แบบฟอร์มการเขียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
ธรรมศึกษาชั้นโท
เลขที่…….
ประโยคนักธรรมชั้น………
วิชา……………………………….
สอบในสนามหลวง
วันที่…….เดือน…………………..พ.ศ……………
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
บัดนี้จักได้บรรยายขยายความตามธรรมภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ
เบื้องต้น
เพื่อเป็นแนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติของสาธุชนผู้ใคร่ในธรรมสืบไป
อธิบายความว่า (หรือใช้ “อธิบายว่า,ดำเนินความว่า” ก็ได้)...................................................
.....................................................................................................................................................
....................................................นี้สมด้วยภาษิตที่มาใน....................................ความว่า
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
อธิบายความว่า (หรือใช้ “อธิบายว่า,ดำเนินความว่า” ก็ได้)...................................................
.....................................................................................................................................................
....................................................นี้สมด้วยภาษิตที่มาใน....................................ความว่า
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
อธิบายความว่า (หรือใช้ “อธิบายว่า,ดำเนินความว่า”
ก็ได้)....................................................
......................................................................................................................................................
สรุปความว่า (หรือใช้ “รวมความว่า,ประมวลความว่า” ก็ได้)...................................................
......................................................................................................................................................
สมด้วยภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ
เบื้องต้นว่า
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
มีอรรถาธิบายดังได้พรรณามาด้วยประการฉะนี้
---------------------------------------------------------------------------------
**(ต้องเขียนให้ได้อย่างน้อย ๓ หน้าขึ้นไป)
** (ต้องมีกระทู้มารับ ๒ กระทู้)
ส่วนต่างๆ ของโครงร่างกระทู้ ๑. การเขียนหัวกระดาษ ๒. กระทู้ตั้ง
๓. คำนำและเนื้อเรื่องและ ๔. กรทู้รับ
๕. สรุปความกระทู้ ๖. กระทู้ตั้ง
แนวการให้คะแนน วิชากระทู้ธรรม นักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี
(๑) แต่งได้ตามกฏ ( เขียนให้ได้ความยาว ๒ หน้ากระดาษขึ้นไป เว้นบรรทัด)
(๒) อ้างกระทู้ได้ตามกฏ (กระทู้รับ ๑ ข้อ และบอกชื่อที่มาของกระทู้รับด้วย)
(๓) เชื่อมกระทู้ได้ดี (อธิบายกระทู้ตั้งกับกระทู้รับ ให้มีเนื้อความสัมพันธ์กันสมกับที่ยกกระทู้รับมาอ้าง)
(๔) อธิบายความสมกับกระทู้ที่ตั้งไว้ (อธิบายไม่หลุดประเด็นของกระทู้ตั้ง)
(๕) ใช้สำนวนสุภาพเรียบร้อย
(๖) สะกดคำ/การันต์ ถูกเป็นส่วนมาก
(๗) สะอาดไม่เปรอะเปื้อน
พุทธศาสนสุภาษิต
ธรรมโท
อัตตวรรค หมวดตน
๑)อตฺตทตฺถํ
ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปสุโตสิยา
บุคคลไม่ควรพล่าประโยชน์ของตน
เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก ,รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน (ที่มา
: ขุททกนิกาย ธรรมบท)
๒)อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรายถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต
ทเมถ อตฺตา
หิ กิร ทุทฺทโม.
ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด
พึงทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว
ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่า ตนแลฝึกยาก
(ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
๓)อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน
สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
กัมมวรรค คือ หมวดกรรม
๑)อติสีตํ อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ
อิติ
วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว.
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.
(ที่มา :ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคคะ)
๒)อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ
ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม
ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้.
(ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
๓)ยาทิสํ วปเต
พีชํ ตาทิสํ ลภเต
ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี
จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด
ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำธรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
(ที่มา
: สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)
๔)โย ปุพฺเพ
กรณียานิ ปจฺฉา โส
กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว
ส ปจฺฉา
อนุตปฺปติ
ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อน
ในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ(ผู้ประมาทแล้วรีบ)หักไม้กุ่มฉะนั้น
(ที่มา
:ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต)
๕)โย ปุพฺเพ
กตกลฺยาโณ กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ
อตฺถา ตสฺส
ปวฑฺฒนฺติ เย โหนฺติ
อภิปตฺถิตา
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี
ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อมสำนึก (คุณของเขา)ได้
ประโยชน์ที่ผู้นนั้นปรารถนาย่อมเจริญ
(ที่มา : ขุททกนิกาย
ชาดก สัตตกนิบาต)
ขันติวรรค คือ หมวดอดทน
๑)อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ
มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ
ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน.
(ที่มา :สวดมนต์ฉบับหลวง)
๒)เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนติ ขนฺติโก.
ขันติ
ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดราก
แห่งความติเตียนและการทะเลาะกันเป็นต้นได้.
(ที่มา :สวดมนต์ฉบับหลวง)
๓)ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา
ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา
มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ, ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
(ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง)
๔)สตฺถุโน วจโนวาทํ
กโรติเยว ขนฺติโก
ปรมาย จ
ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา,
และผู้มีขันติชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง (ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง)
๕)สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ
เต
ขันติเป็นประธาน
เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ, กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น
(ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง)
ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
๑)อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิพทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส
วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ.
คนผู้สดับน้อยนี้
ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่
อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ.
(ที่มา :ขุททกนิกาย ธัมมปท )
๒)ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา
ปญฺญาย จ อลาเภน วิตฺตวาปิ น ชีวติ.
ถึงสิ้นทรัพย์
ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้
แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้.
(ที่มา :ขุททกนิกาย เถรคาถา)
๓)ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน วิธานวิธิโกวิโท
กาลญฺญู สมยญฺญู
จ ส ราชวสตึ
วเส
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้
ฉลาดในวิธีจัดการงาน รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้
(ที่มา : ขุททกนิกาย
ชาดก มหาวรรค)
๔)มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ
สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ
ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ
สุขํ
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์
ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย(ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
๕)ยสํ ลทฺธาน
ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ
อตฺตโน
อตฺตโน จ
ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ
คนมีปัญญาทราม
ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
(ที่มา : ขุททกนิกาย ชาดก
เอกนิบาต)
๖)ยาวเทว อนตฺถาย
ญตฺตํ พาลสฺส
ชายติ
หนฺติ พาลสฺส
สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส
วิปาตยํ
ความรู้เกิดแก่คนพาล
ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย,
มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
(ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑)อสนฺเต นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ.
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ
พึงคบสัตบุรุษ
เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก
สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
(ที่มา : ขุททกนิกายข ชาดก วีสตินิปาต)
๒)ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา.
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด
การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น.
