วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

(๒) ตำรานักธรรมโท ฉบับที่ ๓ วิชา วินัยบัญญัติ ๒ 19-10-58

วิชา วินัยมุข ๒  นักธรรมโท

อภิสมาจาร
        สิกขาบทแผนกนี้  มาในขันธกะเป็นพื้น  ไม่ได้บอกจำนวนจัดตามกิจหรือวัตถุ  เรียกว่า  ขันธกะอันหนึ่งๆ  คือ
                             ๑.  ว่าด้วยอุโบสถ         จัดไว้พวกหนึ่ง  เรียกว่า  อุโบสถขันธกะ.
                             ๒.  ว่าด้วยจีวร  จัดไว้พวกหนึ่ง    เรียกว่า  จีวรขันธกะ.

มาในบาลีอื่นนอกจากขันธกะ คือ
                             ๑.  ในนิทานต้นบัญญัติแห่งสิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์.
                             ๒.  ในวินีตวัตถุเรื่องสำหรับเทียบเคียงตัดสินอาบัติในคัมภีร์วิภังค์.
                             ๓.  ในอรรถกถาที่เรียกว่า  บาลีมุตตกะ.

สิกขาบทแผนกนี้  มีรูปเป็น  ๒  คือ
                             ๑.  เป็นข้อห้าม.
                             ๒.  เป็นข้ออนุญาต.

ข้อห้ามที่ปรับอาบัติมีเพียง ๒  คือ
                             ๑.  ถุลลัจจัย.
                             ๒.  ทุกกฏ.

กัณฑ์ที่  ๑๑
กายบริหาร
กายบริหารมี  ๑๔ คือ
๑.  อย่าพึงไว้ผมยาว  จะไว้ได้เพียง ๒  เดือนหรือ  ๒  นิ้ว.
๒.  อย่าพึงไว้หนวดไว้เครา  พึงโกนเสีย  เช่นเดียวกับผม.
๓.  อย่าพึงไว้เล็บยาว  พึงตัดเสียด้วยมีดเล็กพอเสมอเนื้อ  และอย่า   พึงขัดเล็บให้เกลี้ยงเกลา.
๔.  อย่าพึงไว้ขนจมูกยาว [ออกนอกรูจมูก]  พึงถอนเสียด้วยแหนบ๑.
๕.  อย่าพึงให้นำเสียซึ่งขนในที่แคบ  คือในร่มผ้าและที่รักแร้  เว้น   ไว้แต่อาพาธ.
๖.  อย่าพึงผัดหน้า  ไล้หน้า  ทาหน้า  ย้อมหน้า  เจิมหน้า  ย้อมตัว  เว้นไว้   แต่อาพาธ.
๗.  อย่าพึงแต่งเครื่องประดับต่างๆ  เป็นต้นว่ ตุ้มหู สายสร้อย สร้อยคอ สร้อยเอว เข็มขัด บานพับ [สำหรับรัดแขน]  กำไลมือและแหวน.
๘.  อย่าพึงส่องดูเงาหน้า ในกระจกหรือในวัตถุอื่น อาพาธเป็นแผล ที่หน้า ส่องทำกิจได้.
๙.  อย่าพึงเปลือยกายในที่ไม่บังควรและในเวลาไม่บังควร  [เปลือย๑ ถอนขนจมูกทำให้เสียสายตา พึงตัดด้วยกรรไกรดีกว่า. เป็นวัตร ต้องถุลลัจจัย  เปลือยทำกิจแก่กันและกันและในเวลาฉัน ต้องทุกกฏ  ในเรือนไฟและในน้ำ  ทรงอนุญาต].
๑๐.  อย่าพึงนุ่งห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์.
๑๑.  ถ่ายอุจจาระแล้ว  เมื่อมีน้ำอยู่  จะไม่ชำระไม่ได้  เว้นไว้แต่หา น้ำไม่ได้  หรือน้ำมี  แต่ไม่มีภาชนะจะตัก  เช่นนี้  เช็ดเสียด้วยไม้หรือด้วยของอื่นเพียงเท่านั้นก็ได้     .
๑๒.  อย่าพึงให้ทำสัตถกรรม  [ผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา] ในที่แคบ [ทวารหนัก]  หรือในที่ใกล้ที่แคบเพียง ๒ นิ้ว  อย่าพึงให้ทำ   วัตถิกรรม [ ผูกรัดที่ทวารหนัก ] ให้ทำ  ต้องถุลลัจจัย.
๑๓.  เป็นธรรมเนียมของภิกษุต้องใช้ไม้ชำระฟัน.
๑๔.  น้ำที่ดื่มให้กรองก่อน.

ข้อห้ามการแต่งผมมีดังนี้
๑.  ไม่ให้หวีผมด้วยหวีหรือด้วยแปรง.
๒.  ไม่ให้เสยผมด้วยนิ้วมือโดยอาการว่าหวี.
๓. ไม่ให้แต่งผมด้วยน้ำมันเจือขี้ผึ้ง  หรือด้วยน้ำมันเจือน้ำ.
๔. ไม่ให้ตัดผมด้วยกรรไกร  เว้นไว้แต่อาพาธ.
๕.  ไม่ให้ถอนผมหงอก.

ข้อห้ามการแต่งหนวดมีดังนี้
๑.  ไม่ให้แต่งหนวด.
๒.  ไม่ให้ตัดหนวดด้วยกรรไกร.

ข้อห้ามภิกษุผู้อาบน้ำมีดังนี้
๑.ไม่ให้สีกายในที่ไม่บังควร  เช่นต้นไม้  เสา  ฝาเรือน  และแผ่น  กระดาน.
๒. ไม่ให้สีกายด้วยของไม่บังควรเช่นทำไม้ทำเป็นรูปมือหรือจักเป็นฟันมังกรและเกลียวเชือกที่คม.
๓.  ไม่ให้เอาหลังต่อหลังสีกัน.

ข้อห้ามการนุ่งห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์มีดังนี้
๑.  ห้ามเครื่องนุ่มห่มของคฤหัสถ์  เช่นกางเกง  เสื้อ  ผ้าโพก  หมวด  ผ้านุ่งผ้าห่มสีต่าง ๆ  ชนิดต่าง ๆ.
๒.  ห้ามอาการนุ่งห่มต่าง ๆ  ที่มิใช่ของภิกษุ

ประโยชน์แห่งการเคี้ยวไม้ชำระฟันมี  ๕  คือ
๑.  ฟันดูไม่สกปรก.
๒.  ปากไม่เหม็น.
๓.  เส้นประสาทรับรสหมดจดดี.
๔.  เสมหะไม่หุ้มอาหาร.
๕.  ฉันอาหารมีรส.

กัณฑ์ที่  ๑๒
บริขารบริโภค
จีวร
ประมาณจีวรที่ใช้ในเมืองเรามีดังนี้
๑.  สังฆาฏิ  ยาวไม่เกิน  ๖  ศอก  กว้างไม่เกิน ๔  ศอก.
๒.  อุตราสงค์  ยาวไม่เกิน  ๖  ศอก  กว้างไม่เกิน  ๔  ศอก.
๓.  อันตรวาสก  ยาวไม่เกิน  ๖  ศอก  กว้างไม่เกิน  ๒  ศอก.
        [สำหรับพระขนาดกลาง  สังฆาฏิกับอุตราสงค์  ลดด้านยาว ๑คืบ  ด้านกว้าง ๘  นิ้ว  อันตรวาสก  ลดลงเพียงยาว ๔  ศอกขึ้นไปถึง  ๘  นิ้ว  กว้าง ๑  ศอกคืบ  ๔  นิ้ว  เป็นพอดี].

ผ้าสำหรับทำจีวรมี  ๖  ชนิด  คือ
๑.  โขมะ  ผ้าทำด้วยเปลือกไม้  เช่นผ้าลินิน.
๒.  กัปปาสิกะ  ผ้าทำด้วยฝ้าย.
๓.  โกเสยยะ  ผ้าทำด้วยใยไหม  เช่นแพร.
๔.  กัมพละ  ผ้าทำด้วยขนสัตว์ ยกผมและขนมนุษย์  เช่นผ้าสักหลาด  และกำมะหริด.
๕.  สาณะ  ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน [ ผ้าชนิดนี้เป็นผ้าเนื้อสาก ]
๖.  ภังคะ  ผ้าทำด้วยของ ๕  อย่างนั้นแต่อย่างใดอย่างหนึ่งปนกัน เช่น ผ้าด้ายแกมไหม.

เครื่องนุ่งห่มที่ทำด้วยของอื่น  ห้ามไม่ให้ใช้  คือ
๑.  คากรอง                               [กุสจีร].
๒.  เปลือกต้นไม้กรอง               [วากจีร].
๓.  ผลไม้กรอง                                [ผลกจีร].
๔.  ผ้ากำพลทำด้วยผมคน                    [เกสกมฺพล].
๕.  ผ้ากำพลทำด้วยหางขนสัตว์              [วาลกมฺพล].
๖.  ปีกนกเค้า                                 [อุลูกปกฺข].
๗.  หนังสือ                                    [อชินขิป].
๘.  ทำด้วยปอ                       [โปตฺถก].
        นุ่งห่มผ้าเหล่านี้เป็นวัตร  ต้องถุลลัจจัย  เป็นแต่สักว่านุ่งห่มต้องทุกกฏ.

จีวรนั้นโปรดให้ตัดเป็นกระทงมีชื่อดังนี้
๑.  อัฑฒมณฑล                              คีเวยยกะ.
๒.  มณฑล                                    วิวัฏฏะ.
๓.  อัฑฒมณฑล                              ชังเฆยยกะ.
๔.  มณฑล                                    อนุวิวัฏฏะ.
๕.  อัฑฒมณฑล                    พาหันตะ.
๖.  มณฑล                                    อนุวิวัฏฏะ.
๗.  อัฑฒกุสิ.
๘.  กุสิ.
๙.  อนุวาต.
๑๐.  รังดุม.
๑๑.  ลูกดุม.
                   [เอารังดุมและลูกดุมรวมด้วย  เพื่อให้ครบถ้วนตามแบบ]

จีวรนั้นให้ย้อมด้วยของ ๖  อย่างๆ  ใดอย่างหนึ่ง คือ
๑.  รากหรือเง่า ๑                            [มูล].
๒.  ต้นไม้๒                                    [ขนฺธ].
๓.  เปลือกไม้ ๓                               [ตจ].
๔.  ใบไม้ ๔                                   [ปตฺต].
๕.  ดอกไม้ ๕                                 [ปุปฺผ].
๖.  ผลไม้                                     [ผล].

สีที่ห้ามใช้ย้อมจีวรมี  ๗  คือ
๑.  สีคราม                          [นีลก].
๒.  สีเหลือง                                   [ปีตก].
๓.  สีแดง                                      [โลหิต].
๔.  สีบานเย็น (แดงฝาง)            [มญฺเชฏฺก].
๕.  สีแสด                                     [มหารงฺครตฺต].
๖.  สีชมพู                          [มหานามรตฺต].
๗.  สีดำ                                       [กณฺห].

๑.  เว้นขมิ้น  ๒.  เว้นฝางแกแลมะหาด.   ๓.  เว้นเปลือกโลทเปลือกคล้า.๔.  เว้นมะเกลือคราม.  ๕.  เว้นทองกวาวดอกคำ.

        [สีเหลืองเจือแดงเข้มหรือสีเหลืองหม่น  เช่นสีที่ย้อมด้วยแก่นขนุน  (กรัก)  เป็นสี่ที่รับรองว่าใช้ได้]

จีวรกาววาวที่ห้ามไม่ให้ใช้ คือ
๑.  จีวรเป็นรูปลายสัตว์.
๒.  จีวรเป็นลาดดอกไม้  ผลไม้.
        [จีวรมีดอกเล็ก ๆ ไม่กาววาว  เช่นดอกเม็ดพริกไทย  หรือเป็นริ้ว  เช่นแพรโล่  ใช้ได้.]

ของสำหรับทำลูกดุมมี  ๑๑  คือ
๑.  กระดูก                          [อฏฺิ].
๒.  งา                               [ทนฺต]
๓.  เขา                              [วิสาณ].
๔.  ไม้ไผ่                             [เวฬุ].
๕.  ไม้รวก                [นฬ].
๖. ไม้แก่น                           [กฏฺ].
๗.  ครั่ง                              [ชตุ].
๘.  กะลา                            [ผลก].
๙.  โลหะ                            [โลห].
๑๐.  สังข์                            [สงฺขนาภิ].
๑๑.  ด้ายถัก                        [สุตฺต].
                         [ลูกถวินก็ควรทำด้วยของเหล่านี้.]

ประคตเอวมี  ๒  ชนิด  คือ
๑.  ประคตแผ่น  (เช่นที่เรียกประคตลังกา)  [ปฏฺฏิ].
๒.  ประคตไส้สุกร  ผ้าเย็บเป็นปลอก  [สุกรนฺตก].

สมัยที่ไม่ต้องห่มสังฆาฏิไปด้วยมี  ๕  คือ
๑.  เจ็บไข้.
๒.  สังเกตเห็นว่าฝนจะตก.
๓.  ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ.
๔.  วิหารคือกุฎีคุ้มได้ด้วยดาน.
๕.  ได้กรานกฐิน.

ผ้าที่อนุญาตให้ใช้อีก  [นอกจากไตรจีวร]  มีดังนี้
๑.  ผ้าอาบน้ำฝน                    [วสฺสิกสาฏิก].
๒.  ผ้าปิดฝี                          [กณฺฑุปฏิจฺฉาทิ].
๓.  ผ้าปูนั่ง                          [นิสีทน].
๔.  ผ้าปูที่นอน                      [ปจฺจตฺถรณ].
๕.  ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก             [มุขปุญฺฉนโจล].
๖.  ผ้าเป็นบริขารเช่นถุงบาตรหรือย่าม                [ปริกฺขารโจล].

แบบผ้านิสีทนะ ๓  แบบ คือ
๑.  แบบของพระอรรถกถาจารย์.
๒.  แบบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวิยาลงกรณ์.
๓.  แบบพิเศษ.

วิธีทำผ้านิสีทนะ

แบบ ๑.  ชายผ้ายาวคืบครึ่ง  กว้างคืบ ๑  ตัดเป็น  ๓  ขนาดเท่ากัน  ทาง ด้านกว้าง ๆ  ชายละ  ๖  นิ้ว  ต่อชายเข้าแล้ว  เป็นผ้านิสีทนะ    ยาว  ๓  คืบ  กว้างคืบครึ่ง.
แบบ ๒. ชายยาว  ๒  คืบ  กว้าง ๑  คืบ  ตัดเป็น ๓  ชาย  ชายใหญ่กว้าง    ๖.  นิ้ว  ชายเล็กกว้าง ๓  นิ้ว  ยาวเท่ากัน  ต่อชายเข้าแล้ว   เป็นผ้านิสีทนะ  ๒  คืบ ๖  นิ้ว กว้าง  ๒  คืบถ้วน.
แบบ ๓. เอาชายคืบหนึ่งจตุรัสนั้น  ตัดกลางให้เป็นสองชายเท่ากันชายหนึ่ง ๆ  ยาวคืบ ๑  กว้าง ๖  นิ้ว  เอาชายหนึ่งตัดกลางให้เป็นสองชายเท่ากันอีก  ชายหนึ่ง  ๆ เป็น  ๖  นิ้วจตุรัสเอาเพลาะเข้ากับด้านสะกัดของชายใหญ่ด้านละชาย เป็นชายเดียว  ยาว ๒  คืบถ้วน  กว้าง ๖  นิ้ว  เอาเพลาะเข้ากับตัวนิสีทนะ ทางด้านยาวเมื่อต่อชายเข้าแล้ว   ผ้านิสีทนะนั้น เป็น  ๒  คืบจตุรัส.

บาตร
บาตรมี  ๒ ชนิด  คือ
๑.  บาตรดินเผา                     [มตฺติกาปตฺต].
๒.  บาตรเหล็ก                      [อโยปตฺต].

ของที่ห้ามไม่ให้ใช้แทนบาตร  คือ
๑.  กระทะดิน                                [มตฺติกถาลก].
๒.  กะโหลกน้ำเต้า                           [อลาพุ].
๓.  กะโหลกหัวผี                              [ฉวสีส].

บาตรชนิดอื่นที่ทรงห้ามมี  ๑๑  คือ
๑.  บาตรทอง                                            [โสวณฺณ].
๒.  บาตรเงิน                                             [รูปิย].
๓.  บาตรแก้วมณี                                      [หินฺตาล].
๔.  บาตรแก้วไพฑูรย์                                [เวฬุริย].
๕.  บาตรแก้วผลึก                                     [ผลิก].
๖.  บาตรแก้วหุง                                        [กาจ].
๗.  บาตรทองแดง                                     [ตมฺพโลห].
๘.  บาตรทองเหลือง                                  [กส].
๙.  บาตรดีบุก                                            [ติปุ].
๑๐.  บาตรสังกะสี                                      [สีส].
๑๑.  บาตรไม้[ทารุ].

ขนาดบาตรมี  ๓  ชนิด คือ
๑.  อย่างใหญ่    จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหก.
๒.  อย่างกลาง  จุข้าวสุกแห่งข้าวสารนาฬีหนึ่ง.
๓.  อย่างเล็ก               จุข้าวสุกแห่งข้าวสารปัตถหนึ่ง.

ธรรมเนียมระวังบาตร  มีดังนี้
๑.  ไม่ให้วางบาตรบนเตียง.
๒.  ไม่ให้วางบาตรบนตั่ง  [คือม้าหรือโต๊ะ].
๓.  ไม่ให้วางบาตรบนร่ม.
๔.           "        "        บนพนัก.
๕.          "        "        บนพรึง  [คือชานนอกพนัก].
๖.        "        "        บนตัก.
๗.  ไม่ให้แขวนบาตร  [เช่นที่ราวจีวร].
๘.  ไม่ให้คว่ำบาตรที่พื้นคมแข็งอันจะประทุษร้ายบาตร.
๙.  มีบาตรอยู่ในมือ  ห้ามไม่ให้ผลักบานประตู.

ให้รู้จักรักษาบาตร  ห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่าง
๑. กระโถนคือทิ้งก้างปลา กระดูก เนื้อหรืออื่นๆ อันเป็นเดนลงในบาตร 
๒. ห้ามไม่ให้ล้างมือหรือบ้วนปากในบาตร 
๓. จะเอามือเปื้อนจับบาตรก็ไม่ควร ฉันแล้วให้ล้างบาตร
๔. ห้ามไม่ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก  ให้ผึ่งแดดก่อน 
๕. ห้ามไม่ให้ผึ่งทั้งยังเปียก  ให้เช็ดน้ำจนหมดน้ำก่อนจึงผึ่ง 
๖. ห้ามไม่ให้ผึ่งไว้นาน  ให้ผึ่งครู่หนึ่ง

เครื่องอุปโภค
บริขารที่เป็นเครื่องอุปโภค  คือ
๑.  กล่องเข็ม. 
๒.  เครื่องกรองน้ำ.
๓.  มีดโกน  พร้อมทั้งฝัก  หินสำหรับลับ  กับเครื่องสะบัด.
๔.  ร่ม.
๕.  รองเท้า.

ร่มที่กาววาวนั้น  คือ
๑.  ร่มปักด้วยไหมสีต่าง ๆ.
๒.  ร่มมีระบายเป็นเฟือง.
        ร่มนั้น  ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในอารามและอุปจารแห่งอารามห้ามไม่ให้กั้นร่มเข้าบ้าน  หรือกั้นเดินตามถนนหนทาง  ในละแวกบ้านเว้นไว้แต่เจ็บไข้ไม่สบาย  ถูกแดดถูกฝนอาพาธจะกำเริบ  เช่นปวดศีรษะ  เช่นนี้  กั้นร่มเข้าบ้านได้ในชั้นอรรถกถา  ผ่อนให้ว่า  กั้นเพื่อกันจีวรเปียกฝนในเวลาฝนตก  กั้นเพื่อป้องกันภัย  กั้นเพื่อรักษาตัว[เช่นในคราวแดดจัด]  ได้อยู่.

รองเท้ามี ๒  ชนิด  คือ
๑.  ปาทุกา        เขียงเท้า.
๒.  อุปาหนา      รองเท้าไม่มีส้น.

ปาทุกาที่ระบุชื่อในบาลีมี  ๑๕  คือ
๑.  เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้[กฏฺ].
๒.         "        ทำด้วยทอง                                   [โสวณฺณ].
๓.         "        ทำด้วยเงิน                             [รูปิย].
๔.         "        ประดับด้วยแก้วมณี               [มณิ].
๕.          "        ประดับด้วยแก้วไพฑูรย์           [เวฬุริย].
๖.         "        ประดับด้วยแก้วผลึก                         [ผลิก]
๗.         "        ประดับด้วยทองแดง                 [ตมฺพโลห].
๘.         "        ทำด้วยดีบุก                            [ติปุ].
๙.  เขียงเท้าที่ทำด้วยสังกะสี                           [สีส].
๑๐.           "        สานด้วยใบตาล                          [ตาลปตฺต].
๑๑.           "        สานด้วยดอก                             [เวฬุปตฺต].
๑๒.           "        ทำด้วยหญ้าต่างชนิด           [ติณ].
๑๓.           "        สานด้วยใบเป้ง                 [หินฺตาล].
๑๔.           "        สานด้วยแฝก                             [กมล].
๑๕.           "        ถักหรือปักด้วยขนเจียม         [กมฺพล].
        [ปาทุกาที่ทำด้วยไม้  ซึ่งตรึงอยู่กับที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะและเป็นที่ชำระ  ทรงอนุญาตให้ขึ้นเหยียบได้].

