองเพราะประพฤติปฏิบัติเช่นไร ? จงชี้แจง
๑๐. เพราะมีความประพฤติปฏิบัติสุภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ด้วยอภิสมาจาริกวัตร เว้นจากบุคคลและสถานที่ไม่สมควรไปคืออโคจร เป็นผู้ได้ชื่อว่าอาจารโคจรสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจรอันเป็นคุณบทว่า สีลสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ฯ

ในพระวินัยส่วนอภิสมาจาร มีพระพุทธบัญญัติสาหรับพระภิกษุผู้รับถือเสนาสนะ
ของสงฆ์ ควรเอาใจใส่รักษาเสนาสนะด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?

๔. ควรเอาใจใส่รักษาอย่างนี้ คือ
๑. อย่าทาเปรอะเปื้อน
๒. ชาระให้สะอาด
๓. ระวังไม่ให้ชารุด
๔. รักษาเครื่องเสนาสนะ
๕. ตั้งน้าฉันน้าใช้ไว้ให้มีพร้อม
๖. ของใช้สาหรับเสนาสนะหนึ่ง อย่าเอาไปใช้ในที่อื่นให้กระจัดกระจาย ฯ

พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุไว้ผมได้ยาวที่สุดเท่าไร ? ไว้ได้นานที่สุดเท่าไร ?
๒. ไม่เกิน ๒ นิ้ว ฯ ไม่เกิน ๒ เดือน ฯ

มีข้อกาหนดในการไว้ผมยาวของพระภิกษุอย่างไร ? ในการโกนผม ภิกษุใช้กรรไกรแทนมีดโกนได้หรือไม่ ?
๒. ไว้ได้เพียง ๒ เดือน หรือ ๒ นิ้ว เป็นอย่างยิ่ง ฯ
ไม่ได้ เว้นไว้แต่อาพาธ ฯ

ภิกษุใช้เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ปกปิดกายแทนจีวร จะผิดหรือไม่ อย่างไร ?
๒. อาจจะผิดหรือไม่ผิดแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ไม่มีจีวร เช่นจีวรถูกไฟไหม้ ถูกโจรชิงไปหมด นุ่งห่มผ้าของคฤหัสถ์ได้ ห้ามมิให้เปลือยกาย ถ้าไม่ปกปิด ต้องอาบัติทุกกฏ แต่ถ้าไม่มีเหตุแล้วนุ่งห่มต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

วิธีใช้วิธีรักษาบาตรที่ถูกต้อง คืออย่างไร ?
๓. คือ ห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่างกระโถน คือทิ้งก้างปลา กระดูก เนื้อ หรืออื่นๆ อันเป็นเดนลงในบาตร ห้ามไม่ให้ล้างมือหรือบ้วนปากลงในบาตร จะเอามือเปื้อนจับบาตรก็ไม่ควร ฉันแล้วให้ล้างบาตร ห้ามไม่ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก ให้ผึ่งแดดก่อน ห้ามไม่ให้ผึ่งทั้งยังเปียก ให้เช็ดจนหมดน้าก่อนจึงผึ่ง ห้ามไม่ให้ผึ่งไว้นาน ให้ผึ่งสักครู่หนึ่ง


ข้อที่ ๒ ว่าด้วยเรื่อง เกี่ยวกับผ้า

ผ้าสังฆาฏิ คือผ้าอะไร ? มีหลักฐานความเป็นมาอย่างไร ?
๔. คือ ผ้าสาหรับห่มกันหนาวหรือห่มซ้อนนอก ทรงอนุญาตเพื่อใช้ในฤดู หนาว ฯ
มีเรื่องเล่าว่า ในฤดูหนาวจัด ทรงทดลองห่มจีวรผืนเดียวอยู่ในที่แจ้ง สามารถกันความหนาวได้ยามหนึ่ง ถ้าอยู่ตลอดราตรี ต้องผ้า ๓ ชั้นจึง พอกันความหนาวได้ จึงทรงอนุญาตสังฆาฏิ ๒ ชั้นเข้ากับอุตตราสงค์ ชั้นเดียว จะได้เป็น ๓ ชั้น พอกันความหนาวดังกล่าวได้ ฯ
ผ้าสาหรับทาจีวรนุ่งห่มนั้นทรงอนุญาตไว้กี่ชนิด ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ผ้าสาหรับทาจีวรนุ่งห่มนั้นทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด คือ
๑. โขมะ ผ้าทาด้วยเปลือกไม้
๒. กัปปาสิกะ ผ้าทาด้วยฝ้าย
๓. โกเสยยะ ผ้าทาด้วยใยไหม
๔. กัมพละ ผ้าทาด้วยขนสัตว์ ยกเว้นผมและขนมนุษย์
๕. สาณะ ผ้าทาด้วยเปลือกป่าน
๖. ภังคะ ผ้าที่ทาด้วยของ ๕ อย่างนั้น แต่ละอย่างใดอย่างหนึ่งปนกัน

ภิกษุไม่ต้องนาผ้าไตรจีวรไปครบสารับ มีพระพุทธานุญาตไว้ในกรณีใดบ้าง ?
๓. ใน ๒ กรณี คือ
๑. ในกรณีเข้าบ้านมีพระพุทธานุญาตไว้อย่างนี้ คือ
๑.คราวเจ็บไข้
๒.สังเกตเห็นว่าฝนจะตก
๓.ไปสู่ฝั่งแม่น้า
๔.วิหารคือกุฎีคุ้มได้ด้วยดาล
๕.ได้รับอานิสงส์พรรษา
๖.ได้กรานกฐิน ฯ
๒. ในกรณีต้องไปค้างแรมที่อื่น มีพระพุทธานุญาตไว้อย่างนี้ คือ
๑. ได้รับอานิสงส์พรรษา
๒. ได้กรานกฐิน ฯ

ภิกษุใช้เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ปกปิดกายแทนจีวร จะผิดหรือไม่ อย่างไร ?
๒. อาจจะผิดหรือไม่ผิดแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ไม่มีจีวร เช่นจีวรถูกไฟไหม้ ถูกโจรชิงไปหมด นุ่งห่มผ้าของคฤหัสถ์ได้ ห้ามมิให้เปลือยกาย ถ้าไม่ปกปิด ต้องอาบัติทุกกฏ แต่ถ้าไม่มีเหตุแล้วนุ่งห่มต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

ผ้าต่อไปนี้ คือ สังฆาฏิ อันตรวาสก นิสีทนะ ผ้าอาบน้าฝน ผ้าเช็ดปากผ้าถุงบาตรผืนใดที่ทรงอนุญาตให้อธิษฐานได้เพียงผืนเดียว ?
๑๐. สังฆาฏิ นิสีทนะ อันตรวาสก และผ้าอาบน้าฝน ฯ

ข้อว่า อย่าพึงนุ่งห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
๒. มีอธิบายว่า ห้ามนุ่งห่มเครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ เช่น กางเกง เสื้อผ้าโพก หมวก ผ้านุ่งผ้าห่มสีต่าง ๆ ชนิดต่าง ๆ และห้ามอาการนุ่งห่มต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ของภิกษุ

มีพระบัญญัติข้อหนึ่งว่า อย่าพึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ อย่างพึงห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ ในกรณีที่ภิกษุถูกโจรชิงผ้านุ่งห่มไปหมด พึงปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามพระวินัย ?
๒. พึงปิดกายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราว โดยที่สุดแม้ใบไม้ก็ใช้ได้ ห้ามมิให้เปลือยกาย ฯ

ผ้าบริขารโจล ได้แก่ผ้าเช่นไร ? การอธิษฐานด้วยกายกับการอธิษฐาน ด้วยวาจาต่างกันอย่างไร ?
๙. ได้แก่ ผ้าที่ไม่ใช่ของใหญ่ถึงกับนุ่งห่มได้ เช่นผ้ากรองน้าถุงบาตร ย่าม ฯ การอธิษฐานด้วยกาย คือ การใช้มือจับหรือลูบบริขารที่จะอธิษฐานแล้ว ทาความผูกใจตามคาอธิษฐานนั้นๆ ส่วนการอธิษฐานด้วยวาจา คือ การเปล่งคาอธิษฐานนั้นๆ ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้ ฯ

