วิชาวินัย(อุโบสถศีล)
(ธรรมโท)
วิธีการรักษาศีล
และการเข้าถึงพระรัตนตรัย ศีล
ศีล
ศีลเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติทางกาย
วาจา ให้อยู่ในสภาพปกติเรียบร้อยดีงาม พ้นจากการเบียดเบียน ซึ่งกันและกัน และเป็นที่รองรับกุศลธรรมชั้นสูงยิ่ง ๆ
ขึ้นไป จนถึงมรรค ผล นิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
ชาวพุทธโดยทั่วไป เมื่อจะบำเพ็ญบุญกุศลอย่างอื่น จึงต้องสมาทานศีลก่อน และก่อนจะสมาทานศีล จะเป็นศีล
๕ ศีล ๘ อุโบสถศีล หรือศีล ๑๐ ก็ตาม ต้องเปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัยว่า เป็นสรณะ
ก่อนทั้งสิ้น
พระรัตนตรัย
คือ
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนาทุกคน
เพราะเป็นเสมือนประตูที่จะนำบุคคลเข้าสู่พระพุทธศาสนา
เนื่องจากผู้ที่เข้ามาสู่พระพุทธศาสนาทั้งที่เป็นมนุษย์หรือเทวดา
จะเข้ามาในฐานะภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ต้องเปล่งวาจาเพื่อแสดงความเคารพนับถือบูชา
และศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ว่า พุทฺธํ
สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ, สงฺฆํ สรณํ
คจฺฉามิ, ฯ เป ฯ
เป็นอันดับแรกเสมอ
สรณะ
หมายถึง
การกำจัด, การบีบ, การทำลาย, การนำออก และการดับซึ่งภัย
ความหวาดสะดุ้ง ความทุกข์ ทุคติ และความเศร้าหมอง คือ กิเลส หมายความว่า เมื่อบุคคลมีความเคารพ นับถือ และศรัทธาพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งของตน โดยการปฏิบัติตามพระธรรม จนสามารถทำลายกิเลสมีราคะ โลภ โกรธ หลง เป็นต้น
สรณคมน์
แปลว่า
การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ
หมายถึง ดวงใจที่มีความเลื่อมใส และมีความเคารพในพระรัตนตรัยนั้นว่า
พระรัตนตรัยเป็นของเรา พระรัตนตรัยเป็นผู้นำทางชีวิตของเรา ซึ่งสามารถนำไปสู่การทำลายกิเลสได้
วิธีถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะมี
๕ วิธี คือ
๑. การสมาทาน ตปุสสะและภัลลิกะ
ได้เปล่งวาจาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะว่า เอเต
มยํ ภนฺเต ภควนฺตํ
สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ, อุปาสเก โน
ภควา ธาเรตุ, อชฺชตคฺเค ปาณุเปเต
สรณํ คเต
แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระธรรมว่าเป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะด้วยชีวิต
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
๒. การมอบตนเป็นสาวก เช่น
ปิปผลิมาณพ ได้ออกบวช
ได้พบพระพุทธเจ้า
จึงน้อมกายเข้าไปเฝ้าด้วยความเคารพ พร้อมเปล่งวาจามอบตัวเป็นสาวกว่า สตฺถา เม ภนฺเต
ภควา,
สาวโกหมสฺมิ แปลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นศาสดาของข้าพระองค์
ข้าพระองค์เป็นสาวก
๓. การทุ่มเทความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พรหมายุพราหมณ์
เป็นพราหมณ์ผู้ใหญ่ มีความเชี่ยวชาญในคัมภีร์ไตรเพท
รู้จักศาสตร์ว่าด้วยคดีโลกและมหาปุริสลักษณะ ได้ยินกิตติศัพท์ว่า พระพุทธเจ้าทรงมีมหาปุริสลักษณะครบ
๓๒ ประการ จึงได้ส่งอุตตรมาณพ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของตนไปพิสูจน์ความจริง อุตตรมาณพจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อได้เห็นมหาปุริสลักษณะครบ ๓๒
ประการ
และยังได้เห็นอิริยาบถทั้งปวงของพระพุทธเจ้าแล้ว กลับไปกราบเรียนอุตตรมาณพพรรณนาถึงมหาปุริสลักษณะของพระพุทธเจ้า
ท่านจึง
ประณมมือแล้วเปล่งวาจา ว่า “นโม ตสฺส
ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” ๓ ครั้ง แปลว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๔. การมอบตน เช่น
พระโยคีผู้มีศรัทธา
เป็นผู้ขวนขวายในการเจริญกรรมฐาน
ก่อนจะสมาทานกรรมฐาน
ต้องกล่าวคำมอบตนต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“อิมาหํ
ภนฺเต ภควา อตฺตภาวํ
ตุมฺหากํ ปริจฺจชามิ” แปลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์
ขอสละอัตตภาพร่างกายนี้แก่พระพุทธองค์
๕. ปฏิบัติหน้าที่ของพุทธบริษัท คือ การกำจัดกิเลส
