วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

เก็งและสรุปข้อสอบนักธรรมโท วิชาวินัยมุข โดยพระธี

สรุปนักธรรมโท วิชาวินัยมุข

ข้อที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องคำถามเกี่ยวกับ อภสมาจาร
๑.สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่าอะไร ? ทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อะไร ?
ตอบ สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์เรียกว่า อภิสมาจาร ทรงบัญญัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของภิกษุ และเพื่อความงามของพระศาสนา เช่นเดียวกับตระกูลใหญ่ จาต้องมีขนบธรรมเนียมและระเบียบไว้รักษาเกียรติและความเป็นผู้ดีของตระกูล

๒.ภิกษุผู้ประพฤติพระวินัยส่วนอภิสมาจารให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม จะต้องปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีงาม ต้องปฏิบัติโดยสายกลาง คือไม่ถือเคร่งครัดอย่างงมงาย จนเป็นเหตุทาตนให้ลาบากเพราะเหตุธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ อันขัดต่อกาลเทศะ และไม่สะเพร่ามักง่าย ละเลยต่อธรรมเนียมของภิกษุจนถึงทาตนให้เป็นคนเลวทราม.

๓.พระวินัย แบ่งออกเป็นกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
จะปฏิบัติพระวินัยอย่างไร จึงจะเรียกได้ว่า พอดีพองาม ?
ตอบ แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
อาทิพรหมจริยกาสิกขาบท ๑ อภิสมาจาร ๑
ต้องปฏิบัติพระวินัยโดยสายกลางคือไม่ถือเคร่งครัดอย่างงมงาย
จนเป็นเหตุต้องทำตนให้เป็นคนลำบาก เพราะเหตุธรรมเนียมเล็ก ๆ น้อย ๆ อันขัดต่อกาลเทศะและไม่สะเพร่ามักง่ายละเลยต่อธรรมเนียมของภิกษุ จนถึงทำตนให้เป็นคนเลวทราม จึงจะเรียกได้ว่า พอดีพองาม

๔.อภิสมาจาร คืออะไร ? เป็นเหตุให้ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ?
ตอบ คือ ขนบธรรมเนียมของภิกษุ ฯ         อาบัติถุลลัจจัยและอาบัติทุกกฏ

๕.อาทิพรหมจริยกาสิกขา กับ อภิสมาจาริกาสิกขา ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ ต่างกันดังนี้ อาทิพรหมจริยาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ อันได้แก่พระพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งไว้ให้เป็นพุทธอาณา เป็นสิกขาบทอันมาในพระปาติโมกข์ เป็นข้อบังคับโดยตรงทีภิกษุจะต้องประพฤติปฏิบัติโดยเคร่งครัด ส่วนอภิสมาจาริกาสิกขา ได้แก่ข้อศึกษาอันเนื่องด้วยอภิสมาจาร คือมารยาทอันดี ที่ทรงบัญญัติหรืออนุญาตไว้ อันมานอกพระปาติโมกข์ เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามของหมู่คณะที่ควรประพฤติ ฯ

๖.สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์ที่เรียกว่าอภิสมาจารแบ่งเป็น ๒ คือเป็นข้อห้าม ๑ เป็นข้ออนุญาต๑ นั้น คืออย่างไร ?
ตอบ ที่เป็นข้อห้าม คือกิริยาบางอย่างหรือบริขารบางประเภทไม่เหมาะแก่สมณะสารูป จึงทรงห้ามไม่ให้กระทาหรือใช้บริขารเช่นนั้น เช่นห้ามไม่ให้ไว้ผมยาว ไม่ให้ไว้หนวดเครายาว ไม่ให้ใช้บาตรไม้ เป็นต้น
ที่เป็นข้ออนุญาต คือการประทานประโยชน์พิเศษแก่พระภิกษุ เช่นทรงอนุญาตวัสสิกสาฎกในฤดูฝน เป็นต้นฯ

๗.อภิสมาจาร คืออะไร ? ภิกษุล่วงละเมิดจะเกิดความเสียหายอย่างไร ?
ตอบ คือ ธรรมเนียมของภิกษุ ฯ
ถ้าล่วงละเมิดแต่บางอย่างหรือบางครั้งก็เสียหายน้อย แต่ถ้าล่วงละเมิด มากอย่างหรือเป็นนิตย์ ธรรมเนียมย่อมกลายไปหรือเสื่อมไป ภิกษุ จะแตกเป็น ๒ พวก คือเคร่งและไม่เคร่ง ฯ