รองเท้าที่จะใช้ต้องประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้  คือ
๑.  เป็นรองเท้าทำด้วยหนังสามัญ  ชั้นเดียว  ใช้ได้ทั่วไป มากชั้น ตั้งแต่ ๔  เป็นของเก่า  ใช้ได้ทั่วไป  มากชั้นเป็นของใหม่ ใช้ได้ เฉพาะในปัจจันตชนบท  มีสายรัดใช้คีบด้วยนิ้ว.
๒.  เป็นรองเท้าไม่มีสีที่ต้องห้าม[ถ้ามีสีที่ต้องห้ามสำรอกสีนั้นออกหรือเพียงทำให้หม่นหมอง  ใช้ได้]
๓.  หูหรือสายรัดไม่มีสีที่ต้องห้าม   [ถ้ามีสีที่ต้องห้าม  เปลี่ยนหูหรือ  สายรัดเสียใหม่  ใช้ได้].
๔.  ไม่ขลิบด้วยหนังสัตว์ที่ต้องห้าม [ถ้าขลิบด้วยหนังสัตว์เช่นนั้น   เอาหนังที่ขลิบออกเสียใช้ได้].
๕.  ไม่ปกส้น  ปกหลังเท้า  ปกแข็ง.
๖.  ไม่ใช้ฟื้นยัดนุ่น  ตรึงหรือประดับขนนกกระทา  ขนนกยูง.
๗.  ไม่มีหูเป็นช่อเขาแกะ  ดังเขาแพะ  ดังง่ามแมลงป่อง.
        [ในข้อ  ๕-๗  นี้  ถ้ารองเท้านั้นปกส้น  ปกหลังเท้า  ฯ ล ฯ  มีหูเป็นช่อต่าง ๆ  แก่ให้เป็นกัปปิยะแล้ว  ใช้ได้].

สีรองเท้าที่ต้องห้ามมี  ๗  คือ
๑.  สีขาบ                    [นีลก].
๒.  สีเหลือง                [ปีตก].
๓.  สีแดง                  [โลหิตก].
๔.  สีบานเย็น                       [มญฺเชฏฺก].
๕.  สีแสด                            [มารงฺครตฺต].
๖.  สีชมพู                   [มหานามรตฺต].
๗.  สีดำ                     [กณฺห].
        [สีหูหรือสายรัดที่ต้องห้าม ก็มีสีเช่นนี้เหมือนกัน]

รองเท้าขลิบด้วยหนังสัตว์ที่ต้องห้าม  หนังสัตว์นั้นมี  ๘  คือ
๑.  หนังสีห์                          [สีหจมฺม].
๒.  หนังเสือโคร่ง           [พยคฺฆจมฺม].
๓.  หนังเสือเหลือง         [ทีปิจมฺม].
๔.  หนังชะมด              [กทลิมิคจมฺม].
๕.  หนังนาก               [อุทจมฺม].
๖.  หนังแมว               [พิฬารจมฺม].
๗.  หนังค่าง               [กาฬกจมฺม].
๘.  หนังนกเค้า             [อุลูกจมฺม].
        รองเท้าที่ประกอบด้วยลักษณะอันใช้ได้โดยประการทั้งปวงแล้วภิกษุจะใช้ในที่ทั่วไปไม่ได้  ไม่เจ็บเท้า  ห้ามไม่ให้สวมเข้าบ้าน  เป็นอาคันตุกะเข้าไปในวัดอื่นก็ให้ถอด  ในอารามอันมิใช่ที่ต้องห้าม  ในป่าสวมได้.  ฝ่าเท้าบาง  เหยียบฟื้นแข็งไม่ได้  เหยียบเข้าเจ็บ  หรือในฤดูร้อน   ฟื้นรอน  เหยียบเข้าเท้าพอง  สวมเข้าบ้านได้เข้าวัดได้.ในฤดูฝน  ไปในที่ฉำแฉะ  ภิกษุผู้อาพาธเป็นโรคกษัย  สวมเพื่อกันเท้าเย็นก็ได้.

เครื่องเสนาสนะ
บริขารบริโภคที่เป็นเครื่องเสนาสนะ  คือ
๑.  เตียง [เตียงมีเท้าเกิน ๘ นิ้ว หรือเป็นของใหญ่ หรือมีรูปสัตว์ ร้ายที่เท้าเช่นเตียงจมูกสิงห์ เรียกบัลลังก์  ห้ามไม่ให้ใช้].
๒.  ตั่ง  [คือม้าสำหรับนั่ง ๔  เหลี่ยมรี  นั่งได้สองคนก็มี  หากมีเท้ เกิน  ๘  นิ้ว  ห้ามไม่ให้ใช้].
๓.  อาสันทิ  [คือม้าสำหรับนั่ง ๔  เหลี่ยมจตุรัส].
๔.  ฟูกเตียง  [คือที่นอน  ยัดนุ่นหรือใหญ่  ห้ามไม่ให้ใช้].
๕.  ฟูกตั่งคือเบาะ  [ยัดนุ่น  ห้ามไม่ให้ใช้].
๖.  หมอนหนุนศีรษะ  [ประมาณพอศีรษะ  หมอนใหญ่กึ่งกาย  หมอน ข้าง  ห้ามไม่ให้ใช้].
๗. มุ้ง.
๘.  เครื่องลาดอันไม่จัดว่าเป็นของวิจิตร.

ฟูกที่ควรใช้ได้มี  ๕  อย่าง  คือ
๑.  ฟูกยัดด้วยขนแกะ  [ยกผมขนมนุษย์  ขนปีกนกและขนสัตว์  ๒  เท้า   อนุโลมขนแกะ].
๒.  ฟูกยัดด้วยท่อนผ้าหรือเศษผ้า.
๓.  ฟูกยัดด้วยเปลือกไม้
๔.  ฟูกยัดด้วยหญ้า.
๕.  ฟูกยัดด้วยใบไม้  [ยกใบพิมเสนล้วน  ปนของอื่น  อนุญาต].

เครื่องลาดอันจัดว่าเป็นของวิจิตรนั้น  คือ
๑.  ผ้าขนเรียกโคณกะมีขนยาวกว่า  ๔  นิ้ว.
๒.  เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะมีชื่อต่าง ๆ  กัน.
๓.  เครื่องลาดที่ทอดด้วยด้ายแกมไหม  [เช่นเยียรบับเข้มขาบเป็นต้น].
๔.  เครื่องลาดที่เป็นไหมล้วน.
๕.  เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม.
๖.  เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด.
๗. ที่นอนมีเพดานข้างบน   ที่เข้าใจว่าที่นอนมีมุ้งกาง  หรือเตียง  มีเพดาน๑.
๘.  เครื่องลาดหลังช้าง
๙.  เครื่องลาดหลังม้า        อันไม่ปรากฏว่าชนิดไร.
๑๐.  เครื่องลาดบนรถ ๑.  ข้อนี้  ตั้งแต่ทรงอนุญาตมุ้งกันยุงแล้ว ชื่อว่าเป็นของเลิกจากการห้าม.

เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะมีชื่อต่าง ๆ  กันนั้น  คือ
๑.  ที่ปักหรือทอเป็นลาย เรียกจิตตกา.
๒.  ที่เป็นสัณฐานพวงดอกไม้  เรียกปฏิลิกา.
๓.  ที่เป็นรูปสัตว์ร้ายมีสีห์เสือเป็นต้น  เรียกว่าวิกติกา.
๔.  ที่มีสีขาวล้วน                    เรียกว่าปฏิกา.
๕.  ที่มีขนตั้ง                        เรียกอุทธโลมิ.
๖.  ที่มีขนตกไปข้างเดียวกัน  เรียกเอกันตโลมิ.
๗.  ที่เป็นของใหญ่นางฟ้อน  ๑๖  คนยืนรำได้  [เช่นพรมห้อง]  เรียก   กุฏกะ.
        เครื่องเสนาสนะอันเป็นอกัปปิยะที่เป็นของคฤหัสถ์  ทรงอนุญาตให้นั่งทับได้  [ยกเว้นบัลลังก์]  แต่ไม่ให้นอนทับ.  ห้ามไม่ให้ภิกษุสองรูปนอนบนเตียง  บนเครื่องลาด  อันเดียวกัน  หรือมีผ้าห่มผืนเดียวกัน  แต่นั่งบนเตียงหรือตั่งได้  แต่ในบาลีให้นั่งได้เฉพาะกับภิกษุผู้มีพรรษาไล่เลี่ยกัน  แก่หรืออ่อนกว่ากันไม่ถึง ๓  พรรษา  เรียกสมานาสนิกห้ามไม่ให้นั่งกับภิกษุผู้มีพรรษาห่างกันเกิดกำหนดนั้นเรียกอสมานาสนิก.
อนึ่ง  ห้ามไม่ให้นอนบนที่นอนอันโรยด้วยดอกไม้.

 กัณฑ์ที่ ๑๓
นิสัย
มูลเหตุที่ทรงอนุญาตให้มีพระอุปัชฌายะ  คือ
๑.  มีพุทธบัญญัติและอภิสมาจารมากขึ้น.
๒.  ผู้มาใหม่ไม่สามารถจะรู้ทั่วถึงและประพฤติให้ถูกระเบียบ  ด้วยลำพัง ใช้ความสังเกตทำตามกัน  จำจะศึกษาจึงจะรู้ได้.
         วิธีถืออุปัชฌายะและรับ  คือ  ให้ภิกษุนวกะทำผ้าห่มเฉวียงบ่าและ  กราบเท้าแล้ว  นั่งกระหย่งประณมมือกล่าวว่า  "อุปชฺฌาโย  เม  ภนฺเต  โหหิ"  "ขอท่านแจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า"  ๓ หนเมื่อภิกษุที่นวกะนั้นอาศัยรับว่า   "สาหุ"  "ดีละ"  "ลหุ"  "เบาใจดอก"   "โอปายิก"   "ชอบแก่อุบาย"  "ปฏิรูป"  "สมควรอยู่"หรือว่า  "ปาสาทิเกน   สมฺปาเทหิ"   "ให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด"  อย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นอันถืออุปัชฌายะแล้ว.
        ภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง  ได้ชื่อว่าอุปัชฌายะแล้ว แปลว่า ผู้ฝึกสอนหรือผู้ดูแล  ภิกษุผู้พึ่งพิง  ได้ชื่อว่าสัทธิวิหาริก  แปลว่า  ผู้อยู่ด้วยกิริยาที่พึ่งพิง  เรียกว่านิสัย.

เหตุนิสัยระงับจากอุปัชฌายะมี  ๕  คือ
๑.  อุปัชฌายะหลีกไป.
๒.  สึกเสีย.
๓.  ตายเสีย.
๔.  ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสีย.  
๕.  สั่งบังคับ.
        องค์เหล่านี้  ยกสั่งบังคับเสีย  ได้ในฝ่ายสัทธิวิหาริเหมือนกันสัทธิวิหาริกหลีกไปเสียเอง  สึกเสียเอง  ตายเสียเอง  ไปเข้ารีตเดียรถีย์เสียเอง  นิสัยก็ระงับเหมือนกัน.

องค์คือสั่งบังคับนั้นมีมติเป็น ๒  คือ
๑.  ประณามคือไล่เสีย  [มติของอรรถกถาจารย์].
๒.  อุปัชฌายะเป็นมีพรรษาพ้น ๕ แล้ว มีความรู้พระธรรมวินัยพอ รักษาตัวได้แล้ว
ปลดเสียจากนิสัย ให้อยู่เป็นนิสัยมุตกะ [พระมติของสมเด็จฯ].

องค์เป็นเหตุที่จะให้สัทธิวิหาริกถูกประณาม  ท่านกำหนดไว้  ๕  คือ
๑.  หาความรักใคร่ในอุปัชฌายะมิได้.
๒.  หาความเลื่อมใสมิได้
๓.  หาความละอายมิได้.
๔.  หาความเคารพมิได้.
๕.  หาความหวังดีต่อมิได้.

วิธีประณาม
        ประณามนั้นพึงทำอย่างนี้:พึงพูดให้รู้ว่าตนไล่เธอเสีย  ท่านวางอย่าไว้ในบาลีว่า "ฉันประณามเธอ"  "อย่าเข้ามา  ณ  ที่นี้""จงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย"  หรือ  "เธอไม่ต้องอุปัฏฐากฉันดอก"   หรือแสดงอาการให้รู้อย่างนั้นก็ได้.

วิธีถอนประณาม
        สัทธิวิหาริก  ผู้ถูกประณามแล้ว  ต้องทำดีแก้ตัว  ขอให้อุปัชฌายะอดโทษ  ถ้าทอดธุระเสีย  เป็นโทษแก่สัทธิวิหาริก.
        สัทธิวิหาริก กลับทำดี และขอขมาโทษแล้ว อุปัชฌายะไม่รับแล้วไม่ระงับประณาม ก็มีโทษแก่อุปัชฌายะ.
        เว้นไว้แต่สัทธิวิหาริกยังไม่ได้แก้ตัวจากเหตุที่ให้ถูกประณามหรือเห็นว่ารับง่ายนัก  จักไม่เข็ดหลาบ  ยังผูกใจว่าจะรับ  ไม่มีโทษ.
คำของในการถืออาจารย์ว่าดังนี้
        "อาจริโย  เม  ภนฺเต  โหหิ.  อายสฺมโต  นิสฺสาย  วจฺฉามิ"[๓  หน].
        "ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ๆ  จักอยู่อาศัยท่าน."
        ภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง   ได้ชื่อว่าอาจารย์   ซึ่งแปลว่าผู้ฝึกมารยาทภิกษุผู้อิงอาศัย  ได้ชื่อว่าอันเตวาสิกหรืออันเตวาสี  ซึ่งแปลว่าผู้อยู่ในสำนัก.

ในอรรถกถานับอาจารย์เป็น   ๔  คือ
        ๑.  ท่านผู้ให้สรณคมน์เมื่อบรรพชา [ปัพพัชชาจารย์].
        ๒.  ท่านผู้สวดกรรมวาจาเมื่ออุปสบท  [อุปสัมปทาจารย์].
        ๓.  ท่านผู้ให้นิสัย  [นิสสยาจารย์].
        ๔.  ท่านผู้สอนธรรม  [อุทเทสาจารย์].
        [อาจารย์นี้  ในบาลีหมายเอาภิกษุผู้ให้นิสัยแทนอุปัชฌายะเท่านั้น].

อันเตวาสิกก็ได้ชื่อตามนัยนั้น  ดังนี้
๑.  ปัพพชันเตวาสิก  อันเตวาสิกในบรรพชา.
๒. อุปสัมปทันเตวาสิก  อันเตวาสิกในอุปสมบท.
๓.  นิสสยันเตวาสิก  อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย.
๔.  ธัมมันเตวาสิก  อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม.

เหตุนิสัยระงับจากอาจารย์  ๖  คือ
๑-๕.  เหมือนในอุปัชฌายะ.
๖.  อันเตวาสิกร่วมเข้ากับอุปัชฌายะของเธอ.

พวกภิกษุที่ได้รับยกเว้นในการถือนิสัย  คือ
๑.  ภิกษุเดินทาง.
๒.  ภิกษุผู้พยาบาท  ผู้ได้รับขอของคนไข้เพื่อให้อยู่.
๓.  ภิกษุผู้เข้าป่าเพื่อเจริญสมณธรรมชั่วคราว.
        [ในที่ใด  หาท่านผู้ให้นิสัยได้  และมีเหตุขัดข้องที่จะไปอยู่ในที่อื่นไม่ได้ จะอยู่ในที่นั้นด้วยผูกใจว่า  เมื่อใดมีท่านผู้ให้นิสัยได้มาอยู่  จักถือนิสัยในท่าน  ก็ใช้ได้].

องค์แห่งนิสัยมุตกะ
        องค์สมบัติที่กำหนดเพื่อให้เป็นนิสัยมุตกะ  ย่นกล่าวเฉพาะองค์อันสมแก่ภิกษุในบัดนี้  คือ
๑.เป็นผู้มีศรัทธา  มีหิริ  มีโอตตัปปะ  มีวิริยะ  มีสติ.
๒.เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล  อาจาระ  ความเห็นชอบ  เคยได้ยินได้ฟัง      มาก  มีปัญญา.
๓.รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติอาบัติเบาอาบัติหนักจำปาฏิโมกข์ได้ แม่นยำ ทั้งมีพรรษาได้ ๕ หรือยิ่งกว่า
        [องค์เหล่านี้  แม้บกพร่องบางอย่าง  ก็ยังได้  ที่ขาดไม่ได้  คือกำหนดพรรษา].

ภิกษุผู้มีพรรษาครบ  ๑๐  แล้ทรงอนุญาตให้มีหน้าที่ดังนี้
๑.  เป็นอุปัชฌายะให้อุปสมบท.
๒.  เป็นอาจารย์ให้นิสัย.
๓.  มีสามเณรไว้อุปัฏฐาน  คือให้บรรพชาเป็นสามเณรได้.
        [แต่ภิกษุผู้ขาดองค์สมบัติ  แม้มีพรรษาครบกำหนดแล้ว  ก็ไม่ทรงอนุญาต].

องค์แห่งเถระ
องค์สมบัติที่กำหนดไว้สำหรับพระเถระ  เพิ่มจากองค์ของภิกษุมัชฌิมะผู้นิสัยมุตกะดังนี้
๔.  อาจพยาบาลเองหรือสั่งผู้อื่นให้พยาบาลสัทธิวิหาริก  อันเตวาสิก    ผู้อาพาธ  
อาจระงับเองหรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน  คือ  ไม่ยินดีในพรหมจรรย์ของสัทธิวิหาริกอันเตวาสิก  อาจบรรเทาเอง  หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอันเกิดขึ้นแก่สัทธิ-วิหาริกอันเตวาสิกโดยทางธรรม  รู้จักอาบัติ  รู้จักวิธีออกจากอาบัติ.
๕.  อาจฝึกปรือสัทธิวิหาริกอันเตวาสิก  ในสิกขาเป็นส่วนอภิสมาจาร      คือมารยาท 
อาจแนะนำสัทธิวิหาริกอันเตวาสิก  ในสิกขาเป็นส่วน เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์  คือพระบัญญัติอันเป็นหลักแห่งการประพฤติพรหมจรรย์  อาจแนะนำในธรรมในวินัยอันยิ่งขึ้นไป  อาจเปลื้องทิฏฐิผิดอันเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริกอันเตวาสิก โดยทางธรรม.  ทั้งมีพรรษาได้  ๑๐  หรือยิ่งกว่า.
      [องค์เหล่านี้  แม้บกพร่องบางอย่าง  ก็ยังได้  ที่ขาดไม่ได้  คือกำหนดพรรษา].

ชั้นภูมิของภิกษุ
- ชั้นนวกะมีพรรษาไม่ถึง ๕
- ชั้นมัชฌิมา มีพรรษา ๕ ขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๑๐
- ชั้นเถระ มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป
กัณฑ์ที่ ๑๔
วัตร
        ขนบคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้นๆ ในที่นั้นๆ ในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆ เรียกว่าวัตร จำแนกเป็น  ๓  คือ
๑.  กิจวัตร       ว่าด้วยกิจควรทำ.
๒.  จริยาวัตร  ว่าด้วยมรรยาทอันควรประพฤติ.
๓.  วิธิวัตร       ว่าด้วยแบบอย่าง.

กิจวัตร
อุปัชฌายวัตร  วัตรทีสัทธิวิหาริกพึงทำแก่อุปัชฌายะ  มีดังนี้
๑.  เอาใจใส่ในการอุปัฏฐากท่าน ในกิจทุกอย่าง  เช่นถวายน้ำบ้วนปาก น้ำล้างหน้า  และไม้สีฟัน
๒.  หวังความศึกษาในท่าน.
๓.  ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมความเสียอันจักมีหรือ ได้มีแล้วแก่ท่าน เช่นระงับความกระสัน  ความเบื่อหน่าย เปลื้อง ความเห็นผิด เอาธุระในการออกจากอาบัติของท่าน ขวนขวายเพื่อสงฆ์งดโทษทีจะลงแก่ท่าน  หรือผ่านเบาลงมา.
๔.  รักษาน้ำใจท่าน ไม่คบคนนอกให้เป็นเหตุแหนง เช่นจะทำการ รักการให้เป็นต้นกับคนเช่นนั้น บอกท่านก่อน  ไม่ทำตามลำพัง.
๕.  เคารพในท่าน  เช่นเดินตามท่านไม่ชิดนัก ไม่ห่างนัก ไม่พูดสอด ในขณะท่านกำลังพูด  ท่านพูดผิด ไม่ทักหรือค้านจังๆ  พูดอ้อมพอให้ท่านรู้.
๖.  ไม่เที่ยวเตร่ตามอำเภอใจ จะไปข้างไหนลาท่านก่อน.     
๗.  เมื่อท่านอาพาธเอาใจใส่พยาบาล ไม่ไปข้างไหนเสียกว่าท่าน จะหายเจ็บหรือมรณะ.

สัทธิวิหาริกวัตร วัตรที่อุปัชฌายะพึงทำแก่สัทธิวิหาริกมีดังนี้
๑.  เอาธุระในการศึกษาของสัทธิวิหาริก.
๒.  สงเคราะห์ด้วยบาตรจีวรและบริขารอย่างอื่น ถ้าของตนไม่มี ก็ขวนขวายหา.
๓.  ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมความเสียอันจักมี  หรือ  ได้มีแล้วแก่สัทธิวิหาริก  ดังกล่าวแล้วในกรณียะของสัทธิวิหาริก.
๔.  เมื่อสัทธิวิหาริกอาพาธ ทำการพยาบาล.

