สรุปวิชาอนุพุทธประวัติ
(ธรรมโท)
๑)พระอัญญาโกณฑัญญเถระ
เอตทัคคะ : รัตตัญญู
คือ ผู้รู้ราตรีนาน
ชีวประวัติ และการศึกษา
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕
วัน โกณฑัญญะพราหมณ์ซึ่งหนุ่มที่สุด ในบรรดาพราหมณ์ ๑๐๘ คน
ได้ทำนายลักษณะพระราชกุมารเป็นทางเดียวว่า
จะเสด็จออกบวชได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกอย่างแน่นอน
ตนเองก็มีความเลื่อมใสศรัทธาจะออกบวชตาม
เมื่อทราบข่าวการออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร
จึงได้ชักชวนพราหมณ์อีก ๔ ท่าน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ
ทั้งหมดรวมเรียกว่า “ปัญจวัคคีย์” แปลว่า “กลุ่มคน
๕ คน” ท่านได้เป็นหัวหน้าปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ๖ ปี แต่ไม่ทรงตรัสรู้ จึงทรงเลิก
แล้วกลับมาบำเพ็ญเพียรทางจิต
ส่วนโกญฑัญญะพราหมณ์พร้อมกับเพื่อน
หมดความเลื่อมใสในพระองค์ จึงพากันหนีไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว
จึงเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ฝ่ายปัญจวัคคีย์เมื่อทราบข่าวการเสด็จมาของพระพุทธองค์
จึงนัดหมายกันว่า จะไม่ไหว้ ไม่ต้อนรับ ไม่รับบาตรและจีวรของพระองค์
แต่พอพระพุทธองค์เสด็จไปถึง กลับลืมกติกาที่ได้ทำกันไว้
เพราะความเคารพที่เคยมีต่อพระองค์
แต่มีกิริยาอาการแข็งกระด้างกระเดื่องด้วยการพูดออกพระนามว่า “อาวุโส” ซึ่งถือว่าเป็นการไม่เคารพอย่างยิ่ง
พระองค์ทรงห้ามไม่ให้ใช้คำพูดอย่างนั้น พระองค์ตรัสว่า “พระองค์ได้บรรลุธรรมแล้ว
ถ้าเธอปฏิบัติตามคำสอนของเรา ในไม่ช้าก็จะได้บรรลุธรรมเช่นเดียวกัน” ทำให้โกญฑัญญะพราหมณ์พร้อมกับเพื่อนมีความเชื่อมั่นในพระดำรัสของพระพุทธองค์
เพราะแต่ก่อนหน้านี้พระองค์ไม่เคยตรัสอย่างนี้นั้นเอง
ภาคการประกาศพระศาสนา
หลังจากที่ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกชื่อว่า
“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
จบ โกณฑัญญะพราหมณ์ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม คือบรรลุพระโสดาบันว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงเปล่งพระอุทานว่า “โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ
ๆ” จากนั้น ท่านจึงได้ชื่อใหม่ว่า “อัญญาโกณฑัญญะ”
เพราะเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมก่อนใครทั้งหมด
ท่านได้ขออุปสมบท และพระพุทธองค์ทรงอนุญาต
และตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด
ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด”
การอุปสมบทอย่างนี้ เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
และท่านได้เป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา หรือปฐมสาวก
ท่านบวชไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
เพราะพระธรรมเทศนาชื่อว่า “อนัตตลักขณสูตร”
ได้แก่สูตรที่ว่าด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณไม่ใช่ตัวตน
และได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศในทางผู้รู้ราตรี (รัตตัญญู)
คือรู้ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนก่อนใครทั้งหมด
ข้อควรจำ
๑.
ท่านเป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และเป็นหัวหน้า
๒.
ท่านเป็นผู้เลิศด้านรัตตัญญู คือผู้รู้ราตรีนาน เพราะบวชก่อนใครทั้งหมด
๓.
ท่านได้หลานชาย (ลูกน้องสาว) คือพระปุณณมันตานีบุตรเป็นลูกศิษย์
และได้มีกุลบุตรบวชในสำนักของท่านเป็นจำนวนมาก
๔.
ท่านเป็นปฐมสาวก (พระสงฆ์รูปแรก) ในพระพุทธศาสนา
๒)พระอุรุเวลกัสสปเถระ
เอตทัคคะ :
เป็นผู้เลิศมีบริวารมาก
ชีวประวัติและการศึกษา
ชื่อเดิมคือ
“กัสสปะ”
เกิดในตระกูลพราหมณ์ ที่เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ตระกูลกัสสปโคตร
มีพี่ร่วมท้องเดียวกัน คือ น้องชาย ๒ คน ได้แก่ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ทั้ง ๓
พี่น้อง ต่างเป็นอาจารย์สอนคัมภีร์ไตรเพท แก่ศิษย์ผู้เป็นบริวารของตนๆ รวมจำนวนถึง
๑,๐๐๐ คน
ต่อมาท่านเห็นว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่มีสาระแก่นสาร
จึงได้ชักชวนกันออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญพรตด้วยการบูชาไฟ ถือว่าตนเป็นพระอรหันต์
สร้างอาศรมสั่งสอนลัทธิอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงส่งสาวก
๖๐ องค์ไปประกาศพระศาสนา และเสด็จไปโปรดชฏิลทั้ง ๓ พี่น้อง
พระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ต่างๆ จนทำให้ชฏิลทั้ง ๓
พี่น้องละพยศลดทิฏฐิมานะกลับมาเลื่อมใส และยอมรับนับถือพระรัตนตรัย
ได้ขอบรรพชาอุปสมบท ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ภาคการปฏิบัติ
ต่อมาพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมชื่อ“อาทิตตปริยายสูตร”
ซึ่งมีใจความว่าตา หูจมูก ลิ้นกาย และใจ เป็นของร้อน
คือร้อนด้วยไฟ คือราคะ โทสะ และโมหะเป็นต้นเมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
พระเจ้าพิมพิสารทราบข่าว
จึงพร้อมด้วยข้าราชบริพาร เสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้า
พระพุทธองค์ทอดพระเนตรข้าราชบริพารมีกิริยาอาการไม่อ่อนน้อม
จึงตรัสสั่งให้พระอุรุเวลกัสสปะประกาศลัทธิของท่านว่าไม่มีแก่นสาร
ท่านจึงได้ทำตามพระพุทธดำรัส คนเหล่านั้นสิ้นความสงสัย ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา
ชื่อว่า “อนุปุพพิกถา
และอริยสัจ ๔”
เวลาจบเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร
๑๑ ส่วน ได้บรรลุโสดา-ปัตติผล อีก ๑
ส่วน ได้ดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์ เป็นเหตุให้พระเจ้าพิมพิสารถวายวัดแห่งแรกแก่พระพุทธศาสนาชื่อว่า “เวฬุวัน”
ข้อควรจำ
๑.
ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะได้ฟังธรรมเทศนาชื่อว่า “อาทิตตปริยายสูตร”
คือ สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
๒.
ท่านมีบริวาร ๕๐๐ นทีกัสสปะ ๓๐๐ คยากัสสปะ ๒๐๐ รวมเป็น ๑,๐๐๐
๓.
ท่านได้เป็นอาจารย์ที่ชาวเมืองราชคฤห์นับถือมาก
๔.
ท่านพร้อมทั้งน้องชาย ๒ คน บูชาไฟอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ชฏิล แปลว่า
ผู้มีผมเป็นมวย หรือผู้มีมวยผมนั้นเอง
๕.
แคว้นมคธ มีราชคฤห์เป็นเมืองหลวง มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ปกครอง
๓)พระสารีบุตรเถระ
เอตทัคคะ : เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก
และ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา
ชีวประวัติและการศึกษา
มีนามเดิมว่า
“อุปติสสะ”
เกิดที่หมู่บ้านอุปติสสะ เมืองนาลันทา ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล
เมื่อช่วงเป็นหนุ่มน้อย บิดาได้หาเด็กหนุ่มวัยเดียวกันเป็นบริวารถึง ๕๐๐ คน
วันหนึ่ง
หลังจากได้ชมมหรสพดังเช่นทุกปีบนยอดเขาแล้ว
กลับมีกิริยาอาการและความรู้สึกที่ไม่เหมือนเก่า คือถึงตอนหัวเราะก็ไม่สนุกสนาน
ถึงตอนเศร้าโศกก็ไม่ได้แสดงอาการเศร้าโศก ถึงตอนจะให้รางวัลก็ไม่ให้รางวัล
แต่มีความรู้สึกสังเวชสลดใจว่า “ ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจเลย ตัวละครที่กำลังแสดงอยู่นี้ อยู่ได้ไม่ถึง ๑๐๐ ปี
ก็คงตายกันหมด แล้วก็มีตัวละครคนใหม่มาแสดงแทน เราเองมัวมาหลงดูอยู่ทำไม
ไฉนจึงไม่แสวงหาโมกขธรรม (ความหลุดพ้น) มีความเบื่อหน่ายในชีวิต ” และได้ออกบวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพพาชก
ก็ไม่ประสบผลสำเร็จตามที่ตนต้องการ เพราะว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ได้
ภาคการปฏิบัติ
เช้าวันหนึ่งอุปติสสปริพพาชกได้พบพระอัสสชิเถระ
กำลังออกรับบิณฑบาตโปรดสัตว์ด้วยอาการอันสงบสำรวมก็เกิดความเลื่อมใสว่า“นักบวชแบบนี้เราไม่เคยเห็นมาก่อน
ท่านคงจะเป็นพระอรหันต์แน่” จึงเข้าไปถามว่า “ท่านมีอินทรีย์ผ่องใสผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่องท่านบวชเชิดชูใครใครเป็นศาสดาของท่านท่านชอบใจธรรมของใคร”จึงได้คำตอบจากพระอัสสชิอย่างถ่อมตนว่า “อาตมาเป็นพระบวชใหม่
เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยของพระศาสดาไม่นานนัก
อาตมาจึงไม่สามารถพอที่จะบอกถึงคำสอนของพระศาสดาโดยพิสดารได้” จึงขอกล่าวธรรมโดยย่อว่า
“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นไว้และตรัสถึงความดับ(เหตุ)ไว้ด้วย
พระสมณะผู้ยิ่งใหญ่มีปรกติตรัสอย่างนี้”
พอกล่าวจบ
อุปติสสปริพพาชก ก็บรรลุโสดาปัตติผล
แล้วจึงกลับไปบอกเพื่อนโกลิตปริพพาชกให้บรรลุโสดาบันเช่นเดียวกัน
และทั้งสองจึงชักชวนกันไปพบกับอาจารย์สัญชัยปริพพาชก
เพื่อจะไปเฝ้าพระพุทธองค์
แต่ก็ถูกอาจารย์ปฏิเสธอย่างแข็งขันว่า “ในโลกนี้คนโง่มากหรือคนฉลาดมาก”
ท่านบอกว่า “คนโง่มีมาก คนฉลาดมีน้อย” ถ้าอย่างนั้น “ขอให้คนฉลาดจงไปหาพระสมณโคดม
ส่วนคนโง่จงมาหาฉัน”
ทั้งสองจึงอำลาอาจารย์สัญชัยพร้อมด้วยบริวาร
๒๕๐คนไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเวฬุวันและขออุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาจึงมีชื่อใหม่ว่า
“ สารีบุตร”
ครั้นได้ฟังธรรมเทศนาชื่อว่า “เวทนาปริคคหสูตร”
ซึ่งพระพุทธองค์แสดงแก่หลานชายชื่อ “ทีฆนขปริพพาชก”
ที่ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
สำเร็จเป็นพระอรหันต์ หลังจากบวชได้ ๑๕ วัน
ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
เช่น ได้เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้บรรดาสามเณร มีสามเณรราหุล สามเณรสุข
และสามเณรสังกิจจะ เป็นต้น ต่อมาท่านยังได้ชักจูงให้น้องชาย คือ พระจุนทะ เป็นต้น
พร้อมทั้งน้องสาวคือนางจาลา เป็นต้น หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและออกบวช
และท่านยังเป็นต้นเหตุให้พระมหากัสสปะประชุมสงฆ์ทำสังคายนา เพราะแนวคิดของท่าน
นอกจากนั้น
ท่านยังเป็นยอดกตัญญูเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ราธพราหมณ์ซึ่งเคยใส่บาตรแค่ทัพพีเดียวเป็นต้น
ข้อควรจำ
๑.
ท่านเปรียบเสมือนแม่ผู้ให้กำเนิดบุตร คือผู้บวชให้พระภิกษ
๓.ท่านเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา
๒.
ท่านได้รับนามใหม่อีกว่า “เป็นธรรมเสนาบดี”
๔. ท่านเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบในการแสดงธรรม
๕.
ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์รูปแรกในการอุปสมบทพระราธะ –ด้วยวิธีญัตติจถุตถกรรมวาจา
๔)พระมหาโมคคัลลานเถระ
เอตทัคคะ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางเป็นผู้มีฤทธิ์มาก และพระอัครสาวกเบื้องขวา
ชีวประวัติและการศึกษา
มีนามเดิมว่า
“โกลิตะ”เป็นบุตรของหัวหน้าหมู่บ้านชื่อว่า “โกลิตคาม”
อยู่ใกล้เมืองราชคฤห์บิดาชื่อว่า “โกลิตะ”
มารดาชื่อว่า “โมคคัลลี” ฉะนั้น ท่านจึงได้ชื่อว่า “โมคคัลลานะ”มีเพื่อนสนิทชื่อว่า“อุปติสสะ หรือ พระสารีบุตร”
นั้นเอง
ภาคการปฏิบัติ
ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผล
เพราะได้ฟังธรรม จากเพื่อนสนิทที่ชื่อว่า “อุปติสสะ” หลังจากที่ไปพบพระอัสสชิเถระและได้ฟังธรรมจากท่านมาก่อนหน้านี้ไม่นาน
จึงได้ชักชวนกันพร้อมทั้งบริวาร คนละ ๒๕๐ คน ไปขอบวชต่อพระพุทธองค์ ที่วัดเวฬุวัน
หลังจากบวชแล้ว ได้ทูลลาพระพุทธองค์ไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ณ หมู่บ้านกัลลวาละ
มุตตคาม แคว้นมคธ ก็เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนอย่างมาก
ไม่สามารถที่จะบำเพ็ญธรรมได้เลย ทราบถึงพระพุทธองค์ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘
พระพุทธองค์จึงเสด็จไปให้อุบายแก่ง่วงให้ท่านถึง ๘ ข้อด้วยกัน
ท่านตั้งใจปฏิบัติตามทันที พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิต จึงตรัสสอนเรื่อง “ธาตุกัมมัฏฐาน” คือให้พิจารณาว่าร่างกายนี้เป็นเพียงธาตุ
ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น ไม่ใช่ตัวเราของเรา ท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ภายในวันที่
๘
อุบายสำหรับระงับความง่วง ๘ ประการ คือ
๑. โมคคัลลานะ
เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก
๒. เธอควรตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ได้ฟังและเรียนแล้วด้วยใจของเธอเอง
๓.
เธอควรสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังและเรียนแล้วโดยพิสดาร
๔. เธอควรยอน(แยง)
หูทั้งสองข้างและลูบตัวด้วยฝ่ามือ
๕. เธอควรลุกขึ้นยืน
ลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูนักขัตฤกษ์
๖. เธอควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือ
ความสำคัญในแสงสว่าง มีความสำคัญว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน
มีจิตใจแจ่มใสไม่มีอะไรห่อหุ้ม
ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิดขึ้น
๗. เธอควรอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายว่า
จักเดินกลับไปกลับมาสำรวมอินทรีย์
มีจิตไม่คิดไปภายนอก
๘.
เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
ทำความหมายในอันที่จะลุกขึ้นไว้ในใจ พอตื่นขึ้นแล้วรีบลุกขึ้น
หลังจากนั้นพระพุทธองค์ตรัสสอนให้สำเหนียกในใจอีกว่า
๑.
