วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

(๑)ตำรานักธรรมโท ฉบับที่ ๓ วิชากระทู้ธรรมและธรรมวิภาค 19-10-58


โหลดหนังสือ 
วิชา เรียงความแก้กระทู้ นักธรรมโท

วิชา การแต่งกระทู้นี้  ก็คือการแต่งเรียงความธรรมนั่นเอง  โดยอธิบายหัวข้อธรรม(สุภาษิตที่กำหนดให้  และหาสุภาษิตอื่นมารับรองกับเนื้อความที่ตนได้อธิบายมานั้น  ให้สัมพันธ์กัน  โดยในชั้นนี้กำหนดให้หาสุภาษิตอื่นมาเชื่อม    สุภาษิต  และให้แต่งตั้งแต่    หน้ากระดาษ (เว้นบรรทัด)ขึ้นไป
          ในการแต่งกระทู้นั้น  ให้นักเรียนตีความหมายของสุภาษิตเสียก่อน  ว่าหมายถึงอะไร  สรุปใจความโดยย่อว่าอย่างไร  ต่อมาให้วางแนวทางว่าจะอธิบายไปในทำนองใด  จะสามารถเชื่อมกับสุภาษิตที่เตรียมไว้ได้หรือไม่  และคำสรุปลงท้ายจะเน้นตรงจุดไหน  เมื่อหาข้อสรุปได้ดังนี้แล้ว  จึงค่อยลงมือแต่ง  การแต่งนั้นควรบรรยายในทำนองที่จะทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังมองเห็นภาพพจน์และเชื่อมตามนั้น  โดยการเอาสุภาษิตมารับรองคำพูดที่ได้อธิบายมานั้น  ให้มีหลักฐานน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น  และอย่าลืมใส่ที่มาของสุภาษิตนั้นด้วย
          การแต่งที่ถูกต้องตามลักษณะนั้น    สนามหลวงได้กำหนดไว้ในระเบียบการตรวจมี    ลักษณะด้วยกัน นักเรียนจะต้องแต่งให้ถูกต้องตามข้อระเบียบนี้มากที่สุด  คือ
            . แต่งให้ได้ตามกำหนด  (  หน้ากระดาษ(เว้นบรรทัด)ขึ้นไป)
            . อ้างสุภาษิตได้ตามกฎ (คือ  นำมาเชื่อม    สุภาษิตขึ้นไป) และบอกที่มาได้ถูกต้อง
            . เชื่อมกระทู้ได้ดี
            . อธิบายความสมกับกระทู้ที่ได้ตั้งเอาไว้
            . ใช้สำนวนเรียบง่าย  ภาษาสละสลวย
            . ใช้ตัวสะกดการันต์ได้ถูกต้องเป็นส่วนมาก
            . สะอาด  ไม่เปรอะเปื้อน
          เมื่อจะลงมือแต่งนั้น  ให้เตรียมสุภาษิตที่จะเชื่อมไว้ก่อน  ครั้นอธิบายไปได้พอสมควรแล้ว  จึงอธิบายโน้มน้าวเข้าหาสุภาษิตที่จะเชื่อม  เมื่อทำได้เช่นนี้จะทำให้การเชื่อมกระทู้นี้สัมพันธ์กันได้ดี  เพื่อให้ดูสวยงามและอ่านง่าย การแต่งให้ถูกต้องตามลักษณะย่อหน้าวรรคตอนนั้น ขอให้ดูโครงสร้างรูปแบบการแต่งดังต่อไปนี้ฯ

 

แนวการให้คะแนน วิชากระทู้ธรรม  นักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี

() แต่งได้ตามกฏ  ( เขียนให้ได้ความยาว  ๒ หน้ากระดาษขึ้นไป  เว้นบรรทัด)
() อ้างกระทู้ได้ตามกฏ  (กระทู้รับ ๑ ข้อ  และบอกชื่อที่มาของกระทู้รับด้วย)
() เชื่อมกระทู้ได้ดี  (อธิบายกระทู้ตั้งกับกระทู้รับ ให้มีเนื้อความสัมพันธ์กันสมกับที่ยกกระทู้รับมาอ้าง)
() อธิบายความสมกับกระทู้ที่ตั้งไว้  (อธิบายไม่หลุดประเด็นของกระทู้ตั้ง)
() ใช้สำนวนสุภาพเรียบร้อย
() สะกดคำ/การันต์ ถูกเป็นส่วนมาก
() สะอาดไม่เปรอะเปื้อน



แบบฟอร์มการเขียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม  ธรรมศึกษาชั้นโท

เลขที่…….

ประโยคนักธรรมชั้น………

วิชา……………………………….

สอบในสนามหลวง

วันที่…….เดือน…………………...……………

 ooooooooooooooooo
ooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
บัดนี้จักได้บรรยายขยายความตามธรรมภาษิตที่ได้ลิขิตไว้  ณ  เบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและประพฤติปฏิบัติสืบไป
            อธิบายความว่า (หรือใช้ อธิบายว่า,ดำเนินความว่า ก็ได้) .................................
.....................................................................................................................................................
....................................................นี้สมด้วยภาษิตที่มาใน...............................ความว่า
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
            อธิบายความว่า (หรือใช้ อธิบายว่า,ดำเนินความว่า ก็ได้)..................................
.....................................................................................................................................................
....................................................นี้สมด้วยภาษิตที่มาใน................................ความว่า
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
อธิบายความว่า (หรือใช้ อธิบายว่า,ดำเนินความว่า ก็ได้).................................
....................................................................................................................................................
            สรุปความว่า (หรือใช้ รวมความว่า,ประมวลความว่า ก็ได้)................................
.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
.สมด้วยภาษิตที่ได้ลิขิตไว้  ณ  เบื้องต้นว่า
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
มีอรรถาธิบายดังได้พรรณามาด้วยประการฉะนี้
---------------------------------------------------------------------------------
**(ต้องเขียนให้ได้อย่างน้อย ๓ หน้าขึ้นไป)
** (ต้องมีกระทู้มารับ ๒ กระทู้)

ส่วนต่างๆ ของโครงร่างกระทู้                 . การเขียนหัวกระดาษ             . กระทู้ตั้ง      
                                                . คำนำและเนื้อเรื่องและ           ๔. กระทู้รับ
                                                ๕. สรุปความกระทู้                  ๖. กระทู้ตั้ง

 

 


ตัวอย่าง (๑) รูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม  (ชั้นโท)

ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ                        ยาทิสญฺจูปเสวติ                                    
                             โสปิ ตาทิสโก โหติ                       สหวาโส หิ ตาทิโส                                 
                                   คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็น                                       
                                   คนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น                                             

                      ณ บัดนี้จักได้บรรยายขยายความตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและประพฤติปฏิบัติสืบต่อไป                                                                     
                ดำเนินความว่า คำว่า คบ คือการไปมาหาสู่รักใคร่ชอบพอกัน สมคบ คือร่วมคบคิดกัน มีความคิดอ่านไปในทางเดียวกันส่วนคนพาล คือคนชั่วร้ายคนโง่คนเกเร บัณฑิตคือผู้รู้ ผู้มีปัญญา นักปราชญ์สุภาษิตนี้สอนให้เลือกคบคนซึ่งก็มีให้เลือกอยู่ ๒ ประเภทคือคนพาลและบัณฑิตในการคบคนนี้มีคำสอนให้จำง่ายๆว่าคบคนพาล พาลพาไปหาผิดคบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล เพราะเมื่อคบคนใด จะเป็นคนดีหรือชั่วก็ตาม ผู้คบก็ต้องเป็นคนเช่นนั้นคบคนมีศีลก็มีศีล คบคนมีศีลก็มีศีลอยู่กับบัณฑิตปลอดภัย อยู่กับคนพาลอันตราย ไม่ปลอดภัย เช่นเดียวกับ คนที่เอาใบไม้ห่อปลาเน่า ใบไม้ก็มีกลิ่นปลาเน่าติดอยู่ ส่วนคนที่เอาใบไม้ ห่อเครื่องหอม ใบไม้นั้นก็ย่อมซาบซ่านไปด้วยกลิ่นหอมเช่นกัน ฉันใดเปรียบได้กับคนที่คบหาสมาคมบัณฑิตคนที่คบบัณฑิตนั้น ก็พลอยเป็นบัณฑิตด้วย เพราะฉะนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้บุคคลเว้นคบคนชั่วเป็นมิตร และให้คบแต่บัณฑิต หรือสัตบุรุษเท่านั้น สมดังนัยพุทธศาสนสุภาษิตที่มีมาใน ขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า
                                                                                                           
                                           ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา                     ภเชยฺยุตฺตมตปุคฺคเล                               
                                โอวาเท จสฺส ติฏฺเสยฺย                     ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ                                
                                ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่                                        
                                บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน                                   
                 
                      อธิบายความว่า พุทธศาสนสุภาษิตนี้ท่านแนะนำให้เว้นคบคนชั่วเป็นมิตรเพราะปกติคนชั่วหรือคนพาลเมื่อจะคิด จะทำ จะพูดสิ่งใดก็ประกอบไปด้วยอกุศลมีความเห็นผิดจากธรรมนองคลองธรรม คนพาลเป็นบุคคลที่น่าสงสารที่สุดเพราะเขาได้สูญเสียประโยชน์ทั้ง ๒ คือประโยชน์ที่จะพึงได้รับในชาตินี้ และประโยชน์ที่พึงจะได้รับในชาติหน้าฉะนั้นบุคคลควรเลือกคบแต่บุคคลที่สูงสุดคือมิตรที่เป็นบัณฑิตเท่านั้น เพราะบัณฑิตหรือสัตบุรุษนั้นเป็นผู้รู้รอบ ตั้งอยู่ในศีลธรรมและมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ปกติท่านจะสั่งสอนอบรมศิษย์ให้พูด ทำ คิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ฉะนั้นเมื่อหวังความสุขความ ความเจริญ เมื่อท่านให้โอวาทหรือบรรยายธรรมก็ให้ตั้งใจฟัง แม้ว่าจะจดจำธรรมนั้นได้ เพียงหัวข้อย่อๆแต่ถ้าเข้าใจความหมายได้ดี ก็สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้ สมดังนัย พุทธศาสนสุภาษิตที่มีมาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า                                                 

                                           โย จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน                          ธมฺมํ กาเยน ปสฺสติ                                
                                ส เว ธมฺมสโร โหติ                         โย ธมฺมํ นปฺปมชฺชติ                              
                                ผ้ใดฟังธรรมแม้แต่น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย
                          ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าทรงธรรม
                                           
                อธิบายความว่า ผู้ฟังธรรมแม้น้อยย่อมเห็นธรรมด้วยกาย หมายความว่าแม้จะรู้ธรรมที่ท่านแสดงไม่มาก คือรู้เพียงข้อใดข้อหนึ่งเพียงย่อๆ ก็สามารถเข้าใจในธรรมนั้นได้อย่างลึกซึ้ง วินิจฉัยได้ถูกต้องตามเนื้อหาแห่งธรรมนั้น และตั้งใจปฏิบัติ จนได้รับรสแห่งพระสัทธรรม ผู้ไม่ประมาทธรรมนั้น หมายถึงผู้ที่มีความสำรวมกายวาจาใจอยู่เสมอและรักษากุศลที่มีอยู่ไม่ให้เสื่อมไปขณะเดียวกันก็ระวังไม่ให้อกุศลธรรมเข้ามาย้อมใจให้เศร้าหมองได้ ส่วนผู้ทรงธรรมหมายถึงผู้สำรวมกาย วาจา ใจ ไม่ประมาท และถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา มีความเพียรเพื่อจะเรียนรู้พระสัทธรรม จนสามารถที่จะรู้รสแห่งพระธรรมนั้นได้อย่างแตกฉานด้วยตนเองและสามารถที่จะไปถึงเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งมวล ที่เรียกว่านิพพานได้ 
                สรุปความว่า คบ ได้แก่การรู้จักสนิทสนมกันการอยู่ร่วมกัน ส่วนคำว่า สมคบได้แก่การร่วมคบคิดกัน มีความคิดความอ่านไปในแนวทางเดียวกัน การสมคบคน มีส่วนสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต เพราะเมื่อคบคนพาล ย่อมเป็นคนพาล คบบัณฑิตก็พลอยย่อมเป็นบัณฑิตไปด้วย ดังนั้นบุคคลผู้ที่แสวงหาความสุขความเจริญ จึงควรระมัดระวังในการคบหา โดยเลือกคบเฉพาะคนดีที่เรียกว่าสัตบุรุษ หรือบัณฑิตเท่านั้น เพราะผู้คบหรือสมคบนั้นก็จะเป็นมงคลแก่ตนเองด้วย สมดังนัยพุทธศาสนสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้เป็นนิกเขปบท ณ เบื้องต้น ว่า            
  
                                                ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ        ยาทิสญฺจูปเสวติ                                                       
                                    โสปิ ตาทิสโก โหติ       สหวาโส หิ ตาทิโส                                                    
                                   คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคน
                                   เช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น                                                      


ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้       



ตัวอย่าง (๒) รูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม (ชั้นโท)

โย จ  วสฺสสตํ  ชีเว               ทุปฺปญฺโญ   อสมาหิโต
เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย             ปญฺญวนฺตสฺส  ฌายิโน
ผู้ใดมีปัญญาทราม  มีใจไม่มั่นคง  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ   มีชีวิตอยู่สิ้นวันเดียว  ประเสริฐกว่า.

            ณ บัดนี้จักได้บรรยายขยายความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้  ณ  เบื้องต้น  พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนำไปปฏิบัติสืบต่อไป
            คำว่า ผู้มีปัญญาทราม คือ ผู้โง่เขลา  มีใจประกอบด้วยอวิชชา  ไม่รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่รู้ในหลักของชีวิตว่าเป็นตามหลักของไตรลักษณ์  คือ หลงเข้าใจว่า ชีวิต และสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นของเที่ยง มีความเป็นอยู่อย่างจีรังยั่งยืน  ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ทำให้มีความยึดถือในเรื่องของตัวตน หลงยึดมั่นในชีวิตและสิ่งทั้งปวงว่าเป็นของเรา  เมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพไปไม่เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ  จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจ  ไม่สามารถยอมรับถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้อีกประการหนึ่ง  คนโง่เขลานั้น มีลักษณะประมาทในการทำดี  มีแต่ประกอบกรรมที่ยังตนและคนอื่นให้เดือดร้อน ต่างจากคนที่มีปัญญา  ซึ่งเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต มองเห็นการทำความดี มีผลเป็นความสุข  หลีกเลี่ยงการทำชั่วทั้งปวง  ดังนั้นบัณฑิตจึงใช้ชีวิตต่างจากคนที่ไม่มีปัญญาเพราะเล็งเห็นผลที่เกิดขึ้น  สมดังพุทธภาษิตที่มาใน สังยุตตนิกาย  สคาถวรรค ว่า

ยาทิสํ  วปเต  พีชํ       ตาทิสํ  ลภเต  ผลํ
กลฺยาณการี  กลฺยาณํ             ปาปการี  จ  ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด  ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี   ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว.

            คำว่า " ผล " ในที่นี้คือ  สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำหรืออะไรก็ตามที่ต่อเนื่องมาจากเหตุ ท่านเปรียบเสมือนกับชาวนา  เมื่อหว่านข้าวลงในนา ย่อมได้รับผลคือ  ข้าวนั่นเอง  หรือชาวสวนที่ปลูกผลไม้ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง  ลำใยทุเรียน  กล้วย  ผลที่ได้ก็จะเป็นมะม่วง  ลำใย  ทุเรียน  กล้วย ตามต้นที่ปลูก  อุปมานี้ฉันใด  การทำกรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใครทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี  ใครทำกรรมชั่ว  ย่อมได้รับผลชั่ว  ผลของการกระทำที่เกิดขึ้นนั้นก็มาจากเหตุแห่งการกระทำที่ตนได้ทำแล้วนั่นเอง  ดังนั้นบุคคลผู้รู้ทั้งหลายจึงยินดีในการบำเพ็ญความดี  ยินดีที่จะฝึกตนอย่างคนไม่ประมาท คอยประคับประคองจิตของตนไม่ให้ตกไปในอำนาจของบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย  สมดังพุทธภาษิตที่มาในขุททกนิกาย  ธรรมบทว่า

อปฺปมาทรตา  โหถ       สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา  อุทฺธรถตฺตานํ   ปงฺเก   สนฺโนว   กุญฺชโร
ท่านทั้งหลาย  จงยินดีในความไม่ประมาท  คอยรักษาจิต
ของตนจงถอนตนจากหล่ม  เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้น  ฉะนั้น.
            ความว่า ท่านทั้งหลาย  จงยินดีในความไม่ประมาท ในที่นี้ท่านหมายถึง การดำรงชีวิตอยู่อย่างรอบคอบมีสติคอยระวังไม่ให้จิตอยู่อย่างปราศจากสติ  ไม่ประมาทในการละกายทุจริต  ประพฤติกายสุจริต เป็นต้น  นอกจากนี้พระพุทธองค์ทรงสอนไม่ให้ประกอบความประมาท  คือไม่ให้หลงไปในหลุมพรางของอำนาจความยินดีในกาม คือ ไม่ให้ปล่อยใจไปตามอารมณ์ที่ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ  เพราะถ้าไม่สามารถควบคุมความต้องการทางอารมณ์ได้ย่อมก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์  ดังนั้นผู้มีปัญญาทั้งหลายจึงรู้จักเพ่งพินิจเห็นโทษของกามคุณ  สิ่งยั่วยุทั้งหลาย ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เป็นต้น ตั้งจิตอยู่ในกุศลธรรม  ย่อมได้รับความสุขตามที่ตนเองปรารถนา
            สรุปความว่า  คนไม่มีปัญญา ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างผู้ประมาท  มีชีวิตอยู่เพื่อทำความเดือดร้อนฝ่ายเดียวยิ่งมีชีวิตอยู่นาน ยิ่งสร้างบาปอกุศลกรรมไว้มาก  ซึ่งต่างจากผู้มีปัญญา  แม้อยู่เพียงวันเดียว  ก็ประเสริฐกว่าคนไม่มีปัญญา  เพราะคนมีปัญญา  มีชีวิตอยู่อย่างผู้ไม่ประมาท รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร  ประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติ  เว้นสิ่งที่ควรเว้น เป็นผู้เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง   บำเพ็ญคุณงามความดี  ย่อมมีชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์สุขตนและคนอื่น  สมดังสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้  ณ  เบื้องต้นว่า

โย จ วสฺสสตํ  ชีเว       ทุปฺปญฺโญ  อสมาหิโต
เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย   ปญฺญวนฺตสฺส  ฌายิโน.
ผู้ใดมีปัญญาทราม  มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ  มีชีวิตอยู่วันเดียว  ประเสริฐกว่า.

ดังพรรณนามาฉะนี้แล ฯ




พุทธศาสนสุภาษิต

น  ปาปชนสํเสวี                     อจฺจนฺตสุขเมธติ
                   โคธากุลํ  กกณฺฏาว                  กลึ  ปาเปติ  อตฺตานํ
ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้,
เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น
                             ที่มา: ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต

                   ปาปมิตฺเต  วิวชฺเชตฺวา    ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล
                   โอวาเท  จสฺส  ติฏฺเฐยฺย   ปตฺเถนฺโต  อจลํ  สุขํ
ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย
คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
                             ที่มา: ขุททกนิกาย  เถรคาถา

                   ปูติมจฺฉํ  กุสคฺเคน                   โย  นโร  อุปนยฺหติ
                   กุสาปิ  ปูติ  วายนฺติ                 เอวํ  พาลูปเสวนา
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด,
การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น
                             ที่มา: ขุททกนิกาย ชาดก มหาวรรค

                   ยาทิสํ  กุรุเต  มิตฺตํ                  ยาทิสญฺจูปเสวติ,
                   โสปิ  ตาทิสโก  โหติ                 สหวาโส  หิ  ตาทิโส
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด,
เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
                             ที่มา: ขุททกนิกาย ชาดก วีสนิบาต

อปฺปสฺสุตายํ  ปุริโส                  พลิวทฺโทว  ชีรติ
                   มํสานิ  ตสฺส  วฑฺฒนฺติ              ปญฺญา  ตสฺส  น  วฑฺฒติ
คนผู้สดับน้อยนี้  ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
                             ที่มา: ขุททกนิกาย  ธรรมบท

                   ชีวเตวาปิ  สปฺปญฺโญ                อปิ  วิตฺตปริกฺขยา
                   ปญฺญาย  จ  อลาเภน               วิตฺตวาปิ  น  ชีวติ
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
                             ที่มา: ขุททกนิกาย  เถรคาถา

                   ปญฺญวา  พุทฺธิสมฺปนฺโน             วิธานวิธิโกวิโท
                   กาลญฺญู  สมยญฺญู  จ               ส  ราชวสตึ  วเส
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน
รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้
                             ที่มา: ขุททกนิกาย ชาดก มหาวรรค
ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโ                 อปิ วิตุตปริกฺขย
          าย จ อลาเภน                 วิตฺตาปิ น วีวติ
ถึงสิ้นทรัพย์  ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้  แต่อัปปัญญา  แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้.
ที่มา: (มหากัปปินเถรคาถา) ขุททกนิกาย  เถรคาถา

          ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส            หเรยฺย ปาณินา วิสํ
                   นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ                 นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต      
ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล  ก็พึงนำยาพิษไป ด้วยฝ่ามือที่ยาพิษซึมเข้าไปไม่ได้ ฉันใด
บาปย่อมไม่ทำ แก่คนผู้ไม่ทำ ฉันนั้น.
ที่มา: (พุทธภาษิตขุททกนิกาย  ธรรมบทคาถา

                     หิ  ปาปํ  กตํ  กมฺมํ        สชฺชุขีรํว  มุจฺจติ
                   ฑหนฺตํ  พาลมนฺเวติ            ภสฺมาจฺฉนฺโนว  ปาวโก
บาปกรรมที่ทำแล้วย่อมไม่เปลี่ยนแปลง  เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น
บาปย่อมตามเผาเขลา  เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้.
ที่มา: (พุทธภาษิตขุททกนิกาย  ธรรมบทคาถา

          เอวํ  กิจฺฉาภโต  โปโส           ปิตุ  อปริจารโก
                   ปิตริ  มิจฺฉา  จริตฺวาน          นิรยํ  โส  อุปปชฺชติ
ผู้ที่มารดา บิดา  เลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้  ไม่บำรุงมารดา
บิดาประพฤติผิดในมารดา บิดา  ย่อมเข้าถึงนรก.
ที่มา: (โสณโพธิสัตว์ภาษิตขุททกนิกาย  ชาดก  สัตตตินิบาต

                   พฺรหฺมาติ  มาตาปิตโร           ปุพฺพาจริยาติ  วุจฺจเร
                   อาหุเนยฺยา    ปุตฺตานํ         ปชาย  อนุกมฺปกา
มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหม  เป็นบุรพาจารย์
เป็นที่นับถือของบุตรและเป็นผู้อนุเคราะห์ บุตร.
ที่มา: (โสณโพธิสัตว์ภาษิตขุททกนิกาย  ชาดก  สัตตตินิบาต

          มธฺวา  ตี  พาโล        ยาว  ปาป    ปจฺจติ
                   ยทา    ปจฺจตี  ปาปํ       อถ  ทุกฺขํ  นิคจฺฉติ
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ไห้ผล  คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน
แต่บาป ให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบ   ทุกข์เมื่อนั้น.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย  ธรรมปทคาถา

                   โย  จตฺตานํ  สมุกฺกํเส    ปเร    อวชานติ
                   นิหิโน  เสน  มาเนน       ตํ    วสโล  อิติ
ผู้ใดยกย่องตนและดูหมิ่นผู้อื่น  เป็นคนเลวเพราะการถือตัวเอง  พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว.
ที่มา: (พุทธภาษิต) ขุททกนิกาย  สุตตนิบาต

          กลฺยาณเมว  มฺุเจยฺย          น  หิ  มฺุเจยฺย  ปาปิปํ
                   โมกฺโข  กลฺยาณิยา  สาธุ        มุตฺวา  ตปฺปติ  ปาปิกํ
พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น  ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย  การเปล่งวาจา
งามยังประโยชน์สำเร็จ คนเปล่ง    วาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.
ที่มา: (พุทธภาษิตขุททกนิกาย  ชาดก  เอกนิบาต

                   อปฺปเกนปิ                   ปาภเฏน  วิจกฺขโณ
                   สมฺฏฐาเปติ  อตฺตานํ          อณุ  อคุคึว  สนฺธมํ
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด  ย่อมตั้งตนได้ด้วยทุนแม้น้อย  เหมือนคน ก่อไฟกองน้อยขึ้น  ฉะนั้น.
ที่มา: (พุทธภาษิตขุททกนิกาย  ชาดก  เอกนิบาต

          อโมฆํ  ทิวสํ  กยิรา         อปฺเปน  พหุเกน  วา
                   ยํ  ยํ  วิวหเต  รตฺติ        ตทูนนฺตสฺส  ชีวิตํ
ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก 
เพราะวันคืน ผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น  ย่อมพร่องจากประโยชน์.
ที่มา: (สิริมัณฑเถรภาษิตขุททกนิกาย  เถรคาถา

                   อาทิ  สีลํ  ปติฏฺฐา          กลฺยาณฺจ  มตุกํ
                   ปมุขํ  สพฺพธมฺมานํ           ตสฺมา  สีลํ  วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น  เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย   
เป็นประมุขของกัลยาณธรรม ทั้งปวง  เพราะฉะนั้น  ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์.
ที่มา: (สีวลเถรภาษิตขุททกนิกาย  เถรคาถา

          ปูติมจฺฉํ  กุสคฺเคน           โย  นโร  อุปนยฺหติ
                   กุสาปิ  ปูติ  วายนฺติ       เอวํ  พาลูปเสวนา
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคน  แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วย ฉันใด
การคบคนพาลก็ฉันนั้น.
ที่มา: (ราชธีตาภาษิตขุททกนิกาย  ชาดก  มหานิบาต

                   อุทพินฺทุนิปาเตน                     อุทกุมฺโภปิ  ปูรติ
                   อาปูรติ  พาโล  ปาปสฺส            โถกํ  โถํปิ  อาจินํ
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำ  คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ก็ย่อมเต็มด้วยบาป ฉันนั้น.
ที่มา: (พุทธภาษิตขุททกนิกาย  ธรรมปทคาถา

          ยสฺส  รุกฺขสฺส  ฉายาย              นิสีเทยฺย  สเยยฺย  วา
                     ตสฺส  สขํ  ภฺุเชยฺย             มิตฺตทุพฺโภ  หิ  ปาปโก
บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด  ไม่ควรหักกิ่งไม้นั้น
เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม.
ที่มา: (โพธิสัตว์ภาษิตขุททกนิกาย ชาดก มหานิบาต

                   สเจ  ภาเยถ  ทุกฺขสฺส               สเจ  โว  ทุกฺขมปฺปิยํ
                   มากตฺถ  ปาปกํ  กมฺมํ               อาวี  วา  ยทิวา  รโห
ถ้าท่านกลัวทุกข์  ถ้าท่านไม่รักทุกข์  ก็อย่าทำบาปทั้งในที่แจ้ง  ทั้งในที่ลับ.
ที่มา: (พุทธภาษิตขุททกนิกาย  อุทาน
วิชา ธรรมวิภาค นักธรรมโท
ทุกะ  หมวด 
อริยบุคคล ๒
พระเสขะ                   พระผู้ยังต้องศึกษา
พระอเสขะ                 พระผู้ไม่ต้องศึกษา
อธิบาย : พระอริยบุคคล  ๗  เบื้องต้น  ชื่อว่าพระเสขะ  เพราะเป็นผู้ยังต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไป.  พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล ชื่อว่าพระอเสขะ เพราะเสร็จกิจอันจะต้องทำแล้ว  [จงดูอริยบุคคล  ๘]

กัมมัฏฐาน  ๒
สมถกัมมัฏฐาน             กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ
วิปัสสนากัมมัฏฐาน       กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา.
อธิบาย : กัมมัฏฐานเนื่องด้วยบริกรรม   ไม่เกี่ยวกับปัญญาจัดเป็นสมถกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเนื่องด้วยทัสสนะทางใจ  ในคติของธรรมดา  ปรารภสภาวธรรมและสามัญญลักษณะ จัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ภาวนา ๒ ก็เรียก

กาม  ๒
                                       กิเลสกาม        กิเลสเป็นเหตุใคร่
                                      วัตถุกาม          พัสดุอันน่าใคร่.
อธิบาย : กิเลสกาม ได้แก่กิเลสให้ใคร่ คือ ราคะ โลภะอิจฉา คือความอยากได้ อิสสา คือความริษยาหรือความหึง  อรติความไม่ยินดีด้วย อสันตุฏฐิ ความไม่สันโดษ เป็นอาทิ วัตถุกามได้แก่กามคุณ ๕ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ  อันเป็นที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ

ทิฏฐิ   ๒
                                      สัสสตทิฏฐิ        ความเห็นว่าเที่ยง
                                      อุจเฉททิฏฐิ       ความเห็นว่าขาดศูนย์.
        อธิบาย: ทิฏฐิ  แปลว่า  ความเห็น  ใช้เป็นคำกลางก็มี  จะให้รู้ว่าดีหรือชั่ว  เติมคำหมายต่างเข้าเช่น"สมฺมาทิฏฺิ"  ความเห็นชอบ  "มิจฺฉาทิฏฺิ" ความเห็นผิด "ทิฏฺิสมฺปนฺโน" ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ "ทิฏฺิวิปนฺโน" วิบัติด้วยทิฏฐิ.  แต่โดยมากใช้หมายความช้างเห็นผิด  เช่นทิฏฐิ  ๒  นี้.  ความเห็นว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรศูนย์  แม้ นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 3คนและสัตว์ตายแล้ว  ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป   ส่วนมนัสที่เรียก   ในภาษาสันสกฤตว่า  "อาตฺมนฺ"  เรียกในภาษมคธว่า  "อัตตา"  ก็มี"ชีโว"  ก็มี  เรียกในภาษาไทยว่า "เจตภูต"  เป็นธรรมชาติไม่ศูนย์
ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป   จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ.  ความเห็นปฏิเสธภาวะอย่างนั้น   ถือว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนั้นแล้วเป็น ขาดศูนย์  จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิ.

เทสนา  ๒
                                      ปุคคลาธิฏฐานา  มีบุคคลเป็นที่ตั้ง
                                      ธัมมาธิฏฐานา              มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
อธิบาย: เทสนาแสดงโดยสมมติ   กล่าวถึงบุคคลเป็นตัวอย่างเรียกปุคคลาธิฏฐานา.  เทสนาแสดงโดยสภาวะ   ยกธรรมเป็นที่ตั้งเรียกธัมมาธิฏฐานา.  อุทาหรณ์  แสดงว่า  บุคคลมีศรัทธา  มีเพียรมีสติ  ได้สมาธิ   มีปัญญา  เป็นเช่นนั้น  ๆ  นี้ปุคคลาธิฏฐานา.แสดงว่า  ศรัทธา  วิริยะ  สติ   สมาธิ  ปัญญา  เป็นเช่นนั้น ๆ  นี้ธัมมาธิฏฐานา.

ธรรม  ๒
                                                รูปธรรม           สภาวะเป็นรูป
                                                อรูปธรรม        สภาวะมิใช่

ธรรม  ๒
                                                โลกิยธรรม       ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก
                                                โลกุตตรธรรม    ธรรมอันพ้นวิสัยของโลก.
          อธิบาย: มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ รวมเป็น ๙ จัดเป็นโลกุตตรธรรมเหลือจากนั้นเป็นโลกิยธรรม

ธรรม  ๒
                                                สังขตธรรม       ธรรมอันปัจจัยปรุง
                                                อสังขตธรรม     ธรรมอันปัจจัยไม่ได้       
อธิบาย: สิ่งหรือสภาพมีเกิดในเบื้องต้น  มีแปรไปในท่ามกลางมีดับในที่สุด   เป็นสังขตธรรม.  อีกอย่างหนึ่ง  สภาพเกิดแต่เหตุทั้งปวง จัดเป็นสังขตธรรม.  พระนิพพานจัดเป็นอสังขตธรรม

นิพพาน  ๒
                                      สอุปาทิเสสนิพพาน        ดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ
                                      อนุปาทิเสสนิพพาน       ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์
อธิบาย: โดยบุคคลาธิฏฐาน พระอริยเจ้าผู้ละกิเลสได้สิ้นเชิงด้วยพระอรหัตตมรรคแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตตผล  เป้นพระอรหันต์ ยังทรงชีพอยู่ จัดว่าได้บรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน ครั้นสิ้นชีพแล้ว จัดว่าได้บรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน

บูชา  ๒
                                      อามิสบูชา                 ด้วยอามิส  (คือสิ่งของ)
                                      ปฏิปัตติบูชา                บูชาด้วยปฏิบัติ          
                         
ปฏิสันถาร  ๒
                                      อามิสปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยอามิส  (คือสิ่งของ)
                                      ธัมมปฏิสันถาร             ปฏิสันถารโดย           
อธิบาย: ปฏิสันถาร ได้แก่ การต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น อามิสปฏิสันถาร ได้แก่ ต้อนรับด้วยให้สิ่งของ เช่นให้น้ำร้อนหมากพลูอาหารเป็นต้น ธัมมปฏิสันถาร  แก้กันมาว่า กล่าวธรรมให้ฟัง หรือแนะนำกันในทางธรรม  ข้าพเจ้าเห็นไม่ใช่อาการรับแขก  มติของ อธิบายตามสูตรที่  ๗  แห่งทุติยวรรค  ทุกนิบาต  อิติวุตฺตก.  ๒๕/๒๕๘.
        แต่ในพระบาลีแห่งสูตรนั้น  หน้า   ๒๕๘-๙   แสดงว่า   นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังรู้สึกอารมณ์น่าชอบใจ  และรู้สึกสุขทุกข์  เรียกสอุปาทิเสสนิพพาน   นิพพานของพระอรหันต์ผู้ไม่ยินดีเวทนาทั้งปวง  (เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ)   เรียกอนุปาทิเสสนิพพาน. ในนวกนิบาต   อังคุตตรนิกาย  ๒๓/๓๙๔.  แสดงว่า  สอุปาทิเสสนิพพาน  ได้แก่นิพพานของพระเสขะ  คือดับสังโยชน์ได้ตามชั้น  อนุปาทิเสสนิพพาน  ได้แก่พระนิพพานของพระอเสขะคือดับสังโยชน์ได้สิ้นเชิง
           ข้าพเจ้า   ได้แก่ต้อนรับโดยควรแก่ฐานะของแขกผู้มา   ควรลุกรับ   กราบไหว้ก็ทำ  ไม่ควรทำอย่างนั้น  ก็ทำความเอื้อเฟื้อด้วยประการอื่น.แม้เจ้าถิ่นมีปรารถนาดี   แต่ทำไม่ควรแก่ฐานะของแขก   การปฏิสันถารนั้นอาจเสีย  เช่นแขกเป็นคนชั้นสูง  เจ้าถิ่นทำการต้อนรับอย่างคนสามัญดูเป็นไม่สำคัญในแขกผู้นั้นเลย.  อีกฝ่ายหนึ่ง  แขกเป็นคนสามัญเจ้าถิ่นต้อนรับแข็งแรง   อย่างทำแก่แขกชั้นสูง   ดูเป็นตื่นหรือเซอะไป.ธัมมปฏิสันถาร  หมายเอาการต้อนรับที่ทำพอดีสมแก่ฐานะของแขก.

