วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปนักธรรมโท (ฉบับเตรียมสอบ)

ดาวน์โหลดเอกสารที่ สรุปนักธรรมโทเตรียมสอบ


จัดทำโดยพระธีรวัฒน์ จนฺทโสภโณ
ธรรมวิภาค (น.ธ.โท)

หมวด ๒
อริยบุคคล ๒                                        
พระเสขะ     พระผู้ยังต้องศึกษา
พระอเสขะ    พระผู้ไม่ต้องศึกษา                                                          
กัมมัฏฐาน ๒       
สมถกัฏมัฏฐาน         กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ
วิปัสสนากัมมัฏฐาน    กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา
กาม ๒                                                                                                                  
กิเลสกาม     กิเลสเป็นเหตุใคร่
วัตถุกาม    พัสดุอันน่าใคร่    
ทิฏฐิ ๒  
สัสสตทิฏฐิ    ความเห็นว่าเที่ยง
อุจเฉททิฏฐิ   ความเห็นว่าขาดศูนย์
เทสนา ๒
ปุคคลาธิฏฐานา    มีบุคคลเป็นที่ตั้ง
ธัมมาธิฏฐานา      มีธรรมเป็นที่ตั้ง
ธรรม ๒ (๑)
รูปธรรม          สภาวะเป็นรูป
อรูปธรรม        สภาวะมิใช่รูป
ธรรม ๒ (๒)
โลกิยธรรม   ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก 
โลกุตตรธรรม   ธรรมอันพ้นวิสัยของโลก
ธรรม ๒ (๓)       
สังขตธรรม   ธรรมอันปัจจัยปรุง
อสังขตธรรม   ธรรมอันปัจจัยไม่ได้ปรุง
นิพพาน ๒         
สอุปาทิเสสนิพพาน   ดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ
อนุปาทิเสสนิพพาน   ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ
บูชา ๒
อามิสบูชา   บูชาด้วยอามิส (คือสิ่งของ)
ปฏิปัตติบูชา   บูชาด้วยปฏิบัติตาม
ปฏิสันถาร ๒
อามิสปฏิสันถาร   ปฏิสันถารด้วยอามิส (คือสิ่งของ)
ธัมมปฏิสันถาร   ปฏิสันถารโดยธรรม
ปริเยสนา ๒
อริยปริเยสนา   แสวงหาอย่างประเสริฐ
อนริยปริเยสนา   แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ
ปาพจน์ ๒
ธรรม
วินัย                                                                                                                    
รูป ๒
มหาภูตรูป        รูปใหญ่
อุปาทายรูป      รูปอาศัย
วิมุตติ ๒
เจโตวิมุตติ   ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ
ปัญญาวิมุตติ   ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา
สังขาร ๒
อุปาทินนกสังขาร   สังขารมีใจครอง
อนุปาทินนกสังขาร   สังขารไม่มีใจครอง
สมาธิ ๒
อุปจารสมาธิ   สมาธิเป็นแต่เฉียดๆ
อัปปนาสมาธิ   สมาธิอันแน่แน่ว
สุข ๒ (๑)
กายิกสุข   สุขทางกาย
เจตสิกสุข   สุขทางใจ
สุข ๒ (๒)
สามิสสุข   สุขของอามิส (คือกามสุข)
นิรามิสสุข   สุขไม่อิงอามิส (คืออิงเนกขัมมะ)
สุทธิ ๒
ปริยายสุทธิ   หมดจดโดยเอกเทส
นิปปริยายสุทธิ   หมดจดโดยสิ้นเชิง

หมวด ๓
อกุศลวิตก๓
 กามวิตก   ความตริในทางกาม
 พยาบาทวิตก   ความตริในทางพยาบาท
 วิหิงสาวิตก   ความตริในทางเบียดเบียน
กุศลวิตก ๓
เนกขัมมวิตก   ความติในทาลพรากจากกาม
อพยาบาทวิตก  ความติในทางไม่พยาบาท
อวิหิงสาวิตก   ความติในทางไม่เบียดเบียน
อัคคิ  ไฟ ๓
ราคัคคิ   ไฟคือราคะ                                                                    
โทสัคคิ   ไฟคือโทสะ
โมหัคคิ   ไฟคือโมหะ
อัตถะหรือประโยชน์ ๓
ทิฎฐธัมมิกัตถะ   ประโยชน์ในภพนี้                                           
สัมปรายิกัตถะ   ประโยชน์ในภพหน้า
ปรมัตถะ   ประโยชน์อย่างยอ คือพระนิพพาน
อธิปัตเตยยะ ๓
อัตตาธิปเตยยะ   ความมีตนเป็นใหญ่                                      
โลกาธิปเตยยะ   ความมีโลกเป็นใหญ่
ธัมมาธิปเตยยะ   ความมีธัมเป็นใหญ่
อนุตตริยะ ๓
ทัสสนานุตตริยะ   ความเห็นอันเยี่ยม                                                             
ปฎิปทานุตตริยะ   ความปฎิบัติอันเยี่ยม
วิมุตตานุตตริยะ   ความพ้นอันเยี่ยม
อภิสังขาร ๓
ปุญญาภิสังขาร   อภิสังขารคือบุญ                                                                  
 อปุญญาภิสังขาร   อภิสังขารคือบาป
อเนญชาภิสังขาร   อภิสังขารคืออเนญชา
อาสวะ ๓
กามาสวะ   อาสวะเป็นเหตุอยากได้                                                               
ภวาสวะ   อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น
อวิชชาสวะ   อาสวะคืออวิชชาความเขลา
กรรม ๓
กายกรรม   กรรมทำด้วยกาย                                                                             
วจีกรรม   กรรมทำด้วยวาจา
มโนกรรม   กรรมทำด้วยใจ
ทวาร ๓
กายทวาร   ทวารคือกาย                                                                     
วจีทวาร   ทวารคือวาจา
มโมทวาร   ทวารคือใจ
ญาณ ๓
อตีตังสญาณ   ญาณในส่วนอดีต                                             
อนาคตังสญาณ   ญาณในส่วนอนาคต
ปัจจุปปันนังสญาณ   ญาณในปัจจุบัน
ญาณ ๓ (๒)
สัจจญาณ   ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ                                                  
กิจจญาณ   ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
กตญาณ   ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว
ตัณหา ๓
กามตัณหา   ตัณหาในกาม                                                        
ภวตคัณหา   ตัณหาในภพ
วิภวตัณหา   ตัณหาในปราศจากภพ
ทิฏฐิ ๓
อกิริยทิฏฐิ   ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ                                    
อเหตุกทิฏฐิ   ความเห็นว่าหาเหตุมิได้
นัตถิกทิฏฐิ   ความเห็นว่าไม่มี

เทพ ๓
สมมติเทพ   เทวดาโดยสมมติ                                                     
อุปปัตติเทพ   เทวดาโดยกำเนิด
วิสุทธิเทพ   เทวดาโดยความบริสุทธิ์
ธรรมนิยาม๓
สังขารทั้งปวง   ไม่เที่ยง                                                                     
สังขารทั้งปวง   เป็นทุกข์
ธรารมทั้งปวง   เป็นอนัตตา
นิมิตต์ ๓
ปริกัมมนิมิตต์   นิมิตในบริกรรม                                              
อุคคหนิมิตต์   นิมิตติดตา
ปฏิภาคนิมิตต์   นิมิตเทียบเคียง
ภาวนา ๓
ปริกัมมภาวนา   ภาวนาในบริกรรม                                        
อุปจารภาวนา   ภาวนาเป็นอุปจาร
อัปปนาภาวนา   ภาวนาเป็นอัปปนา
ปริญญา๓
ญาตปริญญา   กำหนดรู้ด้วยการรู้                                            
ตีรณปริญญา   กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
ปหานปริญญา   กำหนดรู้ด้วยการละเสีย
ปหาน ๓
ตทังคปหาน   การละชั่วคราว                                                   
วิกขัมภนปหาน   การละด้วยการสะกดไว้
สมุจเฉทปหาน   การละด้วยตัดขาด
ปาฏิหาริยะ ๓
อิทธิปสฏิหาริยะ   ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์                                       
อาเทสนาปาฏิหาริยะ   ดักใจเป็นอัศจรรย์
อนุสาสนีปาฏิหาริยะ   คำสอนเป็นอัศจรรย์
ปิฎก ๓
พระวินัยปิฎก   หมวดพระวินัย                                                
พระสุตตันตปิฎก   หมวดพระสุตันตะ
พระอภิธรรมปิฎก   หมวดพระอภิธรรม
พุทธจริยา ๓
 โลกัตถจริยา   ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก             
 ญาตัตถจริยา   ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระญาติหรือโดยเป็นพระญาติ
 พุทธัตถจริยา ทรงประพฤติประโยชน์ โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า
ภพ ๓
กามภพ   ได้แก่ภพเป็นกามาวจร                                              
รูปภพ   ได้แก่ภพรูปาวจร
อรูปภพ   ได้แก่ภพเป็นอรูปาวจร

โลก ๓ (๑)
สังขารโลก   โลกคือสังขาร                                                       
สัตวโลก   โลกคือหมู่สัตว์
โอกาสโลก   โลกคือแผ่นดิน
โลก ๓ (๒)
มนุษยโลก   ได้แก่โลกที่เราอาศัยอยู่นี้                                    
เทวโลก   ได้แก่สวรรค์กามาพจร ๖ ชั้น
พรหมโลก   ได้แก่สวรรค์ชั้นรูปพรหม ๑๖ ชั้น
วัฏฏะ [วน] ๓
กิเลสวัฏฏะ   วนคือกิเลส                                                           
กัมมวัฏฏะ   วนคือกรรม
วิปากวัฏฏะ   วนคือวิบาก
วิชชา ๓
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ   รู้จักระลึกชาติได้                         
จุตูปปาตญาณ   รู้จักกำหนดจุติและเกิด
อาสวักขยญาณ   รู้จักทำอาสวะให้สิ้น
วิโมกข์ ๓
สุญญตวิโมกข์                                                                             
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์
สมาธิ ๓
สุญญตสมาธิ                                                                                
อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ
วิเวก ๓
กายวิเวก   สงัดกาย                                                                     
จิตตวิเวก   สงัดจิต
อุปธิวิเวก   สงัดกิเลส
สังขตลักษณะ ๓
ความเกิดขึ้น   ปรากฏ                                                                
ความดับ   ปรากฏ
เมื่อยังตั้งอยู่   ความแปร ปรากฏ
สังขาร ๓
กายสังขาร   สภาพอันแต่งกาย                                                 
วจีสังขาร   สภาพอันแต่งวาจา
จิตตสังขาร   สภาพอันแต่งจิต
สัทธรรม ๓
ปริยัตฺติสัทธรรม   ได้แก่คำสั่งสอน                                          
ปฏิปัตติสัทธรรม   ได้แก่ความปฏิบัติ
ปฏิเวธสัทธรรม   ได้แก่มรรค ผล นิพพาน
สมบัติ ๓
มนุษยสมบัติ   สมบัติในมนุษย์                                                 
สวรรคสมบัติ   สมบัติในสวรรค
นิพพานสมบัติ   สมบัติคือพระนิพพาน
สิกขา  ๓
อธิสีลสิกขา   สิกขาคือศีลยิ่ง                                                     
อธิจิตตสิกขา   สิกขาคือจิตยิ่ง
อธิปัญญาสิกขา   สิกขาคือศีลยิ่ง
โสดาบัน ๓
เอกพีชี                          
โกลังโกละ
สัตตักขัตตุปรมะ

หมวด ๔
อบาย ๔
นิรยะ             นรก                                                                                 
ติรัจฉานโยนิ     กำเนิดดิรัจฉาน
ปิตติวิสัย         ภูมิแห่งเปรต                                                                     
อสุรกาย          พวกอสุระ
อปัสเสนธรรม ๔
พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง                                             
พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง                                               
พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง
อัปปมัญญา ๔
เมตตา                                                                                            
กรุณา
มุทิตา                                                                                             
อุเบกขา
พระอรหันต์ ๔
สุกฺขวิปัสฺสโก     ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน                                      
เตวิชฺโช           ผู้ได้วิชชาสาม
ฉฬภิญฺโญ        ผู้ได้อภิญญาหก                                                    
ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต   ผู้ถืงปฏิสัมภิทา
พระอริยบุคคล ๔
พระโสดาบัน              
พระสกทาคามี
พระอนาคามี               
พระอรหันต์
อริยวงศ์ ๔
สันโดษด้วยจีวร  ตามมีตามเกิด
สันโดษด้วยบิณฑบาต  ตามมีตามเกิด
สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามเกิด
ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศลนับอีก๑
อรูป ๔
อากาสานัญจายตนะ                                                                  
วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ                                                                      
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
อวิชชา ๔
ไม่รู้ในทุกข์                                                                                          
ไม่รู้ในทุกขสมุทัย
ไม่รู้ในทุกขนิโรธ                                                                                
ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อาหาร ๔
กวฬิงการาหาร            อาหารคือคำข้าว                                                   
ผัสสาหาร                  อาหารคือผัสสะ
มโนสัญเจตนาหาร         อาหารคือมโนสัญเจตนา                             
วิญญาณาหาร              อาหารคือวิญญาณ
อุปาทาน ๔
กามุปาทาน       ถือมั่นกาม                                                                                     
ทิฏฐุปาทาน       ถือมั่นทิฏฐิ
สีลัพพตุปาทาน   ถือมั่นศีลพรต                                                       
อัตตวาทุปาทาน   ถือมั่นวาทะว่าตน
โอฆะ๔
กาโมฆะ   โอฆะคือกาม                                                                                     
ภโวฆะ   โอฆะคือภพ
ทิฏโฐฆะ   โอฆะคือทิฏฐิ                                                                  
อวิชโชฆะ   โอฆะคืออวิชชา
กิจในอริยสัจ๔
ปริญญา          กำหนดรู้ทุกขสัจ                                                              
ปหานะ           ละสมุทัยสัจ
สัจฉิกรณะ       ทำให้แจ้งนิโรธสัจ                                                      
ภาวนา           ทำมัคคสัจให้เกิด
ฌาน ๔
ปฐมฌาน   ฌานที่๑                                                                            
ทุติยฌาน   ฌานที่๒
ตติยฌาน   ฌานที่๓                                                                            
จตุตถฌาน  ฌานที่๔
ทักขิณาวิสุทธิ ๔
ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธ์ฝ่ายทายก มิใช่ฝ่ายปฏิคาหก               
ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธ์ฝ่ายปฏิคาหก มิใช่ฝ่ายทายก
ทักขิณาบางอย่าง ไม่บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก       
ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธ์ทั้เงฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก


ธรรมสมาทาน ๔
ธรรมสมาทานบางอย่าง  ให้ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็วิบากต่อไป
ธรรมสมาทานบางอย่าง  ให้ทุกข์ในปัจจุบัน  แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
ธรรมสมาทานบางอย่าง  ให้สุขในปัจจุบัน  แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
ธรรมสมาทานบางอย่าง  ให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
บริษัท ๔
ภิกษุ                   
ภิกษุณี                  
อุบาสก                
อุบาสิกา
บุคคล ๔           
  อุคฆติตัญญู   ผู้อาจรู้ธรรมพอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง 
  วิปจิตัญญู  ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งธรรมนั้น
  เนยยะ          ผู้พอแนะนำได้                                               
  ปทปรมะ       ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง
ปฏิปทา ๔
 ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญญา   ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
 ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญญา   ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
 สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา   ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
 สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา   ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว
ปฏิสัมภิทา ๔
อัตถปฏิสัมภิทา            ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ              
ธัมมปฏิสัมภิทา            ปัญญาอันแตกฉานในธรรม
นิรุตติปฏิสัมภิทา          ปัญญาอันแตกฉานในนิรุกติ          
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา        ปัญญาอันแตกฉานในปฏิบัติ
ภูมิ ๔
กามาจรภูมิ      ชั้นท่องเที่ยว                                                         
รูปาวรจรภูมิ     ชั้นท่องเทียวอยู่ในรูป
อรูปาวจรภูมิ     ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในอรูป                                   
โลกุตรภูมิ        ชั้นพ้นจากโลก
มรรค ๔
โสดาบันปัตติมรรค                                                                    
สกทาคามิมรรค
อนาคามิมรรค                                                                               
อรหัตตมรรค
ผล ๔
โสดาปัตติผล                                                                               
สกทาคามิผล
อนาคามิผล                                                                                  
อรหัตตผล
โยนิ ๔
ชลาพุ่ชะ         เกิดในครรภ์                                                                     
อันฑชะ           เกิดในไข่
สังเสทชะ         เกิดในเถ้าไคล                                                        
โอปปาติกะ       เกิดผุดขึ้น
วรรณะ ๔
กษัตริย์                                                                                          
พราหมณ์
แพศย์ [พานิช]                                                                            
ศูทร [คนงาน]
วิบัติ ๔
สีลวิบัติ           วิบัติแห่งศีล                                                                 
อาจารวิบัติ       วิบัติแห่งอาจาระ
ทิฏฐิวิบัติ         วิบัติแห่งทิฏฐิ                                                          
อาชีววิบัติ        วิบัคติแห่งอาชีวะ  
เวสารัชชญาณ ๔
ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้แล้ว
ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่าน ยังไม่สิ้นแล้ว
ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง
ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้น ไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งคนผู้ทำตาม