จักไม่ชูงวงถือตัวเข้าไปสู่ตระกูล
๒.
จักไม่พูดคำอันเป็นเหตุให้เถียงกัน เป็นเหตุให้พูดมาก
๓.
จงหลีกออกเร้นอยู่ตามวิสัยของสมณะ
ท่านปรินิพพานเมื่อวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ณ ถ้ำกาฬศิลา แคว้นมคธ
โดยถูกพวกโจรซึ่งรับจ้างมาจากพวกเดียรถีย์ลอบสังหารถึง ๓ ครั้ง
จนมาสำเร็จเอาในครั้งที่ ๓ โจรทำร่างกายของท่านแหลกละเอียด
และปรินิพพานหลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านเป็นผู้เลิศในด้านการแสดงฤทธิ์มาก
และเป็นอัครสาวกเบื้องขวาและก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนา โดยเฉพาะ
ได้เป็นอาจารย์ประกาศธรรมแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ท่านได้แสดงฤทธิ์ปราบบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิจำนวนมาก เช่น การแสดงฤทธิ์ปราบเศรษฐีมัจฉริยโกสิยะด้วยวิธีการต่างๆ
จนเกิดความกลัว และยอมเฝ้าพระพุทธองค์ และนับถือพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต
นอกจากนั้น ท่านยังได้ปราบนาคราชชื่อว่า “นันโทปนันทะ” และอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากก็คือท่านพร้อมกับพระสารีบุตรร่วมมือกันช่วยแก้ปัญหา
ในคราวที่พระเทวทัตประกาศแยกตัวจากคณะสงฆ์จนสำเร็จด้วยดี
ข้อควรจำ
๑.
ท่านเปรียบเสมือนแม่นมของพวกภิกษุ คือ เป็นผู้เลี้ยงดูสั่งสอนภิกษุ
๒.
ท่านถูกโจรทำร้ายและนิพพาน เพราะอดีตกรรมที่เคยทำร้ายพ่อแม่
๓.
พระศาสดาบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ทซุ้มประตูวัดเวฬุวัน
๔.
ท่านเป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้างวัดบุพพารามของ
นางวิสาขา
๕.
ท่านพร้อมทั้งพระสารีบุตรช่วยระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นในสังฆมณฑลท่านเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย
๕)พระมหากัสสปเถระ
เอตทัคคะ : ผู้ทรงธุดงค์คุณ
ชีวประวัติและการศึกษา
มีนามเดิมว่า
“ปิปผลิมาณพ”
เกิดที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อว่า “มหาติฏฐะ”
ในแคว้นมคธ เมืองราชคฤห์ บิดาชื่อ กปิละ มารดาไม่ปรากฎชื่อ
เป็นวรรณะพราหมณ์ตระกูลมหาศาลเชื้อสายกัสสปโคตร
ต่อมาบิดาและมารดาจึงต้องการผู้สืบเชื้อสายวงค์ตระกูล
ได้จัดการให้แต่งงานกับหญิงสาวธิดาพราหมณ์มหาศาลเหมือนกัน ชื่อภัททกาปิลานี
ในขณะท่านมีอายุได้ ๒๐ ปี นางภัททกาปิลานีมีอายุได้ ๑๖ ปี
แต่เพราะทั้งคู่จุติมาจากพรหมโลก และบำเพ็ญเนกขัมมบารมีมา
จึงไม่ยินดีเรื่องกามารมณ์ เห็นโทษของการครองเรือนว่า
ต้องคอยเป็นผู้รับบาปจากการการะทำของผู้อื่น
ในที่สุดทั้งสองได้ตัดสินใจออกบวชโดยยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ญาติและบริวาร
พวกเขาได้ไปซื้อผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตรดินจากตลาด ต่างฝ่ายต่างปลงผม
ให้แก่กันเสร็จแล้ว ครองผ้ากาสาวพัสตร์สะพายบาตร ลงจากปราสาทไปอย่างไม่มีความอาลัย
ภาคการปฏิบัติ
ท่านได้ไปพบ
พระพุทธองค์ที่ต้นไทร ชื่อว่า “พหุปุตตนิโครธ” ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา
พระพุทธองค์ทรงประทานการบวชให้ท่านแบบ
โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา คือ การบวชด้วยการประทานโอวาทให้ ๓ ข้อ คือ
๑)
ทรงสอนให้มีหิริโอตตัปปะในภิกษุที่เป็นเถระ นวกะ และปานกลาง
๒)
ทรงสอนให้ฟังธรรมทั้งหมดที่ประกอบไปด้วยกุศล ด้วยความเคารพและทรงจำไว้ให้ได้
๓)
ทรงสอนให้เจริญกายคตาสติอย่างสม่ำเสมอ
ภาคการประกาศพระศาสนา
หลังจากบรรลุพระอรหันต์แล้ว
ได้ช่วยประกาศพระศาสนาจนมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก
ท่านเป็นผู้ริเริ่มชักชวนพระสาวกที่ไปร่วมงานถวายพระเพลิงพระบรมศพจำนวนมาก
จัดทำสังคายนาพระธรรมวินัย และได้คัดเลือกเฉพาะพระอรหันต์ที่บรรลุอภิญญา ๖
และปฏิสัมภิทา ๔ รวมทั้งท่านด้วย เป็น ๕๐๐ องค์
และทำสังคายนา(การร้อยกรอง)ครั้งแรก ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภาระ
ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ
นับว่าท่านได้เป็นประธานในการวางรากฐานของพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนและมั่นคงถาวรจนถึงปัจจุบัน
ท่านมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปีแล้วจึงนิพพาน ณ เชิงเขาชื่อว่า”กุกกุฏสัมปาตะ” ในแคว้นมคธ
ข้อควรจำ
๑.
ท่านออกบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลก
๒.
ท่านได้รับสังฆาฏิจากพุทธองค์ เป็นการยกย่องอย่างยิ่ง
๓.
ท่านเป็นต้นแบบของผู้มักน้อยสันโดษ คือสมาทานธุดงค์ครบทั้ง ๑๓ ข้อ
๔.
ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในการถือธุดงค์เป็นวัตร
๕.
ท่านได้เป็นประธานจัดทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก
๖)พระมหากัจจายนเถระ
เอตทัคคะ : อธิบายความย่อให้พิศดาร
ชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า กัญจนมาณพ
เป็นชื่อที่มารดาตั้งให้
เพราะทารกนั้นมีผิวกาย เหมือนทองคำ
แต่คนทั่วไปเรียกตามโคตรว่า กัจจานะ หรือ กัจจายนะ
บิดาชื่อ
ติริฏิวัจฉะ มารดาชื่อว่า“จันทนปทุนา” เป็นวรรณะพราหมณ์กัจจายนโคตรบิดาเป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต
ในกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี
เรียนจบไตรเพทได้รับหน้าที่เป็นปุโรหิตแทนบิดา
ภาคการปฏิบัติ
พระเจ้าจัณฑปัชโชติ
ทราบข่าวการอุบัติเกิดขึ้นของพระพุทธองค์
จึงมอบหมายให้กัจจายนะพร้อมกับผู้ติดตามอีก ๗ คนไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่วัดเชตวัน
เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
เมื่อได้ฟังธรรมแล้วก็บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ยังเป็นฆราวาส
แล้วจึงขอบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศในการขยายเนื้อความย่อให้พิสดาร
ภาคการประกาศพระศาสนา
ครั้นได้บวชแล้ว ก็ได้นิมนต์พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระเจ้าจัณฑปัชโชติ
และชาวเมืองที่อยู่แคว้นอวันตีเกิดความเลื่อมใสเข้าถึงพระรัตนตรัย
จนทำให้พระมเหสีองค์หนึ่งเกิดพระราชศรัทธาได้สร้างวัดถวายเป็นหลักฐานไว้ในพระราชอุทยาน
ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่เมืองกุรฆระ
แคว้นอวันตี ภูเขาปวัตตะ เมืองกุรฆระ ซึ่งเป็นชายแดนที่มีผู้เลื่อมใสมาก
ใคร่จะบวชศิษย์ที่ชื่อว่า “โสณกุฏิกัณณะ” แต่หาพระมาให้ครบจำนวนที่จะบวชไม่ได้
จึงรออยู่ถึง ๓ ปี จึงบวชได้ เมื่อบวชแล้ว ก็อยากจะไปเฝ้าพระพุทธองค์
พระมหากัจจายนะจึงฝากความไปทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบ และแก้ไขพุทธบัญญัติทั้ง ๕
ข้อ ดังนี้
๑.
การบวชในปัจจันตชนบท มีพระสงฆ์ครบจำนวน ๕ รูป ก็บวชได้
๒.
พระที่จำพรรษาอยู่ในปัจจันตชนบท อนุญาตสวมรองเท้าหลายชั้นได้
๓.
พระที่จำพรรษาอยู่ในปัจจันตชนบท อนุญาตให้สรงน้ำทุกวันได้
๔.
พระที่จำพรรษาอยู่ในปัจจันตชนบทอนุญาตให้นั่งบนอาสนะหนังสัตว์ได้
๕.
พระที่จำพรรษาอยู่ในปัจจันตชนบท รับจีวรที่ทายกปวารณาถวายไว้เกิน ๑๐ วันได้
ท่านทำให้พราหมณ์กัณฑรายณะซึ่งกระด้างกระเดื่องกลับมาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
เพราะได้ฟังคำที่ท่านกล่าวว่า “คนอายุ ๘๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี ถ้ายังเสพกามอยู่ก็ยังนับว่าเป็นคนหนุ่มสาวอยู่
แต่คนหนุ่มสาวแม้จะอยู่ในวัยแรกรุ่น ถ้าไม่เสพกามก็นับว่าเป็นคนแก่ได้” ดังนี้
ข้อควรจำ
๑.
ท่านเคยเป็นปุโรหิต เมืองอุชเชนี สมัยพระเจ้าจัณฑปัชโชติ
๒.
ท่านพร้อมด้วยบริวาร ๗ คน ถูกพระเจ้าจัณฑปัชโชติส่งไปเชิญเสด็จพระศาสดาที่วัดเชตวัน
และขอบวชที่นั่น
๓.
ท่านเป็นผู้ขอพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ในชนบทจำนวน ๕ รูปสามารถทำพิธีอุปสมบทได้
๔.
ท่านได้รับเอตทัคคะว่าเป็นเลิศในการขยายความย่อให้พิสดาร
๗)พระโมฆราชเถระ
เอตทัคคะ : ทรงจีวรเศร้าหมอง
ชีวประวัติและการศึกษา
พระโมฆราช
เป็นวรรณะกษัตริย์ บิดามารดาของท่านไม่ปรากฎชื่อ ท่านมีโรคประจำตัวที่รักษาไม่หาย
และได้รับความทุกข์ทรมานมาก แม้จะเป็นคนใหญ่โตและมีทรัพย์สมบัติมากมายก็ช่วยไม่ได้
จึงได้ชื่อว่า โมฆราช ซึ่งแปลว่า ราชาผู้หาความสุขไม่ได้
ท่านเป็นศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖
คนที่พราหมณ์พาวรีส่งไปทูลถามปัญหาพระพุทธองค์ ที่ปาสารเจดีย์ ทูลถามปัญหาถึง ๓
ครั้งพระองค์จึงทรงตอบ
เพราะต้องการทำลายทิฐิมานะของท่านที่คิดว่าตนเองมีความเฉลียวฉลาด ซึ่งท่านถามว่า “ข้าพระองค์จะมองดูโลกอย่างไรดี
พญามัจจุราช(ความตาย)จึงจะมองไม่เห็น” พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า
“เธอจงเป็นผู้มีสติอยู่ทุกขณะพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า
ถอนความเห็นที่ยึดว่าเป็นตนเสีย แล้วจะพ้นจากความตายด้วยอาการอย่างนี้”
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อพระโมฆราชมาณพฟังพระศาสดาแก้ปัญหาจบลง
จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน
จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทกับพระพุทธองค์
พระศาสดาตรัสว่า
เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด
ท่านพร้อมด้วยบริวารอีก
จำนวน ๑,๐๐๐ คน พิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจนเกิดความรู้แจ้งและได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่มีความสำคัญ
ในการประกาศพระศาสนา ด้วยปฏิปทาปอน ๆ ของท่าน
ทำให้บุคคลที่อยู่ในประเภทลูขัปปมาณิกา คือผู้ศรัทธาเลื่อมใสหนักไปในทางใช้ชีวิตแบบสมถะ
หรือปอน ๆ ของท่าน ทั้งในขณะที่ยังมีชีวิต และเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังด้วย
จนได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ผู้ทรงจีวรอันเศร้าหมองในศาสนาของพระองค์ ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน
๘)พระราธเถระ
เอตทัคคะ :
มีปฏิภาณ
ชีวประวัติและการศึกษา
ท่านเกิดในวรรณะพราหมณ์ ตระกูลพราหมณ์ยากจน
ในเมืองราชคฤห์ มีน้องชายชื่อว่า “สุราธะ”
ชีวิตของท่านมีความลำบากมาก เพราะมีความยากจน
พอแก่ตัวก็ถูกลูกเมียรังเกียจไล่ออกจากบ้าน จึงมาอาศัยวัดพระเชตวันเป็นที่พักพิง
โดยอุปนิสัยของท่านแล้วเป็นคนใจบุญสุนทาน
มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก่อน แม้จะยากจนเข็ญใจอย่างไร
ท่านก็ยังทำบุญใส่บาตร แม้พระสารีบุตรก็ยังเคยรับบาตรจากท่านมาแล้ว
เวลามาอยู่วัดก็มีความขยันหมั่นเพียรรับใช้พระภิกษุสามเณรปัดกวาดเช็ดถูวัดวาอารามไม่เคยขาดตกบกพร่องก็ว่าได้
จนทำให้พระเณรในวัดมีเมตตาอนุเคราะห์ท่าน ด้วยการให้อาหารการกินมีความสุขตามอัตภาพ
ภาคการปฏิบัติ
ครั้งหนึ่ง เมื่อท่านอยากจะบวช
แต่ก็ไม่มีใครบวชให้ ท่านก็เสียใจจนร่างกายซูบผอม พระพุทธองค์จึงประชุมสงฆ์ตรัสถามไปให้ดี
ๆ แล้วพูดว่า “มีใครระลึกถึงอุปการะของราธะได้บ้าง”
พระสารีบุตรระลึกถึงท่านว่า เคยใส่บาตรให้ฉันทัพพีหนึ่ง
ท่านจึงรับปากว่าจะเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ราธะเอง
พระพุทธองค์ก็กล่าวสาธุการแก่พระสารีบุตรว่าเป็นผู้มีความกตัญญูเป็นเลิศ
และท่านราธะก็เป็นคนแรกที่บวชด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจา
เมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์อาจารย์อย่างเคร่งครัด
เป็นพระหลวงตาที่ว่านอนสอนง่าย ซึ่งไม่เหมือนกับหลวงตาอื่นๆ
ท่านได้ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาไม่นานนัก ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
หลังจากที่ท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว
ก็มีความสนใจในการเพ่งพินิจธรรม วันหนึ่งขณะที่ท่านนั่งพิจารณาธรรมอยู่ในกระท่อม
เกิดฝนตกรั่วรดลงมาทางหลังคาที่มุงไม่ดี