จนทำให้ตนบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
พระสกทาคามี พระอนาคามี
และพระอรหันต์ เหมือนพระอริยสาวกบางท่าน ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้วได้ดวงตาเห็นธรรม
เป็นต้น
การขาดสรณคมน์มีสาเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เพราะความตาย เป็นการขาดสรณคมน์ที่ไม่มีโทษ
คือไม่ทำให้ผู้ขาดสรณคมน์ไปสู่ทุคติภูมิ
๒. เพราะทำร้ายพระศาสดา
เป็นการขาดสรณคมน์ที่มีโทษ คือ เป็นเหตุให้ไปเกิดในนรกภูมิ
๓. เพราะไปนับถือศาสนาอื่น ไม่ปรากฏโทษชัดเจนแต่ก็เป็นเรื่องน่ากลัว เพราะเป็นคนไม่น่าเชื่อถือ เห็นแก่ตัว
สรณคมน์เศร้าหมอง
๑.ความไม่รู้
คือ ไม่ศึกษาเรียนหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา คิดเอง ปฏิบัติเอง
๒.ความสงสัย
คือ มีความสงสัยว่าพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ นรกสวรรค์มีจริงหรือเปล่า
๓.ความไม่เอื้อเฟื้อ
คือ ไม่ประพฤติต่อพระรัตนตรัยด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
๔.ไม่เอื้อเฟื้อในพระสงฆ์ คือ
ด่าว่าพระสงฆ์
อุโบสถศีลมี ๘ สิกขาบท
๑.
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปทํ
สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ
เว้นจากฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
๒. อทินนาทานา เวรมณี
สิกขาปทํ สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท
คือ เว้นจากลักฉ้อของเขาด้วยตนเอง และ ใช้ผู้อื่นให้ลักฉ้อ
๓.
อพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปทํ
สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ
เว้นจากประพฤติ
อสัทธรรม เป็นข้าศึกแก่ พรหมจรรย์
๔. มุสาวาทา เวรมณี
สิกขาปทํ สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ
เว้นจากพูดเท็จคำไม่จริง
ล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น
๕.
สุราเมรยมชชปมาทฏฐานา เวรมณี สิกขาปทํ
สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ
เว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ
ดื่มกินซึ่งน้ำเมาคือสุราและเมรัย
และเครื่องดองที่เป็นของทำใจให้คลั่งไคล้ต่าง ๆ
๖. วิกาลโภชนา เวรมณี
สิกขาปทํ สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ
เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาลคือตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นใหม่
๗.
นจจคีตวาทิตวิสูกทสสนา
มาลาคนธวิเลปนธารณมณฑนวิภูสนฏฐานา
เวรมณี สิกขาปทํ สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ
เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม เครื่องประโคมต่าง ๆ
ดูการเล่นแต่บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่กุศล และลูบทาทัดทรงประดับตกแต่งซึ่งร่างกาย
ด้วยระเบียบดอกไม้และของหอม เครื่องทาเครื่องย้อม ผัดผิวต่าง ๆ
๘.
อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกขาปทํ สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการนั่งนอนบนเตียงตั่ง ที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอนอันใหญ่ และเครื่องปูลาดอันงามวิจิตรต่าง ๆ
วิธีสมาทานอุโบสถศีลระเบียบพิธี
เมื่อถึงวันอุโบสถ ๘ ค่ำ, ๑๔ ค่ำ, หรือ ๑๕ ค่ำ
ผู้รักษาอุโบสถนำภัตตาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัด ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน หรือวัดที่ตนศรัทธาเลื่อมใส หลังจากที่พระสงฆ์ทำวัตรเช้าเสร็จแล้ว พึงเริ่มกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยว่า
ยมหํ
สมฺมาสมฺพุทฺธํ ภควนฺตํ สรณํ คโต(หญิงว่า คตา)
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ตรัสรู้ดีโดยชอบ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พี่ง กำจัดภัยได้จริง
อิมินา
สกฺกาเรน ตํ ภควนฺตํ อภิปูชยามิ
ข้าพเจ้าขอบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยเครื่องสักการะนี้
ยมหํ
สฺวากฺขาตํ ภควตา ธมฺมํ สรณํ คโต(หญิงว่า คตา)
พระธรรมใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง
อิมินา