หมวด ๕
อนุปุพพีกถา๕
ทานกถา          กล่าวถึงทาน                                                                     
สีลกถา           กล่าวถึงศีล
สัคคกถา          กล่าวถึงสวรรค์                                                         
กามาทีนวกถา             กล่าวถึงโทษแห่งกาม
เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์ความออกจากกาม
กามคุณ๕
รูป   
เสียง   
กลิ่น   
รส   
โผฏฐัพพะ 
จักขุ๕
มังสจักขุ                   จักษุคือดวงตา
ทิพพจักขุ                  จักษุทิพย์
ปัญญาจักขุ                จักษุคือปัญญา
พุทธจักขุ                   จักษุแห่งพระพุทธเจ้า
สมันตจักขุ                 จักษุรอบคอบ.                                            
ธรรมขันธ์๕
สีลขันธ์                     หมวดศีล              
สมาธิขันธ์                   หมวดสมาธิ
ปัญญาขันธ์                หมวดปัญญา
วิมุตติขันธ์                  หมวดวิมุตติ
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์   หมวดวิมุตติญาณทัสสนะ                                                       
ปีติ ๕
ขุททกาปีติ           ปีติอย่างน้อย
ขณิกาปีติ            ปีติชั่วขณะ
โอกกันติกาปีติ      ปีติเป็นพัก ๆ
อุพเพงคาปีติ        ปีติอย่างโลกโผน
ผรณาปีติ            ปีติซาซ่าน.                                                     
มัจฉริยะ๕
อาวาสมัจฉริยะ            ตระหนี่ที่อยู่
กุลมัจฉริยะ                          ตระหนี่สกุล
ลาภมัจฉริยะ                        ตระหนี่ลาภ
วัณณมัจฉริยะ             ตระหนี่วรรณะ
ธัมมัจฉริยะ                 ตระหนี่ธรรม.                                                  
มาร๕
ขันธมาร          มารคือปัญจขันธ์
กิเลสมาร         มารคือกิเลส
อภิสังขารมาร   มารคืออภิสังขาร 
มัจจุมาร          มารคือมรณะ
เทวปุตตมาร     มารคือเทวบุตร.                                              
วิญญาณ๕
จักขุวิญญาณ              วิญญาณทางดวงตา
โสตวิญญาณ               วิญญาณทางหู
ฆานวิญญาณ               วิญญาณทางจมูก 
ชิวหาวิญญาณ             วิญญาณทางลิ้น
กายวิญญาณ               วิญญาณทางกาย.                                               
วิมุตติ๕
ตทังควิมุตติ                พันชั่วคราว
วิกขันภนวิมุตติ            พ้นด้วยสะกดไว้
สมุจเฉทวิมุตติ             พ้นด้วยเด็ดขาด
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ          พ้นด้วยสงบ
นิสสรณวิมุตติ              พ้นด้วยออกไป.                             
เวทนา๕
สุข                                                                                                 
ทุกข์
โสมนัส                                                                                         
โทมนัส
อุเบกขา
สังวร๕
สีลสังวร         สำรวมในศีล              
สติสังวร         สำรวมด้วยสติ
ญาณสังวร      สำรวมด้วยญาณ
ขันติสังวร       สำรวมด้วยขันติ
วิริยสังวร        สำรวมด้วยความเพียร.     
สุทธาวาส๕
อวิหา                                                                                             
อตัปปา
สุทัสสา                                                                                          
สุทัสสี
อกนิฏฐา
พระอนาคามี๕
อันตราปรินิพพายี ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง                                 
อุปหัจจปรินิพพานยี ท่านผู้จะปริพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว  จวนถึงที่สุด.                                      
สสังขารปรินิพพายี ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร   เรี่ยวแรง.                                      
อสังขารปรินิพพายีท่านผู้จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก                                    
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีท่านผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

หมวด ๖
อภิญญา๖
อิทธิวิธิ                               แสดงฤทธิ์ได้
ทิพพโสต                   หูทิพย์
เจโตปริยญาณ             รู้จัดกำหนดใจผู้อื่น
ปุพเพนิวาสานุสสติ        ระลึกชาติได้
ทิพพจักขุ                  ตาทิพย์
อาสวักขยญาณ            รู้จัดทำอาสวะให้สิ้น.                                                       
อภิฐาน(ฐานะอย่างหนัก) ๖
     มาตุฆาต              ฆ่ามารดา
     ปิตุฆาต               ฆ่าบิดา
     อรหันตฆาต           ฆ่าพระอรหันต์
     โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น                                              
     สังฆเภท              ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
     อัญญสัตถุทเทส      ถือศาสดาอื่น.                                     
จริต  ๖
   ๑.  ราคจริต            มีราคะเป็นปกติ
   ๒.  โทสจริต            มีโทสะเป็นปกติ
   ๓.  โมหจริต            มีโมหะเป็นปกติ
   ๔.  วิตักกจริต          มีวิตกเป็นปกติ
   ๕.  สัทธาจริต           มีศรัทธาเป็นปกติ
   ๖.  พุทธิจริต            มีความรู้เป็นปกติ.                              
ธรรมคุณ  ๖
        ๑.  สฺวากฺขาโต  ภควตา  ธมฺโม    พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว                                                              
        ๒.  สนฺทิฏฺิโก     อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
        ๓.  อกาลิโก        ไม่ประกอบด้วยกาล
        ๔.  เอหิปสฺสิโก     ควรเรียกให้มาดู
        ๕.  โอปนยิโก      ควรน้อมเข้ามา
        ๖.  ปจฺจตฺตเวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ  อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน                                                              
หมวดละหก ๑๐ หมวด
๑.อายตนะภายใน จักขุ   โสต   ฆาน   ชิวหา   กาย   มโน
๒.อายตนะภายนอก รูป   เสียง   กลิ่น   รส   โผฏฐัพพะ   ธรรม
๓.จักขุวิญญาณ   โสตวิญญาณ   ฆานวิญญาณ   ชิวหาวิญญาณ   กายวิญญาณ   มโนวิญญาณ
๔.จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส  ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส   มโนสัมผัส
๕.จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัสสชา เวทนา   ฆานสัมผัสสชา เวทนา  ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา กายสัมผัสสชา เวทนา มโนสัมผัสสชา เวทนา
๖.รูปสัญญา   สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา  ธัมมสัญญา
๗.รูปสัญเจตนา  สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา   โผฏฐัพพสัญเจตนา   ธัมมสัญเจตนา
๘.รูปตัณหา   สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา  โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
๙.รูปวิตก   สัททวิตก   คันธวิตก   รสวิตก   โผฏฐัพพวิตก   ธัมมวิตก
๑๐.รูปวิจาร   สัททวิจาร   คันธวิจาร   รสวิจาร   โผฏฐัพพวิจาร   ธัมมวิจาร
สวรรค์ ๖ ชั้น
ชั้นจาตุมหาราชิก                                                                       
ชั้นดาวดืงส์
ชั้นยามา                                                                                     
ชั้นดุสิต
ชั้นนิมมานรดี                                                                               
ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี   


หมวด ๗
อนุสัย ๗
กามราคานุสัย 
ปฏิฆานุสัย อนุสัย   คือ ความความหงุดหงิดได้แก่ โทสะ
มานานุสัย อนุสัย   คือ ความถือตัว ได้แก่ มานะ ๙ ประการ
ทิฏฐานุสัย อนุสัย   คือ ความเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ
วิจิกิจฉานุสัย อนุสัย   คือ ความสงสัย ไม่แน่ใจในพระรัตนตรัย
ภวราคานุสัย อนุสัย   คือ ความกำหนัดในภพหรืออยากเป็นโน่นเป็นนี่
อวิชชานุสัย อนุสัย   คือ ความเขลาไม่รู้จริงถึงสภาวะธรรม
เมถุนสังโยค ๗
๑.ยินดีการลูบไล้ การประคบ การให้อาบน้ำ การนวดแห่งมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น
๒.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น
๓.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่เพ่งดูจ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน ปลื้มใจด้วยการเล็งแลนั้น
๔.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ฟังเสียงแห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี ปลื้มใจด้วยเสียงนั้น
๕.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ตามนึกถึงกาลเก่าที่ได้เคยหัวเราะพูดเล่นกับมาตุคาม แล้วปลื้มใจ
๖.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่เห็นคฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี ผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่แล้วปลื้มใจ
๗.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งปรารถนาเพื่อจะได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งแล้วปลื้มใจ
วิญญาณฐิติ๗
๑.สัตว์เหล่าหนึ่ง  มีกายต่างกัน  มีสัญญาต่างกัน  เช่นพวกมนุษย์  พวกเทพบางหมู่  พวกวินิปาติกะ (เปรต)บางหมู่
๒.สัตว์เหล่าหนึ่ง  มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน  เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม  ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
๓.สัตว์เหล่าหนึ่ง  มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาต่างกัน  เช่น  พวกเทพอาภัสสระ
๔.สัตว์เหล่าหนึ่ง  มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาอย่างเดียวกัน  เช่น  เทพสุภกิณหะ
๕.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ
๖.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
๗.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ
วิสุทธิ  ๗
๑.  สีลวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งศีล.
        ๒.  จิตตวิสุทธิ    ความหมดจดแห่งจิต.
        ๓.  ทิฏฐิวิสุทธิ    ความหมดจดแห่งทิฏฐิ.
        ๔.  กังขาวิตรณวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย.                                                      
        ๕.  มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง.                                                      
        ๖.  ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ.                                                      
        ๗.  ญาณทัสสนวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ
                                                              
หมวด ๘
อริยบุคคล ๘
๑.บุคคลผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค
๒.บุคคลผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล คือ พระโสดาบัน  ๓ จำพวก เป็นคู่ที่ ๑
๓.บุคคลผู้ดำรงอยู่ในสกทาคามิมรรค
๔.บุคคลผู้ดำรงอยู่ในสกทาคามิผล  คือ พระสกทาคามี ๓  จำพวก เป็นคู่ที่ ๒.
๕.บุคคลผู้ดำรงอยู่ในอนาคามิมรรค
๖. บุคคลผู้ดำรงอยู่ใน อนาคามิผล  คือ พระอนาคามี เป็นคู่ที่ ๓.
๗.บุคคลผู้ดำรงอยู่ในอรหัตมรรค
         ๘.บุคคลผู้ดำรงอยู่ในอรหัตผล คือพระอรหันต์เป็นคู่ที่๔
อวิชชา  ๘
๑ไม่รู้ในทุกข์                                                                              
๒ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งทุกข์
๓ไม่รู้จักความดับทุกข์                                                                       
๔ไม่รู้จักทางถึงความดับทุกข์
๕ไม่รู้จักอดีต                                                                               
๖ไม่รู้จักอนาคต
๗ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต                                                       
๘ไม่รู้จักปฎิจจสมุปบาท
วิชชา  ๘
        ๑.  วิปัสสนาญาณ          ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา.
        ๒.  มโนมยิทธิ               ฤทธิ์ทางใจ.
        ๓.  อิทธิวิธิ                  แสดงฤทธิ์ได้.
        ๔.  ทิพพโสต                หูทิพย์.
        ๕.  เจโตปริยญาณ          รู้จักกำหนดใจผู้อื่น.  
        ๖.  ปุพเพนิวาสานุสสติ     ระลึกชาติได้.
        ๗.  ทิพพจักขุ                ตาทิพย์.
        ๘.  อาสวักขยญาณ         รู้จักทำอาสวะให้สิ้น.                                        
สมาบัติ  ๘
ฌาน  ๔                                                                                   
อรูปฌาน  ๔
หมวด ๙
อนุบุพพวิหาร  ๙
รูปฌาน  ๔
อรูปฌาน  ๔
สัญญาเวทยิตนิโรธ
พุทธคุณ  ๙
      อิติปิ โส ภควา แม้เพราะอย่างนี้ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
        ๑.  อรห  เป็นพระอรหันต์
        ๒.  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง
        ๓.  วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน   เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาจรณะ                                                       
        ๔.  สุคโต   เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
        ๕.  โลกวิทู   เป็นผู้รู้แจ้งโลก
        ๖.  อนุตฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ  เป็นสารถีแห่งบุรุษพึงฝึกได้  ไม่มีบุรุษอื่นยิ่งไปกว่า                                                       
        ๗.  สตฺถา  เทวมนุสฺสาน เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย                                                         
        ๘.  พุทฺโธ  เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้เบิกบานแล้ว
        ๙.  ภควา  เป็นผู้มี
มานะ  ๙
        ๑.  เป็นผู้เลิศกว่าเขา       สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
        ๒.  เป็นผู้เลิศกว่าเขา       สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
        ๓.  เป็นผู้เลิศกว่าเขา       สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
        ๔.  เป็นผู้เสมอเขา         สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
        ๕.  เป็นผู้เสมอเขา         สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
        ๖.  เป็นผู้เสมอเขา          สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
        ๗.  เป็นผู้เลวกว่าเขา       สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
        ๘.  เป็นผู้เลวกว่าเขา       สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
        ๙.  เป็นผู้เลวกว่าเขา       สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
โลกุตตรธรรม  ๙
                            มรรค  ๔ 
ผล  ๔ 
นิพพาน  ๑.                                                  
วิปัสสนาญาณ  ๙
        ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับ.
        ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ     ปรีชาคำนึงเห็นความดับ.
        ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ        ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏ  เป็นของน่ากลัว.
        ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ  ปรีชาคำนึงเห็นโทษ.
        ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงความเบื่อหน่าย
        ๖. มุญจิตุกามยตาญาณ ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย.
        ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ   ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง.  
        ๘. สังขารุเปกขาญาณ  ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยเสีย.
        ๙. สัจจานุโลมิกญาณ  ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ.
สังฆคุณ  ๙ 
          ภควโต สาวกสงฺโฆ  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
        ๑.  สุปฏิปนฺโน              เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
        ๒.  อุชุปฏิปนฺโน            เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว.
        ๓.  ายปฏิปนฺโน         เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม.
        ๔.  สามีจิปฏิปนฺโน         เป็นผู้ปฏิบัติสมควร.
              ยาทิท   นี้คือใคร
              จตฺตาริ   ปุริสยุคานิ   คู่แห่งบุรุษ  ๔
              อฏฺ  ปุริสปุคฺคลา   บุรุษบุคคล  ๘
              เอส  ภควโต  สาวกสงฺโฆ   นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค.
        ๕.  อาหุเนยฺโย  เป็นผู้ควรของคำนับ.
        ๖.  ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรของต้อนรับ.
        ๗.  ทกฺขิเณยฺโย  เป็นผู้ควรของทำบุญ.
        ๘.  อญฺชลิกรณีโย  เป็นผู้ควรทำอัญชลี  [ประณมมือไหว้]
        ๙.  อนุตฺตร  ปุญฺกฺเขตฺต  เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น โลกสฺส ยิ่งกว่า.
สัตตาวาส  ๙
        ๑.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ พวกเทวดาบางหมู่ พวกวินิปาติกะเปรต บางหมู่
        ๒.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม  ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน 
        ๓.สัตว์เหล่าหนึ่ง   มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาต่างกัน  เช่นพวกเทพอาภัสสระ.
        ๔.สัตว์เหล่าหนึ่ง   มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหะ.
        ๕.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ไม่มีสัญญา  ไม่เสวยเวทนา  เช่นพวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์.
        ๖.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ.
        ๗.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาญัญจายตนะ.
        ๘.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ.
        ๙.สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ   
หมวด ๑๐
อันตคาหิกทิฏฐิ๑๐
        ๑.  โลกเที่ยง.
        ๒.  โลกไม่เที่ยง.
        ๓.  โลกมีที่สุด.
        ๔.  โลกไม่มีที่สุด.
        ๕.  ชีพก็อันนั้น  สรีระก็อันนั้น.
        ๖.  ชีพเป็นอัน  สรีระก็เป็นอื่น.
        ๗.  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว  ย่อมเป็นอีก  เกิดอีก.
        ๘.  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว  ย่อมไม่เป็นอีก.
        ๙.  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว  ย่อมเป็นอีกก็มี   ย่อมไม่เป็นอีกก็มี.
        ๑๐.  สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว   ย่อมเป็นอีกหามิได้  ย่อมไม่เป็นอีก  ก็หามิได้.                              
ทสพลญาณ ๑๐
๑.  ฐานาฐานญาณ        ปรีชากำหนดรู้านะ คือเหตุที่ควรเป็นได้และอฐานะ คือมีใช่เหตุ ที่ควรเป็นได้.
          ๒.  วิปากญาณ            ปรีชากำหนดรู้ผลแห่งกรรม.
          ๓.  สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ    ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิ ทั้งปวง.                                                       
          ๔.  นานาธาตุญาณ  ปรีชากำหนดรู้ธาตุต่าง ๆ.
          ๕.  นานาธิมุตตกญาณ   ปรีชากำหนดรู้อธิมุตติคืออัธยาศัยของ  สัตว์ทั้งหลายอันเป็นต่าง ๆ  กัน.                                            
          ๖.  อินทริยปโรปริยัตตญาณ  ปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่ง แห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.                                              
          ๗.  ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ  ปรีชากำหนดรู้อาการมีความเศร้า หมองเป็นต้นแห่งธรรมมีฌานเป็นต้น.                                                
          ๘.  ปุพเพนิวาสานุสสติญา  ปรีชากำหนดระลึกชาติหนหลังได้.
          ๙.  จุตูปปาตญาณ  ปรีชากำหนดรู้จุติ  และอุปบัติของสัตว์  ทั้งหลายผู้เป็นต่าง ๆ กันโดยกรรม.                                            
          ๑๐.  อาสวักขยญาณ  ปรีชารู้จักทำอาสวะให้สิ้น.                                         
บารมี  ๑๐
          ๑. ทานบารมี    การให้ การเสียสละ
๒. สีลบารมี      การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓. เนกขัมมบารมี   การออกบวช การปลีกตัวออกจากกาม
๔. ปัญญาบารมี   ความรอบรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
๕. วิริยบารมี   ความเพียร ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค ก้าวหน้าเรื่อยไปไม่ทอดทิ้งธุระ
๖. ขันติบารมี   ความอดทน สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล ไม่ลุอำนาจกิเลส
๗. สัจจบารมี   ความจริง คือ พูดจริงทำจริง และจริงใจ
๘. อธิษฐานบารมี   ความตั้งใจมั่น  วางจุดหมายไว้แน่นอน แล้วทำไปตามนั้นอย่างแน่วแน่
๙. เมตตาบารมี   ความรักใคร่ ความปรารถนาดี มีจิตเกื้อกูลต่อสัตว์อื่น อยากให้มีความสุขทุกทั่วหน้า
๑๐. อุเบกขาบารมี   ความวางใจกลาง เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความรักและความชังทุกทั่วหน้า
มิจฉัตตะ  ความเป็นผิด ๑๐
        ๑.  มิจฉาทิฏฐิ              เห็นผิด.
        ๒.  มิจฉาสังกัปปะ          ดำริผิด.
        ๓.  มิจฉาวาจา             วาจาผิด.
        ๔.  มิจฉากัมมันตะ         การงานผิด.
        ๕.  มิจฉาอาชีวะ            เลี้ยงชีวิตผิด.
        ๖.  มิจฉาวายามะ                    พยายามผิด.
        ๗.  มิจฉาสติ                ระลึกผิด.
        ๘.  มิจฉาสมาธิ             ตั้งจิตผิด.
        ๙.  มิจฉาญาณะ            รู้ผิด.
        ๑๐.  มิจฉาวิมุตติ           พ้นผิด. 
สัมมันตะ  ความเป็นถูก ๑๐
๑.สัมมาทิฎฐิ               เห็นชอบ                                                                     
๒.สัมมาสังกัปปะ          ดำริชอบ .
๓.สัมมาวาจา             วาจาชอบ                                                           
๔.สัมมากัมมันตะ          การงานชอบ
๕.สัมมาอาชีวะ            เลี้ยงชีวิตชอบ                                               
๖.สัมมาวายามะ           พยายามชอบ
๗.สัมมาสติ                 ระลึกชอบ                                                                    
๘.สัมมาสมาธิ              ตั้งจิตชอบ
๙.สัมมาญาณะ            รู้ชอบ                                                                       
๑๐.สัมมาวิมุตติ           พ้นชอบ
สังโยชน์ ๑๐  (๑)
        ๑.  สักกายทิฏฐิ    ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน.
        ๒.  วิจิกิจฉา ความลังเลเป็นเหตุไม่แน่ใจ  ในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน.
        ๓.  สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์  ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้.
        ๔.  กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม  เรียก แต่เพียงราคะก็มี.
        ๕.  ปฏิฆะ           ความกระทบกระทั่งแห่งจิต  ได้แก่ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะเรียกโทสะตรงทีเดียวก็มี๕  นี้   เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ คืออย่างหยาบ   เรียกโอรัมภาคิยะ.
        ๖.  รูปราคะ  ความติดใจอยู่ในรูปธรรม  เช่น ชอบใจ ในบุคคลบางคน หรือในพัสดุบางสิ่งหรือ แม้ในวัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน.
        ๗.  อรูปราคะ  ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม  เช่นพอใจในสุขเทวนา.
        ๘.  มานะ ความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่.
        ๙.  อุทธัจจะ  ความคิดพล่าน  เช่นนึกอะไรก็เพลินเกินไปกว่าเหตุ.
        ๑๐.  อวิชชา ความเขลาอันเป็นเหตุไม่รู้จริง.
สังโยชน์ ๑๐ (๒)
กามราคะ 
ปฏิฆะ 
มานะ 
ทิฏฐิ 
วิจิกิจฉา 
สีลัพพตปรามาส
ภวราคะ 
อิสสา 
มัจฉริยะ 
อวิชชา.
สัญญา๑๐
        ๑.  อนิจจสัญญา  กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร.
        ๒.  อนัตตสัญญา  กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรม.
        ๓.  อสุภสัญญา    กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย.
        ๔.  อาทีนวสัญญา  กำหนดหมายโทษแห่งกาย  คือมีอาพาธ ต่าง ๆ.
        ๕.  ปหานสัญญา  กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและ บาปธรรม.
        ๖.  วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะคืออริยมรรค   ว่าเป็น ธรรมอันละเอียด.
        ๗.  นิโรธสัญญา   กำหนดหมายนิโรธความดับตัณหา   คือ อริยผล  ว่าเป็นธรรมอันละเอียด.
        ๘.  สัพพโลเก  อนภิรตสัญญา  กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง.
        ๙.  สัพพสังขาเรสุ  อนิฏฐสัญญา  กำหนดหมายความไม่น่า ปรารถนาในสังขารทั้งปวง.
        ๑๐.  อานาปานัสสติ  สติกำหนดลมหายใจเข้าออก.