วัตรอันอาจารย์และอันเตวาสิกจะพึงประพฤติแก่กัน พึงรู้โดยนัยนี้
อาคันตุวัตร  วัตรที่ภิกษุผู้จะไปสู่อาวาสอื่นพึงประพฤติให้สมเป็นแขกของเจ้าของถิ่นดังนี้
๑.  ทำความเคารพในท่าน  เช่นพอจะเข้าเขตวัดถอดรองเท้า ลดร่ม เปิดผ้าคลุมศีรษะ [ในบัดนี้ลดจีวรเฉวียงบ่า]  เข้าไปสู่สำนักเจ้าของถิ่นก่อน ไหว้เจ้าของถิ่นผู้แก่กว่าตน.
๒.  แสดงความเกรงใจเจ้าของถิ่น เช่นเห็นเจ้าของถิ่นกำลังทำธุระ เช่นกวาดลานพระเจดีย์หรือทำยาแก่ภิกษุไข้  เธอละกิจนั้นมาทำการต้อนรับ บอกเธอทำให้เสร็จก่อน กล่าวอนุโลมนัยนี้  เมื่อเข้าไป  เห็นเจ้าของถิ่นกำลังมีธุระอย่างนั้น รอให้เสร็จก่อนจึงเข้าไปหา  ถ้าเธอต้องพักงานไว้ อย่าอยู่ให้นาน.
๓.  แสดงอาการสุภาพ เช่นจะเข้าไปในที่อันไม่ควรเหยียบย่ำด้วยเท้าเปื้อน ถ้าเท้าเปื้อนมา ล้างเท้าเสียก่อนจึงเข้าไป  ถือเอาอาสนะ อันสมแก่ตน  ซึ่งเป็นผู้น้อยหรือผู้ใหญ่หรือเสมอกันเจ้าของถิ่น.
๔.  แสดงอาการสนิทสนมกับเจ้าของถิ่น เช่นต้องการน้ำฉันก็ฉัน ต้องการน้ำใช้ก็ใช้อนุโลมนัยนี้ เจ้าของถิ่นทำปฏิสันถารก็รับ  ไม่แสดงอาการรังเกียจ.
๕.  ถ้าจะอยู่ที่นั่น  ควรประพฤติให้ถูกธรรมเนียมของเจ้าของถิ่น  เช่น  ถามถึงเสนาสนะอันถึงแก่ตน  ถามถึงโคจรคามไกลใกล้  จะพึงเข้า  ไปเช้าหรือสาย   บ้านไหนมีจำกัดของหรือมีจำกัดภิกษุ ถามถึงที่ อโคจรเป็นต้นว่าบ้านมิจฉาทิฏฐิ  ที่อันประกอบด้วยภัย ถามถึงที่ ถ่ายเว็จ ที่ถ่ายปัสสาวะ สระน้ำ และกติกาของสงฆ์.
๖.  ถือเสนาสนะแล้วอย่าดูดาย เอาใจใส่ชำระปัดกวาดให้หมดจดตั้ง เครื่องเสนาสนะให้เป็นระเบียบ.

วัตรที่เจ้าของถิ่นพึงประพฤติแก่อาคันตุกะ  ดังนี้
๑.  เป็นผู้หนักในปฏิสันถาร เช่นกำลังทำจีวรหรือนวกรรมอยู่ก็ดี   กำลังกวาดลานพระเจดีย์อยู่ก็ดี  กำลังทำยาแก่ภิกษุไข้ไม่หนักก็ดี ให้งดการนั้นไว้พลาง  มาต้องรับอาคันตุกะ เว้นไว้แต่กำลังทำยา  แก่ภิกษุไข้หนัก  ให้รีบทำให้เสร็จก่อน.
๒. แสดงความนับถือแก่อาคันตุกะ เช่นทำปฏิสันถาร  ตั้งน้ำล้างเท้าเครื่องเช็ดเท้าตั้งหรือปูอาสนะให้นั่งถามด้วยน้ำฉันน้ำใช้
๓.  ทำปฏิสันถารโดยธรรม  คือสมแก่ภาวะของอาคันตุกะ เช่น อาคันตุกะแก่กว่าตน ลุกไปรับบาตรจีวร ไหว้ท่าน  ถ้ามีแก่ใจ  ก็ช่วยเช็ดรองเท้าให้ด้วย  เอาน้ำมันทาเท้าให้และพัดให้ท่าน  ถ้าอาคันตุกะอ่อนกว่าตนก็เป็นแต่บอกอาสนะให้นั่ง  บอกให้น้ำฉันน้ำใช้ให้เธอถือเอาฉันเอาใช้เอง  ในบัดนี้ สั่งให้ผู้อื่นทำให้เป็นการสมควร.
๔.  ถ้าอาคันตุกะมาเพื่อจะอยู่ที่วัด   เอาใจเอื้อเฟื้อแสดงเสนาสนะให้ ถ้ามีแก่ใจ  ช่วยปัดกวาดให้ด้วย  บอกที่ทางและกติกาสงฆ์ให้รู้  ตามข้อที่อาคันตุกะจะพึงถาม  อันกล่าวแล้วในอาคันตุกวัตร.

ภิกษุจะไปอยู่ที่อื่น พึงประพฤติ  ดังนี้
๑.  เก็บงำเสนาสนะ ถ้าหลังคารั่วหรือชำรุด  อาจมุงอาจซ่อมได้  ทำให้เสร็จก่อน ถ้ารกหรือเปรอะเปื้อน  ชำระให้สะอาดก่อน  เก็บ เครื่องเสนาสนะ  คือ เตียง  ตั่ง  ฟูก  หมอน  และเครื่องใช้ไว้ให้  เรียบร้อย อย่าทิ้งให้เกลื่อนกลาด  ให้พ้นอันตราย  ปิดหน้าต่างประตูลั่นดาลหรือกุญแจ.
๒.  บอกมอบคืนเสนาสนะแก่ภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ถ้าไม่มีบอกแม้แก่เพื่อนภิกษุผู้อยู่ด้วยกัน  ถ้าตนอยู่รูปเดียวบอกแก่หัวหน้า ทายกหรือแก่นายบ้าน.
๓.  บอกกล่าวท่านผู้ที่ตนพึ่งพำนักอยู่  กล่าวคืออุปัชฌายะหรืออาจารย์ ผู้ให้นิสัย  [ในบัดนี้  บอกลาพระเถระเจ้าอาวาสด้วย].

ภิกษุผู้จะเข้าไปเพื่อรับบิณฑบาตในละแวกบ้าน ควรประพฤติให้ถูกธรรมเนียมดังนี้
๑.  นุ่งห่มให้เรียบร้อย  คือนุ่งปิดสะดือ ปกหัวเข่า  ผูกประคตเอว ซ้อนผ้าสังฆาฏิกับอุตราสงค์เข้าด้วยกันเป็นสองผืนห่มคลุมปิด สองบ่า กลัดรังดุม.
๒.  ถือบาตรในภายในจีวร  เอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต.
๓.  สำรวมกิริยาให้เรียบร้อย  ตามสมณสารูปในเสขิยวัตร.
๔.  กำหนดทางเข้าทางออกแห่งบ้าน  และอาการของสาวบ้านผู้จะให้ ภิกขาหรือไม่.
๕.  รู้ว่าเขาจะให้ รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม ดังกล่าวไว้ใน หมวดโภชนปฏิสังยุตในเสขิยวัตร.
๖.  รูปที่กลับมาก่อน  เตรียมอาสนะที่นั่งฉัน   น้ำฉัน  ภาชนะรองของฉัน  ตลอดถึงน้ำล้างเท้าและเครื่องเช็ดเท้า  ไว้ท่ารูปมาทีหลัง      ฝ่ายรูปมาทีหลัง  ฉันแล้วเก็บของเหล่านั้นและกวาดหอฉัน  [ธรรม-เนียมนี้  สำหรับวัดที่ภิกษุทั้งหลายฉันในหอฉันแห่งเดียวกันแต่ฉันไม่พร้อมกัน].

ภิกษุผู้จะฉันอาหาร  ควรประพฤติให้ถูกธรรมเนียมดังนี้
๑.  นุ่งห่มให้เรียบร้อย  ตามสมควรแก่การฉันในวัดหรือในบ้าน [ใน อรรถกถาว่า เมื่อจะไปสู่ที่อังคาสของทายกแม้ในวัด  ควรห่มคลุม แต่ในบัดนี้ในวัดใช้ห่มเฉวียงบ่าทั้งนั้น].
๒.  รู้จักอาสนะอันควรแก่ตน  [ถ้านั่งเข้าแถวในที่อังคาส  อย่านั่ง  เบียดพระเถระ  ถ้าที่นั่งมีมาก  เว้นไว้หนึ่งหรือสองที่  ในอาสนะ เขาตั้งหรือปูมีจำกัดจำนวนภิกษุ  จะทำอย่างนั้นไม่ได้ บอกให้  พระเถระทำโอกาสแล้วนั่งได้]  และอย่าห้ามอาสนะภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยนั่งเสียปลายแถว  เช่นนี้  ภิกษุอ่อนไม่มีโอกาสจะนั่ง.
๓.  ห้ามไม่ให้นั่งทับผ้าสังฆาฏิในบ้าน.
๔.  ทายกถวายน้ำ ถวายโภชนะรับโดยเอื้อเฟื้อ ถ้าโภชนะเขาไม่ได้ จัดถวายเฉพาะรูปๆ เขาจัดมาในภาชนะอันเดียว ถวายให้ตักเอาเองหรือเขาตักถวาย หวังให้ได้ทั่วกัน ถ้าของน้อยเห็นว่าจะไม่พอกัน ผลัดกันรับบ้างไม่รับบ้าง.
๕.  ในโรงฉันเล็กพอจะแลทั่วถึงกัน  ภิกษุทั้งหลายยังไม่ได้รับโภชนะทั่วกัน ภิกษุผู้สังฆเถระอย่าเพิ่งลงมือฉัน  เว้นไว้แต่ในที่อังคาส  ภิกษุมากแลเห็นกันไม่ทั่ว  หรือพ้นวิสัยจะรอคอยกันได้.
๖.  ฉันด้วยอาการอันเรียบร้อย  ตามระเบียบอันกล่าวไว้ในโภชน  ปฏิสังยุตแห่งเสขิยวัตร.
๗.  อิ่มพร้อมกัน  ภิกษุทั้งหลายยังฉันไม่แล้ว ภิกษุผู้สังฆเถระ อย่าเพิ่มรับน้ำล้างบาตร  ในบัดนี้  ยังใช้ไม่บ้วนปากและยังไม่ล้างมือแทน.
๘.  ระวังไม่บ้วนปากและล้างมือให้น้ำกระเซ็นถูกภิกษุนั่งใกล้หรือถูก จีวรของตนเอง.
๙.  ฉันในที่อังคาสของทายก เสร็จแล้วอนุโมทนา.
๑๐.  เมื่อกลับอย่าเบียดเสียดกันออกมา ถ้าโรงฉันแคบ ภิกษุผู้อยู่ ปลายแถวออกก่อน โดยทวนลำดับขึ้นไป  แล้วยืนรออยู่ข้างนอกกว่าพระสังฆเถระจะออกมา  ถ้าโรงฉันกว้าง  ออกตั้งแต่ต้นแถว  แล้วเดินกลับตามลำดับแก่อ่อน ท่านให้ไว้ระยะพอ คนเดินผ่านได้ในระหว่าง.
๑๑.  ห้ามไม่ให้เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทในบ้านเขา  ของเป็นเดนก็เหมือนกัน.

การแจกเสนาสนะให้ถือ  มี  ๒  คราว  คือ
๑.  สำหรับอยู่พรรษา.
๒.  สำหรับอยู่นอกพรรษา.

ภิกษุผู้แจกเสนาสนะควรรู้ภิกษุที่ควรให้ย้ายหรือไม่ควร  ดังนี้
๑.  ไม่ควรย้ายภิกษุผู้แก่กว่า        เพื่อจะแจกเสนาสนะให้แก่ภิกษุผู้อ่อนกว่า.
๒.  ไม่ควรย้ายภิกษุผู้อาพาธ        [เว้นไว้แต่อาพาธเป็นโรคอันจะติดกันได้ เช่นโรคเรื้อนและเป็นโรคอันทำเสนาสนะให้เปรอะเปื้อน เช่นโรคอุจจารธาตุ  ควรจัดเสนาสนะให้อยู่ส่วนหนึ่ง].
๓.  ไม่ควรย้ายภิกษุผู้รักษาคลังของสงฆ์.
๔.  ไม่ควรย้ายภิกษุผู้พหุสูต         ผู้มีอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยการบอกแนะอรรถธรรม.
๕.  ไม่ควรย้ายภิกษุผู้ทำการปฏิสังขรณ์เสนาสนะ  อันชำรุดให้คืนเป็นปกติ  [คำที่ว่านี้  หมายเอาการย้ายจากเสนาสนะดีไปอยู่เสนาสนะ ทราม].

ภิกษุผู้รับเสนาสนะของสงฆ์ความเอาใจใส่รักษาเสนาสนะ  ด้วยอาการดังนี้
๑.  อย่าทำให้เปรอะเปื้อน.
๒.  ชำระให้สะอาด อย่าให้รกด้วยหยากเยื่อหยากไย่และละออง.
๓.  ระวังไม่ให้ชำรุด   [เช่นจะยกเตียงตั่งเป็นต้นเข้าออกระวังไม่ให้ กระทบบานประตูหรือฝา จะวางเตียงตั่งบนพื้นที่เขาทำบริกรรม เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองปลายเท้า อย่าให้ปลายเท้ากันพื้น]
๔.  รักษาเครื่องเสนาสนะ เป็นต้นว่าเตียง ตั้ง  ที่สุดจนกระโถนให้สะอาด  และจัดตั้งเข้าระเบียบ.
๕.  ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ให้มีพร้อม.
๖.  ของใช้สำหรับเสนาสนะหนึ่ง  อย่าเอาไปใช้ในที่อื่นให้กระจัดกระจาย  สำหรับที่ใดให้ใช้ที่นั้น   [แต่จะยืนไปใช้ชั่วคราว  แล้วนำมาคืนได้อยู่  หรือในเวลาไม่มีภิกษุอยู่  ของเก็บในที่นั้นจะหาย      หรือเป็นอันตรายเพราะสัตว์กัดเป็นต้น  ภิกษุผู้นั้นเป็นเสนาสนคาหาปกะจะขนไปเก็บไว้ในที่อื่น  สมควรแท้].

วัตรอันจะพึงประพฤติในวัจกุฎี  มีดังนี้
๑.  การถ่ายเว็จถ่ายปัสสาวะและอาบน้ำ  ให้ทำตามลำดับผู้ไปถึง [ไม่ เหมือนกิจอื่นอันจะพึงทำตามลำดับพรรษา.
๒.  ให้รักษากิริยา  [เช่นเห็นประตูปิดห้ามไม่ให้ด่วนผลักเข้าไปให้ กระแอมหรือไอก่อน ฝ่ายผู้อยู่ข้างในก็ให้กระแอมหรือไอรับ ต่อไม่มีเสียงจึงค่อยผลักบาน จะเข้าจะออกอย่าทำผลุนผลันค่อยเข้า      ค่อยออก  อย่าเวิกผ้านุ่งเข้าไปหรือออกมา  อย่าถ่ายเว็จและชำระให้มีเสียง].
๓.  ให้รู้จักรักษาบริขาร  เปลื้องจีวรพาดไว้เสียข้างนอก  อย่าครองเข้าไป.
๔.  ให้รู้จักรักษาตัว  อย่าแบ่งแรงให้ถึงชอกช้ำ  เว้นไว้แต่ท้องผูกเกินปกติ อย่าใช้ไม้ชำระอันจะประทุษร้ายตัว  เช่นไม้มีคม  ไม้มีปม  ไม้มีหนาม  ไม้ผุ  ให้ใช้ไม้ที่เหลาเกลี้ยงแล้วชำระด้วยน้ำ.
๕.  อย่าทำกิจอื่นในเวลานั้น  ห้ามไม่ให้เคี้ยวไม้ชำระฟันพลาง.
๖.  ให้ระวังเพื่อไม่ให้ทำสกปรก  ถ่ายเว็จไม่ค้างหรือเปื้อนล่อง  ถ่ายปัสสาวะไม่นอกราง  ไม่บ้วนน้ำลายหรือสั่งน้ำมูกลงในรางปัสสาวะ หรือที่พื้น ไม่ทิ้งไม้ชำระลงในหลุมเว็จ  ทิ้งในตะกร้าที่มีไว้      สำหรับใส่   เมื่อชำระ  ไม่เหลือน้ำไว้ในหม้อชำระ ข้อหลังนี้กล่าว เฉพาะใช้หม้ออันมีไว้สำหรับวัจกุฎีอันเป็นที่ถ่ายทั่วไป  ถ้าใช้หม้อของตนไม่ห้าม.
๗.  ให้ช่วยรักษาความสะอาด พบวัจกุฎีโสโครกอันผู้อื่นทำไว้ให้ ช่วยล้าง รกให้กวาด  ตะกร้าไม้ชำระเต็มให้เท นี้สำหรับชำระหมดให้ตักมาไว้.

ภิกษุผู้พร้อมด้วยองค์สมควรเลือกเป็นผู้พยาบาล  ดังนี้
๑.  รู้จักประกอบเภสัช.
๒.  รู้จักของอันแสลงแก่โรคและไม่แสลง.

ภิกษุผู้อาพาธสมควรทำตนให้เป็นผู้พยาบาลง่าย  คือ
๑.  ทำความสบายให้แก่ตน  [ไม่ฉันของแสลง  และไม่ทำฝืนความสบายอย่างอื่น].
๒.  รู้จักประมาณคือความพอดีในของไม่แสลง  เช่นไม่ฉันมากเกินไป.
๓.  ฉันยาง่าย.
๔.  บอกอาการไข้ตามเป็นอย่างไรแก่ผู้พยาบาล.
๕.  เป็นผู้อดทนต่อทุกขเวทนา.
[แม้สามเณรก็ควรได้รับความพยาบาล  ดุจเดียวกับภิกษุ].

จริยาวัตร
๑.  ห้ามไม่ให้เหยียบผืนผ้าขาวอันเขาลาดไว้ในที่นิมนต์.
๒.  ยังไม่พิจารณาก่อน  อย่าเพิ่มนั่งลงบนอาสนะ.
๓.  ห้ามไม่ให้นั่งอาสนะยาวกับหญิงและคนพันทาง  [แต่จะนั่งกับคน มีอาสนะไม่เสมอกันได้อยู่].
๔.  ภิกษุผู้รองลำดับฉันค้างอยู่  อย่าให้ลุก.
๕.  จะพักในกลางวัน  ท่านให้ปิดประตู.
๖.  ห้ามไม่ให้เทอุจจาระ  ปัสสาวะ  หยากเยื่อ หรือของเป็นเดนทิ้งลงไปนอกฝานอกกำแพง  [และห้ามไม่ให้ทิ้งของเช่นนั้นในที่สุดเขียว].
๗.  ห้ามไม่ให้ขึ้นต้นไม้  เว้นไว้แต่มีกิจ.
๘.  ห้ามไม่ให้ไปเพื่อจะดูฟ้อน  ขับ  ประโคม.
๙.  ห้ามไม่ให้กล่าวธรรมด้วยเสียงอันยาว  [จะแสดงธรรมหรือ สวดธรรมพอเป็นลำนำ  เช่นที่เรียกว่าสรภัญญะได้อยู่].
๑๐.  ห้ามไม่ให้จับวัตถุเป็นอนามาส  คือสิ่งที่ไม่ควรจับ.

วัตถุเป็นอนามาสนั้น  มีประเภทดังนี้
๑.  หญิง  ทั้งเครื่องแต่งกาย  ทั้งรูปที่ทำมีสัณฐานเช่นนั้น  [ดิรัจฉาน ตัวเมีย  ก็จัดเข้าในหมวดนี้].
๒.  ทอง  เงิน  และรัตนะ  [ในอรรถกถา  รัตนะมี  ๘  คือ  มุกดา  มณี ไพฑูรย์  ประพาฬ  ทับทิม  บุษราคัม  สังข์  ศิลา].
๓.  ศัสตราวุธต่างชนิด  เป็นเครื่องทำร้ายชีวิตร่างกาย [เว้นเครื่องมือ ทำงาน เช่น ขวานเป็นต้น].
๔.  เครื่องดักสัตว์ทั้งบนบกทั้งในน้ำ.
๕.  เครื่องประโคมทุกชนิด.
๖.  ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่.