ท่านคิดเปรียบเทียบกับเรือนที่มุงไม่ดีว่าเหมือนกันกับจิตของบุคคลที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรมตน แล้วจึงกล่าวว่า “เรือนที่มุงไม่ดี
ฝนย่อมตกรั่วรดได้ ฉันใด จิตที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรมตน
ราคะก็ย่อมรั่วรดได้เช่นนั้นเหมือนกัน หากเรือนที่มุงดีแล้ว ฝนตกรั่วรดไม่ได้
ฉันใด จิตที่บุคคลฝึกฝนอบรมตนไว้ดีแล้ว ราคะก็ย่อมรั่วรดไม่ได้เช่นนั้นเหมือนกัน”
และท่านยังเคยเป็นพุทธอุปัฏฐาก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในด้านการมีปฏิภาณไหวพริบ
ข้อควรจำ
ท่านเป็นพระรูปแรกที่บวชด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา
ที่มีพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านยังเป็นพระหลวงตาที่ว่านอนสอนง่าย
๙)พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
เอตทัคคะ : ธรรมกถึก
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมมีชื่อว่า “ปุณณะ” มารดาชื่อว่า
“นางมันตานี” เกิดในวรรณะพราหมณ์
เป็นบุตรของน้องสาวของพระอัญญาโกณฑัญญะ หมู่บ้านโทณวัตถุ
ซึ่งไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์นัก
ท่านได้รับการศึกษาและออกบวชเมื่อคราวที่พระอัญญาโกณฑัญญะเดินทางกลับมาบ้านเกิด
หลังจากการจำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
แล้วจึงกลับไปประกาศพระศาสนาที่บ้านเกิด
จึงทำให้ท่านปุณณะมันตานีบุตรสังเกตเห็นกิริยาอาการของหลวงลุงอยู่ตลอดเวลาว่ามีความเลื่อมใสศรัทธามาก
จึงขอบวช พระอัญญาโกณฑัญญะ(หลวงลุง)จึงได้บวชให้ตามความประสงค์ทุกประการ
ภาคการปฏิบัติ
ครั้นบวชแล้ว
ท่านก็มีความขยันหมั่นเพียรพยายามปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามที่หลวงลุงอบรมสั่งสอนไม่นาน
ก็ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
หลังจากที่ท่านได้บรรลุอรหันต์แล้ว
ท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาอย่างมาก เช่นท่านได้สอนเรื่องกถาวัตถุ
๑๐ ประการ ให้พระอานนท์ฟัง เมื่อคราวที่ท่านพระอานนท์บวชใหม่ๆ
จนทำให้พระอานนท์บรรลุพระโสดาบัน
กถาวัตถุ คือเรื่องที่ควรพูด ๑๐ ประการ คือ
๑. อัปปิจฉกถา เรื่องความมักน้อย
๒. สันตุฏฐิกถา เรื่องความสันโดษ
๓. ปวิเวกกถา เรื่องความสงัด
๔. อสังสัคคกถา
เรื่องความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๕. วิริยารัมภกถา เรื่องการปรารภความเพียร
๖. สีลกถา เรื่องศีล
๗. สมาธิกถา เรื่องสมาธิ
๘. ปัญญากถา เรื่องปัญญา
๙. วิมุตติกถา เรื่องความหลุดพ้น
๑๐.วิมุตติญาณทัสสนกถาเรื่องความรู้เห็นว่าหลุดพ้น
ท่านยังสอนเรื่องกถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้ แก่กุลบุตรชาวเมืองกบิลพัสดุ์อีก
๕๐๐ คน ไม่นานก็บรรลุความเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น
ชื่อเสียงของท่านจึงดังกระฉ่อนไปทั่วทุกสารทิศ
และท่านยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในด้านการแสดงธรรมเทศนา(ธรรมกถึก)
ข้อควรจำ
ท่านได้เป็นหลานและเป็นลูกศิษย์ของพระอัญญาโกณฑัญญะ
ท่านเป็นผู้กล่าวเรื่องกถาวัตถุ ๑๐ ประการ
ท่านเป็นผู้กล่าวหลักธรรมเรื่องวิสุทธิ ๗ ประการ
ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศในการแสดงธรรม (ธรรมกถึก)
๑๐)พระกาฬุทายีเถระ
เอตทัคคะ : ทำสกุลที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า “อุทายี” แต่เพราะท่านมีผิวดำ คนทั่วไปจึงเรียกว่า “กาฬุทายี” เป็นสหชาติและเพื่อนสนิทของพระพุทธเจ้า
เกิดในวรรณะกษัตริย์ เป็นบุตรอำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ และได้รับตำแหน่งเป็นมหาอำมาตย์ของพระพุทธเจ้าต่อจากบิดา
เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาอยู่ในกรุงราชคฤห์
พระเจ้าสุทโธทนะใคร่จะพบพระพุทธองค์
จึงได้ส่งอำมาตย์หลายคนหลายคณะให้มาทูลเชิญกลับเมืองกบิลพัสดุ์
แต่เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์กันหมด
และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุไม่ได้ทูลเชิญพระพุทธเจ้ากลับ
ภาคการปฏิบัติ
ส่วนท่านกาฬุทายีอำมาตย์ ก็เป็นทูตคณะที่ ๑๐
ที่พระเจ้าสุทโธทนะได้ส่งท่านไปพร้อมทั้งบริวารอีก ๑,๐๐๐
คนเพื่อทูลเชิญพระพุทธเจ้ากลับเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอยู่ท่ามกลางพุทธบริษัทที่วัดเวฬุวันพอดี
เมื่อท่านพร้อมกับบริวารได้ฟังธรรมเทศนาจบจนบรรลุความเป็นพระอรหันต์แล้ว
ท่านจึงได้เข้าเฝ้าแล้วกราบทูลเชิญพระพุทธองค์กลับตามพระพุทธบิดาประสงค์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านได้มีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้เจ้าศากยะทั้งหลายหันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
และท่านก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศทางทำให้ตระกูลเลื่อมใส
ข้อควรจำ
ท่านเป็นสหชาตของพระพุทธองค์
ท่านได้พรรณนาหนทางจะเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ ๖๐
พระคาถา
๑๑)พระนันทเถระ
เอตทัคคะ
: ทางเป็นผู้คุ้มครองอินทรีย์
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
พระนันทะ มีบิดาชื่อว่า “สุทโธทนะ” มีมารดาชื่อว่า
“ปชาบดีโคตมี” เป็นพระอนุชาต่างมารดาของพระพุทธเจ้า
มีน้องสาวชื่อว่า “รูปนันทา”
ท่านบวชในวันเดียวกับวันที่จะได้อภิเษกสมรสกับนางชนปทกัลยาณี
คือหญิงงามประจำแคว้น เพราะความเกรงใจในพระทัยของพระพุทธเจ้า
ที่ได้ให้บาตรแล้วจึงตามเสด็จไปจนถึงนิโครธาราม พระองค์ตรัสถามว่า “นันทะ เธอจะบวชหรือ” เพราะความเคารพในพระองค์
จึงรับปากว่า “จักบวช พระเจ้าข้า”
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อบวชแล้ว ครั้งแรก
ท่านก็ไม่อยากจะประพฤติธรรมเท่าที่ควร
เพราะมีความคิดถึงนางชนปทกัลยาณีที่เสียงเรียกของนางให้กลับไปอภิเษกสมรสยังดังก้องหูอยู่
บอกว่าอยากจะสึก พระพุทธองค์เข้าใจความรู้สึกของท่านดี
ไม่ได้ตรัสอะไรแต่พระพุทธองค์ก็ทรงสอนด้วยกลวิธีต่างๆ เช่น จับแขนท่านแล้วใช้พลังฤทธิ์พาเหาะไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เพื่อเปรียบเทียบให้ท่านเลือกเอาระหว่างนางฟ้ากับนางชนบทกัลยาณี
ซึ่งพระนันทะกราบทูลตอบว่า “ระหว่างนางชนบทกัลยาณีกับนางฟ้า ๕๐๐ นาง เมื่อเทียบกันแล้ว
นางชนบทกัลยาณีของข้าพระองค์ก็ไม่ต่างอะไรจากนางลิงบนตอไม้ที่ถูกไฟไหม้เลย”
ท่านจึงมีความเปลี่ยนใจหันมาประพฤติพรหมจรรย์อย่างแข็งขัน
เพราะต้องการนางฟ้ามาเชยชม และถูกพระทั้งหลายพากันเรียกท่านว่า “คนรับจ้าง” บ้าง “คนมีค่าไถ่”
บ้าง ท่านก็ได้บรรลุอรหัตผลทันทีท่านก็รู้แจ้งว่า
ท่านได้เปลื้องตนออกจากวาทะว่า “คนรับจ้าง” และ “คนมีค่าไถ่” ได้
ภาคการประกาศพระศาสนา
ไม่มีการกล่าวถึงว่าท่านได้มีบทบาทสำคัญในการประกาศพระศาสนา
แต่ที่น่าสังเกตก็คือ ท่านมีลักษณะล้ายกับพระพุทธเจ้ามาก
แต่เตี้ยกว่าพระพุทธองค์เพียง ๔ นิ้วเท่านั้น
และใช้จีวรขนาดเดียวกันกับของพระพุทธเจ้า เวลาพระสาวกองค์อื่นๆ
เห็นท่านเดินมาแต่ไกลๆ จึงเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพระพุทธเจ้า
บางครั้งก็มีการเตรียมจัดแจงที่นั่งและลุกรับ เป็นต้น ข้อสังเกตนี้
ก็คงจะเป็นเพราะท่านเป็นผู้มีบุคลิกที่สุขุมคัมภีรภาพที่สง่างามน่าเลื่อมใสศรัทธานั้นเอง
ข้อควรจำ
ท่านประสูติจากพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า
ท่านเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า
ท่านได้ออกบวชเมื่อวันอภิเษกสมรส
ท่านมีลักษณะคล้ายกับพระพุทธเจ้าต่ำกว่าเพียง ๔ นิ้ว
ท่านออกบวชเพราะความเกรงใจ (จำใจ)
๑๒)พระราหุลเถระ
เอตทัคคะ
: เป็นเอตทัคคะทางผู้ใคร่ต่อการศึกษา
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
บิดามีชื่อว่า “เจ้าชายสิทธัตถะ” มารดาชื่อว่า “พระนางยโสธรา(พิมพา)”
มีพี่น้องต่างพระมารดา คือ “พระนันทะ
กับพระนางรูปนันทา” ถ้าจะว่าตามภาษาสามัญแล้ว
ท่านเป็นลูกกำพร้ามาตั้งแต่เกิด
เพราะพระบิดาเสด็จออกบวชตั้งแต่วันที่ท่านเกิดนั้นเอง
ท่านได้ออกบวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ได้เพียง ๗ วัน
สาเหตุที่ท่านได้เข้าไปบวชนั้น
ก็เพราะว่าเข้าไปทูลขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบิดาตามคำชี้แนะของพระนางยโสธราผู้เป็นมารดา
พระพุทธองค์ทรงมอบหมายให้พระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยวิธีบวชแบบ “ติสรณคมนูปสัมปทา” เพราะการให้อริยทรัพย์เป็นของประเสริฐและมีความยั่งยืนถาวร
หลังจากที่ท่านบวชแล้ว เป็นผู้ที่ใคร่ต่อการศึกษามาก
ครั้งหนึ่งท่านลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วกอบเอาทรายเต็มกำมือแล้วตั้งจิตปรารถนาว่า
ขอให้ได้รับคำแนะนำพร่ำสอนมากเท่ากับเมล็ดทรายจากพระพุทธเจ้าและจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์
ท่านประพฤติปฏิบัติธรรมและฟังธรรมจากพระพุทธองค์ไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ไม่มีกล่าวไว้ชัดเจนว่าท่านมีบทบาทอย่างไร
ในการเผยแผ่พระศาสนา แต่ท่านมีวัตรปฏิบัติที่เลื่องลือมากอย่างน้อย ๒ ประการ
ที่นอกเหนือจากการเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา คือ ๑.) ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย และ
๒.) การเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อมารดา
ซึ่งเป็นประเด็นที่นักเรียนนักศึกษานำมาเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี
ข้อควรจำ
ท่านเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ท่านเป็นสามเณรด้วยวิธีไตรสรณคมน์ มีพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
ท่านมีความกตัญญูกตเวทีเป็นยอด
ท่านนิพพานในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ก่อนพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตร
๑๓)พระอุบาลีเถระ
เอตทัคคะ : ผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
มีชื่อว่า “อุบาลี” เป็นลูกของช่างตัดผม(ช่างกัลบก)
เมื่อเติบโตขึ้นก็มีอาชีพเหมือนพ่อ
มีหน้าที่แต่งพระเกสาถวายเจ้าชายภัททิยะ อนุรุทธะ ภคุ กิมพิละ อานนท์ และเทวทัต และท่านมีความจักรักภักดีต่อเจ้าชายทุกพระองค์
ประจำสำนักของเจ้าศากยะ
พระพุทธเจ้าทรงให้ท่านอุบาลีบวชก่อนเจ้าชายศากยะทั้งหมด
จุดประสงค์ก็เพื่อทำลายมานะของพวกเจ้าศากยะ
และเจ้าศากยะเหล่านั้นจะต้องทำความเคารพยำเกรงในท่านผู้บวชก่อนด้วย
เพราะอาวุโสกว่าเพื่อน
เมื่อท่านได้บวชรุ่นเดียวกันกับเจ้าชายศากยะแล้ว
ก็ปฏิบัติธรรมอยู่กับพระพุทธเจ้า วันหนึ่งต้องการจะอยู่ตามลำพัง
จึงได้กราบทูลลาแต่ก็ถูกปฏิเสธจากพระพุทธองค์ด้วยเหตุผลว่า “อุบาลี
หากไปอยู่ตามลำพัง เธอจักเจริญวิปัสสนาธุระอย่างเดียว
แต่ถ้าอยู่ในสำนักของเราตถาคต เธอจักเจริญทั้งวิปัสสนาธุระ(เน้นการปฏิบัติ)
และคันถธุระ(เน้นวิชาการด้วย) การที่พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ก็เพราะว่าในอนาคตท่านอุบาลีจะเป็นกำลังสำคัญ
ในการทำสังคายนา(การร้อยกรองพระธรรมวินัย) ครั้งแรก (ปฐมสังคายนา)
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อท่านได้ศึกษาเรียนรู้ทั้งภาคปริยัติ(วิชาการ)และภาคปฏิบัติ(ลงมือปฏิบัติจริง)ควบคู่กันไป
ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนแล้วอย่างกว้างขวาง ไม่นานนัก
ท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านมีเกียรติประวัติและบทบาทในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ดำรงตั้งมั่นจนถึงปัจจุบัน
และท่านมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องของพระวันัย
และมีผลงานที่ชัดเจนที่สุดอย่างน้อย ๓ ประการด้วยกันคือ ๑.) การวินิจฉัยอธิกรณ์(การตัดสินคดีต่างๆ) ๒.) การวิสัชนา(ตอบปัญหา)พระวินัยในคราวทำปฐมสังคายนา และ ๓.)