สัทธรรม๑๐
โลกุตตรธรรม ๙ 
มรรค ๔
ผล ๔
นิพพาน ๑
ปริยัติธรรม ๑
                    สุตตะ
เคยยะ
เวยยากรณะ
คาถา
อุทาน
อิติวุตตกะ
ชาตกะ
อัพภูตธรรม
เวทัลละ

หมวด ๑๑
ปัจจยาการ๑๑ ปฏิจจสมุปบาท
        ๑.  เพราะอวิชชา  เป็นปัจจัย       มีสังขาร
        ๒.  เพราะสังขาร  เป็นปัจจัย        มีวิญญาณ
        ๓.  เพราะวิญญาณ  เป็นปัจจัย      มีนามรูป
        ๔.  เพราะนามรูป   เป็นปัจจัย        มีสฬายตนะ
        ๕.  เพราะสฬายตนะ  เป็นปัจจัย              มีผัสสะ
        ๖.  เพราะผัสสะ    เป็นปัจจัย       มีเวทนา
        ๗.  เพราะเวทนา  เป็นปัจจัย        มีตัณหา
        ๘.  เพราะตัณหา   เป็นปัจจัย       มีอุปาทาน
        ๙.  เพราะอุปาทาน  เป็นปัจจัย      มีภพ
        ๑๐.  เพราะภพ  เป็นปัจจัย          มีชาติ
        ๑๑.  เพราะชาติ  เป็นปัจจัย         มีชรามรณโสกปริเทว ทุกข์  โทมนัส อุปายาส
อีกนัยหนึ่ง
๑.ชรามรณะเป็นต้นมีเพราะชาติ                                             
๒.ชาติมีเพราะภพ
๓.ภพมีเพราะอุปาทาน                                                                      
๔.อุปาทานมีเพราะตัณหา
๕.ตัณหามีเพราะเวทนา                                                                    
๖.เวทนามีเพราะผัสสะ
๗.ผัสสะมีเพราะสฬายตนะ                                                      
๘.สฬายตนะมีเพราะนามรูป
๙.นามรูปมีเพราะวิญญาณ                                                        
๑๐.วิญญาณมีเพราะสังขาร
๑๑.สังขารมีเพราะอวิชชา
หมวด ๑๒
กรรม๑๒
หมวดที่  ๑ ให้ผลตามคราว
        ๑.  ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม           กรรมให้ผลในภพนี้.
        ๒.  อุปปัชชเวทนียกรรม  กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า.
        ๓.  อปราปเวทนียกรรม    กรรมให้ผลในภพสืบ ๆ.
         ๔.  อโหสิกรรม             กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว.
หมวดที่ ๒ ให้ผลตามกิจ
        ๕.  ชนกกรรม               กรรมแต่งให้เกิด.
        ๖.  อุปัตถัมภกกรรม        กรรมสนับสนุน.
        ๗.  อุปปีฬกกรรม           กรรมบีบคั้น.
        ๘.  อุปฆาตกกรรม          กรรมตัดรอน.
หมวดที่ ๓ ให้ผลตามลำดับ
        ๙.  ครุกรรม                          กรรมหนัก.
       ๑๐.  พหุลกรรม              กรรมชิน.
       ๑๑.  อาสันนกรรม           กรรมเมื่อจวนเจียน.
       ๑๒.  กตัตตากรรม           กรรมสักว่าทำ.

หมวด ๑๓
ธุดงค์๑๓
หมวดที่  ๑  ปฏิสังยุตด้วยจีวร
        ๑.  ปังสุกูลิกังคะ            ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร.
        ๒.  เตจีวริกังคะ             ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร.
หมวดที่  ๒  ปฏิสังยุตด้วยบิณฑบาต
        ๓.  ปิณฑปาติกังคะ         ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร.
        ๔.  สปทานจาริกกังคะ      ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร.
        ๕.  เอกาสนิกังคะ           ถือนั่งฉัน  ณ  อาสนะเดียวเป็นวัตร.
        ๖.  ปัตตปิณฑิกังคะ         ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร.
        ๗.  ขลุปัจฉาภัตติกังคะ     ถือห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร.                                                      
หมวดที่  ๓  ปฏิสังยุตด้วยเสนาสนะ
        ๘.  อารัญญิกังคะ           ถืออยู่ป่าเป็นวัตร.
        ๙.  รุกขมูลิกังคะ            ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร.
        ๑๐.  อัพโภกาสิกังคะ       ถืออยู่ในที่แจ้ง ๆ  เป็นวัตร.
        ๑๑.  โสสานิกังคะ           ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร.
        ๑๒.  ยถาสันถติกังคะ       ถือการอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไร.
หมวดที่  ๔  ปฏิสังยุตด้วยวิริยะ 
        ๑๓.  เนสัชชิกังคะ          ถือการนั่งเป็นวัตร.   
                                 
หมวด ๑๕
จรณะ๑๕
หมวดที่  ๑
        ๑.  สีลสัมปทา    ถึงพร้อมด้วยศีล.
        ๒.  อินทริยสังวร            สำรวมอินทรีย์.
        ๓.  โภชนมัตตัญญุตา      รู้ความพอดีในการกินอาหาร.
        ๔.  ชาคริยานุโยค       ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่.
หมวดที่  ๒  [สัทธรรม  ๗]
        ๕.  สัทธา            ความเชื่อ.
        ๖.  หิริ               ความละอายแก่ใจ.
        ๗.  โอตตัปปะ      ความเกรงกลัวผิด.
        ๘.  พาหุสัจจะ     ความเป็นผู้ได้ฟังมาก.  คือได้รับศึกษา
        ๙.  วิริยะ           ความเพียร.
        ๑๐.  สติ            ความระลึกได้.
        ๑๑.  ปัญญา       ความรอบรู้.
หมวดที่  ๓  [รูปฌาน  ๔]
        ๑๒.  ปฐมฌาน      ฌานที่หนึ่ง.
        ๑๓.  ทุติยฌาน      ฌานที่สอง.
        ๑๔.  ตติยฌาน      ฌานที่สาม.
        ๑๕.  จตุตถฌาน     ฌานที่สี่.  
                                                  
พหุสุตมีองค์ ๕ คือ
๑.พหุสฺสุตา   ได้ยินได้ฟังมาก
๒.ธตา   ทรงจำได้
๓.วจสา  ปริจิตา   ท่องไว้ด้วยวาจา
๔.มนสานุเปกฺขิตา   เอาใจจดจ่อ
๕.ทิฏฺฐิยา  สุปฏิวิทฺธา   ขบด้วยทิฏฐิ


วินัยบัญญัติ (น.ธ.โท)
อภิสมาจาร
        สิกขาบทแผนกนี้  มาในขันธกะเป็นพื้น  ไม่ได้บอกจำนวนจัดตามกิจหรือวัตถุ  เรียกว่า  ขันธกะ คือ
        ๑.  ว่าด้วยอุโบสถ จัดไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า อุโบสถขันธกะ
        ๒.  ว่าด้วยจีวร  ไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า  จีวรขันธกะ.
สิกขาบทแผนกนี้  มีรูปเป็น  ๒  คือ
        ๑.  เป็นข้อห้าม.
        ๒.  เป็นข้ออนุญาต.
ข้อห้ามที่ปรับอาบัติมีเพียง ๒  คือ
        ๑.  ถุลลัจจัย.
        ๒.  ทุกกฏ.

กัณฑ์ที่  ๑๑
กายบริหาร
กายบริหารมี  ๑๔ คือ
๑.  อย่าพึงไว้ผมยาว  จะไว้ได้เพียง ๒  เดือนหรือ  ๒  นิ้ว.
๒.  อย่าพึงไว้หนวดไว้เครา  พึงโกนเสีย  เช่นเดียวกับผม.
๓.  อย่าพึงไว้เล็บยาว  พึงตัดเสียด้วยมีดเล็กพอเสมอเนื้อ  และอย่า   พึงขัดเล็บให้เกลี้ยงเกลา.
๔.  อย่าพึงไว้ขนจมูกยาว พึงถอนเสียด้วยแหนบ๑.
๕.  อย่าพึงให้นำเสียซึ่งขนในที่แคบ  คือในร่มผ้าและที่รักแร้  เว้นไว้แต่อาพาธ.
๖.  อย่าพึงผัดหน้า ไล้หน้า  ทาหน้า ย้อมหน้า เจิมหน้า ย้อมตัว  เว้นไว้แต่อาพาธ
๗.  อย่าพึงแต่งเครื่องประดับต่าง  ๆ  เป็นต้นว่า  ตุ้มหู  สายสร้อย สร้อยคอ สร้อยเอว เข็มขัด บานพับ[สำหรับรัดแขน]  กำไลมือและแหวน.
๘.  อย่าพึงส่องดูเงาหน้า  ในกระจกหรือในวัตถุอื่น  อาพาธเป็นแผลที่หน้า  ส่องทำกิจได้.
๙.  อย่าพึงเปลือยกายในที่ไม่บังควรและในเวลาไม่บังควร 
      เป็นวัตร ต้องถุลลัจจัย เปลือยทำกิจแก่กันและกันและในเวลาฉัน ต้องทุกกฏ ในเรือนไฟและในน้ำ  ทรงอนุญาต
๑๐.  อย่าพึงนุ่งห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์.
๑๑.  ถ่ายอุจจาระแล้ว  เมื่อมีน้ำอยู่  จะไม่ชำระไม่ได้  เว้นไว้แต่หาน้ำไม่ได้ หรือน้ำมีแต่ไม่มีภาชนะจะตัก เช่นนี้ เช็ดเสียด้วยไม้
๑๒.  อย่าพึงให้ทำสัตถกรรม  [ผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา]  ในที่แคบ [ทวารหนัก]  หรือในที่ใกล้ที่แคบเพียง  ๒  นิ้ว  อย่าพึงให้ทำ   วัตถิกรรม [ ผูกรัดที่ทวารหนัก ] ให้ทำ  ต้องถุลลัจจัย.
๑๓.  เป็นธรรมเนียมของภิกษุต้องใช้ไม้ชำระฟัน.
๑๔.  น้ำที่ดื่มให้กรองก่อน.

ข้อห้ามการแต่งผมมีดังนี้
๑.  ไม่ให้หวีผมด้วยหวีหรือด้วยแปรง.
๒.  ไม่ให้เสยผมด้วยนิ้วมือโดยอาการว่าหวี.
๓. ไม่ให้แต่งผมด้วยน้ำมันเจือขี้ผึ้ง  หรือด้วยน้ำมันเจือน้ำ.
๔. ไม่ให้ตัดผมด้วยกรรไกร  เว้นไว้แต่อาพาธ.
๕.  ไม่ให้ถอนผมหงอก.
ข้อห้ามการแต่งหนวดมีดังนี้
๑.  ไม่ให้แต่งหนวด.
๒.  ไม่ให้ตัดหนวดด้วยกรรไกร.
ข้อห้ามภิกษุผู้อาบน้ำมีดังนี้
๑.  ไม่ให้สีกายในที่ไม่บังควร  เช่นต้นไม้  เสา  ฝาเรือน  และแผ่น  กระดาน.
๒.  ไม่ให้สีกายด้วยของไม่บังควร  เช่นทำไม้ทำเป็นรูปมือหรือจักเป็น ฟันมังกร  และเกลียวเชือกที่คม.
๓.  ไม่ให้เอาหลังต่อหลังสีกัน.
ข้อห้ามการนุ่งห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์มีดังนี้
๑.  ห้ามเครื่องนุ่มห่มของคฤหัสถ์  เช่นกางเกง  เสื้อ  ผ้าโพก  หมวด  ผ้านุ่งผ้าห่มสีต่าง ๆ  ชนิดต่าง ๆ.
๒.  ห้ามอาการนุ่งห่มต่าง ๆ  ที่มิใช่ของภิกษุ
ประโยชน์แห่งการเคี้ยวไม้ชำระฟันมี  ๕  คือ
๑.  ฟันดูไม่สกปรก.
๒.  ปากไม่เหม็น.
๓.  เส้นประสาทรับรสหมดจดดี.
๔.  เสมหะไม่หุ้มอาหาร.
๕.  ฉันอาหารมีรส.

