วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาโท สรุปเตรียมสอบ

ธรรมวิภาค (ธรรมโท)

หมวด ๒
กัมมัฏฐาน ๒       
๑. สมถกัฏมัฏฐาน            กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ
๒. วิปัสสนากัมมัฏฐาน    กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา
กาม ๒                                                                                                                  
๑. กิเลสกาม        กิเลสเป็นเหตุใคร่
๒. วัตถุกาม        พัสดุอันน่าใคร่    
บูชา ๒
๑. อามิสบูชา                        บูชาด้วยอามิส (คือสิ่งของ)
๒. ปฏิปัตติบูชา                  บูชาด้วยปฏิบัติตาม
ปฏิสันถาร ๒
๑. อามิสปฏิสันถาร            ปฏิสันถารด้วยอามิส (คือสิ่งของ)
๒. ธัมมปฏิสันถาร             ปฏิสันถารโดยธรรม
สุข ๒
๑. กายิกสุข          สุขทางกาย
๒. เจตสิกสุข      สุขทางใจ

หมวด ๓
อกุศลวิตก๓
 ๑. กามวิตก                        ความตริในทางกาม
 ๒. พยาบาทวิตก               ความตริในทางพยาบาท
 ๓. วิหิงสาวิตก                  ความตริในทางเบียดเบียน
กุศลวิตก ๓
๑. เนกขัมมวิตก                  ความติในทาลพรากจากกาม
๒. อพยาบาทวิตก              ความติในทางไม่พยาบาท
๓. อวิหิงสาวิตก                ความติในทางไม่เบียดเบียน
อัคคิ  ไฟ ๓
๑. ราคัคคิ              ไฟคือราคะ                                                                    
๒. โทสัคคิ           ไฟคือโทสะ
๓. โมหัคคิ           ไฟคือโมหะ
อธิปัตเตยยะ ๓
๑. อัตตาธิปเตยยะ              ความมีตนเป็นใหญ่                                      
๒. โลกาธิปเตยยะ              ความมีโลกเป็นใหญ่
๓. ธัมมาธิปเตยยะ            ความมีธัมเป็นใหญ่
ญาณ ๓
๑. อตีตังสญาณ                   ญาณในส่วนอดีต                                             
๒. อนาคตังสญาณ            ญาณในส่วนอนาคต
๓. ปัจจุปปันนังสญาณ     ญาณในปัจจุบัน
ตัณหา ๓
๑. กามตัณหา       ตัณหาในกาม                                                        
๒. ภวตคัณหา   ตัณหาในภพ
๓. วิภวตัณหา   ตัณหาในปราศจากภพ
ปิฎก ๓
๑. พระวินัยปิฎก                 หมวดพระวินัย                                                
๒. พระสุตตันตปิฎก         หมวดพระสุตันตะ
๓. พระอภิธรรมปิฎก        หมวดพระอภิธรรม
พุทธจริยา ๓
๑.  โลกัตถจริยา    ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก             
๒. ญาตัตถจริยา   ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระญาติ
๓.  พุทธัตถจริยา ทรงประพฤติประโยชน์ โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า
วัฏฏะ  ๓
๑. กิเลสวัฏฏะ     วนคือกิเลส                                                           
๒. กัมมวัฏฏะ     วนคือกรรม
๓. วิปากวัฏฏะ   วนคือวิบาก
สิกขา  ๓
๑. อธิสีลสิกขา                    สิกขาคือศีลยิ่ง                                                     
๒. อธิจิตตสิกขา                สิกขาคือจิตยิ่ง
๓. อธิปัญญาสิกขา            สิกขาคือศีลยิ่ง
สามัญลักษณะ   ๓
๑. อนิจจตา  ความเป็นของไม่เที่ยง แปรเปลี่ยน
๒. ทุกขตา  ความเป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
๓. อนัตตตา  ความเป็นของมิใช่ตัวตนความมิใช่อนัตตา