ปริเยสนา  ๒
                                      อริยปริเยสนา              แสวงหาอย่างประเสริฐ
                                      อนริยปริเยสนา            แสวงหาอย่างไม่       
อธิบาย : สัมมาอาชีวะ   เป็นอริยปริเยสนา.   มิจฉาอาชีวะเป็นอนริยปริเยสนา.   ในพระสูตรแสดงว่า แสวงหาสภาพอันมิใช่ของมีชรา  พยาธิ  มรณะ  เป็นธรรม  คือคุณธรรมมีพระนิพพานเป็นอย่างสูง เป็นอริยปริเยสนา แสวงหาของมีชรา พยาธิ มรณะ เป็นธรรมเช่นหาของเล่น เป็นอนริยปริเยสนา

ปาพจน์  ๒
ธรรม
วินัย
อธิบาย:   ความปฏิบัติไม่ได้เนื่องด้วยระเบียบอันทรงตั้งไว้ด้วย   พุทธอาณา   เป็นสิกขาบทหรืออภิสมาจาร   เป็นทางนำความประพฤติและอัธยาศัยให้ประณีตขึ้น   จัดเป็นธรรม.   ความปฏิบัติเนื่องด้วยระเบียบอย่างนั้น เป็นทางนำความประพฤติให้สม่ำเสมอกัน หรือเป็นเครื่องบริหารคณะ  จัดเป็นวินัย

รูป  ๒
มหาภูตรูป        รูปใหญ่
                                                          อุปาทายรูป      รูปอาศัย.                                       

อธิบาย:   สิ่งอันเป็นวิสัยแห่งอายตนะภายใน  ๕  ข้างต้น  จัดเป็นรูปในเบญจขันธ์.  สิ่งอันเป็นวิสัยของจักษุเท่านั้น จัดเป็นรูปในอายตนะภายนอก ธาตุ  ๔  คือ ปฐวี   อาโป  เตโช  วาโย  จัดเป็นมหาภูตรูป.   อาการของมหาภูตรูป จัดเป็นอุปาทายรูป ประเภทแห่งอุปาทายรูป   แสดงไว้ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ  คือประสาท  ๕สิ่งที่ให้สำเร็จการเห็น เรียกจักขุปสาท  ๑สิ่งที่ให้สำเร็จการฟังเรียกโสตปสาท  ๑สิงที่ให้สำเร็จการดม  เรียกฆานปสาท  ๑สิ่งที่ให้สำเร็จการลิ้ม   เรียกชิวหาปสาท  ๑,   สิ่งที่ให้สำเร็จการรู้สึกผัสสะเรียกกายปสาท  ๑หรือเรียกสั้นเพียง  จักขุ โสต  ฆาน  ชิวหา  กายโคจร  (คืออารมณ์)  ๕  รูปอันเป็นวิสัยแห่งจักขุ  ๑เสียง  ๑กลิ่น  ๑,รส  ๑โผฏฐัพพะ  (ยกอาโปนับแต่  ๓)   ๑.  ภาวะ  ๒  อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง  ๑ปุริสภาวะ   ความเป็นชาย  ๑.   หทัย   หมายเอาสิ่ง  ที่ให้สำเร็จความคิด  ๑.   ชีวิตินทรีย์    หมายเอาความเป็นอยู่แห่งรูปหรือสิ่งที่รักษารูปให้เป็นอยู่  ๑.  อาหารหมายเอาโอชา  ๑.  อากาสธาตุหมายเอาสิ่งที่ขังอยู่ในช่องว่าง  เรียกปริจเฉทรูป  ๑.  วิญญัตติ  ๒  คือกายวิญญัตติ   กิริยาที่ไหวกายได้  ๑, วจีวิญญัตติ  กิริยาที่ไหววาจา คือพูดได้  ๑.วิการ คืออาการต่าง ๓  ลหุตา  ความเบา  อธิบายว่ารูปของคนยังเป็น  ไม่หนักดุจรูปของคนตายแล้ว ๑มุทุตา  ความอ่อนสลวย  อธิบายว่า  รูปยังปกติมีข้อลำอาจคู้หรือเหยียดคล่องแคล่วไม่แข็งกระด้างดุจรูปของคนเจ็บคนตายแล้ว  ๑, กัมมัญญตา  ความควรแก่การงาน  คือความคล่องแคล่ว  ๑. ลักขณะ  ๔  คือ  อุจจยะความรู้จักเติบขึ้น  ๑สันคติ  ความสืบเนื่องกัน  เช่นขนเก่าหลุดร่วงไปใหม่เกิดแทนกัน ๑ชรตา  ความรู้จักทรุดโทรม  ๑,   อนิจจตาความไม่ยั่งยืน  ๑. สิริเป็น  ๒๕  รวมทั้ง  ๒  ประเภทเป็น  ๒๙  แต่ในปกรณ์นับเป็น  ๒๘.  ในที่บางแห่งนับโคจรเพียง  ๔  ยกโผฏฐัพพะที่เป็นประเภทเดียวกับรูป   จึงลง  ๒๘  พอดี


วิมุตติ  ๒
                                      เจโตวิมุตติ                 ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ
                                      ปัญญาวิมุตติ               ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่ง
อธิบาย :   ความทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสาสวะถึงความบริสุทธิ์โดยนิปปริยาย   เรียกวิมุตติ๑.   วิมุตติมีสมาธิเป็นปทัฏฐาน  คือ  ท่านผู้บรรลุได้ฌานมาก่อนแล้ว  จึงบำเพ็ญวิปัสสนาต่อ  จัดเป็นเจโตวิมุตติ.   วิมุตติที่ได้บรรลุด้วยลำพังบำเพ็ญวิปัสสนาล้วน  จัดเป็นปัญญาวิมุตติ.อย่างต้น  ได้แก่วิมุตติของพระอรหันต์ผู้ได้บรรลุวิชชา ๓  และผู้ได้อภิญญา  ๖.  อย่างหลัง  ได้แก่วิมุตติของพระอรหันต์สุขวิปัสสก๒ อีกอย่างหนึ่ง   ท่านแสดไว้โดยไม่ต่าง๓  ทั้ง  ๒  ชื่อหมายเอาพระอรหันต์  เรียกเจโตวิมุตติ  เพราะพ้นจากราคะ   เรียกปัญญาวิมุตติเพราะพันจากอวิชชา.

สังขาร  ๒
                                      อุปาทินนกสังขาร                   สังขารมีใจครอง
                                      อนุปาทินนกสังขาร                  สังขารไม่มีใจครอง.                                                               
อธิบาย:    สิ่งที่ธรรมดาคุมเข้าจากธาตุ   เช่นร่างกายและต้นไม้ก็ดี   สิ่งที่คนคุมเข้าจากสัมภาระ   เช่นรถและเรือนก็ดี  ชื่อว่าสังขาร.เทวดามนุษย์อมนุษย์และดิรัจฉานต่างประเภท   เป็นอุปาทินนกสังขาร. ๑.  โดยโลกุตตรนัย.  ๒.  ทรงไว้ในธรรมวิจารณ์ว่า  "ข้าพเจ้าเข้าใจไม่พอจะอนุโมทนาหรือค้าน  แต่เทียบกันเข้าไม่สมกับวิสุทธิ   อันจะกล่าวในลำดับ"  ๓.  พระบาลีสุตตันตปิฎกทุกนิบาต   อังคุตตรนิกาย  ๒๐/๗๘.   ๔.  ในพระบาลีนวกนิบาต  อังคุตตรนิกาย   ๒๓/๔๗๓.แสดงปัญญาวิมุตติโดยปุคคลาธิฏฐาน   มีใจความว่า  ผู้เข้ารูปฌานอรูปฌานและรู้ด้วยปัญญาจัดเป็นปัญญาวิมุตติโดยปริยาย  ผู้เข้าสัญญเวทยิตนิโรธและสิ้นอาสวะด้วยปัญญา  จัดเป็นปัญญาวิมุตติโดยปริยาย.   ในเมตตานิสังสสูตร   พระสุตตันตปิฎก   เอกาทสกนิบาต   อังคุตตรนิกาย๒๔/๓๗๐.  แสดงการทำจิตให้หลุดพ้นด้วยเมตตาว่า  เมตตาเจโตวิมตติ.ภูเขา   ต้นไม้  รถ  เรือน   เป็นต้น  เป็นอนุปาทินนกสังขาร.

สมาธิ  ๒
                                      อุปจารสมาธิ               สมาธิเป็นแต่เฉียด ๆ
                                      อัปปนาสมาธิ              สมาธิอันแน่       
อธิบาย:  การทำใจให้นิ่ง   คือมีอารมณ์เดียว   จัดเป็นสมาธิสมาธิอันยังไม่ดิ่งลงไปแท้  เป็นแต่จวน ๆ  จัดเป็นอุปจารสมาธิ.   สมาธิอังดิ่งลงไป  สุขุมกว่าอุปจารสมาธิ  จัดเป็นอัปปนาสมาธิ.

สุข  ๒
                                      กายิกสุข                สุขทางกาย
                                      เจตสิกสุข               สุขทางใจ.

สุข  ๒ (๒)
                                      สามิสสุข           สุขอิงอามิส  (คือกามคุณ)
                                      นิรามิสสุข         สุขไม่อิงอามิส  (คืออิงเนกขัม     
                                  
สุทธิ  ๒
                                       ปริยายสุทธิ                 หมดจดโดยเอกเทส
                                      นิปปริยายสุทธิ             หมดจดโดย       
อธิบาย : ปฏิบัติกาย  วาจา  ใจ  บริสุทธิ์เป็นอย่าง ๆ ยังมี การละและการบำเพ็ญเป็นกิจอยู่อีก จัดเป็นปริยายสุทธิ.  ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ผู้เสร็จกิจในการละและการบำเพ็ญแล้ว  จัดเป็นนิปปริยายสุทธิ.

ติกะ   หมวด  ๓
อกุศลวิตก  ๓
กามวิตก   ความตริในทางกาม
                                      พยาบาทวิตก   ความตริในทางพยาบาท
                                      วิหิงสาวิตก   ความตริในทางเบียดเบียน
อธิบาย:    ความตริประกอบด้วยอธรรมราคะ  เช่นคิดแส่ไปในการทำกาเมสุมิจฉาจาร   และทำทุราจารผิดประเพณี   และประกอบด้วยอภิชฌา   เช่นคิดแส่ไปในทางหาลาภอันไม่ชอบธรรม  จัดเป็นกามวิตก.  ความตริประกอบด้วยพยาบาท  มีโทสะเป็นมูล  คือคิดทำลายหรือตัดรอนผู้อื่น  จัดเป็นพยาบาทวิตก.   ความตริประกอบด้วยเจตนาเป็นเหตุทำความลำบากให้แก่ผู้อื่น  มีโมหะเป็นมูล  เช่นให้คนหรือสัตว์พาหนะเกินพอดี   ไม่ปรานีไม่คิดถึงความลำบากของเขาของมัน  หรือแสวงหาความสุกเพื่อตนเองในทางลำบากของผู้อื่น  จัดเป็นวิหิงสาวิตก.

กุศลวิตก  ๓
                                      เนกขัมมวิตก   ความติในทาลพรากจากกาม
อพยาบาทวิตก  ความติในทางไม่พยาบาท
อวิหิงสาวิตก   ความติในทางไม่เบียดเบียน
        อธิบาย:   ความตริเป็นไปเพื่อทำใจไม่ให้ลุอำนาจแก่กิเลสกาม  และไม่ติดอยู่ในวัตถุกาม  จัดเป็นเนกขัมมวิตก  แต่เนกขัมมศัพท์นี้ท่านหมายเอาออกบวช   เพราะความมุ่งหมายของผู้บวช  ย่อมเป็นไปในทางนั้น.  ความตริเป็นด้วยอำนาจเมตตาในผู้อื่น   ปรารถนาความดีความงามเพื่อเขา  จัดเป็นอพยาบาทวิตก.  ความตริเป็นไปด้วยอำนาจกรุณาในผู้อื่น  จะทำอะไร  ๆ   เนื่องด้วยผู้อื่น  เป็นต้นว่า จะใช้คนหรือสัตว์  มีปรานีคิดถึงความลำบากของเขาของมัน  ไม่ใช้ตรากตรำ  ไม่ทำความลำบากให้แก่เขาแก่มันโดยไม่จำเป็น  จัดเป็นอวิหิงสาวิตก.

อัคคิ   [ไฟ  ๓]
ราคัคคิ   ไฟคือราคะ                                                                     
โทสัคคิ   ไฟคือโทสะ
โมหัคคิ   ไฟคือโมหะ
อธิบาย:   กิเลส  ๓  ประเภทนี้  จัดเป็นอัคคิ   เพราะเป็นสภาพเผาลนสันดานให้ร้อน.

อัตถะ  หรือ  ประโยชน์  ๓
                                      ทิฎฐธัมมิกัตถะ   ประโยชน์ในภพนี้                                           
สัมปรายิกัตถะ   ประโยชน์ในภพหน้า
ปรมัตถะ   ประโยชน์อย่างยอ คือพระนิพพาน

อธิปเตยยะ  ๓
                                      อัตตาธิปเตยยะ   ความมีตนเป็นใหญ่                                      
โลกาธิปเตยยะ   ความมีโลกเป็นใหญ่
ธัมมาธิปเตยยะ   ความมีธัมเป็นใหญ่
อธิบาย:   อัตตาธิปเตยยะนั้น  พึงเห็นเช่นคนจะทำบุญ  ปรารภภาวะของตนผู้เป็นอิสระ   ทำด้วยมุ่งให้สมภาวะของตน   ผู้ทำมุ่งผลอันจะได้แก่ตน  หรือมุ่งความสะดวกแห่งตนก็เช่นนั้น.   โลกาธิปเตยยะนั้น  พึงเห็นเช่นผู้นั้นทำบุญ  ด้วยมุ่งจะให้ผู้อื่นสรรเสริญ   หรือไม่ทำเกรงเขาจะนินทา   หรือทำตามความนิยมของเขาทั้งหลาย.   ธัมมา-ธิปเตยยะนั้น พึงเห็นเช่นผู้ทำไม่มุ่งอย่างอื่น เป็นแต่เห็นสมควรเห็นว่าถูกก็ทำ หรือทำด้วยอำนาจเมตตากรุณาเป็นอาทิ.

อนุตตริยะ  ๓
                                      ทัสสนานุตตริยะ           ความเห็นอันเยี่ยม                                                             
ปฎิปทานุตตริยะ           ความปฎิบัติอันเยี่ยม
วิมุตตานุตตริยะ           ความพ้นอันเยี่ยม
อธิบาย:   ความเห็นธรรมด้วยญาณ  ได้ในพุทธภาษิตว่า  "ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา"  ดังนี้  จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ ความปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วนั้น ทั้งในส่วนปหานะ ทั้งในส่วนภาวนาจัด เป็นปฏิปทานุตตริยะ ความพ้นจากกิเลสาสวะเป็นอกุปปธรรม เพราะปฏิปทานั้น จัดเป็นวิมุตตานุตตริยะ

อภิสังขาร  ๓
                   ปุญญาภิสังขาร            อภิสังขารคือบุญ                                                                 
                   อปุญญาภิสังขาร          อภิสังขารคือบาป
                   อเนญชาภิสังขาร          อภิสังขารคืออเนญชา
อธิบาย:    สภาพผู้ตกแต่ง  ได้ชื่อว่าอภิสังขาร.  บุญก็ดี  บาปก็ดีเป็นผู้แต่งสัตว์ให้ดีบ้างเลวบ้างต่าง ๆ  กัน   จึงได้ชื่อว่าอภิสังขารละอย่าง ๆ. อเนญชา  แปลว่าความไม่หวั่นไหว  ได้แก่ความมั่นหรือธรรมชาติหาความหวั่นไหวมิได้   ได้แก่มั่น  แสดงภูมิธรรมเพียงชั้นสมาบัติก็มี  ถึงโลกุดรก็ดี   ในที่นี้ท่านแก้ว่าได้แก่อรูปสมาบัติ  ๔และสงเคราะห์รูปสมาบัติเข้าในปุญญาภิสังขาร   เหมือนบุญอันเป็นกามาพจร. อเนญชาภิสังขาร  ความยังไม่ชัด   ข้าพเจ้าขอฝากนักธรรมไว้พิจารณาด้วย*.   อภิสังขารนี้  มาในนิทเทสแห่งสังขารศัพท์ในอุทเทสแห่งปฏิจจสมุปบาท   โดยนัยนี้  เป็นอันว่า  ท่านหมายความเป็นอันเดียวกัน.
          *  ในกันทรกสูตร  ม.  ม.  ๑๓/๑๕.  และในเทฺวธาวิตักกสูตร  ม.  มู.  ๑๒/๒๓๖-๗.  คำว่า"อเนญชา"  หมายเอาจตุตถฌาน  โดยนัยนี้  น่าจะหมายความว่า  ปุญญาภิสังขาร  ได้แก่กุศลวิตก  อปุญญาภิสังขาร  ได้แก่อกุศลวิตก.

อาสวะ  ๓
                                      กามาสวะ        อาสวะเป็นเหตุอยากได้                                                               
ภวาสวะ          อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น
อวิชชาสวะ      อาสวะคืออวิชชาความเขลา
          อธิบาย:    ศัพท์ว่า  อาสวะนั้น  อย่างหนึ่งใช้เรียกเมรัย  เช่น"ปุปฺผาสโว"   น้ำดองดอกไม้  "ผลาสโว"  น้ำดองผลไม้.  อีกอย่างหนึ่ง  ใช้เรียกเจตสิกอันเศร้าหมอง  เช่นอาสวะ  ๓  นี้.  อาสวะกับกิเลสต่างกันหรือเป็นแววจนะของกันและกัน   ควรได้รับความพิจารณา.  เพ่งพยัญชนะแห่งศัพท์  น่าจะเห็นว่า  กิเลสที่แปลว่าสภาพที่เศร้าหมองหรือเครื่องเศร้าหมอง  ใช้เรียกเจตสิกประเภทนั้นทั่วไปอาสวะที่แปลว่า  สภาพดองหรือหมักหมม   ใช้เรียกเจตสิกประเภทนั้นเฉพาะที่แก่กล้านับว่าเป็นเจ้าเรือน   อุทาหรณ์คนสามัญยังมีอยากได้ยังมีโกรธ  แต่เขาไม่เรียกว่าเป็นคนมักได้ เป็นคนมักโกรธ  ทุกคนไปเขาเรียกเฉพาะบางคน  เช่นนี้  เขาหมายเอาความอยากได้บ้าง  ความโกรธบ้าง  อันเป็นไปกล้า  หรืออันเป็นอาจิณในสันดานของบุคคลนั้น.แต่อันที่แท้ดูเหมือนเป็นแววจนะของกันและกันเรียกในต่างคราว.  ในบางคราวแบ่งเรียกบางอย่างว่าอาสวะ บางอย่างว่าอนุสัย  บางอย่างว่าสังโยชน์  บางอย่างว่าคันถะ  บางอย่างว่าอกุศลจิตตุปบาท  และอื่น ๆ  อีกในบางคราวรวมเรียกว่ากิเลส.   คนอยากได้เพราะอาสวะประเภทใดเป็นเหตุ   อาสวะนั้น  จัดเป็นกามาสวะ.   คนอย่างเป็นอยู่  อยากเกิด เพราะอาสวะประเภทใดเป็นเหตุ  อาสวะนั้น  จัดเป็นภวาสวะ.  คนเขลาไม่แจ้งการณ์อันควรจะรู้ได้   อย่างเรียกว่า เส้นผมบังภูเขา เพราะอาสวะใดเป็นเหตุ อาสวะนั้นจัดเป็นอวิชชาสวะ.
กรรม ๓
กายกรรม         กรรมทำด้วยกาย                                                                             
วจีกรรม           กรรมทำด้วยวาจา
มโนกรรม         กรรมทำด้วยใจ

ทวาร ๓
กายทวาร        ทวารคือกาย                                                                     
วจีทวาร          ทวารคือวาจา
มโมทวาร        ทวารคือใจ
อธิบาย:    ปาณาติบาตก็ดี  อทินนาทานก็ดี  จัดเป็นกายกรรมทำเอง  จัดเป็นทางกายทวาร   ใช้ให้เขาทำ  จัดเป็นทางวจีทวาร.มุสาวาท  จัดเป็นวจีกรรม  พูดทางปาก  จัดเป็นทางวจีทวาร.  ทำกายวิการ  เช่นจะรับ  พยักหน้า  จะปฏิเสธ   สั่นศีรษะ  จัดเป็นทางกายทวาร.   อภิชฌา  เป็นมโนกรรม  จับลูบคลำพัสดุที่อยากได้  แต่ไม่ได้มีไถยจิต   จัดเป็นทางกายทวาร  บ่นว่า   ทำอย่างไรดีหนอ  จักได้พัสดุนั้น  จัดเป็นทางวจีทวาร  เป็นแต่รำพึงในใจ  จัดเป็นทางมโนทวารในฝ่ายกุศลพึงรู้โดยนัยนี้.

ญาณ  ๓
                                      อตีตังสญาณ     ญาณในส่วนอดีต                                             
อนาคตังสญาณ            ญาณในส่วนอนาคต
ปัจจุปปันนังสญาณ        ญาณในปัจจุบัน
อธิบาย:   ปัญญาอันรู้จักสาวหาเหตุการณ์ในหนหลังอันบันดาลให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน  จัดเป็นอตีตังสญาณ.  ปัญญาอันรู้จักคาดเห็นผลในอนาคตอันจักบันดาลเกิด  เพราะเหตุการณ์ในปัจจุบันหรือในอนาคตด้วยกัน  จัดเป็นอนาคตังสญาณ.   ปัญญาอันรู้จักว่าควรทำอย่างไรในเมื่อเหตุหรือผลเกิดในทันใด  จัดเป็นปัจจุปปันนังสญาณ.

ญาณ  ๓ (๒)
                                      สัจจญาณ        ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ                                                  
กิจจญาณ        ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
กตญาณ          ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว
          อธิบาย:   ปรีชาหยั่งรู้ว่า  นี้ทุกข์  นี้ทุกขสมุทัย  นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา   จัดเป็นสัจจญาณ.   ปรีชาหยั่งรู้ว่า  ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้  ทุกขสมุทัย   เป็นสภาพที่ควรละเสียทุกขนิโรธ  เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  เป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด   จัดเป็นกิจจญาณ.  ปรีชาหยั่งรู้กิจ  ๔  อย่างนั้นว่าทำสำเร็จแล้ว  จัดเป็นกตญาณ.   ญาณ ๓  นี้  เป็นไปในสัจจะ   ละ  ๓  ๆ  ๔  สัจจะ  จึงเป็น  ๑๒  เรียกว่ามีวนรอบ  ๓  ใน  ๔   อริยสัจมีอาการ  ๑๒.

ตัณหา  ๓
                                      กามตัณหา   ตัณหาในกาม                                                        
ภวตคัณหา   ตัณหาในภพ
วิภวตัณหา   ตัณหาในปราศจากภพ
อธิบาย:   ความอยากได้อยากพ้นอย่างแรง  ที่เรียกว่าทะยานว่าดิ้นรน  จัดว่าเป็นตัณหา.  ความอยากได้วัตถุกามอันยังไม่ได้  และความหมกมุ่นอยู่ในวัตถุกามอันได้แล้ว  จัดเป็นกามตัณหา. ความอยากเป็นอยู่ในภพที่เกิดด้วยอำนาจความอาลัย  และความอยากเกิดในภพที่ปรารถนาต่อไป   จัดเป็นภวตัณหา.   ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่สงเคราะห์เข้าในประเภทนี้ด้วย.    ความอยากไม่เป็นอยู่ในภพที่เกิด  คือความอยากตามเสีย  ด้วยอำนาจความเบื่อหน่ายและความอยากดับศูนย์ไม่เกิดในภพนั้น ๆ อีก  จัดเป็นวิภวตัณหา.  ความไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่  สงเคราะห์เข้าในประเภทนี้ด้วย.

ทิฏฐิ  ๓
                                      อกิริยทิฏฐิ        ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ                                    
อเหตุกทิฏฐิ       ความเห็นว่าหาเหตุมิได้
นัตถิกทิฏฐิ        ความเห็นว่าไม่มี
อธิบาย:    ความเห็นของบางคนว่า  ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจัดว่าเป็นชั่ว   ไม่มีคนรู้  ไม่มีคนจับได้  ไม่มีคนลงโทษ  ก็เปล่าทั้งนั้น  ต่อมีคนรู้จับได้และลงโทษต่างหาก  จึงให้โทษ  ส่วนซึ่งจัดว่าเป็นดี   ไม่มีคนรู้  ไม่มีคนชม  ไม่มีคนให้บำเหน็จบำนาญ   ก็เปล่าทั้งนั้นเหมือนกัน  ต่อมีคนรู้แล้วชมและให้บำเหน็จบำนาญต่างหากจึงให้คุณ  นี้จัดเป็นอกิริยทิฏฐิ.  ความเห็นของบางคนว่า  อันคนเราได้ดีหรือได้ร้ายตามคราวที่เคราะห์ดีหรือเคราะห์ร้าย   ถึงคราวเคราะห์ดีก็ได้ดีเอง  ทำอะไรมีคนชม  ช่วยสนับสนุนชุบเลี้ยง   ลาภยศเกิดขึ้นตามกัน  ถึงคราวเคราะห์ร้ายสิ   ทำอะไรมีคนติ   เข้าขัดขวางตัดรอนขาดลาภยศลงตามกัน  นี้จัดเป็นอเหตุกทิฏฐิ.  ความเห็นของบางคนว่า  สัตว์บุคคลไม่มี  ต่างเป็นแต่ธาตุประชุมกัน  เกื้อกูลกันหรือทำร้ายกัน  ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป  ธาตุอย่างหนึ่งถึงกันเข้ากับธาตุอีกอย่างหนึ่งต่างหาก   เช่นฝนตกเชยต้นไม้ให้ตาย  จัดว่าไฟได้บาปหรือ  นี้จัดเป็นนัตถิกทิฏฐิ.  อกิริยทิฏฐิ  ปฏิเสธลำพังการทำถือปัจจัยภายนอกคือบุคคลเป็นผู้อำนวย   ผิดคติแห่งพระพุทธศาสนาที่ถือว่าการทำนั้นเองเป็นเหตุ   เช่นคนปล้นเอาทรัพย์ของเขา  แม้เขายังจับไม่ได้  ก็ได้ความร้อนใจและเที่ยวหนีซุกซ่อน   คนบริจาคทรัพย์ของตนช่วยเกื้อกูลคนอื่น   แม้ไม่ได้ผลภายนอก   ก็ยังได้ความเบิกบานใจตนเอง  และการทำนั้นย่อมให้ผลในคราวต่างกัน   ด้วย  อำนาจแห่งประโยคสมบัติ.   อเหตุกทิฏฐิ  ปฏิเสธเหตุอันไม่ปรากฏถือปัจจัยภายนอกคือคราวเป็นผู้อำนวย   ผิดคติแห่งพระพุทธศาสนา  ที่ถือว่าสังเขตธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ  แม้ไม่ปรากฏว่าอะไรเป็นเหตุแห่งธรรมชื่อนั้น  แม้อย่างนั้น  ธรรมชื่อนั้นก็คงเกิดแต่เหตุอยู่นั่นเองเป็นแต่เหตุนั้นยังไม่ปรากฏ   ที่ท่านจับต้นเค้า  เรียกว่าอวิชชา.  นัตถิก-ทิฏฐิ   ปฏิเสธด้วยประการทั้งปวง  ซึ่งสมมติสัจจะและคติแห่งธรรมดาอันเนื่องด้วยเหตุและผล  ย่นเรียกว่ากัมมัสสกตา   ผิดคติแห่งพระพุทธศาสนา  ที่รับสมมติสัจจะและคติแห่งธรรมดา  คือกัมมัสสกตาแม้รับอยู่สัตว์บุคคลโดยสมมตินั้นเป็นแต่ธาตุประชุมกันก็จริง  แต่ตกอยู่ในคติแห่งธรรมดาคือ   กัมมัสสกตา  ทิฏฐิ  ๓  นี้  จัดเป็น  มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด  จัดเป็นนิยตทิฏฐิ  ความเห็นอันดิ่งลง  ยากที่จะถอนออกรวมเรียกว่า  นิยตมิจฉาทิฏฐิ.

 เทพ  ๓
                                      สมมติเทพ        เทวดาโดยสมมติ                                                    
อุปปัตติเทพ      เทวดาโดยกำเนิด
วิสุทธิเทพ        เทวดาโดยความบริสุทธิ์
          อธิบาย:    พระราชา  พระเทวี  แลพระราชกุมาร  จัดเป็นสมมติเทพ.   ภุมมเทวดาสิงอยู่  ณ  ภพนี้  ที่ต้นไม้บ้าง  และที่วัตถุอื่น ๆบ้าง  ซึ่งเรียกว่าพระภูมิบ้าง  วัตถุเทวดาบ้าง  และอากาสัฏฐกเทวดาสิงอยู่ในอากาศต่างโดยเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง จัดเป็นอุปปัตติเทพ พระอรหันต์ จัดเป็นวิสุทธิเทพ

ธรรมนิยาม  ๓
                                      สังขารทั้งปวง   ไม่เที่ยง                                                                     
สังขารทั้งปวง   เป็นทุกข์
ธรารมทั้งปวง   เป็นอนัตตา
อธิบาย:    สภาพอันได้ชื่อว่าสังขารใน  ๒  บทข้างต้นนั้น  เพราะประกอบด้วยสังขตลักษณะ  ตกอยู่ในคติแห่งธรรมดา   คือต้องแปรผัน  ที่เป็นอุปาทินนกะต้องเสวยทุกข์.  สภาพอันได้ชื่อว่าธรรมในบทหลังนั้น  หมายเอาสภาพทั้งเป็นสังขาร  ทั้งเป็นวิสังขาร  เพราะพระนิพพานก็จัดว่าเป็นอนัตตา  แต่จัดว่าเป็นธรรมไม่แปรผัน  และไม่ประกอบด้วยทุกข์  ไม่ได้ใน  ๒  บทข้างต้น   จึงใช้ศัพท์ธรรมในบทหลัง.  โดยนัยนี้   สังขารอันไม่เที่ยงและเป็นทุกข์  ต้องเป็นอนัตตาด้วย.๓  บทนี้  ธรรมฐิติ  ก็เรียก.

นิมิตต์  ๓
                                      ปริกัมมนิมิตต์   นิมิตในบริกรรม                                              
อุคคหนิมิตต์      นิมิตติดตา
ปฏิภาคนิมิตต์   นิมิตเทียบเคียง
        อธิบาย:    ภิกษุผู้เจริญกัมมัฏฐาน  เพ่งดูวัตถุอย่างในอย่างหนึ่ง  เป็นอารมณ์   คือกสิณ  ๑๐  หรืออสุภ  ๑๐  วัตถุนั้นที่ภิกษุเพ่งดูและนึกเป็นอารมณ์  ซึ่งเรียกว่าบริกรรม  จัดเป็นปริกัมมนิมิตต์.  ภิกษุเพ่งดูวัตถุนั้นจนติดตา   หลับตาเห็น  จัดเป็นอุคคหนิมิตต์.   ในลำดับ  นั้น  ภิกษุอาจนึกขยายส่วน   หรือย่นส่วนแห่งอุคคหนิมิตต์นั้นได้สมรูปสมสัณฐาน  จัดเป็นปฏิภาคนิมิตต์.

ภาวนา  ๓
                                      ปริกัมมภาวนา            ภาวนาในบริกรรม                                        
อุปจารภาวนา             ภาวนาเป็นอุปจาร
อัปปนาภาวนา            ภาวนาเป็นอัปปนา
อธิบาย:    กิริยาที่ทำบริกรรมในขณะเจริญกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง   ทั้งที่เพ่งดูวัตถุดังกล่าวแล้วในนิมิตต์  ๓  ก็ดี   ทั้งเป็นแต่ลำพังนึก   เช่นเจริญอนุสสติก็ดี   จัดว่าปริกัมมภาวนา   ภาวนาในขณะอุคคหนิมิตต์ปรากฏ   ในการเจริญกัมมัฏฐานเพ่งดูวัตถุ   หรือในขณะนิวรณ์สงบ   ในการเจริญกัมมัฏฐานเป็นแต่ลำพังนึก  จัดว่าอุปจาร-ภาวนา  แปลว่าภาวนาเฉียดหรือภาวนาใกล้เข้าไป. ภาวนาในขณะปฏิภาคนิมิตต์ปรากฏ   ในการเจริญกัมมัฏฐานเพ่งดูวัตถุ  จัดเป็นอัปปนาภาวนา แปลว่าภาวนาแน่แน่ว ในการเจริญกัมมัฏฐานเป็นแต่ลำพังนึก ท่านว่าไม่ถึงอัปปนา.