กัณฑ์ที่  ๑๒
บริขารบริโภค
จีวร
ประมาณจีวรที่ใช้ในเมืองเรามีดังนี้
๑.  สังฆาฏิ  ยาวไม่เกิน  ๖  ศอก  กว้างไม่เกิน ๔  ศอก.
๒.  อุตราสงค์  ยาวไม่เกิน  ๖  ศอก  กว้างไม่เกิน  ๔  ศอก.
๓.  อันตรวาสก  ยาวไม่เกิน  ๖  ศอก  กว้างไม่เกิน  ๒  ศอก.
ผ้าสำหรับทำจีวรมี  ๖  ชนิด  คือ
๑.  โขมะ  ผ้าทำด้วยเปลือกไม้  เช่นผ้าลินิน.
๒.  กัปปาสิกะ  ผ้าทำด้วยฝ้าย.
๓.  โกเสยยะ  ผ้าทำด้วยใยไหม  เช่นแพร.
๔.  กัมพละ  ผ้าทำด้วยขนสัตว์ ยกผมและขนมนุษย์  เช่นผ้าสักหลาดและกำมะหริด.
๕.  สาณะ  ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน [ผ้าชนิดนี้เป็นผ้าเนื้อสาก]
๖.  ภังคะ  ผ้าทำด้วยของ ๕  อย่างนั้นแต่อย่างใดอย่างหนึ่งปนกัน เช่น ผ้าด้ายแกมไหม.
เครื่องนุ่งห่มที่ทำด้วยของอื่น  ห้ามไม่ให้ใช้  คือ
๑.  คากรอง                        [กุสจีร].
๒.  เปลือกต้นไม้กรอง            [วากจีร].
๓.  ผลไม้กรอง                     [ผลกจีร].
๔.  ผ้ากำพลทำด้วยผมคน        [เกสกมฺพล].
๕.  ผ้ากำพลทำด้วยหางขนสัตว์  [วาลกมฺพล].
๖.  ปีกนกเค้า                       [อุลูกปกฺข]
๗.  หนังสือ                          [อชินขิป].
๘.  ทำด้วยปอ                      [โปตฺถก].
     นุ่งห่มผ้าเหล่านี้เป็นวัตร ต้องถุลลัจจัย เป็นแต่สักว่านุ่งห่มต้องทุกกฏ.
จีวรนั้นโปรดให้ตัดเป็นกระทงมีชื่อดังนี้
๑.  อัฑฒมณฑล        คีเวยยกะ.
๒.  มณฑล               วิวัฏฏะ.
๓.  อัฑฒมณฑล        ชังเฆยยกะ.
๔.  มณฑล               อนุวิวัฏฏะ.
๕.  อัฑฒมณฑล         พาหันตะ.
๖.  มณฑล                อนุวิวัฏฏะ.
๗.  อัฑฒกุสิ.
๘.  กุสิ.
๙.  อนุวาต.
๑๐.  รังดุม.
๑๑.  ลูกดุม.
 [เอารังดุมและลูกดุมรวมด้วย  เพื่อให้ครบถ้วนตามแบบ]
จีวรนั้นให้ย้อมด้วยของ ๖  อย่าง  ๆ  ใดอย่างหนึ่ง คือ
๑.  รากหรือเง่า๑ [มูล].    ๒.  ต้นไม้๒       [ขนฺธ].
๓.  เปลือกไม้๓    [ตจ].   ๔.  ใบไม้๔        [ปตฺต].
๕.  ดอกไม้๕       [ปุปฺผ]. ๖.  ผลไม้          [ผล].
สีที่ห้ามใช้ย้อมจีวรมี  ๗  คือ
๑.  สีคราม    [นีลก].      ๒.  สีเหลือง   [ปีตก].
๓.  สีแดง      [โลหิต].    ๔.  สีบานเย็น [มญฺเชฏฺก].
๕.  สีแสด [มหารงฺครตฺต]. ๖.  สีชมพู     [มหานามรตฺต].
๗.  สีดำ       [กณฺห].
ยกเว้น ๑.เว้นขมิ้น         ๒.เว้นฝางแกแลมะหาด.  
๓.เว้นเปลือกโลทเปลือกคล้า.
๔.เว้นมะเกลือคราม.  ๕.เว้นทองกวาวดอกคำ.
     [สีเหลืองเจือแดงเข้มหรือสีเหลืองหม่น  เช่นสีที่ย้อมด้วยแก่นขนุน  (กรัก)  เป็นสี่ที่รับรองว่าใช้ได้]
จีวรกาววาวที่ห้ามไม่ให้ใช้ คือ
๑.  จีวรเป็นรูปลายสัตว์.
๒.  จีวรเป็นลาดดอกไม้  ผลไม้.
        [จีวรมีดอกเล็ก ๆ ไม่กาววาว  เช่นดอกเม็ดพริกไทย  หรือเป็นริ้ว  เช่นแพรโล่  ใช้ได้.]
ของสำหรับทำลูกดุมมี  ๑๑  คือ
๑.  กระดูก [อฏฺิ].         ๒.  งา [ทนฺต]
๓.  เขา [วิสาณ].           ๔.  ไม้ไผ่ [เวฬุ].
๕.  ไม้รวก [นฬ].          ๖. ไม้แก่น [กฏฺ].
๗.  ครั่ง [ชตุ].              ๘.  กะลา [ผลก].
๙.  โลหะ [โลห].           ๑๐.  สังข์ [สงฺขนาภิ].
๑๑.  ด้ายถัก [สุตฺต] [ลูกถวินก็ควรทำด้วยของเหล่านี้.]
ประคตเอวมี  ๒  ชนิด  คือ
๑.  ประคตแผ่น  (เช่นที่เรียกประคตลังกา)  [ปฏฺฏิ].
๒.  ประคตไส้สุกร  ผ้าเย็บเป็นปลอก  [สุกรนฺตก].
สมัยที่ไม่ต้องห่มสังฆาฏิไปด้วยมี  ๕  คือ
๑.  เจ็บไข้.                 ๒.  สังเกตเห็นว่าฝนจะตก.
๓.  ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ.          ๔.  วิหารคือกุฎีคุ้มได้ด้วยดาน.
๕.  ได้กรานกฐิน.
ผ้าที่อนุญาตให้ใช้อีก  [นอกจากไตรจีวร]  มีดังนี้
๑.  ผ้าอาบน้ำฝน          [วสฺสิกสาฏิก].
๒.  ผ้าปิดฝี                [กณฺฑุปฏิจฺฉาทิ].
๓.  ผ้าปูนั่ง                 [นิสีทน].
๔.  ผ้าปูที่นอน             [ปจฺจตฺถรณ].
๕.  ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก     [มุขปุญฺฉนโจล].
๖.  ผ้าเป็นบริขารเช่นถุงบาตรหรือย่าม      [ปริกฺขารโจล].
แบบผ้านิสีทนะ ๓  แบบ คือ
๑.  แบบของพระอรรถกถาจารย์. เป็นผ้านิสีทนะ ยาว ๓ คืบ  กว้างคืบครึ่ง.
๒.  แบบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวิยาลงกรณ์ เป็นผ้านิสีทนะ ๒ คืบ ๖ นิ้ว กว้าง ๒ คืบถ้วน.
๓.  แบบพิเศษ. เป็น  ๒  คืบจตุรัส.

บาตร
บาตรมี  ๒ ชนิด  คือ
๑.  บาตรดินเผา           [มตฺติกาปตฺต].
๒.  บาตรเหล็ก            [อโยปตฺต].
ของที่ห้ามไม่ให้ใช้แทนบาตร  คือ
๑.  กระทะดิน             [มตฺติกถาลก].
๒.  กะโหลกน้ำเต้า        [อลาพุ].
๓.  กะโหลกหัวผี          [ฉวสีส].
บาตรชนิดอื่นที่ทรงห้ามมี  ๑๑  คือ
๑.  บาตรทอง              [โสวณฺณ].
๒.  บาตรเงิน               [รูปิย].
๓.  บาตรแก้วมณี          [หินฺตาล].
๔.  บาตรแก้วไพฑูรย์     [เวฬุริย].
๕.  บาตรแก้วผลึก         [ผลิก].
๖.  บาตรแก้วหุง           [กาจ].
๗.  บาตรทองแดง         [ตมฺพโลห].
๘.  บาตรทองเหลือง       [กส].
๙.  บาตรดีบุก             [ติปุ].
๑๐.  บาตรสังกะสี         [สีส].
๑๑.  บาตรไม้              [ทารุ].
ขนาดบาตรมี  ๓  ชนิด คือ
๑.  อย่างใหญ่  จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหก.
๒.  อย่างกลาง  จุข้าวสุกแห่งข้าวสารนาฬีหนึ่ง.
๓.  อย่างเล็ก  จุข้าวสุกแห่งข้าวสารปัตถหนึ่ง.
ธรรมเนียมระวังบาตร  มีดังนี้
๑.  ไม่ให้วางบาตรบนเตียง.
๒.  ไม่ให้วางบาตรบนตั่ง  [คือม้าหรือโต๊ะ].
๓.  ไม่ให้วางบาตรบนร่ม.
๔.  ไม่ให้วางบาตรบนพนัก.
๕.  ไม่ให้วางบาตรบนพรึง  [คือชานนอกพนัก].
๖.   ไม่ให้วางบาตรบนตัก.
๗.  ไม่ให้แขวนบาตร  [เช่นที่ราวจีวร].
๘.  ไม่ให้คว่ำบาตรที่พื้นคมแข็งอันจะประทุษร้ายบาตร.
๙.  มีบาตรอยู่ในมือ  ห้ามไม่ให้ผลักบานประตู.
ให้รู้จักรักษาบาตร  ห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่าง
๑. กระโถนคือทิ้งก้างปลา กระดูก เนื้อหรืออื่นๆ อันเป็นเดนลงในบาตร 
๒. ห้ามไม่ให้ล้างมือหรือบ้วนปากในบาตร 
๓. จะเอามือเปื้อนจับบาตรก็ไม่ควร ฉันแล้วให้ล้างบาตร
๔. ห้ามไม่ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก  ให้ผึ่งแดดก่อน 
๕. ห้ามไม่ให้ผึ่งทั้งยังเปียก  ให้เช็ดน้ำจนหมดน้ำก่อนจึงผึ่ง 
๖. ห้ามไม่ให้ผึ่งไว้นาน  ให้ผึ่งครู่หนึ่ง

เครื่องอุปโภค
บริขารที่เป็นเครื่องอุปโภค  คือ
๑.  กล่องเข็ม.  อนุญาตใช้เก็บรักษาเข็ม
๒.  เครื่องกรองน้ำ. อนุญาตใช้กรองน้ำก่อนดื่ม
๓.  มีดโกน พร้อมทั้งฝัก หินสำหรับลับ กับเครื่องสะบัด. อนุญาตให้ใช้ปลงผมและหนวด
๔.  ร่ม. ห้ามใช้ที่มีสีฉูดฉาด ปักด้วยลวดลาย มีพู่ห้อย
๕.  รองเท้า. มี ๒  ชนิด  คือ
๑.  ปาทุกา  รองเท้ามีส้น.
๒.  อุปาหนา  รองเท้าไม่มีส้น.

เครื่องเสนาสนะ
บริขารบริโภคที่เป็นเครื่องเสนาสนะ  คือ
๑.  เตียง [เตียงมีเท้าเกิน  ๘ นิ้ว หรือเป็นของใหญ่ หรือมีรูปสัตว์  ร้ายที่เท้าเช่นเตียงจมูกสิงห์  เรียกบัลลังก์  ห้ามไม่ให้ใช้].
๒.  ตั่ง  [คือม้าสำหรับนั่ง  ๔  เหลี่ยมรี  นั่งได้สองคนก็มี  หากมีเท้า เกิน  ๘  นิ้ว  ห้ามไม่ให้ใช้].
๓.  อาสันทิ  [คือม้าสำหรับนั่ง ๔  เหลี่ยมจตุรัส].
๔.  ฟูกเตียง  [คือที่นอน  ยัดนุ่นหรือใหญ่  ห้ามไม่ให้ใช้].
๕.  ฟูกตั่งคือเบาะ  [ยัดนุ่น  ห้ามไม่ให้ใช้].
๖.  หมอนหนุนศีรษะ  [ประมาณพอศีรษะ  หมอนใหญ่กึ่งกาย  หมอน ข้าง  ห้ามไม่ให้ใช้].
๗. มุ้ง.
๘.  เครื่องลาดอันไม่จัดว่าเป็นของวิจิตร.

กัณฑ์ที่ ๑๓
นิสัย
    นิสัย คือการกล่าวขอให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นอาจารย์เพื่อคอยดูแลให้คำแนะนำ
ภิกษุที่ต้องถือนิสัย
๑.ภิกษุบวชไม่ถึง ๕ พรรษา
๒. ภิกษุผู้ขาดความรู้ ความเข้าใจในพระธรรมวินัยไม่สามารถอยู่ได้ตามลำพัง
๓.ภิกษุผู้ถูลงโ?ษโดยฐานนิยสกรรม
ภิกษุที่ได้รับยกเว้นในการถือนิสัย  คือ
๑.  ภิกษุเดินทาง.
๒.  ภิกษุผู้พยาบาท  ผู้ได้รับขอของคนไข้เพื่อให้อยู่.
๓.  ภิกษุผู้เข้าป่าเพื่อเจริญสมณธรรมชั่วคราว.
๔. ภิกษุหาผู้ที่จะถือนิสยไม่ได้
การถือนิสัยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. ถือนิสัยขอให้ท่านเป็นอุปัชฌาย์
๒. ถือนิสัยขอให้ท่านเป็นอาจารย์
มูลเหตุที่ทรงอนุญาตให้มีพระอุปัชฌายะ  คือ
๑.  มีพุทธบัญญัติและอภิสมาจารมากขึ้น.
๒.  ผู้มาใหม่ไม่สามารถจะรู้ทั่วถึงและประพฤติให้ถูกระเบียบ  ด้วยลำพัง ใช้ความสังเกตทำตามกัน  จำจะศึกษาจึงจะรู้ได้.
ขอนิสัยในอุปัชฌาย์
"อุปัชฌาโย  เม  ภนฺเต  โหหิ.  "[๓  หน].
แปล : "ขอท่านจงเป็นอุปัชฏาย์ของข้าพเจ้าๆ
คำขอนิสัยในอาจารย์
     "อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ อายสฺมโต  นิสฺสาย วจฺฉามิ"[๓ หน]
แปล : "ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าๆ  จักอยู่อาศัยท่าน."

สัทธิวิหาริก กับ อันเตวาสิก
ภิกษุผู้ขอถือนิสัย ในพระอุปัชฌาย์ เรียกว่า สัทธิวิหาริก
ภิกษุผู้ขอถือนิสัย ในพระอาจารย์ เรียกว่า อันเตวาสิก
ประเภทของอาจารย์มี   ๔  แบบคือ
๑.  ท่านผู้ให้สรณคมน์เมื่อบรรพชา [ปัพพัชชาจารย์].
๒.  ท่านผู้สวดกรรมวาจาเมื่ออุปสบท [อุปสัมปทาจารย์].
๓.  ท่านผู้ให้นิสัย  [นิสสยาจารย์].
๔.  ท่านผู้สอนธรรม  [อุทเทสาจารย์].
เหตุนิสัยระงับจากอุปัชฌายะมี  ๕  คือ
๑.  อุปัชฌายะหลีกไป.
๒.  สึกเสีย.
๓.  ตายเสีย.
๔.  ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสีย.  
๕.  สั่งบังคับ
เหตุนิสัยระงับจากอาจารย์  ๖  คือ
๑-๕.  เหมือนในอุปัชฌายะ.
๖.  อันเตวาสิกร่วมเข้ากับอุปัชฌายะของเธอ.
องค์คือสั่งบังคับนั้นมีมติเป็น ๒  คือ
๑.  ประณามคือไล่เสีย  [มติของอรรถกถาจารย์].
๒.  อุปัชฌายะเป็นมีพรรษาพ้น  ๕  แล้ว  มีความรู้พระธรรมวินัยพอ  รักษาตัวได้แล้วปลดเสียจากนิสัย ให้อยู่เป็นนิสัยมุตกะ 
องค์เป็นเหตุที่จะให้สัทธิวิหาริกถูกประณามท่านกำหนดไว้๕คือ
๑.  หาความรักใคร่ในอุปัชฌายะมิได้.
๒.  หาความเลื่อมใสมิได้
๓.  หาความละอายมิได้.
๔.  หาความเคารพมิได้.
๕.  หาความหวังดีต่อมิได้.
นิสัยมุตตกะภิกษุพ้นถือนิสัย ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
 ๑.  เป็นผู้มีศรัทธา  มีหิริ  มีโอตตัปปะ  มีวิริยะ  มีสติ.
๒.  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ ความเห็นชอบ เคยได้ยินได้ฟัง มาก  มีปัญญา.
๓.  รู้จักอาบัติ  มิใช่อาบัติ  อาบัติเบา  อาบัติหนัก  จำปาฏิโมกข์ได้ แม่นยำ. 
๔. ทั้งมีพรรษาได้  ๕  หรือยิ่งกว่าขึ้นไป.
ชั้นภูมิของภิกษุ
- ชั้นนวกะมีพรรษาไม่ถึง ๕
- ชั้นมัชฌิมา มีพรรษา ๕ ขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๑๐
- ชั้นเถระ มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป




กัณฑ์ที่ ๑๔
วัตร
        ขนบคือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติในกาลนั้น  ๆ  ในที่นั้นๆในกิจนั้นๆ แก่บุคคลนั้นๆเรียกว่าวัตร จำแนกเป็น ๓  คือ
๑.  กิจวัตร       ว่าด้วยกิจควรทำ.
๒.  จริยาวัตร  ว่าด้วยมรรยาทอันควรประพฤติ.
๓.  วิธิวัตร  ว่าด้วยแบบอย่าง.