หมวด ๔
อปัสเสนธรรม ๔
๑. พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง                                             
๒. พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
๓. พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง                                               
๔. พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง
อัปปมัญญา ๔
๑. เมตตา               ความรักใคร่                                                                                    
๒. กรุณา               ความสงสาร
๓. มุทิตา               ความยินดี                                                                                        
๔. อุเบกขา            ความวางเฉย
พระอริยบุคคล ๔
๑. พระโสดาบัน              
๒. พระสกทาคามี
๓. พระอนาคามี               
๔. พระอรหันต์
สัมปรายิกัตถประโยชน์ ๔
๑. สัทธาสัมปทา                 ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
๒. สีลสัมปทา                      ถึงพร้อมด้วยศีล
๓. จาคสัมปทา                  ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน
๔. ปัญญาสัมปทา                ถึงพร้อมด้วยปัญญา
มรรค ๔
๑. โสดาบันปัตติมรรค                                                                    
๒. สกทาคามิมรรค
๓. อนาคามิมรรค                                                                              
๔. อรหัตตมรรค
ผล ๔
๑. โสดาปัตติผล                                                                               
๒. สกทาคามิผล
๓. อนาคามิผล                                                                                  
๔. อรหัตตผล

หมวด ๕
อนุปุพพีกถา  ๕
๑. ทานกถา                           กล่าวถึงทาน
๒. สีลกถา                            กล่าวถึงศีล
๓. สัคคกถา                          กล่าวถึงสวรรค์
๔. กามาทีนวกถา                กล่าวถึงโทษแห่งกาม
๕. เนกขัมมานิสังสกถา     กล่าวถึงอานิสงส์แห่งความ
มัจฉริยะ๕
๑. อาวาสมัจฉริยะ               ตระหนี่ที่อยู่
๒. กุลมัจฉริยะ                   ตระหนี่สกุล
๓. ลาภมัจฉริยะ                  ตระหนี่ลาภ
๔. วัณณมัจฉริยะ                ตระหนี่วรรณะ
๕. ธัมมัจฉริยะ                     ตระหนี่ธรรม.                                                  
มาร๕
๑. ขันธมาร                         มารคือปัญจขันธ์
๒. กิเลสมาร                     มารคือกิเลส
๓. อภิสังขารมาร                 มารคืออภิสังขาร 
๔. มัจจุมาร                        มารคือมรณะ
๕. เทวปุตตมาร                  มารคือเทวบุตร.                                              
นิวรณ์ ๕
๑. กามฉันทะ        ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน
๒. พยาบาท          ความไม่ได้สมดังปรารถนา
๓. ถีนมิทธะ         ความขี้เกียจ ท้อแท้
๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ   ความคิดตลอดเวลา ไม่สงบนิ่ง
๕. วิจิกิจฉา           ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล
ขันธ์ ๕
๑. รูป         คือ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
๒. เวทนา   คือ ความรู้สึก ชอบหรือไม่ชอบหรือเฉยๆ
๓. สัญญา   คือ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
๔. สังขาร   คือ การคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับ รู้สึกและจำ
๕. วิญญาณ คือ ระบบรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เวทนา๕
๑. สุข                     หมายถึง ความรู้สึกสบายกาย                                                                                                
๒. ทุกข์                 หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายกาย
๓. โสมนัส             หมายถึง ความรู้สึกสบายใจ                                                                                    
๔. โทมนัส             หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายใจ
๕. อุเบกขา            หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ

หมวด ๖
จริต  ๖
   ๑.  ราคจริต                     มีราคะเป็นปกติ
   ๒.  โทสจริต                   มีโทสะเป็นปกติ
   ๓.  โมหจริต                   มีโมหะเป็นปกติ
   ๔.  วิตักกจริต               มีวิตกเป็นปกติ
   ๕.  สัทธาจริต               มีศรัทธาเป็นปกติ
   ๖.  พุทธิจริต                 มีความรู้เป็นปกติ.                              
ธรรมคุณ  ๖
๑.  สฺวากฺขาโต  ภควตา  ธมฺโม    พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว                                                              
๒.  สนฺทิฏฺฐิโก    อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
๓.  อกาลิโก         ไม่ประกอบด้วยกาล
๔.  เอหิปสฺสิโก  ควรเรียกให้มาดู
๕.  โอปนยิโก      ควรน้อมเข้ามา
๖.  ปจฺจตฺตังเวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ  อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน 
                                                           