ปริญญา  ๓
                                      ญาตปริญญา     กำหนดรู้ด้วยการรู้                                            
ตีรณปริญญา     กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
ปหานปริญญา   กำหนดรู้ด้วยการละเสีย
          อธิบาย:   ญาตปริญญา   กำหนดรู้ปัญจขันธ์เป็นต้นโดยวิภาคได้แก่รู้จักแยกออกจากสังขาร   คือสิ่งที่คุมกันอยู่  ตีรณปริญญากำหนดพิจารณาเห็นโดยไตรลักษณ์ ปหานปริญญา กำหนดละฉันทราคะในปัญจขันธ์เป็นต้นนั้นเสีย.

ปหาน  ๓
ตทังคปหาน                การละชั่วคราว                                                    
วิกขัมภนปหาน            การละด้วยการสะกดไว้
สมุจเฉทปหาน             การละด้วยตัดขาด
อธิบาย:   ตทังคปหาน  ได้แก่การละกิเลส  และบาปธรรมของสามัญชน.   วิกขัมภนปหาน  ได้แก่การละของชนผู้ได้ฌาน.สมุจเฉทปหาน  ได้แก่การละด้วยอริยมรรคของพระอริยบุคคล.

ปาฏิหาริยะ  ๓
อิทธิปสฏิหาริยะ           ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์                                       
อาเทสนาปาฏิหาริยะ      ดักใจเป็นอัศจรรย์
อนุสาสนีปาฏิหาริยะ      คำสอนเป็นอัศจรรย์
          อธิบาย:    การแสดงฤทธิ์ได้พ้นของสามัญมนุษย์  เช่นนิรมิตตัว  ได้ต่าง ๆ  ล่องหนได้  ดำดินได้  เดินน้ำได้  เหาะได้  ท่านจัดเป็นปาฏิหาริยะอย่างหนึ่ง   แต่หมายอาการแสดงฤทธิ์โต้ง ๆ  อย่างนี้  หรือหมายเอาการแสดงฤทธิ์เป็นธรรมาธิษฐาน  เปรียบด้วยบุคคลาธิษฐานขอฝากปราชญ์ไว้เพื่อสันนิษฐาน.  การดักใจทายใจคนได้  ท่านจัดเป็นปาฏิหาริยะอย่างหนึ่ง.  คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมไปตาม  ท่านจัดเป็นปาฏิหาริยะอย่างหนึ่ง.   ปาฏิหาริยะ  ๓  นี้  ท่านว่ามีในสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า และยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริยะว่า  เป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่า  ๒ อย่างข้างต้น.

ปิฎก  ๓
พระวินัยปิฎก             หมวดพระวินัย                                                 
พระสุตตันตปิฎก           หมวดพระสุตันตะ
พระอภิธรรมปิฎก         หมวดพระอภิธรรม
อธิบาย:   ศัพท์ว่าปิฎก  เป็นชื่อแห่งกระจาดหรือตระกร้า  เอามาใช้ในที่นี้   ด้วยหมายเอาความว่าเป็นหมวดที่รวบรวม  ดุจกระจาดเป็นที่รวมสิ่งของต่าง ๆ  มีผักต่าง ๆ  ที่ซื้อมาจากตลาดเป็นต้น.  ปาพจน์ในที่นี้ท่านแบ่งเป็น ๓  พระวินัยคงที่  พระธรรมแบ่งออกเป็น  ๒  หมวดที่แสดงโดยบุคคลาธิษฐาน  หรือเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน  จัดเป็นพระสุต-ตันตะ  ๑.  หมวดที่แสดงโดยธรรมาธิษฐานล้วน  จัดเป็นพระอภิธรรม ๑.ทั้ง  ๓  นี้  เป็นหมวดหนึ่ง ๆ  ที่รวบรวมปกรณ์มีประเภทเดียวกัน  จึงจัดเป็นปิฎกหนึ่ง ๆ.

พุทธจริยา  ๓
โลกัตถจริยา         ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก             
ญาตัตถจริยา       ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระญาติหรือโดยเป็นพระญาติ
                             พุทธัตถจริยา       ทรงประพฤติประโยชน์ โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า
อธิบาย:   โลกัตถจริยานั้น  ได้แก่ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่มหาชนที่นับว่าสัตวโลกทั่วไป เช่นทรงแผ่พระญาณเล็งดูสัตวโลกทุกเช้าค่ำ   ผู้ใดปรากฏในข่ายพระญาณ  เสด็จไปโปรดผู้นั้น  กล่าวสั้นทรงสงเคราะห์คนทั้งหลายโดยฐานเป็นเพื่อมนุษย์ด้วยกัน   นับเข้าในข้อนี้.   ญาตัตถจริยา   ได้แก่ทรงสงเคราะห์พระญาติโดยฐานเป็นพระญาติ   เช่นทรงพระอนุญาตให้พวกศากยะผู้เป็นพระญาติและเป็นเดียรถีย์ จะเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา  ไม่ต้องอยู่ติตถิย-ปริวาส  ๔  เดือนก่อน   เหมือนพวกเดียรถีย์อื่น  นี้เป็นญาตัตถจริยาโดยเฉพาะ.  เมื่อเพ่งถึงพระพุทธจริยาอันเป็นไปเพื่อสงเคราะห์พระญาติการเสด็จไปเทศนาโปรดพระญาติ  ณ  นครกบิลพัสดุ์ก็ดี  การเสด็จไปห้ามพระญาติฝ่ายศากยะและโกลิยะผู้วิวาทกันด้วยแย่งน้ำเข้านาก็ดี  จัดเข้าในข้อนี้ก็ได้.   พุทธัตถจริยานั้น  ได้แก่พระพุทธกิจที่ทรงบำเพ็ญให้เป็นประโยชน์แก่มหาชนโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า  เช่นทรงบัญญัติสิกขาบทอัน เป็นอาทิพรหมจรรย์บ้าง  อันเป็นอภิสมาจารบ้าง  เพื่อนิคคหะ พวกภิกษุหน้าด้านไม่ละอาย  ซึ่งเรียกว่าทุมมังกุผู้เก้อยาก   คือผู้ไม่ค่อยรู้จักอายบ้าง   เรียกว่าอลัชชี   ผู้ไม่มียางอายบ้าง  และเพื่อวางระเบียบนำความประพฤติแห่งพวกภิกษุผู้รักดีรักงาม  ซึ่งเรียกว่าเปสละบ้างผู้มีอายเรียกว่าลัชชีบ้าง  และทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนา  ให้ บริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิตรู้ทั่วถึงธรรม  ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบมา.  กล่าวสั้น  ทรงทำหน้าที่ขอพระพุทธเจ้า  นับเข้าในข้อนี้

ภพ  ๓
กามภพ           ได้แก่ภพเป็นกามาวจร                                              
รูปภพ            ได้แก่ภพรูปาวจร
อรูปภพ           ได้แก่ภพเป็นอรูปาวจร
อธิบาย:   ภพเป็นภามาวจรนั้น  หมายเอาโลกเป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ผู้เสพกาม  คือ  นรก  มนุษยโลก  สวรรค์  ๖   ชั้น  ตั้งแต่ชั้นจาตุมมหาราชถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตตี.  ภพเป็นรูปาวจรนั้น  หมายเอาชั้นพรหมมีรูป  ๑๖  ชั้น  ตั้งแต่ชั้นพรหมปาริสัชชะ  ถึงชั้นเอกนิฏฐะ.  ภพเป็นอรูปาวจรนั้น  หมายเอาชั้นพรหมไม่มีรูป  ๔  ชั้น   ตั้งแต่ชั้นอากาสานัญจายตนะ  ถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ.

โลก  ๓
                                      สังขารโลก       โลกคือสังขาร                                                       
                   สัตวโลก          โลกคือหมู่สัตว์
                   โอกาสโลก        โลกคือแผ่นดิน  
อธิบาย:   สังขารโลก   ท่านหมายเอาสภาวธรรมอันเป็นไปตามคติแห่งธรรมดา   มีเบญจขันธ์เป็นตัวอย่าง.  สัตวโลก  ได้แก่สังขารมีวิญญาณ  สงเคราะห์ทั้งมนุษย์ทั้งดิรัจฉาน.  โอกาสโลก  ได้แก่แผ่นดินอันเป็นที่อาศัยแห่งหมู่สัตว์.   ข้าพเจ้ายังไม่ปลงใจในสังขารโลก.  ศัพท์ว่าสังขารในที่อื่น  หมายเอาทั้งสัตว์ทั้งพัสดุอื่น  ไม่ได้หมายเอาสภาว-ธรรมที่แยกกระจายออกแล้ว    เมื่อแยกสัตว์ออกเป็นโลกชนิดหนึ่งแล้ว  สังขารโลก   น่าจะได้แก่พวกกระบิลไม้ที่เรียกในภาษามคธว่าภูตคาม  อันเป็นอนุปาทินนกสังขาร  แปลกจากสัตว์โดยอาการไม่มีใจครอง   แปลกจากโอกาสโลกโดยอาการรู้จักเป็นรู้จักตาย.  เมื่อถือเอาความอย่างนี้   โอกาสโลกก็เป็นที่อาศัยของสังขารคือพวกกระบิลไม้นั้นด้วย.   อีกอย่างหนึ่ง  ศัพท์ว่าสังขาร   หมายเอาสภาพผู้ปรุงแต่งกล่าวคือกรรมก็มี  ได้ในคำว่า  สงฺขารปจฺจยา  วิญฺาณ  วิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย  โดยนัยนี้  สังขารโลก   ก็น่าจะได้แก่กรรมอันปรุงแต่งสัตวโลกกับโอกาสโลก   อันเป็นที่อาศัยให้เจริญหรือทราม.  ขอนักธรรมพิจารณาดูเถิด.

โลก  ๓
มนุษยโลก        ได้แก่โลกที่เราอาศัยอยู่นี้                                    
เทวโลก           ได้แก่สวรรค์กามาพจร ๖ ชั้น
พรหมโลก        ได้แก่สวรรค์ชั้นรูปพรหม ๑๖ ชั้น
         
วัฏฏะ  [วน]  ๓
กิเลสวัฏฏะ       วนคือกิเลส                                                           
กัมมวัฏฏะ       วนคือกรรม
วิปากวัฏฏะ      วนคือวิบาก
          อธิบาย: สภาพ ๓  นี้ ได้ชื่อว่า วน เพราะหมุนเวียนกันไป  คือกิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม ครั้งทำกรรมแล้ว  ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสเกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ กว่าพระอรหัตตมรรคจะตัดให้ขาดลง  เรียกบวกประเภทว่า  ไตรวัฏฏะ.

วิชชา  ๓
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ           รู้จักระลึกชาติได้                         
จุตูปปาตญาณ             รู้จักกำหนดจุติและเกิด
อาสวักขยญาณ                     รู้จักทำอาสวะให้สิ้น
อธิบาย:  นิทเทสแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณว่า ระลึกชาติ ถอยหลังเข้าไปได้ตั้งแต่ชาติหนึ่งสองชาติจนตั้งหลายๆ กัลป์  ว่าในชาติที่เท่านั้นได้มีชื่อ มีโคตร มีผิวพรรณ  มีอาหารอย่างนั้นๆ  ได้เสวยสุข   ได้สวยทุกข์อย่างนั้นๆ  มีอายุเท่านั้น จุติจากนั้นแล้ว ได้เกิดในชาติที่เท่าโน้น ได้เป็นอย่างนั้นๆ  แล้วมาเกิดในชาตินี้.
        นิทเทสแห่งจุตูปปาตญาณว่า      มีจักษุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักษุสามัญมนุษย์  เห็นเหล่าสัตว์ที่กำลังจุติก็มี  กำลังเกิดก็มี  เลวก็มี  ดีก็มี  มีผิวพรรณงามก็มี  มีผิวพรรณไม่งามก็มี  ได้ดีก็มี  ตกยากก็มี  รู้ชัดว่าเหล่าสัตว์เป็นตามกรรม.  วิชชาที่  ๒  นี้เรียกว่า  ทิพพ-จักขุญาณก็มี.        นิทเทสแห่งอาสวักขยญาณว่า  รู้ชัดตามจริงว่า  นี้ทุกข์  นี้ทุกขสมุทัย   นี้ทุกขนิโรธ  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  เหล่านี้อาสวะนี้เหตุเกิดอาสวะ   นี้ความดับอาสวะ   นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ  เมื่อรู้เห็นอย่างนี้  จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ  ภาวสวะ   อวิชชาสวะรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กรณียะทำเสร็จแล้วกิจอื่นอันจะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก.        วิชชา  ๓  นี้  ญาณ  ๓  ก็เรียก.   วิชชา  ๓  นี้   ท่านกล่าวว่าเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธญาณ   อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบรรลุมาโดยลำดับในยามสามแห่งราตรี.   ความระลึกชาติได้ดังแสดงไว้ในนิทเทส   เป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณได้อย่างไรน่าพิจารณาดู    หรือว่าระลึกชาติได้เช่นนั้นแล้ว   หายตื่นหายหวาดในความเวียนเกิดเวียนตาย   เห็นเป็นคติแห่งธรรมดา   เกิดอนัตตานุ-  ปัสสนาขึ้นเอง   เช่นนี้ชอบกลอยู่.   ญาณนี้ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังขันธสันดาน   ส่อว่าเป็นอนัตตานุปัสสนา  สมเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ.   จุตูปปาตญาณ  ปรารภเหล่าสัตว์อื่นผู้เวียนเกิดเวียนตาย  ดุจเดียวกับบุพเพนิวาสานุสสติญาณ   ปรารภตนตามนิทเทสเติมปรารภคติแห่งสัตว์นั้นด้วย    ดูเหมือนแสดงว่าไม่ใช่แต่เวียนเกิดเวียนตายเท่านั้นเป็นคติแห่งธรรมดา    ความเป็นไปตามอำนาจกรรม  ก็เป็นคติแห่งธรรมดาอีกเหมือนกัน.  ญาณนี้  ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะกำบังกัมมัสสกตา  จะกล่าวว่ากำจัดโมหะเป็นเหตุชื่อถือไร้เหตุเช่นสีลัพพตปรามาสและมิจฉาทิฏฐิก็ได้   จัดเป็นองค์แห่งพระสัมมา-สัมโพธิญาณชอบอยู่.  อาสวักขยญาณไม่ทำกิจเพียงรู้เท่านั้น  รู้จักน้อมความรู้นั้นมาเป็นอุปการะทำอาสวะให้สิ้นได้ด้ว จัดเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณชอบแท้. ในความแห่งวิชชา ๓ นี้มีอยู่เพียงไร   ขอนักธรรมจงสอดส่องถือเอาเอง.

วิโมกข์  ๓
สุญญตวิโมกข์  
อนิมิตตวิโมกข์         
อัปปณิหิตวิโมกข์. 
      
สมาธิ  ๓
                                                          สุญญตสมาธิ      
อนิมิตตสมาธิ 
อัปปณิหิตสมาธิ.            
อธิบาย:   ศัพท์ว่า  วิโมกข์  นั้นแปลว่า  พ้น  หมายความว่าพ้นจากกิเลส  ได้แก่พระอรหัต.   พระอรรถกถาจารย์แก้ว่า  ชนิดที่ได้ชื่อว่า  สุญญตวิโมกข์นั้น  เพราะว่างจากราคะ   โทสะ  โมหะ.  ชนิดที่ได้ชื่อว่า  อนิมิตตวิโมกข์นั้น   เพราะหาราคะ  โทสะ  โมหะ   เป็นนิมิต  คือเครื่องหมาย  มิได้.   ชนิดที่ได้ชื่อว่า   อัปปณิหิตวิโมกข์นั้นเพราะหาราคะ  โทสะ  โมหะ   เป็นปณิธิ  คือที่ตั้ง   มิได้.  แก้อย่างนี้ความยังไม่ต่างจากกันออกไป  โดยความ  ทั้ง  ๓   ชนิดนั้นไม่สัมปยุตด้วยราคะ  โทสะ  โมหะ   จัดว่าเป็นประเภทเดียวกัน.  ข้าพเจ้าเข้าในว่าทั้ง  ๓  ชนิดนั้น  คงมีลักษณะหรืออารมณ์ต่างกัน  ไม่เช่นนั้นแยกประเภทไว้ทำอะไร  เรียกว่าวิโมกข์เท่านั้นก็พอ.   ความเห็นย่อของข้าพเจ้าว่า  ได้แก่โลกุตตรธรรมสัมปยุตด้วยสมาบัติ  มีอารมณ์ชนิดนั้น  ส่วนสมาธินั้น   ได้แก่ตัวสมาบัติชนิดนั้น.   จักออกมติมากไปก็จักเป็นคาดคะเน  ขอยุกติไว้เพียงเท่านี้.* *  ในปฏิสัมภิทามรรค  ขุททกนิกาย  ๓๑/๒๙๘  แสดงว่า  วิโมกข์  ๓  นี้  เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์  คือหลุดพ้นเพราะพิจารณาเห็น  อนตฺตา  เป็นสุญญตวิโมกข์เห็น  อนิจฺจ  เป็นอนิมิตตวิโมกข์,   เห็น  ทุกฺข  เป็น  อัปปณิหิตวิโมกข์แม้สมาธิก็อย่างเดียวกัน.

วิเวก  ๓
                                        กายวิเวก   สงัดกาย                                                                     
จิตตวิเวก   สงัดจิต
อุปธิวิเวก   สงัดกิเลส
อธิบาย:    อยู่ในที่สงัด   จัดเป็นกายวิเวก.   ทำจิตให้สงบด้วยสมถภาวนา  จัดเป็นจิตตวิเวก.   ทำใจให้บริสุทธ์จากกิเลสด้วยวิปัสสนาภาวนา  จัดเป็นอุปธิวิเวก.

สังขตลักษณะ  ๓
                                      ความเกิดขึ้น   ปรากฏ                                                                
ความดับ          ปรากฏ
เมื่อยังตั้งอยู่   ความแปรปรากฏ
อธิบาย: สองบทข้างต้นชัดแล้ว อุทาหรณ์บทหลัง คนเป็นเด็กแล้วแปรเป็นหนุ่ม  แล้วแปรเป็นแก่.

สังขาร  ๓
กายสังขาร                 สภาพอันแต่งกาย                                                 
วจีสังขาร                  สภาพอันแต่งวาจา
จิตตสังขาร                สภาพอันแต่งจิต
อธิบาย:   ลมอัสสาสะปัสสาสะ   ได้ชื่อว่ากายสังขาร  เพราะ  ปรนปรือกายให้เป็นอยู่  วิตก  กับ   วิจาร   ได้ชื่อว่าวจีสังขาร  เพราะตริแล้วตรองแล้วจึงพูด  ไม่เช่นนั้นวาจานั้นจักไม่เป็นภาษา  เช่นคำ  ของคนละเมอหรือของคนเพ้อ.   สัญญากับเวทนา   ได้ชื่อว่าจิตตสังขารเพราะย้อมจิตให้มีประการต่าง ๆ  ดุจน้ำย้อมอันจับผ้า.

สัทธรรม  ๓
ปริยัตฺติสัทธรรม           ได้แก่คำสั่งสอน                                          
ปฏิปัตติสัทธรรม           ได้แก่ความปฏิบัติ
ปฏิเวธสัทธรรม            ได้แก่มรรค ผล นิพพาน
                                                          
สมบัติ  ๓
                                      มนุษยสมบัติ               สมบัติในมนุษย์                                                 
สวรรคสมบัติ               สมบัติในสวรรค
นิพพานสมบัติ             สมบัติคือพระนิพพาน
                            
                                                          สิกขา  ๓
                                      อธิสีลสิกขา                สิกขาคือศีลยิ่ง                                                     
อธิจิตตสิกขา               สิกขาคือจิตยิ่ง
อธิปัญญาสิกขา            สิกขาคือศีลยิ่ง
อธิบาย:   ปฏิปทาที่ตั้งไว้เพื่อศึกษา   คือฝึกหัดไตรทวารไปตาม    ชื่อว่าสิกขา.   ในเบื้องต้น   ควรหัตปฏิบัติรักษามารยาทกายวาจาให้เรียบร้อยปราศจากโทษสมควรแก่หมู่ก่อน   นี้จัดเป็นสีลสิกขา.  ในลำดับนั้น   ควรหัตรักษาจิตให้อยู่ในอำนาจ  อาจทำให้แน่แน่วควรแก่การงานในคราวต้องการ  นี้จัดเป็นจิตตสิกขา.  ในที่สุด   ควรหัดใช้ปัญญา  ให้รอบรู้สภาวธรรมอันเป็นไปด้วยความเป็นเหตุและผลแห่งกันและกัน   จัดเป็นปัญญาสิกขา.  เพ่งธรรมอันอุกฤษฏ์  เรียกว่าอธิสีลสิกขา   อธิจิตตสิกขา  อธิปัญญาสิกขา.

โสดาบัน  ๓
                                                เอกพีชี  
โกลังโกละ  
สัตตักขัตตุปรมะ.                                  
อธิบาย:  พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอริยผลทีแรก   เรียกว่า  พระโสดาบัน   แปลว่า  ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน   มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา  เป็นผู้แน่ว่าจะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า  มีประเภทเป็น  ๓  ท่านผู้เยี่ยมในชั้นนี้  มีคติในมนุษยโลก  หรือในเทวโลกอีกเพียงคราวเดียวจักบรรลุพระอรหัตตผลในภพที่เกิดนั้น  เรียกว่าเอกพีชี แปลว่า  มีพืชคือภพอันเดียว.  พระโสดาบันเอกพีชีนี้   ออกจะดีกว่าพระสกทาคามีผู้จะต้องไปเกิดในเทวโลกหนหนึ่งก่อน   จุติจากนั้นแล้ว  จึงจักมายังมนุษยโลกนี้  และได้บรรลุพระอรหัต.   ท่านผู้ท่องเที่ยวเกิดอยู่ในภพ๒-๓  ภพแล้ว  จึงได้บรรลุพระอรหัต  เรียกว่าโกลังโกละ  แปลว่าไปสู่กุละจากกุละ.   กุละนี้หมายเอาภพ.  ท่านผู้ท่องเที่ยวเกิดอยู่ช้า   กว่านี้   แต่อย่างนานเพียง  ๗  ชาติ  และได้บรรลุพระอรหัตเรียกว่าสัตตักขัตตุปรมะ แปลว่า มี  ๗  ครั้งเป็นอย่างยิ่ง.

จตุกกะ  หมวด  ๔
อบาย  ๔
นิรยะ                        นรก
ติรัจฉานโยนิ                กำเนิดรัจฉาน
ปิตติวิสัย                     ภูมิแห่งเปรต
อสุรกาย                     พวกอสุระ.
อธิบาย:  ภูมิ  กำเนิดหรือพวก  อันหาความเจริญมิได้  จัดเป็นอบาย.  นิรยะ   ท่านว่าเป็นภูมิที่ลงโทษคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิดขึ้น  ณ  ที่นั้น  มีนายนิรยบาลเป็นผู้ทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ  ให้ได้ความเดือดร้อน  แสดงโดยบุคคลาธิษฐานด้วยถูกไฟลวกและถูกประหารดุจความเข้าใจของพวกพราหมณ์ครั้งเวทิกสมัย  คือยุคถือลัทธิตามพระเวทว่า   คนทำบาปตายไปแล้วถูกพระยมชำระแล้วลงโทษให้ตกนรก   และต้องเสวยกรรมกรณ์ต่าง ๆ    แต่ในปูนหลังกล่าวเพียงนรกและคนทำบาปไปเกิดเองในภูมินั้น  การถูกเพลิงลวกหรือถูกประหารก็เป็นอยู่ในภูมินั้นเอง  ไม่กล่าวถึงนายนิรยบาล  เป็นกลเม็ดอยู่.   กำเนิดดิรัจฉานที่ไม่มีภูมิเป็นที่อยู่ต่างหาก  ต้องอาศัยมนุษยโลก   ปรากฏแล้ว  นอกจากนี้  ท่านว่ายังมีนาคและครุฑมีพิภพเป็นที่อยู่  มีพระราชาในพวกกันเอง   เป็นสัตว์ผู้บริบูรณ์  แม้อย่างนั้น  ท่านก็จัดเป็นอบายเพราะไม่เป็นภัพพบุคคลเหมือนมนุษย์.  ศัพท์ว่า  เปรต  แปลว่า  ผู้ละไปแล้ว   หมายเอาผีผู้เคยเป็นมนุษย์มาก่อน   ยังไม่ได้ไปถือกำเนิดอื่น  ได้ในศัพท์  สัมภเวสี   ผู้แสวงหาที่เกิดในเมตตสูตร  ภายหลังหมายเอาเฉพาะจำพวกทำบาปมีโทษไม่ถึงตกนรก  แต่มีรูปร่างซวดทรงไม่สมประกอบ   ตกยาก  ได้ความอดอยากเป็นล้นเหลือ   เดือดร้อนไปในทางเป็นอยู่ของตนเอง.  พวกเปรตนี้  ดูเหมือนอาศัยมนุษยโลกก็มี   พึงเห็นอย่างพวกเปรตพระญาติเก่าของพระเจ้าพิมพิสาร  ซึ่งกล่าวถึงในติโรกุฑฑสูตร  และในอรรถกถาแห่งสูตรนั้น  ดูเหมือนมีภูมิสำหรับก็มี  พึงเห็นอย่างพวกเปรตซึ่งกล่าวถึงในชาณุสโสณีสูตรนอกจากนี้  ยังมีเปรตอีกจำนวนหนึ่ง  อยู่ปลีกตามลำพังในมนุษยโลกได้เสวยสุขเสวยทุกข์ปนกัน  มีวิมานอยู่  มีสมบัติ  ได้เสวยสุขในวิมานในวัน  ครั้นค่ำลง   ต้องออกจากวิมานไปรับกรรมการณ์เหมือนสัตว์นรกในคืน  พอสว่างก็กลับวิมานได้อีก.  อสุรกาย  เป็นจำพวกที่มัว  ในบาลีไม่กล่าวถึงเลย   ในอรรถกถาก็ได้พบเพียงสักว่าชื่อ  ในปทานุกรมสสกฤต  แก้อสุรศัพท์ว่าผู้เป็นอยู่  อธิบายว่า  ได้แก่ผีเป็นอทิสสมานกาย  ประเภทที่ชั่ว  ตรงกับผีไม่มีชื่อผู้เที่ยวหลอกมนุษย์ให้ตกใจกลัว.   ผีแปลกจากเปรตเพราะเที่ยวหลอก  เปรตไม่หลอกเป็นแต่คนไปพบเข้าเอง  หรือเมื่อจะร้องทุกข์แก่คน  ก็แสดงตัวให้เห็นเป็นอทิสสมานกายหรือไม่ ๆ  ชัด   กล่าวถึงทั้ง  ๒  อย่าง.   อาหารของสัตว์นรก   ท่านกล่าวว่ากรรม.  อาหารของสัตว์ดิรัจฉาน  เป็นตามประเภทของมัน   ที่เป็นส่วนใหญ่   ของเกิดในสรีระแห่งสัตว์ด้วยกันเป็นต้นว่าเนื้อและเลือดก็มี  ของนับเข้าในภูตคาม  เป็นต้นว่าหญ้าและ ใบไม้ก็มี.  อาหารของเปรต   ท่านกล่าวว่ากรรมด้วย  ผลทานอันญาติมิตรผู้ยังเป็นอยู่ในมนุษยโลกบริจาคแล้วอุทิศไปถึงด้วย.   อาหารของ   อสุรกายไม่ได้ระบุไว้ชัด   เทียบอาหารของยักษ์เลว ๆ  ของเกิดในสรีระแห่งสัตว์ด้วยกันไม่เลือกว่าดีหรือเสีย   สกปรกหรือไม่.  ข้าพเจ้า จักเปรียบสัตว์นรก  เปรต   อสุรกาย  เพื่อเป็นทางสันนิษฐาน   สัตว์นรก   เช่นคนโทษถูกรับอาญาแผ่นดิน ต้องเสวยกรรมกรณ์อยู่ในพันธนาคาร  แต่รัฐบาลให้อาหารกินไม่อดอยากมากนัก.  เปรตเช่น  คนตกทุกข์ได้ยาก   อดอยาก  หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้โดยฝืดเคือง  หากินในทางเที่ยวขอทาน.   อสุรกาย   เช่นคนอดอยากอย่างนั้นแล้ว   เที่ยวลอบทำโจรกรรมในค่ำคืน  ตลอดถึงการหลอกลวงเอาทรัพย์ของผู้อื่น.

อปัสเสนธรรม  ๔
                                      พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง                      
                                      พิจารณาแล้วอดกลั้นขงอย่างหนึ่ง
                                      พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง      
                                      พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.                                               
อธิบาย:   ข้อต้นเสพของอันสบาย  ต่างโดยเป็นจีวร  บิณฑบาตเสนาสนะ   คิลานเภสัช   บุคคลและธรรมเป็นต้น  ที่เสพเข้ากุศลเกิดขึ้นและเจริญขึ้น  อกุศลไม่เกิด   ที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสิ้นไป.  ข้อที่  ๒  อดกลั้นอารมณ์อันไม่เป็นที่เจริญใจ  ต่างโดยหนาว   ร้อน  หิว  ระหาย  ถ้อยคำเสียดแทง  และทุกขเวทนาอันแรงกล้า.   ข้อที่  ๓  เว้นของไม่ สบาย  ต่างโดยประเภทอย่างนั้น  ที่เสพเข้า  อกุศลเกิดขึ้นและเจริญขึ้น  กุศลไม่เกิด   ที่เกิดแล้วเสื่อมสิ้นไป.  ข้อที่  ๔  บรรเทาอกุศลวิตกอันสัมปยุตด้วยกาม  ด้วยพยาบาท  ด้วยวิหิงสา.

อัปปมัญญา  ๔
                                                 เมตตา  
กรุณา 
มุทิตา 
อุเบกขา.                                                
อธิบาย:   เมตตา   โดยพยัญชนะ  ได้แก่ความสนิทสนม  คือรักใคร่  เว้นจากราคะ  โดยอรรถ  ได้แก่ปรารถนาความสุขความเจริญเพื่อผู้อื่น.  กรุณา  โดยพยัญชนะ   ได้แก่ความหวั่นใจ  เมื่อเห็นผู้อื่นได้ทุกข์ร้อน  โดยอรรถ  ได้แก่ความปรารถนาเพื่อจะปลดเปลื้องทุกข์ของเขา.  มุทิตา  โดยพยัญชนะ  ได้แก่ความชื่นบาน  โดยอรรถ  ได้แก่ความพลอยยินดีด้วย  ในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี.  อุเบกขา  โดยพยัญชนะได้แก่ความวางเฉย  โดยอรรถ  ได้แก่ความวางคนเป็นกลาง  ในเมื่อจะแผ่เมตตากรุณาไปไม่บังควร  เช่นเอาใจช่วยโจรเป็นตัวอย่าง  หรือในเมื่อจะพลอยยินดีด้วยสมบัติของอีกฝ่ายหนึ่ง  จำจะยินดีด้วยวิบัติของอีกฝ่ายหนึ่ง  เช่น  ๒  ฝ่ายเป็นความกัน  จะพลอยยินดีด้วยฝ่ายชำนะก็จำจะยินดีด้วยความแพ้ของอีกฝ่ายหนึ่ง.   ธรรม  ๔  อย่างนี้  ที่แผ่โดยเจาะตัวก็ดี   โดยไม่เจาะตัวแต่ยังไม่จำกัดมุ่งเอาหมู่นี้หมู่นั้นก็ดี  จัดเป็น พรหมวิหาร   แปลว่า  ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม  โดยอธิบายว่าพรหมโดยอุปบัติก็ดี   พรหมโดยสมมติ  คือ  ผู้ใหญ่ก็ดี  ย่อมอยู่ด้วยธรรมเหล่านี้.  ที่แผ่โดยไม่เจาะตัวไม่มีจำกัด   จัดเป็นอัปปมัญญาแปลว่า  ภาวนามีสัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์  เป็นปฏิปทาของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้.        
                             
พระอรหันต์  ๔
                                      สุกฺขวิปสฺสโก            ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน
                                      เตวิชฺโช                  ผู้ได้วิชชาสาม
                                      ฉฬภิญฺโ                ผู้ได้อภิญญาหก
                                      ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต       ผู้ถึงปฏิสัมภิทา.
อธิบาย:   สุกขวิปัสสก  แปลตามพยัญชนะว่า  ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง  โดยอรรถ   ได้แก่ท่านผู้เจริญวิปัสสนาล้วน  ได้สำเร็จอรหัต  มิได้รงคุณอย่างอื่นอีก.  คุณ  ๓  ประเภทเป็นเครื่องแปลกแห่งพระอรหัตอีก  ๓  องค์  พึงดูตามหมวด.

พระอริยบุคคล  ๔
                                                พระโสดาบัน
                                     พระสกทาคามี
                                      พระอนาคามี
                                      พระอรหันต์.                
หมายเอาท่านผู้ได้บรรลุอริยผลซึ่งจักแสดงข้างหน้า.            
                      
อริยวงศ์  ๔
สันโดษด้วยจีวร  
บิณฑบาต 
เสนาสนะ   ตามมีตามเกิดนับเป็น  ๓ 
ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศล  ๑.
อธิบาย:   เนื่องจากผู้สันโดษนั้น  ย่อมสรรเสริญคุณแห่งสันโดษอย่างนั้น  ไม่ทำอเนสนา  คือแสวงหาไม่ควร  เพราะเหตุปัจจัย  ๓  นี้ไม่ได้ก็ไม่ทุรนทุราย  ได้ก็บริโภค  ไม่ติดใจในปัจจัย  ๓  นั้น  ไม่ยกตนข่มผู้อื่น  เพราะสันโดษและยินดีในภาวนาและปหานะนั้น.