กิจวัตร
อุปัชฌายวัตร วัตรทีสัทธิวิหาริกพึงทำแก่อุปัชฌายะ  มีดังนี้
๑.  เอาใจใส่ในการอุปัฏฐากท่าน  ในกิจทุกอย่าง  เช่นถวายน้ำบ้วนปาก  น้ำล้างหน้า  และไม้สีฟัน.
๒.  หวังความศึกษาในท่าน.
๓.  ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมความเสียอันจักมีหรือ ได้มีแล้วแก่ท่าน เช่นระงับความกระสัน ความเบื่อหน่าย  เปลื้อง  ความเห็นผิด เอาธุระในการออกจากอาบัติของท่าน 
๔.  รักษาน้ำใจท่าน ไม่คบคนนอกให้เป็นเหตุแหนง เช่นจะทำการ รักการให้เป็นต้นกับคนเช่นนั้น บอกท่านก่อน ไม่ทำตามลำพัง
๕.  เคารพในท่าน  เช่นเดินตามท่านไม่ชิดนัก  ไม่ห่างนัก ไม่พูดสอด ในขณะท่านกำลังพูด  ท่านพูดผิด  พูดอ้อมพอให้ท่านรู้.
๖.  ไม่เที่ยวเตร่ตามอำเภอใจ  จะไปข้างไหนลาท่านก่อน.     
๗.  เมื่อท่านอาพาธเอาใจใส่พยาบาล  ไม่ไปข้างไหนเสีย  กว่าท่าน จะหายเจ็บหรือมรณะ.
สัทธิวิหาริกวัตร  วัตรที่อุปัชฌายะพึงทำแก่สัทธิวิหาริกมีดังนี้
๑.  เอาธุระในการศึกษาของสัทธิวิหาริก.
๒.  สงเคราะห์ด้วยบาตรจีวรและบริขารเครื่องใช้
๓.  คอยระงับความเสื่อมความเสีย
๔.  ทำการพยาบาลเมื่ออาพาธ 
อาวาสิกวัตร วัตรที่เจ้าของถิ่นพึงประพฤติแก่อาคันตุกะ  ดังนี้
๑.  เป็นผู้ต้อนรับอาคันตุกะ 
๒. แสดงความนับถือแก่อาคันตุกะ
๓.  ทำปฏิสันถารโดยธรรม  คือสมแก่ภาวะของอาคันตุกะ
๔.  ถ้าอาคันตุกะมาเพื่อจะอยู่ที่วัดจัดแจงที่พักให้ดี
อาคันตุวัตร  วัตรที่ภิกษุผู้จะไปสู่อาวาสอื่นพึงประพฤติให้สมเป็นแขกของเจ้าของถิ่นดังนี้
๑.  ทำความเคารพในท่าน 
๒.  แสดงความเกรงใจเจ้าของถิ่น 
๓.  แสดงอาการสุภาพ 
๔.  แสดงอาการสนิทสนมกับเจ้าของ
๕.  ควรประพฤติให้ถูกธรรมเนียมของเจ้าของ
๖.  เอาใจใส่ชำระปัดกวาดให้หมดจด เป็นระเบียบ.
คิลานุปัฏฐากวัตร ภิกษุผู้พร้อมด้วยองค์สมควรเลือกเป็นผู้พยาบาล  ดังนี้
๑.  รู้จักประกอบเภสัช.
๒.  รู้จักของอันแสลงแก่โรคและไม่แสลง.
๓.  ไม่รังเกียจของโสโครก
๔.  ไม่เห็นแก่ได้
๕.เป็นผู้มีจิตเมตตา
คิลานกวัตร ภิกษุอาพาธสมควรทำตนให้เป็นผู้พยาบาลง่าย คือ
๑.  รักษาตนให้ดี ไม่ฉันของแสลง
๒.  รู้จักประมาณคือความพอดีในของไม่แสลง 
๓.  ฉันยาง่าย.
๔.  บอกอาการไข้ตามเป็นจริงแก่ผู้พยาบาล.
๕.  เป็นผู้อดทนต่อทุกขเวทนา.       
ปิณฑจาริวัตร ภิกษุผู้จะเข้าไปเพื่อรับบิณฑบาต ควรประพฤติให้ถูก ดังนี้                    
๑.  นุ่งห่มให้เรียบร้อย 
๒.  ถือบาตรในภายในจีวร  เอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต.
๓.  สำรวมกิริยาให้เรียบร้อย  ตามสมณสารูปในเสขิยวัตร.
๔.  กำหนดทางบิณฑบาตร
๕.  รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม 
๖.  รูปที่กลับมาก่อน  จัดเตรียมที่ฉัน
เสนาสนวัตร ภิกษุผู้รับเสนาสนะของสงฆ์ความเอาใจใส่รักษาเสนาสนะ ด้วยอาการดังนี้
๑.  อย่าทำให้เปรอะเปื้อน.
๒.  ปัดกวาดให้สะอาด อย่าให้รกด้วยหยากไย่และฝุ่นละออง.
๓.  ระวังไม่ให้ ของต่างๆชำรุด
๔.  รักษาเครื่องเสนาสนะ ให้สะอาด  และจัดตั้งเข้าระเบียบ.
๕.  ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ให้มีพร้อม.
๖.  ของใช้สำหรับเสนาสนะหนึ่ง อย่าเอาไปใช้ในที่อื่น
ภัตตัคควัตร ภิกษุผู้ฉันอาหารควรประพฤติให้ถูกธรรมเนียมดังนี้
๑.  นุ่งห่มให้เรียบร้อย 
๒.  รู้จักอาสนะอันควรแก่ตน 
๓.  ห้ามไม่ให้นั่งทับผ้าสังฆาฏิในบ้าน.
๔.  รับของประเคนโดยเอื้อเฟื้อ 
๕.  ไม่ควรฉันขณะภิกษอื่นกำลังรับประเคน
๖.  ฉันด้วยอาการอันเรียบร้อย 
๗.  รออิ่มพร้อมกัน 
๘.  ระวังไม่บ้วนปากและล้างมือให้ถูกภิกษุนั่งใกล้หรือถูกจีวรของตนเอง
๙.  ฉัน เสร็จแล้วอนุโมทนาพร้อมกัน.
๑๐.  เมื่อกลับอย่าเบียดเสียดกันออกมา 
๑๑.  ห้ามไม่ให้เอาน้ำล้างบาตรในบ้านเขา 
วัจจกุฏีวัตร วัตรอันจะพึงประพฤติในวัจกุฎี  มีดังนี้
๑.  ให้เข้าตามลำดับผู้ไปถึง
๒.  ให้รักษากิริยา เห็นประตูปิดให้ส่งเสียงถาม ตอบ ก่อน     
๓.  ให้รู้จักรักษาบริขาร  เปลื้องจีวรพาดไว้เสียข้างนอก
๔.  ให้รู้จักรักษาตัว  อย่าแบ่งแรง อย่าใช้ไม้ชำระอันจะประทุษร้ายตัว
๕.  ห้ามไม่ให้เคี้ยวไม้ชำระฟันพลาง.
๖.  ให้ระวังเพื่อไม่ให้ทำสกปรก
๗.  ให้ช่วยรักษาความสะอาด 
คมิกวัตร ภิกษุจะไปอยู่ที่อื่น พึงประพฤติ  ดังนี้
๑.  เก็บให้สะอาดก่อน ซ่อมแซมเสนาสนะให้เรียบร้อย
๒.  บอกมอบคืนเสนาสนะแก่ภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาป
๓.  บอกลาผู้ที่ควรบอกลา
จริยาวัตร
๑.  ห้ามไม่ให้เหยียบผืนผ้าขาวอันเขาลาดไว้ในที่นิมนต์.
๒.  ยังไม่พิจารณาก่อน  อย่าเพิ่มนั่งลงบนอาสนะ.
๓.  ห้ามไม่ให้นั่งอาสนะยาวกับหญิงและคนพันทาง  [แต่จะนั่งกับคน มีอาสนะไม่เสมอกันได้อยู่].
๔.  ภิกษุผู้รองลำดับฉันค้างอยู่  อย่าให้ลุก.
๕.  จะพักในกลางวัน  ท่านให้ปิดประตู.
๖.  ห้ามทำบริเวณรอบกุฏิให้สกปรก
๗.  ห้ามไม่ให้ขึ้นต้นไม้  เว้นไว้แต่มีกิจ.
๘.  ห้ามไม่ให้ไปเพื่อจะดูฟ้อน  ขับ  ประโคม.
๙.  ห้ามไม่ให้กล่าวธรรมด้วยเสียงอันยาว 
๑๐.  ห้ามไม่ให้จับวัตถุเป็นอนามาส  คือสิ่งที่ไม่ควรจับ.
วัตถุเป็นอนามาสนั้น  มีประเภทดังนี้
๑.  หญิง  ทั้งเครื่องแต่งกาย  ทั้งรูปที่ทำมีสัณฐานเช่นนั้น  [ดิรัจฉาน ตัวเมีย  ก็จัดเข้าในหมวดนี้].
๒.  ทอง  เงิน  และรัตนะ  [ในอรรถกถา  รัตนะมี  ๘  คือ  มุกดา  มณี ไพฑูรย์  ประพาฬ  ทับทิม  บุษราคัม  สังข์  ศิลา].
๓.  ศัสตราวุธต่างชนิด  เป็นเครื่องทำร้ายชีวิต
๔.  เครื่องดักสัตว์ทั้งบนบกทั้งในน้ำ.
๕.  เครื่องประโคมทุกชนิด [เครื่องดนตรี]
๖.  ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่.

วิธีวัตร
วิธีวัตรมีประเภทดังนี้
๑.  วิธีครองผ้าของภิกษุ.
๒. วิธีใช้บาตรในเวลาเที่ยวรับภิกขา.
๓.  วิธีพับจีวร  ไม่ให้พับหักกลาง.
๔.  วิธีเก็บจีวร  จีวรครั้งเก่าเก็บบนราว  ถือจีวรด้วยมือข้างหนึ่ง  ลูบ ราวด้วยมือข้างหนึ่ง เอาจีวรสอดใต้ราวค่อยๆ  พาดให้ชาย อยู่ข้างตัว  ขนดอยู่ข้างนอก.  
๕.  วิธีเก็บบาตร  บาตรเก็บไว้ได้เตียงใต้ตั่ง  ถือบาตรด้วยมือข้างหนึ่ง ลูบใต้เตียงใต้ตั่งด้วยมือข้างหนึ่ง  แล้วจึงเก็บ
๖.  วิธีเช็ดรองเท้า  ใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน  แล้วจึงใช้ผ้าเปียกเช็ด.
๗.  วิธีพัดให้พระเถระ  ให้พัดที่หลังหนหนึ่ง  ที่ตัวหนหนึ่ง  ที่ศีรษะ  หนหนึ่ง.
๘.  วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู  [ฤดูหนาว  เปิดกลางวัน ปิดกลางคืน  ฤดูร้อน  ปิดกลางวัน  เปิดกลางคืน].
๙.  วิธีเดิน  ท่านให้เดินเรียงตัวตามลำดับแก่กว่า เว้นระยะห่างกัน พอคนเดินผ่านได้  [ถ้าพระมาก  แถวจะยาว จะเดินระยะถี่กว่านั้น  ควรเว้นตอนไว้พอคนมีช่องผ่าน  ไม่เช่นนั้น  คนอื่นจะเสียประโยชน์].
๑๐. จะทำวินัยกรรม ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประณมมือ
๑๑.  ว่านโมคำนมัสการ  ว่า  ๓  จบ ยังคำอื่นๆ อีกก็มี  เช่นคำ    ปฏิญญาเมื่อปลงอาบัติ  คำปวารณาและอื่น ๆ.

กัณฑ์ที่ ๑๕
คารวะ
  คือ การแสดงความเคารพให้ดูความเหมาะสมแก่กาละเทศะ ต่อกัน เพื่อแสดงออกถึงการเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน
กิริยาแสดงความอ่อนน้อมแก่กัน  มีประเภทดังนี้
๑.  การกราบไหว้.
๒.  การลุกรับ.
๓.  การทำอัญชลี  [ประณมมือไหว้].
๔.  การทำสามีจิกรรม [ความอ่อนน้อมอย่างอื่นอันเป็นความ   ดีงาม]
        ทั้งหมดนี้  ให้ทำตามลำดับพรรษา 
ผู้ที่ภิกษุไม่ไหว้  มีประเภทดังนี้
๑.  อนุปสัมบัน.
๒.  ภิกษุผู้อ่อนกว่าตน.
๓.  ผู้เป็นนานาสังวาส  พูดไม่เป็นธรรม.
การไหว้มีงดในบางเวลาดังนี้
๑.  ในเวลาประพฤติวุฏฐานวิธี   [คืออยู่กรรม  เมื่อออกจากอาบัติ สังฆาทิเสส].
๒. ในเวลาถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม [ที่ถูกห้ามสมโภคและ สังวาส]
๓.  ในเวลาเปลือยกาย.
๔.  ในเวลาเข้าบ้านหรือเดินอยู่ตามทาง.
๕.  ในเวลาอยู่ในที่มือที่แลไม่เห็นกัน.
๖.  ในเวลาที่ท่านไม่รู้  คือนอนหลับ  หรือขลุกขลุ่ยอยู่ด้วยธุระอย่างหนึ่ง  หรือส่งใจไปอื่นแม้ไหว้  ท่านก็คงไม่ใส่ใจ.
๗.  ในเวลาขบฉันอาหาร.
๘.  ในเวลาถ่ายอุจจาระ  ถ่ายปัสสาวะ.
        ไหว้ในเวลาดังกล่าวในข้อ  ๑-๓  ท่านปรับอาบัติทุกกฏ  ไหว้ในเวลาอีก  ๕  ข้อ  ท่านว่าเพียงไม่ดีไม่งาม.
การลุกรับมีงดในบางเวลาดังนี้
๑.  เวลานั่งอยู่ในสำนักผู้ใหญ่  ไม่ลุกรับผู้น้อยกว่าท่าน.
๒.  เวลานั่งเข้าแถวในบ้าน.
๓.  เวลาเข้าประชุมสงฆ์ในอาราม.
        การประณมมือ  และการทำสามีจิกรรม  ทำได้แม้แก่ภิกษุผู้อ่อนกว่า.
การคารวะที่ท่านจัดไว้โดยประการอื่นอีก  คือ
๑.  ให้ผู้อ่อนเรียกผู้แก่ว่า "ภนฺเต" ผู้แก่เรียกผู้อ่อนว่า "อาวุโส." อนึ่ง ผู้อ่อนแม้คนเดียว เมื่อพูดกับผู้แก่  มักนิยมใช้พหุวจนะ  ส่วนผู้แก่พูดกับผู้อ่อน ใช้เอกวจนะตามปกติ.
๒.  ผู้น้อยเมื่อจะแสดงธรรม ต้องอาปุจฉาให้ได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ก่อน
๓.  อยู่ในกุฎีเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า จะสอนธรรม จะอธิบายความ จะสาธยาย จะแสดงธรรม จะจุดจะดับไป จะเปิดจะปิดหน้าต่างต้องบอกขออนุญาตท่านก่อน.
๔.  อุปัชฌายะ  อาจารย์  อุปัชฌายมัต  อาจริยมัต  เดินไม่ได้      สวมรองเท้า  ห้ามไม่ให้เดินสวมรองเท้า.
๕.  จะเข้าไปในเจดียสถานไม่กั้นร่ม  ไม่สวมรองเท้า  ไม่ห่มคลุมเข้าไป  ไม่แสดงอาการดูหมิ่นต่าง ๆ  เช่นพูดเสียงดังและนั่งเหยียดเท้าเป็นต้น  ไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะและไม่ถ่มเขฬะในลานพระจดีย์  หรือต่อหน้าพระปฏิมา [นับว่าเคารพพระศาสดา]
๖.  จะทำวินัยกรรมต่อกัน  ห่มผ้าเฉวียงบ่า  นั่งกระหย่ง  ประณมมือทำ  เมื่อฟังวินัยกถาหรือธรรมเทศนา  นิ่งฟังไม่พูดจากัน และระวัง  เพื่อจะไม่ไอกลบเสียงผู้แสดง  ไม่มีเหตุจำเป็นไม่ลุกไปเสียในเวลา  ที่ท่านกำลังแสดงค้างอยู่.  อักษรจารึกพระธรรม  ไม่เดินข้ามหรือ ย่ำเหยียบ  [นี้นับว่าเคารพในพระธรรม].
๗.  จะเข้าประชุมสงฆ์  ห่มผ้าเฉวียงบ่า  เว้นไว้แต่ละแวกบ้าน  และแสดงอาการสำรวมเรียบร้อยไม่ว่าผู้ใหญ่ผู้น้อย  [นี้นับว่าเคารพ ในสงฆ์].  
        คารวะ  ๓  ประการนี้  มีในบาลีแต่การห่มผ้าเฉวียงบ่า   นั่งกระหย่ง  ประณมมือ  ทำวินัยกรรม  นอกนั้นเป็นธรรมเนียมบัญญัติขึ้นภายหลัง.