(ที่มา :ขุททกนิกายข ชาดก วีสตินิปาต)
๓)น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ
โคธากุลํ กกณฺฏาว
กลึ ปาเปติ
อตฺตานํ
ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้, เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ
เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น
(ที่มา :ขุททกนิกาย
ชาดก เอกนิบาต)
๔)ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล
โอวาเท จสฺส
ติฏฺเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจลํ
สุขํ
ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง
พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
(ที่มา : ขุททกนิกาย เถรคาถา)
ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม
ตัวอย่างที่
๑
อัตตวรรค - หมวดตน
อตฺตทตฺถํ
ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺาย สทตฺถปสุโต สิยา
บุคคลไม่ควรพร่าประโยชน์ของตน
เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์ของตนดีแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน
บัดนี้จักได้อธิบายขยายความตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นบทเบื้องต้นนั้น
เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและแนวทางแห่งการปฏิบัติธรรม
ของสาธุชนทั้งหลายเป็นลำดับไป
ดำเนินความว่า
ในโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี คือไม่มีใครที่ได้อย่างเดียวหรือเสียอย่างเดียว
เมื่อมีบุคคลหนึ่งได้สิ่งหนึ่งมา ก็ต้องมีบุคคลหนึ่งเสียสิ่งหนึ่งไป
เพียงแต่ว่าการได้หรือการเสียนั้นจะแสดงออกในรูปแบบใด
บางครั้งการเสียก็มองเห็นชัดเช่น อายุที่หมดไปทุกปี ๆ
และบางครั้งการได้ก็ปรากฏชัดเช่นกัน เช่น ร่างกายเราเติบโตขึ้นทุกปี ๆ
การสูญเสียหรือการได้นี้ มักขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน
ทีนี้ในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคนร่วมโลกกับคนอื่น ๆ
การหาประโยชน์ใส่ตนถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชาวโลก เพราะใคร ๆ ก็รักตัวเอง
กลัวตัวเองจะประสบความลำบากทั้งนั้น หากมีสิ่งใดที่จะทำให้ตัวเองเกิดความสะดวกสบายได้ก็ขวนขวายทำทั้งนั้น
ยิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโลกหน้า บุญกุศล เราก็ยิ่งต้องทำเอาเองหมด
เพราะเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
คนทุกคนเกิดมาล้วนมีกรรมดีและกรรมชั่วเป็นของตนเอง
หากเราจะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นบ้าง ก็ต่อเมื่อเราทำให้เขาแล้วเราไม่เดือดร้อน
ไม่เป็นทุกข์ เช่นแบ่งปันสิ่งของหรือช่วยงานคนอื่นเท่าที่เราช่วยได้
แต่จะให้ช่วยทั้งหมดโดยที่เราต้องทนลำบากคงไม่ได้ ไม่เช่นนั้น
อาจเข้าข่ายคำพูดที่ท่านผู้รู้เคยพูดไว้ว่า เอ็นดูเขา เอ็นเราขาด
เพราะฉะนั้นการที่เราจะช่วยเหลือใคร ต้องรู้จักประมาณความสามารถและกำลังของตัวเองให้ชัดเจนเสียก่อน
เรียกว่ารู้จักสอนตัวเอง และให้ถือเสียว่าในขณะที่เราช่วยเหลือคนอื่นนั้น
นั่นคือการพัฒนาตัวเราเองด้วย เมื่อตัวเราพัฒนาเต็มที่แล้ว
การช่วยเหลือผู้อื่นก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เหมือนคนที่มีทรัพย์มากแล้ว จะแจกจ่ายให้ใครตนเองก็ไม่ทุกข์ร้อน
สมดังพุทธภาษิตที่มาในขุททกนิกาย ธรรมบทว่า
อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด
พึงทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว
ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่า ตนแลฝึกยาก
การสอนผู้อื่น
ไม่ว่าจะเป็นการสอนด้วยการทำให้ดูก็ตาม หรือการสอนด้วยการขีดเขียน
สาธยายให้ฟังก็ตาม หากเราสอนเขาอย่างไร เราก็ควรทำตามในสิ่งที่เราสอนเข้าด้วย เช่น
สอนว่าอย่าพูดคำหยาบ อย่าใช้อารมณ์เวลาคุยกัน อย่าลำเอียง ไม่เช่นนั้น
คนที่ถูกเราสอนเขาก็จะไม่เชื่อฟัง เพราะเขาเห็นว่า คนที่สอนปากกับพฤติกรรมไม่ตรงกัน
เรียกว่า มีแต่ความรู้ แต่การปฏิบัติไม่เป็นไปอย่างที่พูด หรือเข้าทำนองที่ว่า
ปากว่าตาขยิบ ซึ่งตรงกับประเด็นที่ว่า เราสอนผู้อื่นให้มีความรู้มาก
ทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แต่เราไม่ได้ปฏิบัติหรือทำตามคำที่เราพูดเลย
นั่นหมายความว่า เราไม่ได้ทำประโยชน์ให้กับตัวเอง
เพราะมัวแต่สอนให้ผู้อื่นให้มีความรู้ การสอนที่ดีต้องเป็นการสอนตัวเองไปในตัวด้วย
แม้จะเน้นคนที่เราสอนเป็นหลักก็ตาม
เพราะคนที่สอนคนอื่นก็ยังคงต้องศึกษาเรียนรู้สิ่งที่มีนอกความรู้ตนเหมือนกัน
แต่คนส่วนมาก พอถูกยกให้เป็นคนที่สอนคนอื่นได้แล้ว มักจะลืมตัวเอง
คิดว่าตัวเองรู้ดีที่สุด คนอื่นต้องฟังเรา
เพราะเราเป็นครูเป็นผู้ที่คนอื่นควรมาศึกษาหรือมาเรียนรู้ด้วย
เมื่อผู้สอนไม่คำนึงถึงตัวเอง ตัวเองจึงกลายเป็นคนที่สอนยากที่สุด
เพราะตัวเองยังสอนตัวเองไม่ได้เลย สมดังพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งที่มาในขุททกนิกาย
ธรรมบทว่า
อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน
สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง
ขยายความว่า ก่อนที่จะสอนคนอื่น
บุคคลที่เรียกว่า บัณฑิต ต้องพิจารณาตัวเองก่อนว่ามีคุณสมบัติอันสมควรเหมาะแก่การเป็นผู้ที่จะสอนคนอื่นหรือไม่
เช่น เรื่องคุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์ชีวิต ความชำนาญในวิชาที่จะสอน
หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสม
โดยเฉพาะกิริยามารยาทหรือจรรยาบรรณของการเป็นผู้สอนคนอื่นเป็นเรื่องสำคัญมาก
หากเรามีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วน การสอนผู้อื่นก็ไม่เป็นอุปสรรคอะไร คือ