จีวรผืนหนึ่ง มีกาหนดจานวนขัณฑ์ไว้อย่างไร ? ใน ๑ ขัณฑ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
๓. กาหนดจานวนไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ขัณฑ์ แต่ให้เป็นขัณฑ์คี่ คือ ๗, , ๑๑ เป็นต้น ฯ ประกอบด้วยมณฑล อัฑฒมณฑล กุสิ อัฑฒกุสิ

วิธิวัตร คืออะไร ? มีความสาคัญอย่างไร ?
๗. คือ วินัยที่ว่าด้วยแบบอย่าง เช่นแบบอย่างการห่มผ้าเป็นต้น ฯ
แบบอย่างนั้นเป็นเหตุให้ภิกษุมีความประพฤติสม่าเสมอกัน เช่นนุ่งห่ม เป็นแบบเดียวกันอันโบราณท่านจัดไว้ถ้าเป็นแบบที่ล่วงเวลาและจะ ไม่ใช้ก็ต้องมีวิธีใหม่แทน ไม่เช่นนั้นจะค่อยหลุดไปทีละอย่าง จนไม่มี อะไรเหลือเมื่อถึงเวลานั้นพระสงฆ์ก็จะไม่มีอะไรที่ต่างจากชาวบ้าน

คาว่า อธิษฐานในวินัยกรรม คืออะไร ? ผ้าสังฆาฏิผืนเดิมเก่าขาดใช้ไม่ได้ จะเปลี่ยนใหม่ พึงปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. คือ การตั้งบริขารที่ทรงอนุญาตสาหรับภิกษุเอาไว้ใช้สาหรับตัว
(เช่นการตั้งใจใช้จีวรผืนนั้น ไม่ใช้ผืนอื่น) ฯ
พึงทาพินทุผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ว่า อิม พินฺทุกปฺป กโรมิ เราทาหมาย ด้วยจุดนี้ แล้วปัจจุทธรณ์คือยกเลิกผ้าสังฆาฏิเดิมว่า อิม สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ เรายกเลิกผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ต่อจากนั้นอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ ผืนใหม่ว่า อิม สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าสังฆาฏิผืนนี้


ข้อที่ ๓ ว่าด้วยเรื่อง เรื่องเข้าพรรษาออกพรรษา
การจาพรรษาของภิกษุมีวิธีอย่างไร ? จงอธิบายพอเข้าใจ
๘. การจาพรรษานั้น ในบาลีกล่าวเพียงให้ทาอาลัย คือ ผูกใจว่าจะอยู่ในที่นี้ ๓ เดือน แต่ในบัดนี้มีธรรมเนียมที่ประชุมกันกล่าวคาอธิษฐานพร้อม กันว่า อิมสฺมึ อาวาเส อิม เตมาส วสฺส อุเปม แปลความว่า เราเข้าถึง ฤดูฝนในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน ฯ

วันเข้าพรรษาในบาลีกล่าวไว้ ๒ วัน คือวันเข้าพรรษาต้น และวันเข้าพรรษาหลัง ในแต่ละอย่างกาหนดวันไว้อย่างไร ?
วันเข้าพรรษาต้น กาหนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ววันหนึ่ง คือวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ วันเข้าพรรษาหลัง กาหนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะนั้น
ล่วงแล้วเดือน ๑ คือ วันแรม ๑ ค่า เดือน ๙ ฯ

ภิกษุอยู่จาพรรษาครบ ๓ เดือนจนได้ปวารณาย่อมได้อานิสงส์แห่ง การจาพรรษาอะไรบ้าง ?
๖. ได้รับอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสารับ
๓. ฉัันคณโภชน์ และปรัมปรโภชน์ได้
๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ
ทั้งได้โอกาสเพื่อกรานกฐิน และรับอานิสงส์ ๕ นั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ตลอดเหมันตฤดู ฯ

ภิกษุอยู่จาพรรษาแล้ว มีเหตุให้ไปที่อื่น คิดว่าจะกลับมาทันภายใน วันนั้น มิได้ผูกใจสัตตาหะไว้ แต่มีเหตุขัดข้องให้กลับถึงเมื่ออรุณขึ้นเสียแล้ว เช่นนี้ พรรษาขาดหรือไม่? เพราะเหตุใด?
๕. ถ้าไปด้วยธุระที่ทรงอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ พรรษาไม่ขาด ฯ
เพราะยังอยู่ในพระพุทธานุญาตนั้นเอง ทั้งจิตคิดจะกลับก็มีอยู่ ถ้าไปด้วยมิใช่ธุระที่เป็นสัตตาหกรณียะ พรรษาขาด ฯ

การอธิษฐานเข้าพรรษา กับการปวารณาออกพรรษา ทั้ง ๒ นี้ อย่างไหนกาหนด
ด้วยสงฆ์เท่าไร ? และกาหนดเขตอย่างไร ?

๑๐. การอธิษฐานเข้าพรรษาไม่เป็นสังฆกรรมจึงไม่กาหนดด้วยสงฆ์ แต่เป็น
ธรรมเนียมปฏิบัติอธิษฐานเข้าพรรษาพร้อมๆ กัน จะอธิษฐานที่ไหนก็ได้ แต่ท่าน
ห้ามไม่ให้จาพรรษาในที่ไม่สมควรเท่านั้น เช่น ในโพรงไม้ บนค่าคบไม้ ในตุ่ม
หรือในกระท่อมผี เป็นต้น ฯ และให้กาหนดบริเวณอาวาสเป็นเขต ฯ
ส่วนการปวารณาออกพรรษาเป็นสังฆกรรม กาหนดด้วยสงฆ์ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ฯ
และกาหนดให้ทาภายในเขตสีมา ถ้าต่ากว่า ๕ รูป ท่านให้ปวารณาเป็นการคณะ
ถ้ารูปเดียวให้อธิษฐานเป็นการบุคคล ฯ

ภิกษุอยู่จาพรรษาไม่ขาดย่อมได้อานิสงส์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ภิกษุอยู่จาพรรษาย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค
๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องนาไตรจีวรไปครบสารับ
๓. ฉันคณโภชน์ และปรัมปรโภชน์ได้
๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น จักเป็นของได้แก่พวกเธอ

ภิกษุอยู่จาพรรษาแล้ว มีเหตุให้ไปที่อื่น คิดว่าจะกลับมาทันภายใน วันนั้น มิได้ผูกใจสัตตาหะไว้ แต่มีเหตุขัดข้องให้กลับถึงเมื่ออรุณขึ้นเสียแล้ว เช่นนี้ พรรษาขาดหรือไม่? เพราะเหตุใด?
๕. ถ้าไปด้วยธุระที่ทรงอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ พรรษาไม่ขาด ฯ
เพราะยังอยู่ในพระพุทธานุญาตนั้นเอง ทั้งจิตคิดจะกลับก็มีอยู่ ถ้าไปด้วยมิใช่ธุระที่เป็นสัตตาหกรณียะ พรรษาขาด ฯ


ข้อที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องสังฆกรรม การสวดปาฏิโมกข์ อุปสมบทกรรม และ อัพภาณกรรม จานวนสงฆ์...
ในวัดหนึ่ง ถ้ามีภิกษุจาพรรษา ๔ รูป ๒ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถพึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ เมื่อถึงวันอุโบสถต้องปฏิบัติอย่างนี้
๔ รูปพึงประชุมกันในโรงอุโบสถสวดปาฏิโมกข์
๓ รูปพึงประชุมกันทาปาริสุทธิอุโบสถ ดังนี้ ประชุมกันในโรงอุโบสถแล้วรูปหนึ่งสวดประกาศญัตติ จบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธิ์ของตน
๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน
๑ รูป พึงอธิษฐาน

สังฆกรรม ๓ อย่างนี้ คือ การสวดปาฏิโมกข์ อุปสมบทกรรม และ อัพภาณกรรม มีจากัดจานวนสงฆ์อย่างน้อยเท่าไรจึงจะถูกต้องตาม พระวินัย ?
๒. การสวดปาฏิโมกข์ ต้องการสงฆ์จตุวรรค คือ ๔ รูปเป็นอย่างน้อย อุปสมบทกรรมในปัจจันตประเทศ ต้องการสงฆ์ปัญจวรรค คือ ๕ รูป เป็นอย่างน้อย อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องการสงฆ์ทสวรรค คือ ๑๐ รูปเป็นอย่างน้อย อัพภาณกรรม ต้องการสงฆ์วีสติวรรค คือ ๒๐ รูปเป็นอย่างน้อย ฯ