วิธีวัตร
วิธีวัตรมีประเภทดังนี้
๑.  วิธีครองผ้าของภิกษุ.
๒. วิธีใช้บาตรในเวลาเที่ยวรับภิกขา.
๓.  วิธีพับจีวร  ไม่ให้พับหักกลาง.
๔.  วิธีเก็บจีวร  จีวรครั้งเก่าเก็บบนราว  ถือจีวรด้วยมือข้างหนึ่ง  ลูบราวด้วยมือข้างหนึ่ง เอาจีวรสอดใต้ราว  ค่อย ๆ  พาดให้ชายอยู่ข้างตัว  ขนดอยู่ข้างนอก.  
๕. วิธีเก็บบาตร บาตรเก็บไว้ได้เตียงใต้ตั่ง ถือบาตรด้วยมือข้างหนึ่งลูบใต้เตียงใต้ตั่งด้วยมือข้างหนึ่งแล้วจึงเก็บ
๖.  วิธีเช็ดรองเท้า ใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน  แล้วจึงใช้ผ้าเปียกเช็ด.
๗.  วิธีพัดให้พระเถระ ให้พัดที่หลังหนหนึ่ง  ที่ตัวหนหนึ่ง  ที่ศีรษะ  หนหนึ่ง.
๘.  วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู [ฤดูหนาว เปิดกลางวัน ปิดกลางคืนฤดูร้อน ปิดกลางวัน เปิดกลางคืน].
๙.  วิธีเดิน  ท่านให้เดินเรียงตัวตามลำดับแก่กว่าเว้นระยะห่างกัน พอคนเดินผ่านได้ [ถ้าพระมาก แถวจะยาว  จะเดินระยะถี่กว่านั้น  ควรเว้นตอนไว้พอคนมีช่องผ่าน  ไม่เช่นนั้น  คนอื่นจะเสียประโยชน์].
๑๐.  จะทำวินัยกรรม  ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า  นั่งกระหย่ง  ประณมมือ.
๑๑.  ว่านโมคำนมัสการว่า ๓ จบ  ยังคำอื่นๆ อีกก็มี เช่นคำ ปฏิญญาเมื่อปลงอาบัติ คำปวารณาและอื่นๆ

กัณฑ์ที่ ๑๕
คารวะ
        ท่านห้ามไม่ให้เล่นปรารภพระรัตนตรัย หมายเอาทั้งทำเล่นพูดเล่น.  ทำเล่น  เช่นเอาเรื่องพระพุทธเจ้ามาเล่นละคร.  พูดเล่นเช่นเล่านิยายที่ผูกขึ้น ออกพระนามพระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์ในท้องเรื่อง  หรือเล่าเรื่องของพระพุทธเจ้าเรื่องพระสงฆ์ตามความจริงโดยโวหารตลกคะนอง เรื่องสรวลเสเฮฮา

กิริยาแสดงความอ่อนน้อมแก่กัน  มีประเภทดังนี้
๑.  การกราบไหว้.
๒.  การลุกรับ.
๓.  การทำอัญชลี                   [ประณมมือไหว้].
๔.  การทำสามีจิกรรม     [ความอ่อนน้อมอย่างอื่น  อันเป็นความ   ดีงาม].
        ทั้งหมดนี้  ให้ทำตามลำดับพรรษา แม้อาสนะ ข้าว น้ำ ที่ดีกว่าก็ให้ทำตามลำดับพรรษาเหมือนกัน.

ผู้ที่ภิกษุไม่ไหว้  มีประเภทดังนี้
๑.  อนุปสัมบัน.
๒.  ภิกษุผู้อ่อนกว่าตน.
๓.  ผู้เป็นนานาสังวาส  พูดไม่เป็นธรรม.

การไหว้มีงดในบางเวลาดังนี้
๑.  ในเวลาประพฤติวุฏฐานวิธี       [คืออยู่กรรม  เมื่อออกจากอาบัติ สังฆาทิเสส].
๒.  ในเวลาถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม   [ที่ถูกห้ามสมโภคและ สังวาส].
๓.  ในเวลาเปลือยกาย.
๔.  ในเวลาเข้าบ้านหรือเดินอยู่ตามทาง.
๕.  ในเวลาอยู่ในที่มือที่แลไม่เห็นกัน.
๖.  ในเวลาที่ท่านไม่รู้ คือนอนหลับ หรือขลุกขลุ่ยอยู่ด้วยธุระอย่างหนึ่งหรือส่งใจไปอื่นแม้ไหว้ท่านก็คงไม่ใส่ใจ
๗.  ในเวลาขบฉันอาหาร.
๘.  ในเวลาถ่ายอุจจาระ  ถ่ายปัสสาวะ.
       ไหว้ในเวลาดังกล่าวในข้อ ๑-๓ ท่านปรับอาบัติทุกกฏ ไหว้ในเวลาอีก ๕ ข้อ ท่านว่าเพียงไม่ดีไม่งาม

การลุกรับมีงดในบางเวลาดังนี้
๑.  เวลานั่งอยู่ในสำนักผู้ใหญ่  ไม่ลุกรับผู้น้อยกว่าท่าน.
๒.  เวลานั่งเข้าแถวในบ้าน.
๓.  เวลาเข้าประชุมสงฆ์ในอาราม.
        การประณมมือ  และการทำสามีจิกรรม  ทำได้แม้แก่ภิกษุผู้อ่อนกว่า.

               การคารวะที่ท่านจัดไว้โดยประการอื่นอีก  คือ
๑.  ให้ผู้อ่อนเรียกผู้แก่ว่า  "ภนฺเต"  ผู้แก่เรียกผู้อ่อนว่า  "อาวุโส."  
อนึ่ง  ผู้อ่อนแม้คนเดียว  เมื่อพูดกับผู้แก่  มักนิยมใช้พหุวจนะ  ส่วนผู้แก่พูดกับผู้อ่อน  ใช้เอกวจนะตามปกติ.
๒.  ผู้น้อยเมื่อจะแสดงธรรม  ต้องอาปุจฉาให้ได้รับอนุญาตจากผู้   ใหญ่ก่อน.
๓.  อยู่ในกุฎีเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า  จะสอนธรรม   จะอธิบายความ   จะสาธยาย  จะแสดงธรรม  จะจุดจะดับไป  จะเปิดจะปิดหน้าต่างต้องบอกขออนุญาตท่านก่อน.
๔.  อุปัชฌายะ  อาจารย์  อุปัชฌายมัต  อาจริยมัต  เดินไม่ได้      สวมรองเท้า  ห้ามไม่ให้เดินสวมรองเท้า.
๕.  จะเข้าไปในเจดียสถาน ไม่กั้นร่ม ไม่สวมรองเท้า ไม่ห่มคลุม  เข้าไป ไม่แสดงอาการดูหมิ่นต่างๆ  เช่นพูดเสียงดังและนั่งเหยียดเท้าเป็นต้น ไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะและไม่ถ่มเขฬะในลานพระเจดีย์  หรือต่อหน้าพระปฏิมา [นี้นับว่าเคารพในพระศาสดา].
๖.  จะทำวินัยกรรมต่อกัน ห่มผ้าเฉวียงบ่า  นั่งกระหย่ง ประณมมือทำ  เมื่อฟังวินัยกถาหรือธรรมเทศนา  นิ่งฟังไม่พูดจากัน  และระวัง เพื่อจะไม่ไอกลบเสียงผู้แสดง  ไม่มีเหตุจำเป็นไม่ลุกไปเสียในเวลา  ที่ท่านกำลังแสดงค้างอยู่. อักษรจารึกพระธรรม  ไม่เดินข้ามหรือ ย่ำเหยียบ [นี้นับว่าเคารพในพระธรรม].
๗.  จะเข้าประชุมสงฆ์  ห่มผ้าเฉวียงบ่า  เว้นไว้แต่ละแวกบ้าน  และ      แสดงอาการสำรวมเรียบร้อยไม่ว่าผู้ใหญ่ผู้น้อย  [นี้นับว่าเคารพ      ในสงฆ์].  
        คารวะ  ๓  ประการนี้  มีในบาลีแต่การห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประณมมือ ทำวินัยกรรม  นอกนั้นเป็นธรรมเนียมบัญญัติขึ้นภายหลัง.
กัณฑ์ที่ ๑๖
จำพรรษา
จำพรรษา  ได้แก่กิริยาที่หยุดอยู่ที่เดียว  ไม่ไปแรมคืนข้างไหนตลอดสามเดือนในฤดูฝน.

ดิถีที่กำหนดให้เข้าพรรษา  มี  ๒  คือ
๑.  ปุริมิกา       วสฺสูปนายิกา  วันเข้าพรรษาต้น.
๒.  ปจฺฉิมิกา     วสฺสูปนายิกา  วันเข้าพรรษาหลัง.
ภิกษุจำพรรษา ต้องมีเสนาสนะที่มุงที่บังมีบานประตูเปิดปิดได้ ห้ามไม่ให้อยู่จำพรรษาในสถานเหล่านี้  คือ
๑.  ในกระท่อมผี.
๒.  ในร่ม  [เช่นกลดพระธุดงค์หรือกุฎีผ้า  เช่นเต๊นท์].
๓.  ในตุ่ม  [กุฎีดินเผากระมัง].
๔.  ในโพรงต้นไม้.
๕.  บนค่าคบต้นไม้.

คำอธิษฐานพรรษาชนิดกำหนดเขตอาวาสว่า
"อิมสฺมึ  อาวาเส  อิม  เตมาส  วสฺส  อุเปมิ."
คำแปล
เราเข้าถึงฤดูฝนในอาวาสนี้  ตลอดหมวดสามเดือน.

คำอธิษฐานพรรษาชนิดกำหนดเขตกุฎีว่า
"อิมสฺมึ  วิหาเร  อิม  เตมาส  วสฺส  อุเปมิ."
คำแปล
เราเข้าถึงฤดูฝนในวิหารนี้  ตลอดหมวดสามเดือน.

อธิษฐานพรรษาในพวกโคต่าง  พวกเกวียน  และในเรือว่า
"อิธ  วสฺส  อุเปมิ"  เราเข้าพรรษาในที่นี้.

คราวจำพรรษาท่านห้ามไม่ให้ตั้งกติกาอันไม่เป็นธรรม  เช่น
๑.  ห้ามไม่ให้บอกไม่ให้เรียนธรรมวินัย.
๒.  ไม่ให้สาธยายธรรม.
๓.  ไม่ให้มีเทศนา.
๔.  ห้ามไม่ให้ให้บรรพชาอุปสมบท.
๕.  ห้ามไม่ให้ให้นิสัย.
๖.  ห้ามไม่ให้พูดกัน.
๗.  เกณฑ์ให้ถือธุดงค์.
๘.  เกณฑ์ให้บำเพ็ญสมณธรรม.
        ให้นัดหมายกันแต่ในข้ออันเป็นธรรม  พูดชักนำเพื่อให้เกิดอุตสาหะในการบอกการเรียนธรรมวินัยเป็นต้น  เพื่อขวนขวายในกิจพระศาสนา  เพื่อให้รู้ประมาณในการพูด  เพื่อมีแก่ใจสมาทานธุดงค์และบำเพ็ญสมณธรรมตามสติกำลัง  เพื่อเอื้อเฟื้อแนะนำกันในวัตรนั้น ๆ   เพื่อรักษาความสามัคคีไม่วิวาทแก่งแย่งกัน  เพื่อรู้จักนับถือเกรงใจภิกษุอื่น  เช่นจะสาธยายไม่ทำความรำคาญแก่ภิกษุผู้บำเพ็ญภาวนา  หลีกไปทำในโอกาสส่วนหนึ่ง.

ธุระเป็นเหตุไปด้วยสัตตาหกรณียะ  คือ
๑.  สหธรรมิกหรือบิดามารดาเจ็บไข้  รู้เข้า  ไปเพื่อรักษาพยาบาลก็ได้.
๒.  สหธรรมิกกระสันจะสึก  รู้เข้า  ไปเพื่อระงับก็ได้.
๓.  มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เป็นต้นว่าวิหารชำรุดลงในเวลานั้น ไปเพื่อหาเครื่องทัพพสัมภาระมาปฏิสังขรณ์ได้อยู่.
๔.  ทายกต้องการจะบำเพ็ญกุศล  ส่งมานิมนต์  ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของ เขาได้อยู่.
        [แม้ธุระอื่นนอกจากนี้  ที่เป็นกิจลักษณะ  อนุโลมตามนี้  เกิดขึ้น  ไปก็ได้เหมือนกัน].

พรรษาขาดแต่ไม่เป็นอาบัติ  เพราะอันตรายเหล่านี้  คือ
๑.  ถูกสัตว์ร้าย  โจร  หรือปีศาจเบียดเบียน.
๒.  เสนาสนะถูกไฟไหม้หรือน้ำท่วม.
๓.  ภัยเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่โคจรคามลำบากด้วยการบิณฑบาต[ในข้อนี้ชาวบ้านเขาอพยพไปจะไปตามเขาก็ควร]
๔.  ขัดสนด้วยอาหารโดยปกติ  ไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสบาย หรือไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควร  [ในข้อนี้  ยังทนอยู่ได้  ควรทนอยู่ต่อไป ถ้าทนไม่ได้จริง ๆ  จึงค่อยไป].
๕.  มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม  หรือมีญาติมารบกวน  ล่อด้วยทรัพย์
      [จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วสักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ไปเสียก็ได้เห็นทรัพย์อันหาเจ้าของมิได้  ก็ดุจเดียวกัน].
๖.  สงฆ์ในอาวาสอื่น  รวนจะแตกหรือแตกกันแล้ว ไปเพื่อจะห้าม หรือเพื่อจะสมาน  [ในข้อนี้  ถ้ากลับมาทัน  ควรไปด้วยสัตตาหกรณียะ].

อานิสงส์แห่งการจำพรรษา  ๕  คือ
๑.  เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖  แห่งอเจลกวรรค.
๒.  เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ.
๓.  ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้.
๔.  เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา.
๕.  จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น  เป็นของได้แก่พวกเธอ.
         ทั้งได้โอกาสเพื่อจะกรานกฐิน  และได้รับอานิสงส์  ๕  นั้นต่อไปอีก  ๔  เดือน.

กัณฑ์ที่ ๑๗
อุโบสถ  ปวารณา
อุโบสถ
[การเข้าอยู่]
วันอุโบสถในพระพุทธศาสนาให้สำหรับทำกิจ  ดังนี้
๑.  ประชุมกันกล่าวธรรมฟังธรรม.
๒.  สมาทานอุโบสถของคฤหัสถ์.
๓.  ทำอุโบสถของพระภิกษุ  [นี้เฉพาะวัน  ๑๔  หรือ  ๑๕  ค่ำ].

วันทำอุโบสถมี  ๓  คือ
๑.  วันจาตุททสี  [๑๔  ค่ำ].
๒.  วันปัณณรสี  [๑๕  ค่ำ].
๓.  วันสามัคคี.

การกคือภิกษุผู้ทำอุโบสถ  มี  ๓  คือ
๑.  สงฆ์
๒.  คณะ
๓.  บุคคล.

อาการที่ทำอุโบสถ  มี ๓  คือ
๑.  สวดปาฏิโมกข์.
๒.  บอกความบริสุทธิ์.
๓.  อธิษฐาน.

บุรพกรณ์  [กิจที่พึงทำก่อนแต่สงฆ์ประชุม]  มี  ๔  คือ
๑.  กวาดโรงอุโบสถ.
๒.  ตามประทีป  [ถ้าทำในเวลายังไม่ค่ำ  ไม่ต้องตามประทีป].
๓.  ตั้งน้ำฉันน้ำใช้.
๔.  ตั้งหรือปูอาสนะไว้.

บุรพกิจ  ธุระที่พึงทำก่อนสวดปาฏิโมกข์  มี ๕  คือ
๑.  นำปาริสุทธิของภิกษุผู้เจ็บมา.
๒.  นำฉันทะของเธอมาด้วย.
๓.  บอกฤดู.
๔.  นับภิกษุ.
๕.  สั่งสอนนางภิกษุณี.

ข้อปฏิบัติในการเข้าฟังปาฏิโมกข์
๑. ห้ามภิกษุที่ไม่บริสุทธิ์ คือ ต้องอาบัติเข้าร่วม
๒. ถ้าไม่รู้ว่าอาบัติมาก่อนแล้วไม่ปลงอาบัติก่อนเข้าร่วม
๓.ห้ามภิกษุที่ต้อง สภาคาบัติ คือล่วงละเมิดสิกขาบทเดียวกัน ด้วยกัน เข้าร่วม
๔. ภากษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

คำบอกมอบปาริสุทธิให้แก่ผู้รับว่า
"ปาริสุทฺธึ  ทมฺมิปาริสุทฺธึ  เม หรปาริสุทฺธึ  เม  อาโรเจหิ."
        แปล  :  "ฉันมอบให้ความบริสุทธิ์ของฉัน  ขอเธอจงนำความบริสุทธิ์ของฉันไป  ขอเธอจงบอกความบริสุทธิ์ของฉัน"  [ถ้าผู้บอกอ่อนกว่าผู้รับ  ใช้คำว่า  "หรถ"  แทน  "หร"  "อาโรเจถ"  แทน"อาโรเจหิ"  ในส่วนคำแปล  ใช้คำว่า  "ผม"  แทน  "ฉัน"  "ท่าน"แทน  "เธอ"  ทุกแห่ง].

คำบอกปาริสุทธิของภิกษุผู้รับปาริสุทธิมา  น่าจะว่า
"อายสฺมา  ภนฺเต  อุตฺตโร  คิลาโน ปริสุทฺโธติ  ปฏิชานิ ปริสุทฺโธติ  ต  สงฺโฆ  ธาเรตุ."
        แปล :   "ท่านเจ้าข้า  ท่านอุตระอาพาธ  ท่านปฏิญญาตนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์  ขอสงฆ์จงทราบท่านว่าเป็นผู้บริสุทธิ์"  [แบบนี้  สมมติว่าภิกษุผู้อาพาธชื่ออุตระและแก่กว่าผู้นำ  ถ้าผู้นำแก่กว่า  ใช้คำว่า"อุตฺตโร  ภิกฺขุ"  แทน "อายสฺมา  อุตฺตโร"  และใช้คำเรียกอุตรภิกษุว่า  "เธอ"  แทน  "ท่าน"].

คำบอกมอบฉันทะให้แก่ผู้รับ  ว่าดังนี้
"ฉนฺท  ทมฺมิฉนฺท  เม  หรฉนฺท  เม  อาโรเจหิ."
        แปล :     "ฉันให้ฉันทะของฉัน  เธอจงนำฉันทะของฉันไป  เธอจงบอกฉันทะของฉัน"  [ถ้าผู้ให้อ่อนกว่าผู้รับ  ใช้คำว่า  "หรถ"แทน  "หร"  "อาโรเจถ"  แทน  "อาโรเจหิ"  ในส่วนคำแปลใช้คำว่า  "ผม"  แทน  "ฉัน"  "ท่าน"  แทน  "เธอ"  ทุกแห่ง].

คำบอกฉันทะของภิกษุผู้นำฉันทะมา  ว่าดังนี้
        "อายสฺมา ภนฺเต อุตฺตโร มยฺห  ฉนฺท อทาสิ, ตสฺส ฉนฺโทมยา  อาหโฏสาธุ  ภนฺเต  สงฺโฆ  ธาเรตุ."
        แปล :   "ท่านเจ้าข้า  ท่านอุตระได้มอบฉันทะแก่ผม  ผมนำฉันทะของท่านมาแล้ว  ขอสงฆ์จงทราบ  [แบบนี้  สมมติว่าภิกษุผู้ให้ฉันทะชื่ออุตระและแก่กว่าผู้นำ  ถ้าผู้นำแกกว่าใช้คำว่า  "อุตฺตโรภิกฺขุ"  แทน  "อายสฺมา  อุตฺตโร"   และใช้คำเรียกอุตรภิกษุว่า  "เธอ"แทน  "ท่าน"].

คำบอกฉันทะควบกับปาริสุทธิ  ว่าดังนี้
"อุตฺตโร  ภนฺเต  ภิกฺขุ  คิลาโน  มยฺห  ฉนฺทญฺจ  ปาริสุทฺธิญฺจ อทาสิตสฺส ฉนฺโท  จ  ปาริสุทฺธิ  จ  มยา  อาหฏาสาธุ  ภนฺเตสงฺโฆ  ธาเรตุ."
        แปล :  "ท่านเจ้าข้า อุตรภิกษุอาพาธ  ได้มอบฉันทะและปาริสุทธิแก่ผม  ผมนำฉันทะและปาริสุทธิของเธอมาแล้ว  ของสงฆ์จงทราบ"  [แบบนี้  สมมติว่าภิกษุผู้บอกมอบชื่ออุตระและอ่อนกว่าผู้นำ  ถ้าผู้นำอ่อนกว่า  ใช้คำวา  "อายสฺมา อุตฺตโร" แทน "อุตฺตโรภิกฺขุ" และใช้คำเรียกอุตรภิกษุว่า "ท่าน" แทน  "เธอ"]

ฤดูที่นับกันอยู่ในพุทธกาลมี  ๓  คือ
๑.  เหมันตฤดู  ฤดูหนาว.
๒.  คิมหฤดู  ฤดูร้อน.
๓.  วัสสานฤดู  ฤดูฝน.

การนับภิกษุ  มี ๒  วิธี  คือ
๑.  เรียกชื่อ  [เหมาะสำหรับพระที่ประชุมอยู่วัดเดียวกัน].
๒.  ใส่คะแนน  [เหมาะสำหรับพระที่ประชุมอยู่ต่างวัดกัน].

