วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

เก็งและสรุปข้อสอบนักธรรมโท วิชาธรรม โดยพระธี

สรุปนักธรรมโท วิชาธรรม
ว่าด้วยเรื่องมาร
๑.มัจจุมารได้แก่อะไร ? ได้ชื่อว่าเป็นมารเพราะเหตุไร ?
 ได้แก่ความตาย ฯ ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเมื่อความตายเกิดขึ้น บุคคลย่อมหมด โอกาสที่จะทาประโยชน์ใดๆ อีกต่อไป ฯ
๒.มาร คืออะไร ? เฉพาะอภิสังขารมาร หมายถึงอะไร ?
 คือ สิ่งที่ล้างผลาญทาลายความดี ชักนาให้ทาบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้ทา ความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง
หมายถึง อกุศลกรรม ฯ
๓.มาร มีอะไรบ้าง ? อกุศลกรรมจัดเป็นมารประเภทใด ?
มีดังนี้ ๑. ขันธมาร มารคือปัญจขันธ์
. กิเลสมาร มารคือกิเลส
. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร
. มัจจุมาร มารคือมรณะ
. เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร
อกุศลกรรมเป็นมารประเภทอภิสังขารมารฯ
๔.ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเหตุไร ?
เพราะปัญจขันธ์นั้น บางทีทาความลาบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ
๕.ในพระพุทธศาสนาพูดเรื่องมารไว้มากอยากทราบว่า คาว่า มาร หมายถึงอะไร ? กิเลสได้ชื่อว่ามารเพราะเหตุไร
หมายถึงสิ่งที่ล้างผลาญทาลายความดี ชักนาให้ทาบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้ ทาความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ เพราะผู้ที่ตกอยู่ในอานาจของกิเลสแล้ว ย่อมจะถูกผูกมัดไว้บ้าง ถูกทาให้ เสียคนบ้าง ฯ
ว่าด้วยเรื่องธุดง
๑.คาว่าวัตรในธุดงควัตร หมายถึงอะไร ? ผู้ถือธุดงค์ข้อเตจีวริกังคะอย่าง เคร่ง มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
หมายถึงข้อปฏิบัติพิเศษอย่างหนึ่ง ตามแต่ใครจะสมัครถือ บัญญัติขึ้น ด้วยหมายจะให้เป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้ ใช้เฉพาะไตรจีวรของตนเท่านั้น แม้จะซักหรือจะย้อมอันตรวาสก ย่อมใช้อุตตราสงค์นุ่ง และใช้สังฆาฏิห่ม ฯ
๒.ธุดงค์ คืออะไร ? ข้อใดของปัจจัย ๔ ไม่มีในธุดงค์ ?
คือ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง บัญญัติขึ้นด้วยหมายจะให้เป็นอุบาย ขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
ข้อ ยารักษาโรค ฯ
๓.ธุดงค์ ได้แก่อะไร ? การสมาทานธุดงค์ด้วยการฉันมื้อเดียวเป็นวัตรที่เรียกกันทั่วไปว่าฉันเอกาจัดเข้าในธุดงค์ข้อไหน ?
ได้แก่ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง เป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ จัดเข้าในข้อ เอกาสนิกังคะ คือ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ฯ
๔.ธุดงค์ท่านบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? ธุดงค์ที่ภิกษุถือได้มีกาหนดเฉพาะกาล คือข้อใด ? เพราะเหตุใด ฯ
เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ฯ
ข้อ รุกขมูลิกังคะ และ อัพโภกาสิกังคะ ฯ
ธุดงค์ ๒ ข้อนี้ภิกษุถือได้เฉพาะกาลนอกพรรษา เพราะในพรรษาภิกษุต้องถือเสนาสนะเป็นที่อยู่อาศัยประจาตามพระวินัยนิยม ฯ
๕.ธุดงค์ คืออะไร ? มีกี่หมวด ? หมวดไหนว่าด้วยเรื่องอะไร ?
คือ วัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง เปน็ อุบายขัดเกลากิเลส และเปน็ ไปเพื่อความ มักน้อยสันโดษ ฯ
มี ๔ หมวด ฯ ดังนี้
หมวดที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องจีวร
หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องบิณฑบาต
หมวดที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ
หมวดที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องความเพียร ฯ
ว่าด้วยเรื่องพระอริยบุคคล ๔
๑.พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้บ้าง ?
ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ฯ
พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ฯ
๒.คาว่า พระโสดาบัน และ สัตตักขัตตุปรมะ มีอธิบายอย่างไร ?