อรูป  ๔
                                      อากาสานัญจายตนะ
                                      วิญญาณัญจายตนะ
                                      อากิญจัญญายตนะ
                                      เนวสัญญานาสัญญายตนะ.                                                  
อธิบาย:   ศัพท์ว่า  อรูป  นี้  นัยหนึ่งเป็นชื่อแห่งฌานมีวิภาคดังนี้:   พระโยคาวจรได้บรรลุรูปฌานที่  ๔  แล้ว  พิจารณาเห็นปฏิภาค-นิมิตแห่งกสิณ  จนเป็นอากาศคือของว่างเปล่า  เรียกว่าเพิกกสิณแล้วคำนึงเป็นอารมณ์ว่าอากาศหาที่สุดมิได้  น่าจะได้แก่ไม่ทำในใจ ถึงปฏิภาคนิมิตต์  หรือไม่เหนี่ยวรูปเป็นอารมณ์   นี้เป็นอากาสา-นัญจาญตนะ  เป็นอรูปฌานที่  ๑.   ในลำดับนั้น  ล่วงอากาศเสียถือเอาวิญญาณเป็นอารมณ์ว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้   น่าจะได้แก่คำนึงถึงวิญญาณเป็นอารมณ์  นี้เป็นวิญญาณัญจายตนะ   เป็นอรูปฌานที่  ๒.  ในลำดับนั้น   ล่วงวิญญาณเสีย  ถือเอาความไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่งเป็นอารมณ์  คือ  เกือบไม่มีอะไรเป็นอารมณ์เลย  นี้เป็น อากิญจัญญายตนะ  เป็นอรูปฌานที่  ๓.  ในลำดับนั้น  ล่วงอารมณ์เกือบไม่มีอะไรเหลือนั้นเสีย   จนเป็นผู้มีสัญญาคือความรู้สึกตัวก็มิใช่เป็นผู้หาสัญญามิได้ก็มิใช่    นี้จัดเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ  เป็นอรูปฌานที่  ๔.        อีกนัยหนึ่ง  เป็นชื่อแห่งภพ  มีอธิบายดังนี้:    ผู้ได้อรูปฌานนั้นล้วนเป็นส่วนโลกิยะ  จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว  ไปเกิดในพรหมภพมีประเภทเป็น ๔  มีชื่อเหมือนอย่างนั้นตามกำลังฌานของตน.

อวิชชา  ๔
                                ไม่รู้ในทุกข์
                                ไม่รู้ในทุกขสมุทัย
                                ไม่รู้ในทุกขนิโรธ
                                ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.     
                                       
อาหาร  ๔
                             กวฬิงการาหาร                     อาหารคือคำข้าว
                             ผัสสาหาร                            อาหารคือผัสสะ
                             มโนสัญเจตนาหาร                  อาหารคือมโนสัญเจตนา
                             วิญญาณาหาร                       อาหารคือวิญญาณ.                                                               
อธิบาย:    ธรรมอันได้ชื่อว่าอาหารนั้น  เพราะเป็นปัจจัยนำผลมา.   อาหารชนิดที่กลืนกินนั้น  ย่อมเลี้ยงร่างกายให้เป็นไป.   ผัสสะนั้น  หมายเอาความประจวบกันแห่งอายตนะภายในภายนอก  และวิญญาณ  เป็นปัจจัยแห่งเจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถี   มีเวทนาเป็นต้น.มโนสัญเจตนานั้น  หมายเอาความจงใจ   เป็นปัจจัยแห่งการทำการพูด   การคิด  ซึ่งจัดเป็นกรรม.  วิญญาณ  มีวิภาคเป็น  ๒วิถีวิญญาณ  ได้แก่จิตในแถว  เกิดทางทวาร  ๖  ปฏิสนธิวิญญาณได้แก่วิญญาณในปฏิสนธิแรกเกิด.   วิถีวิญญาณ  เป็นอันกล่าวถึงในผัสสาหารแล้ว  โดยเอกเสสนัย  น่าจะได้แก่ปฏิสนธิวิญญาณอันเป็นปัจจัยแห่งนามรูป   กล่าวโดยสมมติ  คือ  อัตตภาพข้างหน้าอันจะเจริญขึ้นโดยลำดับ  ได้ในองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท  วิญฺาณปจฺจยานามรูป  ซึ่งแปลว่า  นามรู้ย่อมเกิดมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

อุปาทาน  ๔
                                      กามุปาทาน            ถือมั่นกาม
                                      ทิฏฐุปาทาน           ถือมั่นทิฏฐิ
                                      สีลัพพตุปาทาน       ถือมั่นศีลพรต
                                      ลัตตวาทุปาทาน       ถือมั่นวาทะว่าตน.                                                       
อธิบาย:  ถือมั่นข้างเลว  ได้แก่ถือรั้น  จัดเป็นอุปาทาน.  ถือมั่นวัตถุกามด้วยอำนาจกามตัณหา  หมกมุ่นอยู่ว่านั่นของเรา  จนเป็นเหตุอิสสาหรือหึง  จัดเป็นกามุปาทาน.  ถือมั่นความเห็นผิดด้วยอำนาจหัวดื้อ  จนเป็นเหตุเถียงกันทะเลาะกัน  จัดเป็นทิฏฐุปาทาน.  ถือมั่นศีลพรต  คือ  ธรรมเนียมที่เคยประพฤติมาจนชิน   ด้วยอำนาจความเชื่อว่าขลัง  จนเป็นเหตุหัวดื้องมงาย  จัดเป็นสีลัพพตุปาทาน.  ถือเราถือเขาด้วยอำนาจมานะ   จนเป็นเหตุถือพวก   จัดเป็นอัตตวาทุปาทาน.
โอฆะ  ๔
                                      กาโมฆะ                    โอฆะคือกาม
                                      ภโวฆะ                     โอฆะคือภพ
                                      ทิฏโฐฆะ                   โอฆะคือทิฏฐิ
                                      อวิชโชฆะ                  โอฆะคืออวิชชา.                                              
โยคุ  ๔  อาสวะ  ๔ เหมือนกัน.
อธิบาย:   กาม  ภพ   อวิชชา  พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วใน    อาสวะ  ๓.  ทิฏฐิ  หมายเอามิจฉาทิฏฐิ.  สภาพ  ๔  นี้  ได้ชื่อว่าโอฆะ*เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์.   ได้ชื่อว่าโยคะ  เพราะประกอบสัตว์ได้ในภพ.  ได้ชื่อว่าอาสวะ  เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน.

กิจในอริยสัจ  ๔
                                      ปริญญา                    กำหนดรู้ทุกขสัจ
                                      ปหานะ                     ละสมุทัยสัจ
                                      สัจฉิกรณะ                 ทำให้แจ้งนิโรธสัจ
                                      ภาวนา                     ทำมัคคสัจให้เกิด.                 
อธิบาย:  อธิยมรรคเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำกิจ  ๔  นี้ในขณะเดียวกัน.

ฌาน  ๔
                                      ปฐมฌาน                  ฌานที่  ๑
                                      ทุติยฌาน                  ฌานที่  ๒
                                      ตติยฌาน                   ฌานที่  ๓
                                      จตุตถฌาน                 ฌานที่  ๔                                     
อธิบาย:  การเพ่งอารมณ์จนใจแน่แน่วเป็นอัปปนาสมาธิ   เรียก *  โอฆะ  ได้แก่กระแสน้ำที่หลากไหลท่วม   ได้ในคำว่า  "สุตฺต  คาม  มโหโฆว   มจฺจุอาทาย  คจฺฉติ"   ความตายดูจกระแสน้ำท่วมใหญ่  ย่อมพัดพาชาวบ้านหลับไป. ว่าฌาน.   ฌานนั้นจัดเป็น  ๔  ชั้น  เรียกชื่อตามลำดับปูรณสังขยาประณีตขึ้นไปกว่ากันโดยลำดับ.  ปฐมฌานมีองค์  ๕  คือ  ยังมีตรึกซึ่งเรียกว่าวิตก  และยังมีตรองซึ่งเรียกว่าวิจาร  เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ  แต่ไม่ประกอบด้วยกิเลสกามและอกุศลธรรม  ซ้ำมีปีติคือความอิ่มใจ  และสุขคือความสบายใจเกิดแต่วิเวกคือความสงบกับประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไป   ซึ่งเรียกว่าเอกัคคตา.ทุติยฌานมีองค์  ๓  ละวิตกวิจารเสียได้   คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา.  ตติยฌานมีองค์  ๒  ละปีติเสียได้  คงอยู่แต่สุขกับเอกัคคตา.  จตุตถฌานมีองค์  ๒  เหมือนกัน  ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขา  คือเฉย ๆ กับเอกัคคตา.  ฌาน  ๔  นี้  จัดเป็นรูปฌาน  เป็นรูปสมาบัติ   มีรูปธรรมเป็นอารมณ์   สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ.

ทักขิฌาวิสุทธิ  ๔
                             ทักขิฌาบางอย่าง  บริสุทธ์ฝ่ายทายก               มิใช่ฝ่ายปฏิคาหก
                             ทักขิณาบางอย่าง  บริสุทธ์ปฏิคาหก                มิใช่ฝ่ายทกยก
                             ทักขิณาบางอย่าง  ไม่บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก        ทั้งฝ่ายปฏิคาหก
                             ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก            ทั้งฝ่ายปฏิคาหก.                                                       
อธิบาย:   ของทำบุญ  เรียกว่าทักขิณา.  ทายกเป็นผู้มีศีล  มีกัลยาณธรรม   บริจาคทักขิณาใดแก่ปฏิคาหกผู้ทุศีล   มีบาปธรรม ทักขิณานั้น  จัดว่าบริสุทธ์ฝ่ายทายก   มิใช่ฝ่ายปฏิคาหก.   ทายกเป็นผู้ทุศีล   มีบาปธรรม  บริจาคทักขิณาใดแก่ปฏิคาหกผู้มีศีล  มีกัลยาณ-  ธรรม  ทักขิณานั้น  จัดว่าบริสุทธ์ฝ่ายปฏิคาหก  มิใช่ฝ่ายทายก.  ทั้งทายกทั้งปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล   มีบาปธรรม  ทักขิณาอันทายกบริจาคแก่ปฏิคาหกนั้น  ย่อมไม่บริสุทธ์เลย.  ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีศีล  มีกัลยาณธรรม   ทักขิณาอันทายกบริจาคแก่ปฏิคาหกนั้น  ย่อมบริสุทธ์พร้อมทั้งสองฝ่าย.

ธรรมสมาทาน  ๔
                   ธรรมสมาทานบางอย่าง        ให้ทุกข์ในปัจจุบัน  และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
                   ธรรมสมาทานบางอย่าง        ให้ทุกข์ในปัจจุบัน  แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป.
                   ธรรมสมาทานบางอย่าง        ให้สุขในปัจจุบัน  แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป.
                   ธรรมสมาทานบางอย่าง        ให้สุขในปัจจุบัน  และมีสุขเป็นวิบากต่อไป.  
อธิบาย:    ธรรมสมาทาน  ได้แก่การทำกรรม  อุทาหรณ์มาในบางพระสูตร  อย่างต้น  ประพฤติอกุศลกรรมบถฝืนใจได้เสวยทุกขโทมนัส.  อย่างที่  ๒  ประพฤติกุศลกรรมบถได้ด้วยความยากลำบากอย่างที่  ๓  ประพฤติอกุศลกรรมบถด้วยความพอใจ  ได้เสวยสุขโสมนัส.   อย่างที่  ๔ ประพฤติกุศลกรรมบถด้วยความพอใจ  ได้เสวยสุขโสมนัส.ขยายความอย่างที่  ๑  เช่นคนคบคนพาล  ถูกคนพาลล่อพาตัวไปปล้นเอาทรัพย์ของคนอื่น  ผู้นั้นไม่สมัครทำเลย  แต่หลวมตัวเข้าไปเสียแล้วถ้าไม่ทำกับมัน  กลัวมันจะฆ่าเสีย  ต้องจำใจทำ.  อย่างที่  ๒   คนช่วยชีวิตแห่งผู้อื่น  ด้วยฝ่ายอันตราย   เช่นช่วยคนตกน้ำ.  อย่างที่  ๓  คนหากินโดยทางมิจฉาอาชีวะ   หาทรัพย์ได้คล่อง ๆ  เช่นรับของโจรหรือรับสินบน.  อย่างที่  ๔  คนมีทรัพย์  จ่ายทรัพย์ของตนเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นได้รับความเบิกบานใจ.  คนผู้ทำบาป  ตายแล้วย่อมไปสู่ทุคติ.  คนผู้ทำบุญ  ตายแล้วย่อมไปสู่สุคติ.

บริษัท  ๔
                                                ภิกษุ 
ภิกษุณี           
อุบาสก          
อุบาสิกา.            
                                                                         
บุคคล  ๔
                                      อุคฆติตัญญู      ผู้อาจรู้ธรรมพอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง.
                                      วิปจิตัญญู      ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น.
                                      เนยยะ           ผู้พอแนะนำได้.
                                      ปทปรมะ        ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง.                                         
อธิบาย:   บุคคลที่  ๑  เป็นผู้มีปฏิภาณเป็นอย่างดี  ท่านผู้เทศนายกเพียงหัวข้อขึ้นแสดง  ก็เข้าใจแล้ว  ตัวอย่างเช่นพระอัสสชิแสดงแก่พระสารีบุตรครั้งยังเป็นปริพาชกว่า  ความเกิดและดับแห่งธรรมทั้งหลายเพราะเหตุ   พระสารีบุตรเข้าในดีว่า   หัวใจพระพุทธศาสนาคือถือว่าสิ่งนั้น  ๆ   สารพัดทุกอย่างเป็นเหตุและผลแห่งกันและกัน  เกิดขึ้นก็เพราะเหตุ  ดังก็เพราะสิ้นเหตุ.  บุคคลที่  ๒  มีปฏิญาณไม่ถึงอย่างนั้น  ต่อได้ฟังอธิบายความจึงเข้าใจได้  ตัวอย่าง  พระปัญจวัคคีย์ได้ฟังพระศาสดาตรัสว่า  ปัญจขันธ์เป็นอนัตตา  แล้วทรงอธิบายว่าถ้าปัญจขันธ์เป็นอัตตาแล้วไซร้   ปัญจขันธ์นั้นก็จะไม่พึงเป็นไปเพื่อความลำบาก  และจะพึงปรารถนาได้ตามใจว่า  ขอจงเป็นอย่างนี้เถิดอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย  ท่านเข้าใจแล้ว.  บุคคลที่  ๓  ได้แก่ผู้พอจะฝึกสอนอบรมได้ต่อไป   อย่างคนสามัญ.   บุคคลที่  ๔  ได้แก่บุคคลผู้สักว่าฟัง  ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จเพราะการฟัง.

ปฏิปทา  ๔
                    ทุกฺขา  ปฏิปทา   ทนฺธาภิญฺา   ปฏิบัติลำบาก   ทั้งรู้ได้ช้า
                    ทุกฺขา  ปฏิปทา   ขิปฺปาภิฺา   ปฏิบัติลำบาก   แต่รู้ได้เร็ว
                    สุขา    ปฏิปทา   ทนฺธาภิญฺา   ปฏิบัติสะดวก   แต่รู้ได้ช้า
                    สุขา  ปฏิปทา   ขิปฺปาภิญฺา   ปฏิบัติสะดวก   ทั้งรู้ได้เร็ว.                                 
อธิบาย:   นี้หมายเอาความปฏิบัติของภิกษุผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ.ปฏิปทาที่   ๑   พึงเห็นเช่นของพระจักขุปาลเถระ  ท่านถือเนสัชชิกธุดงค์ไม่นอนตลอดพรรษาจนจักษุบอด  ได้ความลำบาก  ได้บรรลุธรรมพิเศษก็ช้ากว่าพวกสหาย.  ปฏิปทาที่ ๒   พึงเห็นเช่นของภิกษุผู้อาพาธ  ได้เสวยทุกขเวทนากล้าคือเอาเป็นอารมณ์  พอได้บรรลุธรรมพิเศษแล้วก็ดับจิต  ที่เรียกว่าชีวิตสมสีสี.  ปฏิปทาที่  ๓   พึงเห็นเช่นของภิกษุเรียนกัมมัฏฐานไม่ถูกแก่จริต   ไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษมานาน  กว่าจะได้เรียนกัมมัฏฐานถูกแก่จริต.  ปฏิปทาที่  ๔  พึงเห็นเช่นของพระพาหิยะ  ผู้ได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาในระหว่างทางก็ได้บรรลุธรรมพิเศษ.

ปฏิสัมภิทา  ๔
                             อัตถปฏิสัมภิทา                 ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ
                             ธัมมปฏิสัมภิทา                 ปัญญาอันแตกฉานในธรรม
                             นิรุตติปฏิสัมภิทา               ปัญญาอันแตกฉานในนิรุกติ
                             ปฏิภาณปฏิสัมภิทา            ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ.                                    
อธิบาย:  อรรถอย่างหนึ่ง  หมายเอาความอธิบายแห่งภาษิตความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร  ดุจพระมหากัจจายนะ ได้รับยกย่องแห่งพระศาสดา  จัดเป็นอัตถปฏิสัมภิทา.  อีกอย่าง  หนึ่งหมายเอาผล  ความเข้าใจคาดหน้าถึงผลอันจักมี   ด้วยอำนาจอนาคตตังสญาณ  จัดเป็นอัตถปฏิสัมภิทา.  ธรรมอย่างหนึ่ง  หมายเอาภาษิตอันเป็นกระทู้ซึ่งเรียกว่าอุทเทส   ความเข้าใจถือเอาใจความ แห่งอรรถาธิบายนั้น ๆ  ตั้งเป็นกระทู้ขึ้นได้  จัดเป็นธัมมปฏิสัมภิทา.อีกอย่างหนึ่ง  หมายเอาเหตุ  ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลังด้วยอำนาจอตีตังสญาณ  จัดเป็นธัมมปฏิสัมภิทา.  นิรุกติ  ได้แก่ภาษาความเข้าใจภาษา  รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจตลอดถึงรู้ภาษาต่างประเทศ  อาจชัดนำคนให้นิยมตามคำพูด   กล่าวสั้นว่าเข้าใจพูด  จัดเป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา.  ปฏิภาณ  ได้แก่ความไหวพริบ  ความเข้าใจทำให้สบเหมาะในทันที   ในเมื่อเหตุเกิดขึ้นโดยฉุกเฉิน  จัดเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ภูมิ  ๔
                             กามาจรภูมิ                ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในกาม
                             รูปาวจรภูมิ                ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในรูป
                             อรูปาวจรภูมิ              ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในอรูป
                             โอกุตตรภูมิ                ชั้นพ้นจากโลก.                                               
อธิบาย:   ภาวะอันประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ  แห่งจิตและเจตสิกเรียกว่าภูมิในที่นี้ แปลว่าชั้นหรือพื้นแพ ชั้นแห่งจิตและเจตสิกอัน ยังปรารภกามเป็นอารมณ์   จัดเป็นกามาวจรภูมิ  ได้แก่จิตและเจตสิกของสามัญมนุษย์เป็นตัวอย่าง.   ชั้นแห่งจิตและเจตสิกอันล่วง กามได้แล้ว  แต่ยังปรารภรูปธรรมเป็นอารมณ์  จัดเป็นรูปาวจรภูมิได้แก่จิตและเจตสิกของพระโยคาวจรผู้ได้ฌานมีกสิณ  หรือรูปอย่างอื่นเป็นอารมณ์   เรียกว่ารูปฌาน.  ชั้นแต่งจิตและเจตสิกอันล่วงรูปธรรมได้แล้ว  ปรารภอรูปธรรมเป็นอารมณ์    จัดเป็นอรูปาวจรภูมิ   ได้แก่จิตและเจตสิกของพระโยคาวจรผู้ได้ฌานมีอรูปธรรม  อย่างละเอียดเป็นอารมณ์  ที่เรียกว่าอรูปฌาน.  ชั้นแห่งจิตและเจตสิกอันล่วงโลกิย-ธรรมได้แล้ว  ไม่กลับกลายมาข้างต่ำ  จัดเป็นโลกุตตรภูมิ  ได้แก่จิตและเจตสิกแห่งพระอริยเจ้า.

มรรค  ๔
                                                โสดาปัตติมรรค
                                                สกทาคามิมรรค
                                                อนาคามิมรรค
                                                อรหัตตมรรค.                                       
          อธิบาย:   ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้เด็ดขาด  เรียกว่ามรรค.   มรรคนั้นจำแนกเป็น  ๔  ด้วยอำนาจกำจัดสังโยชน์แต่เพียงเอกเทศบ้าง  สิ้นเชิงบ้าง.  พึงรู้สังโยชน์  ๑๐  [จงดูในทสกะหมวด  ๑๐]ก่อนแล้ว  รู้วิภาคแห่งมรรคดังนี้:
        ๑.  โสดาปัตติมรรค  เป็นเหตุละสังโยชน์ได้  ๓  คือสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา   สีลัพพตปรามาส.                                                  
        ๒.  สกทาคามิมรรค เป็นเหตุละสังโยชน์ได้  ๓  เหมือนโสดา- ปัตติมรรค  กับทำราคะ  โทสะ  โมหะ  ให้เบาลง.                                
        ๓.  อนาคามิมรรค   เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ทั้ง  ๕.
        ๔.  อรหัตตมรรค    เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ทั้ง  ๑๐.
        ตามนัยที่กล่าวมานี้  สกทาคามิมรรค   ไม่ชัดเหมือนมรรคอื่นแฝงอยู่ในระหว่างโสดาปัตติมรรคกับอนาคามิมรรค.    และคำว่าทำราคะโทสะให้เบาลงนั้น  ก็ไม่ชัดว่าเพียงไร.   สันนิษฐานได้เพียงว่าราคะโทสะที่แรงกล้า  เป็นเหตุไปอบาย   เช่นกาเมสุมิจฉาจารและพยาบาท  สงบมาแต่ครั้งโสดาปัตติมรรคแล้ว  แปลว่า   ท่านผู้เป็นโสดาบันน์  ไม่ทำกาเมสุมิจฉาจาร   และไม่จองเวรแก่ผู้อื่น  แต่ยังมีภรรยาสามีตามประเพณีโลก   และยังโกรธผู้อื่น.  ฝ่ายอนาคามิมรรคกำจัดราคะ  โทสะ  นั้นสิ้นเชิง  แปลว่าท่านผู้เป็นพระอนาคามีเป็นโสดไม่มีคู่   ไม่มีสมัครรักใคร่ในทางกาม  ไม่โกรธขึ้งใคร.   ราคะ  โทสะอันสกทาคามิมรรคทำให้เบาลงนั้น  แปลว่ายังมี  แต่ไม่ใช่อย่างแรงร้าย   จะอธิบายว่า  มีห่าง ๆ  หรือมีอย่างสุขุม   ก็ไม่ปรากฏว่าเพียงไรอีก  และโมหะนั้นจะขาดเด็ดเพราะอรหัตตมรรค   สกทาคามิ-มรรคทำให้เบาลงได้เพียงไร   ไม่ชัดเหมือนกัน  จึงยังเป็นมรรคที่มัวมีทางสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งว่า  คนยังมีรัก  มีโกรธ  มีหลง  แต่เขา ไม่เรียกว่าผู้รักง่าย   ผู้โกรธง่าย   ผู้หลงง่าย  ทุกคนไป  เขาเรียกฉพาะคนที่มีกิเลสเช่นนั้นเป็นเจ้าเรือน   พระสกทาคามีไม่ใช่ผู้รักง่ายผู้โกรธง่าย  ผู้หลงง่ายกระมัง  แต่ก็ไม่พ้นมัว.

ผล  ๔
                                                โสดาปัตติผล
                                                สกทาคามิผล
                                                อนาคามิผล
                                                อรหัตตผล.                                                              
อธิบาย:    ธรรมารมณ์อันเกิดสืบเนื่องมาแต่มรรค   เสวยกำไรที่มรรคได้ทำไว้นั้น   เรียกว่าผล.  ผลนั้นก็มีชื่อเป็น  ๔  ตามมรรค.  จักแสดงข้ออุปมาเปรียบมรรคกับผลพอเล็งเห็น.  สังโยชน์เหมือนโรคในกาย มรรคเหมือนการรักษาโรคให้หาย ผลเหมือนความสุขสบายอันเกิดแต่ความสิ้นโรค อีกอุปมาหนึ่ง  สังโยชน์เหมือนโจรในป่ามรรคเหมือนกิริยาปราบโจร  ผลเหมือนความสงบราบคาบเกิดมีเพราะหมดโจร.

โยนิ  ๔
                                      ชลาพุชะ                             เกิดในครรภ์
                                      อัณฑชะ                    เกิดในไข่
                                      สังเสทชะ                   เกิดในเถ้าไคล  
                                      โอปปาติกะ                 เกิดผุดขึ้น.                                                    
อธิบาย:   กำเนิดเรียกว่าโยนิในที่นี้.   กำเนิดชลาพุชะนั้น  ได้แก่กำเนิดมนุษย์และกำเนิดดิรัจฉานที่คลอดออกเป็นตัวแลดูดนม  เช่นโคกระบือ  สุนัข  แมวเป็นต้น.  กำเนิดอัณฑชะนั้น  ได้แก่กำเนิดดิรัจฉานที่เกิดในไข่ก่อนแล้วจึงฟักออกเป็นตัว  เช่น  ไก่  เป็ด  นก  เป็นต้น.กำเนิดสังเสทชะ  ท่านหมายเอากำเนิดดิรัจฉานที่เกิดในของโสมม  เช่นหมู่นอน.   ถ้าแยกให้ชัดจากกำเนิดอัณฑชะ  ควรแบ่งดังนี้  จำพวกเกิดในไข่ฟักแล้วเป็นตัวเติบขึ้น  นับเข้าในจำพวกสัตว์  จัดเป็นอัณฑชะ.จำพวกเกิดในไข่   หรือไม่ปรากฏว่าเกิดจากอะไร   เป็นชนิดหนอนและแมลงต่าง ๆ  จัดเป็นสังเสทชะ.  อีกอย่างหนึ่ง  น่ากำหนดว่า  จำพวกมีเลือดแดง  จัดเป็นอัณฑชะ   จำพวกมีเลือดเหลือง  จัดเป็นสังเสทชะโดยเค้าเงื่อนก็สมกัน.  กำเนิดโอปปาติกะ  ท่านว่าได้แก่กำเนิดเทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น  เทวาก็ดี  สัตว์นรกก็ดี   ไม่ได้เกิดด้วยกำเนิด  ๓ข้างต้น  เกิดผุดขั้นในทันใด   โตใหญ่เป็นวิญญูชนทีเดียว  หาได้เป็นทารกมาก่อนไม่  เมื่อจุติก็หายวับไป  ไม่ทอดทิ้งซากไว้  ยังไม่แลเห็นอุทาหรณ์.

วรรณะ  ๔
                                                กษัตริย์          
พราหมณ์       
แพศย์   [พาณิช]   
ศูทร   [คนงาน].      
                                                        
วิบัติ  ๔
                                      สีลวิบัติ                     วิบัติแห่งศีล              
                                      อาจารวิบัติ                วิบัติแห่งอาจาระ
                                      ทิฏฐิวิบัติ                   วิบัติแห่งทิฏฐิ
                                      อาชีววิบัติ                 วิบัติแห่งอาชีวะ.                                     
อธิบาย:   การประพฤติตนเป็นคนทุศีล  ไม่มีสังวร  จัดเป็นสีลวิบัติ.  การไม่รักษามรรยาท   ทอดธุระเสีย  จัดเป็นอาจารวิบัติ.มิจฉาทิฏฐิ  อันนำให้ประพฤติผิด  จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ.  มิจฉาอาชีวะจัดเป็นอาชีววิบัติ.

เวสารัชชญาณ  ๔
                   พระตถาคตเจ้าไม่เห็นว่าใคร ๆ  จักท้องพระองค์ได้โดยธรรมในฐานะ  ๔  คือ
                ๑.  ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ   ธรรมเหล่านี้  ท่านยังไม่รู้แล้ว
                 ๒.  ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ   อาสวะเหล่านี้ของท่าน   ยังไม่สิ้นแล้ว
                 ๓.ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตรายธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง
                 ๔.  ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด   ประโยชน์อย่างนั้น ไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งคนผู้ทำตาม. จึงไม่ทรงครั่นคร้าม ปฏิญญาฐานของผู้เป็นโจก เปล่งพระสุรสิงหนาทในบริษัท  ประกาศพระพรหมจักร.

ปัญจกะ  หมวด  ๕
อนุปุพพีกถา  ๕
                                      ทานกถา                   กล่าวถึงทาน
                                      สีลกถา                     กล่าวถึงศีล
                                      สัคคกถา                             กล่าวถึงสวรรค์
                                      กามาทีนวกถา            กล่าวถึงโทษแห่งกาม
                                      เนกขัมมานิสังสกถา      กล่าวถึงอานิสงส์แห่งความออกจากกาม.                                                                 
อธิบาย:   เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ  เพื่อฟอกอัธยาศัยของเวไนยให้หมดจดเป็นชั้น  ๆ  เรียกอนุปุพพีกถา   มีนิยมเป็นพิเศษว่า  ๕อย่างนี้  ท่านกล่าวว่า  เป็นพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงในคราวที่ผู้ฟังมีอุปนิสัยสามารถจะบรรลุธรรมพิเศษ  ก่อนแต่ทรงแสดงอริยสัจ.  มีอรรถาธิบายว่า   ในเบื้องต้น   ทรงแสดงประโยชน์แห่งการให้   เพื่อละความเห็นแก่ตนและความตระหนี่เสียแล้ว  มีใจเผื่อแผ่สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยกำลังทรัพย์ของตนเอง.   ในลำดับนั้น ทรงแสดงประโยชน์แห่งศีล  คือความประพฤติเรียบร้อย   เพื่อเว้นจากเบียดเบียนผู้อื่น  ไม่ทำภัยอันตรายให้เกิดขึ้นในหมู่ที่ตนเข้าอยู่ด้วย  แลเพื่อรู้จักนับถือเขา.  ในลำดับนั้น   ทรงแสดงสมบัติคือความดีความงามอันคนผู้ให้และคนผู้มีศีลจะพึงได้พึงถึงในมนุษยโลก   ตลอดขึ้นไปถึงสวรรค์   เป็นอัสสาทะ  คือ  รสอร่อยแห่งกาม  เพื่อเห็นอานิสงส์แห่ง     ทานและศีลยิ่งขึ้น.  ในลำดับนั้น  ทรงแสดงอาทีนพแห่งกามว่า  แม้ให้สุขโดยประการ   แต่ก็ยังเจือด้วยทุกข์ต่าง ๆ  ไม่ควรเพลิดเพลินโดยส่วนเดียว  ควรเบื่อหน่ายด้วยเหมือนกัน.  ในที่สุดทรงแสดงอานิสงส์แห่งความออกจากกาม   คือทำจิตไม่ให้หมกมุ่นอยู่ในกาม  เพื่อยังฉันทะให้เกิด.  คนผู้ไม่เห็นแก่ตัว  ให้ทรัพย์ของตนเกื้อกูลผู้อื่น  มีศีลประพฤติเรียบร้อย  ไม่ทำร้ายเขา  และไม่เย่อหยิ่ง   ตั้งตนได้ในกาม-สมบัติแล้ว  ไม่เพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่ในนั้น ยังแลเห็นโทษและเบื่อหน่าย   มุ่งสุขอันสงบ  ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก  เป็นผู้ควรรับเทศนาอย่างสูงคืออริยสัจ   เหมือนผ้าอันฟอกหมดจดแล้ว   ควรรับน้ำย้อมมีประการต่าง ๆ  สุดแต่ผู้ย้อมจะน้อมไปฉะนั้น.

กามคุณ  ๕
รูป     
เสียง 
กลิ่น 
รส 
โผฏฐัพพะ   อันน่าปรารถนา   น่าใคร่  น่าพอใจ.    
                                                                  
จักขุ  ๕
                                      มังสจักขุ                   จักษุคือดวงตา
                                      ทิพพจักขุ                  จักษุทิพย์
                                      ปัญญาจักขุ                จักษุคือปัญญา
                                      พุทธจักขุ                   จักษุแห่งพระพุทธเจ้า
                                      สมันตจักขุ                 จักษุรอบคอบ.                                            
อธิบาย:  จักษุ  ๕  นี้  กล่าวว่าเป็นสมบัติของสมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้า.   พระองค์ย่อมทรงทอดพระเนตรเห็นแจ่มใส   เห็นได้ไกล  เห็นได้ไว   ด้วยมังสจักขุ.  พระองค์ย่อมทรงเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นต่าง ๆกันด้วยอำนาจกรรม   ด้วยทิพพจักขุ.  พระองค์ย่อมทรงพิจารณาเห็นไญยธรรม  มีอริยสัจเป็นอาทิ  ด้วยปัญญาจักขุ.  พระองค์ย่อมทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยของเวไนยสัตว์  ด้วยพุทธจักขุ.  พระองค์ย่อมทรงทราบธรรมทั้งปวง  ด้วยสมันตจักขุ  คือพระสัพพัญญุตญาณ.

ธรรมขันธ์  ๕
                                      สีลขันธ์                               หมวดศีล              
                                      สมาธิขันธ์                           หมวดสมาธิ
                                      ปัญญาขันธ์                          หมวดปัญญา
                                      วิมุตติขันธ์                           หมวดวิมุตติ
                                      วิมุตติญาณทัสสนขันธ์              หมวดวิมุตติญาณทัสสนะ.                                                       
อธิบาย:    ความทำจิตให้หลุดพ้นจากอาสวะ    ชื่อว่าวิมุตติ.ความรู้  ความเห็นว่า  จิตหลุดพ้นแล้ว  สืบมาจากวิมุตติ  ชื่อว่าญาณทัสสนะ.  ธรรมอันจะพึงสงเคราะห์เข้าหมวดกันได้  จัดเข้าเป็นขันธ์หนึ่ง ๆ  เช่นอินทรียสังวร  โภชเนมัญญุตา  จัดเข้าในสีลขันธ์.ชาคริยานุโยค  และกายคตาสติ   จักเข้าในสมาธิธันธ์.  ธัมมวิจยะและกัมมัสสกตาญาณ  จัดเข้าในปัญญาขันธ์.  ปหานะ  และสัจฉิกิริยา  จัด เข้าในวิมุตติขันธ์.   ญาณทัสสนะส่วนโลกุตร  จัดเข้าในวิมุตติญาณ-ทัสสนขันธ์.  สาระ  ๕  ก็เรียก.