การทำสังฆอุโบสถ  ต้องประกอบด้วยองค์  ๔  คือ
๑.  วันนั้น  เป็นวันที่  ๑๔  หรือ  ๑๕  หรือวันสามัคคี  อย่างใดอย่างหนึ่ง.
๒.  จำนวนภิกษุผู้ประชุม ๔  รูปเป็นอย่างน้อย  ต้องเป็นปกตัตตะ คือ ไม่ต้องปาราชิกหรือถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม นี้หมายเอาว่าเป็นที่  ๔  อยู่ในสงฆ์ จึงใช้ไม่ได้ ถ้าไม่เป็นที่ ๔  ใช้ได้ และเข้านั่ง      ไม่ละหัตถบาสแห่งกันและกัน สำหรับเป็นกิริยานั่งประชุม.
๓.  เธอทั้งหลายไม่ต้องสภาคาบัติ  ถ้ามีอย่างนั้น  ต้องสวดประกาศ   ก่อนว่า  "สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆอย  สพฺโพ  สงฺโฆ  สภาค   อาปตฺตึ  อาปนฺโน  ยทา  อญฺ  ภิกฺขุ    สุทฺธ  อนาปตฺติก  ปสฺสิสฺสติตทา  ตสฺส  สนฺติเก  ต  อาปตฺตึ  ปฏิกฺกริสฺสติ."
      แปล :   "ท่านเจ้าข้า  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  สงฆ์ทั้งปวงนี้ต้อง  สภาคาบัติ  จักเห็นภิกษุอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเมื่อใด  จักทำคืน  อาบัตินั้นในสำนักเธอเมื่อนั้น"  แล้วจึงทำอุโบสถได้.
๔.  บุคคลควรเว้นไม่มีในหัตถบาส  [คือไม่ได้อยู่ในที่ประชุม].

บุคคลควรเว้นมีประเภทดังนี้
๑.  คนไม่ใช่ภิกษุ  [คืออนุปสัมบัน  ภิกษุณีก็นับเข้าด้วย].
๒.  เป็นภิกษุอยู่ก่อน  แต่ขาดจากความเป็นภิกษุด้วยประการใดประการหนึ่งแล้ว [คือต้องปาราชิก  เข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเพศภิกษุหรือ ลาสิกขาแล้ว].
๓.  เป็นภิกษุแต่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม.
          [จำพวกหลังนี้  ไม่เป็นที่  ๔    ในสงฆ์  ไม่เป็นอะไร].

คำสมมติตนเองเพื่อเป็นผู้ถามวินัยดังนี้
"สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆยทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺลอห อิตฺถนฺนาม  วินย  ปุจฺเฉยฺย."
        แปล :   "พระสงฆ์เจ้าข้า  ขอจงฟังข้าพเจ้า  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว  ข้าพเจ้าขอถามพระวินัยต่อผู่มีชื่อนี้"  [ชื่ออย่างไรกล่าวออกในที่ว่า  "อิตฺถนฺนาม"  เช่นชื่ออุตระ  แก่กวา  กล่าวว่า"อายสฺมนฺต  อุตฺตร"  อ่อนกว่า  กล่าวว่า  "อุตฺตร  ภิกฺขุ"  ถ้าเป็นสังฆ-เถระ  กล่าวว่า  "อาวุโส"  แทน  "ภนฺเต"].
คำสมมติตนเองเพื่อเป็นผู้วิสัชนาวินัย  ว่าดังนี้
        "สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆยทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺลอหอิตฺถนฺนาเมน  วินย  ปุฏฺโ  วิสชฺเชยฺย."
        แปล :  "พระสงฆ์เจ้าข้า  ขอจงฟังข้าพเจ้า  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว  ข้าพเจ้าอันผู้มีชื่อนี้ถามถึงวินัยแล้ว  ขอวิสัชนา"[ถ้าผู้ถามชื่อเรวตะ  แก่กว่า  กล่าวว่า  "อายสฺมตา  เรวเตน"  อ่อนกว่า  กล่าวว่า  "เรวเตน  ภิกฺขุนา"  แทน  "อิตฺถนฺนาเมน"].

คำที่ภิกษุอื่นสมมติให้เป็นผู้ถามประกอบชื่อ  ว่าดังนี้
        "สุณาตุ เม ภนฺเต  สงฺโฆ, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺล, อายสฺมาเรวโต อายสฺมนฺต อุตฺตร วินย ปุจฺเฉยฺย. "
        แปล :  " พระสงค์เจ้าข้า  ฯ ล ฯ  ขอท่านเรวตะถามวินัยต่อท่านอุตระ. "

คำที่ภิกษุอื่นสมมติให้เป็นผู้วิสัชนาประกอบชื่อ  ว่าดังนี้
        " สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆยทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺลอายสฺมา อุตฺตโร  อายสฺมตา  เรวเตน  วินย  ปุฏฺโ  วิสชฺเชยฺย."
        แปล :   "พระสงฆ์เจ้าข้า  ฯ ล ฯ  ขอท่านอุตระอันท่านเรวตะ  ถามถึงวินัยแล้ววิสัชนา,"
        [ธรรมเนียมนี้  ในบัดนี้ใช้ตั้งเป็นแบบถามและวิสัชนากันด้วย บุรพกรณ์  บุรพกิจ  และองค์แห่งความพร้อมพรั่งของพระสงฆ์ยืนที่ไม่ยักย้าย  กลายเป็นพิธีไป].
        การสวดปฏิโมกข์เป็นหน้าที่ของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ แต่จะเชิญให้ภิกษุอื่นผู้สามารถสวดก็ได้ ภิกษุผู้จะสวดนั้น ควรเลือกเอาผู้ฉลาดจำปาฏิโมกข์ได้ เข้าใจว่าพากย์และอักษรถูกจังหวะและชัดเจนและอาจสวดได้  ไม่ใช่ผู้มีเสียงแหบเสียงเครือหรือเจ็บคอเป็นหวัด ภิกษุผู้สวดควรตั้งใจสวดให้ชัดให้ดังพอบริษัทได้ยินทั่วกัน  แกล้งทำอ้อมแอ้มอุบอิบเสีย ท่านปรับทุกฏ.
        [ในคำสวดที่มีเปลี่ยนวันแห่งหนึ่ง  ถ้าวันที่ ๑๕  สวดว่า  "อชฺชุ-โปสโถ  ปณฺณรโส"  "อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕"  ถ้าวันที่ ๑๔  สวดว่า"อชฺชุโปสโถ  จาตุทฺทโส"  "อุโบสถวันนี้ที่ ๑๔"  ถ้าเป็นวันปรองดองสวดว่า  "อชฺชุโปสโถ  สามคฺคี"  "อุโบสถวันนี้เป็นวันที่สามัคคี"].

ในปาฏิโมกข์ท่านจัดอุทเทสไว้โดยย่อ  ๕  คือ
๑.  นิทานุทเทส.
๒.  ปาราชิกุทเทส.
๓.  สังฆาทิเสสุทเทส.
๔.  อนิยตุทเทส.
๕.  วิตถารุทเทส.
        อุทเทสหลัง สงเคราะห์นิสสัคคิยุทเทส ๑ ปาจิตติยุทเทส ๑ปาฏิเทสนิยุทเทส ๑ เสขิยุทเทส  ๑  สมถุทเทส ๑ โดยพิศดารจึง เป็นอุทเทส ๘ นี้สำหรับจะได้รู้จักตัดตอนสวดปาฏิโมกข์เมื่อถึงคราวที่จำเป็น

คราวจำเป็นอันเป็นเหตุสวดปาฏิโมกข์ย่อนั้น  มี ๒ คือ
๑.  ไม่มีภิกษุจำได้จนจบ  [สวดเท่าอุทเทสที่จำได้].
๒.  เกิดเหตุฉุกเฉินที่เรียกว่าอันตราย  [สวดย่อได้].

สวดย่อนั้นท่านวางแบบไว้ดังนี้
        สุตา  โข  อายสฺมนฺเตหิ  เตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมาสุตา โข อายสฺมนฺเตหิ เทฺว อนิยตา ธมฺมาฯ เป ฯ  แล้วลงท้ายว่า  "เอตฺตก ตสฺส  ภควโต  ฯ เป ฯ  สิกฺขิตพฺพ"  [แบบนี้  สมมติวา  สวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว  จะย่อตั้งแต่สังฆาทิเสสไป].
        [ตามนัยแห่งแบบที่ท่านวางไว้นี้  ตามพระมติทรงเห็นว่า  น่าจะประกอบว่า  "สุตา  โข  อายสฺมนเตหิ  เตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมา,ตตฺถายสฺมนฺเต  ปุจฺฉามิ ฯ เป ฯ เอวเมต  ธารยามิ"  ตอน อนิยตุทเทสเป็นต้น  ก็ประกอบเช่นกัน  ถ้าจะสวดเป็นตอนเดียวกัน  น่าจะตัดศัพท์ว่า  "โข"  และบทว่า  "อายสฺมนฺเตหิ"  ข้างหลัง ๆ เสีย  คงไว้แต่ข้างต้นดังนี้  "สุตา  โข  อายสฺมนฺเตหิ  เตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมา สุตา  เทฺว  อนิยตา  ธมฺมา  ฯ เป ฯ  ตตฺถายสฺมนฺเต  ปุจฺฉามิ  ฯ เป ฯเอวเมต  ธารยามิ"  เช่นนี้  คำต่อท้ายจะต้องว่า  "อุทฺทิฏฺ  โข อายสฺมนฺโต  นิทานอุทฺทิฏฺา  จตฺตาโร ปาราชิกา  ธมฺมาสุตาเตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมาฯ เป ฯ  ก่อนแล้วจึงต่อคอว่า  "เอตฺตก ฯ เป ฯ  สิกฺขิตพฺพ"  จึงจะถูกระเบียบ  แต่แบบเช่นนี้  จะใช้ได้เฉพาะในเวลาไม่มีผู้สามารถสวดจบ  จะใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นหาได้ไม่].

คำสวดย่อแบบพระมติว่าดังนี้
        อุทฺทิฏฺ  โข  อายสฺมนฺโต  นิทานอุทฺทิฏฺา  จตฺตาโร  ปาราชิกา ธมฺมาสุตา  เตรส  สงฺฆาทิเสสา  ธมฺมาฯ เป ฯ สุตา  สตฺตาธิกรณ-สมถา  ธมฺมาเอตฺตก  ฯ เป ฯ  สิกฺขิตพฺพ."
        [เช่นนี้  เข้าระเบียบไม่ลักลั่น  และอาจใช้ได้ในเวลาฉุกเฉินเมื่อกำลังสวดอุทเทสใดค้างอยู่  เหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น  เลิกอุทเทสนั้นกลางคันได้  เว้นแต่นิทานุทเทสต้องสวดจนจบ  และพึงย่ออุทเทสนั้นด้วยสุตบท].

เหตุฉุกเฉินที่เรียกว่าอันตรายนั้นมี ๑๐  คือ
๑.  พระราชาเสด็จมา  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อรับเสด็จได้].
๒.  โจรมาปล้น [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อหนีภัยได้].
๓.  ไฟไหม้  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อดับไฟได้].
๔.  น้ำหลากมา  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อหนีน้ำได้  สวดกลางแจ้ง  ฝนตกก็เหมือนกัน].
๕.  คนมามาก  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อจะรู้เหตุ  หรือเพื่อจะได้ทำ ปฏิสันถารได้อยู่].
๖.  ผีเข้าภิกษุ  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อขับผีได้อยู่].
๗.  สัตว์ร้ายมีเสือเป็นต้นเข้ามาในอาราม  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อขับไล่ สัตว์ได้อยู่].
๘.  งูร้ายเลื้อยเข้ามาในที่ประชุม  ก็เหมือนกัน.
๙.  ภิกษุอาพาธโรคร้ายเกิดขึ้นในที่ประชุม  อันเป็นอันตรายแก่ชีวิต      [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อช่วยแก้ไขได้  มีอันตรายลงในที่นั้นก็เหมือนกัน].
๑๐.  มีอันตรายแก่พรหมจรรย์  เช่นมีใครมาเพื่อจับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพราะความอลหม่านก็ได้].
        กำลังสวดปาฏิโมกข์  มีภิกษุพวกอื่นมาถึง  ถ้ามากกว่าภิกษุผู้ชุมนุมอยู่  ต้องตั้งต้นสวดใหม่  ถ้าเท่ากันหรือน้อยกว่า  ไม่ต้อง ให้เธอเหล่านั้นฟังส่วนยังเหลือต่อไป  ถ้ารู้อยู่ก่อนว่า  จักมีภิกษุมาอีก  แต่นึกเสียว่าช่างเป็นไรแล้วสวด  ปรับอาบัติถุลลัจจัย ถ้าทำด้วยสะเพร่านึกว่าเมื่อมาสวดถึงไหน ก็จงฟังตั้งแต่นั้น  ปรับอาบัติทุกกฏ  ถ้าสวดจบแล้ว  มีภิกษุอื่นมา  ท่านให้บอกปาริสุทธิในสำนักภิกษุผู้สวด  ผู้ฟังปาฏิโมกข์แล้ว.
ภิกษุ ๓ รูป ท่านให้ทำปาริสุทธิอุโบสถ
คือประชุมกันในโรงอุโบสถแล้ว รูปหนึ่งตั้งญัตติว่าดังนี้
        "สุณนฺตุ  เม  ภนฺเต  อายสฺมนฺตาอชฺชุโปสโถ  ปณฺณรโสยทายสฺมนฺตาน ปตฺตกลฺลมย  อยฺมฺ  ปาริสุทฺธิอุโปสถกเรยฺยาม."
แปล :  "ท่านทั้งหลายเจ้าข้า  อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕  ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านถึงที่แล้ว  เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถด้วยกัน."
        [ถ้ารูปที่ตั้งญัตติแก่กว่าเพื่อนว่า "อาวุโส"แทน "ภนฺเต" ถ้าเป็นวัน ๑๔  ค่ำ ว่า "จาตุทฺทโส"  แทน  "ปณฺณรโส"]

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าเฉวียงบานั่งกระหย่งประณมมือ  บอกปาริสุทธิว่าดังนี้
"ปริสุทฺโธ  อห  อาวุดสปริสุทฺโธติ  ม  ธาเรถ."  ๓  หน.
        แปล :  "ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ  ขอเธอทั้งหลายจงจำฉันว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว."

ภิกษุนอกนี้  พึงทำอย่างนั้นตามลำดับพรรษา  แล้วบอกปาริสุทธิวาดังนี้
"ปริสุทฺโธ  อห  ภนฺเต  ปริสุทฺโธติ  ม  ธาเรถ."
        แปล :   "ผมบริสุทธิ์แล้วขอรับ  ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว."

ภิกษุมี  ๒  รูปไม่ต้องตั้งญัตติ  บอกปาริสุทธิแก่กัน  วาดังนี้
                   ผู้แก่ว่า  "ปริสุทฺโธ  อห  อาวุโสปริสุทฺโธติ  ม  ธาเรหิ"  ๓ หน.
                   ผู้อ่อนว่า  "ปริสุทฺโธ  อห  ภนฺเต  ปริสุทฺโธติ  ม  ธาเรถ"  ๓  หน.

ภิกษุรูปเดียว  ท่านให้อธิษฐานว่าดังนี้
"อชฺช  เม  อุโปสโถ"  "วันนี้อุโบสถของเรา."
        ตามความนิยม  ภิกษุจะเลือกทำอุโบสถที่ง่ายกว่าที่ยากไม่ควรจึงห้ามว่า  เมื่อพึงวันอุโบสถ  อย่าหลีกไปข้างไหนเสีย  อธิบายว่าถ้าในอาวาสอาจสวดปาฏิโมกข์ได้  อย่าไปในที่จะไม่ได้ฟังปาฏิโมกข์ในอาวาสไม่มีภิกษุสวดปาฏิโมกข์ได้  ให้ภิกษุผู้เถระส่งภิกษุหนุ่มไปเรียนมาจากอื่นโดยพิสดารหรือโดยย่อ  สุดแล้วแต่จะจำได้  ถ้าจัดการเรียนปาฏิโมกข์มาจากอื่นไม่สำเร็จ  ห้ามไม่ให้อยู่จำพรรษาในอาวาสเช่นนั้น  อธิบายข้อนี้ว่า  ถ้าอาจไปทำสังฆอุโบสถกับสงฆ์ในอาวาสอื่นได้  อยู่จำพรรษาในอาวาสเช่นนั้นก็ควร.

ปวารณา
คือบอกให้โอกาสแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อปรารถนาตักเตือนว่ากล่าวตนได้
        กิจเบื้องต้นแห่งปวารณา  เหมือนอุโบสถ  เป็นแต่ในส่วนบุรพกิจไม่นำปาริสุทธิ  นำปวารณาของภิกษุไข้มาแทน 
คำมอบให้ปวารณาว่าดังนี้
"ปวารณ  ทมฺมิปวารณ  เม  หร  มมตฺถาย  ปวาเรหิ."
        แปล :  "ฉันมอบปวารณาของฉัน  ขอเธอจงนำปวารณาของฉันไป  ขอเธอจงปวารณาแทนฉัน."
        นี้เป็นคำของผู้เจ็บที่แก่กว่า  ถ้าอ่อนกว่าใช้คำว่า  "หรถ"  แทน"หร"   "ปวาเรถ"  แทน  "ปวาเรหิ"  พึงถือเอาคำแปลโดยสมควรแก่โวหาร.

วันที่ทำปวารณามี  ๓  คือ
๑.  วัน  ๑๔   ค่ำ  [จาตุทฺทสี].
๒.  วัน  ๑๕  ค่ำ  [ปณฺณรสี  วันปกติ].
๓.  วันสามัคคี.

การกคือผู้ทำปวารณามี  ๓  คือ
๑.  สงฆ์ คือภิกษุตั้งแต่  ๕  รูปขึ้นไป  เรียกสังฆปวารณา.
๒.  คณะ  คือภิกษุ  ๔-๓-๒  รูป  เรียกคณะปวารณา.
๓.  บุคคล  คือภิกษุรูปเดียว  เรียกบุคคลปวารณา.

อาการที่ทำปวารณามี  ๓  คือ
๑.  ปวารณาต่อที่ประชุม.
๒.  ปวารณากันเอง.
๓.  อธิษฐานใจ.

สังฆปวารณา
        ธรรมเนียมวางไว้  ให้ปวารณารูปละ  ๓  หน  โดยปกติ  ถ้ามีเหตุขัดข้อง  จะทำอย่างนั้นไม่ตลอดด้วยประการใดประการหนึ่ง จะปวารณารูปละ  ๒  หน  หรือ  ๑  หน  หรือพรรษาเท่ากัน  ให้ว่าพร้อมกันก็ได้  จะปวารณาอย่างไร  พึงประกาศแก่สงฆ์ให้รู้ด้วยญัตติก่อน  วิธีตั้งญัตตินั้น  ดังนี้
๑.  ถ้าปวารณา  ๓  หน  พึงตั้งญัตติว่า  "สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆ,  อชฺช ปวารณา ปณฺณรสียทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺลสงฺโฆ  เตวาจิก  ปวาเรยฺย".
     แปล :  "ท่านเจ้าข้า  ขอพระสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  ปวารณาวันนี้ที่  ๑๕     ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว  สงฆ์พึงปวารณา  ๓  หน"     นี้เรียกว่า "เตวาจิกา  ตฺติ"  เมื่อตั้งญัตติอย่างนี้แล้ว ต้อง     ปวารณารูปละ  ๓  หน  จะลดไม่ควร.
๒.  ถ้าจะปวารณา  ๒  หน พึงตั้งญัตติเหมือนอย่างนั้น แต่งท้ายว่า "สงฺโฆ  เทฺววาจิก ปวาเรยฺย."
      แปล  :  "สงฆ์พึงปวารณา  ๒  หน"   นี้เรียกว่า  "เทฺววาจิกา  ตฺติ"      เช่นนี้  จะปวารณาเท่านั้นหรือมากกว่าได้  แต่จะลดไม่ควร.
๓.  ถ้าจะปวารณาหนเดียว  พึงตั้งญัตติลงท้ายว่า  "สงฺโฆ  เอกวาจิก    ปวาเรยฺย."
      แปล  :  "สงฆ์พึงปวารณาหนเดียว"  นี้เรียกว่า  "เอกวาจิกา   ตฺติ"  เชนนี้  ปวารณาหนเดียวหรือมากได้ทั้งนั้น  แต่ผู้มีพรรษา  เท่ากัน  ปวารณาพร้อมกันไม่ควร.
๔.  ถ้าจะจัดภิกษุมีพรรษาเท่ากัน ให้ปวารณาพร้อมกัน พึงตั้งญัตติ ลงท้ายว่า  "สงฺโฆ  สมานวสฺสิก  ปวาเรยฺย."
      แปล :  "สงฆ์พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน"  นี้เรียกว่า  "สมาน- วสฺสิกา  ตฺติ "   เช่นนี้  ภิกษุมีพรรษาเท่ากัน  ปวารณาพร้อม  กัน  ๓  หน   ๒  หน  หนเดียว  ได้ทั้งนั้น.
วิธีตั้งญัตติ  ๔  แบบข้างต้น  ระบุประการ.
๕.  ถ้าจะไม่ระบุประการ  พึงตั้งครอบทั่วไป  ลงท้ายเพียงว่า  "สงฺโฆ ปวาเรยฺย."
        แปล :  "สงฆ์พึงปวารณา"  นี้เรียกว่า  "สพฺพสงฺคาหิกา  ตฺติ"เช่นนี้จะปวารณากี่หนก็ได้    แต่ท่านห้ามไม่ให้ผู้มีพรรษาเท่ากันปวารณาพร้อมกัน  แต่พระมติว่าควรจะได้.
        อันตราย  ๑๐  อย่าง โดยที่สุดทายกมาทำบุญ หรือมีธัมมัสสวนะ อยู่จวนสว่าง  ท่านให้ถือเอาเป็นเหตุขัดข้องได้

คำปวารณาของสงฆ์ต่อภิกษุผู้เถระ  ดังนี้
        "สงฺฆ  อาวุโส  ปวาเรมิ  ทิฏฺเน  วา  สุเตน  วา  ปริสงฺกาย  วาวทนฺตุ  ม  อายสฺมนฺโต  อนุกมฺป  อุปาทายปสฺสนฺโต  ปฏิกฺกริสฺสามิ,ทุติยมฺปิ  อาวุโส  สงฺฆ  ปวาเรมิ  ฯ เป ฯ  ตติยมฺปิ  ฯ เป ฯ  ปฏิกฺกริสฺสามิ."
        แปล :  "เธอ   ฉันปวารณาต่อสงฆ์  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัยก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน  ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.  ฉันจะปวารณาต่อสงฆ์ครั้งที่สองฯ ล ฯครั้งที่สาม  ฯ ล ฯ  จักทำคืนเสีย"
        ภิกษุอื่นพึงปวารณาตามลำดับพรรษาทีละรูป  เว้นไว้แต่คราวให้ผู้มีพรรษาเท่ากันปวารณาพร้อมกัน  โดยนัยนั้น เปลี่ยนใช้คำว่า"ภนฺเต"  แทน   "อาวุโส."