ภิกษุจาพรรษาอยู่ด้วยกัน ๕ รูป ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ อยู่รูปเดียว ถึงวันปวารณา พึงปฏิบัติอย่างไร ?
๖. อยู่ด้วยกัน ๕ รูป พึงทาปวารณาเป็นการสงฆ์ อยู่ด้วยกัน ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป พึงปวารณาเป็นการคณะ อยู่รูปเดียว พึงอธิษฐานเป็นการบุคคล ฯ

ภิกษุจำพรรษา ๑ รูป ๒, , , ๕ รูป เมื่อถึงวันปวารณาพึงปฏิบัติอย่างไร ?
เหตุที่ทำให้เลื่อนปวารณาได้มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
พึงปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุ ๑ รูป พึงอธิษฐานเป็นการบุคคล, ภิกษุ ๒, , ๔ รูป พึงทำคณะปวารณา, ภิกษุ ๕ รูปขึ้นไปพึงทำสังฆปวารณา
มี ๒ อย่างคือ
๑) ภิกษุจะเข้ามาสมทบปวารณาด้วย ด้วยหมายจะคัดค้าน
ผู้นั้นผู้นี้ ทำให้เกิดอธิกรณ์ขึ้น
๒) อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ปวารณาแล้วต่างจะจากกันจาริกไปเสีย


ข้อที่๕  ว่าด้วยเรื่องวัตร ๓ คือ กิจวัตร ๑ จริยาวัตร ๑ วิธิวัตร ๑
วัตร ๓ คืออะไรบ้าง ? ภิกษุเหยียบผ้าขาวอันเขาลาดไว้ในที่นิมนต์ผิดวัตรข้อไหน ?
มีโทษให้เกิดความเสียหายอย่างไร ?
๕. คือ กิจวัตร ๑ จริยาวัตร ๑ วิธิวัตร ๑ ฯ ผิดวัตรข้อจริยาวัตร ฯ
มีโทษให้เกิดความเสียหาย คือเป็นการเสียมารยาทของพระ ไม่ระวังกิริยา ทาให้
ผ้าขาวมีรอยเปื้อนสกปรกน่ารังเกียจ แม้ภิกษุพวกเดียวกันจะนั่งก็รังเกียจขยะแขยง
เป็นที่ตาหนิของบัณฑิตทั้งหลาย

วิธิวัตร คืออะไร ? มีความสาคัญอย่างไร ?
๗. คือ วินัยที่ว่าด้วยแบบอย่าง เช่นแบบอย่างการห่มผ้าเป็นต้น ฯ
แบบอย่างนั้นเป็นเหตุให้ภิกษุมีความประพฤติสม่าเสมอกัน เช่นนุ่งห่ม เป็นแบบเดียวกันอันโบราณท่านจัดไว้ถ้าเป็นแบบที่ล่วงเวลาและจะ ไม่ใช้ก็ต้องมีวิธีใหม่แทน ไม่เช่นนั้นจะค่อยหลุดไปทีละอย่าง จนไม่มี อะไรเหลือเมื่อถึงเวลานั้นพระสงฆ์ก็จะไม่มีอะไรที่ต่างจากชาวบ้าน

ในคาว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร วัตรได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๕. ได้แก่ ขนบ คือแบบอย่าง อันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ ฯ
มี ๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทา
๒. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
๓. วิธิวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง ฯ

ภิกษุผู้ได้ชื่อว่า วตฺตสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร วัตรคืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ วัตรคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ มี ๓ คือ
๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทา
๒. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
๓. วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง


ข้อที่ ๖ ว่าด้วยเรื่อง กาลิก
กาลิก มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? กล้วยดองน้าผึ้งเป็นกาลิกอะไร ?
๑๐. มี ๔ ฯ ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ฯ
เป็นยาวกาลิก ฯ

เภสัช ๕ มีอะไรบ้าง จัดเป็นกาลิกอะไร ?
๑๐. เนยใส เนยข้น น้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย ฯ จัดเป็นสัตตาหกาลิก ฯ

กาลิก คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? กาลิกกระคนกันมีกาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
๘. ของที่จะพึงกลืนให้ล่วงลาคอเข้าไป ฯ มีดังนี้ คือ ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ ยาวชีวิก ฯ กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุสั้นที่สุดเป็นเกณฑ์ เช่น เอายาผงที่เป็นยาวชีวิกซึ่งไม่จากัดอายุคลุ

ยาวกาลิกกับยาวชีวิกได้แก่กาลิกเช่นไร ? กาลิกระคนกันมีกฎเกณฑ์กาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
๘. ยาวกาลิก ได้แก่ของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ยาวชีวิกได้แก่ของที่ให้บริโภคได้เสมอไป ไม่มีจากัดกาล ฯ
กฎเกณฑ์กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุน้อยที่สุด ฯ เช่นยาผง เป็นยาวชีวิก คลุกกับน้าผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิก ต้องถืออายุ ๗ วัน เป็นเกณฑ์ ฯ

กาลิก คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? กาลิกระคนกันมีกาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
ตอบ กาลิก คือ ของที่พึงกลืนให้ล่วงลาคอลงไป มี ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุสั้นที่สุดเป็นเกณฑ์ เช่น เอายาผงที่เป็นยาวชีวิกซึ่งไม่จากัดอายุคลุกกับน้าผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิก ซึ่งมีกาหนดอายุไว้ ๗ วัน ดังนี้ ต้องถืออายุ ๗ วันเป็นเกณฑ์


ข้อที่ ๗ ว่าด้วย เรื่องพระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก นิสัย
พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก พึงปฏิบัติต่อกันอย่างไร จึงจะเกิดความ เจริญงอกงามในพระธรรมวินัย ?
๕. พึงปฏิบัติตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสสั่งไว้ว่า ให้พระอุปัชฌาย์และ สัทธิวิหาริกตั้งจิตสนิทสนมในกันและกัน ให้พระอุปัชฌาย์สาคัญ สัทธิวิหาริกฉันบุตร ให้สัทธิวิหาริกนับถือพระอุปัชฌาย์ฉันบิดา เมื่อเป็น เช่นนี้ ต่างจะมีความเคารพเชื่อฟังถูกกันอยู่ ย่อมจะถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย ฯ

คาว่า ถือนิสัย หมายความว่าอย่างไร ? ภิกษุผู้เป็นนวกะจะต้องถือนิสัยเสมอไปหรือไม่ประการไร ?
๔. หมายความว่า ยอมตนอยู่ในความปกครองของพระเถระผู้มีคุณสมบัติควรปกครองตนได้ ยอมตนให้ท่านปกครอง พึ่งพิงพานักอาศัยท่าน ฯ
ต้องถือนิสัยเสมอไป แต่มีข้อยกเว้น ภิกษุผู้ยังไม่ตั้งลงเป็นหลักแหล่ง คือภิกษุเดินทาง ภิกษุผู้เป็นไข้ ภิกษุผู้พยาบาลผู้ได้รับขอของคนไข้เพื่อให้อยู่ภิกษุผู้เข้าป่าเพื่อเจริญสม ณธรรมชั่วคราว และกรณีที่ในที่ใด หาท่านผู้ให้นิสัยมิได้ และมีเหตุขัดข้องที่จะไปอยู่ในที่อื่นไม่ได้ จะอยู่ในที่นั้นด้วยผูกใจว่าเมื่อใดมีท่านผู้ให้นิสัยได้มาอยู่ จักถือนิสัยในท่าน ก็ใช้ได้ ฯ

บุพพกรณ์และบุพพกิจในการทาอุโบสถต่างกันอย่างไร ? ในวัดที่มีภิกษุ ๓ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถ จะต้องทาบุพพกรณ์และบุพพกิจหรือไม่ เพราะเหตุไร ?
๕. บุพพกรณ์ คือ กรณียะอันจะพึงกระทาให้เสร็จก่อนประชุมสงฆ์ ส่วน บุพพกิจเป็นธุระอันจะพึงทาก่อนแต่สวดปาติโมกข์ ฯ
บุพพกรณ์นั้นเป็นกรณียะจะต้องทา เพราะต้องไปประชุมกันตามกิจ ส่วนบุพพกิจนั้นไม่ต้องทา เพราะภิกษุ ๓ รูป ไม่ต้องสวดปาติโมกข์ ฯ