ปีติ  ๕
                                      ขุททกาปีติ                          ปีติอย่างน้อย
                                      ขณิกาปีติ                            ปีติชั่วขณะ
                                      โอกกันติกาปีติ                       ปีติเป็นพัก ๆ
                                      อุพเพงคาปีติ                        ปีติอย่างโลกโผน
                                      ผรณาปีติ                            ปีติซาซ่าน.                                                     
อธิบาย:   ความอิ่มใจ  เรียกปีติ.  ชนิดหนึ่ง  เมื่อเกิดขึ้น  ทำให้ขนชัน  ทำให้น้ำตาไหล   จัดเป็นขุททกาปีติ.  อีกชนิดหนึ่ง  เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกเสียวแปลบ ๆ  เปรียบเหมือนฟ้าแลบ  จัดเป็นขณิกาปีติ.อีกชนิดหนึ่ง  เมื่อเกิดขึ้น  ทำให้ซู่ซ่าแรงกว่าเสียวแปลบ  ๆ  เปรียบเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง  จัดเป็นโอกกันติกาปีติ.  อีกชนิดหนึ่ง  เมื่อเกิดขึ้น  ทำใจให้ฟู  นำให้ทำการอื่นเว้นจากเจตนา  เช่นเปล่งคำอุทานเป็นต้น  จัดเป็นอุพเพงคาปีติ.  ปีติชนิดนี้ท่านกล่าวว่า  บางทีทำกายให้ลอยไปหรือโลดขึ้นก็ได้.  อีกชนิดหนึ่ง  เมื่อเกิดขึ้น  ทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสรรพางค์  จัดเป็นผรณาปีติ.  ถ้ายกเอาการทำให้ขนชันมาเป็นลักษณะแห่งผรณาปีติ  ความจักแจ่มขึ้นมาก.

มัจฉริยะ  ๕
                                      อาวาสมัจฉริยะ            ตระหนี่ที่อยู่
                                      กุลมัจฉริยะ                          ตระหนี่สกุล
                                      ลาภมัจฉริยะ                        ตระหนี่ลาภ
                                      วัณณมัจฉริยะ             ตระหนี่วรรณะ
                                      ธัมมัจฉริยะ                 ตระหนี่ธรรม.                                                  
อธิบาย:   ความหวงถิ่น   ไม่พอใจให้คนต่างด้าว   ต่างชาติต่างนิกาย  เข้ามาอยู่แทรกแซง   จัดเป็นอาวาสมัจฉริยะ.  ความหวงสกุลไม่ยอมให้สกุลอื่นเข้ามาเกี่ยวดองด้วย  จัดเป็นกุลมัจฉริยะ.  ความหวงสกุลอุปัฏฐากของภิกษุ  ไม่พอใจให้บำรุงภิกษุอื่น  คอยเกียดกันเสีย  จัดเป็นกุลมัจฉริยะในฝ่ายบรรพชิต.  ค วามหวงทรัพย์พัสดุไม่ให้ผู้อื่น  จัดเป็นลาภมัจฉริยะ.  ความหวงคุณความดี    ไม่ปรารถนาให้คนอื่นสู้ได้  จัดเป็นวัณณมัจฉริยะ.   อีกอย่างหนึ่ง  วัณณะแปลว่า  สีกาย  ความหวงสวยหวงงามอันเป็นกิเลสของหญิงสาว  ก็นับเข้าในวัณณมัจฉริยะ.  ความหวงธรรม  หวงศิลปวิทยา   ไม่ปรารถนาจะแสดงจะบอกแก่คนอื่นเกรงว่าเขาจะรู้เทียมตน  จัดเป็นธัมมมัจฉริยะ.

มาร  ๔
                                      ขันธมาร                   มารคือปัญจขันธ์
                                       กิเลสมาร                    มารคือกิเลส
                                      อภิสังขารมาร              มารคืออภิสังขาร 
                                      มัจจุมาร                     มารคือมรณะ
                                      เทวปุตตมาร                มารคือเทวบุตร.                                              
อธิบาย:  ปัญจขันธ์  ได้ชื่อว่ามาร  เพราะบางทีทำความลำบากให้  อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย  จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี.   กิเลสได้ชื่อว่ามาร   เพราะตกอยู่ในอำนาจแห่งมันแล้ว  มันย่อมผูกรัดไว้บ้างย่อมทำให้เสียคนบ้าง.   อภิสังขารคือกรรมฝ่ายอกุศล   ได้ชื่อว่ามารเพราะทำให้เป็นผู้ทุรพล.  มัจจุ  คือมรณะ  ได้ชื่อว่ามาร  เพราะตัดชีวิตเสีย.  เทวบุตรผู้มุ่งร้าย   ได้ชื่อว่ามาร  เพราะเป็นบุคคลาธิษฐานแห่งสภาวะอันทำลายล้าง.   ขึ้นชื่อว่าเทวบุตรไม่ใช่เป็นมารทุกองค์  เป็นเฉพาะผู้มุ่งร้าย  โดยนัยนี้  ปัญจขันธ์ก็ดี   กิเลสก็ดี  อภิสังขารก็ดีน่าจะหมายเอาเฉพาะส่วนอันให้ร้าย   มัจจุ   น่าจะหมายเอาในเวลาที่ชีวิตกำลังเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน  เช่นถ้ายังเป็นอยู่ต่อไปจะได้บรรลุธรรมพิเศษ  เช่นพระศาสดาทรงปรารภถึงอาฬารดาบส  และอุททกดาบส   เมื่อครั้งทรงพระดำริหาผู้สมควรรับปฐมเทสนา  หรือจักได้สั่งสอนมหาชน  เช่นพระศาสดาทรงอธิษฐานพระชนมายุเมื่อแรกจะทรงบำเพ็ญพุทธกิจ  ข้าพเจ้าจึงแก้ไว้อย่างนี้.

วิญญาณ  ๕
                             จักขุวิญญาณ                        วิญญาณทางดวงตา
                             โสตวิญญาณ                        วิญญาณทางหู
                             ฆานวิญญาณ                       วิญญาณทางจมูก 
                             ชิวหาวิญญาณ                      วิญญาณทางลิ้น
                             กายวิญญาณ                        วิญญาณทางกาย.                                                
อธิบาย:   อาศัยตากับรูป  เกิดความรู้สึกขึ้น  นี้เป็นจักขุวิญญาณ.อาศัยหูกับเสียง  เกิดความรู้สึกขึ้น  นี้เป็นโสตวิญญาณ.   อาศัยจมูกกับกลิ่น  เกิดความรู้สึกขึ้น  นี้เป็นฆานวิญญาณ.  อาศัยลิ้นกับรสเกิดความรู้สึกขึ้น   นี้เป็นชิวหาวิญญาณ.   อาศัยกายกับโผฏฐัพพะเกิดความรู้สึกขึ้น  นี้เป็นกายวิญญาณ.   วิญญาณ  ๕  นี้  ในพระอภิธรรมแยกเป็นประเภทหนึ่งต่างหากจากมโนวิญญาณ.   และแยกเป็นประเภทน้อยออกไป  เป็นกุศลวิบาก ๑   อกุศลวิบาก  ๑  เรียกทวิปัญจวิญญาณ   จัดเข้าในจำพวกอเหตุกจิต  คือจิตอันมิใช่เหตุ.ส่วนในพระสูตรรวมเข้ากับมโนวิญญาณ  เป็นวิญญาณ  ๖.

วิมุตติ  ๕
                             ตทังควิมุตติ                          พันชั่วคราว
                             วิกขันภนวิมุตติ                      พ้นด้วยสะกดไว้
                             สมุจเฉทวิมุตติ                      พ้นด้วยเด็ดขาด
                             ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ                    พ้นด้วยสงบ
                             นิสสรณวิมุตติ                       พ้นด้วยออกไป.                                        
อธิบาย:   ความพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว   เช่นเกิดเหตุเป็นที่ตั้ง  แห่งสังเวชขึ้น   หายกำหนัดในกาม  เกิดเมตตาขึ้น  หายโกรธ  แต่ความกำหนัดและความโกรธนั้นไม่หายทีเดียว  ทำในใจถืออารมณ์งามความกำหนัดกลับเกิดขึ้นอีก   ทำในใจถึงวัตถุแห่งอาฆาต  ความ โกรธกลับเกิดขึ้นอีก   อย่างนี้จัดเป็นตทังควิมุตติ  แปลว่าพ้นด้วยองค์นั้น ๆ.   ความพ้นจากกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน   อาจสะกดไว้ได้นาน ๆ   กว่า ตทังควิมุตติ  แต่เมื่อฌานเสื่อมหายแล้ว  กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก  อย่างนี้จัดเป็นวิกขัมภนวิมุตติ.   ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค  กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป   ไม่กลับเกิดอีก  อย่างนี้จัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ.  ความพ้นจากกิเลสเนื่องมาจากอริยมรรคถึงอริยผลไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก  เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว  อย่างนี้จัดเป็นปฏิปัสสัทธิวิมุตติ.   ความพ้นจากกิเลสนั้นยั่งยืนมาตลอดถึงเวลาสิ้นชีพ  อย่างนี้จัดเป็นนิสสรณวิมุตติ*.

เวทนา  ๕
                                                สุข     
ทุกข์ 
โสมนัส 
โทมนัส 
อุเบกขา.                                                    
อธิบาย:   สุขไม่มาเป็นคู่กับโสมนัส  เช่นสุขมาในเวทนา  ๓หมายเอาทั้งสุขกายสุขใจ  สุขมาเป็นคู่กับโสมนัส  เช่นสุขในเวทนา  ๕นี้  หมายเอาเฉพาะสุขกาย.  ทุกข์ไม่มาเป็นคู่กับโทมนัส  หมายเอา*  วิมุตติ  ๕  นี้ในปฏิสัมภิทามรรค เรียกว่า วิเวก ๕.ทั้งทุกข์กายทั้งทุกข์ใจ ทุกข์มาคู่กับโทมนัส หมายเอาเฉพาะทุกข์กาย โสมนัสหมายเอาสุขใจ  โทมนัสหมายเอาทุกข์ใจ อุเบกขา  หมายเอาคามเฉยแห่งใจ  เพราะอุเบกขาทางกายไม่มี กายเป็นปกติอยู่จัดว่าเป็นสุข.

สังวร  ๕
                                      สีลสังวร                    สำรวมในศีล              
                                      สติสังวร                    สำรวมด้วยสติ
                                      ญาณสังวร                 สำรวมด้วยญาณ
                                      ขันติสังวร                            สำรวมด้วยขันติ
                                      วิริยสังวร                  สำรวมด้วยความเพียร.     
                                
สุทธาวาส  ๕
                                                อวิหา                     
อตัปปา 
สุทัสสา 
สุทัสสี 
อกนิฏฐา.                                            
อธิบาย:   ภพ  ๕  นี้  อยู่ในพรหมโลก  ๑๖  ข้างชั้นสูง  ว่าเป็นที่เกิดแห่งพระอนาคามี  ผู้จุติจากภพนี้แล้ว  ได้บรรลุพระอรหัตแล้วนิพพานในภพที่เกิดนั้นบ้าง   เลื่อนไปเกิดในภพที่สูงขึ้นไปกว่าแล้ว   จึงเป็นอย่างนั้นบ้าง  จึงเรียกว่า  สุทธาวาส  แปลว่า  ที่อยู่แห่งท่านผู้บริสุทธิ์   เรียกเป็นชื่อต่างออกไปเป็น  ๕  อย่างนี้  ตามชื่อเทพในชั้นนั้น.

พระอนาคามี  ๕
อันตราปรินิพพายี      ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.                                   
อุปหัจจปรินิพพานยี   ท่านผู้จะปริพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว  จวนถึงที่สุด.                                      
สสังขารปรินิพพายี     ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร เรี่ยวแรง.                                      
อสังขารปรินิพพายี     ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความ เพียรนัก.                                     
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี   ท่านผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐ- ภพ. 
          อธิบาย:   ๔  องค์ข้างต้น  ปรินิพพานในภพที่เกิดนั้นเอง๒  องค์ข้างต้น  กำหนดด้วยอายุ.  ๒  องค์ข้างปลาย  กำหนดด้วยความเพียร,   องค์ข้างท้าย   ต้องเลื่อนขึ้นไปเกิดในภพสูงขึ้นไป  กว่าจะถึงชั้นอกนิฏฐะ  แล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น.  อะไรเป็นเหตุปันพระอนาคามีให้ไปเกิดในภพต่ำหรือสูงกว่ากัน  และอะไรเป็นเหตุปันท่านให้ปรินิพพานเร็วช้าและยากง่ายกว่ากัน   ข้าพเจ้ายังไม่พบท่านกล่าวไว้.

ฉักกะ   หมวด  ๖
อภิญญา  ๖
                                      อิทธิวิธิ                                         แสดงฤทธิ์ได้
                                      ทิพพโสต                            หูทิพย์
                                      เจโตปริยญาณ                       รู้จัดกำหนดใจผู้อื่น
                                      ปุพเพนิวาสานุสสติ                 ระลึกชาติได้
                                      ทิพพจักขุ                            ตาทิพย์
                                      อาสวักขยญาณ                     รู้จัดทำอาสวะให้สิ้น.                                                       
อธิบาย:   อิทธิวิธิ  กล่าวไว้ในนิทเทสว่า  แสดงฤทธิ์ได้ต่าง  ๆคนเดียวนิรมิตเป็นคนมากก็ได้   กลับเป็นคนเดียวอีกก็ได้   ล่องหนคือผ่านไปในวัตถุกั้นขวางอยู่   เช่น  ฝา  กำแพง  ภูเขา  ดุจไปในที่แจ้งก็ได้.  ดำดิน  คือไปใต้ดินแล้วผุดขึ้นในที่ปรารถนาดุจดำในน้ำก็ได้.  เดินน้ำ   คือไปได้บนพื้นน้ำอันไม่แตกดุจเดินบนพื้นดินก็ได้.เหาะ   คือนั่งไปในอากาศดุจนกบินก็ได้  ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยมือก็ได้.  ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.  ทิพพโสต มีนิทเทสว่า  มีหูทิพย์หมดจดล่วงหูของสามัญมนุษย์  ฟังเสียง  ๒  อย่างได้   คือทั้งเสียงทิพย์   ทั้งเสียมนุษย์  ทั้งเสียงไกล  เสียใกล้.เจโตปริยญาณ  มีนิทเทสว่า  กำหนดด้วยใจของตนแล้วรู้ได้ซึ่งใจของบุคคลอื่นอันบริสุทธิ์หรือเศร้าหมองอย่างไร.  อีก  ๓  อย่างอธิบายไว้แล้วในวิชชา  ๓.  อภิญญา  ๕  ข้างต้นนั้น  ตามนิทเทสดูเป็นพ้น ธรรมดาของมนุษย์   แต่ก็ยังมีกิจการของมนุษย์เทียบได้เป็นหลายอย่าง  คนเดียวเป็นคนมาก   มีคนเดียวทำการได้หลายหน้าที่  เทียบตัวอย่างพระราชาองค์เดียวครองได้หลายอาณาจักร.  คนมากเป็นคนเดียว   มีการรวมสามัคคีของเอกชนเข้าเป็นคณะเทียบ   ตัวอย่างพระสงฆ์นี้เอง.   ล่องหนและดำดินมีการขุดอุโมงค์เทียบ. เดินน้ำมีการเดินบนน้ำแข็งคนในประเทศหนาวจัดเทียบ.  เหาะมีการใช้อากาศ-ยานเทียบ  ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยมือได้  มีการรู้จักคำนวณคติของพระจันทร์พระอาทิตย์ตลอดถึงจันทรุปราคา  และสุริยุปราคาได้แม่นยำเทียบ.   ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลก  มีรู้จักคำนวณคติของดาวเคราะห์และฐานะของดาวฤกษ์ได้เทียบ  ฟังเสียงทิพย์ได้   มีรู้จักสังเกตอาการแห่งฐานที่กับทั้งคนและพัสดุแล้ว  อาจสันนิษฐานไว้ว่าเป็นอย่างไร  ดุจว่าได้รับบอกเทียบ   ฟังเสียงไกลได้มีได้ยินข่าวในถิ่นไกลที่เรียกว่าหูไวเทียบ  ในบัดนี้  มีฟังโทรศัพท์เทียบด้วย.   เจโตปริยญาณ  มีการทายใจและกำหนดรู้อัธยาศัยเทียบ.ระลึกชาติได้   มีการรู้พงศาวดารแห่งตนเทียบ.  ทิพพจักขุ  มีรู้จักตำนานแห่งคนอื่นเทียบ.  ใจความแห่งอภิญญา ๖  นี้มีอยู่เพียงไร  ขอนักธรรมจงสอดส่องแล้วลงสันนิษฐานเอาเอง.

อภิฐาน  [ฐานะอย่างหนัก]  ๖
                             มาตุฆาต                   ฆ่ามารดา
                             ปิตุฆาต                    ฆ่าบิดา
                             อรหันตฆาต                ฆ่าพระอรหันต์
                             โลหิตุปบาท                ทำร้ายพระพุทธเจ้า  จนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น                                              
                             สังฆเภท                             ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
                             อัญญสัตถุทเทส            ถือศาสดาอื่น.                                     
อธิบาย:   ชนผู้ฆ่ามารดาบิดาของตนเองได้แล้ว   จักไม่ฆ่าคนอื่นในเมื่อตนขัดใจขึ้นมาเป็นอันไม่มี   และชื่อว่าล้างผลาญสกุลของตนด้วย.   คนฆ่าพระอรหันต์ผู้ประพฤติกาย  วาจา ใจ  บริสุทธิ์  ไม่ได้คิดร้ายทำร้ายผู้ใดผู้หนึ่งเลย  และเป็นที่นับถือของมหาชน  จัดไม่ฆ่าคนอื่นผู้ยังไม่สงบถึงนั้น  ผู้ไม่เป็นที่นับถือถึงนั้น  เป็นอันไม่มี  และชื่อว่าล้างผลาญที่นับถือของมหาชนด้วย.   คนผู้ทำร้ายพระศาสดาของตนเองได้แล้ว  เป็นหมดหลักในทางพระสาสนา  ดุจเดียวกับคนคิดกบฏทำร้ายพระเจ้าแผ่นดินของตน.   ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกเป็นพรรค-พวก   แต่คณะของตนยังทำลายได้แล้ว  จักไม่คิดทำลายคณะอื่นเป็นอันไม่มี   เช่นเดียวกับคนยุแหย่ทำความแตกสามัคคีในชาติของตน.  ๕  นี้เรียกอนันตริยกรรม  แปลว่ากรรมให้ผลในลำดับไป   จัดเป็นครุกรรมคือกรรมหนักในฝ่ายบาป.   บทหลังข้าพเจ้าเข้าใจว่าหมายภิกษุผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งยังเป็นภิกษุ   ที่เรียกว่า  "ติตฺถิยปกฺกนฺตโก"   ที่ห้ามอุปสมบทอีก.   ภิกษุเห็นปานนี้  เป็นผู้แตกจากคณะของตนไปเข้า คณะอื่น   แต่ไม่ได้ทำลายคณะเดิมของตน   เหมือนภิกษุผู้ทำสังฆเภท ดุจเดียวกับคนโจทก์เจ้า  ที่เขาเรียกว่า  "ภักดีต่อไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน"   เพราะอย่างนี้  ฐานะ  ๖  นี้  แต่ละอย่าง ๆ จึงจัดเป็นอภิฐานที่แปลว่าฐานะอันหนัก  ผู้ถือพระศาสนาอย่างเคร่งครัดเพียงพระโสดาบันย่อมไม่ทำเลย.

จริต  ๖
                                       ๑.  ราคจริต               มีราคะเป็นปกติ
                                      ๒.  โทสจริต               มีโทสะเป็นปกติ
                                      ๓.  โมหจริต               มีโมหะเป็นปกติ
                                      ๔.  วิตักกจริต             มีวิตกเป็นปกติ
                                      ๕.  สัทธาจริต              มีศรัทธาเป็นปกติ
                                      ๖.  พุทธิจริต               มีความรู้เป็นปกติ.                              
อธิบาย:   คนที่  ๑  มีปกติรักสวนรักงาม  จะพึงแก้ด้วยพิจารณากายคตาสติ   หรืออสุภกัมมัฏฐาน.  คนที่  ๒  มีปกติหงุดหงิดโกรธง่าย   จะพึงแก้ด้วยเจริญเมตตา.  คนที่  ๓  มีปกติเขลางมงาย   จะพึงแก้ด้วยเรียนและถาม   ด้วยการฟังธรรมและสนทนาธรรมโดยกาลด้วยอยู่กับครู.  คนที่  ๔  มีปกตินึกพล่าน   จะพึงแก้ด้วยสะกดอารมณ์เช่นเพ่งกสิณหรือเจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน.  คนที่  ๕  มีปกติเชื่อง่าย  จะพึงนำไปด้วยกถาเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส   เช่นกล่าวถึงคุณพระพุทธ   พระธรรม  พระสงฆ์.  คนที่   ๖   เรียกว่าญาณจริต   ก็มี   มีปกติใช้ความคิด   จะพึงนำไปด้วยแนะให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ   เช่นให้คำนึงถึงไตรลักษณ์.

ธรรมคุณ  ๖
                   ๑.  สฺวากฺขาโต  ภควตา  ธมฺโม              พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว                                                              
                   ๒.  สนฺทิฏฺิโก                                อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
                   ๓.  อกาลิโก                                   ไม่ประกอบด้วยกาล
                   ๔.  เอหิปสฺสิโก                                ควรเรียกให้มาดู
                   ๕.  โอปนยิโก                                  ควรน้อมเข้ามา
                   ๖.  ปจฺจตฺต  เวทิตพฺโพ  วิญฺญูหิ             อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน.                                                               
อธิบาย:   บทว่า  สฺวากฺขาโต  หมายความกว้าง  ท่านพรรณนาว่า  ได้ใน  ๒  สัทธรรม  คือ  ปริยัติ กับ ปฏิเวธ.  ปริยัติ  ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะตรัสไม่วิปริต  คือตรัสได้จริง  เพราะแสดงข้อปฏิบัติโดยลำดับกันที่ท่านเรียกว่า  ไพเราในเบื้องต้น  ท่ามกลาง  ที่สุด  มีทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธ์บริบูรณ์สิ้นเชิง   และเพราะประกาศพรหมจรรย์อย่างนั้น.  ปฏิเวธ  ได้ชื่อย่างนั้น  เพราะปฏิปทากับพระนิพพานย่อมสมควรแก่กันและกัน.  ตั้งแต่บทว่า  สนฺทิฏฺิโก  เป็นต้นไป   ได้ในปฏิเวธอย่างเดียว.
        บทว่า  สนฺทิฏฺิโก หมายความว่า  ผู้ใดได้บรรลุ  ผู้นั้นย่อมเห็น เอง   รู้เอง  ไม่ต้องเชื่อตามคำผู้อื่น.
        บทว่า  อกาลิโก  หมายความว่า  ให้ผลในลำดับแห่งการบรรลุไม่เหมือนผลไม้อันให้ผลตามฤดู.
        บทว่า  เอหิปสฺสิโก หมายความว่า เป็นคุณอัศจรรย์ดุจของประหลาด  ที่ควรป่าวร้องกันมาดูมาชม.
        บทว่า  โอปนยิโก  หมายความว่า  ความน้อมเข้าไว้ในใจของตน  หรือควรน้อมใจเข้าไปหา.
        บทว่า  ปจฺจตฺต  เวทิตพฺโพ  วิญฺูหิ  หมายความว่า  ผู้ใดได้บรรลุ  ผู้นั้นย่อมรู้แจ้งเฉพาะตน  อันผู้อื่นไม่พลอยมาตามรู้ตามเห็นด้วยได้.
        มติของข้าพเจ้าว่า  พระธรรมในที่นี้ดูเหมือนท่านผู้แสดงไม่ได้หมายจะแยกโดยวิภาค  กล่าวรวมปนกันไป   แต่เมื่อจะกล่าวแยกบทว่า  สฺวากฺขาโต   น่าจะได้ในปริยัติอย่างเดียว  และได้ชื่ออย่างนั้น  เพราะตรัสอิงเหตุและเพราะตรัสแต่พอดีเป็นกลาง ๆ  ไม่หย่อนไม่ตึงด้วยก็ได้.  ข้อว่าได้ในปฏิเวธนั้น  ความอธิบายอยู่ข้างมัว  แม้พรรณนามากไปอย่างไรก็ไม่พ้นมัว  และคำว่าปฏิปทากับพระนิพพานสมควรแก่กันและกันนั้น  ปฏิปทาก็ได้แก่ปฏิบัตินั้นเอง  แก้ไปข้างปฏิบัติก่อนนั่นแลจึงจะกระจ่าง  เพราะปฏิบัตินับเข้าในบทนี้ก็ได้  เพราะเป็นมัชฌิมาปฏิปทาและอนุบุพพปฏิปทา  เมื่อปฏิบัติดีแล้ว  ผลแห่งปฏิบัติจึงจักปรากฏว่าดีตามกัน.
        บทว่า  สนฺทิฏฺิโก   อาจได้ในธรรมอื่นจากปฏิเวธด้วยก็ได้เพราะปริยัติก็ต้องการความเข้าใจที่ได้แก่เห็นเอง   ปฏิบัติก็ต้องการความรู้จัดทางที่ได้แก่เห็นเอง  ในลำดับนั้นปฏิเวธจึงเกิด   ที่ให้เจ้าตัวรู้ว่าทำให้แจ้งแล้ว. 
        บทว่า  อกาลิโก  ก็เหมือนกัน  เพราะผู้ฟังปริยัติย่อมได้ปสาทะและศรัทธาเป็นต้นในขณะฟังนั้นเองก็มี  ปฏิบัติย่อมเป็นที่นิยมในกาลทุกเมื่อ  ไม่เป็นไปในบางคราว  และได้อานิสงส์แห่งความปฏิบัติในทันทีก็มี.
        บทว่า  เอหิปสฺสิโก   เปรียบด้วยการดูด้วยมังสจักษุ  น่าจะได้ในปริยัติและปฏิบัติด้วย    เพราะปริยัติเป็นคุณที่ควรจะชวนกันมาฟังแลเพราะปฏิบัติเป็นคุณที่ควรจะชวนกันให้ทำตาม  เพื่อจะได้ชมปฏิเวธด้วยน้ำใจ.
        บทว่า   โอปนยิโก   น่าจะได้ในปฏิบัติด้วย  เพราะแม้ปฏิบัติก็ควรน้อมเข้ามาด้วยทำตามหรือทำให้เกิดขึ้น.
        บทว่า  ปจฺจตฺต   เวทิตพฺโพ  วิญฺูหิ  ก็เหมือนกัน   เพราะการปฏิบัติอันจะให้ได้ผลดี   อันผู้ปฏิบัติต้องรู้จักทำให้สมควรแก่ฐานะของตน.
        เพราะอย่างนี้  ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า  พระธรรมในที่นี้  ท่านผู้กล่าวไม่ได้หมายจะแยกโดยวิภาค  กล่าวรวมกันไป.  ไม่กล่าวถึง ปฏิบัติธรรมบ้างเลย  ไม่เป็นอุบายให้เกิดอุตสาหะ  เมื่อไม่ปฏิบัติ  ปฏิเวธจะเกิดขึ้นไฉน   ปริยัติอันแสดงเพื่อชักนำให้ปฏิบัติ   ก็หาประโยชน์มิได้.

ปิยรูป  สาตรูป 
หมวดละหก  ๑๐  หมวด
          ๑.  จักขุ  โสต  ฆาน  ชิวหา  กาย  มโน.
          ๒.  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  ธรรม.
          ๓. จักขุวิญญาณ กายวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ       
๔.  จักขุสัมผัส  โสตสัมผัส  ฆานสัมผัส   ชิวหาสัมผัส  กายสัมผัส  มโนสัมผัส.
          ๕. จักขุสัมผัสสชา เวทนา,โสตสัมผัสสชา เวทนา,ฆานสัมผัสสชา เวทนา, ชิวหาสัมผัสสชา  เวทนา, กายสัมผัสสชา  เวทนา,   มโนสัมผัสสชา  เวทนา.
          ๖.  รูปสัญญา  สัททสัญญา   คันธสัญญา  รสสัญญา  โผฏฐัพพสัญญา  ธัมมสัญญา.
          ๗.  รูปสัญเจตนา  สัททสัญเจตนา  คัมธสัญเจตนา   รสสัญเจตนา  โผฏฐัพพสัญเจตนา  ธัมมสัญเจตนา.
          ๘.  รูปตัณหา  สัททตัณหา  คันธตัณหา  รสตัณหา  โผฏฐัพพตัณหา  ธัมมตัณหา.
          ๙.  รูปวิตก  สัททวิตก  คันธวิตก  รสวิตก  โผฏฐัพพวิตก  ธัมมวิตก.
          ๑๐.  รูปวิจาร  สัททวิจาร  คันธวิจาร  รสวิจาร  โผฏฐัพพวิจาร  ธัมมวิจาร.                                               
อธิบายหมวดที่  ๑  อายตนะภายใน  หมวดที่  ๒  อายตนะภายนอก  หมวดที่ ๓  วิญญาณ  คือความรู้สึกอาศัยอายตนะภายใน  เกิดเพราะอายตนะ  ๒  ประเภทนั้นพร้อมกันเข้า  หมวดที่  ๔  สัมผัส คือความประจวบอาศัยอายตนะภายใน    เกิดเพราะการประจวบกันเข้าแห่งอายตนะ  ๒  ประเภทนั้นกับวิญญาณ  หมวดที่ ๕  เวทนา  คือความเสวยอารมณ์  เป็นสุขเป็นทุกข์  หรือไม่ทุกข์ไม่สุข   เกิดเพราะสัมผัสหมวดที่ ๖  สัญญา  คือความหมายรู้อิงอายตนะภายนอก  เกิดในลำดับแห่งเวทนา  หมวดที่  ๗  สัญเจตนา   คือความคิดอ่านอิงอายตนะภายนอก   เกิดในลำดับสัญญา  หมวดที่  ๘  ตัณหา  อิงอายตนะภายนอก   เกิดในลำดับแห่งสัญเจตนา  หมวดที่  ๙  วิตก  คือความตริอิงอายตนะภายนอก  เกิดในลำดับแห่งตัณหา   หมวดที่ ๑๐  วิจาร  คือความตรองอิงอายตนะภายนอก  เกิดในลำดับแห่งวิตก.
        ในธรรมเหล่านี้  วิญญาณและสัมผัสมีกิจต่างกันอย่างไร  อยู่ข้างมัว.  ในปฏิจจสมุปบาทส่วนอภิธรรมย่นว่า  "สฬายตนปจฺจยาผสฺโส"  แปลว่าผัสสะ   ย่อมเกิดมีเพราะอายตนะ  ๖  เป็นปัจจัย  ในพระสูตรกล่าวถึงวิญญาณ  ในระหว่างอายตนะ  ๖  และผัสสะ  "จกฺขุญฺจปฏิจฺจ  รูเป  จ  อุปฺปชฺชติ  จกฺขุวิญฺาณติณฺณ  สงฺคติ  ผสฺโส"แปลว่า  อาศัยจักขุและรูปเกิดจักขุวิญญาณ  ประจวบกันแห่งธรรม  ๓ ประการเป็นผัสสะ.  ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า  ความรู้สึกสักว่าเห็นหรือได้ยินเป็นต้น  เป็นวิญญาณ  ความรู้สึกพอใจไม่พอใจหรือพอเป็นกลาง ๆ  อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาตามประเภทเป็นผัสสะ.  ยุกติเป็นอย่างไร  ขอนักธรรมสนใจดูเถิด.  ธรรมเหล่านี้  ได้ชื่อว่า  เป็นปิยรูป  สาตรูป  โดยอรรถว่า  เป็นสภาวะที่รักที่ชื่นใจ  ด้วยเพ่งอิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้ง  เป็นบ่อเกิดแห่งตัณหา  ตัณหาเมื่อเกิดย่อม เกิดในธรรมเหล่านี้  เมื่อดับย่อมดับในธรรมเหล่านี้.