        ในความที่มีนำปวารณาของภิกษุอื่นมา ผู้นำน่าจะปวารณาแทนเธอ เมื่อถึงลำดับของเธอ เช่นตัวอย่างดังนี้
        "อายสฺมา  ภนฺเต  อุตฺตโร  คิลาโน  สงฺฆ  ปวาเรติ  ทิฏฺเ  วาสุเตน  วา  ปริสงฺกาย  วาวทนฺตุ  ต  อายสฺมนฺโต  อนุกมฺป  อุปาทาย,ปสฺสนฺโต  ปฏิกฺกริสฺสติ.  ทุติยมฺปิ  ภนฺฌต  ฯ เป ฯ  ตติยมฺปี ภนฺเต  อายสฺมาอุตฺตโร   คิลาโน  สงฺฆ  ปวาเรติ   ฯ เป ฯ   ปฏิกฺกริสฺสติ.'
        แปล :   "ท่านเจ้าข้า  ท่านอุตระอาพาธ  ปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นก็ดี   ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัยก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวท่าน ๆ  เห็นอยู่  จักทำคืนเสีย.  ท่านอุตระอาพาธ ปวารณาต่อสงฆ์ครั้งที่สอง  ฯ ล ฯ  ครั้งที่สาม  ฯ ล ฯ  จักทำคืนเสีย."
        ถ้าผู้นำแก่กว่า  กล่าวว่า  "อุตฺตโร  ภนฺเต  ภิกฺขุ"  แทน  "อายสฺมา  ภนฺเต  อุตฺตโร"  ถ้าชื่ออื่นก็พึงเปลี่ยนไปตามชื่อ  และพึงถือเอาความเข้าใจตามสมควรแก่รูปความ.
        ถ้าในชุมนุมนั้น  มีภิกษุผู้ไม่อาจปวารณาได้  และมีจำนวนไม่มากกว่าภิกษุผู้อาจปวารณา  ท่านให้บอกปาริสุทธิ  เมื่อภิกษุนอกนี้ปวารณาเสร็จแล้ว  ถ้ามีจำนวนมากกว่า  ท่านให้สวดปาฏิโมกข์เมื่อจบแล้ว  จึงให้ภิกษุนอกนี้ปวารณาในสำนักของเธอทั้งหลาย.

เหตุเป็นเครื่องยกขึ้นอ้างในการเลื่อนปวารณานั้นมี  ๒  คือ
๑.  มีภิกษุจะเข้ามาสมทบปวารณาด้วย  ด้วยหมายจะคัดค้านผู้นั้นผู้นี้   ทำให้เกิดอธิกรณ์ขึ้น.
๒.  อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก  ปวารณาแล้ว  ต่างจะจากกันจาริกไปเสีย.

คณะปวารณา
ถ้ามีภิกษุ  ๓-๔  รูป  ก่อนปวารณา  พึงตั้งญัตติว่าดังนี้
        "สุณนฺตุ  เม  ภนฺเต  อายสฺมนฺโตอชฺช  ปวารณา  ปณฺณรสี,ยทายสฺมนฺาน  ปตฺตกลฺลมย  อญฺมญฺ ปวาเรยฺยาม."
        แปล :   "ท่านเจ้าข้า  ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า  ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕  ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว  เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด"  ถ้า  ๓  รูปว่า  "อายสฺมนฺตา"   แทน"อายสฺมนฺโต."
ปวารณา  ๓  หน  ตามลำดับพรรษา
        ๓  รูปว่า  "อห  อาวุโส อายสฺมนฺเต  ปวาเรมิ  ฯ เป ฯ  วทนฺตุม  อายสฺมนฺตา  อนุกมฺปั  อุปาทายปสฺสนฺโต  ปฏิกฺกริสฺสามิ.  ทุติยมฺปิอาวุโส  ฯ เป ฯ  ตติยมฺปิ  อาวุโส  ฯ เป ฯ  ปฏิกฺกริสฺสามิ"  นี้สำหรับรูปแก่    ส่วนรูปอ่อนพึงว่า  "ภนฺเต"  แทน  "อาวุโส."
        ๔  รูปว่า  "อห  อาวุโส  อายสฺมนฺโต  ปวาเรมิ  ฯ เป ฯ  วทนฺตุม  อายสฺมนฺโต  อนุกมฺป อุปาทายปสฺสนฺโต  ปฏิกฺกริสฺสามิ.  ทุติยมฺปิอาวุโส  ฯ เป ฯ  ตติยมฺป  อาวุโส  ฯ เป ฯ  ปฏิกฺกริสฺสามิ."

ถ้ามีภิกษุ  ๒  รูป  ไม่ต้องตั้งญัตติ  ปวารณาทีเดียว  ว่าดังนี้

        "อห  อาวุโส  อายสฺมนฺต   ปวาเรมิ  ฯ เป ฯ  วทตุ  ม  อายสฺมาอนุกมฺป  อุปาทายปสฺสนฺโต  ปฏิกฺกริสฺสามิ."

บุคคลปวารณา
ถ้าอยู่รูปเดียวให้อธิษฐานว่าดังนี้
"อชฺช  เม  ปวารณา."
แปล :  "ปวารณาของเราวันนี้."

กัณฑ์ที่  ๑๘
อุปปถกิริยา
อุปปถกิริยา   ได้แก่การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะมี  ๓  คือ
๑.  อนาจาร  คือความประพฤติไม่ดีไม่งามและเล่นมีประการต่าง ๆ.
๒.  ปาปสมาจาร คือความประพฤติเลวทราม.
๓.  อเนสนา  คือความเลี้ยงชีพไม่สมควร.

อนาจารแยกเป็นประเภทใหญ่มี  ๓  คือ
๑.  การเล่นต่างอย่าง.
๒.  การร้อยดอกไม้.
๓.  การเรียนดิรัจฉานวิชา.

การเล่นต่างอย่างมี  ๕  คือ
๑.  เล่นอย่างเด็ก  [เช่นเล่นเรือนน้อยๆ  รถน้อยๆ  เรือน้อยๆ ธนูน้อยๆ  และเล่นตวงทราย  ผิวปาก  เลียนคนตาบอด  คน     ง่อย  เป็นต้น].
๒.  เล่นคะนอง  [เช่นหกคะเมน  ปล้ำกัน  ชกกัน  วิ่งผัดช้าง  ผัดม้า   ขว้างปาอะไรเล่น].
๓.  เล่นพนัน  คือ  มีได้มีเสีย  มีชนะมีแพ้  มีถูกมีผิด  [เช่นหมากรุก  หมากไหว   หมากแยก  คือที่ใช้แจงเบี้ย  สกา  ขลุบหรือคลี      เล่นทายกัน.
๔.  เล่นปู้ยี้ปู้ยำ  คือทำความเสียหายให้แก่ผู้อื่น  [เช่นจุดป่าเล่น].
๕.  เล่นอึงคะนึง  [เช่นแสดงธรรมด้วยเสียงขับอันยาว  การสวดพระ ธรรมและการเทศนาตลกคะนอง  นับเข้าในข้อนี้].
      การเล่นดังว่ามานี้   ที่ไม่มีปรับโทษสูงกว่า  ปรับอาบัติทุกกฏเสมอกัน.

บุปผวิกัติอาการร้อยดอกไม้  ๖  อย่าง  คือ
๑.  คนฺถิม  ร้อยตรึง  [ได้แก่ดอกไม้ที่เรียกว่าระเบียบ  เขาเอาดอก     มะลิเป็นต้น  เสียบเข้าในระหว่างใบตองอันเจียนไว้  แล้วตรึงให้     ติดกันโดยรอบ  แล้วร้อยประสมเข้ากับอย่างอื่นเป็นพวง  เช่นพวงพู่     ชั้น  เป็นตัวอย่าง  เอาดอกไม้สีต่าง ๆ  ตรึงบนพื้นใบตองเป็นลาย ที่เรียกว่าแบบสี  สำหรับทำพวง  กลิ่นสี  ก็นับเข้าในชนิดนี้].
๒.  โคปฺผิม  ร้อยควบหรือร้อยคุม  [ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยเป็นสายๆ แล้ว  ควบหรือคุมเข้าเป็นพวง  เช่นพวงอุบะ  สำหรับร้อยปลายพู่      หรือสำหรับห้อยตามลำพัง  และพวง "พู่สาย"  เป็นตัวอย่าง].
๓.  เวธิม  ร้อยแทงหรือร้อยเสียบ   [ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยสวมดอก เช่น  สายแห่งอุบะ  หรือพวงมาลัยบางอย่าง  เช่นพวงมาลัยดอก  ปีบและดอกกรรณิกา  และได้แก่ดอกไม้ที่ใช้เสียบไม้  เช่นพุ่ม  ดอกพุทธชาด  พุ่มดอกบานเย็นเป็นตัวอย่าง].
๔.  เวถิม  ร้อยพันหรือร้อยผูก   [ได้แก่ช่อดอกไม้และกุล่มดอกไม้ ที่เขาเอาไม้เสียบก้านดอกไม้แล้วเอาด้วยพันหรือผูกทำขึ้น].
๕.  ปูริม  ร้อยวง  [ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยสวมดอก  หรือร้อยแทงก้าน  เป็นสายแล้ว  ผูกเข้าเป็นวง  นี้คือพวงมาลัย].
๖.  วายิม ร้อยกรอง  [ได้แก่ดอกไม้ร้อยถักเป็นตาเป็นผืนนี้เรียกว่า ตาข่าย].
      บุปผวิกัติ  ๖  นี้  บางอย่างสำเร็จด้วยอาการอย่างเดียว  เช่นพุ่มดอกไม้บานเย็น  ใช้เสียบเท่านั้น  บางอย่างสำเร็จด้วยอาการกว่าอย่างเดียว  เช่นพวงมาลัยใช้ร้อยแทงแล้ววงเข้าเป็นพวง.

ดิรัจฉานวิชาท่านแยกประเภทไว้  ๕  คือ
๑.  ความรู้ในการทำเสน่ห์  เพื่อให้ชายนั้นหญิงนี้รักกัน.
๒.  ความรู้ในการทำให้ผู้นั้นผู้นี้ถึงความวิบัติ.
๓.  ความรู้ในทางใช้ภูตผีอวดฤทธิ์เดชต่าง ๆ.
๔.  ความรู้ในทางทำนายทายทัก  เช่นรู้หวยว่าจะออกอะไร.
๕.  ความรู้อันจะนำให้หลงงมงาย  เช่นหุงปรอทให้มีอิทธิฤทธิ์  หุง เงินหรือทองแดงให้เป็นทอง.
        เหล่านี้จัดเป็นดิรัจฉานวิชาได้   เพราะเป็นความรู้ที่เขาสงสัยว่าลวงหรือหลง  ไม่ใช่ความรู้จริงจัง  ผู้บอกเป็นผู้ลวง  ผู้เรียนก็เป็นผู้หัดเพื่อจะลวง  หรือเป็นผู้หลงงมงาย.

ปาปสมาจาร
ความประพฤติที่เนื่องด้วยการสมคบกับคฤหัสถ์อันมิชอบมีประเภทดังนี้.
๑.  ให้ของกำนัลแก่สกุลอย่างคฤหัสถ์เขาทำ  เช่นให้ดอกไม้หรือผลไม้  เป็นต้น.
๒.  ทำสวนดอกไม้ไว้  ตลอดถึงร้อยดอกไม้เพื่อบำเรอเขา
๓.  แสดงอาการประจบเขา  เมื่อเข้าไปในสกุล  พูดประจ๋อประแจ๋   และอุ้มลูกเขา.
๔.  ยอมตัวลงให้เขาใช้สอยไปนั่นไปโน่น  ทำอย่างนั้นอย่างนี้นอกกิจ      พระศาสนา  [แต่จะรับธุระเขาในทางกิจพระศาสนา  เช่นเขาจะบริจาคทาน  ช่วยนิมนต์พระให้  เขาจะฟังธรรม  นิมนต์พระ      เทศน์ให้  ไม่มีโทษ  การติดต้อยห้อยตามเขาไปข้างไหน  จัด เข้าในข้อนี้]  ธุระของมารดาบิดา  คนเตรียมจะบวช  เรียก  บัณฑุปลาส  และไวยาวัจกรของตน  แม้นอกจากพระศาสนา  ท่านอนุญาต  แม้อย่างนั้นควรเลือกแต่กิจอันควร.
๕. รับเป็นหมอรักษาไข้เจ็บของคนในสกุล คือเป็นหมอสำหรับบ้าน[หมายเอาการยอมตัวให้เขาใช้ในทางหนึ่ง].
๖.รับของฝากอันไม่ควรรับ เช่นรับของโจรและของต้องห้าม[การรับของฝากนี้ ท่านห้ามด้วยประการทั้งปวง  เพื่อจะไม่ต้องผูกตนด้วยความเป็นผู้สำนองเพราะของนั้น เมื่อเพ่งเฉพาะเป็นปาปสมาจาร  ควรจะเป็นของที่กล่าวแล้ว]
        ปาปสมาจารดังว่ามานี้ ที่ไม่มีปรับโทษสูงกว่า ปรับเป็นอาบัติทุกกฏเสมอกัน นอกจากนั้นเป็น

ฐานะที่สงฆ์จะทำการลงโทษอีก ๓สถาน  คือ
๑.  ตำหนิโทษ  เรียกตัชชนียกรรม.
๒.  ถอดยศ  คือถอนจากความเป็นผู้ใหญ่  เรียกนิยัสสกรรม.
๓. ขับเสียจากวัด  เรียกปัพพาชนียกรรม.

อีกอย่างหนึ่ง  เนื่องด้วยการรุกราน หรือตัดรอนคฤหัสถ์  มีประเภทดังนี้
๑.  ขวนขวายเพื่อตัดลาภของเขา.
๒.  ขวนขวายเพื่อความเสื่อมเสียแห่งเขา.
๓.  ขวนขวายเพื่อเขาอยู่ไม่ได้  ต้องออกจากถิ่นฐาน.
๔.  ด่าว่าเปรียบเปรยเขา.
๕.  ยุยงให้เขาแตกกัน.
๖. พูดกดเขาให้เป็นคนเลว คือพูดวาจาหยาบต่อเขา เช่นเรียกอ้าย เรียกอี ขึ้นมึงขึ้นกู ที่ถือเป็นคำเลวในกาลนี้
๗.  ให้ปฏิญญาอันเป็นธรรมแก่เขาแล้ว   ไม่ทำให้สมจริง.
        ความประพฤติเลวทรามเห็นปานนี้  นอกจากปรับอาบัติตามวัตถุเป็นฐานะที่สงฆ์จะลงโทษด้วยปฏิสารณียกรรม  คือให้หวนระลึกถึงความผิด  และขมาคฤหัสถ์ที่ตนรุกรานหรือตัดรอน.

อเนสนา
        ได้แก่กิริยาแสวงหาเลี้ยงชีพในทางไม่สมควร  แสดงโดยเค้ามี  ๒ คือ
๑.  การแสวงหาเป็นโลกวัชชะ มีโทษทางโลก  เช่นทำโจรกรรม หลายลวงให้เขาเชื่อถือ  ตัวอย่างในบาลี เช่นภิกษุอวดอุตริ-มนุสสธรรมโดยตรงหรือโดยย้อม และชักสื่อในระหว่างชายกับหญิง เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงชีพ.
๒.  การแสวงหาเป็นปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติแสดง ไว้ในบาลีด้วยทำวิญญัติ  คือออกปากขอของต่อคนไม่ควรขอ หรือในเวลาที่ไม่ควรขอ.

การแสวงหาที่ท่านห้ามอีกบางประการ จัดเข้าในประเภทหลัง รวบรวมแสดง ดังต่อไปนี้
๑.  ทำวิญญัติคือออกปากขอของต่อคนที่ไม่ควรขอ หรือในเวลาที่ ไม่ควรขอ [คฤหัสถ์ผู้มิใช่ญาติมิใช่ปวารณา ในเวลาปกติ  เป็นคนไม่ควรขอ  ในเวลามีจีวรหายหรือถูกชิง ขอเขาได้เฉพาะ  พอนุ่งห่ม   ในเวลาอาพาธ  ขอโภชนะและเภสัชเขาได้ ขอใน   เวลาไม่ควรนั้น  คือ  ขอต่อคฤหัสถ์เช่นนั้น  ในเวลาปกติที่ไม่ได้   ทรงอนุญาต].
๒.  แสดงหาลาภด้วยลาภ  คือหาในเชิงให้ของน้อย  หมายเอาตอบ      แทนมาก.
๓.  ใช้จ่ายรูปิยะ  ได้แก่การลงทุนหาผมประโยชน์  เช่นทำการค้าขาย    เป็นตัวอย่าง.
๔.  หากินในทางเวชกรรม หรือการหมอ.
๕.  การทำปริตร   ได้แก่การทำน้ำมนต์สายสิญจน์เสกเป่าต่าง ๆ  [ท่าน อนุญาตแต่สวดปริตร]   ข้อนี้ควรทำไม่ควรทำเพียงไร  พึงรู้ด้วยนัย   ดังจะกล่าวในเวชกรรม  ๓  ข้อข้างหน้า.

ในอรรถกถาอนุญาตให้ทำยาเฉพาะแก่คนเหล่านี้
๑.  สหธรรมิก.
๒.  มารดาบิดา.
๓.  คนอุปฐากมารดาบิดา.
๔.  ไวยาวัจกรของตน.
๕.  คนปัณฑุปลาส.
๖.  ญาติของตน.
๗.  คนจรเข้ามาในวัด เจ็บไข้.

เวชกรรมที่ต้องห้าม  ควรจะผ่อนลงมา  ดังต่อไปนี้
๑.  เวชกรรมที่ห้ามไว้ในวินีตวัตถุแห่งตติยปาราชิกสิกขาบท โดยปรับเป็นอาบัติทุกกฏนั้น คือทำในทางนอกรีตนอกรอย เช่น กล่าวไว้ในท้องเรื่อง  อีกอย่างหนึ่ง ผู้ทำไม่สันทัด รู้เล็กๆ  น้อยๆ  ก็รับรักษาเขา วางยาผิดๆ  ถูกๆ.
๒.  เวชกรรมที่ห้ามโดยความเป็นปาปสมาจาร ในวิภังค์แห่งสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓  นั้น คือการที่ทอดตนลงให้สกุลเขาใช้ในการรักษาไข้เจ็บของคนในสกุล ดุจเดียวกับยอมให้เขาใช้ไปข้างไหน  นี้ผิดจากการที่เขาเชิญให้รักษา
๓.  เวชกรรมที่ห้ามโดยความเป็นอเนสนา  ในอรรถกถาทั้งหลายนั้น  คือการรักษาโรคเรียกเอาขวัญข้าวค่ายาค่ารักษา  เป็นการหาผลหาประโยชน์.
        ภิกษุรับของที่เขาถวายเพื่อเกื้อกูลแก่พระศาสนามาแล้ว  ไม่บริโภค  ให้เสียแก่คฤหัสถ์เพื่อสงเคราะห์เขา ทำให้ทายกผู้บริจาคเสียศรัทธา   เรียกว่าทำศรัทธาไทยให้ตกเสียเปล่า  ท่านแสดงอนามัฏฐบิณฑบาตเป็นตัวอย่าง  โภชนะที่ได้มายังไม่ได้หยิบไว้ฉันเรียกอนามัฏฐบิณฑบาต  ท่านห้ามไม่ให้แก่คฤหัสถ์อื่น  นอกจากมารดาบิดา  ส่วนมารดาบิดานั้น  เป็นภาระของภิกษุจะต้องเลี้ยงท่านอนุญาตเพื่อให้ได้  สมณจีวรก็เหมือนกัน  ให้แก่มารดาบิดาได้.

กัณฑ์ที่ ๑๙
การิก ๔
      ของที่จะพึงกลืนกินให้ล่วงลำคอไป ท่านเรียกว่ากาลิก เพราะเป็นของมีกำหนดให้ใช้ชั่วคราวมี ๔ คือ
๑.  ยาวกาลิก              ของที่ให้บริโภคได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน.
๒.  ยามกาลิก              ของที่ให้บริโภคได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง.
๓.  สัตตาหกาลิก          ของที่ให้บริโภคได้ชั่ว  ๗  วัน.
๔.  ยาวชีวิก               ของที่ให้บริโภคได้เสมอไป ไม่มีจำกัดกาล.
        ที่ชื่อว่ากาลิกนั้น คงเพ่งเอาของ ๓ อย่างข้างต้น จะกล่าวให้สิ้นเชิง จึงยกเอาของที่ไม่ได้จัดเป็นกาลิกมากล่าวด้วย  เรียกว่ายาวชีวิก.