ข้อที่ ๘ ว่าด้วยเรื่อง อื่นๆ
อเนสนา คืออะไร ? ภิกษุทาอเนสนา ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ?
๗. คือ กิริยาที่แสวงหาเลี้ยงชีพในทางไม่สมควร ฯ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์
และ ทุกกฏ ฯ
การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ เรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
จงบอกความหมายของแต่ละอย่างด้วย
เรียกว่า อุปปถกิริยา, มี ๓ อย่างคือ
อนาจาร ๑ ปาปสมาจาร ๑ อเนสนา ๑
ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่าง ๆ จัดเข้าในอนาจาร
ความประพฤติเลวทราม จัดเข้าในปาปสมาจาร
ความเลี้ยงชีพไม่สมควร จัดเข้าในอเนสนา

อุปปถกิริยา คืออะไร ? ความประพฤติเช่นไรจัดเข้าใน อนาจาร ปาปสมาจาร อเนสนา ?
ตอบ อุปปถกิริยา คือการทานอกรีตนอกรอยของสมณะ
ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่างๆ จัดเข้าในอนาจาร
ความประพฤติเลวทราม จัดเข้าในปาปสมาจาร
ความเลี้ยงชีพไม่สมควรจัดเข้าในอเนสนา

ภิกษุเช่นไร ชื่อว่า นวกะ มัชฌิมะ เถระ ?
วัตรอันภิกษุควรประพฤติในคำว่า วตฺตสมฺปนฺโน นั้นคืออะไรบ้าง ?
ภิกษุมีพรรษาไม่ถึง ๕ เรียกว่า นวกะ
ภิกษุมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง ๑๐ เรียกว่า มัชฌิมะ
ภิกษุมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า เถระ
คือ ๑) กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทำ
๒) จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
๓) วิธิวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง

ภิกษุได้ชื่อว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายสกุลเพราะประพฤติอย่างไร ?
๙. เพราะประพฤติให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส คือ เป็นผู้ประจบเขาด้วยกิริยาทาตนอย่างคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการ เอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ

ภิกษุได้รับการสรรเสริญว่า กุลปสาทโก ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส กับภิกษุ ผู้ได้รับการตาหนิว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายตระกูล เพราะมี ความประพฤติเช่นไร ?
๘. ภิกษุผู้ได้รับการสรรเสริญว่า กุลปสาทโก เพราะถึงพร้อมด้วยอาจาระ ไม่ทอดตนเป็นคนสนิทของสกุลโดยฐานเป็นคนเลว ไม่รุกรานตัดรอนเขา แสดงเมตตาจิต ประพฤติพอดีพองาม ทาให้เขาเลื่อมใสนับถือตน ส่วนภิกษุผู้ได้รับการตาหนิว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายสกุล เพราะประพฤติ ให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส ประจบเขาด้วยกิริยาทาตนอย่างคฤหัสถ์ ให้ของ กานัลแก่สกุลอย่างคฤหัสถ์เขาทากัน ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการ เอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ

ว่าด้วยเรื่อง ดิรัจฉานวิชา
ดิรัจฉานวิชาไม่ดีอย่างไร พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้ ไม่ให้บอกไม่ให้เรียน ?
๘. เป็นความรู้ที่เขาสงสัยว่าลวงหรือหลง ไม่ใช่ความรู้จริงจัง ผู้บอกเป็นผู้ลวง ผู้เรียนก็เป็นผู้หัดเพื่อจะลวงหรือเป็นผู้หลงงมงาย ฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้ไม่ให้บอก ไม่ให้เรียน ฯ

ความรู้ในการทาเสน่ห์ให้ชายหญิงรักกัน จัดเป็นดิรัจฉานวิชาเพราะเหตุไร ?
๘. เพราะเป็นความรู้ที่ไม่เกี่ยวกับธรรมวินัยของภิกษุ และเป็นความรู้ที่ทาให้เขา
สงสัยว่าลวง ทาให้เขาหลงงมงาย ไม่ใช่ความรู้จริง ผู้บอกเป็นผู้ลวง ฝ่ายผู้เรียน
เป็นผู้หัดเพื่อลวง หรือเป็นผู้หลงงมงาย


สรุปนักธรรมโท วิชาธรรม

ข้อที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องว่าด้วยเรื่องมาร
มัจจุมารได้แก่อะไร ? ได้ชื่อว่าเป็นมารเพราะเหตุไร ?
. ได้แก่ความตาย ฯ ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเมื่อความตายเกิดขึ้น บุคคลย่อมหมด
โอกาสที่จะทาประโยชน์ใดๆ อีกต่อไป ฯ
มาร คืออะไร ? เฉพาะอภิสังขารมาร หมายถึงอะไร ?
. คือ สิ่งที่ล้างผลาญทาลายความดี ชักนาให้ทาบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้ทา ความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ
หมายถึง อกุศลกรรม ฯ
มาร มีอะไรบ้าง ? อกุศลกรรมจัดเป็นมารประเภทใด ?
. มีดังนี้ ๑. ขันธมาร มารคือปัญจขันธ์
. กิเลสมาร มารคือกิเลส
. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร
. มัจจุมาร มารคือมรณะ
. เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร
อกุศลกรรมเป็นมารประเภทอภิสังขารมารฯ
. ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเหตุไร ?
. เพราะปัญจขันธ์นั้น บางทีทาความลาบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ
ในพระพุทธศาสนาพูดเรื่องมารไว้มาก อยากทราบว่า คาว่า มาร หมายถึงอะไร ? กิเลสได้ชื่อว่ามารเพราะเหตุไร ?
. หมายถึงสิ่งที่ล้างผลาญทาลายความดี ชักนาให้ทาบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้
ทาความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ เพราะผู้ที่ตกอยู่ในอานาจของกิเลสแล้ว ย่อมจะถูกผูกมัดไว้บ้าง ถูกทาให้
เสียคนบ้าง ฯ


ข้อที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องธุดง
คาว่าวัตรในธุดงควัตร หมายถึงอะไร ? ผู้ถือธุดงค์ข้อเตจีวริกังคะอย่าง
เคร่ง มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. หมายถึงข้อปฏิบัติพิเศษอย่างหนึ่ง ตามแต่ใครจะสมัครถือ บัญญัติขึ้น
ด้วยหมายจะให้เป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้ ใช้เฉพาะไตรจีวรของตนเท่านั้น แม้จะซักหรือจะย้อมอันตรวาสก
ย่อมใช้อุตตราสงค์นุ่ง และใช้สังฆาฏิห่ม ฯ
ธุดงค์ คืออะไร ? ข้อใดของปัจจัย ๔ ไม่มีในธุดงค์ ?
๑๐. คือ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง บัญญัติขึ้นด้วยหมายจะให้เป็นอุบาย ขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
ข้อ ยารักษาโรค ฯ
ธุดงค์ ได้แก่อะไร ? การสมาทานธุดงค์ด้วยการฉันมื้อเดียวเป็นวัตรที่เรียกกันทั่วไปว่าฉันเอกาจัดเข้าในธุดงค์ข้อไหน ?
๑๐. ได้แก่ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ จัดเข้าในข้อ เอกาสนิกังคะ คือ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ฯ
. ธุดงค์ท่านบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? ธุดงค์ที่ภิกษุถือได้มีกาหนดเฉพาะกาล คือข้อใด ? เพราะเหตุใด ฯ
. เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
ข้อ รุกขมูลิกังคะ และ อัพโภกาสิกังคะ ฯ
ธุดงค์ ๒ ข้อนี้ภิกษุถือได้เฉพาะกาลนอกพรรษา เพราะในพรรษาภิกษุต้องถือเสนาสนะเป็นที่อยู่อาศัยประจาตามพระวินัยนิยม ฯ
ธุดงค์ คืออะไร ? มีกี่หมวด ? หมวดไหนว่าด้วยเรื่องอะไร ?
๑๐. คือ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง เปน็ อุบายขัดเกลากิเลส และเปน็ ไปเพื่อความ
มักน้อยสันโดษ ฯ
มี ๔ หมวด ฯ ดังนี้
หมวดที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องจีวร
หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องบิณฑบาต
หมวดที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ
หมวดที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องความเพียร ฯ