ก่อนที่จะสอน
คนที่จะรับการสอนก็จะรู้สึกไว้วางใจและให้ความเชื่อถือในความรู้ความสามารถ
ขณะที่สอน ผู้ที่รับการสอนก็มีความสนุกสนาน เข้าใจและสนใจในกระบวนการสอน
เอาธุระการงานในสิ่งที่ผู้สอนมอบหมาย เมื่อสอนแล้ว ผู้รับการสอนก็ภูมิใจในความรู้ที่ตนได้รับว่าสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริงและยังสามารถนำไปเผยแผ่ให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย
พอมีคนถามว่าจบมาจากสถาบันไหน หรือครูที่ให้ความรู้วิชานี้ชื่ออะไร
ก็สามารถที่จะแนะนำหรือบอกกล่าวได้อย่างชัดแจ้ง ด้วยความภูมิใจ
รวมความว่า
มนุษย์ทุกคนล้วนเกิดมาเพื่อทำประโยชน์แก่ตนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร
ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่มหรือสิ่งของอื่น ๆ
ที่เหมาะสมแก่ยุคสมัยและความจำเป็นที่ต้องใช้ แต่การที่เราอยู่ในสังคม
จึงมีงานหรือกิจกรรมบางอย่างที่เราต้องทำเพื่อผู้อื่นด้วย
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถให้การช่วยเหลือได้มากน้อยแค่ไหน
ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน
คนที่มีโอกาสช่วยคนอื่นได้มากจึงมักเป็นคนที่ชีวิตตัวเองไม่ค่อยทุกข์ยากหรือลำบากนัก
หรือแม้จะช่วยก็ไม่ควรทำจนตัวเองต้องเดือดร้อน
แต่ต้องเป็นการช่วยที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีความสุข การที่เราต้องช่วยคนอื่น
เพราะคนเราส่วนมากจะไม่ค่อยมองตัวเอง คือคอยแต่สอนหรือช่วยเหลือคนอื่น
แต่ลืมความดื้อรั้นของตัวเอง เมื่อใดก็ตามที่เราสอนตัวเองได้แล้ว
การสอนผู้อื่นก็เป็นเรื่องไม่ยากเย็นนัก เพราะตัวเองเป็นคนที่สอนยากที่สุด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีคุณสมบัติเหมาะแก่การเป็นผู้สอนคนอื่นหรือไม่
หากเราไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ มีความรู้
แต่ไม่มีคุณธรรมหรือมีนิสัยที่ไม่น่าเลื่อมใส ไม่ทำตามสิ่งที่สอนผู้อื่น
การสอนของเราก็อาจได้รับการติเตียนได้
และนั่นถือว่าเป็นการทำร้ายประโยชน์ตนสมดังพุทธสุภาษิตที่ยกไว้ ณ เบื้องต้นว่า
อตฺตทตฺถํ
ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาเย
อตฺตทตฺถมภิญฺาย สทตฺถปสุโต สิยา
บุคคลไม่ควรพร่าประโยชน์ของตน
เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์ของตนดีแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน
มีเนื้อความดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้
ฯ
กัมมวรรค – หมวดกรรม
อติสีตํ
อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ
อิติ วิสฺสฎฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยบุคคลผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่า
หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
บัดนี้จักได้อธิบายขยายความตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นบทเบื้องต้นนั้น
เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและแนวทางแห่งการปฏิบัติธรรม
ของสาธุชนทั้งหลายเป็นลำดับไป
ดำเนินความว่า
งานที่เราทำทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นงานส่วนตัวหรืองานส่วนรวม
ล้วนแต่มีเรื่องของประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น
ประโยชน์บางอย่างก็เป็นประโยชน์ที่เรารับได้โดยตรง เช่น
ช่วยเพื่อนทำงานเราก็ได้ความเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน
ประโยชน์บางอย่างก็เป็นประโยชน์ทางอ้อม เช่น ช่วยเพื่อนทำงานที่รีบเร่งต้องทำ
ในอนาคตเพื่อนก็อาจจะมาช่วยทำงานเราโดยที่เราไม่คาดคิดได้
ซึ่งประโยชน์แบบนี้กว่าจะได้รับเห็นผลชัดเจนอาจต้องใช้เวลานาน หรือบางทีประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่เราเคยช่วยเพื่อนก็ได้
แต่เมื่อใดก็ตามถ้าเราผลัดวันประกันพรุ่ง
ไม่รีบช่วยเหลืองานเพื่อนที่เขาต้องการให้เราช่วยโดยเร่งด่วนโดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ
นานา เราอาจเสียเพื่อนไปอีกคนหนึ่งก็ได้ หรือเมื่อเราได้รับมอบหมายให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ได้กำหนดเวลาชัดเจน
ด้วยนิสัยเดิม ๆ ของการเป็นคนที่ยังมีกิเลส เราจึงมักอู้งาน
เอางานสะสมกันไว้จนเป็นดินพอกหางหมู สรรหาคำอ้างให้ตัวเองไม่ให้ทำงานเสมอ ๆ เช่น
ร้อนเกินไป ไม่มีอารมณ์ทำงาน หนาวเกินไป ลุกไปทำงานไม่ไหว หรือวันนี้เย็นแล้ว เอาไว้พรุ่งนี้ค่อยทำก็แล้วกัน
เมื่อเราอ้างมาก ๆ เข้า นอกจากเราจะไม่มีผลงาน ไม่ได้รับประโยชน์จากงานแล้ว
ยังทำให้เราเสียนิสัยที่ดีงาม เอาการเอางานด้วย และแทนที่ชีวิตจะก้าวหน้ามีความสุข
กลับหยุดนิ่ง ดีไม่ดียังถอยหลังเข้าคลองซ้ำเข้าไปอีก ทำให้เกิดความพะวงและเป็นทุกข์กับงานที่ยังไม่เสร็จ
ยิ่งเมื่องานถูกเร่ง ก็ยิ่งมีความทุกข์มากขึ้นตามงานที่ดองไว้ไม่ยอมเร่งรีบทำ
สมดังพุทธภาษิตที่มาในสังยุตตนิกาย สคาถวรรคว่า
ยาทิสํ
วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี
กลฺยาณํ ปาปการี
จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด
ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
ขยายความว่า
ทุกอย่างที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นการพูด การแสดงออกทางกายหรือเพียงแค่ความคิด
ก็ถือว่าเราได้ทำกรรมแล้ว ส่วนจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วนั้น
อยู่ที่ว่าเรามีเจตนาอย่างไร กรรมดีหรือกรรมชั่วจะหนักหรือเบาก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความพยายามมากแค่ไหน
เช่น ถ้าเราพยามฆ่าช้างให้ตาย กว่าจะตายต้องใช้เวลานาน เราก็ถือว่ามีกรรมชั่วหนัก
ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราเตรียมของทำบุญอย่างประณีตและใช้เวลาในการเตรียมนาน
พอทำบุญเสร็จ เราก็ถือว่ามีกรรมดีหนัก คือได้รับบุญมากนั่นเอง หรือเผอิญเราตบยุงที่กำลังดูดเลือดเราบริเวณท่อนแขนตาย
เราก็ถือว่ามีกรรมชั่วเบา เพราะไม่ได้ใช้ความพยายามมาก
และถ้าเราเห็นพระเดินบิณฑบาตมา เราล้วงเงินออกมาใส่บาตรทันที
เราก็ชื่อว่ามีกรรมดีเบา เพราะคิดได้ก็ทำทันที ไม่ได้ใช้เวลาในการตระเตรียมมาก
ผลที่ได้จากการทำกรรมทั้ง ๒ ประเภท คือกรรมดีและกรรมชั่วนี้
ทำให้เราทั้งมีสุขใจและทุกข์ใจ
เหมือนปลูกมะม่วง ก็ได้ผลคือผลมะม่วงนั่นเอง ปลูกต้นหมามุ่ย
ก็ได้ต้นหมามุ่ย ทั้งนี้ เพราะก่อนที่ผลกรรมจะส่งผลแก่เราในรูปแบบอื่น
ก็จะส่งผลต่อใจเราเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นจึงส่งผลตามมาในรูปแบบต่าง ๆ
ที่เหมาะสม สมดังพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งที่มาในขุททกนิกาย ชาดก ปัญญาสนิบาตว่า
สเจ
ปุพฺพกตเหตุ สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ
กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
ถ้าประสพสุขทุกข์
เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนแล้วเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้
ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น
ขยายความว่า
คนที่ประสบทุกข์คือมีความลำบากต่าง ๆ ทางกาย เช่น
ร่างกายเป็นโรคเรื้อรังหรือร่างกายบางส่วนพิการ ทางวาจา เช่น
พูดออกไปแล้วไม่มีใครเชื่อฟังหรือทำตาม และทางใจ เช่น
อาการที่ใจเร่าร้อนเพราะประสบกับสิ่งที่ไม่ถูกใจ สิ่งเหล่านี้เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ก่อนเป็นกรรมไม่ดีหรือเรียกว่าทำบาปไว้
ส่วนคนที่ประสบความสุขทางกาย เช่น ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรค ทางวาจา เช่น
คำพูดศักดิสิทธิ์ พูดแล้วใคร ๆ ก็เกรงใจและเชื่อฟังคำสั่งสอนโดยเคร่งครัด และทางใจ
เช่น เบิกบานใจในการได้ให้ทานที่ประณีตแก่นักบวชและบริจาคสิ่งของแก่ผู้อื่นที่มีความจำเป็นต้องใช้
หากพิจารณาให้ชัดจะเห็นว่าเป็นผลที่เราได้รับไม่ว่าจะเป็นความสุขหรือความทุกข์
ซึ่งล้วนเกิดเหตุที่เราทำไว้ก่อนทั้งสิ้น ถ้าเราทำเหตุไว้ดีเราก็ประสบสุข
แต่ถ้าเราทำเหตุไว้ไม่ดี เราก็ประสบทุกข์ และความสุขความทุกข์ที่เราประสบนี่เองถือว่าเราได้เปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้
เพราะตามหลักพุทธศาสนาแล้ว บุญบาปก็ยังจัดเป็นบาปประการหนึ่ง
เพราะต้องมีการส่งผลและรับผล ไม่เหมือนการเป็นพระอรหันต์ที่อยู่เหนือบุญบาป
การทำทุกอย่าง ก็ทำเพื่อผู้อื่น
และไม่มีความรู้สึกว่างานที่ทำต้องเป็นผลงานของตนอีกด้วย
สรุปความว่า
เมื่อเราจะทำงานใดหรือได้รับมอบหมายงานจากผู้ใด
เราก็ควรที่จะรีบทำงานนั้นให้เสร็จทันที
อย่ามัวผลัดวันประกันพรุ่งหรือหาข้ออ้างต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการกิเลสของตนเอง
เช่น ร้อนเกินไป หนาวเกินไป เย็นแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยทำ
เพราะความคิดหรือการทำแบบนี้ ทำให้เราสูญเสียประโยชน์ที่จะได้จากงานของเราเอง
ถ้างานเราไม่เสร็จเราก็อาจถูกตำหนิ แต่ถ้างานเสร็จ
เราก็จะได้รับความไว้วางใจจากคนที่มอบงานให้ทำ
อันถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการกระทำของเรา
หรือเกิดจากการทำกรรมดีของเรานั่นเอง ถ้าเป็นกรรมชั่วก็จะได้ผลไปทางตรงข้าม
ตราบใดที่เรายังไม่หมดกิเลส เราก็ไม่อาจหนีพ้นกรรมดีและกรรมไม่ดีที่เราทำไว้ได้
อย่างไรก็ตาม มองในแง่หนึ่ง การที่เราต้องประสบความทุกข์อันเกิดจากรรมที่ไม่ดี
หรือประสบกับความสุขเนื่องจากเราได้ทำกรรมดีไว้นั้น
ถือว่าเราได้เปลื้องบาปที่เราได้ทำไว้ในระดับหนึ่งเช่นเดียวกัน
เพราะการกระทำของมนุษย์ทั่วไปล้วนเนื่องด้วยบุญบาป ทั้งนี้
ยกเว้นแต่คนที่บรรลุเป็นพระอรหันต์เท่านั้น
เนื่องจากชีวิตที่เหลืออยู่ของผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์นั้น
เป็นชีวิตของการทำงานเพื่อผู้อื่นเพียงประการเดียว สมดังพุทธสุภาษิตที่ยกไว้ ณ
เบื้องต้นว่า
อติสีตํ
อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ
อิติ
วิสฺสฎฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยบุคคลผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่า
หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
มีอรรถาธิบายดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้แล
ฯ
ขันติวรรค –
หมวดอดทน
อตฺตโน
จ ปเรสฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคม มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ
ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ย่อมนำประโยชน์มาทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น ผู้มีขันติชื่อว่า
เป็นผู้ขึ้นสู่ทางเป็นที่ไปสวรรค์และนิพพาน
บัดนี้จะได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมภาษิตที่ลิขิตไว้
ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติ
สำหรับผู้สนใจในทางธรรมเป็นลำดับไป
ในธรรมภาษิตนี้มีข้อความเป็น ๓ ประเด็น
คือ ๑. กล่าวถึงบุคคลผู้มีขันติ ๒. สรรเสริญผู้มีขันติว่าเป็นผู้นำประโยชน์คือความสุขความเจริญมาให้ทั้งแก่ตนและผู้อื่น
๓. ผู้มีขันติมีโอกาสได้ไปสู่สวรรค์ตลอดถึงพระนิพพาน. ประเด็นแรกเป็นเหตุของ ๒
ประเด็นหลัง, ๒ ประเด็นหลังเป็นผลของประเด็นแรก, ดังจะแยกขยายอธิบายเนื้อความเป็นข้อ ๆ
ต่อไปนี้ :-
บรรดาประเด็นทั้ง ๓
นั้น เฉพาะประเด็นที่ ๑ ท่านกล่าวถึงบุคคลผู้มีขันติ คือผู้ตั้งอยู่ในขันติธรรมนั่นเอง