พระโสดาบัน คือพระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอริยผลขั้นแรก ฯ
สัตตักขัตตุปรมะ คือพระโสดาบันผู้จะเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ฯ
๓.สังโยชน์ คืออะไร ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรขาดบ้าง ?
คือ กิเลสอันผูกใจสัตว์ไว้ ฯ ละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นได้ขาด คือ
. สักกายทิฏฐิ
. วิจิกิจฉา
. สีลัพพตปรามาส ฯ
๔.พระโสดาบัน แปลว่าอะไร ? หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ละสังโยชน์อะไรได้ขาดบ้าง ?
๔.แปลว่าผู้แรกเข้าถึงกระแสพระนิพพาน ฯ ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ขาด ฯ
๕.พระพุทธคุณว่า อรห ใช้เป็นคุณบทของพระสาวกได้ด้วยหรือไม่ ? ถ้าได้ จะมีคาอะไรมาประกอบร่วมด้วย เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นคุณบท ของพระศาสดาหรือของพระสาวก ?
ได้ ฯ สาหรับพระศาสดา ใช้ว่า อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ แปลว่า พระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบเอง สาหรับพระสาวกใช้ว่า อรห ขีณาสโว แปลว่า พระอรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ฯ
ว่าด้วยเรื่องกรรม
๑.พระพุทธคุณบทหนึ่งว่า เป็นผู้หักกาแห่งสังสารจักร ถามว่า กา ได้แก่อะไร ? สังสารจักร ได้แก่อะไร ?
กา ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมฯ สังสารจักร ได้แก่ วัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบากฯ
๒. กรรมและทวาร คืออะไร ? อภิชฌาเป็นกรรมใดและเกิดทางทวารใดบ้าง จงอธิบาย ?
กรรม คือ การกระทา ส่วนทวาร คือ ทางเกิดของกรรม ฯ อภิชฌา ความอยากได้ เป็นมโนกรรมได้อย่างเดียว และเกิดได้ทั้ง ๓ ทวาร เป็นกายทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วลูบคลาพัสดุที่อยากได้นั้น แต่ไม่มีไถยจิต เป็นวจีทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วบ่นว่า ทาอย่างไรดีหนอ จักได้พัสดุนั้น และเป็นมโนทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วราพึงในใจ ฯ
๓.กิเลส กรรม วิบาก เรียกว่าวัฏฏะ เพราะเหตุไร ? จงอธิบาย
เพราะวน คือหมุนเวียนกันไป ฯ อธิบายว่า กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทากรรม ครั้นทากรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ
๔.กรรมที่บุคคลทาไว้ ทาหน้าที่อย่างไรบ้าง ?
ทาหน้าที่ คือ ๑. แต่ง (วิบาก) ให้เกิด เรียกว่า ชนกกรรม ๒. สนับสนุน (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปัตถัมภกกรรม ๓. บีบคั้น (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปปีฬกกรรม ๔. ตัดรอน (วิบากของกรรมอื่น) เรียกว่า อุปฆาตกกรรม ฯ

ว่าด้วยเรื่องญาณ
 ๑.ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขนิโรธสัจมีอธิบายอย่างไร ?
. มี ๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
. กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทา
. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทาแล้ว ฯ
 มีอธิบายว่า
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจ จัดเป็นสัจจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจเป็นสภาพที่ควรทาให้แจ้ง จัดเป็นกิจจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขนิโรธสัจที่ควรทาให้แจ้ง ๆ แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
 ๒.ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสัจ มีอธิบายอย่างไร ?
. มีอธิบายว่า ๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจ จัดเป็นสัจจญาณ ๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสัจเป็นสภาพที่ควรกาหนดรู้ จัดเป็นกิจจญาณ ๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสัจที่ควรกาหนดรู้ ได้กาหนดรู้แล้ว จัดเป็น กตญาณ ฯ
๓.ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสมุทยสัจ มีอธิบายอย่างไร ?
 มีอธิบายว่า
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัยเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดจริง จัดเป็นสัจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย ควรละ จัดเป็นกิจญาณ
. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย ละได้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
.ตจปัญจกกัมมัฏฐานได้แก่อะไรบ้าง ? จัดเป็นสมถะหรือวิปัสสนา ? จงอธิบาย
 ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา และตโจ ฯ เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเพ่ง กาหนดยังจิตให้สงบด้วยภาวนา เป็นสมถะ ถ้าเพ่งพิจารณาถึงความแปรปรวน เปลี่ยนแปลงไป หรือให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้อง
เสื่อมสลายไปในที่สุด หรือให้เห็นว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน พิจารณาเช่นนี้เป็นวิปัสสนา ฯ
๕.มหาภูตรูป คือ อะไร ? มีความเกี่ยวเนื่องกับอุปาทายรูปอย่างไร ?