๘.ภิกษุผู้ได้ชื่อว่าประดับพระศาสนาให้รุ่งเรืองเพราะประพฤติปฏิบัติเช่นไร ? จงชี้แจง
ตอบ เพราะมีความประพฤติปฏิบัติสุภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ด้วยอภิสมาจาริกวัตร เว้นจากบุคคลและสถานที่ไม่สมควรไปคืออโคจร เป็นผู้ได้ชื่อว่าอาจารโคจรสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจรอันเป็นคุณบทว่า สีลสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ฯ
๙.ในพระวินัยส่วนอภิสมาจาร มีพระพุทธบัญญัติสาหรับพระภิกษุผู้รับถือเสนาสนะ
ของสงฆ์ ควรเอาใจใส่รักษาเสนาสนะด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?

ตอบ ควรเอาใจใส่รักษาอย่างนี้ คือ
๑. อย่าทาเปรอะเปื้อน
๒. ชาระให้สะอาด
๓. ระวังไม่ให้ชารุด
๔. รักษาเครื่องเสนาสนะ
๕. ตั้งน้าฉันน้าใช้ไว้ให้มีพร้อม
๖. ของใช้สาหรับเสนาสนะหนึ่ง อย่าเอาไปใช้ในที่อื่นให้กระจัดกระจาย ฯ

๑๐.พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุไว้ผมได้ยาวที่สุดเท่าไร ? ไว้ได้นานที่สุดเท่าไร ?
ตอบ ไม่เกิน ๒ นิ้ว ฯ ไม่เกิน ๒ เดือน ฯ

๑๑.มีข้อกาหนดในการไว้ผมยาวของพระภิกษุอย่างไร ? ในการโกนผม ภิกษุใช้กรรไกรแทนมีดโกนได้หรือไม่ ?
ตอบ ไว้ได้เพียง ๒ เดือน หรือ ๒ นิ้ว เป็นอย่างยิ่ง ฯ
ไม่ได้ เว้นไว้แต่อาพาธ ฯ

๑๒.ภิกษุใช้เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ปกปิดกายแทนจีวร จะผิดหรือไม่ อย่างไร ?
ตอบ อาจจะผิดหรือไม่ผิดแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ไม่มีจีวร เช่นจีวรถูกไฟไหม้ ถูกโจรชิงไปหมด นุ่งห่มผ้าของคฤหัสถ์ได้ ห้ามมิให้เปลือยกาย ถ้าไม่ปกปิด ต้องอาบัติทุกกฏ แต่ถ้าไม่มีเหตุแล้วนุ่งห่มต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

๑๓.วิธีใช้วิธีรักษาบาตรที่ถูกต้อง คืออย่างไร ?
ตอบ คือ ห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่างกระโถน คือทิ้งก้างปลา กระดูก เนื้อ หรืออื่นๆ อันเป็นเดนลงในบาตร ห้ามไม่ให้ล้างมือหรือบ้วนปากลงในบาตร จะเอามือเปื้อนจับบาตรก็ไม่ควร ฉันแล้วให้ล้างบาตร ห้ามไม่ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก ให้ผึ่งแดดก่อน ห้ามไม่ให้ผึ่งทั้งยังเปียก ให้เช็ดจนหมดน้าก่อนจึงผึ่ง ห้ามไม่ให้ผึ่งไว้นาน ให้ผึ่งสักครู่หนึ่ง


ข้อที่ ๒ ว่าด้วยเรื่อง เกี่ยวกับผ้า
๑.ผ้าสังฆาฏิ คือผ้าอะไร ? มีหลักฐานความเป็นมาอย่างไร ?
ตอบคือ ผ้าสาหรับห่มกันหนาวหรือห่มซ้อนนอก ทรงอนุญาตเพื่อใช้ในฤดู หนาว ฯ
มีเรื่องเล่าว่า ในฤดูหนาวจัด ทรงทดลองห่มจีวรผืนเดียวอยู่ในที่แจ้ง สามารถกันความหนาวได้ยามหนึ่ง ถ้าอยู่ตลอดราตรี ต้องผ้า ๓ ชั้นจึง พอกันความหนาวได้ จึงทรงอนุญาตสังฆาฏิ ๒ ชั้นเข้ากับอุตตราสงค์ ชั้นเดียว จะได้เป็น ๓ ชั้น พอกันความหนาวดังกล่าวได้ ฯ
๒.ผ้าสาหรับทาจีวรนุ่งห่มนั้นทรงอนุญาตไว้กี่ชนิด ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ผ้าสาหรับทาจีวรนุ่งห่มนั้นทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด คือ
๑. โขมะ ผ้าทาด้วยเปลือกไม้
๒. กัปปาสิกะ ผ้าทาด้วยฝ้าย
๓. โกเสยยะ ผ้าทาด้วยใยไหม
๔. กัมพละ ผ้าทาด้วยขนสัตว์ ยกเว้นผมและขนมนุษย์
๕. สาณะ ผ้าทาด้วยเปลือกป่าน
๖. ภังคะ ผ้าที่ทาด้วยของ ๕ อย่างนั้น แต่ละอย่างใดอย่างหนึ่งปนกัน