ยาวกาลิก
        ของที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร  จัดเป็นยาวกาลิก  มี  ๒  อย่าง  คือ
๑.  โภชนะทั้ง ๕  [นมสด  นมส้ม  จัดเข้าในโภชนะในทีอื่นจาก โภชนะ  ๕].
๒.  ขาทนียะ  ของขบเคี้ยวคือผลไม้และเง่า มีมันเป็นต้น.

โภชนะทั้ง ๕  อย่าง  คือ
๑.  ข้าวสุกที่หุงจากธัญญชาติทั้งหลาย.
๒.  ขนมกุมมาส  ของทำด้วยแป้งหรือถั่วงา  มีอันจะบูดเมื่อ ล่วงคืนแล้ว.  
๓.  สัตตุ  คือขนมแห้ง  เป็นของไม่บูด.
๔.  ปลา.
๕.  เนื้อ.

พืชที่ใช้เป็นโภชนะนั้น  ๒  ชนิด  คือ
๑. บุพพัณณะ  ของจะพึงกินก่อน  [คือข้าวทุกชนิด].
๒.  อปรัณณะ  ของจะพึงกินในภายหลัง  [คือถั่วต่างชนิดและงา].
                   พืช  ๒  อย่างนี้  เป็นมูลแห่งข้าวสุก  และขนม  ๒  อย่าง.

บุพพพัณณะนั้นแสดงไว้ในบาลี  ๗  ชนิด  คือ
๑.  สาลี ข้าวสาลี.
๒. วีหิ  ข้าวจ้าว.
๓. ยโว  ข้าวเหนียว.
๔. โคธูโม  ข้าวละมาน.
๕. กงฺคุ  ข้าวฟ่าง.
๖. วรโก  ลูกเดือย.
๗.  กูทฺรูสโก  หญ้ากับแก้.

เนื้อที่ห้ามโดยกำเนิดมี  ๑๐  คือ
๑.  เนื้อมนุษย์  เลือดก็สงเคราะห์เข้าด้วย.
๒.  เนื้อช้าง.
๓.  เนื้อม้า.
๔.  เนื้อสุนัข.
๕.  เนื้องู.
๖.  เนื้อสีหะ.
๗.  เนื้อเสือโคร่ง.
๘.  เนื้อเสือเหลือง.
๙.  เนื้อหมี.
๑๐.  เนื้อเสือดาว.
        เนื้อมนุษย์ เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย เนื้อนอกนั้น เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ เนื้อซึ่งนกจากที่ระบุชื่อไว้นี้   แต่หากเป็นของดิบก็ห้าม แม้เนื้อที่เป็นกัปปิยะโดยกำเนิดและทำให้สุกแล้ว แต่หากเป็นอุทิสสมังสะ  ก็ห้าม  จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ  เนื้ออันบริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือภิกษุไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้สงสัย  ว่าเขาฆ่าเฉพาะฉันไม่มีโทษ  แม้ปลาก็เหมือนกัน.

        ของขบเคี้ยวชนิดที่มีเม็ดและงา  อาจเพาะและปลูกเป็นทรงอนุญาตให้อนุปสัมบันทำให้เป็นกัปปิยะ  ด้วยวิธีเหล่านี้
๑.  ด้วยเอาไฟจี้.
๒.  ด้วยเอามีดกรีด.
๓.  ด้วยเอาเล็บจิก.
        ส่วนพืชที่ยังอ่อนหรือเป็นของปล้อนเม็ดออกได้  ไม่ต้องทำกัปปิยะ  จะให้เขาทำกัปปิยะ  ท่านแนะให้พูดว่า  "จงทำให้เป็นกัปปิยะ"
        ภิกษุผู้จะเดินทาง  ทรงอนุญาตให้แสวงหาเสบียงเดินทางได้คือ  ข้าวสาร ถั่ว  เกลือ  น้ำอ้อย  น้ำมัน  และเนย  ตามต้องการและทรงอนุญาตให้ภิกษุยินดีของอันเป็นกัปปิยะ  ที่กัปปิยการกจับจ่ายมาด้วยเงินทอง  ซึ่งมีผู้มองไว้กับกัปปิยการก.

กัปปิยภูมิ ๔
๑.  อุสฺสาวนนฺติกา  กัปปิยภูมิที่ประกาศให้ได้ยินกัน [ได้แก่กุฎีที่ ภิกษุทั้งหลายตั้งใจจะให้เป็นกัปปิยกุฎี  เรือนที่เก็บของเป็นกัปปิยะ คือเรือนครัวมาแต่แรก เมื่อขณะทำ  ช่วยกันยกเสาหรือช่วยกัน     ตั้งฝาที่แรก  ร้อยประกาศว่า "กปฺปิยกุฏึ  กโรม"  "เราทั้งหลาย ทำกัปปิยกุฎี" ๓  หน].
๒.  โคนิสาทิกา  กัปปิยภูมิดุจเป็นที่โคจ่อม  [ได้แก่สถานอันไม่ได้  ล้อม  แจกออกเป็น ๒  กำหนดเอาวัดที่ไม่ได้ล้อม เรียกว่าอารามโคนิสาทิกา๑ กำหนดเอากุฎีที่ไม่ได้ล้อม เรียกวิหารโคนิสาทิกา ๑ หมายความว่า เป็นสถานที่โคเข้าได้ พระมติว่า ได้แก่เรือนครัวน้อยๆ  ที่ไม่ได้ปักเสา  ตั้งอยู่กับที่  ตั้งฝาบนคาน ยกเลื่อนจากที่ได้  เป็นโคนิสาทิกาได้กระมัง].
๓.  คหปติกา  เรือนของคฤหบดี  [ได้แก่เรือนของคฤหัสถ์ ไม่ใช่ที่  อยู่ที่ใช้ของภิกษุ  ท่านอธิบายว่า  กุฎีที่คฤหัสถ์เขาทำถวาย เพื่อใช้เป็นกัปปิยกุฎี จัดเข้าในกัปปิยภูมิชื่อนี้ด้วย].
๔.  สมฺมติกา  กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ  [ได้แก่กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้ เป็นกัปปิยกุฎีแล้ว  สวดประกาศด้วยญัตติทุกติยกรรม ในบาลีแนะ ให้เลือกกุฎีอันอยู่ในสุดเขต.  พระมติว่า  จะให้กุฎีที่ภิกษุเคยอยู่ก็ได้ แต่เมื่อใช้เป็นกัปปิยกุฎีแล้ว ไม่ควรใช้เป็นที่อยู่  ถ้าจะ  กลับใช้เป็นที่อยู่  ก็ต้องเลิกใช้กัปปิยกุฎี].
          ยาวกาลิกที่เก็บไว้ในที่อยู่ที่ใช้ของภิกษุแม้เป็นของสงฆ์  เป็นอนฺโตวุตฺถ  แปลว่า  อยู่ภายใน  หุงต้มในนั้น  เป็น  อนฺโตปกฺก  แปลว่า  สุกในภายใน  หุงต้มเอง  เป็น  สามปกฺก  แปลว่า  ให้สุกเองทั้ง ๓  อย่างนี้เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ  ห้ามไม่ให้ฉัน  ยาวกาลิกที่เก็บไว้ให้กัปปิยกุฎี  ไม่เป็น  อนฺโตวุตฺถ  ไม่เป็น  อนฺโตปกฺก  แต่ทำเองนั้นคงเป็น  สามปกฺก  ท่านห้าม  แต่จะอุ่นของที่คนอื่นทำสุกแล้ว  ท่านอนุญาต.

ยามกาลิก
         ปานะ คือ  น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นออกจากลูกไม้ เรียกว่า ยามกาลิก  มี  ๘ ชนิด  คือ
๑.  อมฺพปาน              น้ำมะม่วง.
๒.  ชมฺพุปาน               น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า.
๓.  โจจปาน               น้ำกล้วยมีเม็ด.
๔.  โมจปาน               น้ำกล้วยไม่มีเม็ด.
๕.  มธุกปาน               น้ำมะซาง [เป็นของล้วนไม่ควร  เจือน้ำจึงควร].
๖.  มุทฺทิกปาน            น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น.
๗.  สาลุกปาน              น้ำเง่าอุบล.
๘.  ผารุสกปาน                      น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่.
        [วิธีทำปานะ  ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก  เอาผ้าห่อบิดให้ตึง   อัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า  เติมน้ำลงไปให้พอดีประกอบของอื่นเป็นต้นว่าน้ำตาลและเกลือพอเข้ารส.  ปานะนี้ให้ใช้ของสด  ห้ามไม่ให้ต้มด้วยไฟ  อนุปสัมบันทำ  จึงควรในวิกาล  ภิกษุทำ  มีคติอย่างยาวกาลิก  เพราะรับประเคนทั้งผล.  ของที่ใช้ประกอบเช่น  น้ำตาล  เกลือ  ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้  ปานะนี้เพ่งเอาของที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของเขาเอง].
        ยาวกาลิกนี้  ล่วงกำหนดคืนหนึ่ง  ท่านห้ามไม่ให้ฉัน  ปรับเป็นอาบัติทุกกฏ.

สัตตาหกาลิก
สัตตาหกาลิก  ได้แก่เภสัช  ๕  คือ
๑.  เนยสด.
๒.  เนยข้น.
๓.  น้ำมัน.
๔.  น้ำผึ้ง.
๕.  น้ำอ้อย.

วัตถุสำหรับทำน้ำมันรวมเป็น  ๓  ชนิด  คือ
๑.  มันเปลวแห่งสัตว์  [ยกของมนุษย์].
๒. พืชอันมีกำเนิดเป็นยาวกาลิก  [มีเม็ดงาเป็นตัวอย่าง].
๓.  พืชอันมีกำเนิดเป็นยาวชีวิก  [มีเม็ดพันธ์ผักกาดเป็นตัวอย่าง].

มันเปลวแห่งสัตว์ในบาลีมี  ๕  คือ
๑.  เปลวหมี.
๒.  เปลวปลา.
๓.  เปลวปลาฉลาม.
๔.  เปลวหมู.
๕.  เปลวลา.
        มันเปลวสัตว์เหล่านี้  ทรงอนุญาตให้รับประเคนแล้วเจียวเป็นน้ำมันได้  แต่ให้รับ  ให้เจียว  และให้กรองเสร็จในกาล  ถ้าทำนอกกาลหรือคาบกาล  ห้ามไม่ให้ฉัน  จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏทุกกิจการที่ทำในวิกาล  คือถ้าทำในเวลาวิกาลทั้ง  ๓  สถาน  หรือ  ๒  อย่าง  หรือ๑  อย่าง  ก็เป็นทุกกฏ  ๓  สถาน  หรือ  ๒  สถาน  หรือสถานเดียว  น้ำมันที่สะกัดออกจากพืชอันเป็นยาวกาลิก  ภิกษุทำเอง  มีคติอย่างยาวกาลิกเที่ยงแล้วไป  ไม่ให้ฉัน  ส่วนน้ำมันที่สะกัดออกจากพืชอันเป็นยาวชีวิกภิกษุทำเองได้.  น้ำอ้อยที่อนุปสัมบันทำ  กรองหมดกากแล้วจึงใช้ได้ที่ภิกษุทำ  รับทั้งวัตถุคือลำอ้อย  มีคติอย่างยาวกาลิก.

ยาวชีวิก
ของที่ใช้ประกอบยา  นอกจากกาลิก  ๓  อย่างนั้น  จัดเป็นาวชีวิก  มีประเภทดังนี้
๑.  รากไม้  เรียกมูลเภสัช [เช่น  หลิทฺท   ขมิ้น  สิงฺคเวล  ขิง วจ ว่านน้ำ  วจตฺถ   ว่านเปราะ  อติวิส  อุตพิด  กฏุกโรหิณี  ข่า  อุสิร  แฝก  ภทฺทมุตฺตก  แห้วหมู].
๒.  น้ำฝาด  เรียกกสาวเภสัช  เช่น  นิมฺพกสาโว  น้ำฝาดสะเดา กุฏชกสาโว น้ำฝาดมูกมัน  ปโฏลกสาโว  น้ำฝาดกระดอมหรือ มูลกา  ปคฺควกสาโว  น้ำฝาดบอระเพ็ดหรือพญามือเหล็ก  นคฺค-มาลกสาโว  น้ำฝาดกระถินพิมาน.
๓.  ใบไม้  เรียกปัณณเภสัช  เช่น  นิมฺพปณฺณ  ใบสะเดา  กุฏชปณฺณ     ใบมูกมัน  ปโฏลปณฺณ  ใบกระดอมหรือมูลกา  คุลสิปณฺณ ใบ  กะเพราหรือแมงลัก  กปฺปาสิกปณฺร  ใบฝ้าย.
๔.  ผลไม้  เรียกผลเภสัช   [วิลงฺค  ลูกพิลังกาสา  ปิปฺผลิ  ดีปลี      มริจ  พริก  หรีตกี  สมอไทย  วิเภตก  สมอพิเภท  อามลก      มะขามป้อม  โกผล  ผลแห่งโกฐ].
๕.  ยางไม้  เรียกชตุเภสัช  เช่น  หิงคุ  เป็นยางไม้ชนิดหนึ่ง  ท่าน      กล่าวว่าไหลออกจากต้นหิงคุ  หิงคุชตุ  ยางชื่อเดียวกัน  ท่านกล่าว      ว่าเคี่ยวออกจากก้านและใบแห่งต้นหิงคุ  หิงฺคุสิปาฏิกา  เป็นยาง      ชื่อเดียวกัน  ท่านกล่าวว่าเคี่ยวออกจากใบหิงคุ  หรือเจือของอื่น      ด้วย  ๓  นี้  เป็นชนิดมหาหิงคุ  ตกฺก  เป็นยางไหลออกจากยอดไม้      ชนิดหนึ่ง  ตกฺกปตฺติ  ยางชนิดเดียวกัน  ว่าไหลออกจากใบแห่งไม้     ชนิดนั้น  ตกฺกปณฺณิ  ยาวชนิดเดียวกัน  ว่าเอาใบมาคั่วออกบ้าง     ไหลออกจากก้านบ้าง  ๓ อย่างนี้  ไม่รู้ว่าอะไร  สชฺชุลส  กายาน].
๖.  เกลือ  เรียกโลณเภสัช [เช่น  สามุทฺทิก เกลือแห่งน้ำทะเล กาฬโลณ เกลือดำ [ดีเกลือกระมัง]  สินฺธว  เกลือสินเธาว์  เป็นเกลือเกิดบนดินในที่ดอน เขาเก็บมาหุง ว่าสีขาว  อุพฺภิท  เกลือที่เขาเอาดินโป่งมาเคี่ยวทำขึ้น  วิล  เป็นเกลือชนิดหนึ่ง  เขาปรุงสัมภาระต่าง ๆ หุงขึ้น  ว่าสีแดง].
      รากไม้  น้ำฝาด  ใบไม้  ผลไม้  ยาวไม้  เกลือ  อย่างอื่นอีก อันไม่สำเร็จอาหารกิจ  ใช้เป็นยา  จัดเป็นยาวชีวิกทั้งนั้น.

กาลิกระคนกัน
        กาลิกบางอย่างระคนกับกาลิกอีกบางอย่าง  มีกำหนดให้ใช้ได้ชั่วคราวของกาลิกมีคราวสั้น.  สัตตาหกาลิกและยาวชีวิก  ที่รับประเคนแรมคืนไว้  ท่านห้ามไม่ให้เอาไปปนกับยาวกาลิก  ในสัตตสติกขันธกะท่านปรับเป็นปาจิตตีย์.
                                        
กัณฑ์ที่ ๒๐
ภัณฑะต่างเจ้าของ
ของสงฆ์
        ภัณฑะที่เขาถวายเป็นสาธารณะแก่ภิกษุ  ไม่เฉพาะตัวหรือภัณฑะอันภิกษุรับก็ดี  ปกครองหวงห้ามไว้ก็ดี  ด้วยความเป็นของสาธารณะแก่หมู่ภิกษุ  จัดเป็นของสงฆ์.

ของสงฆ์นั้นมี  ๒  ประเภท  คือ
๑.  ลหุภัณฑ์  ของเบา.
๒.  ครุภัณฑ์  ของหนัก.

ลหุภัณฑ์นั้นจำแนกออกดังนี้
๑.  บิณฑบาต.
๒.  เภสัช.
๓.  บริขารที่จะใช้สำหรับตัว คือ บาตร  จีวร ประคตเอว  เข็ม  มีพับ  มีดโกน.

ภิกษุผู้อันสงฆ์สมมติให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกลหุภัณฑ์เหล่านั้น  มีดังนี้
๑.  ภิกษุผู้มีหน้าที่แจกภัตตาหาร ตลอดถึงรับนิมนต์ของทายกแล้ว จ่ายให้ไป  เรียกภัตตุทเทสกะ.
๒.  ภิกษุผู้มีหน้าที่แจกจีวร  เรียกจีวรภาชกะ.
๓.  ภิกษุผู้มีหน้าที่แจกเภสัชและบริขารเล็กน้อย  เรียกอัปปมัตตก-วิสัชชกะ.  
            [วิธีแจกลหุภัณฑ์อย่างไรนั้น  ต้องดูแบบให้จำได้หรือเข้าใจ]
        ภัณฑะอันไม่ใช่ของสำหรับใช้สิ้นไป  เป็นของควรรักษาไว้ได้นานเป็นเครื่องใช้ในเสนาสนะหรือเป็นตัวเสนาสนะเอง  ตลอดถึงกุฎีและที่ดิน  จัดเป็นครุภัณฑ์.

ครุภัณฑ์นั้นแสดงไว้ในบาลี  ๕  หมวด  คือ
๑.  พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นอาราม.
๒.  พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นวิหาร.
๓.  ของที่เป็นตัวเสนาสนะเอง.
๔.  เครื่องโลหะที่เป็นภาชนะและเป็นเครื่องมือ.
๕.  เครื่องสัมภาระสำหรับทำเสนาสนะและเครื่องใช้.

พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นอาราม  จำแนกเป็น  ๒  คือ
๑.  อาราโม   ของปลูกสร้างในอาราม  ตลอดต้นไม้.
๒.  อารามวตฺถุ  ที่ดินพื้นอาราม.

พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นวิหาร  จำแนกเป็น  ๒  คือ
๑.  วิหาโร                           กุฎีที่อยู่.
๒.  วิหารวตฺถุ              พื้นที่ปลูกกุฎี.

ของที่เป็นเสนาสนะจำแนกเป็น  ๔  คือ
๑.  มญฺโจ  เตียง.
๒.  ปี  ตั่ง.
๓.  ภิสี  ฟูก.
๔.  พิมฺโพหน.  หมอน.  

เครื่องโลหะที่เป็นภาชนะและเครื่องมือ  จำแนกเป็น  ๙  คือ
๑.  โลหกุมฺภี  หม้อโลหะ.
๒.  โลหภาณก  อ่างโลหะ.
๓.  โลหวารโก  กระถางโลหะ.
๔.  โลหกฏาห  กระทะโลหะ.
๕.  วาสี  มีดใหญ่หรือพร้าได้.
๖.  ผรสุ  ขวาน.
๗.  กุารี  ผึ่ง สำหรับถากไม้.
๘.  กุทฺทาโล  จอบหรือเสียม  สำหรับขุดดิน.
๙.  นิขาทน  สว่าน  สำหรับเจาะไม้.

เครื่องสัมภาระสำหรับทำเสนาสนะและเครื่องใช้จำแนกเป็น ๘ คือ
๑.  วลฺลี  เถาวัลย์  เช่นหวาย.
๒.  เวฬุ  ไม้ไผ่.
๓.  มุญฺช  เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง  แปลว่าหญ้ามุงกระต่าย.
๔.  ปพฺพช  เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง  แปลว่าหญ้าปล้อง.
๕.  ติณ  หญ้าสามัญ.
๖.  มตฺติกา  ดินเหนียว.
๗.  ทารุภณฺฑ  ของทำด้วยไม้.
๘.  มตฺติกาภณฺฑ  ของทำด้วยดินเผา.
        [รวม  ๕  หมวด  เป็นของ  ๒๕  สิ่งด้วยกัน.]
        ตามธรรมดาครุภัณฑ์แจกจ่ายกันไม่ได้  แต่จะจำหน่ายของที่เลวแลกของที่ดีจำหน่ายของไม่เป็นอุปการะ  เพื่อของเป็นอุปการะอันเป็นครุภัณฑ์ด้วยกัน  เห็นว่าได้  หรือในสมัยข้าวแพง อดอยากท่านอนุญาตให้จำหน่ายของที่เลวๆ  เพื่ออาหาร ด้วยปรารถนาจะอยู่รักษาเสนาสนะที่ดีการจำหน่ายครุภัณฑ์เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังกล่าวมานี้เรียกว่า  "ผาติกรรม" ที่กัลปนา ก็จัดเป็นครุภัณฑ์

ของเจดีย์
        ของชนิดนี้  ได้แก่ของที่ทายกถวายเพื่อบูชาเจดีย์  ของนี้มีวิภาคอย่างไร  ท่านหาได้กล่าวไว้ไม่  น่าจะเทียบได้กับของสงฆ์ที่จำแนกเป็นลหุภัณฑ์และครุภัณฑ์  ส่วนลหุภัณฑ์  เช่นน้ำมัน ใช้ตามบูชา  อาหาร  ให้แก่ผู้รักษา ก็ควร  ที่เป็นครุภัณฑ์  ควรเก็บรักษาไว้หรือพึงจำหน่ายเพื่อผาติกรรม  ถือเอาของเป็นครุภัณฑ์ด้วยกันที่ถาวรกว่าหรือที่เป็นประโยชน์กว่า  หรือเพื่อปฏิสังขรณ์เจดีย์นั้น  หรือถาวรวัตถุเนื่องด้วยเจดีย์นั้น   ผลประโยชน์อันเกิดในที่กัลปนาพึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วในของสงฆ์.