ข้อที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องพระอริยบุคคล ๔
พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้บ้าง ?
. ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ฯ
พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ฯ
คาว่า พระโสดาบัน และ สัตตักขัตตุปรมะ มีอธิบายอย่างไร ?
. พระโสดาบัน คือพระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอริยผลขั้นแรก ฯ
สัตตักขัตตุปรมะ คือพระโสดาบันผู้จะเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ฯ
สังโยชน์ คืออะไร ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรขาดบ้าง ?
. คือ กิเลสอันผูกใจสัตว์ไว้ ฯ ละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นได้ขาด คือ
. สักกายทิฏฐิ
. วิจิกิจฉา
. สีลัพพตปรามาส ฯ
. พระโสดาบัน แปลว่าอะไร ? หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ละสังโยชน์อะไรได้ขาดบ้าง ?
. แปลว่าผู้แรกเข้าถึงกระแสพระนิพพาน ฯ ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ขาด ฯ
พระพุทธคุณว่า อรห ใช้เป็นคุณบทของพระสาวกได้ด้วยหรือไม่ ? ถ้าได้ จะมีคาอะไรมาประกอบร่วมด้วย เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นคุณบท ของพระศาสดาหรือของพระสาวก ?
. ได้ ฯ สาหรับพระศาสดา ใช้ว่า อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ แปลว่า พระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบเอง สาหรับพระสาวกใช้ว่า อรห ขีณาสโว แปลว่า พระอรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ฯ

ข้อที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องกรรม
พระพุทธคุณบทหนึ่งว่า เป็นผู้หักกาแห่งสังสารจักร ถามว่า กา ได้แก่อะไร ? สังสารจักร ได้แก่อะไร ?
. กา ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมฯ สังสารจักร ได้แก่ วัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบากฯ
กรรมและทวาร คืออะไร ? อภิชฌาเป็นกรรมใดและเกิดทางทวารใดบ้าง จงอธิบาย ?
.กรรม คือ การกระทา ส่วนทวาร คือ ทางเกิดของกรรม ฯ อภิชฌา ความอยากได้ เป็นมโนกรรมได้อย่างเดียว และเกิดได้ทั้ง ๓ ทวาร เป็นกายทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วลูบคลาพัสดุที่อยากได้นั้น แต่ไม่มีไถยจิต เป็นวจีทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วบ่นว่า ทาอย่างไรดีหนอ จักได้พัสดุนั้น และเป็นมโนทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วราพึงในใจ ฯ
กิเลส กรรม วิบาก เรียกว่าวัฏฏะ เพราะเหตุไร ? จงอธิบาย
. เพราะวน คือหมุนเวียนกันไป ฯ อธิบายว่า กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทากรรม ครั้นทากรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ
กรรมที่บุคคลทาไว้ ทาหน้าที่อย่างไรบ้าง ?
๑๐. ทาหน้าที่ คือ ๑. แต่ง (วิบาก) ให้เกิด เรียกว่า ชนกกรรม ๒. สนับสนุน (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปัตถัมภกกรรม ๓. บีบคั้น (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปปีฬกกรรม ๔. ตัดรอน (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปฆาตกกรรม ฯ

ข้อที่ ๕ ว่าด้วยเรื่องญาณ

 ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขนิโรธสัจมีอธิบายอย่างไร ?
. มี ๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
. กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทา
. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทาแล้ว ฯ
 มีอธิบายว่า
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจ จัดเป็นสัจจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจเป็นสภาพที่ควรทาให้แจ้ง จัดเป็นกิจจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจที่ควรทาให้แจ้ง ๆ แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ


 ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสัจ มีอธิบายอย่างไร ?
. มีอธิบายว่า ๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจ จัดเป็นสัจจญาณ ๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสัจเป็นสภาพที่ควรกาหนดรู้ จัดเป็นกิจจญาณ ๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสัจที่ควรกาหนดรู้ ได้กาหนดรู้แล้ว จัดเป็น กตญาณ ฯ

 ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสมุทยสัจ มีอธิบายอย่างไร ?
. มีอธิบายว่า
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัยเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดจริง จัดเป็นสัจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย ควรละ จัดเป็นกิจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย ละได้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ

ข้อที่ ๖ ว่าด้วยเรื่องอื่นๆ
 . ตจปัญจกกัมมัฏฐานได้แก่อะไรบ้าง ? จัดเป็นสมถะหรือวิปัสสนา ? จงอธิบาย
. ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา และตโจ ฯ เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเพ่ง
กาหนดยังจิตให้สงบด้วยภาวนา เป็นสมถะ ถ้าเพ่งพิจารณาถึงความแปรปรวน
เปลี่ยนแปลงไป หรือให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้อง
เสื่อมสลายไปในที่สุด หรือให้เห็นว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
พิจารณาเช่นนี้เป็นวิปัสสนา ฯ
. มหาภูตรูป คือ อะไร ? มีความเกี่ยวเนื่องกับอุปาทายรูปอย่างไร ?
. คือ รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน อันประกอบด้วย ธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน น้า ไฟ ลม ฯ
เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งรูปย่อยซึ่งเรียกว่าอุปาทายรูป เมื่อรูปใหญ่แตกทาลายไป
อุปาทายรูปที่อิงอาศัยมหาภูตรูปนั้นก็แตกทาลายไปด้วย ฯ
 ไตรวัฏฏะ อันได้แก่ กิเลสวัฏฏะ กัมมวัฏฏะ วิปากวัฏฏะ มีสภาพ เกี่ยวเนื่องวนกันไปอย่างไร ? ตัดให้ขาดได้ด้วยอะไร ?
. อย่างนี้ คือ กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทากรรม ครั้นทากรรมแล้ว ย่อมได้รับ วิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ ได้ด้วยอรหัตตมรรคญาณ ฯ
ข้อที่ ๗ ว่าด้วยเรื่องเสขะ
 . ในอริยบุคคล ๒ พระเสขะผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาเรื่องอะไร ? ผู้ศึกษากาลังสอบธรรมอยู่นี้เรียกว่าพระเสขะได้หรือไม่ ?
. คือศึกษา ในอธิสีล ในอธิจิต และในอธิปัญญา อีกอย่างหนึ่งหมายถึง ต้องศึกษาและต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไปฯ ยังเรียกว่าพระเสขะไม่ได้ ถ้าไม่ใช่พระอริยบุคคล ๗ จาพวกเบื้องต้น ฯ

ข้อที่ ๘ ว่าด้วยเรื่องรูป
. มหาภูตรูปและอุปาทายรูปคืออะไร ?
. มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่ ได้แก่ธาตุ ๔ มี ปฐวี อาโป เตโช วาโย อุปาทายรูป คือรูปอาศัยมหาภูตรูปนั้น ฯ
 . พระพุทธเจ้าทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าพุทธัตถจริยา
คือทรงประพฤติอย่างไร ?
. ทรงทาหน้าที่ของพระพุทธเจ้า คือ ได้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนาให้
บริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตรู้ทั่วถึงธรรมตามภูมิชั้น และทรงบัญญัติสิกขาบท
อันเป็นอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร ฯ
ข้อที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องอื่นๆ
. สวรรค์มีกี่ชั้น ? อะไรบ้าง ?
. มี ๖ ชั้น ฯ ได้แก่
. ชั้นจาตุมหาราชิก                                          ๒. ชั้นดาวดึงส์
. ชั้นยามา                                                          ๔. ชั้นดุสิต
. ชั้นนิมมานรดี                                               ๖. ชั้นปรนิมมิตรสวัดดี ฯ
 ปิฎก ๓ ได้แก่อะไร ? แต่ละปิฎก ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
. ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกฯ
พระวินับปิฎก ว่าด้วยเรื่องฎกระเบียบข้อบังคับที่นาความประพฤติให้สม่าเสมอกัน หรือเป็นเรื่องบริหารคณะ
พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยคาสอนยกบุคคลเป็นที่ตั้ง
พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยคาสอนยกธรรมล้วนๆ ไม่เจือด้วยสัตว์หรือบุคคล เป็นที่ตั้งฯ
 . ภพกับภูมิต่างกันอย่างไร ? มีอย่างละเท่าไร ?
. ภพ หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ต่างชั้นแห่งหมู่สัตว์ มี ๓ ฯ ภูมิ หมายถึงภาวะ อันประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แห่งจิตและเจตสิก มี ๔ ฯ
 เมตตากับปรานีมีความหมายต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร? และอย่างไหน กาจัดวิตกอะไร ?
. เมตตาหมายถึงความรักใคร่หรือความหวังดี ปรานีหมายถึงความปรารถนาให้ ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์เข้าลักษณะแห่งกรุณา ฯ เมตตากาจัดพยาบาทวิตก ปรานีกาจัดวิหิงสาวิตก ฯ
กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา ได้ชื่อว่า โอฆะ โยคะ และอาสวะเพราะเหตุไร
ได้ชื่อว่าโอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้าอันท่วมใจสัตว์ ได้ชื่อว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมกอยู่ในสันดาน