ก็คำว่าขันติธรรม ธรรมคือขันตินั้นแปลว่าความอดทน
หมายถึงอดกลั้นต่อหนาวร้อนหิวกระหายเป็นต้น เรียกว่า “ทนตรากตรำ” เพราะคนเราเกิดมาจำต้องประกอบกรณียกิจตากแดดตรำฝนทนหิวกระหายเป็นต้นเพื่อการครองชีพ
๑ ต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวมาไม่ดี เรียกว่า
“ทนกระทบกระทั่ง
หรือ ทนเจ็บใจ” เพราะธรรมดามนุษย์ผู้อยู่รวมกันเป็นหมู่
ย่อมจะมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง
อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจ็บช้ำน้ำใจ, จำต้องอดทน
ให้อภัยแก่กัน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ๑ และต่อทุกขเวทนาที่หยาบช้ากล้าแข็งอันเกิดในสรีระซึ่งให้เกิดความไม่สำราญบานใจจนถึงขนาดปลิดชีวิตเสียได้
เรียกว่า “ทนลำบาก” เพราะธรรมดาร่างกายต้องตากแดดตากฝนเป็นต้น
ย่อมจะเกิดการเจ็บไข้ได้ทุกข์ขึ้นบ้าง จึงจำต้องอดทน
ไม่ทุรนทุรายต่อทุกขเวทนาจนเกินไปเพื่อสะดวกแก่การพยาบาล ๑ ขันติทั้ง ๓ นี้มีอธิวาสนะความยังให้อยู่ทับเป็นลักษณะ
คือ ไม่แสดงกายวิการเป็นต้นให้ปรากฏในเมื่อกระทบหนาวร้อนเป็นต้น จึงเรียกว่าอธิวาสนขันติ
ความอดทนด้วยการยับยั้งและยังมีขันติที่สูงขึ้นไปกว่านี้อีก เรียกว่า “ตีติกขาขันติ” ขันติคือความทนทานต่ออารมณ์ที่มายั่วต่าง
ๆ อันนี้จัดเป็นขันติชั้นสูง เพราะหมายถึงขันติทางจิตใจที่แข็งแกร่ง
ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ที่มายั่วให้ชอบก็ตามให้ชังก็ตามให้หลงก็ตาม
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพระขันติอย่างนี้
ดังที่ทรงปรารภถึงพระองค์เองเปรียบเทียบให้พระอานนท์ฟัง แปลความว่า
เราทนทานคำล่วงเกินได้
เหมือนอย่างช้างศึกที่ทนทานลูกศรซึ่งตกจากแล่งมาต้องกายในสนามรบ
เพราะว่าคนส่วนมากเป็นผู้ทุศีลดังนี้.
ก็แล ขันติซึ่งประการดังกล่าวมานี้แหละจัดเป็นประธาน
เป็นตัวเหตุให้คุณธรรมอื่น ๆ บังเกิดและเจริญขึ้นตาม ๆ กัน
สมดังพุทธสุภาษิตที่มาในสวดมนต์ฉบับหลวงว่า
สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ
กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยา เยว วฑฺฒนฺติ เต
ขันติเป็นประธานเป็นเหตุแห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติธรรมเท่านั้น
มีอธิบายว่า
คุณธรรมมีศีลและสมาธิเป็นต้นจะเกิดขึ้นดำรงอยู่หรือเจริญสืบต่อไปได้ ก็เพราะอาศัยขันติเป็นตัวสำคัญ
หากขาดขันติเสียแล้ว คุณธรรมดังกล่าวจะเกิดขึ้นมิได้
แม้ที่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะดำรงอยู่ได้ ย่อมเสื่อมสลายไปในที่สุด ต่อเมื่อบุคคลมาประกอบคือตั้งอยู่ในขันติธรรมดังกล่าวมา ท่านจึงเรียกว่า “ขนฺติโก” ผู้มีขันติกล่าวคือ ผู้มีความอดกลั้นต่อความตรากตรำอันเกิดแต่การประกอบอาชีพ, ต่อความเจ็บใจอันเกิดแต่คำเสียดแทง,
ต่อทุกขเวทนาอันเกิดแต่ความเจ็บไข้ได้ป่วย
และมีความทนทานต่ออารมณ์ที่มายั่วยุต่างๆ ได้ นี้เป็นอธิบายในประเด็นที่ ๑ เมื่อมา
ทราบเนื้อความในประเด็นที่ ๑ เช่นนี้แล้ว
พึงทราบความในประเด็นที่ ๒ ต่อไป.
ในประเด็นที่ ๒
ซึ่งว่าย่อมนำประโยชน์มาทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่นนั้น มีอธิบายว่า
บุคคลผู้มีขันติธรรมประจำใจดังกล่าวนั้น จะประกอบกิจการใด ๆ
ก็อดทนกระทำไปด้วยความเข้มแข็งไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและภยันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น ถึงจะมีใครมาคิดร้ายหมายเวรทำให้เกิดทุกข์ด้วยประการต่างๆ
ก็ไม่คิดหาทางทำร้ายตอบแทน แต่ยับยั้งไว้ด้วยขันติและเมตตา พิจารณาโดยรอบคอบ
แสวงหาความดีความชอบของเขา
ไม่คิดในทางชั่วร้ายหมายอาฆาต
อันจะก่อให้เกิดความวิวาทบาดหมาง
ซึ่งเป็นทางก่อเวรภัยแก่กันและกันไม่มีวันสิ้นสุด เมื่อหยุดใจไว้ได้
เวรภัยทั้งหลายอันเป็นฝ่ายอนัตถะก็จะสงบระงับดับสูญไปสมด้วยเทศนานัยวิธีซึ่งสมดังพุทธสุภาษิตที่มาในสวดมนต์ฉบับหลวง อีกบทหนึ่งว่า
เกวลานปิ ปาปาน ขนฺติ มูล นิกนฺตติ
ครหกลหาทีน มูล ขนติ ขนฺติโก
ขันติย่อมตัดรากเง่าแห่งบาปทั้งสิ้น
ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและความวิวาทเป็นต้นได้
ธรรมภาษิตบทนี้ชี้ให้เห็นว่า
บาปคือความชั่วร้ายที่เป็นไปทางกาย เรียกว่ากายทุจริตเป็นต้น
ย่อมจะเกิดขึ้นจากอกุศลมูลมีโลภะเป็นต้น เมื่ออกุศลมูลเกิดขึ้นแล้วจำต้องใช้ขันติเป็นเครื่องตัดบั่นทอนให้สงบ
เมื่ออกุศลมูลสงบลงราบคาบ
บาปทั้งหลายกล่าวคือความชั่วร้ายอันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตนและคนอื่นก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ดังนั้นผู้ที่มีขันติเป็นวิหารธรรมประจำใจ
จึงชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความตำหนิติเตียนเสียได้ เพราะตนเองก็ติเตียนตนเองว่าเป็นคนชั่วโดยศีลเป็นต้นไม่ได้
บัณฑิตผู้รู้ใคร่ครวญทั้งหลายก็ติเตียนไม่ได้
และได้ชื่อว่าขุดรากแห่งความทะเลาะวิวาทเสียได้
เพราะได้ใช้ขันติอดกลั้นทนทานต่อความชอบ
ความชัง
และความเข้าใจผิดกันแก่กันและกันเสียได้
เมื่อขุดรากแห่งความชั่วอันเป็นฝ่ายอนัตถะ คือสิ่งไม่เป็นประโยชน์เสียได้แล้ว
รากแห่งความดีงามซึ่งเป็นอัตถะคือสิ่งเป็นประโยชน์กล่าวคืออโลภะเป็นต้น
ย่อมเกิดขึ้นในจิต
เมื่อเกิดขึ้นแล้วเขาก็ย่อมทำพูดคิดแต่ในทางดีที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและคนอื่น ซึ่งเรียกว่ากายสุจริตเป็นต้น
ก็ย่อมนำมาซึ่งผลคือความสุขความเจริญ ทั้งแก่ตนและคนอื่นทั้งสองฝ่าย
นี้เป็นอธิบายในประเด็นที่ ๒ เมื่อทราบอธิบายในประเด็นที่ ๒ เช่นนี้แล้ว
พึงทราบอรรถาธิบายในประเด็นที่ ๒ ต่อไป.
