วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิภาค นักธรรมชั้นโท www.ธรรมศึกษา.com

เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิภาค นักธรรมชั้นโทตอนที่ ๑ สาหรับสอบธรรมสนามหลวง (แบบตอบทวนคาถาม)

๑. ในอริยบุคคล ๒ พระเสขะผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาเรื่องอะไร ? ผู้ศึกษากาลังสอบธรรมอยู่นี้เรียกว่าพระเสขะได้หรือไม่ ?
ตอบ พระเสขะผู้ยังต้องศึกษา คือ ศึกษาในอธิสีล ในอธิจิต และในอธิปัญญา อีกอย่างหนึ่งหมายถึงต้องศึกษาและต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไป และ ผู้กาลังสอบธรรมอยู่นี้ยังเรียกว่าพระเสขะไม่ได้ ถ้าไม่ใช่พระอริยบุคคล ๗ จาพวกเบื้องต้น.

๒. มหาภูตรูปและอุปาทายรูปคืออะไร ?
ตอบ มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่ ได้แก่ ธาตุ๔ มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ และ อุปาทายรูป คือรูปอาศัยมหาภูตรูปนั้น

๓. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ณาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขนิโรธสัจมีอธิบายอย่างไร ?
ตอบ ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มี
๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
๒. กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทา
๓. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทาแล้ว
มีอธิบายอย่างนี้คือ
๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจ จัดเป็นสัจจญาณ
๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจเป็นสภาพที่ควรทาให้แจ้ง จัดเป็นกิจญาณ
๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจที่ควรทาให้แจ้งๆ แล้ว จัดเป็นกตญาณ

๔. อาสวขยญาณ รู้จักทาอาสวะให้สิ้น มีอธิบายอย่างไรบ้าง ?
ตอบ อสวักขยญาณ รู้จักทาอาสวะให้สิ้น มีอธิบายอย่างนี้ คือ รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

๕. กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา ได้ชื่อว่า โอฆะ โยคะ และอาสวะ เพราะเหตุไร ?
ตอบ ได้ชื่อว่า โอฆะะ เพราะเป็นดุจกระแสน้าอันท่วมใจสัตว์
ได้ชื่อว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ
ได้ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน

๖. จริต ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? คนมีจริตมักนึกพล่านจะพึงแก้ด้วยกัมมัฏฐานอะไร ?
ตอบ จริต ๖ มี ๑. ราคจริต ๒. โทสะจรติ ๓. โมหจริต ๔. วิตักกจริต ๕. สัทธาจริต ๖. พุทธิจริต
คนมีจริตมักนึกพล่านจะพึงแก้ด้วยวิธีเพ่งกสิน หรือเจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน

๗. พระพุทธคุณ ๙ บท คืออะไรบ้าง ? บทไหนจัดเป็นอัตตหิตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ ?
ตอบ พระพุทธคุณ ๙ บท คือ อรห , สมฺมาสมฺพุทฺโธ, วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน, สุคโต, โลกวิทู, อนุตฺตโรปุริสทมฺมสารถิ, สตฺถา เทวมนุสฺสาน , พุทฺโธ, ภควา.
๕ บทเบื้องต้นเป็นอัตตหิตสมบัติ และ ๔ บทเบื้องปลายเป็นปรหิตปฏิบัติ.

๘. คาว่า พระสงฆ์ ในบทสัฆคุณนั้น ท่านประสงค์บุคคลเช่นไร ? จงจาแนกมาดู
ตอบ ท่านประสงค์พระอริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จาพวก ซึ่งล้วนแต่ท่านที่ตั้งอยู่ในมรรคผลทั้งสิ้น คือ
พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล คู่ ๑
พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล คู่ ๑
พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล คู่ ๑
พระอรหัตมรรค พระอรหัตผล คู่ ๑

๙. สังโยชน์ คืออะไร ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้ขาดบ้าง ?
ตอบ สังโยชน์ คือ กิเลสอันผูกใจสัตว์ไว้ และพระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ อย่างเบื้องต้นได้ขาด คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส

๑๐. ธุดงค์ ได้แก่อะไร ? การสมาทานธุดงค์ด้วยการฉันมื้อเดียวเป็นวัตร ที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฉันเอกา” จัดเข้าในธุดงค์ข้อไหน ?
ตอบ ธุดงค์ ได้แก่ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นอุบายขัดเกลากิเลสและเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ส่วนการฉันมือเดียวจัดเข้าใน เอกาสนิกังคะ คือถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร.
www.ธรรมศึกษา.com

เก็งข้อสอบวิชาธรรมวิภาค นักธรรมชั้นโทตอนที่ ๒ สาหรับสอบธรรมสนามหลวง (แบบตอบทวนคาถาม)

๑. พระเสขะ ผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาอะไร ? ชื่อว่าพระอเสขะ เพราะอะไร ?
ตอบ พระเสขะผู้ยังต้องศึกษาสิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา และที่ชื่อพระอเสขะเพราะเสร็จกิจอันจะต้องทาแล้ว.