ติวเพิ่ม ๑
เก็งข้อสอบในศาสนพิธี นักธรรมชั้นโท
ตอนที่ ๑ สาหรับสอบธรรมสนามหลวง (แบบตอบทวนคาถาม)
. วันเทโวโรหณะ คือวันอะไร ? เนื่องด้วยวันนั้น มีบุญพิธีอะไรที่ทากันมาจนถึงบัดนี้ ?
ตอบ วันเทโวโรหณะ คือ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก หลังจากที่เสด็จขึ้นไปจาพรรษาในดาวดึงสพิภพถ้วนไตรมาส โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ เนื่องด้วยวันนั้นมีการทาบุญตักบาตรแด่พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น จนเป็นประเพณีทาบุญตักบาตรที่เรียกว่าตักบาตรเทโวโรหณะ มาจนถึงปัจจุบันนี้.
. บังสุกุลเป็น คืออะไร ? คาถาที่ใช้บังสุกุลเป็น ว่าอย่างไร ?
ตอบ บังสุกุลเป็น คือบุญกิริยาที่เจ้าภาพประสงค์จะบริจาควัตถุเนื่องด้วยกายของตน โดยเฉพาะผ้าอุทิศสงฆ์ให้เป็นผ้าบังสุกุล ปกตินิยมทาเมื่อป่วยหนัก เป็นการกาหนดมรณานุสสติวิธีหนึ่ง
คาถาที่ใช้บังสุกุลว่า อจิร วตย กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ, ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถ ว กลิงฺคร .
. คาว่า เจริญพระพุทธมนต์กับสวดพระพุทธมนต์ใช้ต่างกันอย่างไร ? การทาบุญฉลองอัฐิจัดเข้าในอย่างไหนใน ๒ อย่างข้างต้น ?
ตอบ เจริญพระพุทธมนต์ใช้ในงานมงคล และสวดพระพุทธมนต์ใช้ในงานอวมงคล
การทาบุญฉลองอัฏฐิจัดเข้าในการเจริญพระพุทธมนต์ แต่ไม่ต้องตั้งขั้นน้ามนต์และสายสิญจน์.
. งานทาบุญต่อนามหรือต่ออายุ คืองานทาบุญเช่นไร ?
ตอบ งานทาบุญต่อนามหรือต่ออายุ คืองานทาบุญที่คณะญาติของผู้กาลังป่วยหนักจัดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยหายป่วย และให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสบาเพ็ญกุศลในบั้นปลายชีวิตของตน หรือเป็นความประสงค์ของผู้จะทาบุญต่ออายุตนเองเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
. สามัญอนุโมทนา กับ วิเสสอนุโมทนา ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ ต่างกันอย่างนี้ สามัญอนุโมทนาคืออนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันทั่วไปเป็นปกติ ไม่ว่างานใดก็ใช้อนุโมทนาอย่างนั้น ส่วนวิเสสอนุโมทนาด้วยบทสวดมนต์สาหรับอนุโมทนาเป็นพิเศษ เฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง.
. เทศน์มหาชาติ คือการเทศน์เรื่องอะไร ? มีกี่กัณฑ์ ? จบเทศน์มหาชาติแล้ว นิยมเทศน์ต่อด้วยเรื่องอะไร ?
ตอบ เทศน์มหาชาติ คือการเทศน์เรื่องเวสสันดรชาดก มี ๑๓ กัณฑ์ เรื่อง จตุราริยสัจจกถา
๗.ศาสนพิธีเล่ม ๒ แสดงอุโบสถกรรมไว้กี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? แตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบ ศาสนพิธีเล่ม ๒ แสดงอุโบสถกรรมไว้ ๓ ประเภท คือ สังฆอุโบสถ ปาริสุทธิอุโบสถ อธิษฐานอุโบสถ มีความแตกต่างกันดังนี้.
. สังฆอุโบสถ คืออุโบสถกรรมที่พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปประชุมสวดพระปาฏิโมกข์
. ปาริสุทธิอุโบสถ คืออุโบสถกรรมที่พระภิกษุน้อยกว่า ๔ รูป มีเพียง ๓ รูป หรือ ๒ รูป ร่วมกันทาเป็นการคณะ ให้แต่ละรูปบอกความบริสุทธิ์ของตน
. อธิษฐานอุโบสถ คืออุโบสถกรรมที่พระภิกษุรูปเดียวทาเป็นการบุคคลด้วยการอธิษฐานความบริสุทธิ์ใจของตนเอง.
. ศาสนพิธี คืออะไร ? การศึกษาศาสนพิธีให้เข้าใจ มีประโยชน์อย่างไร ?
ตอบ ศาสนพิธีคือ พิธีทางศาสนา การศึกษาศาสนพิธีให้เข้าใจมีประโยชน์ คือ
ทาให้เข้าใจเรื่องของศาสนพิธีได้โดยถูกต้อง
. ให้เห็นเป็นเรื่องสาคัญไม่ไร้สาระ
. ทาให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยนจากขนบธรรมเนียมประเพณี
. การทาวัตร คืออะไร ? ทาวัตรสวดมนต์ เพื่อความมุ่งหมายใด ?
ตอบ การทาวัตร คือ การทากิจวัตรของภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา เป็นการทากิจที่ต้องทาประจาจนเป็นวัตร-ปฏิบัติ เรียกสั้นๆ ว่า ทาวัตร
ความมุ่งหมายของการทาวัตรสวดมนต์นี้ บัณฑิตถือว่าเป็นอุบายสงบจิต ไม่ให้คิดวุ่นวายตามอารมณ์ได้ชั่วขณะที่ทา เมื่อทาประจาวันละ ๒ เวลา ทั้งเช้าเย็นครั้งละครึ่งชั่วโมง หรือ ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ก็เท่ากับได้ใช้เวลาสงบจิตได้วันละไม่ต่ากว่า ๑ ใน ๒๔ ชั่วโมง.
๑๐. ในวันอุโบสถ พระธรรมกถึกให้ศีล ๘ เป็นอุโบสถศีล แต่มีผู้ศรัทธาจะรักษาเพียงศีล ๕ เท่านั้น พึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ พึงปฏิบัติอย่างนี้ สมาทานเพียง ข้อ ในระหว่างข้อที่ ซึ่งพระธรรมกถึกให้ด้วยบทว่า อพฺรหฺมจริยา ... พึงรับสมาทานว่า กาเมสุมิจฺฉาจารา... และรับต่อไปจนครบ ข้อเมื่อครบแล้วก็กราบ ครั้ง ลดลงนั่งราบไม่ต้องรับต่อไป.
 ตอนที่ สาหรับสอบธรรมสนามหลวง (แบบตอบทวนคาถาม)
๑. ศาสนพิธี คืออะไร ? การศึกษาศาสนพิธีให้เข้าใจ มีประโยชน์อย่างไร ?
ตอบ ศาสนพิธี คือ พิธีทางศาสนา
การศึกษาศาสนพิธีให้เข้าใจ มีประโยชน์ คือ
๑. ทาให้เข้าใจเรื่องของศาสนพิธีได้โดยถูกต้อง
๒. ให้เห็นเป็นเรื่องสาคัญไม่ไร้สาระ
๓. ทาให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยนจากขนบธรรมเนียมประเพณี
๒. การทาวัตร และ การสวดมนต์ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ การทาวัตร และ การสวดมนต์ ต่างกันอย่างนี้ คือ
การทาวัตร คือการทากิจวัตรที่ต้องทาประจา วันละ ๒ เวลา คือ เช้า-เย็น จนเป็นวัตรปฏิบัติ มีการสวดบูชาพระรัตนตรัย และสวดพิจารณาปัจจัยที่บริโภคเป็นต้น
การสวดมนต์ คือ การสวดพระพุทธมนต์ต่างๆ นอกเหนือจากบทสวดทาวัตร ที่เป็นส่วนพระสูตรก็มี ที่เป็นส่วนพระปริตรก็มี ที่เป็นส่วนเฉพาะคาถาอันนิยมกาหนดให้นามาสวดประกอบในการสวดมนต์ก็มี.
๓. กุศลพิธี และบุญพิธี คือพิธีเช่นไร ?
ตอบ กุศลพิธี และ บุญพิธี คือพิธีดังต่อไปนี้
กุศลพิธี คือพิธีกรรมต่างๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนาเฉพาะตัวบุคล เช่น พิธีรักษาอุโบสถศีล เป็นต้น บุญพิธี คือพิธีการบุญงานมงคลและงานอวมงคล.
๔. วันเทโวโรหณะ คือ วันอะไร ? มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันอะไร ?
ตอบ วันเทโวโรหณะ คือวันที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จลงจากเทวโลก
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก
๕. ผ้าป่า และ ผ้าอัจเจกจีวร ได้แก่ผ้าเช่นไร ? การทอดผ้าป่ากาหนดกาลเวลาทอดไว้หรือไม่
ตอบ ผ้าป่า และผ้าอัจเจกจีวร ได้แก่ผ้าเช่นนี้
ผ้าป่า หมายถึงผ้าเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ทิ้งอยู่ตามป่าดงบ้าง ตามป่าช้าบ้าง ตามถนนหนทางและห้อยย้อยอยู่ตามกิ่งไม้บ้าง
ผ้าอัจเจกจีวร หมายถึงผ้าจานาพรรษาที่ทายกรีบด่วนถวายก่อนกาหนดกาล คือถวายก่อนออกพรรษาเป็นต้นฯ ส่วนการทอดผ้าป่านั้น ไม่มีกาหนดกาลเวลา มีศรัทธาเมื่อไร่ก็ถวายได้.
. มูลเหตุการณ์ถวายผ้าวัสสิกสาฎกนั้น มีมูลเหตุมาจากอะไร ? ใครเป็นผู้ถวายคนแรก ?
ตอบ มูลเหตุการณ์ถวายผ้าวัสสิกสาฎกนั้น ดังนี้
การถวายผ้าวัสสิกสาฎก มีมูลมาจากเดิมยังไม่มีพุทธานุญาตให้ภิกษุมีผ้าวัสสิกสาฎก ภิกษุทั้งหลายจึงเปลือกกายอาบน้า นางวิสาขามหาอุบาสิกา ทราบเรื่องนั้นแล้ว เห็นว่าไม่สมควรแก่เพศสมณะ จึงทูลขอพระพุทธานุญาตเพื่อถวายผ้าอาบน้าฝนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ถวายคนแรก ก็คือนางวิสาขามหาอุบาสิกา
. วิหารทานคาถา ซึ่งเป็นบทอนุโมทนาพิเศษ เริ่มต้นด้วย สีต อุณฺห ปฏิหนฺติ ฯลฯ นิยม
ใช้สวดเมื่อใด ?
ตอบ นิยมใช้สวดเมื่อทายกถวายเสนาสนะมี โบสถ์ วิหาร กุฏี เป็นต้น
. บท อทาสิ เม อกาสิ เม.... และบท อยญฺจ โข ทกฺขิณา ทินฺนา... ใช้ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ ต่างกันอย่างนี้คือ
อทาสิ เม อกาสิ เม ... ใช้ในกรณีที่ศพยังอยู่
อยญฺจ โข ทกฺขิณา ทินฺนา ... ใช้ในกรณีทาบุญอัฐิ
. ในงานมงคลที่ทากันอย่างสามัญทั่วไป นิยมเจริญพระพุทธมนต์ด้วย บทสวดมนต์ที่รวมเรียกสั้นๆ ว่าอะไร ? และต้องมีบทอื่นมาประกอบอีก เรียกว่าอะไร ?
ตอบ เรียกว่า เจ็ดตานานฯ
และต้องมีบทอื่นมาประกอบอีกเรียกว่า ต้นสวดมนต์หรือต้นตานาน และท้ายสวดมนต์.
๑๐. จงให้ความหมายของคาต่อไปนี้
. ปาฏิปุคคลิกทาน ข. เภสัชทาน ค. สลากภัตต์ ง. ผ้าวัสสิกสาฎก จ. ผ้าอัจเจกจีวร
ตอบ มีความหมายดังต่อไปนี้
. ปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้
. เถสัชทาน คือการถวายเภสัช ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น นาผึ้ง น้าอ้อย
. สลากภัตต์ คือภัตตาหารที่ทายกทายิกาถวายตามสลาก
. ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าที่อธิษฐานสาหรับใช้นุ่งในเวลาอาบน้า หรืออาบน้าทั่วไป
. ผ้าอัจเจกจีวร คือผ้าจานาพรรษาที่ทายกรีบด่วนถวายก่อนกาหนด.