สวรรค์  ๖  ชั้น
                                       ชั้นจาตุมหาราชิก 
ชั้นดาวดึงส์ 
ชั้นยาม 
ชั้นดุสิต 
ชั้นนิมมานรดี 
ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี.                                                      
อธิบาย:   สวรรค์  ๖  ชั้นนี้  ถัดกันขึ้นไปโดยลำดับ ชั้นจาตุมหาราชิก   เป็นต่ำที่สุด  มีท้าวมหาราช  ๔  องค์เป็นผู้ปกครอง๑.  ท้าวธตรฐ  มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร  ครองในทิศบูรณ์๒.  ท้าววิรุฬหก   มีพวกกุมภัณฑ์เป็นบริวาร  ครองในทิศทักษิณ๓.  ท้าววิรูปักข์  มีพวกนาคเป็นบริวาร  ครองในทิศปัศจิม  ๔.  ท้าวกุเวร  มีพวกยักษ์เป็นบริวาร  ครองในทิศอุดร.
        ในอาฏานาฏิยสูตร  กล่าวถึงท้าวมหาราช  ๔  องค์นี้  โดยอาการที่ร่วมกันว่า  รู้จักอภิรมณ์อยู่ด้วยฟ้อนขับ  มีโอรสองค์ละมาก ๆ  ทรง นามว่าอินทร์เหมือนกันทั้งนั้น  เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา  พรรณนาไว้โดยเฉพาะถึงด้านของท้าวกุเวรว่า  มีราชธานีและนครต่าง ๆ  มีแม่น้ำ  มีสภาที่ประชุมยักษ์  มีรุกขชาติและสกุณชาติต่าง ๆ  ท้าวกุเวรนั้นมีปราสาทเป็นที่อยู่  มีช้าง  มีม้า  เป็นราชพาหนะ  มีวอหรือเสลี่ยงเป็นราชยาน  ปกครองตลอดลงมาถึงอุตตรกุรุทวีป  ที่อยู่ของมนุษย์ผู้ไม่ต้องทำไร่ไถนา  บริโภคข้าวสาลีไม่ต้องหุงด้วยฟืน  หุงในหม้อ  ที่ไม่ต้องเอาขึ้นตั้งไฟหรือเอาขึ้นวางบนศิลาเพลิง  ใช้โคบ้าง  ปศุสัตว์อื่นบ้าง  แทนม้า  ใช้หญิงบ้าง  ชายบ้างแทนพาหนะ.   สันนิษฐานตามรัฐปสาสโนบาย  ชั้นจาตุมหาราชิก  น่าจะได้แก่อาณาจักรที่รวม  ๔  ชนบทเข้ากันในสัมพันธไมตรี  กล่าวโดยเฉพาะ  น่าได้แก่ชมพูทวีปนี้เองในสมัยหนึ่ง  และท้าวมหาราช  ๔  องค์นั้น  น่าเป็นวงศ์เดียวกันเป็นอินทรวงศ์  เพราะอย่างนี้จึงว่าโอรสเป็นอันมากทรงนามว่าอินทร์เหมือนกันทั้งนั้น.
        ชั้นดาวดึงส์  เดิมที่เป็นที่อยู่แห่งพวกอสูร  ท้าวเวปจิตติเป็นผู้ครอง  ยังไม่ได้ยินว่ามีอะไรนอกจากเป็นป่า.  ต่อมา  ท้าวสักก-เทวราช  คือพระอินทร์กับเทพผู้สหจรรวม  ๓๓  องค์เกิดขึ้น  ณ  ที่นั้นจึงเป็นสถานที่รุ่งเรือง  มีเวชยันตปราสาท  มีสุธัมมสภาที่ประชุมเทวดา  มีสวนนันทวัน  มีสวนจิตรลดา  มีโปกขรณีสุนันทา  เกิดขึ้นเพราะบุญญานุภาพของท้าวสักกเทวราชและพระราชเทวี.  สถานที่นี้ตั้งเป็นเมืองสวรรค์ชื่อเทพนคร   มีกำแพงล้อม  มีเชิงเทินและหอรบพร้อมสรรพ.  ท้าวเธอมีพระเทวี  ๔  องค์  พระนางสุธัมมา  พระนาง      สุจิตรา   พระนางสุนันทา  พระนางสุชาดา  โปรดพระนางสุชาดามากเสด็จไปข้างไหนเอาไปด้วย.  ท้าวเธอมีช้างเอราวัณ  ๓  เศียรเป็นพระ  คชาธาร   แต่มีคำกล่าวว่า  ไม่ใช่ช้างจริง ๆ  เป็นช้างเทวบุตรจำแลงขึ้น  เพราะในสวรรค์ชั้นนั้น  ไม่มีสัตว์ดิรัจฉาน  แต่ในแห่งอื่นว่ามีครุฑ  นอกจากนี้  ยังมีเวชยันตราชรถสำหรับทรง   พระมาตลีเป็นสารถี  ม้าที่เทียมเป็นม้าจริงหรือม้าเนรมิตไม่ได้กล่าวไว้.  พวกเทวดากับพวกอสูรไม่ปรองดองกัน  ทำสงครามกันทุกปี  ถึงหน้าดอกจิตต-ปาตลิของพวกอสูรบาน  พวกอสูรยกพลมาทำสงครามกับเทวดา  ต่างรุกได้บ้าง  ต้องล่าบ้าง  ในที่สุดพวกอสูรแพ้  ถูกพวกเทวดาขับตกสมุทรลงไป   ท้าวสักกเทวราชตั้งความเป็นเอกราชขึ้นได้  ปกครองตลอดทั่วไป.  ท้าวสักกเทวราชนั้น  เสด็จออกในเทวสันนิบาต  ณ  พระแท่นบัณฑุกัมพลสิลา  ภายใต้ต้นปาริฉัตตกะ.  พระแท่นนั้น  มีคำพรรณนาว่า  มีสีเหลืองและนุ่มดุจผ้ากำพล   เวลาประทับนั่งฟุบลงได้เวลาเสด็จลุกขึ้นกลับฟูขึ้นได้อย่างเดิม  เช่นเดียวกับเก้าอี้สปริง.
        ในพุทธุปบาทกาล   มีคำเล่าว่า  สมเด็จพระบรมศาสดา  เสด็จขึ้นไปทรงจำพรรษาในชั้นดาวดึงส์นี้พรรษาหนึ่ง  ประทับ  ณ  พระแท่นบัณฑุกัมพลสิลานั้น  ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกแก่พระพุทธมารดาผู้เสด็จลงมาจากชั้นดุสิตในเทวสันนิบาต  พอออกพรรษาแล้ว  เสด็จลงจากชั้นดาวดึงส์โดยทางบันไดแก้ว  ทอง  เงิน  ที่เทวดานิรมิต  ลงที่เมืองสังกัสแคว้นโกศล.
        เรื่องเทวาสุรสงครามได้เค้าเงือนว่า   หมายเอาสงครามใน     ระหว่างพวกอริยกะผู้ยกมาจากเหนือ  เข้าตั้งอยู่ในชมพูทวีป  และพวกมิลักขะผู้อยู่  ณ  ที่นั้นมาเดิม   เช่นนี้ส่องให้เห็นความตลอดว่าสวรรค์ชั้นนี้  ได้แก่ชมพูทวีปนี้เองในโบราณสมัย.  ชั้นยาม  มีท้าวสุยามเป็นผู้ปกครอง  ยังไม่พบคำพรรณนาถึงสวรรค์ชั้นนี้. ชั้นดุสิต  มีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ครอง  ดูเป็นชั้นศักดิ์สิทธิ์  กล่าวว่า  เป็นที่เกิดและเป็นที่อยู่แห่งพระโพธิสัตว์  แห่งพระพุทธบิดา  พระพุทธมาดาและแห่งท่านผู้วิเศษอื่น  สมเด็จพระบรมศาสดาของเราก็ว่าได้อุบัติในชั้นนี้  เทวดาทั้งหลาย  เชิญเสด็จให้จุติลงมาถือปฏิสนธิในมนุษย-โลก  เพื่อตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแล้วโปรดเวไนยนิกร   แต่ไม่พลคำพรรณนาถึงฐานที่  นอกจากมีวิมาน.  ชั้นนิมมานรดี  มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง  มีพรรณนาว่า  เทวดาชั้นนี้เป็นจำพวกบริบูรณ์ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งนิรมิตเอาเองได้.  ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี  มีท้าวนิมมิตวสวัดดีเป็นผู้ครอง  มีพรรณนาว่า  เทวดาชั้นนี้  ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ได้ต้องนิรมิตเองเหมือนพวกเทวดานิมมานรดี  มีเทวดาอื่นนิรมิตให้อีกที  แต่เป็นอย่างนั้นทั้งชั้น  เทวดาพวกไหนนิรมิตให้หาได้กล่าวชัดไม่  น่าจะได้แก่เทวดาชั้นนิมมานรดีกระมัง.  เมื่อเป็นเช่นนี้  ชั้นนั้นย่อมมีอำนาจเหนือชั้นนิมมานรดี.
        สวรรค์  ๖  ชั้นนี้  ไม่ได้เกี่ยวด้วยธรรมเลย  แต่กล่าวถึงในบาลีพระสูตรและอรรถกถา  ผู้เชื่อง่าย ๆ ย่อมเชื่อดายไป  ผู้เชื่อยากย่อมไม่สนใจเสียเลย  ผู้คิดปริศนาธรรมย่อมตีความไปต่าง ๆ  จึงนำมาแสดงไว้ในที่นี้ด้วยพอรู้เค้าเงื่อน  เพื่อนำความเข้าใจให้ถูกทาง.

สัตตะ   หมวด  ๗
อนุสัย  ๗
                             กามราคะ        
ปฏิฆานุสัย อนุสัย         คือ ความความหงุดหงิดได้แก่ โทสะ
มานานุสัย อนุสัย          คือ ความถือตัว ได้แก่ มานะ ๙ ประการ
ทิฏฐานุสัย อนุสัย          คือ ความเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ
วิจิกิจฉานุสัย อนุสัย       คือ ความสงสัย ไม่แน่ใจในพระรัตนตรัย
ภวราคานุสัย อนุสัย       คือ ความกำหนัดในภพหรืออยากเป็นโน่นเป็นนี่
อวิชชานุสัย อนุสัย        คือ ความเขลาไม่รู้จริงถึงสภาวะธรรม
อธิบาย:   กิเลสอย่างละเอียด  นอนอยู่ในสันดาน  บางทีไม่ปรากฏ  แต่เมื่อมีอารมณ์มายั่ว  ย่อมเกิดขึ้นในทันใด   เรียกว่าอนุสัยกามราคะ  ได้แก่ความกำหนัดในกาม.  ปฏิฆะ  ได้แก่ความหงุดหงิดกล่าวโดยความได้แก่โทสะ.   ทิฏฐิ  ได้แก่ความเห็นผิด.  วิจิกิจฉา  ได้แก่ความลังเล.  มานะ  ได้แก่ความถือตัว.  ภวราคะ  ได้แก่ความกำหนัดในภพหรือความอยากเป็น.  อวิชชา  ได้แก่ความเขลาไม่รู้จริง  กล่าวโดยความ  ได้แก่โมหะ.  กิเลส  ๗  นี้  บางอย่างเป็นอนุสัยของบางคนสังโยชน์ ๗  ก็เรียก.

เมถุนสังโยค  ๗
        สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี บางคนปฏิญญาตนว่า  เป็นพรหมจารีจริง ๆ  หาได้เสพเมถุนกับด้วยมาตุคามไม่เลย  แต่ยังยินดี  ปลื้มใจชื่อใจด้วยเมถุนสังโยค คืออาการแห่งเมถุน ๗  อย่างใดอย่างหนึ่ง  คือ
          ๑.ยินดีการลูบไล้ การประคบ การให้อาบน้ำ การนวดแห่ง มาตะคา ปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น
          ๒.ไม่ถึงอย่างนั้น  แต่ซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ปลื้มใจ ด้วยการเสสรวลนั้น.
          ๓.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่เพ่งดูจ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุ ของตน  ปลื้มใจด้วยการเล็งแลนั้น  
          ๔.ไม่ถึงอย่างนั้น   แต่ฟังเสียงแห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี  พูดอยู่ก็ดี   ขับร้องอยู่ก็ดี  ร้องให้อยู่ก็ดี  ข้างนอกฝาก็ดี  ข้าง นอกกำแพงก็ดี  ปลื้มใจด้วยเสียงนั้น.
          ๕.ไม่ถึงอย่างนั้น  แต่ตามนึกถึงการเก่าที่ได้เคยหัวเราะพูดเล่น กับมาตุคาม แล้วปลื้มใจ.
        ๖.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่เห็นคฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี  ผู้อิ่มเอิบ พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ  ๕  บำเรอตนอยู่ แล้วปลื้มใจ.
        ๗.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ประพฤติพรหมจรรย์  ตั้งปรารถนาเพื่อจะได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่แล้วปลื้มใจ
        พรหมจรรย์ของผู้นั้น  ชื่อว่าขาด  ชื่อว่าทะลุ  ชื่อว่าด่าง  ชื่อว่าพร้อย.  ผู้นั้นประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์  ประกอบด้วยเมถุน-สังโยค  ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้.

วิญญาณฐิติ  ๗
        ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ  เรียกว่าวิญญาณฐิติ  แจกเป็น  ๗  ดังนี้:
        ๑. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ[เปรต] บางหมู่
        ๒.  สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
        ๓.  สัตว์เหล่าหนึ่ง  มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาต่างกัน  เช่น พวกเทพอาภัสสระ.
        ๔.  สัตว์เหล่าหนึ่ง  มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหะ.
        ๕.  สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ.
        ๖.  สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ.
        ๗.  สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญาญตนะ.          
                                     
วิสุทธิ  ๗
        ๑.  สีลวิสุทธิ                                    ความหมดจดแห่งศีล.
        ๒.  จิตตวิสุทธิ                                  ความหมดจดแห่งจิต.
        ๓.  ทิฏฐิวิสุทธิ                                  ความหมดจดแห่งทิฏฐิ.
        ๔.  กังขาวิตรณวิสุทธิ                          ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย.                                                      
        ๕.  มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ               ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง.                                                       
        ๖.  ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ                  ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ.                                                      
        ๗.  ญาณทัสสนวิสุทธิ                          ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ                                                               
อธิบาย:  การรักษาศีลตามภูมิของตนให้บริสุทธ์  จัดเป็น   สีลวิสุทธิ.   สมาธิ  ทั้งที่เป็นอุปจาร  ทั้งที่เป็นอัปปนา  โดยที่สุดขณิกสมาธิ  คือสมาธิชั่วขณะพอเป็นบทฐานแห่งวิปัสสนา  จัดเป็นจิตตวิสุทธิ.  การพิจารณาเห็นนามรูปโดยสภาวะอย่างไร   รู้จักแยกออกเป็นส่วน  ๆ  โดยปัจจัตตลักษณะ  และยกขึ้นสู่ไตรลักษณะคือ  อนิจจตาทุกขตา  อนัตตตา  โดยสามัญญลักษณะ  จัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ.  การกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูปนั้นว่า  เพราะอะไรเกิดขึ้น   นามรูปจึงเกิดขึ้น  เพราะอะไรดับ  นามรูปจึงดับ  จนเป็นเหตุสิ้นสงสัยในนามรูปทั้งที่เป็นมาแล้วในอดีต  ทั้งที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน  ทั้งจักเป็นในอนาคต  จัดเป็นกังขาวิตรณวิสุทธิ.  ท่านกล่าวว่า  อวิชชา  ตัณหาอุปาทาน  กรรม  เป็นสามัญญปัจจัยแห่งนามรูป  อาหารเป็นวิสามัญญ-ปัจจัยแห่งรูป   อายตนะภายใน  ๖  ภายนอก  ๖   เป็นวิสามัญญปัจจัยแห่งวิญญาณอันเป็นส่วนจิต   ผัสสะอันเกิดเพราะวิญญาณ  เป็นวิสามัญญปัจจัยโดยตรงและโดยอ้อมแห่งเวทนา  สัญญา  สังขาร  อันเป็นส่วนเจตสิกที่รวมกันเข้าเป็นนาม.  ญาณอันรู้จักหยั่งลงว่า  นี้ทางนี้มิใช่ทาง   แห่งธรรมพิเศษ  จัดเป็นมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.พรรณนาตามมติของพระคันถรจนาจารย์ว่า   พระโยคาวจรเจริญวิปัสสนามาถึงชั้นกังขาวิตรณวิสุทธิแล้ว  อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา  ๑๐อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น  ไม่หลงไปว่าได้บรรลุมรรคผล  หยั่งรู้ว่านั่นเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนา  คือมัวพะวงอยู่   วิปัสสนาจักไม่เจริญขึ้นไปอีก   ประคองวิปัสสนาจิตไว้ในวิถี  จัดเป็นมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.   อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา  ๑๐  นั้น  คือ  โอภาส  แสงสว่าง  ๑  ญาณ  ๑  ปีติ  ความอิ่มใจ  ๑  ปัสสัทธิ  ความสงบ  ๑  สุข  ๑  อธิโมกข์ความน้อมใจเชื่อ  ๑  ปัคคาหะ  ความเพียร  ๑  อุปัฏฐาน  คือ สติ  ๑อุเบกขา  ความวางจิตเป็นกลาง  ๑  นิกันติ  ความพอใจ  ๑  อันเป็น ธรรมประณีตกว่าในเวลาปกติ.   วิปัสสนาญาณ  ๙  คือ  อุทยัพยานุ-ปัสสนาญาณ  ปรีชาคำนึงเห็นความดับ  ๑  ภังคานุปัสสนาญาณ  ปรีชาคำนึงเห็นความดับ  ๑  ภยตูปัฏฐานญาณ  ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว  ๑   อาทีนวานุปัสสนาญาณ   ปรีชาคำนึงเห็นโทษ  ๑นิพพิทานุปัสสนาญาณ  ปรีชาคำนึงถึงด้วยความเบื่อหน่าย  ๑  มุญจิตุ-กัมยตาญาณ  ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย  ๑  ปฏิสังขานุปัสสนาญาณปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง  ๑  สังขารุเปกขาญาณ  ปรีชาคำนึงด้วยวางเฉยเสีย  ๑  สัจจานุโลมิกญาณ  ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ  ๑  จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  [จงดูอธิบายในนวกะ].ญาณในอริยมรรค  ๔  จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ.  วิสุทธิ  ๗  นี้  เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุพระนิพพาน  เหมือนรถ  ๗  ผลัดต่างส่งต่อซึ่งคนผู้ไปให้ถึงสถานที่ปรารถนา.

อัฏฐกะ  หมวด  ๘
อริยบุคคล  ๘
        พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค  และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเป็นคู่ที่ ๑.
        พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค  และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผลเป็นคู่ที่  ๒.
        พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค  และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผลเป็นคู่ที่  ๓.
        พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค   แลพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลเป็นคู่ที่  ๔.    นับเรียงองค์เป็น  ๘.                          
        จงดูอธิบายในมรรค  ๔  และผล  ๔  ในจตุกกะ.พระผู้ตั้งอยู่ในมรรคนั้น  เป็นชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้น  พ้นจากนั้นเป็นพระผู้ตั้งอยู่ในผล   มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง  จงดูอริยบุคคล  ๔ในจตุกกะ.

อวิชชา  ๘
                             ๑.  ไม่รู้จักทุกข์.
                             ๒.  ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งทุกข์.
                             ๓.  ไม่รู้จักความดับทุกข์.
                             ๔.  ไม่รู้จักทางถึงความดับทุกข์.      
                             ๕.  ไม่รู้จักอดีต.
                              ๖.  ไม่รู้จักอนาคต.
                             ๗.  ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต.
                             ๘.  ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท.                               
อธิบาย : ๔ อย่างข้างต้น  ได้แก่ไม่รู้แจ้งอริยสัจ ๔. ไม่รู้จักอดีตนั้น  คือไม่รู้จักสาวหลัง  เมื่อพบเห็นผลในปัจจุบัน  ไม่รู้จักสาวหาต้นเค้าว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดมีขึ้น.  ไม่รู้จักอนาคตนั้น  คือไม่รู้จักคาดหน้า  ไม่อาจปรารภการที่ทำ  หรือเหตุอันเกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วและคาดหน้าว่าจักมีผลเป็นอย่างนั้น ๆ.  ไม่รู้จัดทั้งอดีตทั้งอนาคตนั้น  คือไม่รู้จักโยงเหตุในอดีต  และผลในอนาคตให้เนื่องถึงกัน. ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาทนั้น   คือไม่รู้จักกำหนดสภาวะนั้นๆ   โดยความเป็นเหตุเป็นผลแห่งกันและกันเนื่องกันไป   ดุจลูกโซ่เกี่ยวกันเป็นสายฉะนั้น.

วิชชา  ๘
                             ๑.  วิปัสสนาญาณ                  ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา.
                             ๒.  มโนมยิทธิ                       ฤทธิ์ทางใจ.
                             ๓.  อิทธิวิธิ                                    แสดงฤทธิ์ได้.
                             ๔.  ทิพพโสต                        หูทิพย์.
                             ๕.  เจโตปริยญาณ                   รู้จักกำหนดใจผู้อื่น.  
                             ๖.  ปุพเพนิวาสานุสสติ            ระลึกชาติได้.
                             ๗.  ทิพพจักขุ                        ตาทิพย์.
                             ๘.  อาสวักขยญาณ                 รู้จักทำอาสวะให้สิ้น.                                        
อธิบาย:   วิปัสสนาญาณนั้น  ญาณทัสสนะก็เรียก  ได้แก่ปัญญาพิจารณาเห็นรูปและนามแยกเป็นส่วน  ต่างอาศัยกันเป็นไป  [ผู้ใคร่จะรู้พิสดาร  จงดูวิสุทธิ  ๗  ในสัตตกะ].  มโนมยิทธินั้น  มีนิทเทศว่า  นิรมิตได้ซึ่งกายอื่นออกจากกายนี้  ดุจชักดาบออกจากฝัก  มีการคิดทำอะไรต่าง ๆ  สำเร็จเทียบ.  อิทธิวิธิ  ทิพพโสต  และเจโตปริยญาณ   อธิบายไว้แล้วในอภิญญา ๖ ในฉันกะ ปุพเพ-นิวาสานุสสติ ทิพพจักขุและอาสวักขยญาณ อธิบายไว้แล้วในวิชชา  ๓  ในติกะ
สมาบัติ  ๘
รูปฌาน  ๔ 
อรูปฌาน  ๔                                              
             พึงดูอธิบายรูปฌาน  ๔  อรูปฌาน  ๔  ในจตุกกะ.

นวกะ  หมวด  ๙
อนุบุพพวิหาร  ๙
รูปฌาน  ๔ 
อรูปฌาน  ๔   
สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา      
        ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับกัน  เรียกอนุบุพพวิหาร  มีประการ  ๙  คือ  รูปฌาน  ๔  อรูปฌาน  ๔  และสัญญาเวทยิตนิโรธคือสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา   เป็นธรรมละเอียดกว่าเนวสัญญา-นาสัญญายตนะขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง  ท่านผู้เข้าไม่มีสัญญาและเวทนาเลย.อย่างหลังนี้  นิโรธสมาบัติก็เรียก.   
                                                           
พุทธคุณ  ๙
                   อิติปิ  โส  ภควา           แม้เพราะอย่างนี้  ๆ  พระผู้มี-พระภาคเจ้านั้น                                                      
                   ๑.  อรห                    เป็นพระอรหันต์
                    ๒.  สมฺมาสมฺพุทฺโธ      เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง
                   ๓.  วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน   เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา  และจรณะ                                                       
                   ๔.  สุคโต                   เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
                   ๕.  โลกวิทู                 เป็นผู้รู้แจ้งโลก
                   ๖.  อนุตฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ  เป็นสารถีแห่งบุรุษพึงฝึกได้  ไม่มีบุรุษอื่นยิ่งไปกว่า                                                       
                   ๗.  สตฺถา  เทวมนุสฺสาน  เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย                                                         
                   ๘.  พุทฺโธ                  เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้เบิกบานแล้ว
                   ๙.  ภควา                  เป็นผู้มี
 อธิบาย:  พระคุณ  ๙  บทนี้  ดูเหมือนท่านเลือกตั้งไว้  เพื่อตริตรองหาความเข้าใจเอาเอง   เป็นพุทธานุสสติ  จักแสดงพอเป็นตัวอย่าง.
        บทว่า  อรห  ท่านพิจารณาพยัญชนะแก้ไว้ต่าง ๆ  อย่างหนึ่งว่าออกจากศัพท์  อารา-ห  แปลว่าเป็นผู้เว้นไกล  เป็นผู้หักกำจักรอีกอย่างหนึ่งว่าออกจากธาตุ  อรฺห  แปลว่าเป็นผู้ควร  อีกอย่างหนึ่งว่า  อ-รห  แปลว่าเป็นผู้ไม่มีข้อลับ.  ข้อว่าเป็นเว้นไกลนั้น  อธิบายว่า  เป็นผู้เว้นไกลจากกิเลสและบาปธรรม  กล่าวคือเป็นผู้บริสุทธ์  ข้อว่า  เป็นผู้หักกำจักรนั้น  อธิบายว่า  เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร  ได้แก่อวิชชา  ตัณหา  อุปาทาน  กรรม.  ข้อว่า  เป็นผู้ควรนั้น  อธิบายว่าเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนเขา   เป็นผู้ควรรับความเคารพนับถือของเขาเป็นอาทิ.  ข้อว่า  เป็นผู้ไม่มีข้อลับนั้น  อธิบายว่า  ไม่ได้ทำความเสียหายอันจะพึงซ่อนเพื่อมิให้คนอื่นรู้.   เทียบกับภาษาสกฤตเข้าแล้วจับหลักได้ว่าออกจากธาตุ  อรฺห  ที่แปลว่า  ควร.  โดยอรรถหมายความว่าเป็นผู้บริสุทธ์  บทนี้ใช้เป็นคุณของพระสาวกด้วย  แต่มีบทอื่นเข้าประกอบหมายความต่าง  สำหรับพระศาสดาใช้ว่า  อรห  สมฺมา-สมฺพุทฺโธ  พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง  สำหรับพระสาวกใช้ว่า  อรห   ขีณาสโว  พระอรหันต์อาสวะสิ้นแล้ว.
        บทว่า  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  หมายความว่า  เป็นต้นเดิมแห่งพระพุทธศาสนา  อันเป็นสวากขาตธรรม.
        บทว่า  วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน  หมายความว่า  เป็นผู้ได้บรรลุวิชชาด้วย  เป็นผู้แรกรู้จักทางเครื่องบรรลุวิชชานั้นด้วย   โดยใจความก็เหมือนบทว่า  สมฺมาสมฺพุทฺโธ.  ฝ่ายพระสาวก  เป็นแต่ผู้ได้บรรลุวิชชาแต่มิใช่ผู้แรกรู้จักทางเครื่องบรรลุวิชชานั้น  เป็นแต่ได้รู้จักจากพระ-ศาสดาอีกต่อหนึ่ง  จึงมีบทเรียกต่างว่า  เตวิชฺโช  ผู้มีวิชชา  ๓  วิชชากล่าวไว้ในติกะก็มี  ในอัฏฐกะก็มี. จรณะจักกล่าวในอติเรกทสกะ  ผู้ปรารถนาจงดูในหมวดที่ระบุไว้นั้น.
        บทว่า  สุคโต  ความกระจ่างแล้วไม่ต้องพิจารณาศัพท์  มีอธิบายว่า  ประพฤติพระองค์รอดไปได้ไม่ต้องถอยหลัง  เสด็จไปในที่ใด  ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่มหาชนในที่นั้น  เสด็จมายังโลกนี้  ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน  จึงเข้าปรินิพพาน.
        บทว่า  โลกวิทู  พรรณนาให้เข้ากับโลก  ๓  ว่า  ทรงรู้จักถิ่น-ฐานบ้านเมืองต่าง ๆ  ปรุงโปร่ง  ทรงรู้จักอัธยาศัยของคนต่างถิ่นต่างชั้นทรงรู้จักหยั่งเห็นเหตุอันปรุงแต่งคนเหล่านั้น  พร้อมทั้งถิ่นฐานให้ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร.  อธิบายอีกอย่างหนึ่งว่า   ทรงหยั่งรู้ความเป็นไปของคนทุกชั้นว่าเป็นอย่างไร  เนื่องด้วยสุขทุกข์ก็ดี  เนื่องด้วยความเจริญความเสื่อมก็ดี   ตกอยู่ในคติแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างไร  จนหายตื่นหายหลงหายอยากในอิฏฐารมณ์  หายตกใจกลัวต่ออนิฏฐารมณ์เป็นทางนำพระองค์ให้เสด็จไปดี.
        บทว่า  ปุริสทมฺมสารถิ  นั้น  มีอธิบายว่า  ครั้งโบราณ  พวกกษัตริย์ชอบเล่นม้า  เพราะม้าเป็นพาหนะที่ใช้ในสงครามถึง  ๒  หมวดแห่งกองทัพ  ใช้ให้ทหารขี่  จัดเป็นอัสสานิก  [หมวดม้า]  ใช้เทียมรถ  จัดเป็นรถานิก  [หมวดรถ]   ความเป็นสารถีฝึกม้าขับรถ  ย่อมนิยมกันว่าดี   ในการขึ้นรถรบกัน  การชนะหรือแพ้  นอกจากตัวผู้รบเนื่องด้วยสารถี  ต้องใช้คนสำคัญทีเดียว  ดังจะเห็นได้ในเรื่องนั้น ๆเช่นพระมาตลีเป็นสารถีของพระอินทร์  ทีฑาวุกุมารตัวโปรดเป็นสารถีของพระเจ้าพรหมทัตต์    ด้วยเหตุนี้แล  จึงใช้ศัพท์ว่าสารถีในบทนี้เพื่อแสดงความเป็นผู้ฝึกคน   เป็นคู่กับผู้ฝึกม้าขับรถ.  ศัพท์ว่า  ปริส-ทมฺโม   บุรุษพึงฝึกได้นั้น  หมายเอาคนมีนิสัยที่อาจฝึกให้ดีได้  และตั้งใจจะเข้าใจพระธรรมเทศนา  แม้ฟังด้วยตั้งใจจะจับข้อบกพร่องขึ้นยกโทษเช่นเดียวถีย์ก็ตามที.   ฝ่ายคนผู้โง่ทึบเทียบด้วยคนป่าคนดอยไม่สามารถจะฝึกได้  และคนผู้ไม่ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา  เพื่อหาความเข้าใจ   ชื่อว่า  ปุริสาทมฺโม  บุรุษผู้ฝึกไม่ได้  แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่อาจทรงฝึก.
        บทว่า  อนุตฺตโร  แปลตัดความว่าเป็นเยี่ยม  หมายความว่าทรงฝึกดีกว่าสารถีฝึกม้า  ด้วยไม่ได้ใช้อาชญาหักหาญ  และรู้จักใช้อุบายให้เหมาะแก่บุคคล และคนผู้ที่ทรงฝึกแล้ว  ย่อมดียิ่งกว่าม้าที่ฝึกดีแล้ว.
        บทว่า  สตฺถา  เทวมนุสฺสาน  ตามพยัญชนะ  ดังจะเชิดชูว่า เป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงทั้งชั้นต่ำตามอรรถ  น่าจะพรรณนาถึงพระ คุณสมบัติที่สมควรเป็นครู  แลได้ทรงทำกรณียะของครู  จึงได้ผลเป็นอย่างนั้น.
        บทว่า  พุทฺโธ  ที่ว่าเป็นผู้ตื่น  มีอธิบายว่า  เป็นผู้ไม่หลงงมงายที่เปรียบด้วยนอนหลับ  เป็นกาลัญญู  รู้จักกาลสมัย  รู้จักฐานะและอฐานะที่ว่าเป็นผู้เบิกบานแล้ว  มีอธิบายว่า  เป็นผู้ทรงพระคุณเต็มที่  และได้ทรงทำพุทธกิจสำเร็จแล้ว.
        บทว่า  ภควา  ดูเหมือนพระคัมถรจนาจารย์ไม่แน่ใจว่าออกจากศัพท์อะไร  หรือธาตุอะไร   ท่านพิจารณาแก้ไว้ต่าง ๆ   อย่างหนึ่งว่าออก  จาก  ภชฺ  ธาตุ  ที่แปลว่าแจกว่าแบ่ง  อธิบายว่า  แจกพระธรรมรตนะ  สำเร็จรูปเป็น  ภาค  หรือ  ภค  แปลว่าส่วน  ว่าสมบัติ  อธิบายว่า  มีส่วนแห่งธรรม  มีคุณสมบัติ.  อีกอย่างหนึ่งว่าออกจาก  ภชฺ  ธาตุที่แปลว่าคบ  เสพ   อธิบายว่า  เสพเสนาสนะสงัด  หรือจะอธิบายว่าเสพสันติวิหารธรรมก็เข้ารูป  สำเร็จรูปเป็น  ภค   แปลว่ามีอาการน่าคบอธิบายว่า  ทรงนำผู้เข้าไปคบให้ได้ประโยชน์ตามสมควร.  อีกอย่างหนึ่งว่าออกจาก  ภญฺช  แปลว่าหัก  อธิบายว่า  หักคือกำจัดกิเลสและบาปธรรมทั้งปวง.  ข้าพเจ้าหาความเข้าใจบทนี้มานามแล้ว  ได้พบในพราหมณสมัย   เป็นคำที่เรียกฤษีทั่วไปก็ได้  เรียกเทวดาบ้างก็ได้.ที่ใช้เรียกฤษีหลงเหลืออยู่ในปกรณ์ของเราก็มี  แห่งหนึ่งพวกภัทท-วัคคิยกุมาร  ๓๐  คน  เที่ยวตามหาหญิงคนหนึ่งผู้ลักของหนีไป  พบพระศาสดาเสด็จประทับอยู่ใต้ร่มไม้ตำบลไร่ฝ้าย   ไม่รู้จักพระองค์  ถามว่า  อปิ  ภความ อิตฺถึ  ปสฺเสยฺย   แปลว่า  ภควา   เห็นหญิงบ้าง หรือ ?   อีกอย่างหนึ่ง  ในชาดก  ราชอำมาตย์ถามเกสีดาบสผู้อันพรเจ้าพาราณสีทรงบำรุงอยู่ในพระนคร   แต่ทูลลาไปอยู่กับกัปปดาบสผู้ศิษย์ได้ฉันแต่ของป่าอันจืดหารสเค็มมิได้  ไม่เหมือนอยู่ในพระนครที่ได้ฉันของอร่อยต่าง ๆ  ว่า  กถนฺนุ  ภควา  เกสี  กปฺปสฺส   รมสิ  อสฺสเมแปลว่า  ภควา  เกสี  ยินดีอยู่ได้ในอาศรมแห่งกัปปดาบสด้วยอย่างไร ?   และได้รับตอบว่า  ความคุ้นเคยนั่นและเป็นรสอันเยี่ยม.  ส่วนในพระพุทธศาสนาใช้เป็นบทเรียกพระศาสดา  และพระพุทธเจ้าทั้งหลายอื่นเท่านั้น  ไม่ใช้เรียกพระสาวก.  ข้าพเจ้าลงมติว่า  ออกจาก  ภคศัพท์  อันสำเร็จมาแต่  ภชฺ  ธาตุ  ที่แปลว่าแจกว่าแบ่ง   มีคู่เทียบว่าโสภคฺย   โทภคฺย  ใช้ตามลำพับศัพท์เป็นข้างดี  แปลว่า โชคดี  มีคำดีคำร้ายประกอบ  เป็นแต่คำกลาง ๆ  แปลว่า  เคราะห์  เช่นเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย.  โดยนัยนี้  แปลว่า  ผู้มีโชค  ว่าผู้มีเคราะห์ดี  อธิบายว่า     ครั้งยังไม่ได้ออกทรงผนวช   ก็ได้รับทำนุบำรุงเป็นอย่างดีตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนทรงพระเจริญ   ออกทรงผนวชแล้วทรงแสวงหาทางตรัสรู้อยู่ถึง  ๖  ปี   น่ากลัวไม่สำเร็จ   มาสำเร็จเข้าได้  แต่นั้นทรงประกาศพระศาสนา  สามารถยังผู้อื่นให้บรรลุธรรมพิเศษเป็นพระสงฆ์ขึ้นได้   และอาจยังเวไนยนอกจากนั้นให้ได้ศรัทธาเลื่อมใสยอมนับถือประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้นไว้  จัดว่าเป็นผู้มีโชคดี  มีเคราะห์ดีทุกคราวมา   ในเวลาสอนพระศาสนา  ปรากฏว่าพวกเดียรถีย์คิดร้าย  แต่ก็ไม่อาจทำ  สอนโจรและยักษ์ผู้ร้ายกาจ  ก็ไม่ถูกทำร้าย  และไม่ถูก ผู้ครองนครที่เสด็จไปสอนพระศาสนาระแวงว่าเป็นผีบุญ  และกำจัดเสียจัดว่าเป็นผู้มีโชคมีเคราะห์ดีเหมือนกัน.  ควรจะเรียกว่าพระผู้มีพระภัตแต่เรียกว่าพระผู้มีพระภาค  ชะรอยจะเห็นใกล้ต่อเสียงว่าพระพักตร์ซึ่งแปลว่าหน้า  เกรงจะนำความเข้าใจแฉไปกระมัง  จึงเรียกตามที่ท่านสันนิษฐานไว้โดยประการหนึ่ง.
        พุทธคุณ ๙ นี้ เรียกนวหรคุณก็มี โดยที่แท้ควรจะเรียกนวหคุณ หรือนวารหคุณ จึงจะแปลว่าคุณของพระอรหันต์  ๙

มานะ  ๙
                             ๑.  เป็นผู้เลิศกว่าเขา               สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
                             ๒.  เป็นผู้เลิศกว่าเขา               สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
                             ๓.  เป็นผู้เลิศกว่าเขา               สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
                             ๔.  เป็นผู้เสมอเขา                  สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
                             ๕.  เป็นผู้เสมอเขา                  สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
                             ๖.  เป็นผู้เสมอเขา                   สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
                             ๗.  เป็นผู้เลวกว่าเขา               สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
                             ๘.  เป็นผู้เลวกว่าเขา               สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
                             ๙.  เป็นผู้เลวกว่าเขา                สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
อธิบาย: ความเป็นผู้เลิศ  เป็นผู้เสมอ  เป็นผู้เลวกว่าเขานั้นกำหนดโดยชาติ  โคตร  สกุล   รูปสมบัติ  ทรัพย์  ศัลปะ  วิทยา  การงานความฉลาดเฉลียว  และอื่น ๆ   อันเทียบด้วยของคนอื่นโดยมากด้วยกัน.  มานะ ข้อ  ๑  ข้อ  ๔  และข้อ  ๗  เข้าลักษณะทะนงข้อ  ๒  ข้อ  ๕และข้อ  ๘  เข้าลักษณะตีเสมอข้อ  ๓  ข้อ  ๖  และข้อ  ๙  เข้าลักษณะถ่อมตัว.   มานะลักษณะที่  ๑  ที่  ๒  ตรงต่อจองหองและถือตัวโดย  ลำดับกัน  จัดเป็นมานะชอบอยู่  มานะลักษณะที่  ๓  ไม่น่าจัดเป็นมานะบางทีท่านจะหมายคนหมิ่นตนอย่างนั้นแล้ว  อิสสาและคิดแข่งขันคนอื่นกระมัง  หรือเพียงสักว่ายังสำคัญตนอยู่ด้วยประการไร   ก็จัดว่าเป็นมานะได้   เช่นมานะมาในอุทธัมภาคิยสังโยชน์  ขอนับธรรมพิจารณาดูเถิด.