คือ รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน อันประกอบด้วย ธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน น้า ไฟ ลม ฯ
เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งรูปย่อยซึ่งเรียกว่าอุปาทายรูป เมื่อรูปใหญ่แตกทาลายไป อุปาทายรูปที่อิงอาศัยมหาภูตรูปนั้นก็แตกทาลายไปด้วย
 ๖.ไตรวัฏฏะ อันได้แก่ กิเลสวัฏฏะ กัมมวัฏฏะ วิปากวัฏฏะ มีสภาพ เกี่ยวเนื่องวนกันไปอย่างไร ? ตัดให้ขาดได้ด้วยอะไร ?
อย่างนี้ คือ กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทากรรม ครั้นทากรรมแล้ว ย่อมได้รับ วิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ ได้ด้วยอรหัตตมรรคญาณ ฯ
ว่าด้วยเรื่องเสขะ
.ในอริยบุคคล ๒ พระเสขะผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาเรื่องอะไร ? ผู้ศึกษากาลังสอบธรรมอยู่นี้เรียกว่าพระเสขะได้หรือไม่ ?
. คือศึกษา ในอธิสีล ในอธิจิต และในอธิปัญญา อีกอย่างหนึ่งหมายถึง ต้องศึกษาและต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไปฯ ยังเรียกว่าพระเสขะไม่ได้ ถ้าไม่ใช่พระอริยบุคคล ๗ จาพวกเบื้องต้น ฯ
ว่าด้วยเรื่องรูป
๑.มหาภูตรูปและอุปาทายรูปคืออะไร ?
. มหาภูตรูป คือ รูปใหญ่ ได้แก่ธาตุ ๔ มี ปฐวี อาโป เตโช วาโย อุปาทายรูป คือรูปอาศัยมหาภูตรูปนั้น ฯ
๒.พระพุทธเจ้าทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าพุทธัตถจริยา
คือทรงประพฤติอย่างไร ?
ทรงทาหน้าที่ของพระพุทธเจ้า คือ ได้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนาให้
บริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตรู้ทั่วถึงธรรมตามภูมิชั้น และทรงบัญญัติสิกขาบท
อันเป็นอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร ฯ
๓.สวรรค์มีกี่ชั้น ? อะไรบ้าง ?
. มี ๖ ชั้น ฯ ได้แก่
. ชั้นจาตุมหาราชิก
. ชั้นดาวดึงส์
. ชั้นยามา
. ชั้นดุสิต
. ชั้นนิมมานรดี
. ชั้นปรนิมมิตรสวัดดี ฯ
๔.ปิฎก ๓ ได้แก่อะไร ? แต่ละปิฎก ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกฯ
พระวินับปิฎก ว่าด้วยเรื่องฎกระเบียบข้อบังคับที่นาความประพฤติให้สม่าเสมอกัน หรือเป็นเรื่องบริหารคณะ
พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยคาสอนยกบุคคลเป็นที่ตั้ง
พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยคาสอนยกธรรมล้วนๆ ไม่เจือด้วยสัตว์หรือบุคคล เป็นที่ตั้งฯ
. ภพกับภูมิต่างกันอย่างไร ? มีอย่างละเท่าไร ?
ภพ หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ต่างชั้นแห่งหมู่สัตว์ มี ๓ ฯ ภูมิ หมายถึงภาวะ อันประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แห่งจิตและเจตสิก มี ๔ ฯ
๖.เมตตากับปรานีมีความหมายต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร? และอย่างไหน กาจัดวิตกอะไร ?
เมตตาหมายถึงความรักใคร่หรือความหวังดี ปรานีหมายถึงความปรารถนาให้ ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์เข้าลักษณะแห่งกรุณา ฯ เมตตากาจัดพยาบาทวิตก ปรานีกาจัดวิหิงสาวิตก ฯ
๗.กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา ได้ชื่อว่า โอฆะ โยคะ และอาสวะเพราะเหตุไร ?

ได้ชื่อว่าโอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้าอันท่วมใจสัตว์ ได้ชื่อว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมกอยู่ในสันดาน ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น