ติวเพิ่ม ๑

 เก็งข้อสอบวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นโท
ตอนที่ ๑ สาหรับสอบธรรมสนามหลวง (แบบตอบทวนคาถาม)
. ภิกษุผู้ประพฤติพระวินัยส่วนอภิสมาจารให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม จะต้องปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม ต้องปฏิบัติโดยสายกลาง คือไม่ถือเคร่งครัดอย่างงมงาย จนเป็นเหตุทาตนให้ลาบากเพราะเหตุธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ อันขัดต่อกาลเทศะ และไม่สะเพร่ามักง่าย ละเลยต่อธรรมเนียมของภิกษุจนถึงทาตนให้เป็นคนเลวทราม.
. อาทิพรมจริยาสิกขา และ อภิสมาจาริกาสิกขา ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ ต่างกันอย่างนี้คือ
อาทิพรหมจริยาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ อันได้แก่พระพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งไว้ให้เป็นพุทธอาณา เป็นสิกขาบทอันมาในพระปาติโมกข์ เป็นข้อบังคับโดยตรงที่ภิกษุจะต้องระพฤติปฏิบัติโดยเคร่งครัด ส่วน
อภิสมาจาริกาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเนื่องด้วย อภิสมาจาร คือมารยาทอันดี ที่ทรงบัญญัติหรืออนุญาตไว้ อันมานอกพระปาติโมกข์ เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามของหมู่คณะที่ควรประพฤติ.
. วินัยกรรม กับ สังฆกรรม มีความหมายต่างกันอย่างไร ? การทาวินัยกรรมนั้น มีจากัดบุคคลและสถานที่บ้างหรือไม่อย่างไร ?
ตอบ ต่างกันอย่างนี้ วินัยกรรม กรรมที่ภิกษุแต่ละรูปหรือหลายรูปจะพึงทาตามพระวินัย เช่น พินทุ อธิษฐาน วิกัปจีวร เป็นต้น ส่วนกรรมที่ภิกษุครบองค์เป็นสงฆ์ มีจานวนอย่างต่าตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปจะพึงทา เช่น อปโลกนกรรม เป็นต้น
จากัดบุคคลและสถานที่ไว้ดังนี้
. แสดงอาบัติ ต้องแสดงแก่ผู้เป็นภิกษุด้วยกัน
. อธิษฐาน ต้องทาเอง
. วิกัป ต้องวิกัปแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร สามเณรี รูปใดรูปหนึ่ง
. ห้ามไม่ให้ทาในที่มืด แต่ทาในสีมาหรือนอกสีมาใช้ได้ทั้งนั้น.
. เปลือยกายอย่างไรต้องอาบัติถุลลัยจัย ? อย่างไรต้องอาบัติทุกกฎ ?
ตอบ เปลือยกายเป็นวัตรเอาอย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัยจัย
เปลือยกายทากิจแก่กัน เช่นไหว้ รับไหว้ ทาบริกรรม ให้ของ รับของ และ
เปลือยกายในเวลาฉัน ในเวลาดื่ม ต้องอาบัติทุกกฎ
. การประณาม ในพระวินัยหมายความว่าอย่างไร ? มีพระพุทธานุญาตให้อุปัชฌาย์ทาการประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติอย่างไร ?
ตอบ การประณาม หมายความว่า การไล่สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกผู้ประพฤติมิชอบ และมีพระพุทธานุญาตให้ประณามผู้ประพฤติดังนี้
๑.หาความรักใคร่ในอุปัชฌาย์มิได้
. หาความเลื่อมใสมิได้
. หาความเคารพมิได้
. หาความหวังดีต่อมิได้
. ผ้าสาหรับทาจีวรนุ่งห่มนั้นทรงอนุญาตไว้กี่ชนิด ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ผ้าสาหรับทาจีวรนุ่งห่มนั้นทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด คือ
. โขมะ ผ้าทาด้วยเปลือกไม้
. กัปปาสิกะ ผ้าทาด้วยฝ้าย
. โกเสยยะ ผ้าทาด้วยใยไหม
. กัมพละ ผ้าทาด้วยขนสัตว์ ยกเว้นผมและขนมนุษย์
. สาณะ ผ้าทาด้วยเปลือกป่าน
. ภังคะ ผ้าที่ทาด้วยของ ๕ อย่างนั้น แต่ละอย่างใดอย่างหนึ่งปนกัน
. สภาคาบัติ คืออาบัติเช่นไร ? ภิกษุต้องสภาคาบัติ จะพึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ สภาคาบัติ คือ อาบัติที่ภิกษุต้องอาบัติเดียวกัน เพราะล่วงละเมิดสิกขาบทเดียวกัน
เมื่อภิกษุต้องสภาคาบัติ ห้ามไม่ให้แสดงอาบัตินั้นต่อกัน ห้ามไม่ให้รับอาบัติของกัน ให้แสดงในสานักของภิกษุอื่น ถ้าสงฆ์ต้องสภาคาบัติทั้งหมด ต้องส่งภิกษุรูปหนึ่งไปแสดงในที่อื่น ภิกษุที่เหลือจึงแสดงในสานักของภิกษุนั้น.
. กาลิก คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? กาลิกระคนกันมีกาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
ตอบ กาลิก คือ ของที่พึงกลืนให้ล่วงลาคอลงไป มี ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุสั้นที่สุดเป็นเกณฑ์ เช่น เอายาผงที่เป็นยาวชีวิกซึ่งไม่จากัดอายุคลุกกับน้าผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิกซึ่งมีกาหนดอายุไว้ ๗ วัน ดังนี้ ต้องถืออายุ ๗ วันเป็นเกณฑ์
. ผ้าบริขารโจล ได้แก่ผ้าเช่นไร ? การอธิษฐานด้วยกายกับการอธิษฐานด้วยวาจาต่างกันอย่างไร ?
ตอบ ผ้าบริขารโจล ได้แก่ ผ้าที่มิใช่ของใหญ่ถึงกับนุ่งห่มได้ เช่น ผ้ากรอกน้า ถุงบาตร ย่าม
การอธิษฐานด้วยกาย คือ การใช้มือจับหรือลูบบริขารที่จะอธิษฐานแล้วทาความผูกใจตามอธิฐานนั้นๆ ส่วนการอธิษฐานด้วยวาจา คือการเปล่งคาอธิษฐานนั้นๆ ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้.
๑๐. คาว่า อันโตวุฏฐะ อันโตปักะ สามปักกะ หมายถึงอะไร ?
ตอบ อันโตวุฏฐะ หมายถึง ยาวกาลิกที่ภิกษุเก็บไว้ในที่อยู่ของตน
อันโตปักกะ หมายถึง ยาวกาลิกที่ภิกษุหุงต้มภายใน (ที่อยู่ของตน)
สามปักกะ หมายถึง ยาวกาลิกที่ภิกษุทาให้สุกเอง.