การสร้างผู้สืบทอดศาสนทายาท
ซึ่งลูกศิษย์ที่สำคัญของท่านในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ จนสำเร็จด้วยดี
ก็คือพระโมคคลีบุตรติสสเถระเจ้า
ที่ท่านได้ถ่ายทอดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถในด้านพระวินัยอย่างดี
ข้อควรจำ
ท่านถึงเป็นช่างกัลบกก็ได้บวชก่อนเจ้าชายทั้งหมด
เพราะต้องการทำลายทิฐิของพวกเจ้าชายศากยะนั้นเอง
ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศในด้านพระวินัย
ท่านเป็นกำลังสำคัญในการทำสังคายนาครั้งแรก(ปฐมสังคายนา)
๑๔)พระภัททิยเถระ
เอตทัคคะ : ในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
ภาคชีวประวัติก และารศึกษา
ท่านภัททิยะเป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา
เกิดในวรรณกษัตริย์ ตระกูลศากยะ ในกรุงกบิลพัสดุ์
ท่านได้ครองราชสมบัติไม่นานก็สละเสีย
เพราะความเบื่อหน่ายและมีความยุ่งยากลำบากในการทำไร่ไถ่นา
ต่อมาจึงได้พากันชักชวนกันเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์
เพื่อทูลขอบวชโดยมีช่างกัลบกคือท่านอุบาลีติดตามไปด้วย
และอนุญาตให้ท่านอุบาลีบวชก่อน โดยให้เหตุผลว่า “พวกข้าพระองค์เป็นเจ้าชายเชื้อสายศากยะถือตัวจัด
อุาลีนี้ก็รับใช้พวกข้าพระองค์มานาน ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดบวชให้เขาก่อนเถิด
พวกข้าพระองค์จักได้ไหว้เขาได้
ด้วยวิธีการอย่างนี้จะช่วยให้พวกข้าพระองค์ลดความถือตัวลง พระเจ้าข้า” พระพุทธองค์ทรงอนุญาต และบวชให้ทุกท่านด้วยวิธี “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อท่านบวชแล้ว
ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ด้วยการปลีกตัวจากหมู่คณะเข้าไปอยู่ป่าตามลำพัง
ขยันหมั่นเพียรเจริญกรรมัฏฐานไม่นาน ก็บรรลุพระอรหันต์ตามที่ตนปรารถนา
หลังจากที่ท่านได้รับความสุขอันเกิดจากมรรคผลแล้ว
ท่านมักชอบเปล่งอุทานบ่อยๆ ว่า “สุขหนอๆ” เพราะท่านได้รับความสงบสุขอันเกิดจากศีล
สมาธิปัญญาและความหลุดพ้นจากกิเสลทั้งหลาย และท่านได้รับยกย่องในตำแหน่งสูงสุดว่า “เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง หรือสุขุมาลชาติ” นั้นเอง
ภาคการประกาศพระศาสนา
ไม่ปรากฏชัดเจนว่าท่านมีผลงานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ข้อควรจำ
ท่านออาบวชเพราะเพื่อนขอร้อง
ท่านออกบวชพร้อมกับเพื่อนอีก ๕ ท่านคืออนุรุทธะ
อานนท์ กิมพิละ เทวทัต และอุบาลี
ท่านบวชที่อนุปิยนิคม แคว้นมัลละ
ท่านได้รับยกย่องว่า เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง
๑๕)พระอนุรุทธเถระ
เอตทัคคะ : ในทางผู้มีทิพยจักษุ(ตาทิพย์)
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
ท่านเป็นเจ้าชายในตระกูลศากยวงศ์องค์หนึ่ง
มีพระบิดาชื่อว่า “อมิโตทนะ”
ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพี่น้อง ๓ คน คือมหานามะ
อนุรุทธะ และนางโรหิณี ชีวิตฆราวาสของท่านเต็มไปด้วยความอบอุ่น
เนื่องจากมารดาทรงดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี
ท่านได้ออกบวชร่วมกับเจ้าชายศากยวงศ์อีก ๔ องค์
คืออานนท์ ภัททิยะ ภคุ กิมพิละ เทวทัตต์(โกลิยวงศ์) และอุบาลี
ภาคการปฏิบัติ
ท่านบวชไม่นานก็ได้บรรลุทิพจักขุญาณ(ความรู้ที่ทำให้เกิดตาทิพย์)
จากนั้นท่านก็เรียนกรรมฐานจากพระสารีบุตรแล้วลาไปบำเพ็ญสมณธรรมที่ป่าจีนวังสทายวัน
ในแคว้นเจตี ขณะที่บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่า ท่านตรึกมหาปุริสวิตก(ความตรึกของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่) ได้ถึง ๗ ข้อดังนี้
๑.
ธรรมนี้(ศาสนานี้) เป็นของผู้มักน้อย
ไม่ใช่ของผู้มักมาก
๒.
ธรรมนี้เป็นของผู้สันโดษ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
๓.
ธรรมนี้เป็นของผู้สงัด ไม่ใช่ของผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๔.
ธรรมนี้เป็นของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
๕.
ธรรมนี้เป็นของผู้มีสติมั่นคง ไม่ใช่ของผู้หลงลืมสติ
๖.
ธรรมนี้เป็นของผู้มีจิตมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีจิตไม่มั่นคง
๗.
ธรรมนี้เป็นของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้ทรามปัญญา
๘.
ธรรมนี้เป็นของผู้ยินดีในธรรมไม่เนินช้า
ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมที่เนินช้า
ท่านได้พิจารณาไม่นานก็บรรลุความเป็นพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมาก
โดยเฉพาะเป็นที่เคารพของเหล่าเทวดาทั้งหลาย เพราะท่านได้บรรลุทิพจักษุ(ตาทิพย์)และมีการติดต่อสื่อสารกับเทวดาอยู่เนื่องๆ
ท่านได้เป็นอาจารย์ของหมู่คณะมีสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับพระมหาสาวกองค์อื่นๆ
และสุดท้ายปลายชีวิตท่านนิพพานที่ใต้กอไผ่ ใกล้หมู่บ้านเวฬวะแคว้นวัชชี
ขณะนั้นท่านมีอายุใกล้เคียงกับพระอานนท์ และอ่อนกว่าเพียงเล็กน้อย
ข้อควรจำ
ท่านเป็นผู้ไปขอให้พระเจ้าภัททิยะบวชเป็นเพื่อน
ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางมีตาทิพย์
ท่านชอบระลึกถึงมหาปุริสวิตก ๗-๘ อย่างอยู่เสมอ
๑๖)พระอานนท์เถระ
เอตทัคคะ : ทางด้านพหูสุต มีสติ
มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
บิดาชื่อว่า “สุกโกทนะ” มารดาชื่อว่า “กีสาโคตมี”
มีฐานะเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า มีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ
อนุรุทธะ ภคุ กิมพิละ เทวทัตแห่งเมืองเทวทหะด้วย แต่ท่านพิเศษกว่าตรงที่เป็นสหชาต(ผู้เกิดพร้อมกัน)ของพระพุทธเจ้า
ท่านออกบวชพร้อมกับภัททิยะ อนุรุทธะ ภคุ กิมพิละ เทวทัต และอุบาลี
ที่อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ มูลเหตุที่ทำให้ท่านบวช เพราะเป็นจังหวะที่พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระประยุรญาติ
จึงปรึกษากันแล้วพร้อมใจกันบวชตามจำนวนมาก
ภาคการปฏิบัติ
ท่านได้บรรลุธรรมช้ากว่าเจ้าชายศากยะ
เพราะว่าท่านไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม
เนื่องจากต้องขวนขวายอยู่กับการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
เพราะได้ฟังธรรมของพระปุณณมันตานีบุตร และได้บรรลุพระอรหันต์เมื่ออายุได้ ๘๐ ปี
ก่อนมีการทำปฐมสังคายนา(สังคายนาครั้งที่
๑) ภายหลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือน
รวมเวลาที่ท่านเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันอยู่นานถึง ๔๒ ปี
ท่านบรรลุพระอรหันต์แปลกกว่าสาวกองค์อื่นๆ คือไม่อยู่ในอิริยาบถทั้ง ๔
ได้แก่ขณะที่ท่านนั่งอยู่บนเตียงแล้วจึงค่อยเปลี่ยนการเอนกายลงด้วยตั้งใจว่า
จักนอนพักผ่อนสักครู่หนึ่ง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน
ระหว่างนี้เองจิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะคลายความยึดมั่นลงได้
ท่านองค์เดียวเท่านั้นที่บรรลุพระอรหันต์ที่ไม่อยู่ในอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง
และนอน และหลังจากบรรลุพระอรหันต์แล้วไม่นานก็รุ่งเช้า เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จ
ขณะที่พระสงฆ์ ๔๙๙ องค์ ได้เข้าไปนั่งรอท่านอยู่ในมณฑปที่ถ้ำสัตตบรรณ
ข้างภูเขาเวภาระ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธนั้น ท่านก็ได้แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏเพื่อประกาศให้คณะสงฆ์ได้ทราบว่าท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว
ด้วยการดำดินแล้วไปโผล่ขึ้นตรงอาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ท่านนั่ง
จากนั้นการทำสังคายนาจึงได้เริ่มขึ้น
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านได้มีบทบาทอย่างมากในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาและรักษาปกป้องพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวรจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งพอจะสรุปผลงานของท่านได้ดังนี้
๑.)
ทรงจำธรรมไว้ได้มาก คือได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต
สาเหตุที่ทำให้ท่านได้ชื่อว่า เป็นพหูสูต ก็เพราะพร ๑ ใน ๘
ข้อที่ท่านได้ทูลขอต่อพระพุทธเจ้าก่อนเข้ารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากนั้นเอง
๒.)
การขวนขวายเพื่อสิทธิสตรี
สาเหตุเพราะท่านได้ช่วยให้พระนางปชาบดีโคตมีพระน้านางได้พาเจ้าหญิงศากยะจำนวน ๕๐๐
นางมาทูลขอบวชกับพระพุทธองค์สำเร็จนั้นเอง
๓.)
การช่วยระงับความแตกร้าวในพุทธจักร
สาเหตุเพราะพระภิกษุวินัยธรกับธรรมธรชาวเมืองโกสัมพีเกิดวิวาทกันจนถึงขั้นแตกร้าวแล้วขอร้องให้ท่านช่วยพาไปขอขมาพระพุทธองค์จนสำเร็จนั้นเอง
๔.) การวิสัชนาพระธรรมในคราวทำปฐมสังคายนาจนสำเร็จนั้นเอง
๕.)
การสร้างผู้สืบทอดศาสนทายาท
คือท่านได้เป็นหัวหน้าอบรมสั่งสอนสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเป็นจำนวนมากจากท่าน
ที่ปรากฏชื่อ คือพระสัพพกามีและพระยสกากัณฑบุตร เป็นต้น
ซึ่งศิษย์เหล่านี้ได้มามีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่ ๒ จนสำเร็จนั้นเอง
๖.) การเดินทางออกเยี่ยมพระสงฆ์ในวัดวาอารามต่าง ๆ
หลังที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว ซึ่งพุทธบริษัททั้ง ๔ ถือว่าท่านนั้นเปรียบเสมือนตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บั้นปลายชีวิต ท่านมีอายุถึง ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศ
เหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างพระญาติทั้งสองฝ่าย คือ เจ้าศากยะและเจ้าโกลิยะ
๑๗)พระโสณโกฬิวิสเถระ
เอตทัคคะ : ในทางปรารภความเพียร
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า “โสณะ” แปลว่า ทองคำ
เพราะมีผิวพรรณสวยงามมาตั้งแต่เกิด ส่วนโกฬิวิส เป็นชื่อโคตร บิดาชื่อว่า “อุสภเศรษฐี” เกิดในวรรณไวศยะ(แพศย์)
ตระกูลเศรษฐี ในเมืองจัมปา แคว้นอังคะ
ท่านเป็นคนสุขุมาลชาติ
คือฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มและมีสีแดงดังดอกชบา
โดยเฉพาะที่ฝ่าเท้านั้นมีขนอ่อนสีเขียวเหมือนแก้วมณีงอกขึ้น ซึ่งมองดูแปลกกว่าคนทั่วไป นอกจากนั้น
ท่านยังเป็นคนรักการเล่นดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ และดนตรีที่ถนัดที่สุดคือการดีดพิณ
ความทราบถึงพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์จึงรับสั่งให้โสณะโกฬิวิสะเข้าเฝ้า
เพื่อทอดพระเนตรฝ่าเท้าที่แปลกประหลาดของเขา
ภาคการปฏิบัติ
ท่านตัดสินใจออกบวช
เมื่อคราวที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก ด้วยการฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔
จึงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงตัดสินใจทูลขอบวชต่อพระพุทธองค์
เมื่อท่านบวชแล้ว
ได้ไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าสีตวัน เขตเมืองราชคฤห์
ได้ทำความเพียรอย่างมากด้วยการเดินจงกรมจนเท้าแตกและเปลี่ยนมาเป็นการใช้เข่าเดินและใช้มือยัน
จนในที่สุดทั้งเข่าและมือก็แตกอีก ก็ยังไม่บรรลุมรรคผล ต่อมาพระพุทธองค์ทรงทราบเหตุ
จึงตรัสสอนให้ปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอกันด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
อย่าให้ตึงเกินไปและหย่อนเกินไปอุปมาการดีดพิณ ๓ สาย
ท่านได้เป็นต้นเหตุที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้สวมร้องเท้าชั้นเดียวได้
พร้อมกับการขออนุญาตให้พระสงฆ์รูปอื่นๆ ด้วย
ท่านปฏิบัติตามไม่นานก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในป่าสีตวันนั้นเอง
๑๘)พระรัฐบาล
เอตทัคคะ : ในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
ท่านชื่อว่า “รัฐบาล” แปลว่า
ผู้รักษาแว่นแคว้น บิดาของท่านเป็นเศรษฐีเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน เกิดในวรรณะไวศยะ(แพศย์) ในถุลลโกฎฐิตนิคม แคว้นกุรุ
ท่านได้ฟังธรรมเทศนาในคราวที่พระพุทธองค์เสด็จไปยังถุลลโกฎฐิตนิคมแคว้นกุรุ
อันเป็นบ้านเกิดของท่าน เกิดความเลื่อมใสศรัทธาปรารถนาจะบวช
แต่พระพุทธองค์ให้ไปขออนุญาตจากบิดามารดาก่อน
เมื่อท่านทั้งสองไม่อนุญาตกลัวสกุลวงศ์จักขาดสูญ เพราะมีลูกชายอยู่คนเดียว
ท่านจึงทรมานตนเองด้วยการนอนอดข้าวอยู่ในห้องนอน แม้บิดามารดาให้เพื่อนๆ
มาช่วยเกลี้ยกล่อมก็ไม่ยอม สุดท้ายกลัวลูกตายจึงจำใจยอมอนุญาตให้ท่านบวชได้
อย่างน้อยก็ยังได้เห็นหน้ากันอยู่แม้จะบวชพระแล้วก็ตาม
พอท่านทราบว่าบิดามารดาอนุญาตเท่านั้นแหละ
ท่านรีบลุกขึ้นอาบน้ำแต่งตัวและทานข้าวรีบไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างรวดเร็ว
พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระเถระท่านหนึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ท่านตามความปรารถนา
ภาคการปฏิบัติ
ครั้นบวชประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ถึง ๑๒ ปี