สกฺกาเรน ตํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ ข้าพเจ้าบูชาซึ่งพระธรรมนั้น ด้วยเครื่องสักการะนี้
ยมหํ
สุปฏิปนฺนํ สงฺฆํ สรณํ คโต (หญิงว่า คตา) พระสงฆ์หมู่ใด
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง
กำจัดภัยได้จริง
อิมินา
สกฺกาเรน ตํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ ข้าพเจ้าบูชาซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเครื่องสักการะนี้
อรหํ
สมฺมาสมฺพุทโธ ภควา พุทธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ (กราบ)
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธมฺมํ นมสฺสามิ (กราบ)
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สงฺฆํ
นมามิ (กราบ) ต่อจากนั้น ผู้เป็นหัวหน้า พึงนั่งคุกเข่าประนมมือ ประกาศคำอุโบสถ ดังนี้
อชฺช โภนฺโต
ปกฺขสฺส อฏฐมีทิวโส (๑๔ ค่ำ ให้ว่า จาตุทฺทสืทิวโส ๑๕
ค่ำ ให้ว่า ปณฺณรสีทิวโส, อมาวสีทิวโส) เอวรูโป โข โภนฺโต ทิวโส พุทฺเธน ภควตา
ปญฺญตฺตสฺส ธมฺมสฺสวนสฺส เจว
ตทตฺถาย อุปาสกอุปาสิกานํ อุโปสถกมฺมสฺส จ กาโล โหติ ฯ
หนฺท
มยํ โภนฺโต สพฺเพ อิธ
สมาคตา ตสฺส ภควโต ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติยา ปูชนตฺถาย
อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ
ทิวสํ อุโปสถํ อุปวสิสฺสามาติ กาลปริจฺเฉทํ
กตฺวา ตํ ตํ
เวรมณี อารมฺมณํ กริตฺวา
อวิกฺขิตฺตจิตตา
หุตฺวา สกฺกจฺจํ อุโปสถงฺคานิ
สมาทิเยยฺยาม อีทิสํ หิ
อุโปสถกาลํ สมฺปตฺตานํ อมฺหากํ
ชีวิตํ มา นิรตฺถกํ โหตุ ฯ
ข้าพเจ้าขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะได้สมาทานรักษาอุโบสถตามกาลสมัยพร้อมด้วยองค์๘ประการ
ให้สาธุชนที่จะตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกัน
ก่อนแต่จะสมาทาน ณ บัดนี้
ด้วยวันนี้ เป็นวันอัฏฐมี
ดิถีที่ ๘ (วันจาตุททสี
ดิถีที่ ๑๔ วันปัณณรสี, วันอมาวสี ดิถีที่ ๑๕) แห่งปักษ์มาถึงแล้ว ก็แลวันเช่นนี้ เป็นกาลที่จะฟังธรรมและทำการรักษาอุโบสถ เพื่อประโยชน์แห่งการฟังธรรม บัดนี้ขอกุศลอันยิ่งใหญ่ คือตั้งจิตสมาทานอุโบสถ จงเกิดมีแก่เราทั้งหลาย บรรดามาประชุม
ณ ที่นี้ เราทั้งหลายพึงมีจิตยินดีว่าจะรักษาอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ สิ้นวันหนึ่งคืนหนึ่ง ณ
เวลาวันนี้แล้ว
จงตั้งจิตคิดงดเว้นไกลจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คือ
ฆ่าสัตว์เองและใช้ให้คนอื่นฆ่า ๑
เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
คือลักและฉ้อและใช้ให้ลักและฉ้อ ๑
เว้นจากอพรหมจรรย์ ๑
เว้นจากพูดคำเท็จ คำไม่จริง และล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น ๑ เว้นจากดื่มกินสุราเมรัย สารพัดน้ำกลั่นน้ำดอง อันเป็นของให้ผู้อื่นดื่มแล้วเมา ซึ่งเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ เว้นจากบริโภคในเวลาวิกาล ตั้งแต่พระอาทิตย์เที่ยงแล้ว ไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นใหม่ ๑ เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมดนตรี และดูการเล่นทุกชนิดที่เป็นข้าศึกแก่กุศล และทัดทรงระเบียบดอกไม้ ลูบไล้ทาตัวด้วยของหอม เครื่องย้อมเครื่องแต่ง
และประดับร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์วิจิตรงดงามต่าง ๆ ๑ เว้นจากนั่งนอนเหนือที่นั่งที่นอนอันสูง มีเตียงตั่งเท้าสูงกว่าประมาณ และที่นั่งที่นอนอันใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี
และเครื่องลาดอันวิจิตรงดงาม ๑
จงทำความเว้นองค์ที่จะพึงเว้น ๘ ประการนี้เป็นอารมณ์ อย่ามีจิตฟุ้งซ่านส่งไปที่อื่น จงสมาทานองค์อุโบสถ ๘
ประการนี้โดยเคารพเถิด เพื่อบูชาพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้านั้น
ด้วยข้อปฏิบัติอย่างยิ่ง ตามกำลังของเราทั้งหลาย
ซึ่งเป็นคฤหัสถ์
ชีวิตแห่งเราทั้งหลายเป็นมาถึงวันอุโบสถนี้ จงอย่าล่วงไปปราศจากประโยชน์เลย
ต่อจากนั้น
พึงกล่าวคำอาราธนาอุโบสถศีลพร้อมกั ดังนี้
มยํ ภนฺเต
ติสรเณน สห อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ อุโบสถํ
ยาจาม (ว่า ๓ จบ)
เสร็จแล้ว