ติวเพิ่ม ๒

ตอนที่ ๒ สาหรับสอบธรรมสนามหลวง (แบบตอบทวนคาถาม)
๑. สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่าอะไร ? ทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ?
ตอบ สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่า อภิสมาจาร ทรงบัญญัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของภิกษุ และเพื่อความงามของพระศาสนา เช่นเดียวกับตระกูลใหญ่ จาต้องมีขนบธรรมเนียมและระเบียบไว้รักษาเกียรติและความเป็นผู้ดีของตระกูล
๒. ในบาลีแสดงเหตุนิสัยจะระงับจากอุปัชฌาย์ไว้เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ในบาลีแสดงเหตุนิสัยจะระงับจากอุปัชฌาย์ไว้ ๕ ประการคือ
๑. อุปัชฌายืหลีกไปเสีย
๒. สึกเสีย
๓. ตายเสีย
๔. ไปเข้ารีตเดียรถีย์
๕. สั่งบังคับ
๓. ตามนัยแห่งอรรถกถา อาจารย์มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? คาขอนิสัยอาจารย์ว่าอย่างไร ?
ตอบ ตามนัยแห่งอรรถกถาอาจารย์ ๔ ประเภท คือ
๑. ปัพพัชชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา                           ๒. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท
๓. นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย                                ๔. อุทเทสาจารย์ อาจารย์ผู้บอกธรรม
คาขอนิสัยอาจารย์ว่า อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ
๔. ภิกษุผู้ได้ชื่อว่า วตฺตสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร วัตรคืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ วัตรคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ มี ๓ คือ
๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทา
๒. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
๓. วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง
. บุพพกรณ์และบุพพกิจในการทาอุโบสถต่างกันอย่างไร ?
ตอบ บุพพกรณ์ คือ กรณียะอันจะพึงกระทาให้เสร็จก่อนประชุมสงฆ์
ส่วนบุพพกิจเป็นธุระอันจะพึงทาก่อนการสวดปาติโมกข์
. ในวัดหนึ่ง ถ้ามีภิกษุจาพรรษา ๔ รูป ๒ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถพึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ เมื่อถึงวันอุโบสถต้องปฏิบัติอย่างนี้
๔ รูปพึงประชุมกันในโรงอุโบสถสวดปาฏิโมกข์
๓ รูปพึงประชุมกันทาปาริสุทธิอุโบสถ ดังนี้ ประชุมกันในโรงอุโบสถแล้วรูปหนึ่งสวดประกาศญัตติ จบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธิ์ของตน
๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน
๑ รูป พึงอธิษฐาน
. อุปปถกิริยา คืออะไร ? ความประพฤติเช่นไรจัดเข้าใน อนาจาร ปาปสมาจาร อเนสนา ?
ตอบ อุปปถกิริยา คือการทานอกรีตนอกรอยของสมณะ
ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่างๆ จัดเข้าในอนาจาร
ความประพฤติเลวทราม จัดเข้าในปาปสมาจาร
ความเลี้ยงชีพไม่สมควรจัดเข้าในอเนสนา
. ภิกษุอยู่จาพรรษาไม่ขาดย่อมได้อานิสงส์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ภิกษุอยู่จาพรรษาย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
. เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค
. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องนาไตรจีวรไปครบสารับ
. ฉันคณโภชน์ และปรัมปรโภชน์ได้
. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
. จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น จักเป็นของได้แก่พวกเธอ
. ลหุภัณฑ์ และครุภัณฑ์ที่เป็นของสงฆ์ คือของเช่นไร ? อย่างไหนแจกกันได้ และไม่ได้ ?
ตอบ ลหุภัณฑ์ คือของเบา มีบิณฑบาต เภสัช กับบริขารที่จะใช้สาหรับตัว คือ บาตร จีวร ประคดเอว เข็ม มีดพับ มีดโกณ เป็นของที่แจกกันได้ ส่วน ครุภัณฑ์ คือของหนัก ไม่ใช่ของสาหรับใช้สิ้นไป เป็นของควรรักษาไว้ได้นาน เป็นเครื่องใช้ในเสนาสนะ หรือเป็นตัวเสนาสนะเอง ตลอดถึงกุฎีและที่ดิน เป็นของที่แจกกันไม่ได้
๑๐. ภิกษุจะฉันสิ่งใดๆ ต้องรับประเคนก่อน มีกรณียกเว้นเป็นพิเศษอะไรบ้าง ที่ไม่ต้องรับประเคนก่อนก็ฉันได้ ?
ตอบ มีกรณียกเว้นเป็นพิเศษเฉพาะภิกษุอาพาธถูกงูกัด ให้ฉันยามหาวัฏ ๔ คือ มูตร คูถ เถ้า และดินได้

2 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาดีเข้าใจง่ายปรับปรุงตัวบาลีอีกเล็กน้อยถือว่าสมบูรณื

    ตอบลบ
  2. อนุโมทนา ได้สร้างสรรผลงานฝากไว้บนเนท เพื่อให้เพื่อน ๆ สหธรรมิกได้ใช้ประโยชน์ สะดวก ง่าย ประหยัดงบประมาณด้านเอกสาร และทำให้ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็ว

    ตอบลบ