๓.ภิกษุไม่ต้องนาผ้าไตรจีวรไปครบสารับ มีพระพุทธานุญาตไว้ในกรณีใดบ้าง ?
ตอบ ใน ๒ กรณี คือ
๑. ในกรณีเข้าบ้านมีพระพุทธานุญาตไว้อย่างนี้ คือ
  ๑.คราวเจ็บไข้                                         ๒.สังเกตเห็นว่าฝนจะตก
  ๓.ไปสู่ฝั่งแม่น้า                                        ๔.วิหารคือกุฎีคุ้มได้ด้วยดาล
  ๕.ได้รับอานิสงส์พรรษา                              ๖.ได้กรานกฐิน ฯ
๒. ในกรณีต้องไปค้างแรมที่อื่น มีพระพุทธานุญาตไว้อย่างนี้ คือ
  ๑. ได้รับอานิสงส์พรรษา
  ๒. ได้กรานกฐิน ฯ

๔.ภิกษุใช้เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ปกปิดกายแทนจีวร จะผิดหรือไม่ อย่างไร ?
ตอบ อาจจะผิดหรือไม่ผิดแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ไม่มีจีวร เช่นจีวรถูกไฟไหม้ ถูกโจรชิงไปหมด นุ่งห่มผ้าของคฤหัสถ์ได้ ห้ามมิให้เปลือยกาย ถ้าไม่ปกปิด ต้องอาบัติทุกกฏ แต่ถ้าไม่มีเหตุแล้วนุ่งห่มต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

๕.ผ้าต่อไปนี้ คือ สังฆาฏิ อันตรวาสก นิสีทนะ ผ้าอาบน้าฝน ผ้าเช็ดปากผ้าถุงบาตรผืนใดที่ทรงอนุญาตให้อธิษฐานได้เพียงผืนเดียว ?
ตอบ. สังฆาฏิ นิสีทนะ อันตรวาสก และผ้าอาบน้าฝน ฯ

๖.ข้อว่า อย่าพึงนุ่งห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
ตอบ. มีอธิบายว่า ห้ามนุ่งห่มเครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์ เช่น กางเกง เสื้อผ้าโพก หมวก ผ้านุ่งผ้าห่มสีต่าง ๆ ชนิดต่าง ๆ และห้ามอาการนุ่งห่มต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ของภิกษุ

๗.มีพระบัญญัติข้อหนึ่งว่า อย่าพึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ อย่างพึงห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ ในกรณีที่ภิกษุถูกโจรชิงผ้านุ่งห่มไปหมด พึงปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามพระวินัย ?
ตอบ. พึงปิดกายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราว โดยที่สุดแม้ใบไม้ก็ใช้ได้ ห้ามมิให้เปลือยกาย ฯ

๘.ผ้าบริขารโจล ได้แก่ผ้าเช่นไร ? การอธิษฐานด้วยกายกับการอธิษฐาน ด้วยวาจาต่างกันอย่างไร ?
ตอบ. ได้แก่ ผ้าที่ไม่ใช่ของใหญ่ถึงกับนุ่งห่มได้ เช่นผ้ากรองน้าถุงบาตร ย่าม ฯ การอธิษฐานด้วยกาย คือ การใช้มือจับหรือลูบบริขารที่จะอธิษฐานแล้ว ทาความผูกใจตามคาอธิษฐานนั้นๆ ส่วนการอธิษฐานด้วยวาจา คือ การเปล่งคาอธิษฐานนั้นๆ ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้ ฯ

๙.จีวรผืนหนึ่ง มีกาหนดจานวนขัณฑ์ไว้อย่างไร ? ใน ๑ ขัณฑ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
ตอบ กาหนดจานวนไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ขัณฑ์ แต่ให้เป็นขัณฑ์คี่ คือ๗,,๑๑ เป็นต้น ฯ ประกอบด้วยมณฑล อัฑฒมณฑล กุสิ อัฑฒกุสิ