โลกุตตรธรรม  ๙
                                       มรรค  ๔ 
ผล  ๔ 
นิพพาน  ๑.                                                  
อธิบาย:  นิพพานในที่นี้  หมายอนุปาทิเสสนิพพาน.  ผู้ปรารถนาจงดูตามหมวด.

วิปัสสนาญาณ  ๙
          ๑.  อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ                ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับ.
          ๒.  ภังคานุปัสสนาญาณ                     ปรีชาคำนึงเห็นความดับ.
          ๓.  ภยตูปัฏฐานญาณ                         ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏ  เป็นของน่ากลัว.
          ๔.  อาทีนวานุปัสสนาญาณ                 ปรีชาคำนึงเห็นโทษ.
          ๕.  นิพพิทานุปัสสนาญาณ                   ปรีชาคำนึงถึงความเบื่อหน่าย.
          ๖.  มุญจิตุกามยตาญาณ                     ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย.
          ๗.  ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ                  ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง.  
          ๘.  สังขารุเปกขาญาณ                       ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยเสีย.
          ๙.  สัจจานุโลมิกญาณ                        ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ.
อธิบาย:   ญาณที่  ๑  คำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับแห่งสังขาร.   ญาณที่  ๒   ปล่อยความเกิดเสีย  คำนึงเอาเป็นอารมณ์เฉพาะความดับแห่งสังขารนั้น.  ญาณที่  ๓  คำนึงเห็นสังขารนั้นอันปรากฏด้วยอำนาจความดับ  โดยอาการเป็นของน่ากลัว  ดุจสัตว์ร้ายมีสีหะเป็นต้น.  ญาณที่  ๔  คำนึงเห็นโทษแห่งสังขารนั้น  อันปรากฏด้วยประการนั้นว่าเป็นดุจเรือนอันไฟไหม้แล้ว.  ญาณที่ ๕  คำนึงถึงสังขารนั้นอันมีโทษได้เห็นแล้วด้วยความเป็นหน่าย.  ญาณที่ ๖  คำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสียจากสังขารนั้นที่เบื่อหน่ายแล้ว  ดุจสัตว์อันติดข่ายใคร่จะหลุดไปจากข่าย.  ญาณที่  ๗  คำนึงด้วยพิจารณาเฟ้นสังขารนั้นเพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย   ดุจนางนกที่เรียกว่าสมุทรสกุณีอันลงเล่นในทะเล.  ญาณที่  ๘   คำนึงด้วยความวางเฉยในสังขารนั้นดุจบุรุษผู้วางเฉยในภรรยาอันหย่ากันแล้ว.  ญาณที่  ๙  เป็นไปขณะแห่งจิต   อันได้ชื่อว่าอนุโลมเกิดขึ้นในลำดับแห่งมโนทวาราวัชชนะอันตัดภวังค์เกิดขึ้นในขณะอริยมรรคจักเกิด  ในที่สุดแห่งสังขารุเปกขา-ญาณ.

สังฆคุณ  ๙
             ภควโต  สาวกสงฺโฆ             พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค.
          ๑.  สุปฏิปนฺโน                      เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
          ๒.  อุชุปฏิปนฺโน                     เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว.
          ๓.  ายปฏิปนฺโน                  เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม.
          ๔.  สามีจิปฏิปนฺโน                 เป็นผู้ปฏิบัติสมควร.
              ยาทิท                           นี้คือใคร
              จตฺตาริ   ปุริสยุคานิ            คู่แห่งบุรุษ  ๔
              อฏฺ  ปุริสปุคฺคลา               บุรุษบุคคล  ๘
              เอส  ภควโต  สาวกสงฺโฆ      นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค.
          ๕.  อาหุเนยฺโย                      เป็นผู้ควรของคำนับ.
        ๖.  ปาหุเนยฺโย                        เป็นผู้ควรของต้อนรับ.
        ๗.  ทกฺขิเณยฺโย                       เป็นผู้ควรของทำบุญ.
        ๘.  อญฺชลิกรณีโย                    เป็นผู้ควรทำอัญชลี  [ประณมมือไหว้].
        ๙.  อนุตฺตร  ปุญฺกฺเขตฺต            เป็นนาบุญของโลก   ไม่มีนาบุญอื่น โลกสฺส ยิ่งกว่า.
อธิบาย:   พระสงฆ์นี้  หมายเอาจำพวกพระสาวกผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษ.
        บทว่า  สุปฏิปนฺโน   หมายความกว้าง  นอกจากที่ระบุไว้ใน  ๓    บทเป็นลำดับไป  เช่นปฏิบัติไปตามมัชฌิมาปฏิปทา  ไม่หย่อนนัก  ไม่ตึงเครียดนัก  ปฏิบัติไม่ถอยหลัง  ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสดาไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักข์กัน.
        บทว่า  อุชุปฏิปนฺโน   หมายว่าไม่ปฏิบัติลวงโลก   ไม่มีมายาสาไถย  ประพฤติตรง ๆ ต่อพระศาสดาและเพื่อสาวกด้วยกัน  ไม่อำพรางความในใจ  ไม่มีแง่มีงอน.
        บทว่า  ายปฏิปนฺโน  ท่านสันนิษฐานว่า  อย่างหนึ่งออกจากา  ธาตุ  ที่แปลว่า  รู้  จึงอธิบายว่า  เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาเป็นเครื่องรู้  คือปฏิบัติในทางอันจะให้เกิดความรู้  เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรมที่ควรรู้   คือปฏิบัติเพื่อได้ความรู้ธรรม  อีกอย่างหนึ่งท่านแปลว่า  เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อออกไป  ที่อธิบายว่า  เพื่ออกไปจากทุกข์  เพื่อออกไปจากภพ  แต่สันนิษฐานว่าออกจากธาตุอะไรหาทราบไม่.  ศัพท์ว่า ายนี้  เทียบกันได้กับศัพท์สสกฤตว่า  นฺยาย  ที่ว่าออกจาก  อ  ธาตุ  มีนิอุปสัคนำ  แปลว่า  เข้าไป  เข้าถึง  ข้างภาษามคธ  แปลง  นฺย  เป็น  โดยวิธีสนธิ  จึงเป็น  าย.   ศัพท์นี้ข้างสสกฤตแปลไว้หลายนัย  อย่างหนึ่งแปลว่า  ธรรม  สมด้วยบทบาลีว่า  ายสฺส  อธิคมาย  ที่แปลว่าเพื่อบรรลุ
าย  อันได้แก่อธิคมสัทธรรม.  ธรรมได้ชื่อว่า  นฺยาย  หรือาย  เพราะเป็นคุณอันจะพึงเข้าถึง  คือบรรลุ.  ท่านแปลศัพท์ว่า  ออกอุปสัคตัวนั้นในสสกฤตเป็น  นิสฺ  เข้ากับสระ  สฺ  ต้องแปลงเป็น  รฺเช่น  นิรุปทฺทโว  นิราสงฺโก  ในที่นี้เข้ากับ  อิ  ธาตุ  จะต้องเป็น  นิริ หรือ  นิรยสำเร็จรูปเป็น  นฺยาม  ไม่ได้.  นิ  แปลว่าเข้า  เช่น  นิคจฺฉติ   แปลว่าเข้าถึง  นิวีสติ  แปลว่าเข้าตั้ง.  โดยนัยนี้   บทว่า  ายปฏิปนฺโนแปลว่า  เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม  ที่อธิบายว่า  ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ถือความถูกเป็นประมาณ.
        บทว่า  สามีจิปฏิปนฺโน  หมายว่าปฏิบัติน่านับถือ  สมควรได้รับสามีจิกรรม.  คู่แห่งบุรุษ  ๔  บุรุษบุคคล  ๘  จงดูอริยบุคคล  ๘  ในอัฏฐกะ.
        ขอคำนับ  ที่เรียกว่าอาหุนะนั้น  ได้แก่เครื่องสักการะอันจะพึงนำมาให้ถึงสำนัก  เช่นเครื่องสักการะถวายอุปัชฌายะอาจารย์ในคราวเข้าพรรษา  และผ้ารดน้ำให้ท่านผู้สูงอายุในคราวสงกรานต์เป็นตัวอย่าง.  ของต้อนรับที่เรียกว่า  ปาหุนะ  นั้น  ได้แก่ของที่สำหรับรับแขกอันจะพึงให้ต่อเมื่อมาถึงถิ่น  เช่นน้ำชา  หรือแม้อาหารด้วย  เป็นตัวอย่างของทำบุญที่เรียกว่า  ทักขิณา  นั้น ได้แก่ไทยธรรมวัตถุมีอาหารและผ้าเป็นต้น  อันจะพึงบริจาคในพระศาสนาโดยฐานเป็นการบุญ.  พระสงฆ์เป็นผู้ควรของทั้ง  ๓  อย่าง  และอัญชลีกรรมนั้น อธิบายว่า  ผู้ใดผู้หนึ่ง  จะนำเครื่องสักการะไปถวายท่านถึงสำนักของท่าน  ท่านย่อมอาจยังความเลื่อมใสให้เกิด  ไม่ต้องเสียใจเมื่อภายหลังว่า  ไม่พอที่จะไปคำนับผู้ไม่สมควร  ท่านมาถึงถิ่นย่อมเป็นแขกที่น่าต้อนรับด้วยความยินดี  เพราะเป็นผู้มาดี  ไม่ใช่มาร้าย.  และเป็นผู้บริจาคทักขิณาเป็นการบุญ  จะถวายแก่ท่าน ๆ  ก็เป็นปฏิคาหกที่สมควร  ผู้ใดผู้หนึ่งจะยกมือไหว้ท่าน  ท่านก็มีความดีพอจะไหว้ได้  ผู้ไหว้ ไม่ต้องกระดาก. 
        บทว่า  อนุตฺตร  ปุญฺกฺเขตฺต  โลกสฺส  มีอธิบายว่า  พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธ์  ทักขิณาที่บริจาคแก่ท่านย่อมมีผลานิสงส์  ดุจนามีดินดีและไถแล้ว  พืชที่หว่านที่ปลูกลงไป  ย่อมเผล็ดผลไพบูล  จึงเป็นที่บำเพ็ญบุญเป็นอย่างดี.
        บทแสดงสังฆคุณนี้  เรียงแปลกอยู่  ข้างต้นตอนหนึ่ง  ๔  บทสรรเสริญความปฏิบัติตน  มีประเภทพระสงฆ์คั่นในระหว่าง  ข้างท้ายอีกตอนหนึ่ง  ๕  บท   แสดงผลแห่งความปฏิบัติอันจะพึงได้รับแต่คนอื่นไม่เหมือนบทแสดงพุทธคุณและแสดงธรรมคุณ  ที่เรียงรวดเดียวจบขอนับธรรมพิจารณาดูเถิด.

สัตตาวาส  ๙
              ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์  เรียกสัตตาวาส  แจกเป็น  ๙
          ๑.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ พวกเทวดาบางหมู่ พวกวินิปาติกะเปรต บางหมู่
          ๒.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม  ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน 
          ๓.สัตว์เหล่าหนึ่ง   มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาต่างกัน  เช่นพวกเทพอาภัสสระ.
          ๔.สัตว์เหล่าหนึ่ง   มีกายอย่างเดียวกัน   มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหะ.
          ๕.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ไม่มีสัญญา  ไม่เสวยเวทนา  เช่นพวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์.
          ๖.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ.
          ๗.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาญัญจายตนะ.
          ๘.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ.
          ๙.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ.         
                                                                    
ทสกะ  หมวด  ๑๐
อันตคาหิกทิฏฐิ  ๑๐
        ความเห็นอันถือเอาที่สุด  คือเล่นเข้าไปถึงที่สุด  ในอย่างหนึ่ง ๆเรียกอันตคาหิกทิฏฐิ  แจกออกไปเป็น  ๑๐ คือ
        ๑.  โลกเที่ยง.
        ๒.  โลกไม่เที่ยง.
        ๓.  โลกมีที่สุด.
        ๔.  โลกไม่มีที่สุด.
        ๕.  ชีพก็อันนั้น  สรีระก็อันนั้น.
        ๖.  ชีพเป็นอัน  สรีระก็เป็นอื่น.
        ๗.  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว  ย่อมเป็นอีก  เกิดอีก.
        ๘.  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว  ย่อมไม่เป็นอีก.
        ๙.  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว  ย่อมเป็นอีกก็มี   ย่อมไม่เป็นอีกก็มี.
        ๑๐.  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว   ย่อมเป็นอีกหามิได้  ย่อมไม่เป็นอีก  ก็หามิได้.                                       
อธิบาย:    ทิฏฐินอกพระพุทธศาสนา  พรคันถรจนาจารย์  ไม่พอใจอธิบาย  ในเมื่อจำจะพูดถึง  ก็พูดอย่างห้วน  ยากที่จะเข้าใจเมื่อเป็นเช่นนี้  ยากที่จะลงความเห็นว่า   พระพุทธศาสนามุ่งหมายอย่างไร  ทิฏฐินี้ท่านก็มิได้พรรณนาไว้ชัดเจน  แต่กล่าวว่า  เป็นข้อที่ พระศาสดาไม่ทรงพยากรณ์  คือ  ไม่ตรัสถึง  ดังมีเรื่องเล่าว่า  พระมาลุงกยะทูลถามถึงทิฏฐิ  ๑๐  นี้  และทูลพ้อว่า  ถ้าไม่ทรงพยากรณ์จักไม่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป  พระองค์ตรัสว่า  พระองค์ไม่ได้ทรงสัญญาไว้  เมื่อพระมาลุงกยะจะมาประพฤติพรหมจรรย์ว่า   จักทรงแก้ทิฏฐิ  ๑๐  ข้อนี้  พระมาลุงกยะปรารถนาจะไปก็จงไป  จึงเป็นดุจกรุยอันผู้สอดส่องธรรมในพระพุทธศาสนา  พึงหลีกห่าง   ดุจกรุยบอกน้ำตื้นอันเรือไม่พึงแวะเข้าไป  เป็นข้อที่น่ารู้อยู่.  ในที่นี้  จักอธิบายตามมติของข้าพเจ้า.  โลกในที่นี้  น่าจะได้แก่หมู่สัตว์.  ข้อว่า  โลกเที่ยงนั้น   น่าจะหมายความดังกล่าวแล้ว  ในสัสสตทิฏฐิ  ในทุกกะ.  ข้อว่า  โลกไม่เที่ยงนั้น  น่าจะหมายความดังกล่าวแล้ว  ในอุจเฉททิฏฐิในทุก.  ข้อว่า  โลกมีที่สุด  น่าจะหมายความว่า  คนทำดี  ในที่สุดย่อมไปเกิดในทิพยกายที่ยั่งยืน  ไม่แปรผัน  ดุจความเข้าใจของคนถือลัทธิต่างบางพวก  หรือด้วยมรณะแล้ว  ขาดศูนย์กัน.  ข้อว่า  โลกไม่มีที่สุดนั้น  น่าจะหมายความว่า  เวียนเกิดเวียนตายไปอย่างนี้  ไม่มีขาดลง.  ข้อว่า   ชีพก็อันนั้น  สรีระก็อันนั้น  กับข้อว่า  ชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น  ชีพนั้นได้แก่  ชีโว   ได้กล่าวแล้ว  ในสัสสตทิฏฐิ  ในทุกะ  เป็นแต่ในที่นี้ใช้นปุสกลิงค์เป็น ชีว.   ในพระพรหมสมัยบัญญัติว่า  เวลามรณะ  ชีพนี้ออกจากสรีระไปถือปฏิสนธิใหม่   ส่วนสรีระย่อมสลายไป.  ทิฏฐิเนื่องด้วยชีพนี้   ข้างหนึ่งเข้าใจว่า  ชีพกับสรีระเป็นอันเดียวกัน  เกิดดับพร้อมกัน  อีกข้างหนึ่งเข้าในว่า  ชีพกับสรีระต่าง กัน   เช่นบัญญัติไว้ในพราหมณสมัย.   พระพุทธศาสนากล่าวอนัตตา   ไม่ใช่อัตตาไม่ใช่ตนนั้น  แสดงนามธรรมคือจิตเจตสิกว่า  เกิดขึ้นเพราะอายตนะภายใน  และอายตนะภายนอกสบกันเข้าเป็นต้นไป  เพื่อคัดค้านชีพดังที่เขาเข้าใจกันนั้น.   ในข้อปรารภความเกิดอีกเป็นต้น  ของสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว  บทบาลีใช้แปลกอยู่  ใช้บทว่า  ตถาคโตที่แก้ในอรรถกถาว่า  สตฺโต  คือสัตว์.  ตถาคตศัพท์นั้น  นอกจากในที่นี้  พบแต่ที่ใช้เรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  มักเรียกเป็นพหูพจน์ด้วยโดยอธิบายว่า   ผู้มาเหมือนอย่างนั้น  คือได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัม-พุทธเจ้า    และได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจถูกต้องตามธรรมเนียมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์ก่อน ๆ  เช่นเดียวกับพระราชาผู้เป็นแทนสืบกันมา.  สอบกับภาษาสสกฤตได้ความออกไปอีกหน่อยว่า  นอกจากใช้เรียกพระพุทธเจ้า  ใช้เรียกชินะ  ที่ออกชื่อในปกรณ์ข้างพระพุทธศาสนาว่า  นิครนถนาฏบุตรบ้าง  ใช้เรียกเจ้าบ้าง  ไม่ได้กล่าวว่าใช้เรียกสามัญสัตว์.  ถ้าไม่ใช่ศัพท์ใช้เรียกสามัญสัตว์  ความเข้าในก็จะพึงมีอีกทางหนึ่งว่า  ท่านผู้ที่มหาชนนับถือเป็นศาสดา  และเป็นเอกอุในลักทธิของตน  เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว  เกิดอีกหรือไม่  หรือที่เกิดอีกก็มีที่ไม่เกิดอีกก็มี   หรือปฏิเสธทั้งนั้น  สมด้วยปัญหาปรารภเจ้าลัทธิเห็นปานนี้   อันพระสุภัททะครั้งยังเป็นปริพาชกยกขึ้นทูลถามพระศาสดาเมื่อใกล้จะปรินิพพาน  แต่ทูลถามในทางตรัสรู้ของเขา.  เช่นนี้ไม่แย้งต่อการรับรองว่า   สัตว์ผู้ยังมีกิเลสานุสัย   ตายแล้วต้องเกิดอีก.  ข้าพเจ้าได้ความเข้าใจไม่พอเพื่ออนุโมทนาหรือค้านคำแก้ในอรรถกถาทั้ง  ๒  อย่างจึงแปลว่าสัตว์ไว้ที่ตามอรรถกถา   แม้เป็นศัพท์เรียกสามัญสัตว์  ก็   อาจอธิบายให้เข้ารูปได้ว่า  เป็นผู้มาเหมือนอย่างนั้น  คือเกิดขึ้นแล้วเป็นอยู่โดยธรรมดาแห่งสัตว์  และจักเป็นผู้ไป   คือตายเหมือนสัตว์ในกาลก่อน.   ทิฏฐิ  ๑๐  อย่างนี้  ไม่จัดเป็นชั่วร้ายนัก  ไม่ถึงห้ามสวรรค์เป็นแต่ห้ามอริยมรรค  อธิบายว่า  คนมีทิฏฐิเหล่านี้แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง   ถึงไม่ได้ทำบาปทุจริตเพราะทิฏฐินี้   เบื้องหน้าแต่ตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ก็ได้  แต่ยังละเสียไม่ได้เพียงใด   ยังเป็นผู้อาภัพ  ไม่อาจบรรลุอริยมรรคอยู่เพียงนั้น.

ทสพลญาณ
        พระญาณเป็นพระกำลังของพระตถาคตเจ้า ๑๐  เรียกทสพลญาณมีวิภาคดังนี้
      ๑.  ฐานาฐานญาณ ปรีชากำหนดรู้านะคือเหตุที่ควรเป็นได้และอฐานะคือมีใช่เหตุ ที่ควรเป็นได้
      ๒.  วิปากญาณ      ปรีชากำหนดรู้ผลแห่งกรรม.
      ๓.  สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิ ทั้งปวง.                                                       
      ๔.  นานาธาตุญาณ  ปรีชากำหนดรู้ธาตุต่าง ๆ.
      ๕.  นานาธิมุตตกญาณ  ปรีชากำหนดรู้อธิมุตติคืออัธยาศัยของ  สัตว์ทั้งหลายอันเป็นต่างๆกัน.                                             
      ๖.  อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่ง แห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.                                              
      ๗.ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้อาการมีความเศร้า หมองเป็นต้นแห่งธรรมมีฌานเป็นต้น                                                
      ๘.  ปุพเพนิวาสานุสสติญา  ปรีชากำหนดระลึกชาติหนหลังได้.
      ๙.  จุตูปปาตญาณ  ปรีชากำหนดรู้จุติ  และอุปบัติของสัตว์  ทั้งหลายผู้เป็นต่าง ๆ กันโดยกรรม.                                            
      ๑๐.  อาสวักขยญาณ  ปรีชารู้จักทำอาสวะให้สิ้น.                                                               
อธิบาย:   ฐานะนั้น  คือสิ่งที่มีได้เป็นได้โดยธรรมดา   อฐานะคือสิ่งที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้โดยธรรมดา  อุทาหรณ์  สิ่งใดมีความเกิดขึ้นสิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา  เป็นฐานะอย่างหนึ่ง  สิ่งใดมีความเกิดขึ้น  สิ่งนั้นจักไม่ดับเลย  เป็นอฐานะอย่างหนึ่ง   กุศลกรรม  ให้ผลดีอกุศลกรรม   ให้ผลชั่ว  เป็นฐานะอีกอย่างหนึ่ง  กุศลกรรม  ให้ผลชั่วอกุศลกรรม  ให้ผลดี  เป็นอฐานะอีกอย่างหนึ่ง  กุศลกรรม  ให้ผลชั่วกำหนดฐานะและอฐานะ  โดยนัยนี้.  พระญาณที่  ๒  กำหนดรู้ผลแห่งกรรมของสัตว์ทั้งหลายผู้ทำกรรม   ทั้งที่เป็นบุญ   ทั้งที่เป็นบาป  ต่างให้ผลสับสนกัน  ไม่หลงสันนิษฐานไปในอฐานะ.  พระญาณที่  ๓กำหนดรู้กรรมอันจะนำไปสู่สุคติทุกคติ  และปฏิบัติอันจะนำให้บรรลุพระนิพพาน.   พระญาณที่  ๔  รู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์อายตนะและธาตุต่าง ๆ.  พระญาณที่ ๕  และที่  ๖  มีกิจละม้ายกัน  แสดงตามนิทเทส  การกำหนดรู้อัธยาศัยดีเลว  เป็นกิจแห่งพระญาณที่  ๕  การกำหนดรู้อัธยาศัยอย่างนั้นด้วย   การกำหนดรู้อินทรีย์  ๕  มีศรัทธา   เป็นต้น  กับทั้งคุณและโทษอย่างอื่นว่าเป็นอย่างไรด้วย  เป็นกิจแห่งพระญาณที่  ๖.  พระญาณที่  ๗  กำหนดรู้ความเศร้าหมอง  ความผ่องแผ้ว  ความออกแห่งฌาน  วิโมกข์  สมาธิ  สมาบัติ ว่าจักมีเพราะอย่างไร กิจแห่งพระญาณอีก ๓  ต่อไปอีก กล่าวไว้แล้วในวิชชา ๓ ในติกะ.

บารมี  ๑๐
      ๑.ทานบารมี  การให้ การเสียสละ
      ๒.สีลบารมี   การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
      ๓.เนกขัมมบารมี   การออกบวช การปลีกตัวออกจากกาม
      ๔.ปัญญาบารมี   ความรอบรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
      ๕.วิริยบารมี   ความเพียร ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค ก้าวหน้าเรื่อยไปไม่ทอดทิ้งธุระ
      ๖.ขันติบารมี ความอดทน สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผลไม่ลุอำนาจกิเลส
      ๗.สัจจบารมี   ความจริง คือ พูดจริงทำจริง และจริงใจ
     ๘.อธิษฐานบารมี   ความตั้งใจมั่น  วางจุดหมายไว้แน่นอน แล้วทำไปตามนั้นอย่างแน่วแน่
     ๙.เมตตาบารมี ความรักใคร่ความปรารถนาดีมีจิตเกื้อกูลต่อสัตว์อื่นอยากให้มีความสุขทุกทั่วหน้า
    ๑๐.อุเบกขาบารมีความวางใจกลาง เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความรักและความชังทุกทั่วหน้า
อธิบาย:  ศัพท์ว่า  มารมี  สันนิษฐานว่าออกจากศัพท์  ปรมแปลว่า  คุณสมบัติหรือปฏิปทาอันยวดยิ่ง  ท่านพรรณนาว่า  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์  ได้ทรงบำเพ็ญมาแต่ครั้งยังเป็นพระโพธิ-สัตว์  เมื่อบารมีเหล่านี้เต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้  บารมีเหล่านี้กระจ่างแล้วโดยมาก  จักแก้เฉพาะบางประการ.  เนกขัมมะ  ได้แก่การออกบวชโดยอธิบายว่าออกจากกาม.   สัจจะ   น่าจะได้แก่การซื่อตรง  หรือการตั้งใจทำจริง  หรือการมุ่งแสวงหาความจริง.  แต่ในชาดกปกรณ์จัดเอาการยกเอาความเป็นจริงอยู่อย่างไร   ขึ้นตั้งอธิษฐานเพื่อสำเร็จผลที่มุ่งหมายเป็นสัจจบารมี.  อธิฏฐาน  ได้แก่การตั้งใจมั่น.  อุเบกขาได้แก่ความไม่ยินดียินร้าย.  บารมีเหล่านี้  ท่านแจกออกเป็น  ๓  หมวดคือ  บารมี  อุปบารมี  ปรมัตถบารมี  สิริเป็นบารมี  ๓๐  ทัศ  บารมี  ๓หมวดนี้ต่างกันอย่างไร   สันนิษฐานยาก   ความเข้าใจของพระคันถ- รจนาจารย์  ก็ไม่แน่ลงเหมือนกัน.  ท่านแก้ทานอย่างหนึ่งว่า  การให้ไม่ได้ระบุพัสดุ  จัดเป็นทานบารมี.  การให้พัสดุภายนอก  จัดเป็นทานอุปบารมี.    การให้อวัยวะและชีวิต  จัดเป็นทานปรมัตถบารมี.    อีก-อย่างหนึ่งว่า    การสละพัสดุภายนอก   จัดเป็นทานบารมี.    การสละอวัยวะ  จัดเป็นทานอุปบามีการสละชีวิต  จัดเป็นทานปรมัตถบารมีอุปบารมี  เป็นศัพท์ที่น่าสันนิษฐานก่อน.   ตามพยัญชนะแปลว่า  บารมีใกล้หรือบารมีรอง  เรียงไว้ในระหว่างกลาง  ลงสันนิษฐานว่า  ปรมัตถ-บารมีเป็นยอด  รองลงมาอุปบารมี  โดยนัยนี้ได้ความว่า  เป็นบารมีที่รองปรมัตถบารมีลงมา  พิเศษกว่าบารมีเฉย ๆ.  แบ่งบารมีอย่างหนึ่งออกเป็น  ๓  จำอาศัยเกณฑ์  ตามเกณฑ์ที่ท่านตั้งมาแล้ว  ชีวิต  ร่างกายและทรัพย์ภายนอก  ส่วนทานแบ่งง่าย   สละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่คนมาก   หรือเพื่อเปลื้องทุกข์คนอื่น จัดเป็นทานปรมัตถบารมี  สละอวัยวะแห่งร่างกาย  เช่นพยายามเพื่อจะทำประโยชน์หรือเปลื้องทุกข์เขา  แต่ต้องเสียอวัยวะของตนในการทำอย่างนั้น  จัดเป็นทานอุปบารมี  สละทรัพย์เพื่อเกื้อกูลหรือเพื่อเปลื้องทุกข์เขา  จัดเป็นทานบารมี.  ศีลที่รักษาเพราะต้องพร่าชีวิตร่างกายและโภคทรัพย์อาจแบ่งเป็น  ๓  ได้เหมือนกัน.ส่วนบารมีอันเหลือยังจะต้องหาเกณฑ์แบ่งอีก  ไม่ใช่ทำง่าย.  แม้ทำได้แล้วยังไม่พ้นฟั่นเฝือ.  ข้าพเจ้าสันนิษฐานเห็นเกณฑ์แบ่งอีกทางหนึ่งบารมีที่พรโพธิสัตว์บำเพ็ญในชาติห่างไกล  ตามที่กล่าวว่า   ครั้งเสวยพระชาติเป็นมนุษย์ก็มี  เป็นดิรัจฉานก็มี  สับสนกัน  จัดเป็นเพียงบารมีที่บำเพ็ญในชาติใกล้เข้ามา  ก่อนหน้าปัจฉิมชาติเพียง  ๑๐  ชาติ  ตาม   ที่กล่าวว่าครั้งเสวยพระชาติเป็นมนุษย์เป็นพื้น  และเป็นมนุษย์วิสามัญมีลักลั่นอยู่ชาติเดียวที่ว่า  เป็นพระยานาค  จัดเป็นอุปบารมี  ที่พระมหา-บุรุษทรงบำเพ็ญในปัจฉิมชาติ  ก่อนหน้าตรัสรู้พระโพธิญาณ  จัดเป็นปรมัตถบารมี.  จักพรรณนาเฉพาะปัจฉินชาติ.  พระองค์น้อมพระชนม์เพื่อประโยชน์แก่คนมาก   ด้วยพระเมตตา  จัดเป็นพระทานบารมีและพระเมตตาบารมี  เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์   จัดเป็นพระเนกขัมม-บารมี   ทรงสำรวมในศีล  สมควรแก่เป็นบรรพชิตจัดเป็นพระศีลบารมีทรงบำเพ็ญเพียรและทรงอดทนต่อความลำบากอยากเข็ญ  จัดเป็นพระวิริยบารมีและพระขันติบารมี  ทรงตั้งพระหฤทัยมั่นในปฏิปทา  ตั้งพระหฤทัยทำจริง ๆ เพื่อแสวงหาความจริง  จัดเป็นพระอธิษฐานบารมีและพระสัจจบารมี  ทรงรักษาพระหฤทัยคงที่  ไม่ให้วิการเพราะยินดียินร้ายจัดเป็นพระอุเบกขาบารมี  พระปรีชาทำพระองค์ให้เป็นผู้ตื่น  รู้เท่าถึงการณ์และอาจเล็งเห็นก้าวหน้าไม่งมงาย  นำพระองค์ให้หลีกจากกิริยาอันมิใช่ทาง  ดำเนินในปฏิปทาอันเป็นทาง  ตลอดถึงได้บรรลุพระอนุตตร-สัมมาสัมโพธิญาณ  จัดเป็นพระปัญญาบารมี.  จัดตามเกณฑ์นี้  สมด้วยเค้าเรื่องที่ท่านจัดไว้เป็น  ๓  กาล  คือทูเรนิทาน  เรื่องห่างไกล ๑อวิทูเรนิทาน  เรื่องไม่ไกลนัก  ๑  สันติเกนิทาน  เรื่องใกล้ชิด  ๑  แต่แบ่งระยะกาลคลาดกันไป.  ทูเรนิทาน  ท่านจัดจำเดิมแต่ตั้งปรารถนาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า  ณ  สำนักพระพุทธทีปังกร  จนถึงจุติจารชาติเป็นพระเวสสันดร  อุบัติขึ้นในดุสิตเทวโลก  อวิทูเรนิทาน  ตั้งแต่จุติจาก ดุสิตพิภพ   จนถึงตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ  ณ  ควรไม้พระมหาโพธิ สันติเกนิทาน  ตั้งแต่ตรัสรู้แล้วจนปรินิพพาน.  ส่วนชาดก  จัดเรื่องต่าง  ๆ เป็นอันมาก   ที่กล่าวความเสวยพระชาติสับสนกัน  เป็นสามัย-นิบาต  อันได้แก่ทูเรนิทาน  จัด  ๑๐  เรื่องที่กล่าวความเสวยพระชาติไม่สับสน  เว้นเรื่องหนึ่ง  เป็นมหานิบาต   อันได้แก่อวิทูเรนิทานโดยนัยนี้   เรื่องในปัจฉิมชาติได้แก่สันติเกนิทาน.  ข้าพเจ้าเกณฑ์ตามนัยจัดเรื่องชาดก.  บารมี  ท่านกล่าวว่า  พระปัจเจกพุทธะและพระอริสาวกได้บำเพ็ญมาเหมือนกัน   อย่างเดียวกันกับของพระพุทธเจ้าหรือต่างกัน  ไม่ได้กล่าวไว้ชัด   น่าจะเป็นอย่างเดียวกัน  แต่ระยะกาลสั้นกว่า
มิจฉัตตะ   ความเป็นผิด  ๑๐
                             ๑.  มิจฉาทิฏฐิ             เห็นผิด.
                             ๒.  มิจฉาสังกัปปะ        ดำริผิด.
                             ๓.  มิจฉาวาจา            วาจาผิด.
                             ๔.  มิจฉากัมมันตะ        การงานผิด.
                             ๕.  มิจฉาอาชีวะ          เลี้ยงชีวิตผิด.
                             ๖.  มิจฉาวายามะ         พยายามผิด.
                             ๗.  มิจฉาสติ               ระลึกผิด.
                             ๘.  มิจฉาสมาธิ            ตั้งจิตผิด.
                             ๙.  มิจฉาญาณะ          รู้ผิด.
                             ๑๐.  มิจฉาวิมุตติ         พ้นผิด. 
ยกข้างปลาย  ๒  ออกเสียเป็นมิจฉัตตะ  ๘.
อธิบาย:   มิจฉาทิฏฐิ  โดยพยัญชนะ  น่าจะได้แก่เห็นผิดจากคลองธรรมทุกประการ   โดยอรรถ  น่าจะได้แก่เห็นผิดที่เป็นอย่างเลวเช่น  อกิริยทิฏฐิ  อเหตุกทิฏฐิ  และนัตถิกทิฏฐิ.  มิจฉาสังกัปปะ  ได้แก่ดำริแส่หากามในทางผิด   ดำริเนื่องด้วยผูกพยาบาท  และดำริในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก.  มิจฉาวาจา  ได้แก่วจีทุจริต  ๔.  มิจฉากัมมันตะได้แก่กายทุจริต  ๓.  มิจฉาอาชีวะ    ได้แก่เลี้ยงชีวิตในทางทุจริตและในทางผิดธรรมเนียม.   มิจฉาวายามะ   ได้แก่พยายามในทางยังบาป-ธรรมให้เกิดขึ้นและให้เจริญ   และในทางยังกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้นและให้เสื่อมสิ้น.  มิจฉาสติ  ได้แก่ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ   โทสะโมหะ.  มิจฉาสมาธิ  ได้แก่ภาวนาสะกดใจในทางหาลาภ  ในทางให้ร้ายผู้อื่น  และในทางนำให้หลง.  มิจฉาญาณะ  อยู่ข้างมัว  น่าจะได้แก่ความรอบรู้เกิดขึ้นในจิตของผู้ถือลัทธิต่าง  และประกอบภาวนาตามลัทธินั้น.  ในข้างพระพุทธศาสนา  เทียบด้วยวิปัสสนาญาณ  อันตกไปในฝ่ายวิปัสสนูปกิเลสเสีย  ไม่ขึ้นถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ  แต่จะจัดเป็นมิจฉาญาณะ  อยู่ข้างแรงเกินไป.  มิจฉาวิมุตติ  เข้าใจยากอยู่เพราะวิมุตติในที่อื่นเป็นดีทั้งนั้น  น่าจะได้แก่วิมุตติที่นิยมในลัทธิอื่นหรือที่ระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว  เรียกว่าตทังควิมุตติ  ด้วยอำนาจกลัวพระเจ้าผู้สร้าง  การระงับกิเลสบาปธรรมนั้นดีอยู่  แต่การ เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้สร้างนอกจากธรรมดาแต่งนั้นผิด. 

