วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

เก็งข้อสอบวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นโท www.ธรรมศึกษา.com

เก็งข้อสอบวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นโทตอนที่ ๑ สาหรับสอบธรรมสนามหลวง (แบบตอบทวนคาถาม)

๑. ภิกษุผู้ประพฤติพระวินัยส่วนอภิสมาจารให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม จะต้องปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม ต้องปฏิบัติโดยสายกลาง คือไม่ถือเคร่งครัดอย่างงมงาย จนเป็นเหตุทาตนให้ลาบากเพราะเหตุธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ อันขัดต่อกาลเทศะ และไม่สะเพร่ามักง่าย ละเลยต่อธรรมเนียมของภิกษุจนถึงทาตนให้เป็นคนเลวทราม.

๒. อาทิพรมจริยาสิกขา และ อภิสมาจาริกาสิกขา ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ ต่างกันอย่างนี้คือ
อาทิพรหมจริยาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ อันได้แก่พระพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งไว้ให้เป็นพุทธอาณา เป็นสิกขาบทอันมาในพระปาติโมกข์ เป็นข้อบังคับโดยตรงที่ภิกษุจะต้องระพฤติปฏิบัติโดยเคร่งครัด ส่วน
อภิสมาจาริกาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเนื่องด้วย อภิสมาจาร คือมารยาทอันดี ที่ทรงบัญญัติหรืออนุญาตไว้ อันมานอกพระปาติโมกข์ เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามของหมู่คณะที่ควรประพฤติ.

๓. วินัยกรรม กับ สังฆกรรม มีความหมายต่างกันอย่างไร ? การทาวินัยกรรมนั้น มีจากัดบุคคลและสถานที่บ้างหรือไม่อย่างไร ?
ตอบ ต่างกันอย่างนี้ วินัยกรรม กรรมที่ภิกษุแต่ละรูปหรือหลายรูปจะพึงทาตามพระวินัย เช่น พินทุ อธิษฐาน วิกัปจีวร เป็นต้น ส่วนกรรมที่ภิกษุครบองค์เป็นสงฆ์ มีจานวนอย่างต่าตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปจะพึงทา เช่น อปโลกนกรรม เป็นต้น
จากัดบุคคลและสถานที่ไว้ดังนี้
๑. แสดงอาบัติ ต้องแสดงแก่ผู้เป็นภิกษุด้วยกัน
๒. อธิษฐาน ต้องทาเอง
๓. วิกัป ต้องวิกัปแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร สามเณรี รูปใดรูปหนึ่ง
๔. ห้ามไม่ให้ทาในที่มืด แต่ทาในสีมาหรือนอกสีมาใช้ได้ทั้งนั้น.

๔. เปลือยกายอย่างไรต้องอาบัติถุลลัยจัย ? อย่างไรต้องอาบัติทุกกฎ ?
ตอบ เปลือยกายเป็นวัตรเอาอย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัยจัย
เปลือยกายทากิจแก่กัน เช่นไหว้ รับไหว้ ทาบริกรรม ให้ของ รับของ และ
เปลือยกายในเวลาฉัน ในเวลาดื่ม ต้องอาบัติทุกกฎ

๕. การประณาม ในพระวินัยหมายความว่าอย่างไร ? มีพระพุทธานุญาตให้อุปัชฌาย์ทาการประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติอย่างไร ?
ตอบ การประณาม หมายความว่า การไล่สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกผู้ประพฤติมิชอบ และมีพระพุทธานุญาตให้ประณามผู้ประพฤติดังนี้
๑. หาความรักใคร่ในอุปัชฌาย์มิได้
๒. หาความเลื่อมใสมิได้
๓. หาความเคารพมิได้
๔. หาความหวังดีต่อมิได้