๑๐.วิธิวัตร คืออะไร ? มีความสาคัญอย่างไร ?
ตอบ. คือ วินัยที่ว่าด้วยแบบอย่าง เช่นแบบอย่างการห่มผ้าเป็นต้น ฯ
แบบอย่างนั้นเป็นเหตุให้ภิกษุมีความประพฤติสม่าเสมอกัน เช่นนุ่งห่ม เป็นแบบเดียวกันอันโบราณท่านจัดไว้ถ้าเป็นแบบที่ล่วงเวลาและจะ ไม่ใช้ก็ต้องมีวิธีใหม่แทน ไม่เช่นนั้นจะค่อยหลุดไปทีละอย่าง จนไม่มี อะไรเหลือเมื่อถึงเวลานั้นพระสงฆ์ก็จะไม่มีอะไรที่ต่างจากชาวบ้าน

๑๑.คาว่า อธิษฐานในวินัยกรรม คืออะไร ? ผ้าสังฆาฏิผืนเดิมเก่าขาดใช้ไม่ได้ จะเปลี่ยนใหม่ พึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ. คือ การตั้งบริขารที่ทรงอนุญาตสาหรับภิกษุเอาไว้ใช้สาหรับตัว (เช่นการตั้งใจใช้จีวรผืนนั้น ไม่ใช้ผืนอื่น) ฯ
พึงทาพินทุผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ว่า อิม พินฺทุกปฺป กโรมิ เราทาหมาย ด้วยจุดนี้ แล้วปัจจุทธรณ์คือยกเลิกผ้าสังฆาฏิเดิมว่า อิม สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ เรายกเลิกผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ต่อจากนั้นอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ ผืนใหม่ว่า อิม สงฺฆาฏึ อธิฏฺามิ เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าสังฆาฏิผืนนี้


ข้อที่ ๓ ว่าด้วยเรื่อง เรื่องเข้าพรรษาออกพรรษา
๑.การจาพรรษาของภิกษุมีวิธีอย่างไร ? จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ. การจาพรรษานั้น ในบาลีกล่าวเพียงให้ทาอาลัย คือ ผูกใจว่าจะอยู่ในที่นี้ ๓ เดือน แต่ในบัดนี้มีธรรมเนียมที่ประชุมกันกล่าวคาอธิษฐานพร้อม กันว่า อิมสฺมึ อาวาเส อิม เตมาส วสฺส อุเปม แปลความว่า เราเข้าถึง ฤดูฝนในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน ฯ

๒.วันเข้าพรรษาในบาลีกล่าวไว้ ๒ วัน คือวันเข้าพรรษาต้น และวันเข้าพรรษาหลัง ในแต่ละอย่างกาหนดวันไว้อย่างไร ?
ตอบ วันเข้าพรรษาต้น กาหนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ววันหนึ่ง คือวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ วันเข้าพรรษาหลัง กาหนดเมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะนั้น
ล่วงแล้วเดือน ๑ คือ วันแรม ๑ ค่า เดือน ๙ ฯ

๓.ภิกษุอยู่จาพรรษาครบ ๓ เดือนจนได้ปวารณาย่อมได้อานิสงส์แห่ง การจาพรรษาอะไรบ้าง ?
ตอบ. ได้รับอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสารับ
๓. ฉัันคณโภชน์ และปรัมปรโภชน์ได้
๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ
ทั้งได้โอกาสเพื่อกรานกฐิน และรับอานิสงส์ ๕ นั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ตลอดเหมันตฤดู ฯ

๔.ภิกษุอยู่จาพรรษาแล้ว มีเหตุให้ไปที่อื่น คิดว่าจะกลับมาทันภายใน วันนั้น มิได้ผูกใจสัตตาหะไว้ แต่มีเหตุขัดข้องให้กลับถึงเมื่ออรุณขึ้นเสียแล้ว เช่นนี้ พรรษาขาดหรือไม่? เพราะเหตุใด?
ตอบ. ถ้าไปด้วยธุระที่ทรงอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ พรรษาไม่ขาด ฯ
เพราะยังอยู่ในพระพุทธานุญาตนั้นเอง ทั้งจิตคิดจะกลับก็มีอยู่ ถ้าไปด้วยมิใช่ธุระที่เป็นสัตตาหกรณียะ พรรษาขาด ฯ