จึงได้บรรลุเป็นอรหันต์ การที่ท่านบรรลุธรรมช้า เพราะว่ามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับทางบ้าน
เนื่องจากท่านบวชโดยบิดามารดาไม่เต็มใจ จึงทำให้จิตใจของท่านนั้นไม่มีความสงบ
ภาคการประกาศพระศาสนา
เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว ก็กลับไปยังบ้านเกิด
เพื่อไปโปรดโยมบิดามารดาให้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
และท่านยังได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้ารัพยะจนมีความเข้าใจและเลื่อมใส
พร้อมทั้งตรัสชมเชยท่านเป็นอย่างมากด้วยว่า
ขณะที่ท่านเป็นฆราวาสก็ช่วยเหลือสังคมไว้มาก
แม้บวชแล้วก็ยังมาแสดงธรรมโปรดญาติโยมให้เห็นสัจจธรรมอีก
ต่อมาท่านก็ได้นิพพานหลังพระพุทธเจ้า
๑๙)พระปิณโฑลภารทวาชเถระ
เอตทัคคะ : ในทางผู้บันลือสีหนาท
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
“ปิณโฑลภารทวาช” แปลว่า
ภารทวาชะผู้แสวงหาก้อนข้าว คือเป็นคนกินจุนั้นเอง
ท่านได้เรียนจบไตรเพท และได้เป็นอาจารย์สอนศิษย์เป็นจำนวนมาก
สาเหตุที่ท่านออกบวช เพราะได้ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธองค์
แล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วย “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” หลังจากบวชแล้ว
ท่านได้เที่ยวบิณฑบาตโดยไม่รู้จักประมาณ พระพุทธเจ้าทรงทราบความจริง
จึงทรงใช้อุบายให้ท่านรู้จักประมาณในการรับและการฉัน
ท่านมีความเข้าใจตามคำตรัสก็เกิดความสลดใจ
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อท่านบวชแล้ว จึงเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ไม่นานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา
และชอบเปล่งวาจาว่า “ผู้ใด
มีความเคลือบแคลงสงสัยในมรรคก็ดี ผลก็ดี ขอผู้นั้นจงมาถามข้าพเจ้าเถิด” ดังนั้น ท่านจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางผู้บันลือสีหนาท
ภาคการประกาศพระศาสนา
หลังจากท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว
ได้ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาไว้มากมายด้วยกัน เช่น ท่านได้รับคำท้าการประลองฤทธิ์
ด้วยเหตุที่ว่ามีเศรษฐีคนหนึ่งอยู่ในเมืองราชคฤห์ ได้ประกาศว่า
ถ้าในโลกนี้มีพระอรหันต์จริง
ก็ขอให้เหาะขึ้นไปรับเอาบาตรที่ตนทำด้วยไม้จันทน์สูงประมาณ ๘ ชั่วลำตาลได้
ตนเองพร้อมทั้งบุตรธิดาก็จะขอเป็นทาสรับใช้และนับถือตลอดชีวิต ซึ่งท่านก็ได้เข้าฌานแสดงฤทธิ์เหาะขึ้นไปรับบาตรตามเจตนาของเศรษฐีทุกประการ
และช่วยเพื่อนให้เป็นสัมมาทิฐิด้วยการแนะนำได้เห็นถึงประโยชน์และอานิสงส์ของการให้ทานจนสำเร็จ
และได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้าอุเทน ที่เมืองโกสัมพี
เกี่ยวกับเรื่องที่มีพระหนุ่มสามเณรน้อยอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต
ก็เพราะการศึกษาเหล่าเรียนและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ด้วยการสำรวมระวังในขณะที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส
กายถูกต้องสัมผัส และความนึกคิดเรื่องราวต่างๆ ไม่ให้มีความยึดมั่นถือมั่นนั้นเอง จนทำให้พระเจ้าอุเทนทรงเข้าพระทัยในวิถีชีวิตของพระภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยยิ่งขึ้น
แล้วเกิดความเลื่อมใสประกาศพระองค์มานับถือพระพุทธศาสนา
ข้อควรจำ
ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางผู้บันลือสีหนาท
ท่านบวชอยู่ที่กรุงราชคฤห์
ท่านเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย สติ สมาธิ และปัญญา
๒๐)พระมหาปันถกเถระ
เอตทัคคะ : ในทางเจริญวิปัสสนา
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
มารดาเป็นธิดาของเศรษฐี มีน้องชายชื่อว่า “จูฬปันถก” เกิดในตระกูลจัณฑาล
เนื่องจากบิดามารดาเป็นคนต่างวรรณะกัน คือบิดาเป็นคนวรรณะศูทร
ส่วนมารดาเป็นคนวรรณะไวศยะ (แพศย์) ในเมืองราชคฤห์
ตั้งแต่เล็ก ๆ ท่านถูกส่งไปอยู่กับคุณตา
และคุณตาก็พาหลานไปฟังธรรมที่วัดเวฬุวันบ่อยๆ
แม้คุณตาจะรังเกียจบิดาที่เป็นวรรณะศูทรก็ตาม แต่ก็รักหลานทั้ง ๒ มาก
บางครั้งท่านก็มีความรู้สึกไม่สบายใจที่ถูกคนอื่นเรียกว่า “ลูกไม่มีพ่อไม่มีแม่” ต่อมาจึงขอบวช ผู้เป็นตาก็อนุญาตให้บวชเป็นสามเณรก่อนเพราะอายุยังไม่ครบ
๒๐ ปี เมื่ออายุครบจึงอุปสมบท
การที่เศรษฐี(คุณตา)อนุญาตให้บวชง่ายดายก็เพราะว่าจะเป็นช่องทางหนึ่งในการช่วยลดปมด้อยของหลานชายที่มักถูกเรียกว่า
“ลูกไม่มีพ่อไม่มีแม่” ลงได้นั้นเอง
ภาคการปฏิบัติ
หลังจากที่ท่านบวชแล้วก็ได้เจริญโยนิโสมนสิการ
คือการกำหนดนามรูปเป็นอารมณ์ จนได้บรรลุฌานอภิญญา แล้วเจริญวิปัสสนาต่อ
ไม่นานนักก็บรรลุความเป็นพระอรหันต์ และท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศในปัญญาวิมุติ(วิปัสสนา)
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านไม่มีประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจน
ข้อควรจำ
ท่านถูกกล่าวว่าเป็นลูกไม่มีพ่อแม่เพราะเกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน
ท่านเป็นผู้ชำนาญในการเข้าฌานอภิญญา
ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศในการเจริญวิปัสสนา
๒๑)พระจูฬปันถกเถระ
เอตทัคคะ : ในทางมโนมยิทธิ (เจโตวิวัฎฎ์-ฤทธิ์ทางใจ)
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า “ปันถกะ” แปลว่า “ทาง” เพราะมารดาได้คลอดในระหว่างเดินทางกลับจากเมืองราชคฤห์
ท่านเป็นบุตรคนที่สอง จึงได้คำนำหน้าว่า “จูฬปันถกะ” แปลว่า “ทางเล็ก” ส่วนพี่ชายของท่านมีชื่อว่า
“มหาปันถกะ” แปลว่า “ทางใหญ่”
บิดาของท่านเกิดในวรรณะศูทร ไม่ปรากฎนาม
ส่วนมารดาเป็นลูกสาวเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ เป็นคนวรรณะแพศย์ หรือไวศยะ
ต่อมาทั้งสองได้เกิดความรักต่อกัน จึงได้หนีออกจากบ้านไปอยู่ในป่า
ซึ่งไกลจากเมืองราชคฤห์ และได้กำเนิดบุตรชายสองคน คือ มหาปันถกะ และจูฬปันถกะ
บิดามารดาจึงได้นำลูกทั้งสองไปให้เศรษฐีเมืองราชคฤห์
ซึ่งเป็นตากับยายเลี้ยงดู แต่ด้วยการที่ท่านเศรษฐีมีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ได้พาเด็กทั้งสองไปฟังธรรมที่วัดด้วยเป็นประจำ
เด็กทั้งสองจึงมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้ขออนุญาตตากับยายบรรพชา
ท่านได้อนุญาตให้มหาปันถกะบวชได้ ส่วนจูฬปันถกะยังไม่อนุญาตให้บวช เพราะยังเด็ก
จึงให้อยู่กับตายายไปก่อน
ภาคการปฏิบัติ
หลังจากมหาปันถกะผู้เป็นพี่ชายได้บวชในพระพุทธศาสนา
และได้บรรลุพระอรหันต์แล้วได้นึกถึงจูฬปันถกะผู้เป็นน้องชาย
ใคร่จะให้น้องชายของตนได้พบกับความสุขอันเกิดจากมรรคผลนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
จึงได้ไปขออนุญาตธนเศรษฐีผู้เป็นตาให้จูฬปันถกะได้บวช
ซึ่งเศรษฐีก็ยินดีอนุญาตให้บวชตามที่ขอ
หลังจากจูฬปันถกะได้บวชแล้ว มหาปันถกะผู้เป็นพี่ชายได้พยายามอบรมสั่งสอน
แต่ท่านมีปัญญาทึบจำอะไรไม่ค่อยได้ โดยที่สุด พระพี่ชายให้ท่านท่องคาถา ๔ บท
ใช้เวลา ๔ เดือนยังท่องไม่ได้ ท่านจึงเกิดความเสียใจ คิดจะลาสิกขา
จึงได้เดินร้องไห้ออกจากวัด
ในขณะนั้น พระศาสดาทรงทราบเหตุการณ์นั้นมาโดยตลอด
จึงได้เสด็จไปเพื่อห้ามการลาสิกขาของพระจูฬปันถกะ แล้วได้ประทานผ้าขาวผืนหนึ่งให้
แล้วตรัสสอนให้บริกรรมว่า “ระโชหะระณัง ระโชหะระณัง(ผ้าเช็ดธุลี)” พร้อมกับลูบผ้านั้นไปด้วย
ไม่นานนักผ้าขาวผืนนั้นก็ค่อยๆ หมองคล้ำไปจนเห็นเป็นสีดำ ท่านจึงพิจารณาเห็นว่า
แม้ผ้าขาวบริสุทธิ์อาศัยร่างกายของมนุษย์ ยังต้องกลายเป็นสีดำอย่างนี้
ถึงจิตของมนุษย์ เดิมทีเป็นของบริสุทธิ์ อาศัยกิเลสจรมาก็ย่อมเกิดความเศร้าหมอง
เหมือนกับผ้าผืนนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงแท้
ท่านบริกรรมผ้านั้นไปจนจิตสงบแล้วได้บรรลุฌาน
แล้วได้เจริญวิปัสสนาต่อก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญา
ภาคการประกาศพระศาสนา
หลังจากที่ท่านบรรลุพระอรหันต์นั้น
ท่านได้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้คนใช้ของหมอชีวกได้ประจักษ์ด้วยสายตาตนเอง
ดังเรื่องที่ท่านเนรมิตรภิกษุเป็นพันรูป ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน
เมื่อคนใช้ที่หมอชีวกมานิมนต์ท่านแล้ว ถามว่า “พระรูปไหนชื่อจูฬปันถกะ” ทั้งพันรูปก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า
“อาตมาชื่อจูฬปันถกะ” ในที่สุดพระศาสดาทรงแนะนำวิธีให้ว่า
รูปไหนพูดก่อนว่า “อาตมาชื่อจูฬปันถกะ” ให้จับมือภิกษุรูปนั้น คนใช้ของหมอชีวกก็ได้ทำตามนั้น ด้วยเหตุนี้เอง
พระศาสดาจึงทรงยกย่องท่านว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านผู้เนรมิตกายอันสำเร็จด้วยฤทธิ์และผู้พลิกแพลงจิต
พระจูฬปันถกเถระเมื่อได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว
ได้พิจารณาถึงธรรมที่ตนเองบรรลุ แล้วได้เกิดปีติเปล่งอุทานว่า “เมื่อก่อนญาณคติ(ปัญญา)ของเราเกิดช้าไป
จึงถูกใครๆ เขาดูหมิ่น พระพี่ชายก็ขับไล่ให้กลับไปอยู่บ้าน
เรานั้นเสียใจไปยืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตูสังฆาราม เพราะความอาลัยในพระพุทธศาสนา
พระศาสดาทรงประทานผ้าให้แก่เราแล้วตรัสว่า “เธอจงภาวนาให้ดี”
เรารับพระดำรัสของพระชินสีห์ ยินดีในพระพุทธศาสนา
ภาวนาสมาธิเพื่อเป็นพื้นฐานการบรรลุประโยชน์อันสูงสุด จึงได้บรรลุวิชชา ๓ ตามลำดับ
ท่านได้ช่วยพระศาสดาประกาศพระศาสนาตามความสามารถมาโดยตลอดจนได้นิพพานดับสังขาร
๒๒)พระโสณกุฏิกัณณเถระ
เอตทัคคะ : ในการแสดงธรรมด้วยคำไพเราะ
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า “โสณะ” แต่เพราะมีเครื่องประดับหูมีราคาถึงหนึ่งโกฏิ
จึงมีคำต่อท้ายว่า “โสณกุฏิกัณณะ” บิดาไม่ปรากฎนาม
ส่วนมารดาเป็นอุบาสิกามีนามว่า “กาฬี” เป็นพระโสดาบัน
และเป็นผู้ถวายความอุปถัมภ์บำรุงพระมหากัจจายนะ ท่านเกิดในตระกูลคฤหบดี
เป็นวรรณะแพศย์ ในเมืองกุรุรฆระ แคว้นอวันตี ก่อนบวชท่านได้ประกอบอาชีพค้าขาย
ภาคการปฏิบัติ
เนื่องจากมารดาของท่านเป็นผู้อุปัฏฐากพระมหากัจจายนะ
เวลาไปวัดจึงได้พาบุตรชายชื่อโสณะไปด้วย
จึงทำให้มีความรู้จักและคุ้นเคยกับพระเถระมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
ต่อมาครั้นเจริญวัยมีศรัทธาเลื่อมใสใคร่จะบวชในพระพุทธศาสนา
จึงขอบรรพชาอุปสมบทกับพระเถระ โดยท่านก็อธิบายให้ฟังว่า การบวชนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
มีความลำบากมาก แต่เขาก็ยืนยันจะบวชให้ได้ พระเถระจึงบวชให้ท่านเป็นสามเณรก่อน
เพราะในอวันตีชนบทหาพระครบองค์สงฆ์ ๑๐ องค์ไม่ได้ ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่ ๓ ปี
จึงได้พระครบ ๑๐ องค์ แล้วได้อุปสมบทเป็นภิกษุ
หลังจากพระโสณะกุฏิกัณณะได้บวชแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในสำนักของพระอุปัชฌาย์
พากเพียรบำเพ็ญภาวนา ในไม่ช้า ท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เป็นพระขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ครั้นท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว
เนื่องจากท่านไม่เคยเห็นพระศาสดา ปรารถนาจะเข้าเฝ้า จึงได้ลาพระอุปัชฌาย์ เมื่อได้รับอนุญาตและได้ฝากไปทูลผ่อนผันเรื่องพระวินัย
๕ ประการ สำหรับปัจจันตชนบท เช่น การอุปสมบทด้วยคณะปัญจกะคือมีภิกษุประชุมกัน ๕
รูป จึงบวชกุลบุตรได้ เป็นต้น ท่านก็ได้ทูลขอตามนั้น
และพระศาสดาก็ทรงอนุญาตตามที่ท่านขอทุกประการ
เมื่อท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น ก็ได้รับการตอนรับเป็นอย่างดี โดยทรงอนุญาตให้พักในพระคันธกุฏีเดียวกับพระพุทธองค์
และทรงโปรดให้ท่านแสดงธรรมทำนองสรภัญญะ เมื่อจบการแสดงธรรม
พระพุทธองค์ก็ทรงอนุโมทนาและชมเชยท่านว่า กล่าวธรรมได้ไพเราะ
ท่านได้พักอยู่ที่นั้นพอสมควรแล้วจึงได้ทูลลา
เมื่อท่านมีความสามารถในการแสดงธรรมแบบสรภัญญะด้วยเสียงอันไพเราะต่อพระพักตร์ของพระศาสดา
ท่านจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
แม้การได้รับเอตทัคคะในด้านนี้ พระโสณกุฎิกัณณเถระเอง
ก็ได้สร้างบารมีตั้งจิตปรารถนามาตั้งแต่อดีตชาติแล้ว
ท่านพระโสณกุฎิกัณณเถระนี้ ได้ช่วยประกาศพระศาสนาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
ในที่สุดก็นิพพานดับเบญจขันธ์หยุดการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
๒๓)พระลกุณฎกภัททิยเถระ
เอตทัคคะ
: ในทางผู้มีเสียงไพเราะ
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมท่านชื่อว่า “ภัททิยะ” แต่เพราะท่านมีร่างกายเตี้ยและเล็ก จึงเรียกว่า
“ลกุณฎกภัททิยะ (ลกุณฎกะ แปลว่า
เล็ก,เตี้ย)” บิดามารดาของท่านไม่ปรากฎชื่อ
เป็นคนวรรณะแพศย์ มีทรัพย์มาก เป็นชาวเมืองสาวัตถี สมัยก่อนบวชท่านได้รับการเลี้ยงดู
และการศึกษาอย่างดีตามที่จะหาและทำได้ในสมัยนั้น