พึงตั้งใจรับสรณคมน์และอุโบสถศีลโดยเคารพ
โดยว่าตามคำที่พระสงฆ์บอก ดังนี้
นโม
ตสฺส ภควโต อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (ว่า ๓ จบ)
พุทฺธํ
สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ ตติยมฺปิ สงฆํ
สรณํ คจฺฉามิ ฯ
เมื่อพระสงฆ์ว่า ติสรณคมนํ
นิฏฐิตํ พึงรับพร้อมกันว่า อาม
ภนฺเต ต่อจากนั้น พึงรับอุโบสถศีลทั้ง ๘
ข้อ ดังกล่าวไว้แล้วข้างต้นต่อไป
เมื่อรับศีลจบแล้ว พึงกล่าวตามพระสงฆ์ว่า อิมํ อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ, พุทฺธปญฺญตฺตํ อุโปสถํ, อิมญฺจ รตฺตึ
อิมญฺจ ทิวสํ, สมฺมเทว อภิรกฺขิตํ สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถ, ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้,
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้, เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ขาดไม่ให้ทำลาย, ตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้
พระสงฆ์บอกต่อว่า อิมานิ อฏฺฐ
สิกฺขาปทานิ อชฺเชกํ อุโปสถวเสน สาธุกํ รกฺขิตพฺพานิ
ให้รับพร้อมกับว่า อาม ภนฺเต และพระสงฆ์จะบอกอานิสงส์ของศีลต่อไป
ดังนี้
สีเลน สุคติ
ยนฺติ, สีเลน
โภคสมฺปทา, สีเลน
นิพฺพุติ ยนฺติ, ตสฺมา สีลํ
วิโสธเย ฯ
จบพิธีสมาทานอุโบสถศีลเพียงเท่านี้ ต่อจากนั้น
พึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาหรือมนสิการกรรมฐานต่อไป เมื่อรักษาครบเวลาวันหนึ่งกับคืนหนึ่งแล้วการสมาทานก็สิ้นสุดลง
อานิสงส์ของอุโบสถศีล
ศีลทุกประเภทที่บุคคลรักษาด้วยจิตศรัทธา
ด้วยการสมาทาน หรือการงดเว้นเฉพาะหน้าก็ตาม ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก
มีความเจริญแผ่ไพศาลมาก เพราะศีลนั้น
สามารถสร้างสวรรค์ สร้างความเสมอภาค และสร้างความปลอดภัยให้แก่มนุษย์ได้
ศีลสร้างสวรรค์แก่มนุษย์
ศีลสามารถสร้างสวรรค์แก่มนุษย์ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องนี้แก่นางวิสาขาว่า
ดูก่อนวิสาขา
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันบุคคลเข้าจำแล้ว ย่อมมีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความเจริญแผ่ไพศาลมาก
ดูก่อนวิสาขา การที่สตรี หรือบุรุษบางคนในโลกนี้
เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
หลังจากเขาแตกกายทำลายขันธ์แล้ว
พึงได้อยู่ร่วมกับชาวสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา ชั้นดาวดึงส์
ชั้นมายา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี
และชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
ข้อนั้นย่อมเป็นไปได้แน่นอน
ศีลนั้นสร้างความเสมอภาคแก่มนุษย์ได้
ศีลสร้างความเสมอภาคแก่มนุษย์ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องนี้กับวาเสฎฐะว่า
ดูก่อนวาเสฏฐะ
แม้ถ้ากษัตริย์ทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย แพศย์ทั้งหลาย และศูทรทั้งหลาย
พึงเข้าจำอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
การเข้าจำนั้น
พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุข แก่กษัตริย์ แก่พราหมณ์ แก่แพศย์ และแก่ศูทรทั้งหลายเหล่านั้น ชั่วกาลนาน
ศีลสร้างความปลอดภัยแก่มนุษย์
ศีลสร้างความปลอดภัยแก่มนุษย์ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในอภิสันทสูตรว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในศาสนานี้ ละปาณาติบาต
เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต
ละอทินนาทาน ละกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ละมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท
ละสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
เป็นผู้เว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
ชื่อว่า เขาได้ให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร
และความไม่เบียดเบียน
แก่สัตว์ทั้งหลาย หาประมาณมิได้ ตัวเขาเองก็ย่อมมีส่วน (ได้รับ)
ความไม่มีภัย
ความไม่มีเวร
และความไม่ถูกเบียดเบียนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น