๕.การอธิษฐานเข้าพรรษา กับการปวารณาออกพรรษา ทั้ง ๒ นี้ อย่างไหนกาหนดด้วยสงฆ์เท่าไร ? และกาหนดเขตอย่างไร ?
ตอบ. การอธิษฐานเข้าพรรษาไม่เป็นสังฆกรรมจึงไม่กาหนดด้วยสงฆ์ แต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติอธิษฐานเข้าพรรษาพร้อมๆ กัน จะอธิษฐานที่ไหนก็ได้ แต่ท่านห้ามไม่ให้จาพรรษาในที่ไม่สมควรเท่านั้น เช่น ในโพรงไม้ บนค่าคบไม้ ในตุ่มหรือในกระท่อมผี เป็นต้น ฯ และให้กาหนดบริเวณอาวาสเป็นเขต ฯส่วนการปวารณาออกพรรษาเป็นสังฆกรรม กาหนดด้วยสงฆ์ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ฯและกาหนดให้ทาภายในเขตสีมา ถ้าต่ากว่า ๕ รูป ท่านให้ปวารณาเป็นการคณะ ถ้ารูปเดียวให้อธิษฐานเป็นการบุคคล ฯ

๖.ภิกษุอยู่จาพรรษาไม่ขาดย่อมได้อานิสงส์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ ภิกษุอยู่จาพรรษาย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค        ๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องนาไตรจีวรไปครบสารับ
๓. ฉันคณโภชน์ และปรัมปรโภชน์ได้                                     ๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น จักเป็นของได้แก่พวกเธอ

๗.ภิกษุอยู่จาพรรษาแล้ว มีเหตุให้ไปที่อื่น คิดว่าจะกลับมาทันภายใน วันนั้น มิได้ผูกใจสัตตาหะไว้ แต่มีเหตุขัดข้องให้กลับถึงเมื่ออรุณขึ้นเสียแล้ว เช่นนี้ พรรษาขาดหรือไม่? เพราะเหตุใด?
ตอบ ถ้าไปด้วยธุระที่ทรงอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ พรรษาไม่ขาด ฯ
เพราะยังอยู่ในพระพุทธานุญาตนั้นเอง ทั้งจิตคิดจะกลับก็มีอยู่ ถ้าไปด้วยมิใช่ธุระที่เป็นสัตตาหกรณียะ พรรษาขาด ฯ


ข้อที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องสังฆกรรม การสวดปาฏิโมกข์ อุปสมบทกรรม และ อัพภาณกรรม จานวนสงฆ์...
๑.ในวัดหนึ่ง ถ้ามีภิกษุจาพรรษา ๔ รูป ๒ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถพึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ เมื่อถึงวันอุโบสถต้องปฏิบัติอย่างนี้
๔ รูปพึงประชุมกันในโรงอุโบสถสวดปาฏิโมกข์
๓ รูปพึงประชุมกันทาปาริสุทธิอุโบสถ ดังนี้ ประชุมกันในโรงอุโบสถแล้วรูปหนึ่งสวดประกาศญัตติ จบแล้วแต่ละรูปพึงบอกความบริสุทธิ์ของตน
๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน
๑ รูป พึงอธิษฐาน

๒.สังฆกรรม ๓ อย่างนี้ คือ การสวดปาฏิโมกข์ อุปสมบทกรรม และ อัพภาณกรรม มีจากัดจานวนสงฆ์อย่างน้อยเท่าไรจึงจะถูกต้องตาม พระวินัย ?
ตอบ. การสวดปาฏิโมกข์ ต้องการสงฆ์จตุวรรค คือ ๔ รูปเป็นอย่างน้อย อุปสมบทกรรมในปัจจันตประเทศ ต้องการสงฆ์ปัญจวรรค คือ ๕ รูป เป็นอย่างน้อย อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องการสงฆ์ทสวรรค คือ ๑๐ รูปเป็นอย่างน้อย อัพภาณกรรม ต้องการสงฆ์วีสติวรรค คือ ๒๐ รูปเป็นอย่างน้อย ฯ

๓.ภิกษุจาพรรษาอยู่ด้วยกัน ๕ รูป ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ อยู่รูปเดียว ถึงวันปวารณา พึงปฏิบัติอย่างไร ?
ตอบ. อยู่ด้วยกัน ๕ รูป พึงทาปวารณาเป็นการสงฆ์ อยู่ด้วยกัน ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป พึงปวารณาเป็นการคณะ อยู่รูปเดียว พึงอธิษฐานเป็นการบุคคล ฯ

๔.ภิกษุจำพรรษา ๑ รูป ๒, , , ๕ รูป เมื่อถึงวันปวารณาพึงปฏิบัติอย่างไร ?เหตุที่ทำให้เลื่อนปวารณาได้มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ พึงปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุ ๑ รูป พึงอธิษฐานเป็นการบุคคล, ภิกษุ ๒, , ๔ รูป พึงทำคณะปวารณา, ภิกษุ ๕ รูปขึ้นไปพึงทำสังฆปวารณา
มี ๒ อย่างคือ ๑) ภิกษุจะเข้ามาสมทบปวารณาด้วย ด้วยหมายจะคัดค้านผู้นั้นผู้นี้ ทำให้เกิดอธิกรณ์ขึ้น
                 ๒) อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ปวารณาแล้วต่างจะจากกันจาริกไปเสีย