กัณฑ์ที่ ๑๖
จำพรรษา
        จำพรรษา  ได้แก่กิริยาที่หยุดอยู่ที่เดียว  ไม่ไปแรมคืนข้างไหนตลอดสามเดือนในฤดูฝน.
ดิถีที่กำหนดให้เข้าพรรษา  มี  ๒  คือ
๑.  ปุริมิกา  วสฺสูปนายิกา  วันเข้าพรรษาต้น.
๒.  ปจฺฉิมิกา  วสฺสูปนายิกา  วันเข้าพรรษาหลัง.
  ภิกษุจำพรรษา ต้องมีเสนาสนะที่มุงที่บังมีบานประตูเปิดปิดได้ 
ห้ามไม่ให้อยู่จำพรรษาในสถานเหล่านี้  คือ
๑.  ในกระท่อมผี.
๒.  ในร่ม  [เช่นกลดพระธุดงค์หรือกุฎีผ้า  เช่นเต๊นท์].
๓.  ในตุ่ม  [กุฎีดินเผากระมัง].
๔.  ในโพรงต้นไม้.
๕.  บนค่าคบต้นไม้.
คำอธิษฐานพรรษาชนิดกำหนดเขตอาวาสว่า
"อิมสฺมึ  อาวาเส  อิม  เตมาส  วสฺส  อุเปมิ."
คำแปล เราเข้าถึงฤดูฝนในอาวาสนี้  ตลอดหมวดสามเดือน.
คำอธิษฐานพรรษาชนิดกำหนดเขตกุฎี  ว่า
"อิมสฺมึ  วิหาเร  อิม  เตมาส  วสฺส  อุเปมิ."
คำแปล เราเข้าถึงฤดูฝนในวิหารนี้  ตลอดหมวดสามเดือน.
อธิษฐานพรรษาในพวกโคต่าง  พวกเกวียน  และในเรือ  ว่า
"อิธ  วสฺส  อุเปมิ"  คำแปล เราเข้าพรรษาในที่นี้.
คราวจำพรรษาท่านห้ามไม่ให้ตั้งกติกาอันไม่เป็นธรรม  เช่น
๑.  ห้ามไม่ให้บอกไม่ให้เรียนธรรมวินัย.
๒.  ไม่ให้สาธยายธรรม.
๓.  ไม่ให้มีเทศนา.
๔.  ห้ามไม่ให้ให้บรรพชาอุปสมบท.
๕.  ห้ามไม่ให้ให้นิสัย.
๖.  ห้ามไม่ให้พูดกัน.
๗.  เกณฑ์ให้ถือธุดงค์.
๘.  เกณฑ์ให้บำเพ็ญสมณธรรม.
        ให้นัดหมายกันแต่ในข้ออันเป็นธรรม 
ธุระเป็นเหตุไปด้วยสัตตาหกรณียะ  คือ
๑.  สหธรรมิกหรือบิดามารดาเจ็บไข้ รู้เข้า ไปเพื่อรักษาพยาบาลก็ได้.
๒.  สหธรรมิกกระสันจะสึก รู้เข้า ไปเพื่อระงับก็ได้.
๓.  มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เป็นต้นว่าวิหารชำรุดลงในเวลานั้น  ไปเพื่อหา เครื่องทัพพสัมภาระมาปฏิสังขรณ์ได้อยู่.
๔.  ทายกต้องการจะบำเพ็ญกุศล ส่งมานิมนต์ ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของ เขาได้อยู่ [แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ ที่เป็นกิจลักษณะ  อนุโลมตามนี้ เกิดขึ้น ไปก็ได้เหมือนกัน].

  พรรษาขาดแต่ไม่เป็นอาบัติ  เพราะอันตรายเหล่านี้  คือ
๑.  ถูกสัตว์ร้าย  โจร  หรือปีศาจเบียดเบียน.
๒.  เสนาสนะถูกไฟไหม้หรือน้ำท่วม.
๓.  ภัยเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่โคจรคาม  ลำบากด้วยการบิณฑบาต  [ในข้อนี้ ชาวบ้านเขาอพยพไป  จะไปตามเขาก็ควร].
๔.  ขัดสนด้วยอาหารโดยปกติ  ไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสบาย หรือไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควร  [ในข้อนี้  ยังทนอยู่ได้  ควรทนอยู่ต่อไป ถ้าทนไม่ได้จริง ๆ  จึงค่อยไป].
๕.  มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม  หรือมีญาติมารบกวน  ล่อด้วยทรัพย์
   [จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ไปเสียได้ เห็นทรัพย์อันหาเจ้าของมิได้ ก็ดุจเดียวกัน]
๖.  สงฆ์ในอาวาสอื่น  รวนจะแตกหรือแตกกันแล้ว  ไปเพื่อจะห้าม  หรือเพื่อจะสมาน  [ในข้อนี้  ถ้ากลับมาทัน  ควรไปด้วยสัตตาหกรณียะ].
อานิสงส์แห่งการจำพรรษา  ๕  คือ
๑.  เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่ ๖  แห่งอเจลกวรรค.
๒.  เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ.
๓.  ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้.
๔.  เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา.
๕.  จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น  เป็นของได้แก่พวกเธอ.

         ทั้งได้โอกาสเพื่อจะกรานกฐิน  และได้รับอานิสงส์  ๕  นั้นต่อไปอีก  ๔  เดือน. 
กัณฑ์ที่ ๑๗
อุโบสถ  ปวารณา
อุโบสถ  [การเข้าอยู่]
วันอุโบสถในพระพุทธศาสนาให้สำหรับทำกิจ  ดังนี้
๑.  ประชุมกันกล่าวธรรมฟังธรรม.
๒.  สมาทานอุโบสถของคฤหัสถ์.
๓.  ทำอุโบสถของพระภิกษุ  [นี้เฉพาะวัน  ๑๔  หรือ  ๑๕  ค่ำ].
วันทำอุโบสถมี  ๓  คือ
๑.  วันจาตุททสี  [๑๔  ค่ำ].
๒.  วันปัณณรสี  [๑๕  ค่ำ].
๓.  วันสามัคคี.
การกคือภิกษุผู้ทำอุโบสถ  มี  ๓  คือ
๑.  สงฆ์
๒.  คณะ
๓.  บุคคล.
อาการที่ทำอุโบสถ  มี ๓  คือ
๑.  สวดปาฏิโมกข์.
๒.  บอกความบริสุทธิ์.
๓.  อธิษฐาน.
บุรพกรณ์  [กิจที่พึงทำก่อนแต่สงฆ์ประชุม]  มี  ๔  คือ
๑.  กวาดโรงอุโบสถ.
๒.  ตามประทีป  [ถ้าทำในเวลายังไม่ค่ำ  ไม่ต้องตามประทีป].
๓.  ตั้งน้ำฉันน้ำใช้.
๔.  ตั้งหรือปูอาสนะไว้.
บุรพกิจ  ธุระที่พึงทำก่อนสวดปาฏิโมกข์  มี ๕  คือ
๑.  นำปาริสุทธิของภิกษุผู้เจ็บมา.
๒.  นำฉันทะของเธอมาด้วย.
๓.  บอกฤดู.
๔.  นับภิกษุ.
๕.  สั่งสอนนางภิกษุณี.
ข้อปฏิบัติในการเข้าฟังปาฏิโมกข์
๑. ห้ามภิกษุที่ไม่บริสุทธิ์ คือ ต้องอาบัติเข้าร่วม
๒. ถ้าไม่รู้ว่าอาบัติมาก่อนแล้วไม่ปลงอาบัติก่อนเข้าร่วม
๓.ห้ามภิกษุที่ต้อง สภาคาบัติ คือล่วงละเมิดสิกขาบทเดียวกัน ด้วยกัน เข้าร่วม
๔. ภากษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ฤดูที่นับกันอยู่ในพุทธกาลมี  ๓  คือ
๑.  เหมันตฤดู  ฤดูหนาว.
๒.  คิมหฤดู  ฤดูร้อน.
๓.  วัสสานฤดู  ฤดูฝน.
การนับภิกษุ  มี ๒  วิธี  คือ
๑.  เรียกชื่อ  [เหมาะสำหรับพระที่ประชุมอยู่วัดเดียวกัน].
๒.  ใส่คะแนน  [เหมาะสำหรับพระที่ประชุมอยู่ต่างวัดกัน].
การทำสังฆอุโบสถ  ต้องประกอบด้วยองค์  ๔  คือ
๑.  วันนั้น  เป็นวันที่  ๑๔  หรือ  ๑๕  หรือวันสามัคคี  อย่างใดอย่างหนึ่ง.
๒.  จำนวนภิกษุผู้ประชุม ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ต้องเป็นปกตัตตะ คือ  ไม่ต้องปาราชิกหรือถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรนี้หมายเอาว่าเป็น ที่ ๔ อยู่ในสงฆ์  จึงใช้ไม่ได้  ถ้าไม่เป็นที่ ๔  ใช้ได้  และเข้านั่ง ไม่ละหัตถบาสแห่งกันและกัน สำหรับเป็นกิริยานั่งประชุม.
๓.  เธอทั้งหลายไม่ต้องสภาคาบัติ  ถ้ามีอย่างนั้น  ต้องสวดประกาศ  ก่อนว่า "สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อย สพฺโพ สงฺโฆ  สภาค  อาปตฺตึ  อาปนฺโน ยทา  อญฺ  ภิกฺขุ    สุทฺธ  อนาปตฺติก  ปสฺสิสฺสติ, ตทา  ตสฺส สนฺติเก ต อาปตฺตึ ปฏิกฺกริสฺสติ."
      แปล :  "ท่านเจ้าข้า  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  สงฆ์ทั้งปวงนี้ต้อง  สภาคาบัติ  จักเห็นภิกษุอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเมื่อใด  จักทำคืน  อาบัตินั้นในสำนักเธอเมื่อนั้น"  แล้วจึงทำอุโบสถได้.
๔.  บุคคลควรเว้นไม่มีในหัตถบาส  [คือไม่ได้อยู่ในที่ประชุม].
 บุคคลควรเว้นมีประเภทดังนี้
๑.  คนไม่ใช่ภิกษุ  [คืออนุปสัมบัน  ภิกษุณีก็นับเข้าด้วย].
๒.  เป็นภิกษุอยู่ก่อน แต่ขาดจากความเป็นภิกษุด้วยประการใดประ-การหนึ่งแล้ว  [คือต้องปาราชิก  เข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเพศภิกษุหรือ ลาสิกขาแล้ว].
๓.  เป็นภิกษุแต่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม.
      [จำพวกหลังนี้  ไม่เป็นที่  ๔  ในสงฆ์ ไม่เป็นอะไร].
ปาฏิโมกข์ท่านจัดอุทเทสไว้โดยย่อ  ๕  คือ
๑.  นิทานุทเทส.
๒.  ปาราชิกุทเทส.
๓.  สังฆาทิเสสุทเทส.
๔.  อนิยตุทเทส.
๕.  วิตถารุทเทส.
คราวจำเป็นอันเป็นเหตุสวดปาฏิโมกข์ย่อนั้น  มี ๒ คือ
๑.  ไม่มีภิกษุจำได้จนจบ  [สวดเท่าอุทเทสที่จำได้].
๒.  เกิดเหตุฉุกเฉินที่เรียกว่าอันตราย  [สวดย่อได้].
เหตุฉุกเฉินที่เรียกว่าอันตรายนั้นมี ๑๐  คือ
๑.  พระราชาเสด็จมา  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อรับเสด็จได้].
๒.  โจรมาปล้น [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อหนีภัยได้].
๓.  ไฟไหม้  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อดับไฟได้].
๔.  น้ำหลากมา  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อหนีน้ำได้  สวดกลางแจ้ง  ฝนตกก็เหมือนกัน].
๕.  คนมามาก  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อจะรู้เหตุ  หรือเพื่อจะได้ทำ ปฏิสันถารได้อยู่].
๖.  ผีเข้าภิกษุ  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อขับผีได้อยู่].
๗.  สัตว์ร้ายมีเสือเป็นต้นเข้ามาในอาราม  [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อขับไล่ สัตว์ได้อยู่].
๘.  งูร้ายเลื้อยเข้ามาในที่ประชุม  ก็เหมือนกัน.
๙.  ภิกษุอาพาธโรคร้ายเกิดขึ้นในที่ประชุม  อันเป็นอันตรายแก่ชีวิต      [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อช่วยแก้ไขได้  มีอันตรายลงในที่นั้นก็เหมือนกัน].
๑๐.  มีอันตรายแก่พรหมจรรย์  เช่นมีใครมาเพื่อจับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [เลิกสวดปาฏิโมกข์เพราะความอลหม่านก็ได้].
 กำลังสวดปาฏิโมกข์  มีภิกษุพวกอื่นมาถึง  ถ้ามากกว่าภิกษุผู้ชุมนุมอยู่  ต้องตั้งต้นสวดใหม่  ถ้าเท่ากันหรือน้อยกว่า  ไม่ต้อง ให้เธอเหล่านั้นฟังส่วนยังเหลือต่อไป  ถ้ารู้อยู่ก่อนว่า  จักมีภิกษุมาอีก  แต่นึกเสียว่าช่างเป็นไรแล้วสวด  ปรับอาบัติถุลลัจจัย ถ้าทำด้วยสะเพร่านึกว่าเมื่อมาสวดถึงไหน ก็จงฟังตั้งแต่นั้น  ปรับอาบัติทุกกฏ  ถ้าสวดจบแล้ว  มีภิกษุอื่นมา  ท่านให้บอกปาริสุทธิในสำนักภิกษุผู้สวด  ผู้ฟังปาฏิโมกข์แล้ว.
ปวารณา
        คือบอกให้โอกาสแก่ภิกษุทั้งหลาย  เพื่อปรารถนาตักเตือนว่ากล่าวตนได้

วันที่ทำปวารณามี  ๓  คือ
๑.  วัน  ๑๔   ค่ำ  [จาตุทฺทสี].
๒.  วัน  ๑๕  ค่ำ  [ปณฺณรสี  วันปกติ].
๓.  วันสามัคคี.
การกคือผู้ทำปวารณามี  ๓  คือ
๑.  สงฆ์ คือภิกษุตั้งแต่  ๕  รูปขึ้นไป  เรียกสังฆปวารณา.
๒.  คณะ  คือภิกษุ  ๔-๓-๒  รูป  เรียกคณะปวารณา.
๓.  บุคคล  คือภิกษุรูปเดียว  เรียกบุคคลปวารณา.
อาการที่ทำปวารณามี  ๓  คือ
๑.  ปวารณาต่อที่ประชุม.
๒.  ปวารณากันเอง.
๓.  อธิษฐานใจ.
วิธีทำปวารณา
สังฆปวารณา
        ธรรมเนียมวางไว้  ให้ปวารณารูปละ  ๓  หน  โดยปกติ  ถ้ามีเหตุขัดข้อง  จะทำอย่างนั้นไม่ตลอดด้วยประการใดประการหนึ่ง จะปวารณารูปละ  ๒  หน  หรือ  ๑  หน  หรือพรรษาเท่ากัน  ให้ว่าพร้อมกันก็ได้  จะปวารณาอย่างไร  พึงประกาศแก่สงฆ์ให้รู้ด้วยญัตติก่อน  วิธีตั้งญัตตินั้น  ดังนี้
๑.  ถ้าปวารณา  ๓  หน  พึงตั้งญัตติ เตวาจิก  ปวาเรยฺย".
๒.  ถ้าจะปวารณา  ๒  หน  พึงตั้งญัตติว่า เทฺววาจิก ปวาเรยฺย."
๓.  ถ้าจะปวารณาหนเดียว  พึงตั้งญัตติว่า"เอกวาจิก ปวาเรยฺย"
๔.  ถ้าจะจัดภิกษุมีพรรษาเท่ากัน ให้ปวารณาพร้อมกัน พึงตั้งญัตติ ลงท้ายว่า  "สมานวสฺสิก ปวาเรยฺย."
๕.  ถ้าจะไม่ระบุประการ  พึงตั้งครอบทั่วไป  ลงท้ายเพียงว่า  "สงฺโฆ ปวาเรยฺย."
เหตุเป็นเครื่องยกขึ้นอ้างในการเลื่อนปวารณานั้นมี  ๒  คือ
๑.มีภิกษุจะเข้ามาสมทบปวารณาด้วย ด้วยหมายจะคัดค้านผู้นั้นผู้นี้ ทำให้เกิดอธิกรณ์ขึ้น.
๒.อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ปวารณาแล้ว ต่างจะจากกันจาริกไปเสีย

กัณฑ์ที่  ๑๘
อุปปถกิริยา
    อุปปถกิริยา ได้แก่การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะมี ๓ คือ
๑.  อนาจาร  คือความประพฤติไม่ดีไม่งามและเล่น
 ๒.  ปาปสมาจาร คือความประพฤติเลวทราม.
๓.  อเนสนา  คือความเลี้ยงชีพไม่สมควร.
อนาจารแยกเป็นประเภทใหญ่มี  ๓  คือ
๑.  การเล่นต่างอย่าง.
๒.  การร้อยดอกไม้.
๓.  การเรียนดิรัจฉานวิชา.