๖. ผ้าสาหรับทาจีวรนุ่งห่มนั้นทรงอนุญาตไว้กี่ชนิด ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ผ้าสาหรับทาจีวรนุ่งห่มนั้นทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด คือ
๑. โขมะ ผ้าทาด้วยเปลือกไม้
๒. กัปปาสิกะ ผ้าทาด้วยฝ้าย
๓. โกเสยยะ ผ้าทาด้วยใยไหม
๔. กัมพละ ผ้าทาด้วยขนสัตว์ ยกเว้นผมและขนมนุษย์
๕. สาณะ ผ้าทาด้วยเปลือกป่าน
๖. ภังคะ ผ้าที่ทาด้วยของ ๕ อย่างนั้น แต่ละอย่างใดอย่างหนึ่งปนกัน

๗. สภาคาบัติ คืออาบัติเช่นไร ? ภิกษุต้องสภาคาบัติ จะพึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ สภาคาบัติ คือ อาบัติที่ภิกษุต้องอาบัติเดียวกัน เพราะล่วงละเมิดสิกขาบทเดียวกัน
เมื่อภิกษุต้องสภาคาบัติ ห้ามไม่ให้แสดงอาบัตินั้นต่อกัน ห้ามไม่ให้รับอาบัติของกัน ให้แสดงในสานักของภิกษุอื่น ถ้าสงฆ์ต้องสภาคาบัติทั้งหมด ต้องส่งภิกษุรูปหนึ่งไปแสดงในที่อื่น ภิกษุที่เหลือจึงแสดงในสานักของภิกษุนั้น.

๘. กาลิก คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? กาลิกระคนกันมีกาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
ตอบ กาลิก คือ ของที่พึงกลืนให้ล่วงลาคอลงไป มี ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุสั้นที่สุดเป็นเกณฑ์ เช่น เอายาผงที่เป็นยาวชีวิกซึ่งไม่จากัดอายุคลุกกับน้าผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิกซึ่งมีกาหนดอายุไว้ ๗ วัน ดังนี้ ต้องถืออายุ ๗ วันเป็นเกณฑ์

๙. ผ้าบริขารโจล ได้แก่ผ้าเช่นไร ? การอธิษฐานด้วยกายกับการอธิษฐานด้วยวาจาต่างกันอย่างไร ?
ตอบ ผ้าบริขารโจล ได้แก่ ผ้าที่มิใช่ของใหญ่ถึงกับนุ่งห่มได้ เช่น ผ้ากรอกน้า ถุงบาตร ย่าม
การอธิษฐานด้วยกาย คือ การใช้มือจับหรือลูบบริขารที่จะอธิษฐานแล้วทาความผูกใจตามอธิฐานนั้นๆ ส่วนการอธิษฐานด้วยวาจา คือการเปล่งคาอธิษฐานนั้นๆ ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้.

๑๐. คาว่า อันโตวุฏฐะ อันโตปักะ สามปักกะ หมายถึงอะไร ?
ตอบ อันโตวุฏฐะ หมายถึง ยาวกาลิกที่ภิกษุเก็บไว้ในที่อยู่ของตน
อันโตปักกะ หมายถึง ยาวกาลิกที่ภิกษุหุงต้มภายใน (ที่อยู่ของตน)
สามปักกะ หมายถึง ยาวกาลิกที่ภิกษุทาให้สุกเอง.

เก็งข้อสอบวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นโทตอนที่ ๒ สาหรับสอบธรรมสนามหลวง (แบบตอบทวนคาถาม)

๑. สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่าอะไร ? ทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ?
ตอบ สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่า อภิสมาจาร ทรงบัญญัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของภิกษุ และเพื่อความงามของพระศาสนา เช่นเดียวกับตระกูลใหญ่ จาต้องมีขนบธรรมเนียมและระเบียบไว้รักษาเกียรติและความเป็นผู้ดีของตระกูล

๒. ในบาลีแสดงเหตุนิสัยจะระงับจากอุปัชฌาย์ไว้เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ในบาลีแสดงเหตุนิสัยจะระงับจากอุปัชฌาย์ไว้ ๕ ประการคือ
๑. อุปัชฌายืหลีกไปเสีย
๒. สึกเสีย
๓. ตายเสีย
๔. ไปเข้ารีตเดียรถีย์
๕. สั่งบังคับ