ข้อที่๕  ว่าด้วยเรื่องวัตร ๓ คือ กิจวัตร ๑ จริยาวัตร ๑ วิธิวัตร ๑
๑.วัตร ๓ คืออะไรบ้าง ? ภิกษุเหยียบผ้าขาวอันเขาลาดไว้ในที่นิมนต์ผิดวัตรข้อไหน?มีโทษให้เกิดความเสียหายอย่างไร ?
ตอบ. คือ กิจวัตร ๑ จริยาวัตร ๑ วิธิวัตร ๑ ฯ ผิดวัตรข้อจริยาวัตร ฯ
มีโทษให้เกิดความเสียหาย คือเป็นการเสียมารยาทของพระ ไม่ระวังกิริยา ทาให้ผ้าขาวมีรอยเปื้อนสกปรกน่ารังเกียจ แม้ภิกษุพวกเดียวกันจะนั่งก็รังเกียจขยะแขยง เป็นที่ตาหนิของบัณฑิตทั้งหลาย

๒.วิธิวัตร คืออะไร ? มีความสาคัญอย่างไร ?
ตอบ. คือ วินัยที่ว่าด้วยแบบอย่าง เช่นแบบอย่างการห่มผ้าเป็นต้น ฯ
แบบอย่างนั้นเป็นเหตุให้ภิกษุมีความประพฤติสม่าเสมอกัน เช่นนุ่งห่ม เป็นแบบเดียวกันอันโบราณท่านจัดไว้ถ้าเป็นแบบที่ล่วงเวลาและจะ ไม่ใช้ก็ต้องมีวิธีใหม่แทน ไม่เช่นนั้นจะค่อยหลุดไปทีละอย่าง จนไม่มี อะไรเหลือเมื่อถึงเวลานั้นพระสงฆ์ก็จะไม่มีอะไรที่ต่างจากชาวบ้าน

๓.ในคาว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร วัตรได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ. ได้แก่ ขนบ คือแบบอย่าง อันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ ฯ
มี ๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทา
๒. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
๓. วิธิวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง ฯ

๔.ภิกษุผู้ได้ชื่อว่า วตฺตสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร วัตรคืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ วัตรคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ มี ๓ คือ
๑. กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทา
๒. จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
๓. วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง


ข้อที่ ๖ ว่าด้วยเรื่อง กาลิก
๑.กาลิก มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? กล้วยดองน้าผึ้งเป็นกาลิกอะไร ?
ตอบ. มี ๔ ฯ ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ฯ
เป็นยาวกาลิก ฯ

๒.เภสัช ๕ มีอะไรบ้าง จัดเป็นกาลิกอะไร ?
ตอบ. เนยใส เนยข้น น้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย ฯ จัดเป็นสัตตาหกาลิก ฯ

๓.กาลิก คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? กาลิกกระคนกันมีกาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
ตอบ. ของที่จะพึงกลืนให้ล่วงลาคอเข้าไป ฯ มีดังนี้ คือ ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ ยาวชีวิก ฯ กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุสั้นที่สุดเป็นเกณฑ์ เช่น เอายาผงที่เป็นยาวชีวิกซึ่งไม่จากัดอายุคลุ

๔.ยาวกาลิกกับยาวชีวิกได้แก่กาลิกเช่นไร ? กาลิกระคนกันมีกฎเกณฑ์กาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
ตอบ ยาวกาลิก ได้แก่ของที่ให้บริโภคได้ชั่วคราว ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ยาวชีวิกได้แก่ของที่ให้บริโภคได้เสมอไป ไม่มีจากัดกาล ฯ
กฎเกณฑ์กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุน้อยที่สุด ฯ เช่นยาผง เป็นยาวชีวิก คลุกกับน้าผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิก ต้องถืออายุ ๗ วัน เป็นเกณฑ์ ฯ

๕.กาลิก คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? กาลิกระคนกันมีกาหนดอายุไว้อย่างไร ? จงยกตัวอย่าง
ตอบ กาลิก คือ ของที่พึงกลืนให้ล่วงลาคอลงไป มี ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก กาหนดอายุตามกาลิกที่มีอายุสั้นที่สุดเป็นเกณฑ์ เช่น เอายาผงที่เป็นยาวชีวิกซึ่งไม่จากัดอายุคลุกกับน้าผึ้งที่เป็นสัตตาหกาลิก ซึ่งมีกาหนดอายุไว้ ๗ วัน ดังนี้ ต้องถืออายุ ๗ วันเป็นเกณฑ์