ในประเด็นที่ ๓ ที่ว่า
ผู้มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพานนั้น อธิบายว่า ผู้มีขันติไม่ใช่จะนำประโยชน์อย่างธรรมดาสามัญในมนุษยโลกนี้
ที่เรียกว่า มนุษย์สมบัติ
มาอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังสามารถนำประโยชน์อย่างกลางซึ่งเรียกว่าสวรรค์สมบัติ
และประโยชน์อย่างสูงซึ่งเรียกว่านิพพานสมบัติมาได้ด้วย เพราะเขาได้ดำเนินขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
กล่าวคือศีล สมาธิ และปัญญา โดยที่มาใช้ขันติระงับยับยั้งทนทานในอารมณ์ต่าง ๆ
ไม่เป็นไปในอำนาจแห่งอกุศลมูล ทำกุศลมูลให้เกิดมีขึ้นในจิต แล้วประพฤติสุจริตทางกายวาจาอันจัดเป็นศีล ผู้มีขันติตั้งมั่นอยู่ในศีล
ย่อมได้รับอานิสงส์คือเกียรติคุณอันงามในโลกนี้ชั้นหนึ่งแล้ว
ตายไปยังได้ความบันเทิงใจในสวรรค์อีกชั้นหนึ่งเป็นแน่
รวมความตามที่แสดงมานี้ก็จะเห็นได้ว่า บุคคลผู้มีขันติ คือผู้อดกลั้นต่อความตรากตรำ
ในเพราะกระทำการงานเพื่อเลี้ยงชีพก็ดี ต่อความเจ็บใจอันเกิดแต่คำเสียดแทงก็ดี
ต่อทุกขเวทนาอันเกิดแต่ความเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะความแปรปรวนแห่งสังขารก็ดี
และทนทานต่ออิฏฐารมณ์
หรืออนิฏฐารมณ์ที่มายั่วหรือยุให้ชอบหรือให้ชังหรือให้หลงใหลเข้าใจผิดก็ดี
ย่อมจะประกอบกรณียกิจอันเป็นเหตุนำประโยชน์สุขสมบัติในทิฏฐธรรมกล่าวคือมนุษย์สมบัติมาให้แก่ตน โดยยังตนให้ตั้งอยู่ในกองแห่งโภคสมบัติและให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล
ทั้งได้นำประโยชน์มาให้ผู้อื่นโดยที่ตนรู้จักยับยั้งชั่งใจ
ไม่มุ่งร้ายหมายเวรก่อทุกข์สร้างโทษให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยการประหัตประหารบ้าง
หักล้างผลประโยชน์ของผู้อื่นด้วยการขโมยบ้างเป็นต้น, ผลอันยิ่งกว่านั้นคือความรื่นเริงบันเทิงใจ
ในสวรรค์อันล้วนแต่เป็นทิพย์
ที่เรียกกันว่าสวรรค์สมบัติ
ตนก็จะต้องได้รับในเมื่อมีศีลสมาธิบริบูรณ์ และผลประโยชน์อย่างสูงสุดคือพระนิพพานสมบัติ ตนก็จะต้องเข้าถึงในเมื่อมีปัญญาเต็มรอบครบถ้วน
เป็นอันว่าผู้มีขันติย่อมได้ประสบสุขสมบัติ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ มนุษย์สมบัติ
สวรรค์สมบัติ
และนิพพานสมบัติโดยสมควรแก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตน.
เพราะฉะนั้น
ท่านสาธุชนผู้หวังความสุขความเจริญ
ควรอบรมขันติธรรมให้เกิดมีขึ้นในตน แต่นั้นก็จักได้รับผลกล่าวคือประโยชน์ ๓
ตามที่แสดงมา แม้จะไม่ได้ครบทั้ง ๓ ได้เพียงแต่อย่างเดียวหรือสองอย่างก็ยังนับว่าเป็นการดี
เมื่อได้เช่นนี้ก็จะสมกันกับกระทู้ธรรมภาษิตที่ได้ลิขิตไว้เป็นนิกเขปบท ณ เบื้องต้นนั้นว่า
อตฺตโน จ ปเรสฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคม มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ
ขนฺติโก
ผู้มีขันติย่อมนำประโยชน์มาทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางเป็นที่ไปสวรรค์และนิพพาน
ซึ่งมีอรรถาธิบายดังบรรยายมา
ด้วยประการฉะนี้.