หมวด ๗
อปริหานิยธรรม  ๗
๑. หมั่นประชุมกันเนือง ๆ
๒. ประชุมหรือเลิกประชุม และทำกิจของส่วนรวมอย่างพร้อมเพรียงกัน
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้วยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
๔. เคารพนับถือเชื่อฟังและให้เกียรติแก่ผู้เป็นประธาน ผู้บริหารหมู่คณะ และปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
๕. ให้เกียรติ ให้ความปลอดภัยแก่สตรีเพศ ไม่ข่มเหงฉุดคร่า
๖. เคารพนับถือบูชาพระเจดีย์ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเมือง และไม่บั่นทอนผลประโยชน์ที่เคยอุปถัมภ์บำรุงพระเจดีย์เหล่านั้น
๗. จัดการอารักขาโดยธรรมแก่พระอริยะ ด้วยตั้งความปรารถนาว่า พระอริยะเหล่านี้ที่ยังไม่มาสู่บ้านนี้เมืองนี้ขอให้มา ส่วนที่มาแล้วขอให้ท่านอยู่ผาสุก    
                                                         
หมวด ๘
มรรค ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ                        คือ ความเข้าใจถูกต้อง
๒. สัมมาสังกัปปะ               คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
๓. สัมมาวาจา                      คือ การพูดจาถูกต้อง
๔. สัมมากัมมันตะ              คือ การกระทำถูกต้องอวิชชา  ๘
๕. สัมมาอาชีวะ                   คือ การดำรงชีพถูกต้อง
๖. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
๗. สัมมาสติ                         คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
๘. สัมมาสมาธิ                     คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง

หมวด ๙
พุทธคุณ ๙
อิติปิ โส ภควา แม้เพราะอย่างนี้ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์
๒. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นสาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
๙. ภควา เป็นผู้มีโชค

สังฆคุณ ๙
๑. สุปฏิปันโน                       เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
๒. อุชุปฏิปันโน                   เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
๓. ญายปฏิปันโน                 เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
๔. สามีจิปฏิปันโน               เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
๕. อาหุเนยโย                       เป็นผู้ควรของคำนับ
๖. ปาหุเนยโย                        เป็นผู้ควรของต้อนรับ
๗. ทักขิเณยโย                      เป็นผู้ควรของทำบุญ
๘. อัญชลิกรณีโย                 เป็นผู้ควรทำอัญชลี
๙. อนุตฺตรัง ปุญญักเขตตัง เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นโลกสูง ยิ่งกว่า

หมวด ๑๐
บารมี  ๑๐
๑. ทานบารมี         การให้ การเสียสละ
๒. สีลบารมี          การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓. เนกขัมมบารมี   การปลีกตัวออกจากกาม
๔. ปัญญาบารมี   ความรอบรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล
๕. วิริยบารมี   ความเพียร ความแกล้วกล้า
๖. ขันติบารมี   ความอดทน อดกลั้น
๗. สัจจบารมี   ความจริง ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
๘. อธิษฐานบารมี   ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
๙. เมตตาบารมี   ความรักใคร่ ความปรารถนา
 ๑๐. อุเบกขาบารมี   ความวางใจกลาง เที่ยงธรรม
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
๑. ทานมัย   บุญสำเร็จจากการให้วัตถุ
๒. ศีลมัย  บุญสำเร็จจากการงดเว้นจากทุจริต
๓. ภาวนามัย  บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบ
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จจากการอ่อนน้อมถ่อมตน
๕. เวยยาวัจจมัย  บุญสำเร็จจากการบำเพ็ญประโยชน์
๖. ปัตติทานมัย  บุญสำเร็จจากการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย  บุญสำเร็จจากการยินดีในกุศล
๘. ธัมมัสสวนมัย   บุญสำเร็จจากการฟังธรรม
๙.ธัมมเทสนามัย  บุญสำเร็จจากการแสดงธรรม

๑๐.ทิฏฐุชุกรรม  การกระทำความเห็นให้ตรงถูกต้องตามความเป็นจริง



1 ความคิดเห็น:

  1. เพิ่งจะเปิดเจอลองดูแล้วมีประโยชน์มาก/สาธุ

    ตอบลบ