ข้อที่ ๗ ว่าด้วย เรื่องพระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก นิสัย
๑.พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก พึงปฏิบัติต่อกันอย่างไร จึงจะเกิดความ เจริญงอกงามในพระธรรมวินัย ?
ตอบ พึงปฏิบัติตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสสั่งไว้ว่า ให้พระอุปัชฌาย์และ สัทธิวิหาริกตั้งจิตสนิทสนมในกันและกัน ให้พระอุปัชฌาย์สาคัญ สัทธิวิหาริกฉันบุตร ให้สัทธิวิหาริกนับถือพระอุปัชฌาย์ฉันบิดา เมื่อเป็น เช่นนี้ ต่างจะมีความเคารพเชื่อฟังถูกกันอยู่ ย่อมจะถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย ฯ

๒.คาว่า ถือนิสัย หมายความว่าอย่างไร ? ภิกษุผู้เป็นนวกะจะต้องถือนิสัยเสมอไปหรือไม่ประการไร ?
ตอบ. หมายความว่า ยอมตนอยู่ในความปกครองของพระเถระผู้มีคุณสมบัติควรปกครองตนได้ ยอมตนให้ท่านปกครอง พึ่งพิงพานักอาศัยท่าน ฯ
ต้องถือนิสัยเสมอไป แต่มีข้อยกเว้น ภิกษุผู้ยังไม่ตั้งลงเป็นหลักแหล่ง คือภิกษุเดินทาง ภิกษุผู้เป็นไข้ ภิกษุผู้พยาบาลผู้ได้รับขอของคนไข้เพื่อให้อยู่ภิกษุผู้เข้าป่าเพื่อเจริญสม ณธรรมชั่วคราว และกรณีที่ในที่ใด หาท่านผู้ให้นิสัยมิได้ และมีเหตุขัดข้องที่จะไปอยู่ในที่อื่นไม่ได้ จะอยู่ในที่นั้นด้วยผูกใจว่าเมื่อใดมีท่านผู้ให้นิสัยได้มาอยู่ จักถือนิสัยในท่าน ก็ใช้ได้ ฯ

๓.บุพพกรณ์และบุพพกิจในการทาอุโบสถต่างกันอย่างไร ? ในวัดที่มีภิกษุ ๓ รูป เมื่อถึงวันอุโบสถ จะต้องทาบุพพกรณ์และบุพพกิจหรือไม่ เพราะเหตุไร ?
ตอบ. บุพพกรณ์ คือ กรณียะอันจะพึงกระทาให้เสร็จก่อนประชุมสงฆ์ ส่วน บุพพกิจเป็นธุระอันจะพึงทาก่อนแต่สวดปาติโมกข์ ฯ
บุพพกรณ์นั้นเป็นกรณียะจะต้องทา เพราะต้องไปประชุมกันตามกิจ ส่วนบุพพกิจนั้นไม่ต้องทา เพราะภิกษุ ๓ รูป ไม่ต้องสวดปาติโมกข์ ฯ


ข้อที่ ๘ ว่าด้วยเรื่อง อื่นๆ
๑.อเนสนา คืออะไร ? ภิกษุทาอเนสนา ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ?
ตอบ. คือ กิริยาที่แสวงหาเลี้ยงชีพในทางไม่สมควร ฯ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์และ ทุกกฏ ฯ
๒.การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ เรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? จงบอกความหมายของแต่ละอย่างด้วย ?
ตอบ เรียกว่า อุปปถกิริยา, มี ๓ อย่างคือ
อนาจาร ๑ ปาปสมาจาร ๑ อเนสนา ๑
ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่าง ๆ จัดเข้าในอนาจาร
ความประพฤติเลวทราม จัดเข้าในปาปสมาจาร
ความเลี้ยงชีพไม่สมควร จัดเข้าในอเนสนา

๓.อุปปถกิริยา คืออะไร ? ความประพฤติเช่นไรจัดเข้าใน อนาจาร ปาปสมาจาร อเนสนา ?
ตอบ อุปปถกิริยา คือการทานอกรีตนอกรอยของสมณะ
ความประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นมีประการต่างๆ จัดเข้าในอนาจาร
ความประพฤติเลวทราม จัดเข้าในปาปสมาจาร
ความเลี้ยงชีพไม่สมควรจัดเข้าในอเนสนา