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อสมัยที่พระศาสดาประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
ในวันนั้น ลกุณฎกภัททิยะ ได้มีโอกาสไปฟังธรรมเทศนา
จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสใคร่จะบวชในพระพุทธศาสนา จึงทูลขอบวชกับพระศาสดา
พระพุทธองค์ทรงให้ไปขออนุญาตบิดามารดาก่อน แล้วก็บวชให้ตามประสงค์
เมื่อท่านได้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ได้เรียนกรรมฐานพากเพียรภาวนา
เจริญวิปัสสนาใช้ปัญญาพิจารณาสังขารโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
ในไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
พระลกุณฎกภัททิยะ แม้ร่างกายของท่านจะเล็กมาก
แต่ท่านก็มีสติปัญญา และความพากเพียรปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาจนสามารถบรรลุมรรคผลได้
ภิกษุทั้งหลายที่ไม่รู้จักท่านมาเฝ้าพระศาสดา คิดว่าเป็นสามเณร บ้างก็ล้อเล่น
ลูบศีรษะ จับใบหู ถามว่า “พ่อเณรยังไม่กระสันอยากสึกดอกหรือ”
ท่านก็ไม่ว่าอะไร พอเข้าไปเฝ้าพระศาสดาถูกตรัสถามว่า “ก่อนเข้ามา พบพระเถระไหม? จึงพากันทูลว่าไม่พบ
พบแต่สามเณรตัวน้อยๆ พระเจ้าข้า” พระศาสดาตรัสว่า “นั่นเป็นพระเถระ ไม่ใช่สามเณร” จึงทูลว่า “ท่านตัวเล็กเหลือเกินพระเจ้าข้า” พระศาสดาตรัสว่า
เราไม่เรียกภิกษุว่าเป็นเถระ เพราะเขาเป็นคนแก่ นั่งบนอาสนะของพระเถระ ส่วนผู้ใดบรรลุสัจจะทั้งหลาย
ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมหาชน ผู้นี้ชื่อว่า เป็นพระเถระ
พระลกุณฎกภัททิยะเถระ
ยังได้รับการยกย่องสรรเสริญจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีเสียงอันไพเราะ
การที่ท่านได้บรรลุอรหันต์ และได้รับเอตทัคคะแบบนี้ ก็เพราะท่านได้ทำบุญกุศลสร้างบารมีตั้งแต่อดีตมาช้านาน
ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ท่านเห็นพระพุทธองค์แต่งตั้งภิกษุสาวกรูปหนึ่งว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้แสดงธรรมอันไพเราะ ท่านจึงปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง
และได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเช่นกัน
วันหนึ่งท่านก็ได้เปล่งอุทานออกมาเป็นคาถาว่า ภิกษุชื่อภัททิยะ
ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากเหง้าหมดแล้ว เจริญด้วยศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นโลกุตตระ
เข้าฌานอยู่ในป่าชัฏแห่งหนึ่งนามว่า “อัมพาฏการามอันประเสริฐ”
คนบางพวกเขารื่นเริงกันด้วยเสียงตะโพน พิณและปัณเฑาะว์
ส่วนเรายินดีในพระพุทธศาสนา จึงรื่นรมย์อยู่ที่โคนต้นไม้
ถ้าพระพุทธองค์จะทรงประทานพรแก่เรา และเราก็สามารถได้พรนั้นสมมโนรถ
เราจะเลือกเอาพรว่า ขอให้ชาวโลกทั้งหมดเจริญกายคตาสติ กัน
พระลกุณฎกภัททิยเถระ ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก
ช่วยประกาศพระพุทธศาสนาจนถึงวาระสุดท้ายได้นิพพานหยุดการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
๒๔)พระสุภูติเถระ
เอตทัคคะ : ในทางเจริญฌานประกอบด้วยเมตตา
และเป็นทักขิไณยบุคคล
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า “สุภูติ” เพราะมีร่างกายสดใสรุ่งเรืองอย่างยิ่ง
บิดานามว่า “สุมนเศรษฐี” มารดาไม่ปรากฎนาม
เกิดที่เมืองสาวัตถี เป็นคนวรรณะแพศย์
พระสุภูติเถระในสมัยก่อนบวชตั้งแต่เป็นเด็กมา
ได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาเป็นอย่างดีที่จะพึงหาได้ในสมัยนั้น
เพราะบิดาของท่านเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มาก
ภาคการปฏิบัติ
สมัยหนึ่งพระศาสดาประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้มาเยี่ยมราชคหเศรษฐีผู้เป็นสหายที่เมืองราชคฤห์
ได้ทราบการเสด็จอุบัติแห่งพระศาสดา
จึงได้เข้าไปเฝ้าที่สีตวันพร้อมับได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์และได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
จึงได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จไปเมืองสาวัตถีบ้าง พร้อมกับได้สร้างพระเชตวันมหาวิหารถวายเป็นที่ประทับ
ในวันฉลองมหาวิหาร สุภูติกุฎมพีไปกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เพื่อฟังธรรมของพระพุทธองค์ และได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาใคร่จะบวชในพระพุทธศาสนา
จึงทูลขอบวชและได้บวชตามที่ขอ
เมื่อท่านบวชแล้ว ก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนแตกฉาน และนำไปประพฤติปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐานไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ครั้นท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว
ท่านมีปฏิปทาที่พิเศษกว่าผู้อื่น คือ
เมื่อแสดงธรรมก็จะไม่ออกไปนอกจากนิยามที่พระศาสดาทรงแสดงไว้
ไม่พูดถึงคุณหรือโทษของใคร เวลาเที่ยวไปบิณฑบาต ก่อนจะรับอาหารบิณฑบาต
ท่านจะเข้าเมตตาฌาน ออกจากฌานแล้วจึงรับบิณฑบาต ทำอย่างนี้ทุก ๆ เรือน
ด้วยตั้งใจว่าจะทำให้ผู้ถวายอาหารได้บุญมาก
ท่านได้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า
ท่านเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อยู่อย่างไม่มีกิเลสและเป็นพระทักขิไณยบุคคล
การที่ท่านมีอุปนิสัยอย่างนี้ก็เพราะว่าท่านได้สั่งสมบุญบารมีมาตั้งแต่อดีตชาติ
เพราะได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
สองอย่างคือ การอยู่อย่างไม่มีกิเลส และความเป็นพระทักขิไณยบุคคล
ท่านจึงตั้งใจบำเพ็ญบุญทุกอย่างเพื่อให้ได้ตามที่ตนปรารถนา
พระศาสดาจึงทรงพยากรณ์ว่า ท่านจักได้แน่นอน ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
ท่านได้ช่วยประกาศพระศาสนาจนตลอดอายุของท่าน
สุดท้ายก็ได้ดับขันธปรินิพพาน เหมือนไฟที่ดับโดยหาเชื้อมิได้
๒๕)กังขาเรวตเถระ
เอตทัคคะ
: เป็นผู้ชำนาญในการเข้าฌาน
ภาคชีวประวิติและการศึกษา
นามเดิมชื่อว่า “เรวตะ” แต่เพราะท่านมีความสงสัยในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ(สมควร)มากเป็นพิเศษ จึงได้รับขนานนามว่า “กังขาเรวตะ แปลว่า เรวตะผู้มีความสงสัย” บิดามารดาของท่านไม่ปรากฎนาม
ท่านมีฐานะดี อยู่ในวรรณะแพศย์ เป็นชาวเมืองสาวัตถี เพราะฉะนั้น
ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดู และได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี
ภาคการปฏิบัติ
วันหนึ่ง
ท่านเรวตะได้ไปยังพระเชตวันพร้อมกับมหาชนยืนอยู่ท้ายบริษัทฟังธรรมกถาของพระศาสดา
เกิดศรัทธาปรารถนาจะบวช เมื่อมหาชนกลับไปหมดแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอบรรพชาอุปสมบท
พระศาสดาก็ทรงบวชไห้เขาตามปรารถนา
พอท่านได้บวชแล้ว ได้ทูลขอให้พระศาสดาตรัสสอนกรรมฐานทำบริกรรมในฌาน
ครั้นได้ฌานแล้ว ทำฌานนั้นให้เป็นบาทเจริญวิปัสสนาพิจารณาฌานนั้นว่าเป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นความสุขอันเกิดจากฌานนั้น
ไม่นานท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์
ท่านกังขาเรวตเถระ
มักจะเข้าฌานนั้นทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนทั้งหลายผู้ใฝ่ในฌานมีความเลื่อมใสศรัทธาท่านมาก
ต่างพากันไปสักการะเคารพบูชาท่านเป็นจำนวนมาก
จนทำให้ท่านได้รับการยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในการเข้าฌาน
ในอดีตชาติ ท่านได้สร้างสมบุญญาบารมีเป็นจำนวนมาก
ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เพื่อจะได้เข้าฌานและอภิญญา
ดังพระสาวกของพระพุทธองค์ ซึ่งก็ได้บรรลุตามที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ
ท่านได้ช่วยประกาศพระศาสนาเป็นอย่างมากตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน
๒๖)พระโกณฑธานเถระ
เอตทัคคะ : ในทางถือสลากเป็นปฐม
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
นามเดิมชื่อว่า “ธานะ” เพราะเหตุที่ท่านมีภาพลวงตาเป็นสตรีติดตามท่าน
ด้วยผลกรรมในชาติก่อนของท่าน ภิกษุและสามเณรทั้งหลายจึงตั้งชื่อเพิ่มให้ท่านว่า “โกณฑธาน หรือกุณฑธาน” บิดาและมารดาของท่านไม่ปรากฎนาม
ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ เมืองสาวัตถี
ท่านได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี และได้รับการศึกษาในเพศฆราวาสจนจบไตรเพท
แต่ก็ไม่ได้ตั้งตนเป็นอาจารย์สอนใคร ๆ
ภาคการปฏิบัติ
พอท่านมีอายุย่างเข้าปัจฉิมวัย
ได้ฟังธรรมของพระศาสดาเป็นประจำจนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
จึงขออุปสมบท และได้บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา นับตั้งแต่ที่ท่านบวช ด้วยอกุศลกรรมที่ท่านทำในอดีตชาติ
เวลาที่ท่านจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ภายในวัด หรือนอกวัดก็ตาม
โดยเฉพาะในเวลาที่ท่านเที่ยวบิณฑบาต จะมีคนเห็นภาพสตรีตนหนึ่งติดตามหลังท่านไปเสมอ
แต่ตัวท่านเองไม่ทราบเลย พอคนใส่บาตรก็จะบอกว่า ส่วนนี้ของท่าน
ส่วนนี้สำหรับหญิงสหายของท่าน
ภิกษุและสามเณรทั้งหลายก็เห็นภาพนั้นเป็นประจำ
วันหนึ่งจึงพากันล้อมกุฏิท่าน แล้วพูดเยาะเย้ยว่า พระธานะมีเหี้ยเกิดแล้ว
ท่านอดกลั้นไว้ไม่อยู่จึงได้ตอบโต้ไปว่า พวกท่านก็เป็นเหี้ย
ภิกษุทั้งหลายจึงไปฟ้องพระพุทธองค์ๆ ตรัสเรียกท่านไปพบและแสดงธรรมว่า
เธออย่ากล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ เพราะผู้ที่ถูกเธอด่า ย่อมด่าตอบเธอ
จะกลายเป็นการแข่งดีกัน สุดท้ายก็จะเกิดการทะเลาะทำร้ายกันได้
ท่านมีความลำบากใจ โดยเฉพาะเรื่องอาหารบิณฑบาต ต่อมามีการพิสูจน์ความจริง
โดยมีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นประธาน และทรงเห็นว่าเป็นเรื่องไม่จริง และเป็นเวรกรรมของท่าน
พระองค์จึงรับภาระอุปถัมภ์ท่าน พอท่านได้สัปปายะด้วยอาหารแล้ว
ได้ตั้งใจพากเพียรปฏิบัติธรรม ไม่นานก็บรรลุพระอรหันต์ พอท่านบรรลุพระอรหันต์
ภาพลวงตาผู้หญิงก็ได้หายไปทันที
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านบวชตอนอายุมากแล้ว จึงไม่มีผลงานด้านประกาศพระศาสนาที่ชัดเจน
แต่บาปกรรมที่ท่านได้ทำไว้ในอดีตชาติ
น่าจะเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างดีเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม
ว่าเมื่อใครทำไปแล้ว จะหนีกรรมไม่พ้นอย่างแน่นอน ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
หรือชาติใดชาติหนึ่งเหมือนท่านเป็นตัวอย่าง
อดีตชาติของท่านได้เป็นภุมมเทวดา
เห็นพระภิกษุสองรูปเกิดรักใคร่กลมเกลียวกันดี
จึงแปลงร่างเป็นผู้หญิงสาวสวยเดินตามหลังภิกษุรูปหนึ่ง
ทำให้เพื่อนอีกรูปหนึ่งรังเกียจและไม่ลงอุโบสถร่วมกัน
ต่อมาภายหลังเทวดาเกิดสลดใจสำนึกผิด จึงจำแลงกายมาบอกความจริงให้ภิกษุทั้งสองมีความสามัคคีเข้าใจกันเหมือนเดิม
พอมาชาติสุดท้ายท่านจึงมีภาพลวงตาสตรีติดตามท่านด้วยผลกรรม
เวลาที่ท่านได้รับกิจนิมนต์ ท่านมักจะได้รับการจับสลากก่อนเสมอ
ด้วยผลกรรมที่ท่านได้สร้างในอดีตชาติเหมือนกัน
จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในการจับสลากเป็นปฐมนั้นเอง
ท่านได้ดำรงชีวิตจนถึงวาระสุดท้าย ก็ได้นิพพาน
๒๗)พระวังคีสเถระ
เอตทัคคะ : ในทางผู้มีปฏิภาณในการกล่าวเป็นคำประพันธ์
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
ท่านวังคีสะ เกิดในวังคชนบท ในเมืองสาวัตถี
การศึกษาจบไตรเพท และท่านมีความชำนาญในถ้อยคำ เป็นที่พอใจของครูอาจารย์มากเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะการใช้เล็บดีดกะโหลกศีรษะของผู้ที่ตายภายในเวลา ๓ ปี แล้วสามารถรู้ได้ว่า
ไปเกิดที่ไหน และท่านได้ลาภเป็นอันมากเพราะการดีดกะโหลกเป็นอุบายหาเลี้ยงชีพ
บิดาเป็นพราหมณ์ ส่วนมารดาเป็นปริพพาชก ทั้งสองเป็นพราหมณ์ในเมืองสาวัตถี
ภาคการปฏิบัติ
วันหนึ่งท่านได้สดับคุณของพระพุทธเจ้า
เกิดความเลื่อมใสศรัทธาอยากจะไปเฝ้าให้ได้ แม้จะถูกคัดค้านจากพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม
เพราะกลัวจะไปนับถือพระองค์นั้นเอง สุดท้ายก็ไปเฝ้าจนสำเร็จ
และได้รับการปฏิสันถารจากพระพุทธองค์เป็นอย่างดี และก็ได้ประลองวิชาดีดกะโหลกกับพระพุทธองค์ว่ากะโหลกนี้ไปเกิดในนรก,สวรรค์ หรือเทวดาเป็นต้น
จนได้รับสาธุการ แต่พอดีดกะโหลกสุดท้าย ซึ่งเป็นพระอรหันต์
ท่านก็ไม่ทราบว่าไปเกิดที่ไหน นั่งเหงื่อไหล พระองค์จึงตรัสว่า
ถ้าเธออยากได้มนต์นี้ ก็จงถือเพศบรรพชิตเท่านั้นจึงรู้ได้ พอท่านบวชแล้ว
ก็ได้เรียนกรรมฐานคือ อาการ ๓๒ และวิปัสสนากรรมฐานไม่นาน ก็บรรลุพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ในตำนานไม่ปรากฎชัดในเรื่องการประกาศพระศาสนาของท่าน
แต่ท่านได้ทำให้ประชาชนทั้งหลายผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้เลื่อมใส
และผู้ที่เลื่อมใสแล้วให้เลื่อมใสศรัทธายิ่งขึ้น
ท่านเป็นผู้มีปฏิภาณในการกล่าวคำเป็นประพันธ์(ฉันท์)สรรเสริญคุณของพระศาสดา เวลาที่ท่านเข้าไปเฝ้าได้ทุกครั้ง
จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ
สุดท้ายท่านก็เข้าสู่นิพพาน
๒๘)พระปิลินทวัจฉเถระ
เอตทัคคะ
: ในทางเป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทพยดา
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
นามเดิมชื่อว่า “ปิลินทะ” ส่วนคำว่าวัจฉะเป็นชื่อของโคตร
ภายหลังชื่อว่า “ปิลินทวัจฉะ”
เพราะนำเอาชื่อโคตรไปรวมด้วย เกิดในตระกูลวัจฉโคตร ในเมืองสาวัตถี ส่วนบิดาและมารดาไม่ปรากฎนาม
ปกติท่านเป็นผู้ที่มากไปด้วยความสังเวช คือความสลดใจที่ประกอบกับโอตตัปปะ
ได้บวชเป็นปริพพาชก สำเร็จวิชา ๓ ชื่อว่าจูฬคันธาระ
เหาะเหินเดินอากาศได้และรู้ใจของผู้อื่น มีลาภยศมาก โดยอาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ และประทับประกาศพระศาสนาอยู่ที่นครราชคฤห์
ทำให้วิชา และลาภยศของท่านเสื่อม ต่อมาท่านจึงเลื่อมใสและขอบวช
โดยหวังว่าจะได้เรียนรู้วิชาจากพระพุทธองค์
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อท่านได้บวชเรียนพากเพียรยายามปฏิบัติกรรมฐานและวิปัสสนากับพระพุทธองค์
ไม่นานนักก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านผู้ที่มีอุปนิสัยถึงพร้อมแล้ว
ภาคการประกาศพระศาสนา
หลังจากที่ท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว
ได้ช่วยประกาศพระศาสนาหลายอย่าง จนเป็นที่เคารพรักศรัทธาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
กล่าวกันว่า ผู้ที่เคยตั้งอยู่ในโอวาทของท่านสมัยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ได้ไปเกิดเป็นเทวดามากมาย
เทวดาเหล่านั้นมีความกตัญญู นับถือท่านมาก จึงพากันมาเฝ้าท่านทั้งเช้า-เย็น
แต่ท่านมักจะมีปัญหากับภิกษุและชาวบ้าน เพราะท่านพูดไม่เพราะ ไม่ว่าจะเรียกใครๆ
ก็ตามมักจะมีคำว่า “คนถ่อย” พ่วงท้ายมาด้วยเสมอ
เพราะวาสนาของท่าน
ภิกษุทั้งหลายพอฟังคำท่านพูดอย่างนั้น ก็ไม่สบายใจ
เพราะเป็นคำหยาบคาย เรื่องทราบไปถึงพระพุทธองค์
ต่อมาพระศาสดาทรงอธิบายให้ทุกคนเข้าใจ จึงไม่มีใครถือสากับคำพูดของท่าน
กลับศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านยิ่งขึ้น
๒๙)พระกุมารกัสสปเถระ
เอตทัคคะ : ในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตร
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า “กัสสปะ” ซึ่งเป็นนามที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตั้งให้
แต่เวลาที่ท่านบวชในพระพุทธศาสนา พระศาสดาตรัสถามว่า “กัสสปะ”
จึงถูกทูลถามว่า “กัสสปะไหน” จึงตรัสว่า “กุมารกัสสปะ” เพราะท่านบวชมาตั้งแต่ยังเด็ก
เป็นบุตรของธิดาเศรษฐี ซึ่งแต่งงานไม่นานก็ขออนุญาตสามีออกบวช
โดยไม่รู้ว่าตนเองได้ตั้งครรภ์แล้ว ท่านเกิดในเมืองราชคฤห์
ขณะที่แม่เป็นนางภิกษุณี
ภาคการปฏิบัติ
ท่านได้บวชตั้งแต่อายุยังน้อย
เพราะเป็นเด็กที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชุบเลี้ยงอย่างราชกุมาร
และเพราะมารดาของท่านคลอดขณะเป็นภิกษุณีอยู่ ตั้งแต่ท่านบวชแล้ว
ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนและเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยความลำบาก
ดังนั้น
สหายของท่านที่ได้เกิดเป็นพรหมในสวรรค์ชั้นสุทธาวาส จึงผูกปัญหา ๑๕ ข้อแล้วบอกว่า
นอกจากพระศาสดา ไม่มีใครสามารถแก้ปัญหานี้ได้ รุ่งขึ้นท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ทูลถามปัญหาเหล่านั้น พระศาสดาทรงแก้ให้ท่าน ท่านเรียนเองตามที่พระศาสดาตรัสบอก
เข้าไปยังป่าอัมพวัน เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านกล่าวธรรมกถาได้อย่างวิจิตรพิศดาร
สมบูรณ์ด้วยอุปมาอุปไมย และมีเหตุผลประกอบตลอด เช่น การโต้ตอบกับพระเจ้าปายาสิ
ผู้ไม่เชื่อว่าโลกอื่นมีจริง เป็นต้น
พระเจ้าปายาสิเห็นว่านรกไม่มี เพราะไม่เคยเห็นญาติคนไหนตกนรกแล้วกลับมาบอก
ท่านก็อุปมาว่า เหมือนคนทำความผิดร้ายแรง
ถูกตัดสินจองจำในคุกจะออกมานอกคุกได้อย่างไร
พระเจ้าปายาสิเห็นว่าสวรรค์ไม่มี เพราะไม่มีญาติที่ขึ้นสวรรค์กลับมาบอก
ท่านอุปมาว่า เหมือนคนพลัดตกลงไปในหลุมคูถ ครั้นขึ้นมาได้ ชำระร่างกายสะอาดแล้ว
คงไม่มีใครอยากลงไปนอนในหลุมคูถอีก
พระเจ้าปายาสิตรัสว่า เคยฆ่าคนโดยเอาใส่ในหม้อ
แล้วปิดฝาจนสนิทถมทั้งเป็นให้คนช่วยดูรอบ ๆ หม้อ ก็ไม่เห็นชีวะ(วิญญาณ)ของผู้นั้นออกมา ท่านก็อุปมาว่า
เหมือนพระองค์เคยบรรทมหลับท่ามกลางผู้อารักขาและนางสนม
แล้วทรงสุบินว่าเสด็จประพาสสถานที่ต่าง ๆ แต่ก็ไม่เคยมีใครเห็นชีวะ(วิญญาณ)ของพระองค์ที่ออกไปเลย
ยังมีเรื่องในทำนองนี้อีกมากมาย
ที่แสดงถึงความฉลาดและปฏิภาณไหวพริบของท่านกุมารกัสสปะเถระ
ในการอธิบายหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา
และได้โต้ตอบผู้ที่มาคัดค้านคำสอนได้เป็นอย่างดี
จึงนับว่าท่านเป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาเป็นอย่างดียิ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้เอง ท่านกุมารกัสสปะ จึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ใช้ถ้อยคำอันวิจิตร
คือกล่าวถ้อยคำได้อย่างไพเราะนั้นเอง ที่เป็นอย่างนี้ เพราะท่านได้บำเพ็ญบุญบารมี
ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ท่านได้ช่วยพระศาสนาจนวาระสุดท้ายของชีวิต และเข้าสู่นิพพานในที่สุด
๓๐)พระมหาโกฏฐิตเถระ
เอตทัคคะ
: ในทางบรรลุปฏิสัมภิทา
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
ที่ได้นามว่า “โกฏฐิตะ หรือมหาโกฏฐิตเถระ
เพราะมีความหมายว่าทำให้คนหนีหน้า” เพราะท่านเป็นผู้ฉลาดในศาสตร์ต่าง
ๆ ด้วยการเที่ยวทิ่มแทงคนอื่นด้วยหอกคือปากของตน บิดาชื่อว่า “อัสสลายนพราหมณ์” ส่วนมารดาชื่อว่า “จันทวดีพราหมณี” ทั้งสองเป็นชาวเมืองสาวัตถี
เมื่อท่านได้เจริญวัยแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนจบไตรเพทจนถึงความสำเร็จ
ในศิลปะของพราหมณ์ เป็นผู้ฉลาดในเวทางคศาสตร์ ตักกศาสตร์ นิฆัณฑุศาสตร์
และถกฎุภศาสตร์กล่าวข้างต้น
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อท่านได้บวชแล้ว ก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
และปฏิบัติ พิจารณาสังขารโดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ไม่นานก็บรรลุพระอรหันต์พร้อมด้วยความชำนาญในปฏิสัมภิทา ๔
มีความกล้าหาญในการสอบถามปัญหากับพระเถระ หรือแม้แต่พระพุทธองค์ก็ไม่กลัว ดังนั้น
ท่านจึงได้นามเพิ่มอีกว่า “มหาโกฏฐิตเถระ”
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านเป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนา
และได้แสดงหลักธรรมไว้ในมหาเวทัลลสูตร เช่น ปัจจัยการเกิดสัมมาทิฏฐิ
การเกิดในภพใหม่มีได้ และการเกิดในภพใหม่มีไม่ได้ เป็นต้น
ดังนั้น ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔
เพราะบุญญาธิการอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคผลนิพพานมานาน
ในสมัยแห่งพระปทุมุตตระพุทธเจ้า
ท่านได้ทำหน้าที่ของท่าน และต่อพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นพระสงฆ์จนตลอดชีวิต
สุดท้ายก็เข้าสู่พระนิพพาน
๓๑)พระโสภิตเถระ
เอตทัคคะ
: ในทางระลึกชาติก่อนได้
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ เรียนจบศิลปวิทยา
ในเมืองสาวัตถี ท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
เพราะได้ฟังธรรมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจึงทูลขอบวช
เพื่อประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อท่านบวชแล้ว
ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนมีความเข้าใจดีแล้ว ก็นำไปประพฤติปฏิบัติ
บำเพ็ญกรรมฐานไม่นาน ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
แต่ก็ไม่มีรายละเอียดของการปฏิบัติธรรมของท่านที่ชัดเจน
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านมีความชำนาญในการเข้าฌานและระลึกชาติได้คล่องแคล่วมากมาย
ฉะนั้น ท่านจึงได้รับยกย่องว่า เป็นผู้เลิศในการระลึกชาติได้ คือในทาง “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ” แต่การเผยแผ่ธรรมของท่านไม่ได้กล่าวไว้ชัดเจน
๓๒)พระนันทกเถระ
เอตทัคคะ
: ในทางสอนนางภิกษุณี
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
ท่านเกิดในตระกูลไวศยะ (แพศย์) มีฐานะดีตระกูลหนึ่ง
ในเมืองสาวัตถี ท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
เพราะได้ฟังธรรมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจึงทูลขอบวช เพื่อประพฤติ
และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยต่อไป
ภาคการปฏิบัติ
เมื่อท่านบวชแล้ว ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนมีความเข้าใจดีแล้ว
ก็นำไปประพฤติปฏิบัติ บำเพ็ญกรรมฐานไม่นาน ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
แต่ก็ไม่มีรายละเอียดของการปฏิบัติธรรมของท่านที่ชัดเจน
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านมีความชำนาญ
หรือสามารถในการแสดงธรรมใกล้เคียงกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก
และนับว่าเป็นยอดธรรมกถึกผู้หนึ่ง
จนได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ให้ท่านสอนนางภิกษุณีได้
ซึ่งปรากฏว่านางภิกษุณีเป็นจำนวนมากได้มีความเลื่อมใสศรัทธาและจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
เพราะได้ฟังธรรมเทศนาของท่าน ฉะนั้น ท่านจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศ ในทางสอนนางภิกษุณี
๓๓)พระมหากัปปินเถระ
เอตทัคคะ
: ในทางสอนภิกษุ
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า “กัปปินะ” เป็นกษัตริย์ หลังจากท่านได้ครองราชสมบัติ
ในเมืองกุกกุฎวดี ในปัจจันตประเทศ
จึงได้พระนามเพิ่มใหม่ว่า “มหากัปปินะ”ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า“อโนชา” เป็นพระธิดาของกษัตริย์สาคละ แห่งแคว้นมัททะ
พระองค์ได้ทราบกิตติศัพท์ และการเกิดขึ้นของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
จากพ่อค้าชาวเมืองพาราณสี ท่านเกิดปีติท่วมท้นยอมสละราชสมบัติทั้งหมด
แล้วพาบริวารถึง ๑,๐๐๐
คนทรงควบม้าข้ามแม่น้ำเสมือนวิ่งบนบกด้วยแรงอธิษฐานจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
โดยสวัสดิภาพ ถึง ๓ สาย คือแม่น้ำอารวปัจฉา แม่น้ำนีลวาหนา และแม่น้ำจันทภาคา เพื่อเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้นระยะทางถึง
๓๐๐ โยชน์ เมื่อได้เฝ้าพระพุทธองค์แล้วก็เกิดปีติจนควบคุมตนเองไม่ได้
จึงเข้าไปสวมกอดพระบาทถวายบังคมแล้วถอยออกมานั่งเฝ้าอยู่ใกล้ ๆ ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบันก่อนแล้ว
จึงพร้อมกับบริวารจึงทูลขอบวชในภายหลัง
ภาคการปฏิบัติ
หลังจากที่ท่านบวชแล้วด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
จนบรรลุความเป็นพระอรหันต์ เพราะได้ฟังธรรมชื่อว่า อนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔
และท่านมักเปล่งวาจาบ่อย ๆ ว่า “สุขหนอ ๆ”
ภาคการประกาศพระศาสนา
และท่านได้เป็นกำลังช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา
มีผลงานเป็นที่ยอมรับในด้านความสามารถ
ด้วยการแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายในคราวเดียวกันถึง ๑,๐๐๐ รูป จนบรรลุเป็นพระอรหันต์
ฉะนั้น ท่านจึงได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศในทางการสอนภิกษุนั้นเอง
๓๔)พระสาคตเถระ
เอตทัคคะ
: เป็นผู้ฉลาด (ชำนาญ)
ในทางเตโชธาติ
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
ท่านเกิดในวรรณะพราหมณ์ เรียนจบศิลปวิทยา
ในเมืองสาวัตถี ท่านได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วเกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
เพราะท่านมีความสลดใจในพฤติกรรมการเมาสุราของท่าน ซึ่งมีเรื่องเล่าโดยย่อว่า
ท่านได้ทรมานพญานาค ชื่อว่า อัมพติฏฐกะ ให้สิ้นฤทธิ์ เมื่อเวลาท่านออกบิณฑบาต
ประชาชนทั้งหลายเลื่อมใสท่านมากจึงนำเอาสุรามาให้ท่านดื่ม ท่านก็ได้ฉลองศรัทธาบ้าน
ๆ ละนิดละหน่อยจนเมาไม่ได้สติ นอนหลับไหลอยู่ใกล้กองขยะริมทางเดิน
พอพระพุทธองค์เสด็จผ่านไปพบเข้า จึงทรงรับสั่งให้พระช่วยกันหามท่านกลับวัด
แล้วจึงทรงยกเรื่องของท่านเป็นปฐมเหตุในการบัญญัติสิกขาบทห้ามพระดื่มสุรา
ถ้าภิกษุรูปได้ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภาคการปฏิบัติ
พอรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง
เมื่อท่านสร่างเมาได้สติรู้สึกตัว และได้ฟังเรื่องราวของท่านจากเพื่อนพระด้วยกัน
ก็รู้สึกสลดใจในพฤติกรรมของตนเอง จึงได้ทูลขอขมาให้พระพุทธเจ้ายกโทษให้
นับตั้งแต่จากนั้น ท่านก็ไม่ประมาท และไม่ติดอยู่ในฌานอภิญญา
ตั้งใจเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่ธรรม