ตัวอย่างที่
๔
ปัญญาวรรค – หมวดปัญญา
อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิวทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ
คนผู้สดับน้อยนี้
ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
บัดนี้จักได้อธิบายขยายความตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นบทเบื้องต้นนั้น
เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและแนวทางแห่งการปฏิบัติธรรม
ของสาธุชนทั้งหลายเป็นลำดับไป
ดำเนินความว่า
ในการเรียนแต่ละวิชา ผู้เรียนต้องมีเทคนิคในการจดจำและเข้าใจเนื้อหาคำสอนแตกต่างกันไป
บางวิชาเพียงแต่จำได้ก็สอบได้
แต่บางวิชานอกจากจะจำได้แล้วต้องเข้าใจเนื้อหาที่จำได้ด้วย
รูปแบบการเรียนจึงอาจจำแนกได้๖ รูปแบบคือ ๑. ตาดู เช่น
จำใบหน้าคนหรือวัตถุที่มีความแตกต่างกันตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้น ๒. หูฟัง เช่น แยกประเภทของเสียงดนตรีแต่ละชนิด ๓. จมูกดมกลิ่น
เช่น จำแนกความหอมของดอกไม้หรืออาหารแต่ละประเภท ๔. ลิ้นชิมรส
เช่น ทดสอบรสชาดอาหารว่าอร่อยหรือว่ามีรสชาดดีหรือยัง ๕. ร่างกายสัมผัส
เช่น ใช้มือคลำดูความแตกต่างของวัตถุ ๖. ใจกำหนดรู้ เช่น
กำหนดรู้ว่าขณะนี้จิตเราคิดเรื่องที่ดีหรือไม่ดี ในสมัยก่อนที่จะมีเขียนตัวหนังสือ
การเรียนรู้วิชาต่าง ๆ มักจะเริ่มต้นด้วยการฟังเป็นหลัก
คนที่ฟังมากจึงมีโอกาสที่จะได้รับความรู้มากกว่าผู้อื่น
บางคนมีความจำดีขนาดไม่ได้ทบทวนเลยเป็นปี ๆ ก็ยังจำได้ไม่ลืมเลือน
การรู้จักฟังและจำได้จึงเป็นความมหัศจรรย์ของมนุษย์ ส่วนคนที่ไม่สนใจที่จะจำอะไร
เอาชีวิตไปฝากไว้แต่กับสมุดโน๊ตหรือเครื่องบันทึกความจำ พอเกิดเหตุการขับขัน
เขาให้แสดงความรู้ ก็ไม่สามารถทำได้ แถมแก่ตัวไปก็ไม่มีเรื่องราวธรรมะ
ประวัติศาสตร์หรือเกร็ดชีวิตให้ลูกหลานฟัง กลายเป็นวัตถุโบราณล้ำค่าที่ไม่สามารถใช้งานได้
นอกจากนั้นสมองยังไม่พัฒนาอีกด้วย เพราะไม่มีแรงกระตุ้นให้สมองต้องคิด
ความจำที่เคยมีก็เริ่มเลอะเลือนหายไปตามอายุที่มากขึ้น
ความรู้ใหม่ก็ไม่สนใจที่จะฟังหรือรับรู้ เหมือนวัวที่อายุมากขึ้นก็อ้วนแต่เนื้อ
แต่ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ นอกจากกิน นอนเท่านั้น
สมดังพุทธภาษิตที่มาในขุททกนิกาย เถรคาถาว่า
ชีวเตวาปิ
สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา
ปญฺญาย
จ อลาเภน วิตฺตวาปิ น ชีวติ
ถึงสิ้นทรัพย์
ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้ แต่อับปัญญา
แม้มีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้
ขยายความว่า
โลกนี้มีทั้งคนรวยและคนจน ความรวยและความจนนี้อาจแบ่งได้ ๒ ประเภท คือ
รวยจนในเรื่องวัตถุ เช่น บ้าน ที่ดิน เงินทอง และรวยจนในเรื่องนามธรรม เช่น ปัญญา
คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม เพราะบางคนรวยทรัพย์แต่จนปัญญา
บางคนรวยความรู้มีปัญญามีศีลธรรม แต่ไม่มีทรัพย์
ชีวิตของคนที่อาศัยทรัพย์เป็นเครื่องดำเนินชีวิตมักจะแก้ปัญหาด้วยการใช้ทรัพย์
เช่น เมื่อมีทุกข์ก็ไปเที่ยวหรือซื้อของมาปรนเปรอความอยากของตน
แม้จะมีความสุขหรือดูมีความสุขบ้าง แต่ก็ถือว่ามีความสุขชั่วคราว
เพราะพอผ่านไประยะเวลาหนึ่งก็ต้องกลับมาทุกข์อีก จึงนับว่าเป็นชีวิตที่อันตราย
เพราะชีวิตในโลกนี้มีความไม่แน่นอน หากชีวิตล้มละลายไร้ทรัพย์ใช้สอยขึ้นมา
อาจจนปัญญาหาทางออกให้กับชีวิตไม่ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม คนที่มีปัญญา
แม้จะไร้ทรัพย์แต่ก็มีชีวิตอยู่ในสังคมได้ เพราะคนที่มีปัญญานั้น
เห็นคุณต่าและให้ความสำคัญเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและผู้อื่นเสมอ ถึงชีวิตจะไร้ทรัพย์แต่ก็สามารถหาความสุขจากใจได้
หรือหากต้องอาศัยผู้อื่นในการดำรงฃีวิตก็รู้วิธีการที่จะให้คนอื่นพอใจและมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างเหมาะสม
สมดังพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งที่มาในขุททกนิกาย ธรรมบทว่า
โย
จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหํ
ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน
ผู้ใดมีปัญญาทราม
มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ
มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวดีกว่า
ขยายความว่า
คนที่มีปัญญารู้จักแยกสิ่งดีกับสิ่งที่ชั่ว ใคร ๆ ก็อยากคบ อยากสนทนาด้วย
หรือเพียงแค่ได้ยินชื่อก็มีความสุขหรือดีใจแล้ว
เพราะคนที่มีปัญญาสามารถที่จะแนะนำและให้ความรู้
พร้อมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาที่เราแก้ไม่ได้อย่างสร้างสรรค์อีกด้วย
และที่สำคัญคนมีปัญญามักชักชวนเราทำแต่ในเรื่องที่ดีเสมอ อีกอย่างหนึ่ง
ถ้าจะว่าโดยส่วนตัวของคนที่มีปัญญาแล้ว เขาสามารถที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
แม้จะใช้เวลาแค่เพียงวันเดียวก็ตาม
รู้จักที่ทำงานหรือกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้อื่นและสังคมได้รับประโยชน์
รู้จักพูดที่จะประสานไมตรีหรือมีความพูดที่สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
ใช้คำพูดให้เกิดแรงบันดาลใจใจการทำความดียิ่งขึ้น ซึ่งชีวิตต่างไปจากคนพาล
ที่มีปัญญาทราม เพราะคนพาลนั้น มักจะคิด
ทำหรือพูดแต่เรื่องที่เห็นแก่ตัวหรือเรื่องที่จะทำให้ตัวเองได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว
ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนจากการกระทำของตนเองมากแค่ไหน
ถ้าเขามีชีวิตอยู่หนึ่งวันก็อาจทำความเสียหายแก่คนอื่นได้มาก
ยิ่งหากเขามีโอกาสมีชีวิตอยู่มากกว่านั้นจนถึงอายุร้อยปี
สังคมและโลกคงหาความสงบสุขได้ยาก ไม่ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
มีแต่ความระแวงว่าจะชีวิตจะได้รับผลกระทบจากความปัญญาทรามของคนพาลเมื่อไร
สรุปความว่า
เราสามารถเรียนรู้ชีวิต โลกและวิชาต่าง ๆ ได้ด้วยประสาทสัมผัสที่เกิดจากตา หู จมูก
ลิ้น กายและความรู้สึกจากใจ
ซึ่งการเรียนรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการรู้จักฟังและเลือกฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่เสมอ