๔.ภิกษุเช่นไร ชื่อว่า นวกะ มัชฌิมะ เถระ ? วัตรอันภิกษุควรประพฤติในคำว่า วตฺตสมฺปนฺโน นั้นคืออะไรบ้าง ?
ตอบ ภิกษุมีพรรษาไม่ถึง ๕ เรียกว่า นวกะ
ภิกษุมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง ๑๐ เรียกว่า มัชฌิมะ
ภิกษุมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า เถระ
คือ ๑) กิจวัตร ว่าด้วยกิจอันควรทำ
๒) จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ
๓) วิธิวัตร ว่าด้วยแบบอย่าง

๕.ภิกษุได้ชื่อว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายสกุลเพราะประพฤติอย่างไร ?
ตอบ เพราะประพฤติให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส คือ เป็นผู้ประจบเขาด้วยกิริยาทาตนอย่างคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการ เอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ

๖. ภิกษุได้รับการสรรเสริญว่า กุลปสาทโก ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส กับภิกษุ ผู้ได้รับการตาหนิว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายตระกูล เพราะมี ความประพฤติเช่นไร ?
ตอบ ภิกษุผู้ได้รับการสรรเสริญว่า กุลปสาทโก เพราะถึงพร้อมด้วยอาจาระ ไม่ทอดตนเป็นคนสนิทของสกุลโดยฐานเป็นคนเลว ไม่รุกรานตัดรอนเขา แสดงเมตตาจิต ประพฤติพอดีพองาม ทาให้เขาเลื่อมใสนับถือตน ส่วนภิกษุผู้ได้รับการตาหนิว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายสกุล เพราะประพฤติ ให้เขาเสียศรัทธาเลื่อมใส ประจบเขาด้วยกิริยาทาตนอย่างคฤหัสถ์ ให้ของ กานัลแก่สกุลอย่างคฤหัสถ์เขาทากัน ยอมตนให้เขาใช้สอย หรือด้วยอาการ เอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งของเล็กน้อยด้วยหวังได้มาก ฯ


ข้อที่ ๙ ว่าด้วยเรื่อง ดิรัจฉานวิชา
๑.ดิรัจฉานวิชาไม่ดีอย่างไร พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้ ไม่ให้บอกไม่ให้เรียน ?
ตอบ เป็นความรู้ที่เขาสงสัยว่าลวงหรือหลง ไม่ใช่ความรู้จริงจัง ผู้บอกเป็นผู้ลวง ผู้เรียนก็เป็นผู้หัดเพื่อจะลวงหรือเป็นผู้หลงงมงาย ฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสห้ามไว้ไม่ให้บอก ไม่ให้เรียน ฯ

๒.ความรู้ในการทาเสน่ห์ให้ชายหญิงรักกัน จัดเป็นดิรัจฉานวิชาเพราะเหตุไร ?
ตอบ เพราะเป็นความรู้ที่ไม่เกี่ยวกับธรรมวินัยของภิกษุ และเป็นความรู้ที่ทาให้เขาสงสัยว่าลวง ทาให้เขาหลงงมงาย ไม่ใช่ความรู้จริง ผู้บอกเป็นผู้ลวง ฝ่ายผู้เรียนเป็นผู้หัดเพื่อลวง หรือเป็นผู้หลงงมงาย



7 ความคิดเห็น:

  1. น ปเรสํ วิโลมานิ
    น ปเรสํ กตากตํ
    อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย
    กตานิ อกตานิ จ

    ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น
    ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น
    ที่เขาทำแล้ว ยังไม่ได้ทำเท่านั้น

    ขุ. ธ. ๒๕/๒๑

    €...จงบอกตนเองเตือนตนเองอยู่เสมอว่า วาจาอันก้าวร้าว เป็นสิ่งอัปมงคที่สุด การเลือกใช้วาจา คำพูดที่เป็นมธุธรวาจา คือบทเพลงอันไพเราะเสนาะหู แก่ผู้ที่ได้รับฟัง “ดวงพระอาทิตย์ส่องแสงที่ใด ที่นั่นย่อมสว่าง หยาดฝนโปรยปรายสู่ถิ่นใด ถิ่นนั้นย่อมชุ่มฉ่ำ”...#

    ตอบลบ
  2. ขอขอบพระคุณ​ครับ

    ตอบลบ
  3. สอบ27พฤศจิกายน2561
    ขอให้ออกตามนี้เด้อ

    ตอบลบ
  4. เพิ่งจะค้นพบ แต่ย่น-ย่อ รัดกุม สุดยอดมากครับ

    ตอบลบ