ซึ่งครั้งหนึ่ง ท่านได้แสดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการดำดินลงไปแล้วโผล่ขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธองค์
ทำให้ชาวเมืองแคว้นอังคะที่ไม่เลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัย
พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้ท่านแสดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการยืน เดิน นั่ง นอน
ในอากาศจนครบถ้วน
พอชาวเมืองเห็นดังนั้น ต่างรู้สึกว่าพระสาวกยังมีความสามารถถึงเพียงนี้ แล้วพระพุทธองค์จะขนาดไหน
พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิตองมหาชนแล้ว จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔
มหาชนบรรลุพระโสดาบันจำนวนมาก
๓๕)พระอุปเสนเถระ
เอตทัคคะ
: ทำให้ชนทุกชั้นมีความศรัทธาเลื่อมใส
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า “อุปเสนมาณพ หรือ อุปเสนวังคันตบุตร” บิดาชื่อว่า “วังคันตะ” มารดาชื่อว่า “นางสารี” มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๓ คน
คืออุปติสสะ และจุนทะ และขทิรวนิยเรวตะ มีน้องสาว ๒ คน คือ นางจาลา นางอุปจารา
และนางสุปจารา เกิดที่หมู่บ้านนาลันทา แคว้นมคธ ในวรรณะพราหมณ์
ท่านได้รับการศึกษาจนจบไตรเพท และได้ออกบวชตามพี่ชาย คือ พระสารีบุตร
เพราะได้ฟังกิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้า
และได้ฟังธรรมจนเกิดศรัทธาแล้วจึงได้ขอบวชจากพระพุทธองค์
ภาคการปฏิบัติ
หลังจากท่านบวชได้เพียง ๑ พรรษา
ได้เป็นอุปัชฌาย์บวชให้กุลบุตรคนหนึ่ง จนถูกพระพุทธองค์ทรงตำหนิอย่างแรงว่าเป็นโมฆบุรุษ
ทำอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เพราะตนเองก็ยังต้องถูกสั่งสอน แต่ริกลับไปสอนคนอื่น
จึงคิดว่าเราถูกตำหนิก็เพราะอาศัยสัทธิวิหาริก แล้วจึงพากันไปเร่งปฏิบัติธรรม
ไม่นาน ท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์จนมีลูกศิษย์มากมาย
จนได้รับการสรรเสริญจากพระพุทธองค์
ภาคการประกาศพระศาสนา
เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว
ก็ได้สมาทานธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อ ท่านยังเป็นนักเทศนาที่มีชื่อเสียงเป็นอันมากด้วย
จนทำให้ประชาชนทุกชั้นวรรณะมีความเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก
และได้บวชตามท่านพร้อมทั้งสมาทานธุดงค์เป็นวัตรเช่นกัน ดังนั้น ท่านได้ทำคุณประโยชน์แก่มหาชน
และเป็นกำลังสำคัญ ในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามสมควร
แล้วก็ปรินิพพานเหมือนกับไฟที่หมดเชื้อ
๓๖)พระขทิรวนิยเรวตเถระ
เอตทัคคะ
: มีปกติอยู่ในป่าเป็นวัตร
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
ท่านเป็นน้องชายคนเล็กของท่านอุปติสสะ(พระสารีบุตร) บิดาชื่อว่า “วังคันตะ” มารดาชื่อว่า
“นางสารี” มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๓ คน คืออุปติสสะ อุปเสน และจุนทะ มีน้องสาว ๓
คน คือ นางจาลา นางอุปจารา และนางสุปจารา เกิดที่หมู่บ้านนาลันทา แคว้นมคธ
ในวรรณะพราหมณ์
ท่านยังมิได้เรียนจบอะไร ก็ถูกบิดามารดาขอร้องให้แต่งงานตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ
เนื่องจากท่านเป็นลูกชายคนเล็กของครอบครัว
บิดามารดาเกรงว่าท่านจะออกบวชตามพี่ชายนั่นเอง
เพราะหวังจะให้ใช้ชีวิตคู่เป็นเครื่องผูกมัด แต่ก็ทำไม่สำเร็จ
เพราะในขณะที่ท่านนั่งยานไปเรือนหอ ก็ได้ขอตัวลงไปถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
แล้วก็ถือโอกาสหนีไปยังสำนักของพระผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
และขอบวชได้อย่างง่ายดาย
เพราะพระป่าท่านทราบว่าเป็นน้องชายของท่านพระสารีบุตรนั้นเอง
ภาคการปฏิบัติ
หลังจากที่ท่านได้บวชแล้ว
ก็ได้ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์และบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าไม้ตะเคียน(ป่าไม้ขทิระ)จนได้บรรลุพระอรหันต์ภายในพรรษานั้นเอง
ภาคการประกาศพระศาสนา
ไม่ปรากฎชัด
แต่หลังจากที่ท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็ได้ช่วยเผยแผ่พระศาสนา
ด้วยการแสดงอิทธิฤทธิ์
เนรมิตรป่าให้เป็นพระคันธกุฎีและเรือนยอดถวายพระพุทธองค์และเหล่าพระสาวก ๕๐๐
องค์ที่ตามเสด็จ
๓๗)พระสีวลีเถระ
เอตทัคคะ
: ในทางมีลาภมาก
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
บิดาไม่ปรากฎนาม ส่วนมารดาชื่อว่า “พระนางสุปปวาสา” ซึ่งเป็นพระธิดาเจ้าเมืองโกลิยะ ท่านอยู่ในครรภ์มารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗
วัน ในขณะที่อยู่ในพระครรภ์ ทำให้พระมารดามีลาภสักการะเกิดขึ้นมากมาย และเมื่อถึงเวลาคลอด
พระนางก็คลอดง่ายที่สุด
หลังจากที่ท่านประสูติแล้ว พระมารดาก็ได้ทำบุญมหาทานฉลองตลอด ๗ วัน
ในวันที่ ๗ พระสารีบุตรจึงชวนเธอบวช เธอดีใจมาก
และได้รับอนุญาตจากพระมารดาเป็นอย่างดี ซึ่งชีวิตท่านถือว่าแปลกที่สุด
คือเมื่อคลอดแล้วได้เพียง ๗ วัน มารดาก็ทำงานได้เลย
ด้วยการนิมนต์พระพุทธเจ้ามาทำบุญ หลังจากนั้น ท่านได้บวชเป็นสามเณรทันที
ซึ่งท่านได้ใช้ชีวิตฆราวาสจริงๆ เพียง ๗ วันเท่านั้น เมื่อบวชแล้ว
ลาภสักการะทั้งหลายก็เกิดขึ้นมากมายแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภาคการปฏิบัติ
หลังจากท่านบวชแล้ว ก็ได้เจริญตจปัญจกกรรมฐานจากพระสารีบุตร
แล้วก็ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์ ในขณะเวลาที่ท่านปลงผมนั้นเอง
คือบรรลุโสดาปัตติผล เวลาจรดมีดโกนครั้งแรก บรรลุสกทาคามิผล เวลาจรดมีดโกนครั้งที่
๒ บรรลุอนาคามิผล เวลาจรดมีดโกนครั้งที่ ๓ และบรรลุพระอรหัตตผล ในเวลาโกนผมเสร็จ
ภาคการประกาศพระศาสนา
ไม่ได้กล่าวถึงบทบาทไว้ชัดเจน
เพียงแต่ท่านเป็นพระที่มีลาภสักการะมาก และเป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างมาก
สำหรับเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่มักจะถูกกล่าวว่าเป็นเพราะบุญเก่า
แต่ก็ถือว่าท่านนั้นเป็นผู้ที่มีความสำคัญ เพราะว่าสามารถยังความเลื่อมใสศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ชนทั้งหลายที่ยังไม่ศรัทธา
และมีความเลื่อมใสศรัทธามากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้ว
ก็เพราะอาศัยบุญญาธิการของท่านนั้นเอง
๓๘)พระวักกลิเถระ
เอตทัคคะ : ในทางศรัทธาวิมุตติ
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
บิดาและมารดาของท่านไม่ปรากฎนาม
เกิดอยู่ในวรรณะพราหมณ์ กรุงสาวัตถี
เมื่อโตขึ้น ท่านได้ศึกษาเรียนรู้ จนจบไตรเพท
แต่ก็ไม่ปรากฎว่าท่านได้เป็นอาจารย์สอนใคร
เพราะตามอุปนิสัยเดิมของท่านเป็นคนที่รักสวยรักงามมาก
ภาคการปฏิบัติ
จุดเริ่มต้นในการประพฤติปฏิบัติในทางธรรมของท่าน
ก็เพราะได้เห็นพระวรกายอันสง่างามของพระพุทธองค์
ในขณะที่พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมาก ได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี
และต้องการบวช เพราะอยากจะเห็นพระวรกายของพระพุทธองค์ทุกๆ วัน
พระพุทธองค์ทรงบวชให้ตามประสงค์
หลังจากที่ท่านได้บวชแล้ว ก็คอยเฝ้าแต่ติดตามดูพระวรกายของพระพุทธองค์อยู่
จนพระพุทธองค์ตรัสตักเตือนให้ท่านเลิกละการเที่ยวดูร่างกายอันเปื่อยเน่าผุพัง
และทรงชี้ทางออกให้ท่านสนใจหันมาบำเพ็ญเพียรในการปฏิบัติธรรมว่า “วักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม”แม้พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้
ท่านก็ยังไม่เลิกดู จนถูกพระพุทธองค์ตรัสขับไล่ว่า “วักกลิเธอจงหลีกไปไกลๆ
”
ท่านไม่เข้าใจพระพุทธองค์ตรัสสอน แต่รู้สึกเสียใจมาก
จึงได้ออกจากวัดพระเชตวันไปหมายที่จะกระโดดภูเขาฆ่าตัวตาย
พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิตของท่าน จึงปรากฎพระองค์ให้เห็นและตรัสเรียกว่า “วักกลิ” ท่านดีใจมาก จนทำให้ปีติเกิดขึ้นมาแทนที่
และได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ จนได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านไม่มีประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ชัดเจน
เพราะบวชด้วยศรัทธาในพระพุทธองค์ และพ้นจากกิเลสศรัทธา (สัทธาวิมุตติ) เท่านั้น
๓๙)พระพาหิยทารุจีริยเถระ
เอตทัคคะ
: ในทางตรัสรู้เร็วพลัน
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
เดิมชื่อว่า “พาหิยะ” ภายหลังท่านนุ่งเปลือกไม้ จึงได้ชื่อใหม่ว่า
“พาหิยทารุจีริยะ” แปลว่า “พาหิยะผู้มีเปลือกไม้เป็นเครื่องนุ่งห่ม” เกิดในตระกูลกุฎุมพี
(พ่อค้า) ในแคว้นพาหิยรัฐ
ท่านมีอาชีพค้าขายโดยทางเรือที่ท่าสุปปารกะ
ในอปรันตชนบท วันหนึ่งทะเลเกิดมรสุม คลื่นซัดเรืออัปปาง ลูกเรือตายหมด
ท่านรอดคนเดียว
เพราะอาศัยกระดานลอยน้ำเข้าฝั่งโดยที่ร่างกายไม่เหลืออะไรปกปิดความละอาย จึงได้เอาใบไม้บ้าง
เปลือกไม้บ้าง มานุ่งห่มแล้วจึงเที่ยวขออาหารกิน
ประชาชนทั้งหลายเห็นคิดว่าท่านเป็นพระอรหันต์
ท่านหลงเข้าใจว่าท่านเป็นพระอรหันต์
เพราะอยู่อย่างสุขสบายด้วยลาภสักการะที่ผู้เลื่อมใสนำมามอบให้
ต่อมามหาพรหมองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นเพื่อนเก่าในอดีตชาติ
ได้แปลงร่างลงมาจากพรหมชั้นสุทธาวาสเพื่อเตือนสติท่านว่าไม่ใช่พระอรหันต์
และได้บอกว่าตอนนี้พระพุทธองค์ซึ่งเป็นพระอรหันต์ได้ประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน
กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล
ภาคการปฏิบัติ
ต่อมาท่านได้ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธองค์เพียงย่อๆ
ว่า “พาหิยะ
เธอควรศึกษาอย่างนี้แล พาหิยะ เมื่อใดแล เธอเห็นก็สักแต่ว่าเห็น
เมื่อได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน เมื่อทราบก็สักแต่ว่าทราบ
เมื่อรู้สึกก็สักแต่ว่ารู้สึก เมื่อนั้นตัวเธอก็ไม่มี เมื่อใดตัวเธอไม่มี
เมื่อนั้นตัวเธอก็ไม่มีในที่นั้น เมื่อใดตัวเธอไม่มีในที่นั้น เมื่อนั้น
ตัวเธอก็ไม่มีในโลกนี้ ในโลกหน้า และในระหว่างโลกทั้ง ๒ นี้แหละคือที่สุดแห่งทุกข์”
ท่านพิจารณาตามพระดำรัสจนจบ พร้อมกับการบรรลุพระอรหัตตผลทันที
จากนั้นท่านจึงทูลขอบวช พระพุทธเจ้ารับสั่งให้ท่านหาบาตรและจีวรมาก่อน
ท่านได้ทำตามด้วยการแสดงหา ในขณะนั้นก็ได้ถูกแม่โคลูกอ่อนขวิดเสียชีวิตก่อนกลางทาง
จึงนิพพานโดยยังไม่ได้บวชเลย
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านไม่มีประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
เพราะพาหิยะได้ถูกแม่โคขวิดขณะออกหาบาตรและจีวร
จากนั้นพระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระช่วยกันเผาศพท่าน
แล้วให้นำเอาอัฐิไปบรรจุไว้ในเจดีย์ตรงทาง ๔ แยก
เพื่อให้คนได้ทำการสักการะบูชาท่าน เพื่อเป็นสังฆานุสสติอีกทางหนึ่งด้วย
๔๐)พระพากุลเถระ
เอตทัคคะ
: ในทางผู้มีอาพาธน้อย
ภาคชีวประวัติและการศึกษา
พากุละ แปลว่า คนสองตระกูล
ไม่ปรากฎนามของบิดามารดา ท่านเป็นบุตรเศรษฐีในเมืองโกสัมพี
เมื่อเวลาที่ท่านคลอดออกมาได้ ๕ วัน
มีการทำมงคลโกนผมหน้าไฟพร้อมทั้งตั้งชื่อ
พี่เลี้ยงนางนมได้พาท่านไปอาบน้ำที่แม่น้ำคงคา
ขณะนั้นได้มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งมาคาบเอาทารกแล้วกลืนเข้าไปในท้อง
แต่เพราะเด็กนั้นเป็นผู้มีบุญ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ปัจฉิมภวิกสัตว์”
แปลว่า “ผู้เกิดในภพสุดท้าย” ถ้ายังไม่บรรลุพระอรหันต์ อย่างไรก็จักยังไม่ตาย
ต่อมาปลาได้ถูกชาวประมงจับได้แล้วนำไปขายให้ตระกูลเศรษฐีในเมืองพาราณสี
พอผ่าท้องปลาออกมา ก็ได้เจอทารกน้อย เลยเลี้องไว้เป็นบุตรบุญธรรม
ฝ่ายบิดามารดาเก่าเมื่อได้ทราบข่าว จึงมาขอบุตรคืน แต่ทั้งสองฝ่ายก็ตกลงกันไม่ได้
จึงถวายฎีกาต่อพระเจ้าพาราณสี
พระองค์จึงทรงวินิจฉัยให้ตระกูลทั้งสองสลับเปลี่ยนกันเลี้ยงตระกูลละ ๔ เดือน
ท่านใช้ชีวิตอยู่ในตระกูลทั้ง ๒ อย่างมีความสุข จนกระทั่งอายุถึง ๘๐ ปี
ภาคการปฏิบัติ
ท่านพร้อมด้วยบริวารได้ไปฟังพระธรรมเทศนา ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดชาวเมืองพาราณสี
จึงได้ทูลขอบวช ในขณะที่ท่านมีอายุ ๘๐ ปี เมื่อท่านบวชแล้วตั้งใจศึกษาและปฏิบัติด้วยความไม่ประมาท
พากเพียรพยายามเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพียง ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหันต์
ท่านได้มีอายุยืนถึง ๑๖๐ ปี คือเป็นฆราวาส ๘๐ ปี และเป็นพระอยู่ ๘๐ ปี
ตำนานกล่าวว่า ท่านมีอายุยืนยาวนาน เพราะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน
โดยไม่ต้องฉันยารักษาโรคเลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะท่านเคยสร้างเว็จจกุฎีถวายสงฆ์
และได้บริจาคยาให้เป็นทานนั้นเอง
ภาคการประกาศพระศาสนา
ท่านเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวน ๕๐๐ องค์
ที่ได้ร่วมทำปฐมสังคายนา
และท่านก็ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยที่สุดด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น