การเล่นต่างอย่างมี  ๕  คือ
๑.  เล่นอย่าง
๒.  เล่นคะนอง 
๓.  เล่นพนัน  คือ  มีได้มีเสีย  มีชนะมีแพ้  มีถูกมีผิด 
๔.  เล่นปู้ยี้ปู้ยำ  คือทำความเสียหายให้แก่ผู้อื่น 
๕.  เล่นอึงคะนึง 
      การเล่นดังว่ามานี้   ที่ไม่มีปรับโทษสูงกว่า  ปรับอาบัติทุกกฏเสมอกัน.
บุปผวิกัติอาการร้อยดอกไม้  ๖  อย่าง  คือ
๑.  คนฺถิม ร้อยตรึง
๒.  โคปฺผิม  ร้อยควบหรือร้อยคุม ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง ๓.  เวธิม  ร้อยแทงหรือร้อยเสียบ  ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยสวมดอก      ๔.  เวถิม  ร้อยพันหรือร้อยผูก  ได้แก่ช่อดอกไม้และกุล่มดอกไม้
๕.  ปูริม  ร้อยวง ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยสวมดอก นี้คือพวงมาลัย
๖.  วายิม ร้อยกรอง ได้แก่ดอกไม้ร้อยถักเป็นตาเป็น ตาข่าย
ดิรัจฉานวิชาท่านแยกประเภทไว้  ๕  คือ
๑.  ความรู้ในการทำเสน่ห์  เพื่อให้ชายนั้นหญิงนี้รักกัน.
๒.  ความรู้ในการทำให้ผู้นั้นผู้นี้ถึงความวิบัติ.
๓.  ความรู้ในทางใช้ภูตผีอวดฤทธิ์เดชต่าง ๆ.
๔.  ความรู้ในทางทำนายทายทัก  เช่นรู้หวยว่าจะออกอะไร.
๕.  ความรู้อันจะนำให้หลงงมงาย  เช่นหุงปรอทให้มีอิทธิฤทธิ์  หุง เงินหรือทองแดงให้เป็นทอง.
ปาปสมาจาร
        ความประพฤติที่สมคบกับคฤหัสถ์อันมิชอบมี ดังนี้.
๑.  ให้ของกำนัลแก่สกุลอย่างคฤหัสถ์เขาทำ  เช่นให้ดอกไม้หรือผลไม้  เป็นต้น.
๒.  ทำสวนดอกไม้ไว้  ตลอดถึงร้อยดอกไม้เพื่อบำเรอเขา
๓.  แสดงอาการประจบเขา เมื่อเข้าไปในสกุล
๔.  ยอมตัวลงให้เขาใช้สอยไปนั่นไปโน่น  นอกกิจพระศาสนา  ๕.  รับเป็นหมอรักษาไข้เจ็บคนในสกุล คือเป็นหมอสำหรับบ้าน     
๖.  รับของฝากอันไม่ควรรับ เช่น รับของโจรและของต้องห้าม   
    ปาปสมาจารดังว่ามานี้  ที่ไม่มีปรับโทษสูงกว่า  ปรับเป็นอาบัติทุกกฏเสมอกัน 
สงฆ์จะทำการลงโทษอีก ๓ สถาน  คือ
๑.  ตำหนิโทษ  เรียกตัชชนียกรรม.
๒.  ถอดยศ  คือถอนจากความเป็นผู้ใหญ่  เรียกนิยัสสกรรม.
๓. ขับเสียจากวัด  เรียกปัพพาชนียกรรม.
เนื่องด้วยการรุกราน หรือตัดรอนคฤหัสถ์  มีประเภทดังนี้            
๑.ขวนขวายเพื่อตัดลาภของเขา.
๒.ขวนขวายเพื่อความเสื่อมเสียแห่งเขา.
๓.ขวนขวายเพื่อเขาอยู่ไม่ได้  ต้องออกจากถิ่นฐาน.
๔.ด่าว่าเปรียบเปรยเขา.
๕.ยุยงให้เขาแตกกัน.
๖.พูดกดเขาให้เป็นคนเลว คือพูดวาจาหยาบต่อเขา เรียกอ้ายอี
๗.  ให้ปฏิญญาอันเป็นธรรมแก่เขาแล้ว   ไม่ทำให้สมจริง.
        ความประพฤติเลวทรามเห็นปานนี้  นอกจากปรับอาบัติตามวัตถุเป็นฐานะที่สงฆ์จะลงโทษด้วยปฏิสารณียกรรม  คือให้หวนระลึกถึงความผิด  และขมาคฤหัสถ์ที่ตนรุกรานหรือตัดรอน
อเนสนา
        ได้แก่กิริยาแสวงหาเลี้ยงชีพในทางไม่สมควร  จัดเป็น ๔ อย่าง คือ
๑. ทำวิญญัติ คือออกปากขอของต่อคนและในเวลาทีไม่ควรขอ 
๒. แสดงหาลาภด้วยลาภ  คือหาในเชิงให้ของน้อย  หมายเอาตอบแทนมาก.
๓.  ใช้จ่ายรูปิยะ  ได้แก่การลงทุนหาผมประโยชน์ 
๔.  หากินในทางเวชกรรมหรือการหมอ.
๕.  การทำปริตร   ได้แก่การทำน้ำมนต์สายสิญจน์เสกเป่าต่างๆ
ในอรรถกถาอนุญาตให้ทำยาเฉพาะแก่คนเหล่านี้
๑.  สหธรรมิก.
๒.  มารดาบิดา.
๓.  คนอุปฐากมารดาบิดา.
๔.  ไวยาวัจกรของตน.
๕.  คนปัณฑุปลาส.
๖.  ญาติของตน.
๗.  คนจรเข้ามาในวัด เจ็บไข้.
เวชกรรมที่ต้องห้าม ควรจะผ่อนลงมา  ดังต่อไปนี้
๑.  เวชกรรมที่ห้ามไว้ในวินีตวัตถุแห่งตติยปาราชิกสิกขาบท   โดย     ปรับเป็นอาบัติทุกกฏนั้น  คือทำในทางนอกรีตนอกรอย 
๒.  เวชกรรมที่ห้ามโดยความเป็นปาปสมาจาร  ในวิภังค์แห่งสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓ นั้น คือการที่ทอดตนลงให้สกุลเขาใช้ในการ  รักษาไข้เจ็บของคนในสกุล 
๓.  เวชกรรมที่ห้ามโดยความเป็นอเนสนา ในอรรถกถาทั้งหลายนั้น  คือการรักษาโรคเรียกเอาขวัญข้าวค่ายาค่ารักษา 

กัณฑ์ที่ ๑๙
การิก ๔
     ของที่จะพึงกลืนกินให้ล่วงลำคอไป  ท่านเรียกว่ากาลิก  เพราะเป็นของมีกำหนดให้ใช้ชั่วคราวมี ๔  คือ
๑.  ยาวกาลิก  ของที่ให้บริโภคได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน.
๒.  ยามกาลิก ของที่ให้บริโภคได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง.
๓.  สัตตาหกาลิก  ของที่ให้บริโภคได้ชั่ว  ๗  วัน.
๔.  ยาวชีวิก  ของที่ให้บริโภคได้เสมอไป ไม่มีจำกัดกาล.
ยาวกาลิก
        ของที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร มี  ๒  อย่าง  คือ
๑.  โภชนะทั้ง ๕  [นมสด  นมส้ม  จัดเข้าในโภชนะในทีอื่นจาก โภชนะ  ๕].
๒.  ขาทนียะ  ของขบเคี้ยวคือผลไม้และเง่า มีมันเป็นต้น.
โภชนะทั้ง ๕  อย่าง  คือ
๑.  ข้าวสุกที่หุงจากธัญญชาติทั้งหลาย.
๒.  ขนมกุมมาส  ของทำด้วยแป้งหรือถั่วงา  มีอันจะบูดเมื่อ ล่วงคืนแล้ว.  
๓.  สัตตุ  คือขนมแห้ง  เป็นของไม่บูด.
๔.  ปลา.
๕.  เนื้อ.
พืชที่ใช้เป็นโภชนะนั้น  ๒  ชนิด  คือ
๑. บุพพัณณะ ของจะพึงกินก่อน  [คือข้าวทุกชนิด].
๒.  อปรัณณะ ของจะพึงกินในภายหลัง  [คือถั่วต่างชนิดและงา]
     พืช  ๒  อย่างนี้  เป็นมูลแห่งข้าวสุก  และขนม  ๒  อย่าง.
บุพพพัณณะนั้นแสดงไว้ในบาลี  ๗  ชนิด  คือ
๑.  สาลี ข้าวสาลี.
๒. วีหิ  ข้าวจ้าว.
๓. ยโว  ข้าวเหนียว.
๔. โคธูโม  ข้าวละมาน.
๕. กงฺคุ  ข้าวฟ่าง.
๖. วรโก  ลูกเดือย.
๗.  กูทฺรูสโก  หญ้ากับแก้.
เนื้อที่ห้ามโดยกำเนิดมี  ๑๐  คือ
๑.  เนื้อมนุษย์  เลือดก็สงเคราะห์เข้าด้วย.
๒.  เนื้อช้าง.
๓.  เนื้อม้า.
๔.  เนื้อสุนัข.
๕.  เนื้องู.
๖.  เนื้อสีหะ.
๗.  เนื้อเสือโคร่ง.
๘.  เนื้อเสือเหลือง.
๙.  เนื้อหมี.
๑๐.  เนื้อเสือดาว.
ของขบเคี้ยวชนิดที่มีเม็ดและงา  อาจเพาะและปลูกเป็นทรงอนุญาตให้อนุปสัมบันทำให้เป็นกัปปิยะ  ด้วยวิธีเหล่านี้
๑.  ด้วยเอาไฟจี้.
๒.  ด้วยเอามีดกรีด.
๓.  ด้วยเอาเล็บจิก.
กัปปิยภูมิ ๔
คือสถานที่เก็บเสบียงอาหหารภายในวัด (โรงครัว)
๑.  อุสฺสาวนนฺติกา เรือนที่เก็บอาหารประกาศให้รู้กันว่าจะเป็น เรือนครัวมาแต่แรก  
๒.  โคนิสาทิกา  ที่เก็บอาหารเคลื่อนที่ได้
๓.  คหปติกา  เรือนของคฤหบดีที่เขาทำถวาย
๔.  สมฺมติกา  ได้แก่ที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นที่เก็บอาหาร
ยามกาลิก
         ปานะ  คือ  น้ำสำหรับดื่ม  ที่คั้นออกจากลูกไม้ 
ยามกาลิก  มี  ๘  ชนิด  คือ
๑.  อมฺพปาน  น้ำมะม่วง.
๒.  ชมฺพุปาน   น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า.
๓.  โจจปาน  น้ำกล้วยมีเม็ด.
๔.  โมจปาน  น้ำกล้วยไม่มีเม็ด.
๕.  มธุกปาน  น้ำมะซาง  [เป็นของล้วนไม่ควร  เจือน้ำจึงควร].
๖.  มุทฺทิกปาน  น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น.
๗.  สาลุกปาน  น้ำเง่าอุบล.
๘.  ผารุสกปาน  น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่.
        ยาวกาลิกนี้  ล่วงกำหนดคืนหนึ่ง  ท่านห้ามไม่ให้ฉัน  ปรับเป็นอาบัติทุกกฏ.
สัตตาหกาลิก ได้แก่เภสัช  ๕  คือ
๑.  เนยสด.       ๒.  เนยข้น.
๓.  น้ำมัน.        ๔.  น้ำผึ้ง.
๕.  น้ำอ้อย.
วัตถุสำหรับทำน้ำมันรวมเป็น  ๓  ชนิด  คือ
๑.  มันเปลวแห่งสัตว์  [ยกของมนุษย์].
๒. พืชอันมีกำเนิดเป็นยาวกาลิก  [มีเม็ดงาเป็นตัวอย่าง].
๓.  พืชอันมีกำเนิดเป็นยาวชีวิก  [มีเม็ดพันธ์ผักกาด]
มันเปลวแห่งสัตว์ในบาลีมี  ๕  คือ
๑.  เปลวหมี.
๒.  เปลวปลา.
๓.  เปลวปลาฉลาม.
๔.  เปลวหมู.
๕.  เปลวลา.
ยาวชีวิก
        ของที่ใช้ประกอบยา  นอกจากกาลิก
ยาวชีวิก ๓  อย่างนั้น  มีประเภทดังนี้
๑.  รากไม้  เรียกมูลเภสัช เช่น ขมิ้น  ขิง ว่านน้ำ ข่า
๒.  น้ำฝาด  เรียกกสาวเภสัช  เช่น น้ำฝาดของไม้   
๓.  ใบไม้  เรียกปัณณเภสัช เช่น ใบสะเดา  ใบกะเพรา
๔.  ผลไม้  เรียกผลเภสัช เช่น พริก มะขามป้อม
๕.  ยางไม้  เรียกชตุเภสัช  เช่น  หิงคุ เป็นยางไม้ชนิดหนึ่ง
๖.  เกลือ  เรียกโลณเภสัช  [เช่น เกลือแห่งน้ำ เกลือสินเธาว์     
      รากไม้  น้ำฝาด  ใบไม้  ผลไม้  ยาวไม้  เกลือ  อย่างอื่นอีก      อันไม่สำเร็จอาหารกิจ  ใช้เป็นยา  จัดเป็นยาวชีวิกทั้งนั้น.

กาลิกระคนกัน
        กาลิกบางอย่างระคนกับกาลิกอีกบางอย่าง  มีกำหนดให้ใช้ได้ชั่วคราวของกาลิกมีคราวสั้น.  สัตตาหกาลิกและยาวชีวิก  ที่รับประเคนแรมคืนไว้  ท่านห้ามไม่ให้เอาไปปนกับยาวกาลิก  ในสัตตสติกขันธกะท่านปรับเป็นปาจิตตีย์.

                                         
กัณฑ์ที่ ๒๐
ภัณฑะต่างเจ้าของ
ของสงฆ์
    ภัณฑะที่เขาถวายเป็นสาธารณะแก่ภิกษุ  ไม่เฉพาะตัว
ชนิดของภัณฑะของสงฆ์นั้นมี  ๒  ประเภท  คือ
๑.  ลหุภัณฑ์  ของเบา.
๒.  ครุภัณฑ์  ของหนัก.
ลหุภัณฑ์นั้นจำแนกออกดังนี้
๑.  บิณฑบาต.
๒.  เภสัช.
๓.  บริขารที่จะใช้สำหรับตัวคือ บาตร จีวร ประคตเอว เข็ม      มีพับ  มีดโกน
ภิกษุผู้อันสงฆ์สมมติให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกลหุภัณฑ์ มีดังนี้
๑.  ภิกษุผู้มีหน้าที่แจกภัตตาหาร ตลอดถึงรับนิมนต์ของทายกแล้ว จ่ายให้ไป  เรียกภัตตุทเทสกะ.
๒.  ภิกษุผู้มีหน้าที่แจกจีวร  เรียกจีวรภาชกะ.
๓.  ภิกษุผู้มีหน้าที่แจกเภสัชและบริขารเล็กน้อย  เรียกอัปปมัตตกวิสัชชกะ.  
ครุภัณฑ์นั้นแสดงไว้ในบาลี  ๕  หมวด  คือ
๑.  พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นอาราม.
๒.  พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นวิหาร.
๓.  ของที่เป็นตัวเสนาสนะเอง.
๔.  เครื่องโลหะที่เป็นภาชนะและเป็นเครื่องมือ.
๕.  เครื่องสัมภาระสำหรับทำเสนาสนะและเครื่องใช้.
พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นอาราม จำแนกเป็น  ๒  คือ
๑.  อาราโม   ของปลูกสร้างในอาราม  ตลอดต้นไม้.
๒.  อารามวตฺถุ  ที่ดินพื้นอาราม.
พื้นดินและของปลูกสร้างเป็นวิหาร จำแนกเป็น ๒  คือ
๑.  วิหาโร                 กุฎีที่อยู่.
๒.  วิหารวตฺถุ    พื้นที่ปลูกกุฎี.
ของที่เป็นเสนาสนะจำแนกเป็น  ๔  คือ
๑.  มญฺโจ  เตียง.
๒.  ปี  ตั่ง.
 ๓.  ภิสี  ฟูก.
๔.  พิมฺโพหน.  หมอน.  
   