๒. ความเห็นว่าเที่ยงและเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นอย่างไร ? มติในทางพระพุทธศาสนาเป็นเช่นไร จงอธิบาย ?
ตอบ ความเห็นว่าเที่ยง คือเห็นว่าคนและสัตว์ตายแล้ว ชีวะไม่สูญ ต้องเกิดอีกต่อไป หรือเคยเป็นอะไร ก็เป็นอย่างนั้นตลอดไปหรือมีสภาพอย่างนั้นไม่แปรผัน เป็นต้น
ส่วนเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นว่า อัตภาพจุติแล้วเป็นอันสูญสิ้นไป หรือคนสัตว์ตายแล้วขาดสูญไปโดยประการทั้งปวง มติทางพระพุทธศาสนาปฏิเสธความเห็นทั้ง ๒ นั้น มีความเห็นประกอบด้วยสัมมาญาณ อิงเหตุผล ยึดเหตุผลเป็นที่ตั้งโดยเห็นว่า คนและสัตว์ตายแล้วจะเกิดอีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย.

๓. ปาพจน์ ๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? ถ้าแจกเป็น ๓ จะได้อะไรบ้าง ?
ตอบ ปาพจน์ได้แก่ พระธรรม และ พระวินัย และถ้าแจกเป็น ๓ จะได้ พระวินัย ๑ พระสูตร ๑ พระอภิธรรม ๑
๔. พระพุทธเจ้าทรงอุปมากิเลสเหล่าไหนว่ามีลักษณะเหมือนกับไฟ ? ที่ทรงอุปมาเช่นนั้น เพราะเหตุไร ?
ตอบ พระพุทธเจ้าทรงอุปมากิเลสเหล่านี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ว่ามีลักษณะเหมือนไฟ
เพราะเมื่อกิเลสทั้ง ๓ กองนี้ กองใดกองหนึ่งเกิดขึ้นภายในใจของบุคคล จะแผดเผาก่อให้เกิดความเร่าร้อนขึ้นภายในใจ

๕. กรรมและทวาร คืออะไร ? อภิชฌาเป็นกรรมใดและเกิดทางทวารใดบ้าง จงอธิบาย ?
ตอบ กรรม คือ การกระทา ส่วนทวาร คือ ทางเกิดของกรรม
อภิชฌา คือความอยากได้ เป็นมโนกรรมได้อย่างเดียว และเกิดได้ทั้ง ๓ ทวาร เป็นกายทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วลูบคลาพัสดุที่อยากได้นั้น แต่ไม่มีไถยจิต เป็นวจีทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วบ่นว่า ทาอย่างไรดีหนอ จักได้พัสดุนั้น และเป็นมโนทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วราพึงในใจ.

๖. วิโมกข์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ วิโมกข์ คือ ความพ้นจากกิเลส มี ๓ อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์

๗. พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้บ้าง ?
ตอบ พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

๘. โยนิ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? เทวดาและสัตว์นรก จัดอยู่ในโยนิไหน ?
ตอบ โยนิ คือ กาเนิด มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์
๒. อัณฑชะ เกิดในไข่
๓. สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล
๔. โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น
เทวดาและสัตว์นรกจัดอยู่ใน โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้นเอง

๙. เวทนา ๓ และเวทนา ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? จัดกลุ่มเทียบกันได้อย่างไร ?
ตอบ เวทนา ๓ ได้แก่ สุข ทุกข์ เฉย ๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ส่วนเวทนา ๕ ได้แก่ สุข โสมนัส ทุกข์ โทมนัส อุเบกขา และจัดกลุ่มเทียบได้ดังนี้
ในเวทนา ๓ สุข คือ สุขกายและสุขใจ ซึ่งในเวทนา ๕ สุขกายก็คือสุข และสุขใจก็คือโสมนัส
ในเวทนา ๓ ทุกข์ คือ ทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งในเวทนา ๕ ทุกข์กายก็คือทุกข์ และทุกข์ใจก็คือโทมนัส
ส่วนในเวทนา ๓ เฉยๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ในเวทนา ๕ ก็คืออุเบกขานั่นเอง.

๑๐. ในกรรม ๑๒ อุปัตถัมภกกรรม กับ อุปปีฬกกรรม ทาหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ อุปัตถัมภกกรรม ทาหน้าที่สนับสนุนผลแห่งชนกกรรม
ส่วนอุปปีฬกกรรม ทาหน้าที่บีบคั้นผลแห่งชนกกรรม

14 ความคิดเห็น:

  1. เข้าใจง่ายดี/สาธุ

    ตอบลบ
  2. ถ้ามันออกตามนี้ก็ดีดิ

    ตอบลบ
  3. ดูเป็นรอบที่3 ถ้าตรงบ้างขออนุโมทนาบุญให้ด้วย/สาธุ

    ตอบลบ
  4. ขอให้ออกแต่ขอน้อยๆเถอะ

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  6. อ่านแล้วเข้าใจดีขึ้นครับ

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. อ่านแล้วเข้าใจดีคับ

    ตอบลบ
  9. แสดงความคิดเห็นในฐานะ:






















































































































    ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ

































    ใใ
    ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ



    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พระมหา​ปูชนียา​จารย์.พระ​มหา​ณรง​ค์ชัย​ เปลี่ยน​น้อย.ถนน.เบิร์ด.วชิร​ชโย.ทร.ทหาร​ผ่านศึก​เฟซบุ๊ก​ไทย​เกิด​วัน​พุธ​ที่​3กุมภาพันธ์.พ.ศ.2531.พระ​พุทธศาสนา​

      ลบ