เพราะคนที่ฟังย่อมมีโอกาสที่จะได้รับความรู้มาก หากเราไม่ฟังใครเสียบ้าง
เราก็จะมีความรู้คับแคบและไม่ทันเหตุการณ์ได้ ยิ่งเมื่อเราแก่ตัวเราก็ควรที่จะฟังให้มากด้วย
เพื่อเอาความรู้นั้นไปพูดให้ลูกหลานฟังต่อ อย่าทำตัวเหมือนวัวที่โตแต่ตัว
แต่ไม่มีคุณค่าแก่การจดจำ
ความรู้เหล่านั้นสามารถทำให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
แม้ว่าเราอาจจะไม่มีทรัพย์มากมายเหมือนคนอื่นก็ตาม
แต่ความรู้นั้นแหละคือทรัพย์ที่เอาอาจแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งอื่นได้
หรืออาจสร้างสุขจากการไม่มีทรัพย์ได้เพราะความสุขแท้เกิดขึ้นจากการไม่มี
ซึ่งการที่เราจะเข้าใจเช่นนี้ได้ต้องผ่านการฝึกฝนจนเกิดปัญญาเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้ง
ชีวิตของบัณฑิตที่รู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดดีหรือชั่วแล้วเลือกทำ
จึงเป็นชิวตที่มีค่าและมีประโยฃน์ต่อสังคมและโลกแม้ว่าชีวิตของเขาจะสั้นเพียงแค่วันเดียวก็ตาม
ก็ยังดีว่าคนพาล มีปัญญาทราม มีอายุยืนเป็นร้อยปี แต่ไม่คิดถึงประโยชน์ผู้อื่น
ทำทุกอย่างเพื่อตัวเองเท่านั้น สมดังพุทธสุภาษิตที่ยกไว้ ณ เบื้องต้นว่า
อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส
พลิวทฺโทว ชีรติ
มํสานิ
ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ
คนผู้สดับน้อยนี้
ย่อมแก่ไปเหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ
แต่ปัญญาไม่เจริญ
ดังพรรณนามาฉะนี้
ฯ
อสนฺเต นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย
ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ เพราะ
อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก
สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ
บัดนี้จักได้อธิบายขยายความตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นบทเบื้องต้นนั้น
เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและแนวทางแห่งการปฏิบัติธรรม
ของสาธุชนทั้งหลายเป็นลำดับไป
ดำเนินความว่า พุทธศาสนาสอนว่า
การเกิดเป็นคนเป็นเรื่องยาก เพราะต้องมีศีลบริสุทธิ์ แต่เมื่อเกิดมาเป็นคนแล้ว
การที่จะฝึกให้ตนเป็นคนดีหรือบัณฑิตก็เป็นเรื่องยากไม่น้อยเหมือนกัน
เพราะคนส่วนมากมักคล้อยไปในทางที่จะเป็นคนพาล การเป็นบัณฑิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ
วิธีหนึ่งที่จะทำให้เราเป็นบัณฑิตได้คือการรู้จักคบคน
ในโลกนี้เรามีคนที่ต้องรู้จักมากมาย หลายอาชีพ มีความแตกต่างด้านฐานะ
ความเชื่อและการดำเนินชีวิตต่างกันไป คนที่เราควรคบจึงเป็นคนที่เรียกว่า สัตบุรุษ
คนที่จัดว่าเป็นสัตบุรุษ ไม่ได้หมายความว่าคน ๆ นั้นต้องเป็นผู้ชาย แต่เป็นใครก็ได้ที่เป็นคนสงบกายใจจากกระแสโลก
มากกว่าคนอื่น ๆ เป็นคนดี มีศีลธรรม คือเป็นคนที่รู้จักให้ทาน แบ่งปันเสียสละ
ช่วยเหลือผู้อื่น มีเมตตาธรรมไม่เบียดเบียนผู้อื่น
และเป็นคนที่รู้จักช่วยเหลือการงานของมารดาบิดาให้มีความสุข
โดยมีคุณธรรมและลักษณะที่ดีคือ เป็นคนรู้หลักการ
คือจะทำอะไรก็มีเหตุมีผลและหลักการที่คนยอมรับได้
รู้จุดมุ่งหมายคือรู้จุดมุ่งหมายในการทำกิจการของตนอย่างถ่องแท้
รู้ตนคือรู้ความสามารถและศักยภาพตนเองในการทำกิจการต่าง ๆ
รู้ประมาณคือรู้จักความพอดีของแต่ละเหตุการณ์
รู้กาลคือรู้ว่าเวลาไหนควรทำหรือไม่ควรทำอะไร รู้ชุมชนคือรู้ธรรมเนียมประเพณีความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น
รู้บุคคลคือรู้ว่าแต่ละคนมีลักษณะนิสัยอย่างไร ผลที่ได้จากการคบสัตบุรุษนี้คือ
ความรุ่งเรืองของชีวิตในด้านต่าง ๆ เพราะสัตบุรุษไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร
หรือแม้หากเราตายไปแล้ว ก็แน่ใจได้ว่า ต้องไปเกิดในสุคติภพ
เพราะการคบคนดีย่อมทำให้เราพบแต่สิ่งที่ดีและเกิดผลดีแก่เราเสมอ
สมดังพุทธภาษิตที่มาในขุททกนิกาย ชาดก วีสนิบาต ว่า
ยาทิสํ
กุรุเต มิตฺตํ ยาทิสญฺจูปเสวติ
โสปิ
ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิ ตาทิโส
คบคนเช่นใดเป็นมิตร
และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกัน
ย่อมเป็นเช่นนั้น
ขยายความว่า
การคบคนถือว่าเป็นศิลปะชนิดหนึ่งของชีวิตสำหรับคนที่เกิดมาอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลายด้านความเชื่อและวัฒนธรรม
เพราะเราอยู่คนเดียวไม่ได้ การคบคนจึงเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราขาดไม่ได้
ซึ่งจะส่งผลแก่เราในหลายแง่ หากเราคบคนที่ไม่เหมาะแก่เราแล้ว
เราก็สูญเสียประโยชน์ที่จะพึงได้ในการคบนั้น แต่เมื่อเราคบคนที่เหมาะสม
เราก็สามารถที่แลกเปลี่ยนประโยชน์ที่จึงพึงได้กันอย่างสนิทใจ
และเมื่อเราคบคนเช่นใดเราก็จะเป็นคล้ายคนเช่นนั้น
เว้นไว้แต่ว่าเรามีภาวะความเป็นผู้นำมากกว่า หมายความว่าใครที่มีเครื่องต่อรองคนที่มาคบมากกว่า
ไม่ว่าเครื่องต่อชนิดนั้นจะเป็นอะไร เขามีโอกาสสูงที่คนอื่นจะคล้อยตาม เช่น
เราเป็นคนเรียนหนังสือเก่ง สอบที่ไรได้ที่หนึ่งทุกที เพื่อน ๆ ในห้องก็จะรู้สึกว่า
ถ้าอยากเรียนเก่งก็ต้องคบเราไว้ ในที่สุดเขาก็จะเป็นเหมือนเราคือมีผลการเรียนดี
ในทางตรงกันข้าม ในห้องเรียนเรามีเด็กคนหนึ่ง ไม่ขยันเรียนเลย หากใครที่ไปคบเด็กคนนี้ ก็เป็นเหมือนเด็กคนนี้
ก็อาจทำให้ผลการเรียนลดลง สุดท้ายอาจต้องซ้ำชั้นหรือออกโรงเรียนไป
และอาจยังไปก่อปัญหาให้สังคมอีกด้วย สมดังพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งที่มาในขุททกนิกาย
ชาดก วีสนิบาตว่า
ตครํ
ว ปลาเสน โย นโร
อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ
สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด
การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น
อสนฺเต
นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต
นิรยํ เนนฺติ สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ
พึงคบสัตบุรุษ เพราะ อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก
สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ
ดังพรรณนามาฉะนี้ ฯ