๓. ตามนัยแห่งอรรถกถา อาจารย์มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? คาขอนิสัยอาจารย์ว่าอย่างไร ?
ตอบ ตามนัยแห่งอรรถกถาอาจารย์ ๔ ประเภท คือ
๑. ปัพพัชชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา
๒. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท
๓. นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย
๔. อุทเทสาจารย์ อาจารย์ผู้บอกธรรม
คาขอนิสัยอาจารย์ว่า อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ

๔. ภิกษุผู้ได้ชื่อว่า วตฺตสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร วัตรคืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ วัตรคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ มี ๓ คือ
๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทา
๒. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
๓. วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง

๕. บุพพกรณ์และบุพพกิจในการทาอุโบสถต่างกันอย่างไร ?
ตอบ บุพพกรณ์ คือ กรณียะอันจะพึงกระทาให้เสร็จก่อนประชุมสงฆ์
ส่วนบุพพกิจเป็นธุระอันจะพึงทาก่อนการสวดปาติโมกข์

๖. ในวัดหนึ่ง ถ้ามีภิกษุจาพรรษา ๔ รูป ๒ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถพึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ เมื่อถึงวันอุโบสถต้องปฏิบัติอย่างนี้
๔ รูปพึงประชุมกันในโรงอุโบสถสวดปาฏิโมกข์
๓ รูปพึงประชุมกันทาปาริสุทธิอุโบสถ ดังนี้ ประชุมกันในโรงอุโบสถแล้วรูปหนึ่งสวดประกาศญัตติ จบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธิ์ของตน
๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน
๑ รูป พึงอธิษฐาน

๗. อุปปถกิริยา คืออะไร ? ความประพฤติเช่นไรจัดเข้าใน อนาจาร ปาปสมาจาร อเนสนา ?
ตอบ อุปปถกิริยา คือการทานอกรีตนอกรอยของสมณะ
ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่างๆ จัดเข้าในอนาจาร
ความประพฤติเลวทราม จัดเข้าในปาปสมาจาร
ความเลี้ยงชีพไม่สมควรจัดเข้าในอเนสนา

๘. ภิกษุอยู่จาพรรษาไม่ขาดย่อมได้อานิสงส์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ภิกษุอยู่จาพรรษาย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค
๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องนาไตรจีวรไปครบสารับ
๓. ฉันคณโภชน์ และปรัมปรโภชน์ได้
๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น จักเป็นของได้แก่พวกเธอ

๙. ลหุภัณฑ์ และครุภัณฑ์ที่เป็นของสงฆ์ คือของเช่นไร ? อย่างไหนแจกกันได้ และไม่ได้ ?
ตอบ ลหุภัณฑ์ คือของเบา มีบิณฑบาต เภสัช กับบริขารที่จะใช้สาหรับตัว คือ บาตร จีวร ประคดเอว เข็ม มีดพับ มีดโกณ เป็นของที่แจกกันได้ ส่วน ครุภัณฑ์ คือของหนัก ไม่ใช่ของสาหรับใช้สิ้นไป เป็นของควรรักษาไว้ได้นาน เป็นเครื่องใช้ในเสนาสนะ หรือเป็นตัวเสนาสนะเอง ตลอดถึงกุฎีและที่ดิน เป็นของที่แจกกันไม่ได้

๑๐. ภิกษุจะฉันสิ่งใดๆ ต้องรับประเคนก่อน มีกรณียกเว้นเป็นพิเศษอะไรบ้าง ที่ไม่ต้องรับประเคนก่อนก็ฉันได้ ?
ตอบ มีกรณียกเว้นเป็นพิเศษเฉพาะภิกษุอาพาธถูกงูกัด ให้ฉันยามหาวัฏ ๔ คือ มูตร คูถ เถ้า และดินได้

2 ความคิดเห็น:

  1. อ่านรอบสามน่าจะจำได้เข้าใจง่าย กระชับดี เนื้อหาบริขารน้อยจังกลัวสนามหลวงออกเยอะ

    ตอบลบ
  2. อยากได้ ปัญหาถามตอบ ทุกวิชา ใน นักธรรมชั้น ครับ จะขอบพระคุณเป็อย่างสูงครับ

    ตอบลบ