เครื่องโลหะที่เป็นภาชนะและเครื่องมือ จำแนกเป็น ๙ คือ
๑.  โลหกุมฺภี  หม้อโลหะ.
๒.  โลหภาณก  อ่างโลหะ.
๓.  โลหวารโก  กระถางโลหะ.
๔.  โลหกฏาห  กระทะโลหะ.
๕.  วาสี  มีดใหญ่หรือพร้าได้.
๖.  ผรสุ  ขวาน.
๗.  กุารี  ผึ่ง สำหรับถากไม้.
๘.  กุทฺทาโล  จอบหรือเสียม  สำหรับขุดดิน.
๙.  นิขาทน  สว่าน  สำหรับเจาะไม้.
เครื่องสัมภาระสำหรับทำเสนาสนะและเครื่องใช้แบ่งเป็น ๘ คือ
๑.  วลฺลี  เถาวัลย์  เช่นหวาย.
๒.  เวฬุ  ไม้ไผ่.
๓.  มุญฺช  เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง  แปลว่าหญ้ามุงกระต่าย.
๔.  ปพฺพช  เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง  แปลว่าหญ้าปล้อง.
๕.  ติณ  หญ้าสามัญ.
๖.  มตฺติกา  ดินเหนียว.
๗.  ทารุภณฺฑ  ของทำด้วยไม้.
๘.  มตฺติกาภณฺฑ  ของทำด้วยดินเผา.
ของเจดีย์
        ของชนิดนี้  ได้แก่ของที่ทายกถวายเพื่อบูชาเจดีย์ 
ของบุคคล      
        ของชนิดนี้  ได้แก่ของที่ทายกถวายแก่ภิกษุเป็นส่วนตัว
การปลงบริขาร
        การมอบให้ด้วยปริกัปว่า ถ้าตายแล้วให้ของเหล่านี้ตกเป็นของผู้นั้น 
ลักษณะถือเอาโดยวิสาสะในบาลีมีองค์  ๕  คือ
๑.  เป็นผู้เคยได้เห็นกันมา.
๒.  เป็นผู้เคยคบกันมา.
๓.  ได้พูดกันไว้.
๔.  ยังมีชีวิตอยู่.
๕.  รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้ว  เขาจักพอใจ.
ในอรรถกถา  แยกองค์ที่ ๑  องค์ที่ ๒  และองค์ที่ ๓  ออก  เอาแต่อย่างหนึ่ง  คงเป็น  ๓.
พระมติเห็นสมด้วยอรรถกถาและองค์  ๓  คือ
๑.  เป็นผู้เคยเห็นกันมา  หรือเป็นผู้เคยคลกัน  หรือได้พูดกันไว้.
๒.  รู้ว่าถือเอาแล้ว  เขาจักพอใจ.
๓.  เขายังเป็นอยู่. 




กัณฑ์ที่ ๒๑
วินัยกรรม
คือ กิจที่ภิกษุต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัย
วินัยกรรมมี ๔ เรื่องคือ
๑.      วิธีแสดงอาบัติ
๒.      การอธิษฐานบริขาร
๓.      การทำพินทุ
๔.       การวิกัป
วิธีแสดงอาบัติที่ใช้อยู่ในบัดนี้
ต้องอาบัติตัวเดียว  แสดงว่า
 ผู้แสดง    "อห  อาวุโส  ปาจิตฺติย  อาปตฺตึ  อาปนฺโน  ต  ปฏิเทเสมิ" ผู้รับ  "ปสฺสถ  ภนฺเต" 
ผู้แสดง  "อาม อาวุโส ปสฺสามิ" ผู้รับ"อายติ  ภนฺเต  สวเรยฺยาถ" 
ผู้แสดง  "สาธุ  สุฎฺุ  อาวุโส  สวริสฺสามิ."
ต้องอาบัติอย่างเดียวกันหลายตัว  แสดงว่า
        "อห  อาวุโส  สมฺพหุลา  นิสฺสคฺคิยาโย  ปาจิตฺติยาโย  อาปตฺติโย อาปนฺโน  ตา  ปฏิเทเสมิ"  [ถ้า  ๒  ตัว  ใช้  " เทฺว"   ตั้งแต่  ๓  ตัวขึ้นไป ใช้  "สมฺพหุลา"].
     ต้องอาบัติชื่อเดียวกัน  แต่มีวัตถุต่างกัน  แสดงว่า
        "อห  อาวุโส  สมฺพหุลา  นานา  วตฺถุกาโย  ทุกฺกฏาโย  อาปตฺติโย อาปนฺโน  ตา  ปฏิเทเสมิ"  [ถ้าล่วง ๒  เรื่อง  จำนวนอาบัติก็  ๒  ใช้"เทฺว นานา วตฺถุกาโย" จำนวนอาบัติมากกว่า ๒ ใช้  "สมฺพหุลานานา  วตฺถุกาโย"].
        อาบัตินั้น  ท่านให้แสดงโดยควรแก่ชื่อแก่วัตถุแก่จำนวน  แสดง ผิดชื่อใช้ไม่ได้  ผิดวัตถุและผิดจำวน  ข้างมากแสดงเป็นน้อย  ใช้ไม่ได้  ข้างน้อยพลั้งเป็นมาก  ใช้ได้.
        ถ้าสงสัยอยู่ในอาบัติบางตัว  ท่านให้บอกดังนี้  "อห  อาวุโสอิตฺถนฺนามาย  อาปตฺติยา  เวมติโก  ยทา  นิพฺเพมติโก  ภวิสฺสามิ  ตทา ต  อาปตฺตึ  ปฏิกฺกริสฺสามิ"  แปลว่า  "แน่ะเธอ  ฉันมีความสงสัยในอาบัติชื่อนี้  จักสิ้นสงสัยเมื่อใด  จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น."
แบบใช้คำบาลีออกชื่ออาบัติ คือ
       อาบัติตัวเดียว ออกชื่อว่า"ถุลฺลจฺจย  อาปตฺตึ, นิสฺสคฺคิยปาจิตฺติย  อาปตฺตึปาจิตฺติย  อาปตฺตึทุกฺกฏ อาปตฺตึทุพฺภาสิตอาปตฺตึ."
        อาบัติหลายตัว  ออกชื่อว่า  "ถุลฺลจฺจยาโย  อาปตฺติโย,นิสฺสคฺคิยาโย  ปาจิตฺติยาโย  อาปตฺติโยปาจิตฺติยาโ  อาปตฺติโย,ทุกฺกฏาโย  อาปตฺติโยทุพฺภาสิตาโย  อาปตฺติโย"  ต่อ  "เทฺว"หรือ  "สมฺพหุลา"  เฉพาะอาบัติมีวัตถุเดียวต่อ  "นานา  วตฺถุกาโย"เพาะอาบัติมีวัตถุต่างกัน.
        คำสำหรับผู้แก่กว่าว่า  "อาวุโสปสฺสสิสวเรยฺยาสิ."
        คำสำหรับผู้อ่อนว่า  "ภนฺเตปสฺสถล  สวเรยฺยาถ."
        คำแสดงอาบัติาฏิเทสนียะว่า  "คารยฺห  อาวุดส  ธมฺม  อาปชฺชึ อสปฺปาย  ปาฏิเทสนีย  ต  ปาฏิเทเสมิ"  แปลว่า  "แน่ะเธอ  ฉันต้องแล้วซึ่งธรรมน่าติเตียนไม่สบาย  ควรจะแสดงคืนเสีย  ฉันแสดงคืนซึ่งธรรมนั้น."
        ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว  ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ  หรือยอมรับว่าเป็นอาบัติ  แต่ไม่แสดง  ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมแก่เธอได้  และห้ามมิให้ภิกษุอื่นสมคบกับเธอ.
อธิษฐาน
บริขารที่ระบุชื่อให้อธิษฐาน  คือ
๑.  สังฆาฏิ.
๒.  อัตราวาสก.
๓.  อุตราสงค์.
๔.  บาตร.
๕.  ผู้ปูนั่ง. 
๖.  ผ้าปิดฝี.
๗.  ผ้าอาบน้ำฝน.
๘.  ผ้าปูนอน.
๙.  ผ้าเช็ดหน้า  ผ้าเช็ดปาก.
๑๐. ผ้าใช้เป็นบริขาร เช่นผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ
คำอธิษฐานบริขารสิ่งเดียว 
เช่น  สังฆาฏิ  ว่า  "อิม  สงฆาฏึอธิฏฺามิ"  แปล  "เราตั้งเอาไว้ซึงผ้าสังฆาฏิผืนนี้  หรือว่า  เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าผืนนี้เป็นสังฆาฏิ"  อธิษฐานบริขารอื่น ยกบทว่า  "สงฺฆาฏึ"เสีย  เปลี่ยนตามชื่อ  ดังนี้
อุตฺตราสงฺค             สำหรับ    อุตราสงค์
อนฺตรวาสก                "         อันตรวาสก.
นิสีทน                               "         ผ้านิสีทนะ.
กณฺฑุปฏิจฺฉาทึ             "         ผ้าปิดฝี.
วสฺสิกสาฏิก                "         ผ้าอาบน้ำฝน.
อธิฏฐามิ                    "         ผ้าปูนอน.
มุขปุญฺฉนโจล               "       ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก.
ปริกฺขารโจล              "         ผ้าเป็นบริขาร.
        คำอธิษฐานผ้าหลายผืนควบกัน  เช่นผ้าปูนอน  ว่า "อิมานิปจฺจตฺถรณานิ  อธิฏฺามิ"  แปล  "เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าปูนอนเหล่านี้หรือว่า  เราตั้งเอาไว้ซึ่งผ้าเหล่านี้เป็นผ้าปูนอน"  อธิษฐานผ้าอื่น  ยกบทว่า  "ปจฺจตฺถรณานิ"  เปลี่ยนเป็น  "มุขปุญฺฉนโจลานิ"  สำหรับผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก  "ปริกฺขารโจลานิ"   สำหรับผ้าเป็นบริขาร.
อธิษฐานมี ๒  คือ
๑.อธิษฐานด้วยกาย คือเอามือจับลูบบริขารที่อธิษฐานนั้นเข้า  ทำ ความผูกใจตามคำอธิษฐานข้างต้น.
๒.อธิษฐานด้วยวาจาคือลั่นคำอธิษฐานนั้นไม่ถูกของด้วยกาย
อธิษฐานด้วยวาจาแยกเป็น ๒  คือ
๑.  อธิษฐานในหัตถบาส.
๒.  อธิษฐานนอกหัตถบาส.
        ของอยู่ภายใน  ๒  ศอกคืบหรือศอกหนึ่งในระหว่าง   พึงให้อธิษฐานในหัตถบาส  ของอยู่ห่าง  พึงใช้อธิษฐานนอกหัตถบาสและเปลี่ยนบทว่า  "อิม"  เป็น  "เอต"  เปลี่ยน  "อิมานิ"  เป็น"เอตานิ."   แปลว่า  "นั่น."
คำปัจจุทธรณ์หรือถอนอธิษฐาน  ว่า
        "อิม  สงฺฆาฏึ  ปจฺจุทฺธรามิ"  แปลว่า  "เรายกเลิกสังฆาฏิผืนนี้"  ยกเลิกบริขารอื่นพึงเปลี่ยนตามชื่อ.
คำพินทุว่า 
"อม  พินฺทุกปฺป  กโรมิ"  แปลว่า  "เราทำหมายด้วยจุดนี้."
บริขารที่จะละอธิษฐานไปเพราะเหตุ  ๙  ประการ  คือ
๑.  ให้แก่ผู้อื่นเสีย.
๒.  ถูกโจรแย่งชิงเอาไปเสีย.
๓.  มิตรถือเอาด้วยวิสาสะ.
๔.  เจ้าของหันไปเพื่อความเป็นคนเลว.
๕.  เจ้าของลาสิกขา.
๖.  เจ้าของทำกาลกิริยา.
๗.  เพศกลับ.
๘.  ถอนเสียจากอธิษฐาน.
๙.  เป็นช่องทะลุ  [เฉพาะในไตรจีวรและบาตร].
ในเหตุ ๙  ประการนั้น  เหตุที่ควรเป็นประมาณมี  ๕  คือ
๑.  ให้แก่ผู้อื่น.
๒.  ถูกโจรชิงเอาไปหรือลักเอาไป.
๓.  มิตรถือเอาด้วยวิสาสะ.
๔.  ถอนเสียจากอธิษฐาน.
๕.  เป็นช่องทะลุ.
วิกัป
 คำวิกัปต่อหน้า
ในหัตถบาส  จีวรผืนเดียวว่า  "อิม  จีวร  ตุยฺหวิกปฺเปมิ"  แปลว่า  "ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน"  จีวรหลายผืนว่า"อิมานิ  จีวรานิ"  แทน  "อม จีวร"  บาตรใบเดียวว่า  "อิม  ปตฺตตุยฺห  วิกปฺเปมิ"  บาตรหลายใบว่า  "อิเม  ปตฺเต"  แทน  "อิม ปตฺต"  นอกหัตถบาสว่า  "เอต"  แทน  "อิม"  ว่า  "เอตานิ"  แทน"อิมานิ"  ว่า  "เอเต"  แทน  "อิเม"  ถ้าวิกัปแก่ภิกษุผู้แก่ว่าใช้บทว่า  "อายสฺมโต"  แทน  "ตุยฺห"  ก็ควร.
 คำวิกัปลับหลัง 
ในหัตถบาส  จีวรผืนเดียวว่า  "อม  จีวรอิตฺถนฺนามสฺส  วิกปฺเปมิ"  แปลว่า  "ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่สหธรรมิกชื่อนี้"  ถ้าวิกัปแก่ภิกษุต่างว่าชื่ออุตระ  พึงออกชื่อว่า"อุตฺตรสฺส  ภิกฺขุโน"  หรือ   "อายสฺมโต  อุตฺตรสฺส"  แทน"อิตฺถนฺนามสฺส"  โดยสมควรแก่ผู้รับ   อ่อนกว่าหรือแก่กว่าวิกัปจีวรหลายผืนวิกัปบาตรใบเดียว หลายใบในหัตถบาส นอกหัตถบาสพึงเทียบตามแบบวิกัปต่อหน้า
คำถอนวิกัปจีวรในหัตถบาสว่า
        "อิม  จีวร  มยฺห  สนฺตก ปริภุญฺช  วา  วิสชฺเชหิ  วา  ยถาปจฺจยวา  กโรหิ"  แปลว่า  "จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า  ท่านจงใช้สอยก็ตามจงสละก็ตาม  จงทำตามปัจจัยก็ตาม."
ถ้าผู้ถอนอ่อนกว่าว่า
        "อิม  จีวร  มยฺห  สนฺตก  ปริภุญฺชถ  วา  วิสชฺเชถ  วา  ยถาปจฺจย วา  กโรถ"  [แปลความเดียวกัน].
        บาตรที่วิกัปแล้ว  ไม่มีกำหนดให้ถอนก่อนจึงบริโภค  พึงใช้เป็นของวิกัปเถิด  แต่เมื่อจะอธิษฐาน  พึงให้ถอนก่อน.

กัณฑ์ที่ ๒๒
ปกิณกะ
มหาปเทศ  ๔
   คือหลักอ้างอิง เพื่อภิกษุพิจารณาตัดสินที่ไม่มีในบัญญัติ ว่าควรหรือไม่ควร
มหาปเทศข้อสำหรับอ้างใหญ่มี  ๔  คือ
๑.  สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร   แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นอกัปปิยะ   ขัดกันต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร.
๒.  สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ  ขัด  กันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร.
๓.  สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นอกัปปิยะ  ขัดกันต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร.
๔.  สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร  แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ  ขัด   กันต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร.
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ข้อที่ทรงอนุญาตเป็นพิเศษแท้ ๆ  นั้นมี  ๕  คือ
๑.  ทรงอนุญาตเฉพาะ เช่น  
-ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้ถูกงูกัด  แม้ไม่ได้รับประเคน  ฉันก็ได้ไม่เป็นอาบัติ  น้ำข้าวใสที่เข้าใจว่าน้ำข้าวต้มไม่มีกาก  และน้ำเนื้อต้มที่ไม่มีกากเหมือนกัน
-ทรงอนุญาตแก่ภิกษุไข้  ที่จำจะต้องได้อาหารในเวลาวิกาล.
๒.ทรงอนุญาตเฉพาะบุคคล [เช่นทรงอนุญาตอาหารที่เรออ้วกถึงลำคอกลืนกลับไป ไม่เป็นอาบัติเพราะวิกาล โภชนสิกขาบท]
๓.ทรงอนุญาตเฉพาะกาล   [เช่นทรงอนุญาตให้เจียวมันเปลว  แต่ ต้องทำให้เสร็จในกาล].     
๔.ทรงอนุญาตเฉพาะถิ่น  [เช่นทรงอนุญาตให้อุปสมบทด้วยสงฆ์มี องค์ ๕ ให้อาบน้ำได้เป็นนิตย์  ให้ใช้รองเท้า  ๔  ชั้นของใหม่ได้  ในปัจจันตชนบท].
๕.ทรงอนุญาตเฉพาะยา [เช่นทรงอนุญาตน้ำมันเจือน้ำเมาไม่มาก จนถึงสีกลิ่นรสปรากฏ ให้ดื่มกินได้ และทรงอนุญาตให้ใช้  กระเทียมเข้ายาได้]
ขออารักขา
        คือ การความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เช่น 
๑.เมื่อถูกคนอื่นข่มเหงเหลืออกเหลือทน  ก็บอกขอ
๒.เมื่อถูกทำร้าย  แต่ไม่รู้ว่าใคร
๓.เมื่อของหายแต่ไม่รู้ว่าใครลักจะบอกตราสินไว้แก่เขาก็ได้ 
วิบัติ  ๔
   คือ ความมเสียหาย ที่เกิดขึ้น
ในบาลีจำแนกวิบัติของภิกษุไว้  ๔ คือ
๑.  สีลวิบัติ  ความเสียแห่งศีล.
๒.  อาจารวิบัติ   ความเสียมารยาท.
๓.  ทิฏฐิวิบัติ  ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย.
๔.  อาชีววิบัติ  ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ.
อโคจร
   คือ บุคคลหรือสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปสู่  เรียก
อโคจรมี ๖  คือ
๑.  หญิงแพศยา.
๒.  หญิงหม้าย.
๓.  สาวเทื้อ  [หมายเอาหญิงโสดหาสามีมิได้  อยู่ลำพักตน].
๔.  ภิกษุณี.
๕.  บัณเฑาะก์.
๖.  ร้านสุรา [โรงกลั่นสุรา หรือร้านฝิ่นโรฝิ่น สงเคราะห์เข้าด้วย]
 ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล  ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจรย่อมประดับพระศาสนาให้รุ่งเรืองแล