สัมมัตตะ  ความเป็นถูก  ๑๐.
                             ๑.สัมมาทิฎฐิ     เห็นชอบ                                                                      
๒.สัมมาสังกัปปะ          ดำริชอบ .
๓.สัมมาวาจา   วาจาชอบ                                                           
๔.สัมมากัมมันตะ          การงานชอบ
๕.สัมมาอาชีวะ            เลี้ยงชีวิตชอบ                                               
๖.สัมมาวายามะ           พยายามชอบ
๗.สัมมาสติ                 ระลึกชอบ                                                                    
๘.สัมมาสมาธิ    ตั้งจิตชอบ
๙.สัมมาญาณะ            รู้ชอบ                                                                        
๑๐.สัมมาวิมุตติ           พ้นชอบ
        พึงรู้โดยปฏิปักขนัยต่อมิจฉัตตะ  มิจฉา  เปลี่ยนเป็น  สัมมาดังนี้  สัมมาทิฏฐิ  ฯลฯ  สัมมาญาณะ  สัมมาวิมุตติ.  ยกข้างปลาย  ๒ออกเสีย  เป็นสัมมัตตะ  ๘.  อเสขธรรม  ๑๐  ก็เรียก.                                                       
        อธิบาย:   องค์  ๘  ข้างต้น  มีอธิบายแจ้งในมรรคมีองค์  ๘  ในธรรมวิภาคปริเฉทที่  ๑  ในนวโกวาท.  สัมมาญาณะ  น่าจะได้แก่มรรคญาณ   จะได้เนื่องกับสัมมาวิมุตติ  แต่มรรคญาณแก้ไว้ในบทสัมมาทิฏฐิแล้ว  ในที่นี้  จึงได้แก่ผลญาณ  และญาณอย่างอื่นอันไม่เนื่องด้วยมรรคญาณ  เช่นปฏิสัมภิทาญาณ.  สัมมาวิมุตตินั้น  ได้แก่สมุจเฉทวิมุตติ และปัสสัทธิวิมุตติ.

                                         สังโยชน์  ๑๐ (๑)
        กิเลสอันผูกใจสัตว์อยู่  เรียกว่าสังโยชน์  จำแนกออกเป็น  ๑๐  คือ
        ๑.  สักกายทิฏฐิ  ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน.
        ๒.  วิจิกิจฉา         ความลังเลเป็นเหตุไม่แน่ใจ  ในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน.
        ๓.  สีลัพพตปรามาส        ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์  ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้.
        ๔.  กามราคะ      ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม  เรียก แต่เพียงราคะก็มี.
        ๕.  ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต  ได้แก่ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะเรียกโทสะตรงทีเดียวก็มี๕  นี้   เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ คืออย่างหยาบ   เรียกโอรัมภาคิยะ.
        ๖.  รูปราคะ       ความติดใจอยู่ในรูปธรรม  เช่น ชอบใจ ในบุคคลบางคน หรือในพัสดุบางสิ่งหรือ แม้ในวัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน.
        ๗.  อรูปราคะ      ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม  เช่นพอใจในสุขเทวนา.
        ๘.  มานะ          ความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่.
        ๙.  อุทธัจจะ       ความคิดพล่าน  เช่นนึกอะไรก็เพลินเกินไปกว่าเหตุ.
        ๑๐.  อวิชชา      ความเขลาอันเป็นเหตุไม่รู้จริง.
              อีก  ๕  นี้  เป็นสังโยชน์เบื้องสูง  คืออย่างละเอียด  เรียกอุทธัม-ภาคิยะ.                                                               
อธิบาย:   กามราคะและปฏิฆะ   ในบาลีเรียกว่ากามฉันทะและพยาบาทดุจในนิวรณ์.   กามฉันทะเป็นสังโยชน์อย่างอ่อน  อันอนาคามิ-มรรคพึงตัดก็พอสม       ส่วนพยาบาท     เป็นสังโยชน์แรงกล้า     เป็นอปายคามี   หากว่าอันอนาคามิมรรค   จะพึงตัดขาดแล้วไซร้  แปลว่า   พระโสดาบัน  ยังมีพยาบาท  เช่นนี้  พระโสดาบันยังจักไปสู่อบายดูอย่างไรอยู่  ไม่อย่างนั้น  ศัพท์ว่าพยาบาท  หมายเอาตั้งแต่พยาบาทแท้จริง  ตลอดลงมาถึงโทสะและโกรธ  เรียกอย่างนั้น  จะนำความเข้าใจเขวไป   พระอาจารย์ในชั้นหลัง  ชะรอยจะเห็นอย่างนี้เหมือนกันจึงยักเรียกเสียว่า  กามราคะและปฏิฆะ   ตามสังโยชน์อีกบรรยายหนึ่งต่อนี้ไปข้าพเจ้าเรียกตามท่าน.

สังโยชน์  ๑๐ (๒)
                                       กามราคะ 
ปฏิฆะ 
มานะ 
ทิฏฐิ 
วิจิกิจฉา 
สีลัพพตปรามาส
ภวราคะ 
อิสสา 
มัจฉริยะ 
อวิชชา.
        โดยเค้าเงื่อน  สังโยชน์  ๗  กับเติมเข้าอีก  ๓  คือสีลัพพปรามาสอิสสา  มัจฉริยะ   แต่เรียกลำดับใหม่.  สังโยชน์  ๑๐  อย่างแรกเรียงลำดับตามอริยมรรคอันจะตัด   ส่วนอย่างนี้   เอาอะไรเป็นเกณฑ์จัดลำดับ  ยังสันนิษฐานไม่ออก.

สัญญา  ๑๐
                   ๑.  อนิจจสัญญา          กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร.
                    ๒.  อนัตตสัญญา          กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรม.
                   ๓.  อสุภสัญญา            กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย.
                   ๔.  อาทีนวสัญญา         กำหนดหมายโทษแห่งกาย  คือมีอาพาธ ต่าง ๆ.
                   ๕.  ปหานสัญญา          กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและ บาปธรรม.
                   ๖.  วิราคสัญญา           กำหนดหมายวิราคะคืออริยมรรค   ว่าเป็น ธรรมอันละเอียด.
                   ๗.  นิโรธสัญญา           กำหนดหมายนิโรธความดับตัณหาคืออริยผล ว่าเป็นธรรมอันละเอียด
        ๘.  สัพพโลเก  อนภิรตสัญญา       กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง.
        ๙.  สัพพสังขาเรสุ  อนิฏฐสัญญา    กำหนดหมายความไม่น่า ปรารถนาในสังขารทั้งปวง.
        ๑๐.  อานาปานัสสติ              สติกำหนดลมหายใจเข้าออก.
        อธิบาย:   อย่างนี้มาในคิริมานันทสูตร  มีเรื่องเล่าว่า  พระคิริ-มานนท์อาพาธ  พระศาสดาทรงแสดงสัญญา  ๑๐  นี้แก่พระอานนท์และตรัสสั่งให้ท่านไปแสดงแก่พระคิริมานนท์ ๆ  ได้ฟังแล้ว  หายจากอาพาธอนิฏฐสัญญาในบาลีเป็นอนิจจสัญญา   ส่วนในนิเทสว่าเบื่อหน่ายระอาและเกลียดชังในสังขาร.  สัญญา  ๑๐  ในทสูตตรสูตร  และในสูตรอื่นอีก   เพี้ยนไปจากนี้ก็มี.  มรณสัญญา  กำหนดหมายมรณะ.อาหาเร   ปฏิกูลสัญญา  กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหารอนิจเจทุกขสัญญา   กำหนดหมายทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง  มาในสูตรนั้น  แทน  อาทีนวสัญญา  สัพพสังขาเรสุ   อนิฏฐสัญญา  อานาปานัสสติ  ในที่นี้ทั้งเรียงลำดับสับสนกันด้วย.

สัทธรรม  ๑๐
โลกุตตรธรรม ๙ 
มรรค ๔
ผล ๔
นิพพาน ๑
ปริยัติธรรม ๑
                                                 สุตตะ
เคยยะ
เวยยากรณะ
คาถา
อุทาน
อิติวุตตกะ
ชาตกะ
อัพภูตธรรม
เวทัลละ

เอกาทสกะ   หมวด  ๑๑
ปัจจยาการ  ๑๑  ปฏิจจสมุปบาท
                             ๑.  เพราะอวิชชา          เป็นปัจจัย       มีสังขาร
                             ๒.  เพราะสังขาร          เป็นปัจจัย        มีวิญญาณ
                             ๓.  เพราะวิญญาณ        เป็นปัจจัย        มีนามรูป
                             ๔.  เพราะนามรูป         เป็นปัจจัย        มีสฬายตนะ
                             ๕.  เพราะสฬายตนะ      เป็นปัจจัย        มีผัสสะ
                             ๖.  เพราะผัสสะ           เป็นปัจจัย        มีเวทนา
                             ๗.  เพราะเวทนา เป็นปัจจัย        มีตัณหา
                             ๘.  เพราะตัณหา          เป็นปัจจัย        มีอุปาทาน
                             ๙.  เพราะอุปาทาน        เป็นปัจจัย        มีภพ
                             ๑๐.  เพราะภพ            เป็นปัจจัย        มีชาติ
                             ๑๑.  เพราะชาติ           เป็นปัจจัย  มีชรามรณโสกปริเทวทุกข์โทมนัสอุปายาส
        เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลเกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้.                                                                      
        อธิบาย:    อวิชชา  ท่านแก้ว่า  ได้แก่อวิชชา  ๘.  โดยนัยนี้เป็นอันยอมรับเงื่อนต้นของอวิชชาไม่ปรากฏ.  ถ้าแปลอวิชชาเป็นกรรม-สาธนะว่า  ธรรมชาติที่ยังไม่รู้ได้   จักได้ความชัดออกไป.  สังขารท่านแก้ว่า  ได้แก่อภิสังขาร  ๓  เป็นอันอนุวัตน์ตามเค้านั้น.  ถ้าไม่ยันตรง ลงไป   หมายความกว้าง ๆ  ว่า  สภาพผู้แต่งผู้ปรุงขึ้น  จักเข้าใจง่ายขึ้น.วิญญาณท่านแก้พร่าไปถึงวิญญาณ  ๖  ถ้าจำกัดลงเพียงปฏิสนธิวิญญาณ  ความจักแจ่ม.   นามรูป  เข้าใจแยกตามแจกไว้  ชักให้ฉงน  เข้าใจรวมกัน  อุปาทินนกสังขาร  หรือโดยสมมติว่า  อัตภาพได้ความกระจ่าง,สฬายตนะ  ได้แก่อายตนะภายใน  ๖.  ผัสสะ  เวทนา  ตัณหา  อุปาทานแก้ไว้ในหนหลังแล้ว.  ภพ  ท่านแก้เป็น  ๒  อย่าง  ภพได้แก่กรรม  ๑ภพได้แก่อุปบัติคือเกิด  ๑  แต่อย่างหลังซ้ำกับชาติ  นำความเข้าใจว่าปฏิสนธิ.  ตั้งแต่ชาติไป  ความชัดแล้ว.  สาวออกไปหาผลข้างหน้าอย่างนี้  เรียกอนุโลม.  อาการคือองค์   อันเป็นปัจจัยกล่าวไว้เพียง๑๑  ท่านนับทั้งชรามรณะ  อันเป็นผลขาดตอนเข้าด้วย  จึงกล่าวว่าปัจจยาการ  ๑๒.
                                       อีกนัยหนึ่ง
                             ๑.  ชรามรณะเป็นต้นมีเพราะชาติ.
                             ๒.  ชาติมีเพราะภพ.
                             ๓.  ภพมีเพราะอุปาทาน.
                             ๔.  อุปทานมีเพราะตัณหา.
                             ๕.  ตัณหามีเพราะเวทนา.
                             ๖.  เวทนามีเพราะผัสสะ.
                             ๗.  ผัสสะมีเพราะสฬายตนะ.
                             ๘.  สฬายตนะมีเพราะนามรูป.
                             ๙.  นามรูปมีเพราะวิญญาณ.
                             ๑๐.  วิญญาณมีเพราะสังขาร.  
                             ๑๑.  สังขารมีเพราะอวิชชา.
        สาวทวนเข้าไปหาเหตุข้างหลังอย่างนี้   เรียกปฏิโลม.  อาการอันเป็นผลก็ได้  ๑๑   เหมือนกัน  นับอวิชชาอันเป็นมูลเหตุเข้าด้วย  จึงเป็น  ๑๒.
        อวิชชาเทียบกันได้กับตัณหาและอุปาทาน  โดยฐานเป็นปัจจัยแห่งกรรมด้วยกัน.  สังขารเทียบกันได้กับกรรมภพ  โดยฐานเป็นหรรมด้วยกัน.  วิญญาณเทียบกันได้กับอุปปัตติภพ  โดยฐานเป็นปฏิสนธิด้วยกัน.   แต่ถ้าภพหมายเอาอุปปัตติภพอย่างเดียว  จักไม่ต้องแยกเทียบอย่างนี้  สังขารเป็นอันเข้ากับหมวดอวิชชา.  นามรูป   สฬายตนะผัสสะ  เวทนา  เทียบกันได้กับชาติ  โดยฐานเป็นชาติด้วยกัน.  จึงได้อดีตเหตุ  หมวด  ๑  ปัจจุบันผล  หมวด  ๑  ปัจจุบันเหตุ  หมวด  ๑อนาคตผล  หมวด  ๑อวิชชาและสังขารเป็นอดีตเหตุ  วิญญาณนามรูป   สฬายตนะ  ผัสสะ  เวทนา  เป็นปัจจุบันผลตัณหาและอุปาทานเป็นปัจจุบันเหตุชาติและชรามรณะกับปกิรณกทุกข์อื่น  อันเนื่องด้วยชาติเป็นอนาคตผล.  ๔  หมวดนี้จัดเป็นสังเขป  หรือสังคหะละอย่าง ๆ.ย่นเข้าโดยกาลเป็น  ๓  อดีตอัทธา  กาลหนหลัง  ๑   ปัจจุปปันนอัทธากาลยังเป็นอยู่  ๑  อนาคตอัทธา   กาลข้างหน้า  ๑.  มีเงื่อนเรียกว่าสนธิ  ๓.  เงื่อนในระหว่างอดีตเหตุ   และปัจจุบันผลเป็นสนธิ  ๑  เรียกเหตุผลสนธิ  ต่อเหตุเข้ากับผล.  เงื่อนในระหว่างปัจจุบันผล  และปัจจุบันเหตุเป็นสนธิ  ๑  เรียกผลเหตุสนธิ  ต่อผลเข้ากับเหตุ.  เงื่อน ในระหว่างปัจจุบันเหตุกับอนาคตผล   จัดเป็นสนธิ  ๑  เรียกเหตุผลสนธิ ต่อเหตุเข้ากับผล.  และเหตุแยกประเภทออกไปเป็น  ๒ส่วนกิเลส  ๑ส่วนกรร  ๑อวิชชา  ตัณหา  อุปาทาน  เป็นส่วนกิเลส  สังขารและกรรมภพ  เป็นส่วนกรรม.  จึงย่นเข้าอีกนัยหนึ่ง  เป็นไตรวัฏฏ์  คือวน  ๓  กิเลสวัฏฏ์  ๑  กัมมวัฏฏ์  ๑  วิปากวัฏฏ์  คือส่วนที่เป็นผล  ๑.
        เหตุไฉน   ท่านจึงเรียงหมวดเหตุและหมวดผลใน  ๓  กาล  หรือในสังเขป  ๔  ต่างชื่อกันไป  เช่นเรียงอดีตเหตุ  เป็นอวิชชาและสังขารเรียงปัจจุบันเหตุ  เป็นตัณหาอุปาทานและกรรมภพ  เรียงปัจจุบันผลเป็นวิญญาณ  นามรูป  สฬายตนะ  ผัสสะ  เวทนา  เรียงอนาคตผลเป็นชาติและชรามรณะกับปกิรณกทุกข์   เป็นข้ออันจะพึงสันนิษฐานไม่เข้าใจอธิบายของท่าน  ย่อมฉงนและเข้าใจยาก.  ในเบื้องต้น  ถ้าเทียบกับเข้าดังกล่าวแล้ว  ทำความเข้าใจเป็นอันเดียวกันเสีย  โดยฐานเป็นเหตุเป็นผลเหมือนกัน  จักได้ความกระจ่างออก.  วิบากในอนาคตจักมี  ก็เพราะกิเลสและกรรมในปัจจุบันเป็นเหตุ  กิเลสและกรรมในปัจจุบันมีอยู่ก็เพราะวิบากในปัจจุบัน  กล่าวคือต้องอิงอุปาทินนก-สังขาร  วิบากในปัจจุบันมีขึ้น  ก็เพราะกิเลสและกรรมในอดีตเป็นเหตุสาวทวนเข้าไปก็วนอยู่อย่างนี้  เป็นแต่ท่านยอมรับว่าสาวทวนเข้าไปไม่ถึงเงื่อนต้น  มีคำบาลีรับสมว่า  อวิชฺชาย   ภิกฺขเว   ปุทฺพาโกฏิ  นปญฺายติ  จึงกล่าวตั้งต้นแต่อวิชชา   ดังจะแสดงว่า  วิบากคือชาติต้นนั้นมีขึ้น  เพราะปัจจัยอะไรที่ยังไม่รู้.   แต่มีสังขารอยู่ในลำดับแห่งอวิชชาน่าจะเข้าใจว่าสังขารนั้น   หมายเอาสภาพอันแต่งวิบากคือชาติต้นนั้น ที่ลักทธิถือว่ามีผู้สร้าง  อ้างว่าพระเจ้า  เขาจัดเอาเป็นต้น  ไม่สาวเข้าไป อีก  ฝ่ายพุทธศาสนาสาวเข้าไปอีกต่อหนึ่งถึงอวิชชา  คือปัจจัยอะไรที่ยังไม่รู้   หากจะสาวทวนเข้าไปอีก  อวิชชามาจากไหน  ก็ต้องตอบว่า  มาจากอวิชชาในลำดับเข้าไป  สาวทวนเข้าไปเท่าไรก็ลงอวิชชานั้นเอง  จึงตั้งอวิชชาเป็นต้น.  ในหมวดปัจจุบันเหตุ  จักกล่าวถึงอวิชชาและสังขารมิได้  ท่านจึงเรียงตัณหา  อุปาทาน  และกรรม-ภพเข้าไว้แทน  เพื่อแสดงเหตุในระหว่าง ๆ.   ท่านแสดงปัจจุบันผล  คือวิญญาณ  นามรูป  สฬายตนะ  ผัสสะ  เวทนา  เพื่อให้รู้จักความโยงกันแห่งสภาวธรรม  อันเป็นลักษณะแห่งปฏิจจสมุปบาท  ส่วนในหมวดอนาคตผล   ท่านยังแสดงอุปปัตติภพและชาติไว้แทนนั้น  เพราะจะตัดตอนลง  จึงกล่าวถึงชรามรณะเป็นเงื่อนปลาย  คู่กับอวิชชาเป็นเงื่อนต้น  เป็นทางจะชวนให้ปรารภเป็นอารมณ์สาวทวนเข้าไปหาเหตุ  จำเป็นอยู่เองที่ต้องกล่าวโดยสมมติไปตามกัน   จึงได้เรียงอุปปัตติภพและชาติไว้แทน.
        แต่เมื่อทำยอมลงไปแล้วว่าสาวทวนเข้าไปไม่ถึงเงื่อนต้น  จึงนำความเข้าใจอวิชชาเพียงชั้นโมหะ  เข้าในสังขารเพียงชั้นกรรม  เพราะอย่างนี้  ท่านจึงแนะให้เข้าใจว่า  เมื่อกล่าวถืออดีตเหตุ คืออวิชชากับตัณหา   พึงเข้าใจตลอดถึงตัณหาอุปาทานและกรรมภพด้วย  เพราะสัตว์อันอวิชชาครอบงำ   จำต้องมีตัณหาและอุปาทาน  ทำอะไรเป็นกรรม  เมื่อกล่าวถึงปัจจุบันเหตุ  คือตัณหา  อุปาทาน  กรรมภพ  พึงเข้าใจตลอดถึงอวิชชาและสังขารด้วย  เพราะสัตว์ยังมีตัณหาอุปาทาน ทำกรรม  ก็เพราะอวิชชาครอบงำและสังขารแต่ง  เมื่อกล่าวถึงวิญญาณ  นามรูป  สฬายตนะ  ผัสสะ  พึงเข้าใจย่นถือเอาโดยสมมติว่าอุปปัตติภพชาติและชรามรณะ  เพราะเกิดแล้วดับไป  เมื่อกล่าวถึงอุปปัตติภพชาติและชรามรณะ   พึงเข้าใจขยายออกเป็นสภาวธรรมโดยปรมัตถ์เพราะเกิดตายเป็นอาการเดียวกับเกิดดับ  เช่นนี้จึงได้อาการครบ  ๕ทุกหมวด  เป็นอาการ  ๒๐  ถ้วน.

        นี้เป็นภาคอันหนึ่ง  เรียกสมุทยวาร.  อีกภาคหนึ่งแสดงความดับแห่งผล  เพราะดับแห่งเหตุ  เรียกนิโรธวาร  แสดงพอเป็นนิทัสสนะดังนี้ :-        เพราะอวิชชาดับ  สังขารดับ  ฯลฯ  เพราะชาติดับ  ชรา  มรณะโสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาส   ดับ  เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลดับ  ด้วยประการอย่างนี้  นี้เป็นอนุโลม.  ชรา  มรณะ  ฯลฯดับ  เพราะชาติดับ  ฯลฯ  สังขารดับ  เพราะอวิชชาดับ  นี้เป็นปฏิโลมรวม ๒ ภาคนี้เป็นปฏิจจสมุปบาท  แปลว่า  สภาพอันอาศัยกันเกิดขึ้น.ชื่อนี้ดูเหมือนเพ่งเพียงอุทยวารเท่านั้น  เมื่อใช้เรียกครอบมาถึงนิโรธ-วารด้วย  จัดว่าเป็นชื่อเรียกโดยเอกเสสนัย.  ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นความรู้อย่างลึก  และให้รู้จักกำหนดสภาพ  อันเป็นทั้งผลทั้งเหตุเนื่องเป็นสายกันไปวนกันไป  เหมือนลูกโซ่อันเกี่ยวคล้องกันเป็นสายผูกวงเครื่องจักรฉะนั้น.
ปัณณรสกะ  หมวด  ๑๕
จรณะ  ๑๕
                                                หมวดที่  ๑
                             ๑.  สีลสัมปทา                       ถึงพร้อมด้วยศีล.
                             ๒.  อินทริยสังวร                   สำรวมอินทรีย์.
                             ๓.  โภชนมัตตัญญุตา               รู้ความพอดีในการกินอาหาร.
                             ๔.  ชาคริยานุโยค         ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่.
หมวดที่  ๒  [สัทธรรม  ๗]
                             ๕.  สัทธา                            ความเชื่อ.
                             ๖.  หิริ                               ความละอายแก่ใจ.
                              ๗.  โอตตัปปะ                      ความเกรงกลัวผิด.
                             ๘.  พาหุสัจจะ             ความเป็นผู้ได้ฟังมาก.  คือได้รับศึกษา
                             ๙.  วิริยะ                            ความเพียร.
                             ๑๐.  สติ                    ความระลึกได้.
                             ๑๑.  ปัญญา                         ความรอบรู้.
หมวดที่  ๓  [รูปฌาน  ๔]
                             ๑๒.  ปฐมฌาน                      ฌานที่หนึ่ง.
                             ๑๓.  ทุติยฌาน                      ฌานที่สอง.
                             ๑๔.  ตติยฌาน                      ฌานที่สาม.
                             ๑๕.  จตุตถฌาน                     ฌานที่สี่.                                                      
อธิบาย:   สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้ในธรรมภาษิตว่า   จรณะนั้น  ได้แก่ปฏิปทาคือทางเป็น  เครื่องบรรลุวิชชา  เป็นศัพท์แปลก  เทียบด้วยศัพท์จรณะที่แปลว่าอวัยวะเป็นเครื่องเดิน  ได้แก่เท้า  ไม่ใช่เรียกปฏิปทาทั่วไป.  มรรคมีองค์  ๘  เป็นจรณะแห่งความรู้อริยสัจ  ๔  ฌาน  ๔  เป็นจรณะโดยลำดับแห่งวิชชา  ๓  วิชชาเบื้องต้น  เป็นจรณะแห่งวิชชาเบื้องปลายในเสขปฏิปทาสูตรแสดงจรณะเป็นสาธารณะ   โดยชื่อว่าเสขปฏิปทาคือทางดำเนินแห่งพระเสขะ.
        ในเสขปฏิปทาสูตร  แสดงไว้โดยบุคคลาธิษฐาน  ถือเอาความในนิทเทสแห่งสูตร  โดยธรรมาธิษฐาน  ดังนี้
หมวดที่  ๑
        ๑.  สีลสัมปทา  ได้แก่การสำรวมในปาฏิโมกข์  ประกอบด้วยอาจาระและโคจร  เห็นภัยในความผิดแม้น้อย  สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
        ๒.  อินทริยสังวร  ได้แก่การสำรวมอินทรีย์  ๖  คือ  ตาหู,จมูก,   ลิ้นกายใจ  ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำ  ในเมื่อตาเห็นรูปเป็นต้น.
        ๓.  โภชนมัตตัญญุตา  ได้แก่ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอสมควร  ไม่มากไม่น้อย   พิจารณาแล้วจึงกินอาหารและเพ่งประโยชน์อันจักเกิดแต่อาหารนั้น  ไม่บริโภคโดยสะเพร่าและโดยอำนาจความมักกินเป็นต้น.
        ๔.  ชาคริยานุโรค  ได้แก่การประกอบความเพียร  ไม่เห็นแก่  หลับนอนเกินไป  หรือไม่ยอมให้ความง่วงเหงาซบเซาเข้าครอบงำท่านแสดงไว้ว่า  กลางวันชำระจิตจากนีวรณ์ด้วยเดินบ้าง  นั่งบ้างตลอดวัน.  กลางคืน  แบ่งเป็น  ๓  ยาม  ยามต้น  ชำระจิตอย่างนั้น,ยามกลาง  พักผ่อน  นอนตะแคงข้างขวา  ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน  มีสติสัมปชัญญะมนสิกาสัญญาว่าจะลุกขึ้นยามที่สุด  ลุกขึ้นทำความเพียรอย่างยามต้น.
        ในบาลีไม่ได้กำหนดไว้ว่า  ยามละกี่โมง  แต่ในอรรถกถามโนรถปูรณีแสดงว่า  คืนและวัน   แบ่งเป็น  ๖  ส่วน.  ตื่นทำความเพียร๕  ส่วน  นอนหลับ  ๑  ส่วน  คือตื่น  ๒๐  ชั่วโมง  หลับ  ๔  ชั่วโมง.
        พิจารณาดูว่า  เวลาที่หลับน้อยนัก  ไม่น่าจะพอ  แต่ท่านผู้ทำความสงบเช่นนั้น  ไม่ได้ทำกิจการหยาบ  หลับเท่านั้นจะพอกระมัง ?ขอนักปฏิบัติธรรมจงพิจารณาดูเถิด.
หมวดที่  ๒  [สัทธรรม]
        ๕.  สัทธา  ได้แก่ความเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคต  ตามนัยแห่งบทพุทธคุณ  น่าจะหมายความว่าเชื่อเหตุผล  ส่วนในอรรถกถาแจกสัทธาเป็น ๒  คือ กัมมสัทธา  เชื่อกรรม  ๑  วิปากสัทธา  เชื่อผลแห่งกรรม  ๑  ยังไม่พบว่า  แบ่งสัทธาเป็น  ๓  หรือ  ๔  ไว้ในคัมภีร์ไหนน่าจะเก็บรวบรวมขึ้นโดยนัยบาลีและอรรถกถานั้น ๆ.
        ๖.  หิริ  ได้แก่ความละอายต่อกายทุจริต  วจีทุจริต  มโนทุจริต. ในอรรถกถาเปรียบด้วยหญิงสาวผู้มีสกุลไม่อาจแตะต้องของโสโครก  น่า จะถือเอาความว่า  สยะแสยงต่อเหตุ  คือบาปทุจริต.
        ๗.  โอตตัปปะ  ได้แก่ความเหรงกลัวความผิดและความชั่วโดยนัยแห่งหิริ.  ในอรรถกถาเปรียบด้วยคนขลาด  ไม่กล้าเข้าใกล้อสรพิษน่าจะถือเอาความว่า  กลัวผลแห่งบาปทุจริต.
        ๘.  พาหุสัจจะ  ได้แก่ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก  คือได้ฟังธรรมซึ่งไพเราะในเบื้องต้น  ไพเราะในท่ามกลาง  ไพเราะในที่สุด  ประกอบด้วยอรรถ  ประกอบด้วยพยัญชนะ  ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
        พหุสุตมีองค์ ๕  คือ
        [๑]  พหุสฺสุตา  ได้ยินได้ฟังมาก.
        [๒]  ธตา  ทรงจำได้.
        [๓]  วจสา  ปริจิตา  ท่องไว้ด้วยวาจา.
        [๔] มนสานุเปกฺขิตา  เอาใจจดจ่อ.
        [๕]  ทิฏฺิยา  สุปฏิวิทฺธา  ขบด้วยทิฏฐิ.
        ๙.วิริยะ ได้แก่เพียรละอกุศลธรรมและยังกุศลธรรมให้เกิดใช้กำลังบากบั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
        ๑๐.สติ  ได้แก่สติรักษาตัว  และระลึกถึงกิจที่ทำและคำพูดแล้วแม้นานได้.
        ๑๑.ปัญญา ได้แก่อริยปัญญาที่รู้ความเกิดความดับแห่งสังขารสามารถชำแรกกิเลสทำให้สิ้นทุกข์ได้
หมวดที่  ๓  [รูปฌาน]
        ฌาน   ๔  นี้   มีอธิบายแล้วในหมวด  ๔  ผู้ปรารถนาพึงดูในหมวดนั้น.              





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น