ของบุคคล
        ของชนิดนี้  ได้แก่ของที่ทายกถวายแก่ภิกษุเป็นส่วนตัว  หรือภิกษุแสวงหาได้มา   และถือเอาเป็นส่วนตัว  แม้ของที่สงฆ์แจกให้ตกเป็นสิทธิแก่ภิกษุแล้ว  ชื่อว่าเป็นของบุคคลเหมือนกัน.
        ภัณฑะของภิกษุก็ดี  ของสามเณรก็ดี  เจ้าของตายแล้วสงฆ์เป็นเจ้าของ  คือตกเป็นมรดกของสงฆ์  [นี้หมายความว่าเจ้าของไม่ได้ปลงบริขาร]  ในของเหล่านั้น บาตร  จีวร  ทรงอนุญาตเพื่อให้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้  ของที่เป็นลหุภัณฑ์อันเหลือให้แจกกัน  สามเณรผู้พยาบาล  ก็พึงได้รับส่วนแจกเสมอภิกษุ  ของที่เป็นครุภัณฑ์ให้ตั้งไว้เป็นของสงฆ์.

การปลงบริขาร
        การมอบให้ด้วยมีปริกัปว่า ถ้าตายแล้ว ให้ของเหล่านี้ตกเป็นของผู้นั้น หรือว่าผู้นั้นจงถือเอาของเหล่านี้เมื่อตายแล้ว  เช่นนี้ไม่จัดว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ในเวลายังเป็นอยู่  ต่อมอบให้ด้วยโวหารเป็นปัจจุบัน-กาลไม่มีปริกัปว่า  "ฉันให้บริขารทั้งปวงนี้แก่เธอ"   หรือระบุชื่อพัสดุด้วยก็ตาม  จึงเป็นอันให้เป็นสิทธิ์.

ลักษณะถือวิสาสะในบาลีมีองค์  ๕  คือ
๑.  เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา.
๒.  เป็นผู้เคยคบกันมา.
๓.  ได้พูดกันไว้.
๔.  ยังมีชีวิตอยู่.
๕.  รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้ว  เขาจักพอใจ.
        ในอรรถกถา  แยกองค์ที่ ๑  องค์ที่ ๒  และองค์ที่ ๓  ออก  เอาแต่อย่างหนึ่ง  คงเป็น  ๓.

พระมติเห็นสมด้วยอรรถกถาและองค์  ๓  คือ
๑.  เป็นผู้เคยเห็นกันมา  หรือเป็นผู้เคยคลกัน  หรือได้พูดกันไว้.
๒.  รู้ว่าถือเอาแล้ว  เขาจักพอใจ.
๓.  เขายังเป็นอยู่. 

กัณฑ์ที่ ๒๑
วินัยกรรม
คือ กิจที่ภิกษุต้องทำให้ถูกต้องตามหลักพระวินัย

วินัยกรรมมี ๔ เรื่องคือ
๑.      วิธีแสดงอาบัติ
๒.      การอธิษฐานบริขาร
๓.      การทำพินทุ
๔.       การวิกัป

วิธีแสดงอาบัติที่ใช้อยู่ในบัดนี้
ต้องอาบัติตัวเดียว  แสดงว่า
        "อห  อาวุโส  ปาจิตฺติย  อาปตฺตึ  อาปนฺโน  ต  ปฏิเทเสมิ"ผู้รับ  "ปสฺสถ  ภนฺเต"  ผู้แสดง  "อาม  อาวุโส  ปสฺสามิ"  ผู้รับ"อายติ  ภนฺเต  สวเรยฺยาถ"  ผู้แสดง  "สาธุ  สุฎฺุ  อาวุโส  สวริสฺสามิ."
        [นี้  ต่างว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ตัวหนึ่ง  และแสดงในสำนักภิกษุผู้อ่อนกว่า  ถ้าผู้อ่อนกว่าแสดงในสำนักผู้แก่กว่า  พึงว่า  "ภนฺเต"].

ต้องอาบัติอย่างเดียวกันหลายตัว  แสดงว่า
        "อห  อาวุโส  สมฺพหุลา  นิสฺสคฺคิยาโย  ปาจิตฺติยาโย  อาปตฺติโย อาปนฺโน  ตา  ปฏิเทเสมิ"  [ถ้า  ๒  ตัว  ใช้  " เทฺว"   ตั้งแต่  ๓  ตัวขึ้นไป ใช้  "สมฺพหุลา"].
     ต้องอาบัติชื่อเดียวกัน  แต่มีวัตถุต่างกัน  แสดงว่า
        "อห  อาวุโส  สมฺพหุลา  นานา  วตฺถุกาโย  ทุกฺกฏาโย  อาปตฺติโย อาปนฺโน  ตา  ปฏิเทเสมิ"  [ถ้าล่วง ๒  เรื่อง  จำนวนอาบัติก็  ๒  ใช้"เทฺว  นานา  วตฺถุกาโย"  จำนวนอาบัติมากกว่า ๒  ใช้   "สมฺพหุลานานา  วตฺถุกาโย"].
        อาบัตินั้น  ท่านให้แสดงโดยควรแก่ชื่อแก่วัตถุแก่จำนวน  แสดง ผิดชื่อใช้ไม่ได้  ผิดวัตถุและผิดจำวน  ข้างมากแสดงเป็นน้อย  ใช้ไม่ได้  ข้างน้อยพลั้งเป็นมาก  ใช้ได้.
        ถ้าสงสัยอยู่ในอาบัติบางตัว  ท่านให้บอกดังนี้  "อห  อาวุโสอิตฺถนฺนามาย  อาปตฺติยา  เวมติโก  ยทา  นิพฺเพมติโก  ภวิสฺสามิ  ตทา ต  อาปตฺตึ  ปฏิกฺกริสฺสามิ"  แปลว่า  "แน่ะเธอ  ฉันมีความสงสัยในอาบัติชื่อนี้  จักสิ้นสงสัยเมื่อใด  จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น."
        ในอรรถกถาท่านวางแบบไว้  เป็นคำสำหรับสมมติตนรับอาบัติที่ภิกษุแสดงในสงฆ์ว่า  "สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆอย  อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ  อาปตฺตึ  สรติ  วิวรติ  อุตฺตานี  กโรติ เทเสติยทิ  สงฺฆสฺสปตฺตกลฺลอห  อิตฺถนฺนามสฺส  ภิกฺขุโน  อาปตฺตึ ปฏิคฺคณฺเหยฺย"แปลว่า  "ท่านเจ้าข้า  ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  ภิกษุผู้มีชื่อนี้  ผู้นี้  ระลึกเปิดเผยทำให้ตื้น  แสดงอาบัติ  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วข้าพเจ้าขอรับอาบัติของภิกษุผู้มีชื่อนี้."

แบบใช้คำบาลีออกชื่ออาบัติ คือ
       อาบัติตัวเดียว ออกชื่อว่า"ถุลฺลจฺจย  อาปตฺตึ, นิสฺสคฺคิยปาจิตฺติย  อาปตฺตึปาจิตฺติย  อาปตฺตึทุกฺกฏ อาปตฺตึทุพฺภาสิตอาปตฺตึ."
        อาบัติหลายตัว  ออกชื่อว่า  "ถุลฺลจฺจยาโย  อาปตฺติโย,นิสฺสคฺคิยาโย  ปาจิตฺติยาโย  อาปตฺติโยปาจิตฺติยาโ  อาปตฺติโย,ทุกฺกฏาโย  อาปตฺติโยทุพฺภาสิตาโย  อาปตฺติโย"  ต่อ  "เทฺว"หรือ  "สมฺพหุลา"  เฉพาะอาบัติมีวัตถุเดียวต่อ  "นานา  วตฺถุกาโย"เพาะอาบัติมีวัตถุต่างกัน.
        คำสำหรับผู้แก่กว่าว่า  "อาวุโสปสฺสสิสวเรยฺยาสิ."
        คำสำหรับผู้อ่อนว่า  "ภนฺเตปสฺสถล  สวเรยฺยาถ."
        คำแสดงอาบัติาฏิเทสนียะว่า  "คารยฺห  อาวุดส  ธมฺม  อาปชฺชึ อสปฺปาย  ปาฏิเทสนีย  ต  ปาฏิเทเสมิ"  แปลว่า  "แน่ะเธอ  ฉันต้องแล้วซึ่งธรรมน่าติเตียนไม่สบาย  ควรจะแสดงคืนเสีย  ฉันแสดงคืนซึ่งธรรมนั้น."
        ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว  ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ  หรือยอมรับว่าเป็นอาบัติ  แต่ไม่แสดง  ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมแก่เธอได้  และห้ามมิให้ภิกษุอื่นสมคบกับเธอ.

อธิษฐาน
บริขารที่ระบุชื่อให้อธิษฐาน  คือ
๑.  สังฆาฏิ.
๒.  อัตราวาสก.
๓.  อุตราสงค์.
๔.  บาตร.               
๕.  ผู้ปูนั่ง.               
๖.  ผ้าปิดฝี.
๗.  ผ้าอาบน้ำฝน.
๘.  ผ้าปูนอน.
๙.  ผ้าเช็ดหน้า  ผ้าเช็ดปาก.
๑๐.  ผ้าใช้เป็นบริขาร  เช่นผ้ากรองน้ำ  ถุงบาตร  ย่าม  ผ้าห่อของ.
      
      คำอธิษฐานบริขารสิ่งเดียว  เช่น  สังฆาฏิ  ว่า  "อิม  สงฆาฏึอธิฏฺามิ"  แปล  "เราตั้งเอาไว้ซึงผ้าสังฆาฏิผืนนี้  หรือว่า  เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าผืนนี้เป็นสังฆาฏิ"  อธิษฐานบริขารอื่น ยกบทว่า  "สงฺฆาฏึ"เสีย  เปลี่ยนตามชื่อ  ดังนี้
                อุตฺตราสงฺค             สำหรับ                            อุตราสงค์
                อนฺตรวาสก                  "                              อันตรวาสก.
                นิสีทน                        "                   ผ้านิสีทนะ.
                กณฺฑุปฏิจฺฉาทึ              "                     ผ้าปิดฝี.
                วสฺสิกสาฏิก                 "                     ผ้าอาบน้ำฝน.
                ปจฺจตฺถรณ                  "                     ผ้าปูนอน.
                มุขปุญฺฉนโจล               "                     ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก.
                ปริกฺขารโจล                 "                    ผ้าเป็นบริขาร.
        คำอธิษฐานผ้าหลายผืนควบกัน  เช่นผ้าปูนอน  ว่า "อิมานิปจฺจตฺถรณานิ  อธิฏฺามิ"  แปล  "เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าปูนอนเหล่านี้หรือว่า  เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าเหล่านี้เป็นผ้าปูนอน"  อธิษฐานผ้าอื่น  ยกบทว่า  "ปจฺจตฺถรณานิ"  เปลี่ยนเป็น  "มุขปุญฺฉนโจลานิ"  สำหรับผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก  "ปริกฺขารโจลานิ"   สำหรับผ้าเป็นบริขาร.

อธิษฐานมี ๒  คือ
      ๑. อธิษฐานด้วยกาย คือเอามือจับลูบบริขารที่อธิษฐานนั้นเข้าทำความผูกใจตามคำอธิษฐานข้างต้น
      ๒. อธิษฐานด้วยวาจา  คือลั่นคำอธิษฐานนั้น  ไม่ถูกของด้วยกายก็ได้.

อธิษฐานด้วยวาจาแยกเป็น ๒  คือ
๑.  อธิษฐานในหัตถบาส.
๒.  อธิษฐานนอกหัตถบาส.
        ของอยู่ภายใน  ๒  ศอกคืบหรือศอกหนึ่งในระหว่าง   พึงให้อธิษฐานในหัตถบาส  ของอยู่ห่าง  พึงใช้อธิษฐานนอกหัตถบาสและเปลี่ยนบทว่า "อิม" เป็น "เอต" เปลี่ยน "อิมานิ" เป็น"เอตานิ." แปลว่า "นั่น."

คำปัจจุทธรณ์หรือถอนอธิษฐาน  ว่า
        "อิม  สงฺฆาฏึ  ปจฺจุทฺธรามิ"  แปลว่า  "เรายกเลิกสังฆาฏิผืนนี้"  ยกเลิกบริขารอื่นพึงเปลี่ยนตามชื่อ.
       
คำพินทุ  ว่า
"อม  พินฺทุกปฺป  กโรมิ"  แปลว่า  "เราทำหมายด้วยจุดนี้."

บริขารที่จะละอธิษฐานไปเพราะเหตุ  ๙  ประการ  คือ
๑.  ให้แก่ผู้อื่นเสีย.
๒.  ถูกโจรแย่งชิงเอาไปเสีย.
๓.  มิตรถือเอาด้วยวิสาสะ.
๔.  เจ้าของหันไปเพื่อความเป็นคนเลว.
๕.  เจ้าของลาสิกขา.
๖.  เจ้าของทำกาลกิริยา.
๗.  เพศกลับ.
๘.  ถอนเสียจากอธิษฐาน.
๙.  เป็นช่องทะลุ  [เฉพาะในไตรจีวรและบาตร].

ในเหตุ ๙  ประการนั้น  เหตุที่ควรเป็นประมาณมี  ๕  คือ
๑.  ให้แก่ผู้อื่น.
๒.  ถูกโจรชิงเอาไปหรือลักเอาไป.
๓.  มิตรถือเอาด้วยวิสาสะ.
๔.  ถอนเสียจากอธิษฐาน.
๕.  เป็นช่องทะลุ.
        [ช่องทะลุไตรจีวรนั้น  ท่านวาเท่ากลังเล็บก้อย  ทะลุโหว่ทีเดียว  ไม่มีเส้นด้ายในระหว่าง  นับแต่ริมผ้าเข้าไป  ด้ายยาวคืบหนึ่งด้านกว้างแห่งผ้านุ่ง ๔  นิ้ว  แห่งผ้าห่ม  ๘  นิ้ว  ช่องทะลุในบาตรนั้นท่านว่าพอเม็ดข้าวฟ่างลอดได้].

วิกัป
        คำวิกัปต่อหน้า
ในหัตถบาส  จีวรผืนเดียวว่า  "อิม  จีวร  ตุยฺหวิกปฺเปมิ"  แปลว่า  "ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน"  จีวรหลายผืนว่า"อิมานิ  จีวรานิ"  แทน  "อม จีวร"  บาตรใบเดียวว่า  "อิม  ปตฺตตุยฺห  วิกปฺเปมิ"  บาตรหลายใบว่า  "อิเม  ปตฺเต"  แทน  "อิม ปตฺต"  นอกหัตถบาสว่า  "เอต"  แทน  "อิม"  ว่า  "เอตานิ"  แทน"อิมานิ"  ว่า  "เอเต"  แทน  "อิเม"  ถ้าวิกัปแก่ภิกษุผู้แก่ว่าใช้บทว่า  "อายสฺมโต"  แทน  "ตุยฺห"  ก็ควร.
        คำวิกัปลับหลัง 
ในหัตถบาส  จีวรผืนเดียวว่า  "อม  จีวรอิตฺถนฺนามสฺส  วิกปฺเปมิ"  แปลว่า  "ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่สหธรรมิกชื่อนี้"  ถ้าวิกัปแก่ภิกษุต่างว่าชื่ออุตระ  พึงออกชื่อว่า"อุตฺตรสฺส  ภิกฺขุโน"  หรือ   "อายสฺมโต  อุตฺตรสฺส"  แทน"อิตฺถนฺนามสฺส"  โดยสมควรแก่ผู้รับ   อ่อนกว่าหรือแก่กว่า  วิกัปจีวรหลายผืน   วิกัปบาตรใบเดียว  หลายใบ  ในหัตถบาส นอกหัตถบาส  พึงเทียบตามแบบวิกัปต่อหน้า.

คำถอนวิกัปจีวรในหัตถบาสว่า
        "อิม  จีวร  มยฺห  สนฺตก ปริภุญฺช  วา  วิสชฺเชหิ  วา  ยถาปจฺจยวา  กโรหิ"  แปลว่า  "จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า  ท่านจงใช้สอยก็ตามจงสละก็ตาม  จงทำตามปัจจัยก็ตาม."

ถ้าผู้ถอนอ่อนกว่าว่า
        "อิม  จีวร  มยฺห  สนฺตก  ปริภุญฺชถ  วา  วิสชฺเชถ  วา  ยถาปจฺจย วา  กโรถ"  [แปลความเดียวกัน].
        บาตรที่วิกัปแล้ว  ไม่มีกำหนดให้ถอนก่อนจึงบริโภค  พึงใช้เป็นของวิกัปเถิด แต่เมื่อจะอธิษฐาน พึงให้ถอนก่อน

กัณฑ์ที่ ๒๒
ปกิณกะ
มหาปเทศ  ๔
คือ คือหลักอ้างอิงหลักใหญ่ ที่พระพุทธเจ้า ทรงวางไว้ เพื่อให้ภิกษุพิจารณาตัดสินที่ไม่มีในบัญญัติติ ว่าควรหรือไม่ควร

มหาปเทศข้อสำหรับอ้างใหญ่มี  ๔  คือ
๑.  สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นอกัปปิยะ  ขัดกันต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร.
๒.  สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ  ขัด  กันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร.
๓.  สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นอกัปปิยะ  ขัดกันต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร.
๔.  สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ  ขัด   กันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร.
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ข้อที่ทรงอนุญาตเป็นพิเศษแท้ ๆ  นั้นมี  ๕  คือ
๑.  ทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธ  [ยามหาวิกัฏ  ๔  มูตร  คูถ  เถ้า (ไฟ)ดิน] 
 - ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้ถูกงูกัด  แม้ไม่ได้รับประเคน  ฉันก็ได้ไม่เป็นอาบัติ  น้ำข้าวใสที่เข้าใจว่าน้ำข้าวต้มไม่มีกาก  และน้ำเนื้อต้มที่ไม่มีกากเหมือนกัน  
- ทรงอนุญาตแก่ภิกษุไข้  ที่จำจะต้องได้อาหารในเวลาวิกาล.
๒.  ทรงอนุญาตเฉพาะบุคคล   [เช่นทรงอนุญาตอาหารที่เรออ้วกถึง ลำคอแล้วกลับเข้าไป  ไม่เป็นอาบัติเพราะวิกาล     โภชนสิกขาบท].
๓.  ทรงอนุญาตเฉพาะกาล   [เช่นทรงอนุญาตให้เจียวมันเปลว  แต่ ต้องทำให้เสร็จในกาล].     
๔.  ทรงอนุญาตเฉพาะถิ่น  [เช่นทรงอนุญาตให้อุปสมบทด้วยสงฆ์มี องค์  ๕  ให้อาบน้ำได้เป็นนิตย์  ให้ใช้รองเท้า  ๔  ชั้นของใหม่ได้  ในปัจจันตชนบท].
๕.  ทรงอนุญาตเฉพาะยา   [เช่นทรงอนุญาตน้ำมันเจือน้ำเมาไม่มาก จนถึงสีกลิ่นรสปรากฏ ให้ดื่มกินได้  และทรงอนุญาตให้ใช้  กระเทียมเข้ายาได้].

ขออารักขา
        ปกติของภิกษุไม่พอใจเป็นถ้อยเป็นความกับใครๆ  ไม่แส่หาสาเหตุเล็กน้อยเป็นเครื่องปลูกคดีขึ้น พอจะอดได้นิ่งได้  ก็อดก็นิ่งแต่เมื่อพึงคราวจำเป็นคือถูกคนอื่นฟ้อง ก็เป็นจำเลยว่าความเพื่อเปลื้องตนได้ 
๑. เมื่อถูกคนอื่นข่มเหงเหลืออกเหลือทน  ก็บอกขออารักขา  แม้เจาะจงชื่อก็ได้ 
๒. เมื่อถูกทำร้าย  แต่ไม่รู้ว่าใครทำ จะบอกให้ถ้อยคำไว้แก่เจ้าหน้าที่ก็ได้   
๓. ของหายแต่ไม่รู้ว่าใครลักจะบอกตราสินไว้แก่เขาก็ได้  ไม่มีโทษในเพราะเหตุเหล่านี้.

วิบัติ  ๔
คือความเสียหายที่เกิดขึ้น

ในบาลีจำแนกวิบัติของภิกษุไว้  ๔ คือ
๑.  สีลวิบัติ                ความเสียแห่งศีล.
๒.  อาจารวิบัติ            ความเสียมารยาท.
๓.  ทิฏฐิวิบัติ              ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย.
๔.  อาชีววิบัติ  ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ.

อโคจร
                             บุคคลหรือสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปสู่  เรียกอโคจรมี ๖  คือ
๑.  หญิงแพศยา.
๒.  หญิงหม้าย.
๓.  สาวเทื้อ  [หมายเอาหญิงโสดหาสามีมิได้  อยู่ลำพักตน].
๔.  ภิกษุณี.
๕.  บัณเฑาะก์.
๖.  ร้านสุรา  [โรงกลั่นสุรา  หรือร้านฝิ่นโรฝิ่น  สงเคราะห์เข้าด้วย].
          ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล  ถึงพร้อมด้วยมารยาท  และโคจร  ย่อมประดับพระศาสนาให้รุ่งเรืองแล  
        




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น